ช่วงนี้ทางเกาหลีใต้ทุ่มเทให้กับโครงการ FFX batch-1 อยู่ แต่หลังจากจบใน batch-1 จำนวน 6 ลำแรกแล้ว เกาหลีใต้จะเริ่มโครงการ KDX-2A ซึ่งจะเป็นการพัฒนาเรือพิฆาต KDX-2 ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นครับ โดยจะมีประสิทธิภาพอยู่ตรงกลางระหว่าง KDX-2 กับ KDX-3 และทร.เกาหลีใต้ต้องการ 6 ลำเพื่อมาเสริม KDX-2 batch-1 ที่มีอยู่ 6 ลำ ซึ่งตอนนี้มีแนวคิดอยู่ 4 แนวทางดังนี้
แนวทางที่ 1
ปรับปรุงโดยใช้ระบบอำนวยการรบ AGIS ชุดเล็ก กับระบบเรด้าร์ SPY-1F และยังคงใช้จรวด SM-2 block 3A และ ESSM อยู่ต่อไป ซึ่งแนวทางนี้ทร.เกาหลีใต้สนใจมากที่สุดครับ เพราะประสิทธิภาพดีขึ้นมากแต่ก็ไม่เท่า KDX-3 โดยเฉพาะเรด้าร์ เฟสอะเรย์ แต่ท่าทีของอเมริกาไม่อยากถ่ายทอดให้ ขายน่ะยินดีขายให้ครับแต่ความรู้และเทคนิคไม่อยากให้ ยิ่งช่วงนี้อเมริกาแสดงท่าทีไม่ค่อยชอบนักที่เกาหลีใต้บุกตลาดค้าอาวุธอย่างหนัก ซึ่งกระทบโดยตรงต่อตลาดค้าอาวุธของอเมริกาเป็นอย่างมาก และการที่อเมริกาขาย SM-3 ABM ให้ญี่ปุ่นแต่ไม่ยอมขายให้เกาหลีใต้ ซึ่งเป็นเหตุให้เกาหลีใต้งอนแล้วไปร่วมมือกับรัสเซียผลิต KM-SAM หรือ S-400 เวอร์ชั่นเกาหลี เพื่อต้องการเทคโนโลยีเรด้าร์ เฟสอะเรย์
แนวทางที่ 2
ปรับปรุงโดยใช้ระบบอำนวยการรบของตนเองและระบบ KM-SAM chelomae-2 เรด้าร์เฟสอะเรย์ที่ได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีมาจากรัสเซีย XDE-540K แต่ประสิทธิภาพของลูกจรวดที่ได้แบบมาจาก 9M96E และ R-77 รุ่น พื้นสู่อากาศนั้นประสิทธิภาพยังไม่น่าประทับใจนัก เพราะมีระยะยิงเพียงแค่ 40 กม. เท่านั้น ซึ่งทางเกาหลีใต้วางแผนจะปรับปรุงให้มีระยะยิงไกลขึ้นเป็น 100-150 กม และลดขนาดของจรวดให้มีน้ำหนักเบาลงซึ่งปัจจุบันหนักกว่า 400 กิโลกรัม ซึ่งหนักกว่า ESSM แต่ระยะยิงแค่ 40 กม ในขณะที่ ESSM หนักประมาณ 250-260 กิโลกรัมแต่มีระยะยิงไกล 55 กม
แต่ลุกจรวดของ Chelomae-2 เป็นระบบแบบ hit-to-kill แบบ แพรทิออต เพค 3 และ SM-3 ไม่ใช่เฉียดระเบิด ซึ่งระบบแบบนี้ให้ผลต่อการทำลายสูงกว่า แม่นกว่าว่าง่ายๆ
แต่ดูแล้วแนวคิดที่2นี้กลับจะทำให้ลดประสิทธิภาพของ KDX-2 ลงด้วยซ้ำครับ เพราะยังไงก็ไม่ดีไปกว่า SM-2 block 3A เลย เพราะเทคโนโลยีที่มีอยู่ไม่เพียงพอ (อีกแล้วเหมือนประเทศไหนหว๋า)
แนวทางที่ 3
ใช้ระบบอำนวยการรบเอจีสชุดใหญ่และเรด้าร์ SPY-1D แต่ประสิทธิภาพก็จะไปติดกับ KDX-3 และอเมริกาก็ไม่ขาย SM-3 ให้อยู่ดี และทางเลือกนี้แพงมากจนยากที่จะทำตลาดลูกค้าต่างประเทศ ซึ่งทางเกาหลีใต้และอเมริกากำลังเสนอระบบเอจีสชุดเล็กและ KDX-2A เป็นทางเลือกให้ทร.อินเดียอยู่ในโครงการเรือฟรีเกตเสตธ์ชุดใหม่ ความเป็นไปได้มีน้อยครับ
แนวทางที่ 4
ใช้ระบบ APAR ของยุโรป และคงต้องขอการถ่ายทอดทางเทคโนโลยีจากฝั่งยุโรปด้วย ซึ่งทางเกาหลีเอาระบบนี้มาเป็นทางเลือกเผื่อคุยกับอเมริกาไม่รู้เรื่อง ซึ่งประสิทธิภาพน่าจะพอๆกับระบบเอจีส เล็ก แต่ KDX-2A คงต้องไปใช้ ASTER-30 มั๊ง เลยต้องอยู่ในสภาพเป็นรองเอจีสชุดเล็ก เพราะจะทำให้ชุดทร.เกาหลีมีระบบจรวดและอำนวยการรบมากแบบเกินไป แต่ถ้าปรับปรุงให้ใช้อาวุธร่วมกันได้ก็น่าจะทำได้ไม่ยากเกินไปนัก นับว่าเป็นถ้าเลือกสำรองที่น่าสนใจสำหรับเกาหลีใต้
โครงการ KDX-2A น่าจะเริ่มราวๆปี 2020 – 2025 ซึ่งต้องรอให้ FFX batch-1 เรียบร้อยก่อน ก็ต้องขอบอกเลยว่าคนเกาหลีใต้นี่มันดิ้นรนจริงๆ เทคโนโลยีระบบเรด้าร์ ระบบอำนวยการรบ ระบบจรวดต่อสู้อากาศยาน เป็นรองทั้งอเมริกา รัสเซีย อิสราเอล จีน และญี่ปุ่น
ส่วนทางเรา กว่าจะถึงเวลานั้นเรามาลุ้นว่าทร.ไทยของเราออกเรือฟรีเกตชุดแรกเองหรือไม่ครับ ถ้าเป็นเรือที่ใช้ระบบเอจีสชุดเล็กได้ ไม่ว่าจะ Kหรือ F นี่จะเป็นการก้าวกระโดดครั้งแรกของทร.เราบ้าง ฝันๆๆๆๆๆๆฝัน ได้แต่เพ้อๆๆๆๆ…………………….
เราน่าจะมีความร่วมมือวิจัยอาวุธกับหลายๆประเทศนะครับ เกาหลีใต้ดิ้นรนจริงๆ
คุ้นๆว่าร่วมมือกับRATHEON ด้วยใช่ไหมครับ
ไทยเราน่าจะลองขยายเเบบจากเรือopvดูนะครับ ไม่น่าจะเกินความสามารถส่วนระบบต่างๆก็ใช้ของสวีเดน เอาซัก 3600 ตันดูก่อน เพราะ ร.ล.กระบี่ก็เกือบ 2000ตันเเล้ว....