อาวุธตัวนี้มีความเร็วมากที่สุดในโลกใช่เปล่าครับ
เมื่อแทนยิง Brahmos อยู่ห่างจากเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ 150 กิโลเมตร แบบนี้น่าจะพอหนีเรดาห์ของสหรัฐได้เปล่าครับ เมื่อเริ่มยิงออกไป
และสามารถหลบหนี Missile ที่เรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐยิงออกมาสกัดได้หรือไม่ และ Brahmos ตัวนี้จะทำความเร็วสูงสุดเมื่อเข้าไกล้ เป้าหมายในระยะกี่กิโลเมตร
จริง ๆ อาวุธประเภทนี้มองดี ๆ แล้วจุดเด่นมันก็มี
แต่ลองมองในอดีตซะก่อนว่าแม้แต่ตอร์ปิโดธรรมดา ๆ ก็จมเรือรบได้หลายลำแล้วหรือแม้แต่ระเบิด 250 ปอนด์ก้จมเรือรบอังกฤษมาแล้วทั้งนั้น
หรือเรืออิสราเอลโดน C-702 ธรรมดา ๆ บินไม่ถึงมัคด้วยซ้ำ สอยเข้าให้เมื่อปีก่อน
Brahmos ประเภทนี้มันมีดีตรงมัน Stealth และ บินเรี่ยน้ำ แม้จะบินเร็วเพียง 1 มัค ที่ผิวน้ำนี่เรดาห์มีปัญหาแน่นอนครับ กว่าจะเล็งกว่าจะจับได้
ตอนนั้นคงกระทบเป้าหมายเรียบร้อยแล้ว ผลการซ้อมรบต่าง ๆ จะเห็นได้เลยว่าการใช้ อวป. ต่อต้าน อวป. นั้นยากเย็นมาก
ถ้าเลือกได้ไม่มีใครอยากเป็าเป้าครับ
ไม่น่าจะได้ครับ ระบบป้องกับตนเองของกองเรือบรรทุกเครื่องบิน ของเขาสุดยอดมากครับ
http://www.youtube.com/watch?v=at7fLex1oPc&feature=player_detailpage
http://www.youtube.com/watch?v=at7fLex1oPc&feature=related
http://www.youtube.com/watch?v=at7fLex1oPc
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=at7fLex1oPc[/youtube]
http://www.youtube.com/watch?v=at7fLex1oPc&feature=player_embedded
แบบนี้ เวียดนามก็โง่จังหล่ะครับ ที่ซื้อ ในเมื่อมันไม่สามารถ โจมตีเรื่อรบสหรัฐได้เลย เดี๋ยวพอรับกับจีน มันคงทำอะไรเรื่อบรรทุกเครื่องบินจีนไม่ได้เลย
บรามอสเป็นครุยมิซไซล์ ความเร็วสูง ที่ระดับความสูงต่ำ ทำให้เรดาตรวจจับได้ค่อนข้างยาก
และมีระบบการบินที่ดีมาก สามารถหามุมเข้าปะทะได้หลายทาง นั่นก็คือการ สับขาหลอกนั่นเอง
ที่ระดับความสูง 10 เมตร ณ ความเร็ว 3 มัค มีอาวุธน้อยชินที่จะสกัดได้
แพททริออทก็ไม่แน่ว่าจะกันอยู่ เพราะถูกออกแบบมาเพื่อต่อต้าน การโจมตีจากมุมสูง
ถ้าจะไห้มองจริงๆผมว่าเหลือแต่ต้องวัดกันที่ ฟาลังก์ กับบรามอส
คือประมานว่า บรามอสอาจทำอะไรกองเรือไม่ได้ แต่ฝ่ายกองเรือก็ป้องกันจน หัมหด เลยล่ะครับ
และถ้ามาเป็นชุดหลายๆลูก อาจจมเรือบรรทุกเครื่องบินไม่ได้ แต่กองเรืออ่ะ น่าจะเสียหายเยอะเหมือนกัน
ผมว่าท่านจขกท.ระวังการแสดงความคิดเห็นสักนิดหนึ่งจะดีกว่านะครับ
การระบุชื่อประเทศใดแล้วลงท้ายด้วยคำว่า โง่ นี่ ผมว่ามันไม่ควรเท่าไหร่
คิดกลับกันถ้าประเทศอื่นลงท้ายคำนี้หลังชื่อประเทศเรา คนชาติเค้าจะรู้สึกยังไง?
เข้าเรื่องที่ถาม ท่านแน่ใจได้อย่างไรว่ากองเรือสหรัฐจะป้องกันชีปนาวุธแบบนี้ได้? แล้วไปว่าเค้าซื้อมาทำไมโง่นี่ หรือว่างั้นไม่ต้องซื้อเลยดีกว่า ผมว่ารบจริงเค้าก็คงไม่โง่ ยิงทีละลูกให้สกัดได้หรอกกระมั้งครับ แล้วประเทศที่ใช้ก็คือรัสเซียกับอินเดียเชียวนะครับ ถ้าซื้อมาแล้วใช้ยิงกองเรือไม่ได้ เค้าก็คงไม่ใช้ให้โง่หรอกครับ
บินมายาว ๆ ที่ความสูง 10 m Brahmos ไม่น่าทำความเร็วที่ Top speed ได้ครับ เครื่องบินรบยังทำไม่ได้เลยครับ
เค้าคาดกันว่ามันน่าจะทำความเร็วเพียง 1.4 มัคที่ความสูงต่ำ ๆ ส่วนความเร็ว Top speed นั้นจะได้เพราะที่ความสูง ๆ
The same missile going Mach 3 at Sea Level...
Drag Force @ Mach 3 = 0.5 x 1.29 x (340x3)^2 x 0.70 x 0.025 = 11,744 Newtons = 2640 lbs
Drag Force @ Mach 2 = 0.5 x 1.29 x (340x2)^2 x 0.70 x 0.025 = 5,219 Newtons = 1173 lbs
Drag Force @ Mach 1 = 0.5 x 1.29 x 340^2 x 0.70 x 0.025 = 1,305 Newtons = 293 lbs
http://www.strategypage.com/militaryforums/387-1879.aspx
นี้คือข้อจำกัดของจรวดทุกรุ่นรวมไปถึงพวก BVR ด้วยครับ
ยากมากๆ ถ้ายิงก็เท่ากับฆ่าตัวตาย
เรือบรรทุกเครื่องบินมักจะไม่อยู่คนเดียว อย่างเลวสุดก็ต้องมีเรือลาดตระเวณชั้น อีจิส ประกบไปด้วย
ระบบอีจิส ตรวจจับได้ 250 ไมล์ ถ้าพบจุดบนจอเรดา แล้วพิสูจน์ได้ว่าเป็น มิสไซล (ถึงจะมาในความสูงไม่มาก แต่อีจิสตรวจเจออยู่แล้ว)
ถ้าผมเป็นผบ.ก็จะขอข้อมูลจากดาวเทียมว่าใครยิง
แล้วถ้าเป็นข้าศึก ก็จะสั่งให้ยิงด้วยโทมาฮอร์ค ทำลายที่ตั้งจรวดทันที
นี่ในกรนีที่ยิงมาลูกเดียวนะครับ
รู้สึกว่าจะติดกับกองเรือเวียดนานที่ใช้เทคโนโลยีสเตลธ์ของรัสเซียครับ(ได้ลิขสิทธิมาต่อเองในประเทศด้วย) โอกาสที่จะป้องกันน้อยมาก ด้วยความเร็วสูงเกือบ 4 มัค ประเทศอังกฤษจึงได้ทุ่นทุนให้บริษัท BAE sytems วิจัยพัฒนาระบบป้องกันแบบใหม่
ps.สงครามยุคใหม่ผมว่าจะเป็นสงครามที่ใช้เรือขนาดไม่เกิน 4000 ตัน แต่มีความสามารถสเตลธ์ลดการตรวจับของเรดาร์ ทัพเรือต้องวิจัยพัฒนาวัสดุที่จะใช้ต่อเรือไม่งั้นโดนเวียดนามแซงหน้าในอนาคต ผมก็เคยไปเวียดนามมาเด็กที่นั้นขยันเรียนกันจิงๆ
การยิงเรือบรรทุกเครื่องบิน เปรียบได้กับการเจาะไข่แดงฝ่ายตรงข้าม
เรือชั้นเอจิส ตรวจจับอาวุธนำวิถีได้แน่ แต่ตรวจเจอที่ระยะเท่าไหร่? มีเวลาพอต่อการป้องกันหรือไม่? นี่เป็นเรื่องที่น่าขบคิด แต่การถล่มกองเรือบรรทุกเครื่องบิน เค้าไม่ยิงอาวุธนำวิถีเข้าไปลูกเดียวเป็นแน่ เรียกว่ามีกันเท่าไหร่ ใส่กันหมดแม็ก ทั้งอาวุธนำวิถี ทั้งสงครามอิเล็คทรอนิค รวมถึงการส่งเครื่องบิน เรือขนาดกลาง เข้าไปรบกวนเรดาร์ เข้าไปยิงจริง หรือแค่สับขาหลอก ก็ว่ากันไป
แต่ Brahmos 1 ลูก ยิงเรือบรรทุกเครื่องบิน 1 ลำ ถึงแม้ว่าจะถูกจังๆ ก็ไม่จม ถึงน้ำหนักจะ 3 ตัน หัวรบ 300 ก.ก. แต่เมื่อเทียบกับ น้ำหนักเรือบรรทุกเครื่องบินแล้ว ตอบได้เลยเป็นไปไม่ได้ที่จมในลูกเดียว
เรือบรรทุกเครื่องบินมีมูลค่ามหาศาล แค่ตัวเรือก็มากโข่ บวก F-18 ทั้ง ฮอเน็ต กับ ซูเปอร์ฮอเน็ต แล้วยิ่งเยอะ แล้วยังมีอย่างอื่นอีก ทั้ง sea hank กับอื่นอื่นอีก
ผมว่า ขบวนเรือ คุ้มกันคงเอาอยู่ ทั้ง sea sparow กับ ระบบ อีจิส อีก พร้อมทั้ง เรือ พิฆาตอาวุธปล่อยนำวิธี อย่างน้อย 1 ลำ บวกทั้ง การแทรกคลื่อนรบกวน
และเราดา ทั้ง ฮอค อาย กับ เรดา เรืออีก ( awe เรา ดีพอพอกับ ฮอคอาย เลยนะ ตรวจจับ 200 กว่ากว่าไมล์ ประมาณ 260 มั้งจำตัวเลขไม่ค่อยได้ )
ยิงนิวเคลียร์ ดัก ก็ สิ้นเรื่อง เอาสัก 50เมกะตัน. คงพอจะระเบิดนานน้ำ แถบนั้น ให้เละ รอดไปได้ก็เจอ สึนามิ 555+ ไม่รอดดดดด
นอกเรื่อง หน่อย ขำๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
ยิงได้ไหม แล้วจมได้ไหม เป็นไปได้ทั้งนั้นแหละครับ เพราะคนสร้างก็สร้างเพื่อการนี้ แต่การที่จะยิงใส่กองเรือ อเมริกาไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะเขาเองก็รู้ว่ามี อาวุธแบบนี้อยู่ มีความสามารถ แบบไหน ขนาดไหน เพราะงั้น ส่วนตัวผมว่า อเมริกาไม่ยอมเป็นเป้าโดนยิงง่ายๆ หรอก ครับ แล้วยิ่งกับกองเรืออันดับ 1 ของโลกอย่างนั้น ถ้ามันง่ายขนาดนั้น หลายๆประเทศก็คงประเมินออก แบบว่าคงจะยุบกองเรือไปแล้วแหละ ครับ อีกอย่างจีนก็รู้ งั้นจีนจะต่อเรือบรรทุกเครืองบินไปทำไม 555
จมได้ 100 เปอร์เซ็น
ถ้าใครคิดจะจมเรือบรรทุกเครื่องบิน คงไม่มีไอ่หน้าไหน โง่ยิงแค่ลูกเดียวหรือทำการยิงแค่ระลอกเดียว หรอกครับ
แค่ลูกเดียว ระบบป้องกันเรือบรรทุกเครื่องบิน-ยังหึดขึ้นคอ แต่ถ้ามาพร้อมกัน 40-50 ลูก (หรืออาจมากกว่านั้น) ระลอกแรก และพร้อมที่จะมาอีกระลอกที่2 และ3 (ป้องกันได้ ก็ให้มันรู้ไป)
ตัวเรือบรรทุกเครื่องบิน ก็ใช่ว่า จะไม่มีระเบิดในตัว อย่าลืมว่า มันบรรทุกทั้งน้ำมัน+ลูกระเบิดมากมายในตัว แม้แต่โรงเก็บเครื่องบินธรรมดา ยังมีระเบิดเพียบ
แค่ระลอกแรก 40-50 ลูก เรือคุ้มกัน ก็ไปกันเกือบหมดแล้ว ไหนจะระลอกที่2 อีก (สิ่งสำคัญคือ มันไม่รู้ว่า จะโดนโจมตีตอนไหน) แถมการโจมตี มาจากทุกทิศทาง มีกลลวงที่สร้างขึ้น เพื่อให้สับสน
จรวดที่มีความเร็วขนาดนั้น แถมมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้จรวดมีความฉลาดมากขี้น แค่ลูกเดียว-ยังป้องกันยาก
ถ้ามันป้องกันง่ายขนาดนั้น รัสเซีย กะ อินเดีย คงไม่เอาข้าประจำการมันหรอก
เวียตนามซื้อัวนี้มาจะทำให้น่ากลัวมาก อีกหน่อยเวียตนามจะมีเทคโนโลยีทางทหารที่ทันสมัยและน่ากลัวที่สุดในย่านอาเซียนอย่างแน่นอน เพราะตอนนี้สามารถผลิตสารเคลือบที่มีคุณสมบัติสเตลโดยมีต้นทุนถูกมากที่สุดในโลกขณะนี้ครับ
พอพูดถึงเรือก็นึกถึง 911 ไทย ไอ้ผมก็ไม่อยากจะให้หาบินมาแทน เอวี 8 เลย เพราะคิดว่า ทร.ควรตั้งฐานบินบนบก ด้วย เอฟ 18 ซูปเปอร์ฮอเนต สัก 12 ลำ อิอิ หรือถ้า มีมาก ก็จัด หนัก 18 ลำไปเลย 555..........
ท่านพี่ทั้งหลายอย่ลืมนะครับว่าระบบเขี้ยวเล็บและเป็นหัวใจหลักเลยของเรือบรรทุกเครื่องบินไม่ใช้ระบบ ramหรือฟาลังค์ หรือระบบ sea spawrow นะครับ แต่หัวใจหลักของเรือบรรทุกเครื่องบินจริงๆมันก็คือ เครื่องบินรบไงครับที่อยู่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบินเหล่านั้น นั่นแหละครับเขี้ยวเล็บหลัก และเป็นระบบป้องกันตัวหลักของกองเรือบรรทุกเครื่องบินเลย ดังนั้นถ้าฝูงบินข้าศึกจะเข้ามาโจมตีกองเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐแล้ว นอกจากจะต้องมีฝูงบินคุ้มกันฝูงที่จะทำการโจมตีแล้ว ยังต้องพกดวงหมานๆมาด้วยเพราะเป็นไปแทบไม่ได้เลยที่จะหลีกพ้นการตรวจจับจากเครื่อง เอแว็ค แบบ hawk eye และเรด้าร์ของกองเรือและจากเรือป้องกันภัยทางอากาศอีก จะถ้าโดนตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะไกล ก็ต้องโดนฤฝูงบินขับไล่ประจำกองเรือที่มีมากกว่า90ลำ+ที่อยู่บนเรือบรราุกเครื่องบิน ถ้าเก่งฝ่ากองบินมาได้ ยังต้องเจอกับเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศอีก ถ้ายังเก่งฝ่ากองเรือป้องกันภัยมาได้ ก็ยังต้องเจอกับระบบอาวุธป้องกันเรือระยะประชิดอีก เรียกได้ว่ายากมากครับ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีเครื่องบินไม่น้อยกว่าฝ่ายตั้งรับ ในอัตราตามหลักการรบฝ่ายเข้าตีต้องมีจำนวนมากกว่า3_1 ครับ
หัวข้อคือ เจ้าตัวนี้ มันจมเรือบรรทุกเครื่องบินเมกาได้เปล่า
บินต่ำเรียบพื้นทะเล ในความเร็วสูงระดับ 3 มัค ถ้าโดนยิงในระยะหวังผล ป้องกันยาก เรด้าตรวจจับยากในระดับต่ำ บางทีกว่าจะรู้ตัว-จรวดก็ถึงตัวแหละ แถมจะโดนเป็นเป้ายิงตอนไหนก็ไม่รู้
จะจมเรือบรรทุกเครื่องบิน คงไม่ยิงแค่ลูกเดียวแน่ และไม่ใช่ยิงแร่ระลอกเดียว เพราะเรือบรรทุกเครื่องบิน อย่างน้อย ก็มีเรือคอยคุ้มกันตลอด
เรือบรรทุกเครื่องบินเมกา ไม่ใช่เทพเจ้า ที่จะป้องกันได้ทุกอย่าง โดนเข้าไปหลายลูก ก็มีสิทธิ์จมได้เหมือนกัน
ต่อให้เป็นซูเปอร์เอจิสจับเป้าหมายได้1000กม. เจออะไรที่บินเรี่ยน้ำก็แพ้หลักของฟิสิกส์2อย่างคือ 1.โลกนั้นเป็นทรงกลม 2.คลื่นทุกชนิดเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง ลองเอาลูกเทนนิสมาแล้วเอาไม้บรรทัดทาบดู จะเข้าใจว่าระยะตรวจจับของเรดาร์ที่ความสูงต่ำๆนั้นต่อให้เรดาร์เทพแค่ไหน ท้าได้เลยว่าระยะตรวจจับที่เส้นขอบฟ้าไม่เกิน60กม.ทั้งนั้น
โดยเฉพาะระบบเอจิสที่ติดบนเรือชั้นอาเลห์เบิร์ก ซึ่งเรดาร์นั้นติดต่ำกว่าปกติ น่าจะมีระยะตรวจจับเป้าเรี่ยผิวน้ำไม่เกิน40กม. (เรดาร์ที่ติดบนเสาสูง36เมตรมีระยะตรวจจับจำกัดสำหรับเป้าหมายบินเหนือพื้นผิว60เมตรที่54กม. อ้างจากระยะตรวจจับของเรดาร์30N6ของs-300ติดตั้งบนเสาแบบ40V6MD)
สมมติในกรณีที่ดีที่สุดสำหรับเรือเอจิส อวป.บราโมสบินเรี่ยน้ำมาที่ความเร็ว1.4มัคจริงๆ(แต่ระยะ10กม.สุดท้ายน่าจะไปที่มัค3)1มัคเท่ากับ1225กม./ชม.ที่ระดับน้ำทะเล ตรวจได้ที่40กม. มีเวลาต่อต้านราวๆ84วินาที 1นาที24วินาทีเท่านั้น ไม่รวมterminal phaseที่ความเร็วมากกว่าามัค3
ถามว่า1นาทีกว่าๆ หากมากันเป็นฝูงราวๆ40ลูก จะเป็นอย่างไร ? แล้วถ้ามีหลายระลอกล่ะ ? เพราะฉะนั้นกองเรือบรรทุกบ.จึงต้องจอดห่างฝั่งมากและส่งบ.แบบฮอว์คอายส์ไปเพื่อลาดตระเวณหาเป้าหมายบินเรี่ยน้ำ แต่ ฮอว์คอายส์หาเป้าให้ได้จริง แต่จรวดSM-2 ยังไงก็ต้องใช้ระบบควบคุมการยิงจากระบบเอจิสและใช้เรดาร์AN/SPY-1 ในการล็อคเป้าหมายอยู่ดี และการจอดห่างฝั่งมากๆเท่ากับระยะปฏิบัติการของเครื่องบินจะต้องลดลง และ หากประเทศนั้นมีระบบป้องกันภัยทางอากาศชั้นดี (ยกตัวอย่างจีน ที่มีระบบป้องกันภัยทางอาศแทบจะทุกตารางนิ้วของประเทศ) เครื่องบินจะต้องบินต่ำเพื่อหลบเรดาร์ระยะปฏิบัติการเผลอๆจะไปไม่ถึงเป้าหมายที่ลึกเข้าในฝั่งเสียด้วยซ้ำ ทร.สหรัฐต่อให้มีเอฟ35เพื่อกำจัดเป้าหมายอย่างเรดาร์ ก็ไม่มีความล่องหนมากพอสำหรับเรดาร์ของระบบS-300 PMU2 ที่ตรวจจับเป้าหมายRCSเล็กๆได้ก่อนระยะยิงของจรวดHARM,JDAM,JSOW
จึงไม่น่าแปลกใจที่ทร.สหรัฐจะส่งเครื่องบินปฏิบัติการต่อเมื่อ B-2 F-117 F-22 ทำลายเป้าหมายพวกนี้ให้แล้ว
และอย่าคิดว่าจรวดแบบAMRAAM จะสามารถยิงใส่่จรวดนำวิถีที่บินเรี่ยน้ำได้ เพราะเรดาร์แอคทีฟที่หัวของAMRAAM จะสับสนเนื่องจากGround Clutter ก่อน เรดาร์ที่หัวของAMRAAMนั้น มีขนาดเล็กและไม่ได้ออกแบบมาเพื่อยิงเป้าหมายใกล้พื้นดิน
ถามว่าเป็นไปได้ไหมในการจมเรือบรรทุกบ.สหรัฐ .....เป็นไปได้ และค่อนข้างมั่นใจด้วยว่าสหรัฐจะไม่กล้ายุ่งกับประเทศที่มีระบบนี้ ที่สนับสนุนด้วยระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบS-300 อย่างเวียดนาม (หรือจีน ที่ใช้จรวดแบบคล้ายๆกันอย่างC-803 ) แต่จำนวนต้องมากพอที่จะสามารถสร้างความเสียหายได้ (ถ้าจรวดSM-2 และESSM ของเรือคุ้มกันหมด คราวนี้เอาบั้งไฟยิงก็ยังโดน)
ขอเพิ่มเติมอีกนิดว่า ปัจจุบันทร.สหรัฐได้เตรียมนำE-2D กับSM-6เข้าประจำการเพื่อต่อกรกับเป้าหมายพวกนี้โดยเฉพาะที่รยะเกินเส้นขอบฟ้า แต่ปัญหาก็ยังมีอยู่ว่า จะจัดการกับอวป.นำวิถีความเร็วเหนือเสียงที่ยิงจากเรือดำน้ำในระยะใกล้อย่างไร? เท่าที่จำได้ กองเรือบรรทุกบ.สหรัฐมีปัญหาใหญ่ตอนฝึกซ้อมกับเรือดำน้ำชั้นก็อทแลนด์ที่เช่ามาจากสวีเดน ที่สามารถตามกองเรือได้โดยที่กองเรือไม่รู้ตัว นั่นคือปัญหาใหญ่อีกปัญหาสำหรับกองเรือขนาดใหญ่แบบนั้น การที่จะต้องเจอทั้งตอร์ปิโดและอวป.ในเวลาเดียวกันนั้น ฝันร้ายกันไปเลยทีเดียว (จีนมีเรือดำน้ำชั้นกิโล 12ลำ เวียดนามกำลังจะได้รับ6ลำ อิหร่าน3ลำ ทั้งหมดมีความสามารถในการยิงอวป.แบบClub ที่มีความเร็วสูงสุด2.5มัค )
นี่ยังไม่นับอวป.ที่ยิงจากเครื่องบินแบบSu-30 (ในกรณีของจีน ทั้งSU-30 J-11B J-13 H-6K/M FBC-1 )ที่สามารถประยุกต์แผนการณ์ในการจัดการกองเรือบรรทุกบ.ได้อย่างหลากหลาย (จินตนาการถึงการโจมตีพร้อมกันดู)
ประเทศที่มีอาวุธปล่อยจำพวกนี้จำนวนมากๆ สหรัฐไม่กล้ายุ่งด้วยแน่ๆ (เหมือนจีน คงไม่ยุ่งกับเวียดนามทางเรือตรงๆ คงจัดการกันด้วยกำลังทางบก)
สหรัฐจึงได้แต่จัดการกับประเทศที่อ่อนแอเท่านั้นไงล่ะ
ตอบอีกคำถามคือ 1ลูกจมได้ไหม โดยส่วนตัวว่าไม่น่าได้ เพราะระบบจัดการความเสียหายของเรือสหรัฐดีมากๆ แต่ถ้าโดนเข้าสัก4-5ลูกก็ไม่แน่ เพราะในเรือนั้นเต็มไปด้วยน้ำมันและระเบิด
สงสัยกองเรือสหรัฐมันเป็นเอเลี่่ยนแน่ๆเลย ถึงได้ไร้เที่ยมทานขนาดนี้
ถามให้คนเขา มาตอบ...พอตอบตามความคิดเห้น แล้ว มาพูดแนวเสียดสี บ้าหรือเปล่า อ่านดูดีๆครับ ผมก็ว่าจมเรือได้ไหม จมได้ แต่มันง่ายไหม...มันไม่ง่าย
ปล.แค่นี้แหละ รำคาญถ้าจะถามแบบนี้
จขกท. มีคำตอบไว้ในใจอยู่แล้วหรือป่าวครับ กับคำถามนี้ เผื่อจะตอบได้ถูกใจ จขกท.
ระบบอาวุธแบบนี้ ตามหลักแล้วถ้าจะโจมตีกองเรือบรรทุกเครื่องบิน เค้ายิงกันหมดหน้าตักเลยครับ มีเท่าไหร่ใส่หมด ทั้งลูกล่อ ลูกจริง
ซึ่งมันจะเพิ่มโอกาสในการชนเป้าของจรวด ทางส่วนกองเรือเค้าก้มีระบบป้องกันอยู่ แต่จะกันได้หมดหรือป่าวนั่นอีกเรื่อง
ลองคิดเล่นๆ ประเทศที่กล้ายิงบามอสใส่กองเรืออเมริกานี่คือ เค้ากล้าประกาศสงครามเต็มรูปแบบกับอเมริกาเลยหรือครับ ในโลกจะมีสักกี่ประเทศที่กล้าทำล่ะ
ถ้าผมเป็น ผบ. กองเรือบรรทุกเครื่องบิน ถ้าคุณยิงบรามอสใส่ผม คุณยิงได้เพียงครั้งเดียวซึ่งจะเป็นลูกที่ผมจะเข้าสกัดทุกวิถ๊ทาง ที่ลูกเหลือคุณจะไม่มีโอกาสได้ยิงอีก เพราะผมเป็นกองเรือบรรทุกเครื่องบิน ไม่ใช่เป็ดลอยน้ำที่ไม่มีอะไรตอบโต้ ผมคือฐานบินเครื่องบินขับไล่ที่ทันสมัยนะ ผมมีอะไรบ้าง......ที่จะตอบโต้คุณ
คือถ้าถามอย่างนี้ก็หมายความว่าท่าน จขกท จะวัดกันแค่ระบบป้องกันเรือกับสมรรถนะของ อวป บรามอสใช่มั๊ยครับ ถ้าถามอย่างนั้น ก็ไม่ควรเอาเรือฟรีเกตุคุ้มกันมารวมอยู่ใน ตัวระบบป้องกันตัวด้วย เราะยังไงซะมันก็เป็นเร่อคนละลำ แต่ถ้าคุณจะถามว่าถ้ากองเรือบรรทุกเครื่องบินโดนโจมตีโดยเครื่องบินขับไล่ยิง อวป บรามอส อย่างนี้ ผมก็ยืนยันคำตอบเดิมครับ ว่าถ้าจะจมได้ นั่นหมายความว่าเตรื่องบินจะต้องผ่านวงล้อมของเครื่องบินขับไล่ประจำเรือบ.เครื่องบิน และยังต้องผ่านด่านเรือฟริเกตุป้องกันภัยทางอากาศอีก และยังต้องเจอระบบป้องกันด่านสุดท้ายของระบบป้องกันภัยระยะกลาง ระยะประชิด ประจำเรือบ.เตรื่องบินอีก ซึ่งมันไม่ง่ายเลยครับ คนที่จะทำอย่างนั้นได้ แน่นอน ต้องเป็นมหาอำนาจโลกเหมือนกับ เมกา หรือ จีน เท่านั้นืประเทศอื่นคงไม่มีใครกล้าหรอก เพราะอย่างพี่ข้างบนว่าถ้าทำอย่าวนั้นก็เท่นกับว่าประกาศสงครามกับเมกาจังๆเลยครับ และไม่ต้องไปกลัวแทนเวียดนามครับ เพราะยังไงซะเวียดนามก็คงไม่กล้าพอที่จะส่งเครื่องบินตัวเองออกไปฆ่าตัวตายหรอก ถ้าเป็นห่วงเป็นห่วงตัวประเทศเราเองดีกว่าครับ ว่าไอ้อาวุธบรามอสเนี่ยมันจะเป็นภัยคุกคามกองเรือเราได้ขนาดไหนจะดีกว่าครับ
ไม่น่าทันน๊ะนั้น นาทีกว่าๆเอง
อ่านไปอ่านมาชักสนุก เอามั่งดีกว่า หากถามว่าจมได้มั้ยตอบไม่ยากครับถ้าโดนจังๆจมแน่นอน แต่มีคำถามพ่วงว่าจะโดนรึเปล่านี่ซิ ผมตอบในแนวผมละกัน ปกติพี่กันเวลาบุกใครนี่เค้าไม่ส่งตัวเข้าไปเสี่ยงแน่ถ้ารู้ว่าอีกฝ่ายมีอาวุธแบบใหน เท่าที่เห็นมาเค้าจะใช้พวก ลูกยาวอย่างโทมาฮอว์คจจากเรือดำน้ำอะไรประมาณนี้คือซัดลูกยาวไปทำลายเป้าหมายที่เป็นภัยได้แล้วค่อยกระชับไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นเรือบรรทุกเครื่องบินจะไม่เข้าไปอยู่ในพิสัยเจ้าบรามอสแน่นอนถ้ามันยังอยู่ เค้ามีตัวเลือกหลากหลายครับ ใหนจะb2ใหนจะ uav ผมว่าปัญหาของฝ่ายยิงไม่ใช่ว่าจะยิงโดนหรือไม่แต่เป็นจะได้ยิงหรือเปล่ามากกว่่า
ที่จริงเค้าก็ไม่ใช่เทพหรือเทวดาอะไรหลอกครับแต่คงต้องยอมรับว่าด้านเทคโนโลยี่บวกประสบการณ์ในการรบเค้าไปไกลมากอาจจะมากกว่าที่เราๆรู้กันด้วยซ้ำ และยิ่งประสบการณ์นี่ต้องยอมรับครับว่าในปัจจุบันมีซักกี่ประเทศที่เคยรบหรือมีความสามารถในการรบนอกประเทศเหมือนเค้า
พี่ไทยเอางบที่จะซื้อเรือดำนำ้ มาซื้อ Brahmos น่าจะไ้ด้ สัก 20 ลูกมั้ง แล้วเอาไปติดตั้งที่เรือบรรทุกเครื่องบินของเราพอ เหอๆๆเทพๆๆๆหลาย
เห็นท่าน SeriesVll พูดถึงเรือ จักรี เราผมก็เห็นด้วยครับว่าเหมาะกับเครื่องแฮริเออร์มากที่สุดแล้ว(เพราะเรานั้นคู่กันอิๆ)ไม่อยากให้ไปลำบากกับเจ้าF35เลยแพงก็แพงจะขึ้นจะลงก็ลำบาก ถ้าทร จะเอาจริง เอาไว้จอดแถวสุราษ ประจวบ น่าจะเหมาะกว่า แต่ผมชอบf15มากกว่าอิๆf18ก็ดีมาซักฝูงครึ่งฝูงคงโก้น่าดู
เรื่องนี้ชักจะสนุก เจอประเด็นหลายๆประเด็นที่น่าคุย
1.ตามที่ว่าไว้ว่าเรือบรรทุกบ.รุกก่อนหากทราบว่ามีระบบแบบนี้ --------------ระบบพวกนี้เคลื่อนที่ได้ สามารถซ่อนพรางเป็นรถตู้คอนเทนเนอร์ธรรมดาได้(อ้างจากระบบclub-K) เป้าหมายที่จัดการยากที่สุดคือเป้าหมายที่ไม่รู้ตำแหน่งแน่นอน ระบบข่าวกรองจำพวกUAV ใช้ไม่ได้แน่ๆในช่วงต้นของสงคราม (ยกตัวอย่างกรณีหากจีนจะต้องรับมือการตอบโต้ของสหรัฐหากจีนบุกไต้หวัน) เพราะจะโดนสอยจากฟ้าแน่ๆ ระบบเครื่องบินตรวจการณ์ไม่ว่าจะโกลบอลฮอว์ค U-2 ก็ไม่ใช่คู่ต่อกรระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบS-300 ระบบดาวเทียมสอดแนมก็ไม่ได้เรียลไทม์แบบในหนังและมีข้อจำกัดด้านเวลาที่อยู่เหนือเป้าหมาย เครื่องบินของกองเรือบรรทุกเครื่องบินจะเข้าปฏิบัติการต่อเมื่อระบบป้องกันภัยทางอากาศของเป้าหมายถูกทำลายจากเครื่องของทอ.เช่นf-22 B-2 (อย่างอิรักที่เครื่องเอฟ=117เปิดทางให้ก่อน) และการยิงโทมาฮอว์คจะไม่สำเร็จหากเป้าหมายนั้นเคลื่อนที่ได้ เพราะไม่รู้ตำแหน่งแน่นอนของเป้าหมาย เพราะฉะนั้นการใช้โทมาฮอว์คจะใช้กับเป้าหมายที่เป็นระบบสาธารณูปโภคหรืออาคารสำคัญๆหรือเป้าหมายที่มีค่าทางยุทธการที่อยู่กับที่ นี่จึงเป็นเหตุผลทำไมช่วงต้นของสงครามอ่าวครั้งที่1ซัดดัมถึงสามารถยิงจรวดสกั๊ดได้อย่างอิสระทั้งๆที่เครื่องบินนาโต้ว่อนเต็มหัวไปหมด(รวมถึงทหารที่ฝึกมาอย่างห่วยบรม) และนาโต้ต้องเสียเวลาในภารกิจล่าแท่นยิงพวกนี้อีกตลอดจนจบสงคราม ถ้าหากซัดดัมมีทหารที่ฝึกดีกว่านี้ ระบบป้องกันภัยทางอากาศที่ดีกว่านี้ มีอาวุธภาคพื้นที่ไม่ใช่monkey modelแบบนี้ ยุทธการพายุทะเลทรายอาจจะจบลงในแบบที่หนังคนละม้วนกับที่เรารู้อยู่ก็ได้
2.กองเรือคุ้มกันสามารถสอยอวป.พวกนี้ได้หมด ------------อย่างที่ว่าไว้ว่าการที่มีReaction-timeแค่84วินาที(ณ มัค1.4 ไม่ใช่มัค3 หากเป็นมัค3จะมีเวลาเพียง40วินาที )กับจรวดที่มา-สมมติเล่นๆว่าสัก40ลูก interval time สำหรับการซัลโวอวป.จากVLS นั้นประมาณ2-3วินาทีต่อลูกไม่ได้รัวยิกเป็นปืนกลอย่างที่คิดกัน CSG-กองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตี(Carrier Strike Group) มีเรือคุ้มกันเอจิสประมาณ5ลำ ตกแล้วกว่าจะส่งจรวดต่อต้านอาวุธปล่อย40ลูกนั้นใช้เวลา16วินาที ไม่นับเวลาที่จะป้อนข้อมูลเป้า อวป.ไหนๆที่ว่าเทพ kill probabilityหรือโอกาสโดนเป้าหมาย ไม่มี100% สูงสุดก็90% หรือสอยได่้36 ลูกอีก4ลูกนั้นจะเข้ามาประชิดเรือในระยะเวลาที่จรวดSM-2เข้าสกัดนั้นจะเหลือเวลาให้จัดการเป้าหมายอีกชุดได้ไม่เกิน30วินาทีหรือน้อยกว่านั้นหากอวป.เข้าสู่โหมดความเร็วสูง อย่าไปหวังพึ่งESSM เพราะจรวดที่มีความไว3มัคESSMมีค่าKPไม่มากนัก ฟาลังซ์ก็ไม่ต้องพูดถึง ความโกลาหลที่เกิดขึ้น รวมถึงการใช้ECM ECCM ในการจัดการกับจรวดจะทำให้เพิ่มภาระให้กับลูกเรือ รวมถึงความระแวดระวังภัยด้านอื่นจะลดลงเพราะเรือจะต้องเคลื่อนที่เพื่อเตรียมพร้อมมาตรการต่อต้านอาวุธอื่นๆอีก ถ้าประเทศนั้นมีเรือดำน้ำ นี่จะเป็นโอกาสเหมาะ ในการจัดการเป้าหมายใหญ่ อย่างเรือบรรทุกบ. อวป.พวกนี้นั้นไม่ใช่ว่าจะใช้ได้เฉพาะจมเรือ แต่ยังใช้ในการหลอกเข้าตีหรือใช้กลยุทธ์อืนๆได้อีก แต่ยุทธวิธีพวกนี้เหมาะสำหรับชาติใหญ่ที่คิดจะหาเรื่องประเทศใหญ่ๆด้วยกันเท่านั้น แต่คำถามของกระทู้นี้มีความหมายกลายๆว่า เรือบรรทุกบ.จมเป็นไหม ก็ตอบได้ว่า ให้ทั้งกองเรือจมก็ได้หากมียุทธวิธีที่ดีพอ และอาวุธที่มากพอ
หลักการของจรวดต่อต้านเรือของรัสเซียนั้นชัดเจนอยู่แล้วคือ จมเรือบรรทุกบ. ส่วนหลักการป้องกันกองเรือของอเมริกาคือ การป้องกันเรือบรรทุกบ.หรือcapital shipอื่นๆจากจรวดรัสเซีย เพราะฉะนั้นมันมีพัฒนาการในตัวอยู่แล้ว เหมือนกับรถถังและอาวุธต่อต้านรถถัง รถถังนั้นป้องกันดีก็จริง แต่อนาคตก็จะมีอาวุธมาเจาะเกราะนั้นอยู่ดี แล้วรถถังก็พัฒนาเกราะเพื่อป้องกันอาวุธนั้นๆ สลับไปอย่างนี้
ถ้ามามองถึงไทย ก็จนปัญญาเหมือนกัน เพราะดูเหมือนว่า แค่อวป.อย่างC-801หรือ802 นั้นก็ทะลุระบบป้องกันมาได้ไม่ยากแล้ว
ถ้าสมาชิกหาเกมเก่าเกมนึงมาเล่นได้อยากให้ลองหามาเล่นดู
fleet command หรือ command fleet ชื่อไหนผมไม่แน่ใจ
แล้วจะรู้ว่าฝ่ายที่ต้องการจมเรือบรรทุกเครื่องนั้นก็ไม่ใช่ง่าย ขณะเดียวกันฝ่ายป้องกันเรือบรรทุกเครื่องบินก็ไม่ง่ายเช่นกัน แล้วเวลาเป็นแบบ realtime เวลาใช้โทมาฮ๊อคยิงเป้าหมายบนฝั่งนี่แทบจะเปิดเครื่องทิ้งไว้ืทั้งคืนเลย
เริ่มสนุก ว่ากันต่อ ตอนนี้เป็นว่าเรานึกถึงแต่ระบบป้องกันอาวุธนำวิถีแบบฮาร์ดคิลอย่างพวกจรวดต่อต้านและฟาลังซ์เท่านั้น แต่อย่าลืมว่า ระบบป้องกันอาวุธนำวิถียังมีระบบซอร์ฟคิลอย่างพวกระบบก่อกวนเรดาร์และเป้าลวงต่างๆที่จะมาเบี่ยงเบนให้ บราบอส เกิดการพลาดเป้าหมายได้ ในขณะเดียวกันนั้นกองเรือบรรทุกเครื่องบินคงไม่ยอมปล่อยให้ฐานยิงอยู่ลอยนวลแน่นอนเนื่องจากเป้าหมายที่เป็นฐานยิง บรามอส นั้นย่อมมาจากเรือที่อยู่กลางทะเลที่ย่อมจะอยู่ในรัศมีการค้นหาและยากต่การว่อนพรางเหมือนตามป๋าเขาแน่นอน ถ้าไกลกว่านั้นก็คือ บราสอมยิงไม่ถึง กับ อีกฐานยิงหนึ่งนั่นคือ เครื่องบินอย่าง SU-30MK ที่กองเรือสามารถที่จะส่งเครื่องบินขึ้นสกัดกั้นและทำลายลงไป เพราะเครื่องบินย่อมเป็นเป้าหมายที่เรดาร์ตรวจจับได้อยู่แล้ว รวมทั้งระบบสื่อสารอื่นๆที่จะนำมาค้นหาฐานยิง บรามอส พร้อมระบบก่อกวนทุกรูปแบบ การถูกยิงครั้งแรกนั้นแน่นอนว่าความโกลาหลเกิดขึ้นแน่นอน แต่ถ้าตั้งตัวติดได้ ฐานยิง บรามอส นั้นอาจจะหายไปจากจอเรดาร์ต่อไปหลังจากนั้น ส่วนกรณ๊ที่ หลวงพี่ไอซ์ กล่าวถึงว่า ยิงมาจำนวน 40 ลูกนั้นแน่นอนว่า เป้าหมายที่ถูกโจมตีลำบากแน่นอนแต่สิ่งที่ต้องทำก็คือการต่อต้านทั้งซอร์ฟคิล และ ฮาร์ดคิล มากที่สุดเท่าที่พึงมีได้ เชื่อเหลือเกินว่าด้วยเทคโนโลยีที่คิดค้นมาคงทำให้ บรามอส ไม่สามารถจัดการกับเรือนั้นได้เด็ดขาด และจะมีกี่ประเทศที่มีศักยภาพในการจัดหาหรือในการที่จะยิงไปได้ถึง 40 ในครั้งเดียว ซึ่งหากยิงถึง 40 ลูกอาจจะหมายถึงหมดคลังกันเลยก็เป็นได้แล้วหากโดนตอบโต้เมื่ออีกฝ่ายตรงข้ามตั้งตัวได้ งานนี้ใครอาการหนักกว่ากันเท่านั้นครับ
"เมื่อแทนยิง Brahmos อยู่ห่างจากเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ 150 กิโลเมตร แบบนี้น่าจะพอหนีเรดาห์ของสหรัฐได้เปล่าครับ"
-ทางเทคนิคเป็นไปไม่ได้น้อยมากๆครับ เนื่องจากจะเจอการตรวจจับจากจากradarยิ่งกว่าสัปปะรดของcarrier strike group
คือต้องผ่านการตรวจจับจากบรรดาaegisทั้งหลายประกอบด้วย Ticonderoga cruiser อย่างน้อย1-2ลำ
เรือพิฆาต Arleigh Burke 2-3ลำ รวมถึงเรือดำน้ำชั้น Los Angeles หรือVirginia class อีก1-2ลำ
และยังมี E-2 บินตรวจการณ์กับบรรดา f-18ที่บินลาดตระเวณอีก
ดังนั้นโอกาสที่จะเข้ามายิงในระยะ150 กม.มีน้อยมาก อีกทั้ง Brahmosเองมีพิสัยการยิงไกลสุดที่290 กม.จึงไม่มีความจำเป็นใดๆต้องมาเสี่ยงถูกทำลายเองในระยะ150กม.
แต่ Brahmosเองก็ยิงจากเรือดำน้ำได้ก็มีความเป็นไปได้ที่จะหลุดจากการตรวจจับได้ซึ่งแม้ว่าเมกาจะมีปัญหากับการตรวจจับเรือดำน้ำจนต้องไปยืม gotlandจากสวีเดนมาศึกษาแต่นั่นเป็นปัญหาระหว่างการตรวจจับของเรือaegisกับเรือดำน้ำแต่ยังม่เคยพูดถึงการตรวจจับระหว่างเรือดำน้ำด้วยกัน ซึ่งหากเจอกับระดับVirginia class ก็คงยากหน่อย
ประเด็นชักจะกว้างขึ้น หากเป็นการยิงรบเต็มรูปแบบและฝ่ายยิงเป็นพี่เบิ้มเหมือนกันรูปการคงเป็นไปอย่างที่ท่่าน icy_CMUว่า แต่โดยส่วนตัวผมว่าหากจะยิง(ถ้าเป็นผมนะ)เป้าหมายหลักๆของบรามอสน่าจะเป็นกองเรือคุ้มกันซะมากกว่าจะเจาะไข่แดงตรงๆ ซึ่งตรงนี้น่าจะสร้างความเสียหายได้ง่ายกว่า เรือคุ้มกันคงไม่มีระบบป้องกันหนาแน่นเท่า กรณีการยิงหลายลูกน่าจะเป็นการกระจายเป้าหมายหลายๆเป้าพร้อมๆกันไม่ใช่การพุ่งไปที่เป้าเดียว(อาจจะมีตัวหลอกเพื่อสร้างความสับสน) แล้วค่อยไปจม ร บ ทีหลัง แล้วอีกอย่างที่ผมนึกถึงคือ บ ลาดตะเวณจะเห็นก่อนหรือเปล่า แต่อย่างว่า ถ้ามาทีเป็นสิบๆลูกยังไงก็กันลำบาก อ้าวนั่นไม่ทันไรมีคนมาเพิ่มโจทย์อีกแล้วอิๆ
กรณีการจัดการกับสั๊กดนั้นทำได้ยากผมมองว่า หนึ่งด้วยเทคโนโลยี่ในขณะนั้น สอง สกั๊ดเองไม่มีความซับซ้อนอะไรมากคือยิงแล้วหนี เป้าหมายไม่แน่นอนนึกจะยิงอะไรตรงใหนก็ยิง
ที่จริงว่าไปแบบจำลองนี้คงหาบทสรุปไม่ง่ายลองๆทำกันดูก็สนุกไม่เลวนะครับ
ท่านเด็กทะเลว่าไว้ถูกต้อง ว่าาประเทศไหนที่มีศักยภาพที่จะสามารถจัดหาบรามอสได้40ลูก แต่อย่าลืมว่าอวป.ความเร็วเหนือเสียงไม่ได้มีแค่บรามอส อวป.จากจีนอย่างC-803นั้น จีนได้ส่งออกให้ประเทศคู่กัดอมเริกาอย่างอิหร่าน(ถ้าจำผิดขออภัย) การที่อิหร่านลงทุนกับฐานยิงจรวดนำวิถีที่ปกป้องด้วยระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบS-300 (หรือของเลียนแบบอย่างHQ-9) ทำให้กองเรือบรรทุกบ.สหรัฐจะต้องให้ความระมัดระวังในการจัดการมากขึ้น ทำให้อเมริกาซึ่งตอนนี้จะต้องพักเรื่องการจัดการอิหร่านไว้ก่อนเนื่องจากกำลังพลและอาวุธไม่พอ ที่จะทุ่มสรรพกำลังมาจัดการโดยที่ฝ่ายตัวเองเสียหายน้อยที่สุด ในความเห็นส่วนตัว อิหร่านนั้นมีกำลังพลที่ได้รับการฝึกที่ห่วยพอๆกับอิรัก ถ้าหากสงครามเกิดขึ้นโดยที่อิหร่านทำอะไรสหรัฐไม่ได้มากนั้นคงมีปัจจัยสองอย่างคือ กำลังพลอิหร่านเองที่เหมือนกองกำลังของตะวันออกกลางทั่วๆไปที่มีทหารเพื่อรักษาอำนาจของตน ไม่ใช่ฝึกเพื่อการป้องกันประเทศอย่างแท้จริง และอีกปัจจัยคือ กำลังของสหรัฐที่น่าจะทุ่มเข้าใส่ชนิดที่ว่ายุทธการพายุทะเลทรายชิดซ้ายไปเลย เพราะดูสเป็คอาวุธภาคพื้นสำหรับต่อกรอเมริกานั้น อิหร่านทันสมัยกว่าอิรักมากพอสมควร ทั้งS-300 tor buk-m1 pantsyr-s1 อวป.ต่อต้านเรืออย่างC-801 802 803(ลือ) 701 705 (ยกเว้นกำลังทางอากาศที่ไม่น่าจะไหว) ซึ่งล้วนเป็นระบบเคลื่อนที่ได้เองทั้งนั้น ถ้าสหรัฐอยากจะให้สูญเสียน้อยที่สุด คงจะได้เห็นเอฟ-22 ออกปฎิบัติการล่าฐานแซมแทนwild weasel อย่างf-16แน่ๆ
แต่การที่อิหร่านจะจัดการกองเรือบรรทุกบ.ของอเมริกาได้นั้นคงน้อยมาก ด้วยสาเหตุที่กล่าวข้างต้นคือ ทหารห่วยบวกกับอเมริกาจัดหนักจัดเต็ม
แต่ถ้าเป็นกรณีที่คุกรุ่นอย่างสแปรตลีย์หรือไต้หวัน ซึ่งหากสหรัฐเข้าร่วมวงสังฆกรรมในฐานะตำรวจโลก คงจะโดนจีนจัดหนักไปไม่ใช่น้อยเหมือนกัน ไม่ว่าทั้งทางทหารหรือทางเศรษฐกิจ แต่จีนก็ยังไม่พร้อมเช่นนั้น คาดว่าอีก10ปี จีนคงจะน่ากลัวพอๆกับโซเวียตอย่างน้อยก็สมัยเบรซเนฟแน่นอน (ในแง่ของความน่ากลัว น่าเกรงขามในสายตาชาวโลก และนักการทหาร)
เรื่องสกั๊ดที่ทำได้ยากด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยีสมัยนั้นอย่างหนึ่ง และด้วยคุณลักษณะจำเพาะของจรวดที่ยิงเป้าหมายแบบสุ่ม ก็ใช่ แต่จุดสำคัญคือการยิงแล้วหนี ยังไงก็เป็นการยากที่จะจัดการอยู่ดี ระบบใหญ่ๆอย่าS-300 ใช้เวลาพับเก็บหรือตั้งวางทั้งระบบคือ20นาที แล้วก็ย้ายหนีไม่ก็ซ่อนตัวได้ แล้วระบบที่ซับซ้อนน้อยกว่าอย่างอวป.ต่อต้านเรือรบซึ่งใช้รถคันเดียวก็ขนได้ทั้งระบบจะง่ายขนาดไหน การค้นหาเป้าก็ทำได้ง่ายกว่าโดยการใช้เรือดำน้ำหรือเรือพานิชย์ที่แฝงตัวซึ่งมีเต็มช่องแคบฮอร์มุซ(ในกรณีอิหร่าน )หรือช่องแคบระหว่างโอกินาว่ากับไต้หวัน(ในกรณีจีน) เมื่อเทียบกับการต้องใช้UAV บินสูงๆเพื่อหาเป้าหมายเหล่านั้นโดยที่เสี่ยงต่อการถูกยิงตกจากอวป.แซมที่มีเพดานยิงสูงๆ หรือกรณีครองอากาศได้ อวป.แบบนี้ก็ยังอันตรายเพราะมันซ่อนพรางได้ในหลายๆรูปแบบแม้กระทั่งอยู่บนเรือขนตู้คอนเทนเนอร์ที่เป็นเรือพานิชย์
ด้วยเหตุผลข้างต้นสหรัฐจีงต้องการเรือLCS เพื่อใช้ในภารกิจใกล้ชายฝั่งเพราะ เคลื่อนที่เร็ว ตรวจจับยาก สามารถส่งหน่วยซีลเพื่อปฏิบัติการหาข่าวกรองของที่ตั้งอาวุธเหล่านั้น การเป็นฐานปฎิบัติการของUAVขนาดเล็กตรวจจับได้ยาก รวมถึงเป็นแนวป้องกันเรือพานิชย์ที่เป็นเรือสอดแนมของฝ่ายข้าศึก (เพราะมีหน่วยปพ.อยู่บนเรือพร้อมตรวจค้นเรือต้องสงสัย) ใช้ข่าวกรองที่ได้เพื่อจัดการกับอาวุธที่ป้องกันไม่ให้กองเรือสหรัฐปฎิบัติการได้สะดวก (อวป.NLOS สามารถต่อต้านเป้าหมายเคลื่อนที่ได้ รวมถึงLCSสามารถต่อต้านทุ่นระเบิดได้)
อนาคตหากเราต้องเผชิญหน้ากับเวียดนามทาง เรือหล่ะก็ ผมแนะนำตอนนี้ให้กองทัพเรือของเราซื้อ S-300 มาตั้งแต่ตอนนี้ดีกว่า คือซื่อมาศึกษาแล้วสร้างเอง ผมคิดว่า ตอนนี้คงมีแต่ S-300 หล่ะครับ ที่เร็วพอจะหยุด Brahmos ได้นะครับ
รูปแบบ กองเรือบรรทุกเครื่องบิน สม้ย มี F-14 ประจำการครับ....
เรือบรรทุกเครื่องบิน คือ ไข่แดง....
บรามอส กับ SU ติดตั้งได้ ลำละ 1 ลูก...ถ้าจะยิงถึง 4 ลูก ก็ต้องมี Su 4 ลำ บินมาพร้อม ๆ กัน และ ปล่อยได้พร้อม ๆ กัน....ก็ดูจะเป็นฝูงบินขนาดใหญ่ ต่อ การถูกตรวจจับด้วยเรดาร์เหมือนกัน...
และถ้ายิงจากฝั่ง...ก็คงต้องเป็นประเด็นว่า ระบบที่จะยิงจากฝั่ง ก็ต้องรู้ว่า กองเรือบรรทุกเครื่องบิน อยู่ในแนวไหนของ ขอบฟ้า...ต้องพิสูจน์ฝ่ายได้ ซึ่งการยิงจากฝั่งต่อต้าน ก็น่าจะหมายถึงว่า น่านน้ำ ในระยะต่ำกว่า 300 ก.ม. ถูก กองเรือบรรทุกเครื่องบิน คุมน่านน้ำแล้ว...
คงน่าจะไม่ได้หรอครับเพราะเรือบรรทุกเคื่องบินของอเมริกามีทั้ง hawk eye เเละเครื่องบินเเทรกเเทรงเรดา EA-6B มีเป็นฝูงครับเเ้ลวก็มีเรือคุ้มกันอีก 8ลำเรือดำน้ำอีก 1 น่าจะเป็นไปได้อยากครับที่จะจม