หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เวียดนามเริ่มผลิตจรวดร่อน "บราห์มอส" ปีนี้ ซื้ออาวุธอีกเพียบ

โดยคุณ : Ronin เมื่อวันที่ : 19/02/2012 13:53:43


จรวด ร่อนบราห์มอส (BrahMos) ของอินเดีย ออกร่วมงานนิทรรศการป้องกันประเทศนัดหนึ่งในภาพจากเว็บไซต์ข่าวกลาโหม ปากีสถาน นี่คือจรวดร่อนที่เร็วที่สุดในโลก แล่นเข้าสู่เป้าหมายด้วยความเร็วเกือบ 3 เท่าเสียง และ รัศมีทำการเกือบ 300 กม. ซึ่งหมายความว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องมีระบบต่อต้านขีปนาวุธโจมตี/ป้องกันที่ดี เยี่ยมต่อกรด้วย รัสเซียจะช่วยเวียดนามพัฒนา "บราห์มอส" อีกเวอร์ชั่นหนึ่ง การผลิตจะเริ่มในปีนี้ แต่ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดอื่นใดอีก.
       
ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- ข่าวที่ระแคะระคายออกมาก่อนหน้านี้ตามเว็บไซต์กลาโหมหลายแห่งทั่วโลกดูจะ ปรากฏเป็นจริง เจ้าหน้าที่ระดับสูงในกรุงมอสโกกล่าวในสัปดาห์นี้ว่า รัสเซียได้ตกลงให้ความร่วมมือกับเวียดนาม ซึ่งจะเริ่มผลิตจรวดร่อนบราห์มอส (BrahMos) ในเวียดนามในปีนี้
       
       ตั้งชื่อโดยอินเดีย ซึ่งนำเอาชื่อแม่น้ำพรหมบุตร (Brahmaputra) รวมกับชื่อแม่น้ำมอสโก หรือ "มอสควา" (Moskva) ในรัสเซียรวมกัน กลายเป็นชื่อจรวดป้องกัน/โจมตี ที่ได้รับการยอมรับมีประสิทธิภาพสูงที่สุดอีกรุ่นหนึ่งของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภารกิจทำลายเรือรบผิวน้ำกับเรือดำน้ำ และ ยังติดตั้งได้ทั้งบนเรือ บน เครื่องบินและบนบก
       
       สำนักข่าวเรียโนวอสติ (RIA Novosti) ของรัสเซียรายงานเรื่องนี้ โดยอ้างการเปิดเผยของมิคาอิล ดมิเตรียฟ (Mikhail Dmitriev) ผู้อำนวยการองค์การความร่วมมือด้านเทคนิคการทหาร หน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งระบุว่าเป็นความร่วมมือรัสเซีย-เวียดนามในการผลิตจรวดร่อน Cruise Missile) ที่มีประสิทธิภาพสูง
       
       "ปีนี้เวียดนามจะเพิ่มขีดความสามารถและเริ่มผลิตจรวดร่อนชนิดใหม่จาก พื้นฐานเดิมของจรวดอูราเนียมของรัสเซีย" โนวอสติอ้างคำพูดของนายดิมิเตรียฟ ซึ่งเปิดเผยด้วยว่า การผลิตจรวดร่อนของเวียดนาม เป็นโครงการคล้ายกับความร่วมมือระหว่างรัสเซียกับอินเดียในการผลิตและพัฒนา จรวดอานุภาพสูงคล้ายกันนี้ และในปัจจุบันอินเดียสามารถพัฒนารุ่นติดตั้งบนเครื่องบินสำเร็จแล้ว
       
       นอกจากนั้นเวียดนามยังขอซื้อระบบขีปนาวุธป้องกันชายฝั่งแบบ "บาสเตียน" (Bastion) ที่มีชื่อเสียงของรัสเซีย ซึ่งสองฝ่าย "กำลังพูดคุยกันเพื่อทำสัญญาเกี่ยวกับขีปนาวุธชนิดอื่นๆ และสัญญาดังกล่าวจะเป็นแบบให้เงินกู้เครดิตโลนสำหรับการซื้อขาย" นายดมิเตรียฟกล่าว
       
       ตามข้อมูลในเว็บไซต์ข่าวกลาโหม บาสเตียนเป็นขีปนาวุธป้องกัน/โจมตีเรือรบ ที่ได้รับการเชื่อถือมากที่สุดอีกระบบหนึ่ง ประกอบด้วยระบบข่าวเรดาร์ทันสมัยกับขีปนาวุธพิสัยใกล้-กลางที่มีน้ำหนักถึง 3 ตัน ซึ่งทำให้บรรจุหัวรบขนาดใหญ่ได้
       
       บาสชั่นมีรัศมีโจมตีเป้าหมายทางเรือได้ไกลถึง 300 กิโลเมตร โดยร่อนในระดับเหนือน้ำทะเลระหว่าง 5-15 เมตร และ ยังสามารถเชื่อมเข้ากับระบบป้องกันที่เวียดนามมีอยู่ในขณะนี้ได้อย่าง สมบูรณ์
       
       นายดมิเตรียฟไม่ยอมเปิดว่า เวียดนามเจรจาซื้อระบบป้องกันทางเรือแบบนี้จำนวนเท่าไร่ แต่กล่าวว่า รัสเซียจะส่งมอบ 2 ชุดแรกให้ในปีนี้
       
       เจ้าหน้าที่ระดับสูงผู้นี้ไม่ยอมเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการผลิตขีปนาวุธบราห์มอสของเวียดนามเช่นกัน
       .

       

       .
       แต่สื่อข่าวกลาโหมในรัสเซียสำนักหนึ่งตั้งข้อสังเกตว่า ในขณะที่จรวดร่อนบราห์มอสของอินเดียพัฒนาขึ้นจากระบบจรวดยาโค้นต์ (Yakhont) ที่มีความเร็วระดับซูเปอร์โซนิก และได้รับการยอมรับว่าเป็นขีปนาวุธที่มีความเร็วที่สุดในปัจจุบัน แต่จรวดอูรานอี (Uran E) ที่ใช้ในกองทัพเวียดนาม เป็นแบบที่มีความเร็วระดับซับโซนิค (Sub-sonic) เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่งในด้านเทคโลโลยีกลาโหม
       
       ตามข้อมูลของโนวอสติ ขีปนาวุธบราห์มอสของอินเดีย มีความเร็วสูงสุดถึง 2.8 มัค (เกือบ 3 เท่าความเร็วเสียง) เร็วกว่าจรวดร่อนโทมาฮอว์คของสหรัฐซึ่งเป็นแบบซับโซนิคราว 3 เท่าตัว ยังไม่ทราบรายละเอียดใดๆ ในทางเทคนิคของ "บราห์มอส" เวอร์ชั่นรัสเซีย-เวียดนาม ในขณะนี้
       
       แต่ด้วยความร่วมมือช่วยเหลือของรัสเซีย เวียดนามกำลังจะมีโรงงานผลิตจรวดร่อนทันสมัยที่สุดอีกแห่งหนึ่งในโลก โนวอสติกล่าว
       
       ก่อนหน้านี้ในเดือน ม.ค. นายบอริส โอ โบโนซอฟ (Boris Obonosov) ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวแห่งเดียวกันนี้เปิดเผยว่า จนถึงสิ้นปี 2554 รัสเซียได้ส่งมอบระบบจรวดทำลายเรือรบแบบ Kh-35E ครบจำนวน 31 ลูกแล้ว เพื่อติดตั้งในเรือฟรีเกตชั้นเกพาร์ด 3.9 ที่ซื้อจากรัสเซียจำนวน 2 ลำ เวียดนามสั่งซื้อจรวดทั้งหมดเมื่อปี 2552
       
       นั่นคือเรือรบทันสมัยที่สุดของเวียดนามในปัจจุบัน และ สำนักข่าวกลาโหมได้ระแคะระคายเมื่อต้นปีนี้ว่า เวียดนามได้เซ็นซื้ออีก 2 ลำ กำหนดส่งมอบในปีหน้า
       
       เว็บไซต์ข่าวกลาโหมในรัสเซียอีกแห่งหนึ่งรายงานในเดือน ม.ค.ว่า เวียดนาม จะเริ่มต่อเรือเร็วติดจรวดอีกชนิดหนึ่ง จำนวนอย่างน้อย 4 ลำในปีนี้ หลังจากรัสเซียได้ส่งมอบชิ้นส่วนที่จำเป็นต่างๆ ให้จนครบในปลายปีที่แล้ว เป็นเรือเร็วโจมตีแบบเดียวกับที่ประจำการในกองทัพเรือรัสเซีย
       
       เจ้าหน้าที่รัสเซียให้สัมภาษณ์ปลายปีที่แล้วว่า รัสเซียถือเวียดนามเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นเดียวกับอินเดียในเอเชียใต้ และเวียดนามจะได้รับสิทธิทุกอย่างเท่าเทียมกับอินเดียทุกประการในความร่วม มือด้านการป้องกันประเทศ.

 

ที่มา : MANAGER.CO.TH

 

สงสัยเรือรบชาติมีข้อพิพาทแถวเกาะสแปรตลีย์ หนาวๆ ร้อนๆ แน่





ความคิดเห็นที่ 1


ถึงจะเป็นซับโซนิก เเต่ถ้าทำได้พิษสงก็มากมายอยู่ดี สำหรับกองเรือรบที่มีการป้องกับไม่ดีเท่าประเทศมหาอำนาจ เเต่ถึงจำเป้นกองเรือที่ดีที่สุดเเต่ถ้าสมมุติยิงพร้อมกันซัก 30 ลูกคงต้องมีหลุดมาบ้าง.............

 

เเล้วทีนี้ DTI เราจะทำอะไรไปสู้นะ........

โดยคุณ กลับสู่สามัญ เมื่อวันที่ 16/02/2012 17:57:49


ความคิดเห็นที่ 2


ระบบBastion-E ก็คือฐานยิงSS-N26 ยาคอน์ท ของรัสเซียซึ่งอินเดียก็นำมาใช้ในการพัฒนาบรามอสยิงชายฝั่งเหมือนกัน ซึ่งพื้นฐานระบบสามารถโยงข้อมูลเป้าหมายจากอากาศยาน เรดาห์ชายฝั่ง เรดาห์เคลื่อนที่และฐานยิงอาวุธ โดยฐานยิงอาวุธวางกำลังห่างกันราวๆ25ก.ม. ระยะยิงเป้าหมายในทะเล250ก.ม. 

ก่อนหน้านี้เวียดนามก็สนใจระบบClub-k ที่ใช้ยิงชายฝั่งที่มีประสิทธิภาพสูงอีกรุ่นนึงเหมือนกัน เป็นระบบการทำงานแบบกึ่งครูซกึ่งซุปเปอร์โซนิค

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 16/02/2012 19:44:07


ความคิดเห็นที่ 3


เวียดนามได้เชิญชวน ทั้ง รัสเซีย และ สหรัฐ เข้ามาวางฐานทัพในอ่าว คัมราน...เพื่อคานอำนาจกับ จีน....

แต่ไม่มีใครมา...คงเนื่องจาก ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และมีแต่ค่าใข้จ่าย...

สิ่งที่ มิตรประเทศ จะช่วยเหลือกันได้ คือ การถ่ายทอดเทคโนโลยี่ โดยเพื่อนต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง....

น่าจะเป็นสิ่งที่ รัสเซีย กำลังทำอยู่.....

การที่ ประเทศจีน มีเรือบรรทุกเครื่องบิน ประจำการ ดูแล้วกลับกลายเป็นผลกระทบกับ กลุ่มประเทศตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)

ที่ต้องเร่งระดม สะสม อาวุธ...เพื่อป้องกันตนเอง สำหรับความขัดแย็งที่อาจจะเกิดขึ้นกับ จีน....

และคงไม่แคล้ว ต้องมีผลกระทบมาถึง ไทย...ที่จะวางตัวอย่างไร ในอนาคต....

มาถึงตรงนี้...จึงไม่ต้องแปลกใจว่า ทร.ไทย จะไม่มี เรือดำน้ำ...เพราะ พี่ใหญ่แห่งเอเชีย เขาคงไม่ยอม...แต่ก็คงไม่บอกตรง ๆ...

เพราะม้นคงต้องมีทางออก สำหรับกำลังทางทหาร ในละแวกตรงกลางระหว่าง อันดามัน กับ ทะเลจีนใต้....

ที่ล้วนแต่มีประเทศที่อ้างสิทธิ์ใน หมุ่เกาะสแปชรี่ย์ คือ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ เวียดนาม....

ยกเว้น เพียงแต่ ประเทศไทย กับ กัมพูชา เท่านั้น...

ซึ่งสำหรับ กัมพูชา คงไม่มีปัญหา....แต่ถ้า ไทย มีความแข็งแกร่ง ทั้ง 3 มิติ....

โอกาสที่จะมี กองกำลังทางเรือของ พี่ใหญ่แห่งเอเชีย ใน อ่าวไทย...คงเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง....

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้า ทร.ไทย มีเรือดำน้ำ ประจำการ...คงจะแทบ ปิดตาย ในอ่าวแห่งนี้ ที่จะมีกองเรือนอกกลุ่ม ASEAN มาวางกำลัง หรือ ใช้ท่าเรือเพื่อพักกองเรือรักษาความสงบปราบปรามโจรสลัด....

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 16/02/2012 20:46:11


ความคิดเห็นที่ 4


สิ่งที่เราควรทำคือเป็นกลางดีแล้วคับทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้พัฒนาประเทศและพัฒนาDTI1,2,3ต่อไปและกริฟเฟ่นอีก6 ให้ประเทศที่ขัดแย้งหมู่เกาะหินโสโครกเขาเคลียกันเอง

โดยคุณ skudetto เมื่อวันที่ 16/02/2012 21:13:30


ความคิดเห็นที่ 5


ผมเกรงว่า เราจะได้รับผลกระทบทางอ้อม คือ การต้องสะสมอาวุธ เพื่อสร้างสมดุลย์ระหว่างเพื่อนบ้านกันเอง นี่ล่ะครับ...

ตอนนี้ จะสังเกตุได้อย่างชิดเจนว่า มาเลเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ปรับตัวในเรื่อง กองทัพเรือ ขนานใหญ่...ซึ่ง ส่งผลถึง อินโดนีเซีย...

คงเล็งเห็นมาพอสมควร จึงปรับตัวไปก่อนหน้านี้ ก็คงเพื่อรองรับการที่ มาเลเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์...จึงเห็นการพัฒนาการอย่างมากมาย...และดูจะล้ำหน้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านไปแล้ว...

คงคล้าย ๆ กับ สวีเดน หรือ สวิตเซอร์แลนด์ ที่วางตัวเป็นกลาง แต๋ก็ต้องปรับตัว สร้างสมดุลย์ กรณีคู่ขัดแย้ง เขาทำสงครามกัน แล้วป้องกันไม่ให้มารุกล้ำใช้ประเทศเขา เพื่อสร้างความได้เปรียบของคู่ขัดแย้ง....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 16/02/2012 21:27:07


ความคิดเห็นที่ 6


นั่นสิครับ สมดุลย์เริ่มเสีย แถมสังเกตุระยะนี้อะไรๆก็พุ่งมาแถบนี้หมด ผมชักนึกถึงช่วงสงครามเวียดนาม

แต่ปัญหาของเวียดนามคือสายป่านไม่ยาวนี่หละครับเงินทุนไม่ได้หนาอะไรมันจะเป็นผลเสียในระยะยาวหรือเปล่าตัวหนุนอย่างรัสเซียจะกล้าหักกับจีนหรือเปล่าเมื่อถึงคราวจริงๆ เวียดนามอาจดึงอเมริกาเข้ามาเพื่อรักษาสมดุลย์(ซึ่งก็คงรออยู่แล้ว)

ฝ่ายเรานิ่งได้แต่คงเฉยไม่ได้ข้างบ้านทะเลาะกันมันต้องมีลูกหลงกันบ้างเตรียมตัวให้พร้อมไว้ดีที่สุด

ผมยังชอบคำๆนี้อยู่ "มีเอาไว้แล้วไม่ได้ใช้ ดีกว่าถึงเวลาจะใช้แล้วไม่มี"

โดยคุณ hinnoi เมื่อวันที่ 16/02/2012 22:47:06


ความคิดเห็นที่ 7


จึงเป็นเหตุผลให้ไทย...ประเทศที่รักสงบต้องเร่งปรับสมดุลย์ทางการทหาร โดย..

1.ทบ.จัดซื้อ รถถังอีก ฮ.โจมตี พร้อมทั้งปรับปรุงระบบป้องกันภัยทางอากาศ(ออปลอตเพิ่งอีก 200/ฮ.คอบบร้า และ อาปาเช่ เป็นต้น..)

2.ทร.เร่งปรับปรุงเรื่อที่มีอยุ่ใหม่หมดทั้งระบบ พร้องทั้งตั้งกองบิน โดยประจำการด้วย เอฟ 18 ซูปเปอร์ฮอนเนต 18 ลำ

3.ทอ.จัดหา บข.เพิ่ม เป็น ยาด 39 และน้อง เอฟ 16 อัพเกรด อีก อย่างละ 2 /3 ฝูง(น้อง ยาด 6+18+18 เอฟ 16 ตามสูตร 18+18+18)และเครื่องบิน สงครามอิเลคทรอนิก และ แจ้งเตือนภัยล่วงหน้า ตบท้ายด้วย บินโจมตี จากลุงแซม อีก 1 ฝูง และ บินเติมน้ำมัน

4.สร้างโครงข่ายการบริหาร สั่งการ ร่วม 3 เหล่าทัพ ....

ปล.ตื่นๆๆ ผมนอนฝันไปแถมยังละเมออีกต่างหาก อิอิ

ปล.2 อันนี้คิดมานานแล้ว คือ ให้ชายไทยทุกคนเข้ารับราชการทหาร (ไม่ว่าจะเป้น ทหารเกณ หรือ รด.ทุกคนต้องเป้นอย่างไดอย่างหนึง)

โดยคุณ SeriesVll เมื่อวันที่ 16/02/2012 23:38:44


ความคิดเห็นที่ 8


   เหมือนพวกพี่เบิ้มหาเหตุให้เวียดซื้ออาวุธยิ่งพี่ๆเขาถังแตกต้องรีบโกยเงินมือใครยาวสาวได้สาวเอาแต่รัฐเซียไวกว่า  ฝรั่งเศษก็มีหวังเล็กๆให้ของขายคอปเตอร์ให้เวียดเจอแจคพอตมาเลซื้อเรือ6ลำ พี่ไทยที่เพิ่งมีเรื่องหมาดๆตบเด็กเกรียนเหมือนพวกพี่ๆเขาจะได้รูบปากคิดกว่าไทยจะซื้ออาวุธตนดันมาเป็นยูเครนที่ส้มหล่น

โดยคุณ skudetto เมื่อวันที่ 17/02/2012 00:27:14


ความคิดเห็นที่ 9


แต่เวียดหนักตรงทั้ง พาราเซลทั้ง สแปรดรี่

โดยคุณ skudetto เมื่อวันที่ 17/02/2012 00:34:48


ความคิดเห็นที่ 10


ท่านจูลดาสกำลังคิดว่าที่ทร.ไทยไม่มีเรือดำน้ำเพราะโดนจีนกดดัน? 

โดยส่วนตัวคิดว่าไทยเองตีลักษณะการฑูตแบบสองหน้าอยู่ ณ ปัจจุบัน จะเรียกว่าเป็นกลางก็คงจะพอไหว แต่ปัญหาคือไทยเราจะคงความเป็นกลางได้ขนาดไหน หากชาติในประชาคมอาเซียนมีสงครามกับจีน ไทยจะเลือกเพื่อนบ้านหรือมาเฟียเวทีโลก?  และที่สำคัญคือหากโดนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งกดดันทางทหารไทยพร้อมสำหรับการกดดันนั้นหรือไม่ ? และหากจะมองสวีเดนเป็นต้นแบบ ไทยควรพัฒนาอุตสาหกรรมทางทหาร พัฒนาการผลิตภาคอุตสาหกรรมต้นน้ำ พัฒนาการผลิตภาคเกษตร พัฒนาการด้านการขนส่งทั้ง3มิติ พัฒนาความแข็งแกร่งทางทหาร เพื่อให้ไทยเป็นพ่อค้าแบบเดียวกับสวีเดนที่ขายของได้กับทุกฝ่าย และ วางตัวเป็นกลางอย่างแท้จริง ซึ่งน่าจะทำได้แต่ต้องแลกมาด้วยอะไรหลายๆอย่าง แบบสวีเดนที่สมัยสงครามโลกโดนกดดันจากมหาอำนาจ3ทาง ทั้งรัสเซีย อเมริกา นาซีเยอรมัน พี่แกก็ยังขายเหล็กให้นาซี ดี๊ด๊ากับอเมริกา ขายกาละแมให้อังกฤษ ตีสนิทกับรัสเซียได้ ถ้าไทยจะวางตัวเป็นกลางจริงอาจจะต้องทำแบบสวีเดนถึงขนาดที่ว่า ขายเสบียงให้จีน เป็นทางผ่านสินค้าจากอินเดียไปสนับสนุนเวียดนาม ขายปืนให้มาเลย์ ไทยพร้อมที่จะถูกรังเกียจจากชาติในแถบเดียวกันเหมือนสวีเดนหรือไม่?

ไม่ว่าจะแบบไหน ก็ควรเตรียมพร้อมกองทัพให้ทันสมัยเสมอ

Si vis pacem, para bellum  แม้หวังตั้งสงบ จงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ ยังใช้ได้อยู่ในปัจจุบันเสมอ 

โดยคุณ icy_CMU เมื่อวันที่ 17/02/2012 05:34:39


ความคิดเห็นที่ 11


สมดุลย์ทางทะเลตอนนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากก็จริง แต่กับคำถามที่ว่าเป็นภัยคุกคามต่อประเทศไทยมากน้อยเพียงใด (สมาชิกช่วยกันชี้แนะได้เต็มที่)

สำหรับกรณีนี้ผมมองว่าประเทศที่ได้ประโยชน์ไปเต็มๆมี 2 ประเทศ

- รัสเซีย ขายอาวุธ

- อเมริกา ได้ประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ และการขายอาวุธ

ผมเคยเขียนในบอร์ดนี้ไปแล้วครั้งนึง แต่แนวคิดผมไม่เป็นที่ยอมรับเท่าไหร่แต่ผมก็ยังคิดแบบเดิม

ลองดูแผนที่โลกให้ดีๆจะเห็นว่าจีนไม่มีทางออกทะเล ในทางยุทธศาสตร์

ทำไมผมคิดแบบนี้

ตอนบนติดเกาหลีใต้ ลงมาหน่อยติดญี่ปุ่น ลงมาอีกนิดติดไต้หวัน (รู้แล้วยังทำไมอเมริกาถึงขายอาวุธดีๆให้ไต้หวันทั้งที่จีนไม่พอใจ) ลงมาใต้สุดติด เวียดนาม

ถ้ากางตาข่ายอันนี้ออก กองเรีอบรรทุกเครื่องบินของจีน ออกสู่ทะเลลึกลำบากแน่นอน ทันทีที่เริ่มมีความขัดแย้ง กองเรีอแปซิฟิคของอเมริกามาแน่นอน

จีนถึงผูกมิตรอย่างดีกับ พม่า และ กัมพูชา เพื่อหาทางออกทะเลของกองทัพเรือ

รวมถึงขณะนี้ฟิลิปปินส์ก็เริ่มที่จะปรับปรุงกองทัพเรือของตนให้ทันสมัยมากขึ้นด้วย

มหาสมุทรแปซิฟิค เป็นมหาสมุทรที่ไม่สงบลงจริงๆถึงแม้ว่าสงครามโลกครั้งที่สองจะยุติไปหลายสิบปีแล้วก็ตาม

 

 

โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 17/02/2012 09:47:29


ความคิดเห็นที่ 12


เป็นความรู้สึกครับท่าน icy_CMU

คงไม่ได้มีลักษณะ กดดัน...แต่น่าจะเป็นลักษณะ ใช้ความสัมพันธ์เพื่อล๊อบบี้...หรือถ้าจะมี ขอให้เป็น เรือดำน้ำจาก ประเทศจีน...

ผมมองว่า จีน ตั้งเป้าหมายการวางกำลังทางเรือไว้ที่ พม่า...แต่ถ้า พม่า ไม่ยินยอมจริง ๆ...

ผมว่าคงต้องมาใช้ที่ กัมพูชา แทน...

ซึ่งถ้า ทร.ไทย มีเรือดำน้ำ ประจำการ...มันก็จะดูไม่มีประโยชน์นัก ถ้าจะมี กองเรือ มาพัก หรือ มาวางกำลังกดดัน ที่กัมพูชา กรณีเกิดความขัดแย้งกับประเทศใดประเทศหนึ่งในกลุ่ม ASEAN...

มันก็จะทำให้ จีน ไม่ประสบความสำเร็จในการที่จะมีกองเรือในภูมิภาคนี้

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 17/02/2012 09:55:07


ความคิดเห็นที่ 13


จีนให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ตรง ท่อก๊าซ จีน พม่า...พอสมควร จึงจะขอใช้ท่าเรือย่างกุ้ง ที่เป็นพักเรือรบจีน หรือ วางกำลังบางส่วน โดยใช้เหตุจากการ ปราบปรามโจรสลัด เป็นสาเหตุหลัก...

ดังนั้น ถ้าเกิดอะไรขึ้น กับผลประโยชน์ ในบริเวณดังกล่าว....มันคงลำบาก สำหรับ จีน มาก...ที่ต้อง ยกกองเรือจาก ทะเลจีนใต้ ผ่านช่องแคบมะระกา มาฝั่ง อันดามัน....

ผมจึงมองว่า จีน น่าจะต้องหาวิธี ที่จะมี กองเรือที่ใด ที่หนึ่ง ในภูมิภาคนี้ คือ ไม่ที่ พม่า ก็ กัมพูชา...และยังสร้างแรงกดกัน ในเรื่อง หมู่เกาะสแปชรี่ย์ ได้อีกด้วย...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 17/02/2012 10:01:27


ความคิดเห็นที่ 14


ดีใจกับเวียดนามด้วยครับ

เพราะเห็นว่าเขาต้องเจอกับปัญหาพิพาททางทะเล...

ส่วนไทยผมว่า มีเรือดำน้ำไว้ป้องปรามก็จะดีกว่านี้ ยังไงมันก็อยู่ในน้ำ...ไม่มีใครทำอะไรโดยไม่คิด

ส่วนเรื่อง DTI ที่เป็นจรวดร่อน อันนี้ไม่มีความเห็นครับ เพราะบรามอส มันเหลือกินจริงๆ กองเรือรบหลายประเทศคงหวั่นๆกันนะ

โดยคุณ tks เมื่อวันที่ 17/02/2012 10:05:15


ความคิดเห็นที่ 15


เมื่อลองนั่งนึกอีกที...

บรามอส ของ เวียดนาม นี้...ถ้าจะมีการพัฒนา ก็น่าสนใจพอสมควรทีเดียว...

จีน มีความต้องการเรือบรรทุกเครื่องบิน จำนวน 2 ลำ ด้วยกัน...ตอนนี้ สำเร็จแล้ว 1 ลำ...

เวียดนาม คงจะสร้างกองเรือน้ำลึก ตามไม่ทัน...

บรามอส สำหรับ SU-30 ของ ทอ.เวียดนาม...หรือ เวียดนาม อาจจะจัดหา SU-33 มาเพิ่มเติม (สำหรับปฏิบัติการทางทะเล) เพื่อลดจุดด้อยของ กองเรือทะเลลึก สำหรับ น่านน้ำทะเลจีนใต้ และ แปซิฟิกเหนือ...โดยมี บรามอส เป็นจุดเด่น...

ถ้าจำไม่ผิด...มาเลเซีย ก็สนใจ บรามอส ด้วยเช่นกัน...

อินโดนีเซีย ก็มี ยาโค๊นส์ ประจำเรือไปเรียบร้อยแล้ว....

สงสัย ภูมิภาค นี้....บรามอส คงบินกันให้ ว่อน เชียว....

ดูแล้ว  หมู่เกาะ สแปชรี่ย์ นี่...ร้อน ใช้ได้ทีเดียว....

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 17/02/2012 10:33:12


ความคิดเห็นที่ 16


ไทยก็น่าจะไปคุยกับอินเดียนะครับเผื่ออาบังจะจัดจำหน่ายมาซัก2โหล แล้วเราก็เอามาผ่าพัฒนาต่อยอด โดยความร่วมมือของอาบัง สวีเดน รัสเซียด้วย

โดยคุณ su50 เมื่อวันที่ 17/02/2012 11:56:38


ความคิดเห็นที่ 17


สงสัยในอนาคต มันคงร่อนข้ามหัวกันไปมาเหมือนท่านจุลทำนายเอาไว้แน่ๆ 55555

สมมติเวียดนามเกิดฮึดทำดินขับจรวดเกิน 300 กิโลเมตร มาละก็ ถึงจะเป็นระดับซับโซนิค ก็เถอะ

คงจะต้องซื้อคอนโดใต้ดินอยู่กันและ...

 

โดยคุณ tks เมื่อวันที่ 17/02/2012 14:35:30


ความคิดเห็นที่ 18


ตอนนี้พม่าก็เริ่มเปลี่ยนไปแล้วอเมริกาเริ่มเข้ามามีอิทธิพลกับพม่ามากขึ้นจีนจะหันไปสนับสนุนชนกลุ่มน้อยหรือเปล่า(แบบลับๆ) หมุนไปมาหลายๆมุมเลยมึนเอง ดูไปดูมาแถบนี้ก็มีแบคอัพกันหมดแล้วเหลือแต่เราที่เป็นไข่แดง จะเอายังไงดี ตีสองหน้าแบบที่ท่าน

icy_CMU ว่า ก็ดีแต่คงต้องเนียนหน่อย คือทำตัวให้มีประโยชน์กับทุกฝ่าย หรือจะเลือกมันซักข้างไปเลย แต่ถามว่าเราจะทำตัวเป็นกลางได้หรือไม่เมื่อถึงทีี่สุด เราเหมือนถูกบังคับโดยสภาพหากปล่อยให้การตัดสินใจเป็นไปตามมติอาเซียน(โยนไปเลยว่าไงว่าตามกัน)อาจจะลดแรงปะทะลงหน่อยดีกว่าประกาศตัวโต้งๆ แล้วค่อยมาแก้ตัวกันทีหลังแต่หากอาเซี่ยนเสียงแตกก็ตัวใครคัวมันละพี่น้อง

อ้าวกลายเป็นคนละเรื่องซะแล้ว เห็น เวียดนามกับโครงการบรามอสแล้วก็กล้วใจแทนพอมีของดีอาการของร้อนจะขึ้นหรือเปล่าจากที่เคยยอมๆอยู่บ้างเผลอเปรี้ยงป้างใส่เรือจีนขึ้นมางานคงเข้าละทีนี้

โดยคุณ hinnoi เมื่อวันที่ 18/02/2012 02:48:10


ความคิดเห็นที่ 19


ผมว่าถึงจีนจะมีสัมพันธ์กับทางเราดีขนาดไหนก็คงต้องเกรงใจบางหากจะมาขอใช้เราเป็นฐาน เพราะคิดว่าประเทศไทยเราคงไม่เห็นด้วยซักเท่าไหร่ใกรณีนี้เพราะจะทำให้เราขัดแย้งกับประเทศที่มีข้อพิพาทไปด้วยซะเปล่าๆ ในเรื่องอาวุธผมเห็นด้วยกับบางท่านที่เรามาสนใจบรามอสแล้วขอให้รัสเซียช่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ดีกว่าครับ มากกว่ามาพัฒนา DT-1 เนื่องจากศักยภาพต่างกันลิปในขณะที่เวียดนามกำลังพัฒนาสร้างจรวดนำวิถีความเร็วระดับซุปเปอร์โซนิคระยะยิง300กม.เรายังมารอพัฒนาจรวดDT-1 4ลำกล้องที่ยังไม่มีหัวนำวิถีเลยครับ ผมมีความเห็นว่าเราข้ามขั้นเลยดีกว่าเวียดนามทำได้เราก็น่าจะทำได้เพราะนี่เปงจรวดไม่ใช่เครื่องบินหรือรถถังสั่งซื่อจรวดเป็นลูกที่ประกอบสำเร็จมาบางส่วนแล้วที่เหลือก็ซื้อเป็นแบบชิ้นส่วนมาแล้วมาประกอบในบ้านเราโดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีน่าจะดีกว่านะครับ ถึงจีนมามีเรื่องบรรทุกเครื่องบินแต่ถ้าระบบป้องกันไม่แน่จริงเหมือนกองเรือของอเมริกา ก็คงไม่กล้าเฉียดเข้าใกล้ระยะยิงของSU-30ที่ติดบรามอสเป็นฝูงหรอกครับ เพราะถ้าผลิดเองได้นี่รับตุนไว้เป็นร้อยลูกแน่

ถ้าความเห็นของผมไม่ถูกใจใครในเรื่องDT1ก็ต้องขออภัยด้วยครับแต่นี่เปงความเห็นส่วนตัวเท่านั้น

โดยคุณ oleomano เมื่อวันที่ 19/02/2012 02:53:43