พอดีนั่งนึกเล่น ๆ ว่า...ไทย จะเข้าไปมีส่วนร่วมในความขัดแย้งของ หมู่เกาะ สแปชรี่ย์...ยังไงดีหว่า....ก็บังเอิญ ฝันไปว่า...
นักธรณีวิทยา ได้ไปค้นพบโครงกระดูกกระทาชาย นายหนึ่ง มีอายุมากกว่า 100 ปี และพิสูจน์ลักษณะทางวิทยาศาสตร์...ต๊ายยยยยยยย....
กลายเป็น คนไทย ซะนี่...แถม ยังค้นพบ ซากฟอสซิล ปลาทูสายพันธ์ แม่กลอง บนโขดหิน กลุ่มหนึ่งซะอีกแน่ะ...เลยไม่ได้การ...
ต้องประกาศว่า..คุ้น ๆ ว่า โขดหินกลุ่มนี้ คงเคยเป็นของคนไทย ที่อาศัยมาก่อนเป็นแน่แท้...
และต้องมีการพัฒนา กองทัพเรือ เป็นการใหญ่...แต่ เงิน ก็ไม่ค่อยมี...แต่เอ๊ะ...เรามีเรือบรรทุก เฮลิคอปเตอร์ และ บ.ขึ้นลง แนวดิ่ง ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้อยู่นี่...
งั้น ปรับปรุงพัฒนา ให้เป็น เรือบรรทุกเครื่องบินเบา พอจะต่อระยะการทำสงครามได้แบบมีนัยยะสำคัญสักหน่อย ดีฝ่า....
ประกอบกับ ตอนนั้น...บราซิล ดันร่วมทุนกับ สวีเดน พัฒนา Sea Gripen ขึ้นมาใช้อีก และสั่งซื้อไปกว่า 24 ลำ...แถม ตอนนั้น ทร. ก็สั่งซื้อ Super Tucano มาประจำการอยู่แล้วอีกด้วย...โดย บราซิล ก็กระซิบมาว่า...นี่ เธอ...บ.ของเค้าน่ะ ตอนนี้ เขากำลังติด ฮุคเกี่ยว สำหรับใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบินด้วยล่ะเธอ...แถมยังเปลี่ยนเครื่องยนต์ มีกำลังขับ บินขึ้นจาก เรือบรรทุกเครื่องบินได้อีกน๊า.....
อืมมมม...เมื่อลองข้อมูล ที่มีทั้งหมด มาผสมผสานให้เป็น คอทเทล แล้ว...ก็น่าจะพอพัฒนา CVH-911 จาก STOVL Carrier ให้เป็น Small STOBAR Carrier น่าจะพอได้ล่ะมั๊ง....
จึงเป็นที่มาของ กระทู้นี้ล่ะครับ....
อืมม์...ขอร่วมแชร์ด้วยคนครับป๋าจูลฯ
อันดับแรกเลย ต่อเติมดาดฟ้าเฉียงสำหรับให้ซีกริเป้นลง ก็คงต้องปรับปรุงให้มีการถ่วงน้ำหนักเรืออีกด้านด้วย เื่พื่อให้เรือสมดุล
ไม่เอียงกะเท่เร่ อันนี้กระทบกับโครงสร้างเรือจักรัฯ ค่อนข้างมาก น่าจะใช้เงินเพื่อการณ์นี้เยอะ
ได้ดาดฟ้าเฉียงมาแล้ว แต่บรรทุกซีกริเป้นไปได้แค่ 4 ตัว อันนี้ไม่รู้ว่าศักย์ในการปฏิบัติการจะเป็นอย่างไร เพียงพอหรือไม่ ส่วนตัวว่า
มันจะน้อยไปหน่อยนะครับ คุ้มหรือเปล่า ถ้าได้สัก 1 ฝูงย่อมๆ ประมาณ 8-12 ตัว อันนี้ค่อยน่าสนใจ
ถ้าลองเปลี่ยนไปเป็นไม่ต้องมีดาดฟ้าเฉียง ดัดแปลงติดเฉพาะลวดยุดเครื่องบินสำหรับรองรับ ซูเปอร์ทูคาโน 8-12 ตัว จะดีกว่าไหม
เจ้านี้น่าจะขึ้นลงดาดฟ้าเรือจักรีฯ ที่ดัดแปลงให้รับน้ำหนักของเครื่องตอนลงกระแทกดาดฟ้าแล้วได้นะครับ
คิดเล่นๆ ไม่มีข้อมูลทางวิศวกรรมใดๆ ซัพพอร์ต
ถ้าป๋าจะจัดกองเรือออกไปลุยผู้กล่าวอ้างสิทธิหมู่เกาะสแปรดลีย์ ของบรัฐบาลสร้างเรือใหม่ดีกว่าครับ ขนาดประมาณ 20,000 ตัน
เอาแบบป๋าว่าไปเลย เป็นเรือบรรทุก บ. แบบกระเป๋า บรรทุก บ. ได้สัก 12 ลำ ฮ. อีก 4-6 ตัว แล้วดัดแปลงใช้เรือจักรีฯ เป็น LHA
เอานาวิกฯ สัก 1-2 กองร้อย เอาฝูง ฮ. ใส่เข้าไป ประกอบเ็ป็นกองเรือ ฉก. ออกไปลุย อย่าลืมเรือคุ้มกันกับเรือส่งกำลังบำรุงด้วยนะครับ
เบ็ดเสร็จคงจะประมาณ 1 mini CV หรือ 1 LHA, 2 ฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศ, 2 ฟริเกตปราบ ด. และ 1 สิมิลัน รวม 6 ลำพอดิบพอดี
( ควรจะมีเรือ ส. พ่วงไปด้วยหรือไม่ อู-206A คงไม่เหมาะสำหรับทะเลเปิดอย่างสแปรตลีย์ )
ขั้นที่หนึ่ง
ด้วยคุณลักษณะของ เรือ CVH-911 เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่มีคุณลักษณะ คือ
วิ่งขึ้น ใช้ระยะทางสั้น และ ตอนลง ให้ลงเป็นทางดิ่ง
แต่ในขณะนี้ เรามี Sea Gripen ที่พอจะมีขนาดใกล้เคียง กับ Harrier ที่เคยประจำการอยู่ ซึ่งเป็น บ.คุณลักษณะที่ พัฒนาให้
วิ่งขึ้น ใช้ระยะทางสั้น แต่ตอนลง ต้องมีเครื่องช่วยฉุด หรือในภาษาอังกฤษว่า
Short Take Off But Arrested Recovery หรือย่อว่า STOBAR
ตามข้อมูลในอินเตอร์เนต
Perfect Suitor
Saab’s Sea Gripen is an affordable solution for the navy’s carrier borne fighter needs
Atul Chandra
Could the Saab Sea Gripen be the answer for the Indian Navies requirement for a carrier capable fighter capable of operating of its indigenous aircraft carriers? Saab certainly seems to think so and has made presentations to the Navy as well as to the Integrated Command on the Sea Gripen. According to Tony Ogilvy vice president, International Marketing, Gripen, SAAB AB, “The timeline for development and delivery is approximately five years. A concept-design phase lasting 12-18 months will be followed by a Saab decision on preparing a flight demonstrator. The first test aircraft could be ready in 2017 for proof of concept and carrier deck trials.” Saab has said that it would be in a position to begin deliveries in 2018, if a contract is secured. It had already provided a full response to the Indian Navy Request for Information on Sea Gripen in February 2010.
While India is the principal potential customer for the Sea Gripen, Brazil and Thailand have also received briefings on the aircraft. According to Ogilvy, Saab would like to work in partnership with the Indian Navy, Integrated Command, DRDO and shipbuilding authorities to demonstrate fully the major advantages that a Gripen fighter will bring to the new carrier fleet. Saab has already recruited a team of engineers to staff a new design centre for the Sea Gripen in the UK. According to SAAB, this design phase will build upon many years of investigative work already completed to produce a marine version with the engineers being a mix of Gripen specialists from Linköping, and UK-based experts on carrier operations. The intent here is to build a focused combined Swedish/UK team to deliver the production plans.
The Indian Navy (IN) issued a Request for Inquiry (RFI) in the year 2009 for the acquisition of a new generation carrier capable fighter aircraft, the selected aircraft supplementing the Mig-29K of which the Indian Navy has 45 on order. The chances of acquiring another type could be made stronger by delays which continue to dog the indigenously developed LCA Navy fighter which has yet to make its first flight and is said to be overweight by around 300-350 Kg. Coupled with the fact that the Sea Harrier fleet will be retired by next year, one would hope that a situation does not arise leading to carriers setting sail without their full complement of air power. In fact, a recent CAG report on the Indian Navies flying arm went to say that while Naval Aviation holds the key to achieving ‘blue water’ aspirations of the Indian Navy, the current status of the Naval Aviation Wing’s fleet not only renders it ineffective in achieving these goals but would rather make it vulnerable to the growing sophistication of enemy capability.
แถมผู้บริหารของ SAAB ก็หาผู้ร่วมทุน เพื่อพัฒนา Sea Gripen เพื่อสำหรับเรือบรรทุกเครื่องบิน ที่ระวางขับน้ำตำว่า 25,000 ตัน ใช้งานได้ด้วย...
The final Sea Gripen design will be intended for CATOBAR (catapult assisted takeoff but arrested recovery) as well as STOBAR (short takeoff but arrested recovery) operations, targeting smaller-sized carriers with a displacement as low as 25,000 tons. This is in the range of Indias INS Vikrant-class aircraft carrier.
Saabs proposed Sea Gripen venture in Britain is a direct response to a perceived weakness in its recent bids to aircraft carrier nations India and Brazil, said Tomas Holt, a Berlin-based industry analyst.
เมื่อดูจากหน้าตกของ CVH-911 แล้ว คงต้องทำ Arrested Recovery เพิ่มเติม
งั้นก็ลองศึกษาจาก เรือบรรทุกเครื่องบินสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่พัฒนามาเป็น เรือบรรทุกเครื่องบินสมัยใหม่บ้าง เช่น ของ ทร.บราซิล ก็มีการทำทางวิ่งเพิ่มเติม และติดตั้ง เครื่องดีดไอน้ำ เพิ่มเติมได้อย่างไม่มีปัญหา....
แต่คุณลักษณะเรือของเรา เล็กไป จึงแค่ทำทางลง และติดตั้งเส้นสลิงสำหรับเกี่ยว จึงไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ยากเย็นเกินความสามารถไป...เพราะระบบสลิง ใช้อุคเกี่ยวลวด ก็มีมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว...
ถ้อย่างนั้นก็เพิ่มพื้นที่ทางวิ่งเข้าไป รึกัน...
ก็ต้องเป้าหมายแค่ว่า สามารถ ติด Sea Gripen พร้อมรบไปได้จำนวน 4 ลำ เพราะส่วนที่เหลือต้องมีพื้นที่ให้กับ S-70B และ MH-60S ให้อีก 6 ลำ
ออกแบบตัดต่อในเครื่องคอมพิวเตอร์ ดุจากด้านหน้า น่าตา น่าจะเป็นแบบนี้ล่ะมั๊ง 5 5 5 5 (ตัดต่อ จริง ๆ นะ...จริ๊งงงงง จริ้งง)
การวางแนวรับน้ำหนักของส่วนเนื้อที่ ที่เพิ่มเติม
คราวนี้ ก็มาดูการใช้งาน ขึ้น - ลง ของ Sea Gripen กับ CVH-911 ซึ่งหลังปรับปรุงแล้ว คงต้องเปลี่ยนเป็น CVL-911
แล้วการเตรียมตัว ปฏิบัติการบิน สำหรับทำภาระกิจล่ะ...
Sea Gripen จะต้องมีลำดับการนำเครื่องบินขึ้นอย่างไร...เพราะข้อจำกัดของ ขนาดตัวเรือ...
ก็น่าจะตามนี้ ล่ะมั๊งครับ...
55555คิดไปได้ เเต่ถ้าเป็นได้จริงก็น่าจะดี...
แก้ไขครับ...เขียนผิด ตามรูปกระทู้ข้างบน ตรงรูปที่ 4
ต้องเปลี่ยนเป็น
ลำที่ 2 พร้อมบิน เป็นลำดับที่ 1
ลำที่ 4 อยู่ในตำแหน่งพร้อมบิน เป็นลำดับที่ 2
และในเมื่อ Sea Gripen ใช้งานได้แล้ว ก็ควรจะรองรับ อากาศยาน ทุกแบบที่ใช้งานอยู่ใน กองทัพเรือ ได้ด้วย...
Sea Super Tucano จึงไม่พ้นคุณลักษณะที่จะใช้งานได้ เช่นกัน....
เมื่อ CVH-911 เปลี่ยนมาเป็น CVL-911 ก็จะทำให้ สนามบินเคลื่อนที่ในทะเล รองรับ อากาศยานทางยุทธวิธีของ ทร. ได้ทุกแบบ
คือ
1. Sea Gripen
2. Sea Super Tucano
3. S-70B
4. MH-60S
5. S-76B
6. Bell-212
7. Bell-412
8. Chinook CH-47D
9. Super Lynx
10. UAV-Heron
คงต้องใช้เงินเป็นหมื่นล้านละมั้งสำหรับการปรับปรุง
อย่าลืมว่าความสมดุลเป็นสิ่งสำคัญ..ของเรือประเภทนี้ ถ้าน้ำหนักเพิ่มเรือก็ต้องกินน้ำลึกลงไปอีก เพราะว่าท้องเรือเท่าเดิม หอบังคับการก็ต้องย้ายเพื่อความสมดุลเเละเพื่อพื้นที่บนดาดฟ้าบิน
สู้เอาเงินหมื่นล้านไปให้สวีเดนพัตนา Sea Gripen ให้ขึ้นลงทางดิ่งได้จะดีกว่า
สร้างใหม่น่าจะง่ายกว่านะครับ
การดัดแปลง ดูเหมือนจะใช้งบประมาณมาก แต่ผมคิดว่าไม่ได้มากอย่างที่คิดน่ะครับ...
ตามรูปเป็นแค่ ไอเดีย ครับ ส่วนในการ เฉียง จะขนาดองศาเท่าใด....อันนี้ ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน 5 5 5 5....
เรื่อง ถ่วงน้ำหนักเรือ ผมคิดว่า ไม่น่าจะเป็นปัญหาสำหรับเรือรบ ที่จะแก้ไขไม่ได้น่ะครับ...
อันนี้ ถ้ามาดูถึงเรือใหม่น่ะครับ...
เอาขนาด 20,000 ตัน เพื่อรองรับอากาศยาน ประมาณ 18-20 ลำ รวม เฮลิคอปเตอร์...
เอาแบบ ถูกสุด ๆ น่ะครับ...ตันละ 2 ล้านบาท จะประมาณ 40,000 ล้านบาท...คือ ยอดตัวเรือขั้นต่ำ...
จัดหา บ.รบอีก 1 ฝูง สมมติ คือ Sea Gripen จำนวน 12 ลำ...ลำละประมาณ 50 ล้านเหรียญ (เดาเอา) (ตอนนี้ สวีเดน ได้ประมาณต้นทุนการพัฒนาจากรุ่นปัจจุบัน เป็น Sea Gripen (แค่ลำต้นแบบ) ต้นทุนโครงการประมาณ 618 ล้านเหรียญ หรือ ประมาณ 18,000 ล้านบาท จึงต้องการ Partner มาร่วมลงทุนโครงการด้วย) ก็จะใช้งบประมาณสำหรับ บ.ขับไล่ ประมาณ 600 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 18,000 ล้านบาท...
นั่นคือ ต้นทุนงบประมาณ ขั้นต่ำประมาณ 58,000 ล้านบาท คือ มี บ.ขับไล่ จำนวน 12 ลำ กับ ฮ. จำนวน 6 ลำ ประจำบนเรือ...
แต่สมมติ ปรับปรุงตามแบบ เดิมมีระวางขับน้ำเรือประมาณ 11,000 ตัน ถ้าปรับปรุงเรือ จะทำให้ระวางขับน้ำเรือเพิ่มขึ้นมาอีก 4000 ตัน ( ตัวเลขสมมติ ไม่มีเหตุผล อ้างอิง ) ต้นทุนการปรับปรุง อาจจะตันละ 4 ล้านบาท (ผมยอมให้ต้นทุนเป็น 1 เท่าตัวของการต่อเรือใหม่) ต้นทุนปรับปรุงจะประมาณ 16,000 ล้านบาท
จัดหา บ.รบอีก ครึ่ง ฝูง คือ Sea Gripen จำนวน 6 ลำ...ลำละ 50 ล้านเหรียญ (เดาเอา) ต้นทุนโครงการประมาณ 300 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 9,000 ล้านบาท
นั่นคือ ต้นทุนงบประมาณ ขั้นต่ำประมาณ 25,000 ล้านบาท คือ มี บ.ขับไล่ประจำเรือ จำนวน 4 ลำ กับ ฮ. จำนวน 6 ลำ และมี บ.ขับไล่ ประจำฐานบนบก อีกจำนวน 2 ลำ...
คือ ต้นทุนการปรับปรุงดูเหมือนจะเยอะ แต่เมื่อลองดูภาพรวม ตามตัวอย่างข้างต้นน่ะครับ...จะมี ค่าใช้จ่ายประมาณ 40 - 45 % ของเรือต่อใหม่...
คือ เราซื้อเรือใหม่ แต่ได้ บ.ขับไล่ เพิ่ม มาเพียง 6 ลำน่ะครับ....
ผมว่าพัฒนาเครื่องให้ขึ้นลงทางดิ่งได้เผลอแพงกว่าดัดแปลงเรือนะ
แลืวทำไมเครื่องประจำการแค่ 4 ลำเอง ปกติแฮริเออร์ตอนที่ยังอยู่นี่ก็ประจำเรือมากกว่านี้ไม่ใช่เหรอครับ
แต่กระทู้สนุกครับ
ทร.จัดหา แฮรริเออร์ สำหรับ ขับไล่ ที่นั่งเดียว จำนวน 7 ลำ
เป็นแบบฝึก จำนวน 2 ลำ
สว่นตัวเลข 9 ลำ ที่สามารถขนไปกับ CVH-911 นั่นเป็นข้อมูลการบรรทุกสูงสุดน่ะครับ...
ซึ่งผมมองว่า ตามหลักการซ่อมบำรุง และใช้งาน อากาศยาน...
พร้อมรบ 50% และซ่อมบำรุง หรือ พักใช้งาน 50%
ผมเลยคิดว่า ในสถานะปกติ น่าจะมีประจำเรือประมาณ 3-4 ลำ ส่วนที่เหลือ ก็ซ่อมบำรุง หรือ สำรองบนบก 3-4 ลำ เช่นกันครับ...
คงไม่นำไปกับเรือเต็มอัตรา...
เอาของเก่า มาเล่าใหม่อีกทีกับ
เรือบรรทุกเครื่อง Venerable ของ ทร.อังกฤษ
ภาพที่ 1 HMS.Venerable
ภาพที่ 2 ขายให้ ทร.เนเธอร์แลนด์ เป็น HNLMS Karel Doorman และมีการปรับปรุงเรือใหม่ เพิ่มลานวิ่ง และเครื่องดีด อากาศยาน
ภาพที่ 3 ส่วนที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติม
ภาพที่ 4 ต่อมาขายให้กับ ทร. อาร์เจนติน่า...
เอาของเก่า มาเล่าใหม่อีกทีกับ
เรือบรรทุกเครื่อง Venerable ของ ทร.อังกฤษ
ภาพที่ 1 HMS.Venerable
ภาพที่ 2 ขายให้ ทร.เนเธอร์แลนด์ เป็น HNLMS Karel Doorman และมีการปรับปรุงเรือใหม่ เพิ่มลานวิ่ง และเครื่องดีด อากาศยาน
ภาพที่ 3 ส่วนที่มีการปรับปรุงเพิ่มเติม
ภาพที่ 4 ต่อมาขายให้กับ ทร. อาร์เจนติน่า...
911 ลำนิดเดียว อย่าไปดัดแปลงเค้าเลยครับ เอาเป็นเรือบรรทุก ฮ. ก็สวยอยู่แล้ว ต่อเรือใหม่เลยจะสวยกว่านะครับ สำหรับ เรือบรรทุกเครื่องบิน
เอ๊ะ แต่ผมกลับคิดว่าเอาตังไปซื้อ F 35 ให้มันรู้แล้วรู้รอด 6 ลำ ราคาก็ประมาณนี้ แต่ก็นะเด๋วนี้เรือบรรทุกเครื่องบินมันเป็นเป้านิ่งชั้นดีซะละ ขนาดกองเรืออเมริกาที่ว่าแน่ๆยังโดนลูบคมโดยเรือดำน้ำบ่อยๆ ไหนจะฝูงมฤตยู Su 30 แบก Bramos กันว่อน (คาดว่าเราปรับปรุงเรือเสร็จ เขาก็คงมีประจำการแล้วหล่ะ) ต่อให้ F 16 หรือ Jas 39 ของทัพฟ้าบินขึ้นคุ้มกันก็ยากที่จะรับประกันว่าจะไม่มีไอ้จรวด 3 มัคหลุดมาถึงเรือธงเราได้ พลาดทีเดียวหายทั้งเรือทั้งเครื่องบินบนเรือ
ผมว่า 911 เราต้องทำตัวให้เล็กเข้าไว้ครับ มีแค่ ฮ.ให้ครบ ก็พอใจละ ช่วงนี้ก็พัฒนาด้านอื่นๆไปก่อน รออีกสัก 10-20 ปี คงได้เห็นเรือธงลำใหม่ให้พวกเราได้ภูมิใจกัน แต่ก่อนจะถึงวันนั้น วันนี้ผมขอเรือดำน้ำก่อนได้ไหม...... กำลังฝันถึงภาพ 911 แล่นในอ่าวไทยโดยมีเรือดำน้ำปิดหัวท้ายและฟรีเกตสมรรถนะสูงขนาบคู่ โอ้มันช่างสง่าอะไรเยี่ยงนี้
เห็นด้วยครับว่าต้องปรับปรุง แต่ด้วยเครื่องยนต์ที่มีขนาดเล็กแต่จะต้องรับกับโครงสร้างน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น กลัวจะส่งผลให้กลายเป็นเป้าซะมากกว่า ผมว่าเป็นแบบเดิมที่มีอยู่น่าจะดีกว่า แต่เพิ่มกองกำลังปีกหมุนให้มีความเข้มแข็งมากขึ้นดีกว่า เช่น AH-1z
เห็น ป๋าจู แกมันส์กับ เรือ 911 เลยอดไม่ได้อยากแจมมั่ง ผมว่าแบบพี่เสือใหญ่นะครับ ป๋าจู ว่าเอา ซีกริพเป้น ไปใส่ไว้แค่ 4 ลำ มันน้อยไปหน่อยครับป๋า เพราะเครื่องบินมันต้องมีบางส่วนจอดบำรุงและเตรียมพร้อมเพื่อเลียงคิว เอ้ย ต่อคิวปฏิบัภารกิจเดี๋ยวไปๆมาใช้ปฏิบัติภารกิจได้แค่ 2 ลำ ไม่ต้องเอา ซุปเปอร์ทูคาโน่ ไปลงดีกว่ามั้ยครับ เอา ซ๊กริพเป้น ไปลง 8 ลำเลยดีกว่าครับป๋า ครอบครุมทุกภารกิจ ไม่มากแบบ เก็บอะไหล่และอาวุธมันแบบเดียวไม่เปลืองที่ ซีกริพเป้น จอดซ่อม 2 เตรียมพร้อมสอง ปฏิบัติ 4 น่าจะโอเคนะครับป๋า ผมว่า ซุปเปอร์ทูคาโน่ ถ้าบินขึ้น ฝ่ายตรงข้ามขามันไม่ค่อยสั่นเท่าไหร่ ไม่เหมือนกับว่า ซีกริพเป้น มาขามันเย่าเหงื่อตก ฉี่จะราด เพราะมันไม่ได้แบกแต่ระเบิดหรือจรวดจิ๊บๆ แต่มาพร้อมกับอาวุธหนักและทันสมัยม้ากมากทั้งอากาศสู่พื้นและ อากาศสู่อากาศ
เรื่องเรือเป็น เป้านิ่ง นั้น...
ไม่ว่าจะ ปรับปรุง หรือ ไม่ปรับปรุง ก็เป็น เป้าเหมือนกันครับ...เพราะเป็นเรือลำเดียวกันครับ...
ถึงเป็นเรือ บรรทุก ฮ. ก็เป็น เป้า อยู่ดี เพราะไม่มีอากาศยานอะไร ป้องกันให้ และระบบป้องกันตนเองก็แค่ 5 ก.ม....แม้แต่เรือรบผิวน้ำปัจจุบัน ก็มีความสามารถป้องกันได้ไม่เกิน 15 ก.ม. และเป็นเรือชั้น สุโขทัย เท่านั้น.....และเมื่อเรือชั้น นเรศวร ติดตั้ง ESSM ก็สามารถป้องกันได้ประมาณ 40 ก.ม.
ผมเลยมองว่า ยังไง ๆ ก็ เป้านิ่ง อยู่ดีน่ะครับ และถ้ามี ฮ. รวม 12 ลำ อยู่บนเรือด้วย...
ถ้า เราคิดว่า มันเป็น เป้า น่ะครับ....
ผมคิดว่า ในภูมิภาค เอเชีย...เรือบรรทุกเครื่องบิน ยังไม่ใช้สิ่งที่ล้าสมัย...
ประเทศ จีน และ อินเดีย ก็เร่งการเข้าประจำการ...เพราะต้องการ ลดอิทธิพล ทางการทหารของฝ่ายตะวันตก อยู่ด้วย....
ซึ่ง การที่ ทร.ไทย....สมมติ มีเรือบรรทุกเครื่องบิน ประจำการ ก็น่าจะเป็นเพื่อภูมิภาค คงไม่ได้ เน้น เป้าหมาย มองประเทศเพื่อนบ้าน มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม เป็นศัตรูหลัก...
เป้าหมายการเป็น ประชาคมอาเซียน น่าจะส่งเสริมความร่วมมือทางการทหาร มากขึ้น...
ASEAN จะเน้นหรือเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มประเทศตะวันออกเฉียงใต้...
อาวุธเชิงรุก ที่จะมีการจัดหาในอนาคต ผมมองว่า กลุ่มประเทศ อาเซียน น่าจะมองในเรื่องของ อิทธิพลของประเทศขนาดใหญ่...ที่นอกกลุ่ม ASEAN
ตามที่กล่าวข้างต้น ครับ...วา..นอกจาก กลุ่มประเทศตะวันตกแล้ว...
ประเทศจีน และ อินเดีย...ที่มีการพัฒนาอาวุธ ทั้ง เรือบรรทุกเครื่องบิน เรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์....ที่กำลังจะมีประจำการเพิ่มเติม...น่าจะมีส่วนผลักดันให้
อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และ ฟิลิปปินส์ ต้องปรับตัวในเรื่องอาวุธ เป็นการใหญ่...ตามที่เห็นกัน...ผมว่า เขาคงไม่ได้มองที่ประเทศไทย เป็นหลัก...
ประเทศไทย เลยต้อง ตกกระไดพลอยโจน ไปด้วย...เพื่อความสมดุลย์ ทางการทหาร ถ้ากลุ่มประเทศ ASEAN มีความขัดแบ้ง
กับ ประเทศขนาดใหญ่ เช่น จีน และ อินเดีย ในเรื่องการแย่งชิงแหล่งพลังงาน และเส้นทางเดินเรือ....
และ ไทย อาจจะต้องเลือกข้าง...
หรือ ไทย อาจจะเป็นฝ่ายกระทบกระทั่ง กับประเทศใหญ่ เสียเอง...จาก นโยบายการปกครอง...ที่ยังเป็นประเทศเดียวในภูมิภาค ASEAN ที่มีพลังทางการหทารชั้นนำ และมีความสุ่มเสี่ยง และอ่อนไหวที่สุด ที่จะเปลี่ยนแปลงอำนาจรัฐ จากการยึดอำนาจด้วยกองกำลังทหาร....ซึ่งผมว่า จุดด้อยนี้ จุดเดียวล่ะครับ...ที่ประเทศเพื่อนบ้าน ยังเว้นช่องว่างความร่วมมือทางการทหาร...
ถ้าทำการดัดแปลงปรับปรุงเรือ 911 สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือความคุ้มค้าต่อมาคือผลทางด้านวิศวกรรมต่อตัวเรือ โครงสร้าง ขนาดและกำลังของเครื่องยนต์
แต่ถ้าเป็นแค่แนวความคิดหรือทฤษฏีก็สามารถสร้างแบบจำลองและทดลองได้เพื่อเป็นแนวทางสำหรับเรือลำใหม่(อิอิ ฝันไปถึงเรือลำใหม่เลยเรา)จริงถ้าตามนโยบายระหว่างประเทศของเราถ้าเราเอาเรือ911มาปรับปรุงแล้วบรรทุก ซีกริฟเพ่น ไปด้วยแถบบนี้คงจะระแวงเรามากขึ้นแน่นอน ขนาดมีแค่911ยังระแวงเลย
แต่ถ้าเรายังมีความคิดแบบเดิมคือไม่รุกรานเอาแต่ป้องกันมันก็ต้องมีอะไรที่ทำให้ผู้ที่คิดจะรุกรานได้คิดหนักๆบ้างก็ดีครับ เช่น เรือดำน้ำชัก6ลำมือสองก็ยังดีหรืออย่างน้อย 4ลำมือ1ของรัสเซียก็ได้ เรือป้องกันภัยทางอากาศสัก 2 ลำแบบจัดเต็มก็น่าจะพอแล้วครับ
ส่วนเรื่องเรือ LHD หรือ CVH หรือ MINI CVN ขอฝันสักหน่อยครับ คือในแนวคิดของผมนะครับถ้าเรามีเงิน(ประมาณว่าเราเจอบ่อน้ำมันและสายแร่ทองคำที่ภาคอิสาน)
อิอิ เราควรจัดหาหรือต่อเรือ ขนาด 20000-22000 ตัน 2 ลำ ประจำการฝั่งละ1ลำ ดดยแต่ละลำประจำการด้วยเครื่อง ซีกริฟเพ่น 8-12 ลำ ฮ.6ลำ มีอู่แห้งในตัวเรือ อาจจะดูผิดประเภทไปหน่อยก็ตาม ประมาณว่ารวมคุณลักษณะของเรือทั้ง 3 แบบเข้าด้วยกัน ให้เป็น มัลติโรลเนวี่ชิฟ ดดยกำหนดเป็นเรือแบบใหม่คือ LCVH
และต่อเรือป้องกันภัยทางอากศ 4 ลำ เรือส่งกำลังบำรุง 2 ลำ เรือดำน้ำ 4 ลำ เรือฟรีเกตเพิ่มอีก 4 ลำ แค่นี้ก็หนาวแล้ว
ต่อครับ UAV ขนาดกลาง 3 ลำ ฮ.โจมตี 4 ลำ แค่นี้ก็น้องๆเรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่ของอังกฤษแล้ว.........ตื่นสายแล้วเรา เฮ้อ!
เรื่องการรวมตัวของอาเซียนเพื่อปกป้องผลประโยชน์ร่วมกันลดการหวาดระแวงซึ่งกันและกันก็ดีครับ
SAC 220 27,000 ตัน ความยาว 787 ฟุตหรือ 240 เมตร http://www.revistanaval.com/contidos.php?ID=nuevos_proyectos_izar_1 |
ทำไม เพิ่งเห็นความเห็นท่าน nok...
สำหรับ จำนวน 6 ลำ เป็น จำนวน สมมติ ถ้าซื้อมา 6 ลำ เป็นอัตราขั้นต่ำน่ะครับ...
สำหรับที่ประจำอยู่บนเรือ 4 ลำ ก็มาจากสาเหตุ ดังนี้ ตามภาพครับ 5 5 5 5
โลกที่เจริญขึ้นมาได้ทุกวันนี้ เพราะมีคนนิดนอกกรอป แบบ ท่าน จูดาส นี่แหละ...ครับ
คิดไปเถอะ ครับ ใครจะว่าไงช่าง เรามีสิทธิคิดครับ
คือผมมองในแง่ของคุณลักษณะเดิมในการหอบหิวน้องๆเครื่องบินของ เจ๊ 911 ว่าเดิมมันถูกออกแบบให้สามารถอุ้มน้อง แฮริเออร์ ไปได้ถึง 10 ลำ และน้อง ซีฮอว์ค ได้ 6 ลำ แต่ที่บังเอิญ น้อง แฮริเออร์ มีแค่ 9 ลำเพราะน้อง แฮริเออร์ นางหนึ่งเบื่อโลกเลยเอาหัวโหม่งพสุธาเจ๊งไป แล้วทีนี้น้อง ซีกริพเป้น เธอช่างมีรูปร่างพอประมาณ กับ น้องแฮริเออร์ คนเก่า แสดงว่าน่าจะสามารถ ถ้า เจ๊ 911 จะเอาไปได้ถึง 8 ลำ พ่วงน้อง ซ๊ฮอว์ค ชุดเก่าเข้าไปแล้ว ตัดน้องหนูแซมบ้าซุปเปอร์ทูคาโน่ออกไปให้น้องไปเต้นแซมบ้ายั่วยวนนาวิกบนบกจะดีกว่าครับ ทีนี้อัตราความพร้อมที่จะคั่วหนุ่มๆแปลกหน้าก็จะเด็ดสะระตีกว่าครับ ผมว่านะ
ปล.จำนวนการหอบหิว แฮริเออร์ ของเรือ 911 ถ้าผิดพลาดขออภัย ณ ที่นี้ครับ ป๋าจูรับผิดแต่เพียงผู้เดียว
อ้าว...ต๊ายยยยยยยย...เป็นความเห็นท่านเด็กทะเล เน๊าะ...ดันเห็นรูปตัวนก นึกว่า ท่าน nok..5 5 5 5 5
ผมว่า เปลี่ยนรูป เป็น น๊องแป้ง ดีกว่าป่าววววว...5 5 5 5 5
ด้วยความจุ ผมว่า น่าจะขน Sea Gripen ไปได้ใกล้เคียงกับการขอ Harrier ตามที่ ท่านเด็กทะเล ว่าไว้ครับ...
แต่ อย่างว่าแหล่ะครับ...ขนาด ทอ. กว่าจะจัดหามาได้ ต้องทะยอยหาเป็น เฟส 1 กับ เฟส 2....
ผมเลยตั้ง สมมติฐาน ขั้นต่ำ สัก 1 เฟส คือ 6 ลำ...แต่ถ้าได้มากกว่านั้น ก็ดีใหญ่ ครับ...
และผมคิดว่า ถ้า ทร. มีแผนจัดหา บ.ขับไล่ไอพ่นทางทะเล...คงไม่ แคล้ว ต้องโดนโจมตีเรื่อง ความรับผิดชอบทางอากาศ ควรจะให้ ทอ. รับผิดชอบ เป็นแน่แท้....
การมี เรือบรรทุกเครื่องบิน แต่ ไม่มีเครื่องบิน....จึงเป็น เอกลักษณ์ ของ กองทัพเรือไทย...
ขนาด มี กองเรือดำน้ำ แต่ ไม่มี เรือดำน้ำ ยังเป็น เอกลักษณ์ ของ กองทัพเรือ แห่ง ประเทศไทย เลยอ่ะท่าน...5 5 5 5 (ขำ ๆ)
ขอบคุณครับ ท่าน Capt.Tom...ผมว่า สมาชิก ก็จะมีจินตนาการกัน จึงมีแนวคิดหลากหลาย ทั้งแบบพื้นฐาน ทั้งสุดโต่ง และ แหวกแนว...ก็ล้วนเกิดจากจินตนาการ ที่คาดว่า และคาดคิดไว้ว่า กองทัพควรจะเป็นอย่างนี้ ควรจะใช้ระบบนี้ ควรน่าจะมีอันนี้ ตามความคิดของแต่ละท่าน....
ก็หวังว่า เราจะได้คุยกันสนุก สนาน มีปะทะกันบ้างประปราย เพื่อสร้างสีสรร และให้สถานที่แห่งนี้ เป็นงานอดิเรก ที่มีประโยชน์ต่อประเทศบ้าง แม้แต่เพียงเล็กน้อย ก็ถือว่า ดีแล้วครับ...
ว่าแต่ ท่าน Capt.Tom แล้ว ฮ. 8 ลำใหม่...มีอะไร ระแคะ ระคาย พอจะมาเว่อร์กันได้บ้างรึเปล่าครับ....5 5 5 5 5
ว่าแล้วก็อยากได้ SAC-220 อีกสักสิบปีข้างหน้าคงไม่สาย
เรืออาจจะราคาขึ้นเป็นซักพันล้านเหรียญ เฮลิคอปเตอร์ประจำเรือ + รถหุ้มเกราะ อีกซักห้าร้อยล้าน
ให้เป็นส่วนงบของ ทร.+ทบ.[นาวิก เอาหน่วยขึ้นตรงกับ ทัพภาค 3]จ่าย
ส่วนเครื่องบิน 1-2 ฝูง (16-24) ลำ ราคาก็คงซักประมาณ พันห้าร้อยล้านเหรียญให้ ทอ. จ่าย
แล้วก็ จัดตั้งเป็นกรม ผสมเฉพาะกิจพิเศษ ขีดความสามารถสูงหน่วยนึง
ขีดความสามารถ ครองอากาศ และ ยกพลขึ้นบกได้ 5555 ไม่ได้ฝันนะ
แต่เผื่อข้างหน้า เศรฐกิจไทยบูมแบบ สมัยพ่อใหญ่ แต่สามารถควบคุมระบบได้
ไทยจะมีเงินจำนวนมากอ่ะนะ
อ่่านของคุณ เด็กทะเล แล้วฮาดี ผมว่านะ เปลี่ยนจาก เจ๊911 เป็น ป๋า 911 ดีกว่านะ อิอิ เพราะมี สาวๆ ตรึม เลยทั้ง น้อง ซีกริพเพน น้อง แฮริเออ
ป๋า 911 กับน้องนาง คนสวย อิอิ
ทำไมต้อง ซีกริฟเพ่น อะครับเค้ายังสร้างกันไม่ได้เลยมะใช่เหรอครับ
เอ่อ แล้ว คิดจะซื้อ น้อง ยาส อย่างเดียวหรอครับไม่มีใครคิดจะ เอาพี่สาว (Saab 340 AEW) ของเธอติดมาด้วยหรือนี้กะไร
พี่สาวเธอ อี รี่อาย อาศัยของ ทอ. เชื่อมกัน ยกหูคุยกันครับ...5 5 5 5
แปลน 911 ถ้าบรรทุก แฮรริเออร์ อย่างเดียว เต็มที่ ที่ 11 ลำ ถ้า ฮ.อย่างเดียว 10 ลำ ถ้าแบบผสมกัน
น่าจะเป็น ฮ. 6 ลำ (ส่วนตอนบน) กับ แฮรริเออร์ 5 ลำ (ส่วนตอนล่างติดลิฟท์)
ตาม ข้อสมมติฐาน ของผม คือ น้อง ซี กรีพ สัก 4 (ไม่แน่นไป) กับ น้อง ซี ฮอค สัก 6 ก็ดูน่าจะพอเข้าเค้า....
อุ๊ย เขินจัง นับเลขผิด ถ้า บรรทุก แฮรริเออร์ ล้วน ๆ ได้ 10 ลำ ครับ...
อีรี่อาย คุยกับเครื่องบินลำอื่นที่ไม่ใช่ญาติ ไม่ได้หรือครับ ไหนว่าเราได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีไงอะ
ตามภาพ ระยะ Short Take Off จะประมาณ 105 เมตร...
สำหรับ จักรีนฤเบศร ความยาวเรือประมาร 170 กว่าเมตร...จึงไม่น่าจะมีปัญหาสำหรับ อากาศยาน ที่ Short Take Off ได้...
ประเด็นหลัก คงอยู่ที่ การลง...ที่ต้องหา ทางลง ให้กับ อากาศยาน...ถ้าหา ทางลง ให้กับ อากาศยาน ได้...
911 ก็น่าจะรับ อากาศยานนาวี ที่มีคุณสมบัติ Short Take Off & Short Landing ได้...
เครื่องบิน คุยกับคนไม่ใช่ญาติ ได้กันหมดน่ะครับ...
แต่ ข้อมูลลับทางยุทธวิธีที่จะส่งผ่านให้คนกันเองอ่านได้ ก็ต้องใช้สัญญาณที่อ่านกันเอง...จะมีคนอื่นอ่านด้วยไม่ได้...เว้นแต่...
เป็นพันธมิตรกันจริง ๆ ถึงจะให้อ่าน หรือ คุยกันทางหน้าจอระหว่างกันได้ ครับ...
ซึ่งมันจะต้อง เฉพาะเจาะจง...ไม่สามารถจะหาซื้อจากที่ไหนก็ได้ครับ...
ไม่งั้น โดนดักจับข้อมูล มันก็จะไม่มีประโยชน์....
ดังนั้น มันจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่ใครมีอะไร แล้วจะติด เจ้าตัวนี้ เข้าไป แล้วคุยกันได้เลย...แต่ละกองทัพ ทั้ง 3 กองทัพ ก็ต้องมีจุดลับเฉพาะของตน...
เพราะถ้าทั้ง 3 เหล่าทัพ มีจุดลับเฉพาะเหมือนกันหมด...ทัพใด ทัพหนึ่ง โดนเจาะ หรือ โดนล้วงความลับไปได้...ก็เสียหายกันทั้ง กองทัพไทย ล่ะครับ...
ลืมดูไปว่า ตามภาพ ระะยะ Landing Run หลังจาก ฮุค เกี่ยวสลิงแล้ว จะมีระยะประมาณ 90 ม.
คุณ juldas ครับนอกเรื่องมานานเมือไหร่ 911 จะไปถึง หมูเกาะสแปชรี่ย์ สักที อิอิ
ซึ่งถ้าดูโรงเก็บแล้ว ถ้าจะเอา F-35B และ เอา ฮ.ซีฮอร์ค ไปด้วย...
จำนวน F-35B คงจะไม่มากกว่ากัน น่าจะอยู่ประมาณ 3-4 ลำ
ตามข่้อมูล ความยาวของ F-35B ประมาณ 15.6 เมตร ความกว้าง ประมาณ 10.7 เมตร กว้างกว่า แฮรริเออร์ ซึ่งกว้างประมาณ 7.7 เมตร ยาวประมาณ 14.4 เมตร
สำหรับผม ผมว่าระยะเวลาอันใกล้ ขอ MH-60s สัก 4 ลำ + OH-58D อีก 4 ลำ มี UAV อีก 2-3 ลำ
ส่วนอนาคตถ้า ทร.ถูกหวยก็เอา F-35 B สัก 4 ลำมาแทน ได้ตามนี้ก็ดีใจที่สุดแล้วครับ
"ก็ต้องใช้สัญญาณที่อ่านกันเอง...จะมีคนอื่นอ่านด้วยไม่ได้...เว้นแต่... เป็นพันธมิตรกันจริง ๆ" สมมุติ ทอ.ซื้อ Su-35 มา 6 ลำให้อยู่ชุดรบเดียวกับ jas-39 เราก็ไม่สามารถ ส่งพิกัดเป้าจากอีรี่อายให้ Su-35 ได้เหรอครับ แล้ว F-16 เราตั้งเยอะแยะ แบบนี้ อีรี่อาย ก็แทบไม่มีประโยชน์อะจิ แล้วจะรู้ source code ไปทำไมอะครับ
อ่อ...ตอนนี้ 911 จอดพัก อยู่ที่ ฟิลิปปินส์ ครับ...
ด้วยความสัมพันธ์ กันแน่นแฟ้น ในทางการทหาร....ที่ เรา ช่วยเหลือเขาอยู่ในลักษณะแบบ เพื่อน...
ทำให้ ฟิลิปปินส์ มักจะชวน 911 ไปฝึกร่วมอยู่ บ่อย ๆ ครับ...
เราก็เห็น Sea Gripen ของ ทร.ไทย...บิน ฉวัด เฉวียน กับ F-16 C/D ของ ทอ.ฟิลิปปินส์...อยู่บ่อย ๆ...เจาะ แจ๊ะ กันไปมา...
ในการฝึก PLATOO GLOD Exercies ครับ...5 5 5 5 5
กำลังทำอยู่ล่ะมั๊งครับ...อีรี่อาย กับ F-16 น่ะครับ...เพิ่งได้รับ เมื่อตะกี้...จะเอาใช้ได้เลยเหรอ...ตะเองงงง...
ส่วนตัวเรือก็ปรับปรุงระบบสื่อสารและตรวจการณ์ กับระบบต่อสู้อากาศยานให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นก็สุดๆแล้ว
แล้ว SU 35 มายังไงอ่ะครับ....
แหมมม...อยู่ดี ๆ Su 35 ก็โผล่ขึ้นมาซะอย่างงั้น...แล้ว โผ้มมมมมม..จะตอบยังไงอ่ะ.....คร๊าบบบบบบบ....
911 มีโครงการปรับปรุง เรดาร์ และ อุปกรณ์สื่อสาร และน่าจะหมายถึง การ Link กับ ทอ. ด้วยล่ะมั๊งครับ...ถ้าผมจำไม่ผิดนะ...เคยอ่านอยู่เนือง ๆ ครับ...
ในระยะอันใกล้ คงได้เห็นการปรับปรุงในช่วง ระยะ 15 ปี น่าจะเป็นการอัพเกรดระบบ ( ซึ่งผมคิดว่า คงยังไม่ใช่ การปรับปรุงใหญ่ในช่วง ครึ่ง อายุใช้งาน ตามมาตรฐานกองทัพโดยทั่วไป )
ผมว่าต่อเรือใหม่สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินจะสวยกว่า แล้วเครื่องบินบนเรือบรรทุกเครื่อง น่าจะเป็นตัวแรงๆ ใหญ่ๆ หน่อยจะได้ทนทานต่อสภาพอากาศด้วย
สำหรับ 911 หลังจากที่ออกจากอู่ต่อเรือมาแล้ว ก็มาด้วยสภาพที่ยังไม่เต็มร้อย จากที่คิดว่าจะติดนู้นติดนี้ - -" หายไปหมดเลย
คงไม่คิดอะไรมากล่ะครับ ส่วนตัวอยากได้ AH-1Z มาให้ ทร.ไว้บินเล่นกับ 911 ซัก 6-8 ลำ แค่นี้ก็เจ๋งแล้ว
PLATOO GOLD EXERCISE
เฮ้ย...juldas มีเหตุผลอะไรที่มากกว่านี้ไม๊...ถึงจะทำ CVH เป็น CVL น่ะ ?
อืมมมมม....พอจะคุ้ย เหตุ ผล มาได้ประมาณนี้อ่ะ...
ภายในปี 2020 จะเห็นเรือบรรทุกอากาศยาน ในภูมิภาค เอเชีย
ประเทศ จีน
เรือบรรทุกเครื่องบิน Shi Lang จำนวน 1 ลำ บรรทุก Su-33
ประเทศ อินเดีย
เรือบรรทุกเครื่องบิน Vikramaditya จำนวน 1 ลำ บรรทุก Mig-29K
โครงการ เรือบรรทุกเครื่องบิน IAC II เริ่มการก่อสร้าง
ประเทศ ออสเตรเลีย
เรือบรรทุก เฮลิคอปเตอร์ Canberra จำนวน 2 ลำ ที่สามารถบรรทุก F-35B ได้
ภายใต้ โอกาส ที่จะเกิดวิกฤติการณ์ หรือ ความขัดแย้ง ตามภาพ...
โอกาส ที่จะเกิดความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์ ที่อาจจะเกิดขึ้น ตามแผ่นภาพข้างต้น...
ได้ตัดประเด็นความขัดแย้งในกลุ่มประเทศ ASEAN ออก จากความสำเร็จในเรื่อง ประชาคมอาเซียน...
เส้นทางผลประโยชน์ ทางพาณิชย์ จาก ทะเลอินเดีย สู่ ทะเลแปซิฟิก
เมื่อวานไม่ได้สานต่อ เดี๋ยวเคลียร์กับ ป๋าจู เรื่องจำนวนเครื่อง ซีกรพเป้น ก่อนว่า ที่ป๋ากลัวว่างบจะไม่มีซื้อหรือกลัวจะซื้อแล้วมีคนออกมากล่าวว่าควรให้เป็นหน้าที่กองทัพอากาศ อันนี้ไม่ใช่ประเด็นครับ ป๋าจู เพราะมีเงินรีแพร์ เจ็ใหญ่ 911 ก็ต้องมีเงินทำคลอดลูกๆ ซีกริพเป้น สิครับ ส่วนเรื่องที่จะมีคนกล่าวว่าควรเป็นหน้าที่ของกองทัพอากาศนั้นยิ่งไม่ใช่ประเด็น หากว่า กองทัพเรือจำเป็นต้องไปถึงทะเลจีนใต้โน่น กองทัพอากาศคงไม่ตามไปนอกเสียจากไปวางกำลังในฐานเพื่อนบ้านระแวกนั้น เพราะเครื่องบินกองทัพอากาศจะไม่ออกนอกน่านฟ้าตัวเองนี่ครับ และถ้าจะวางกำลังนอกประเทศแล้วก็ต้องแบ่งกำลังบางส่วนที่เคยไว้ดูแลบ้านทำให้ความพร้อมในการป้องกันบ้านตัวเองลดลง จริงมั้ยครับป๋า
ทีนี้ตอบคุณkapooknet200 บ้างครับ ที่ผมให้ เรือ 911 เป็น เจ๊ แทนที่จะให้เป็น ป๋า เพราะว่า เรือและเครื่องบินนั้นเขาถือว่าเป้น เพศหญิง น่ะครับ ฝรั่งบางทีใช้สรรพนามแทนเรือว่า She แทนคำว่า It ด้วยครับ อีกอย่างถ้าเรียก ป๋า เดี๋ยว ป๋าจู จะคิดว่ามีคู่แข่ง เรียก เจ๊ เผื่อป๋าจะหูผึ่ง ฮ่าๆ ส่วนดาต้าลิงค์นั้นเดี๋ยวไปลิงค์กับเรือ ฟริเกต และ เจ็ 911 เอาก็ได้
ส่วนเรื่องด้าต้าลิงค์นั้นคิดว่ากองทัพอากาศคงวางแผนที่จะมีการส่งผ่านข้อมูลกับเครื่องบินแบบอื่นๆนอกจาก น้องกริพเป้น แน่นอนครับ เพราะนี้คือเป้าหมายมีไว้พุ่งชน เอ้ย ไม่ใช่ เป้าหมายที่กองทัพอากาศนำเสนอนักหนาก่อนจัดหา อิรี่อาย กับ กริพเป้น อนาคตผมเชื่อว่ามีแหงๆ ถ้าไม่ได้ละก็ผมเดินผ่าน อิรี่อาย ผมจะแอบถ่ายแท่งตะเกียบจริงๆด้วย น่าฐานกรุณานะ
ที่ท่านเด็กทะเล...อธิบาย...มันก็ใช่...
แต่ผมก็กลัวว่า...ท่านท้าวทองไหล แห่ง ทอ....จะล๊อบบี้ ซื้่อ KC-135 มา...แล้วบอกว่า ต่อระยะ ทั้ง F-16 และ Gripen ไป ทะเลจีนใต้ แบบ ชิว ชิว...
แถม ท่าน Capt.Tom จาก ทบ. ก็สนับสนุนอนุมัติให้อีก...
กลัว จะไม่มีงบเพียงพอให้ ซี กริพเพน เต็มฝูง...
แม้ ซี กริพเพน ของ ทร. กับ กรีพเพน ของ ทอ. จะใช้ อาวุธร่วมกันได้ ทั้ง Iris-T และ เมเทอเออร์ และ RBS-15F...สามารถจะประหยัดงบ ตุน อาวุธ ไปได้บ้าง
แต่ KC-135 ในตอนนั้น ก็ราคาไม่ใช่เล่นเหมือนกัน...
มันก็ต้อง หวาดระแวงกันสักเล็กน้อย... 5 5 5 5 5
ถ้าจะ ขน Sea Gripen ไปซัก 6 ลำ อาจจะต้อง จอดบนลานบินไว้ จำนวน 2 ลำ...
ก็จะเป็น Sea Gripen = 6 ลำ
S-70B = 4 ลำ
MH-60S = 2 ลำ
ความฝันของป๋าจูลก็ไม่ใช่ว่าเป็นจริงไม่ได้นะครับ ลองมาฟังดู
เพื่อนสมาชิกหลายคน โดยเฉพาะมือใหม่อาจจะยังไม่ทราบว่าเครื่อง Gripen เป็นเครื่องบินขับไล่ที่ถูกออกแบบให้เกือบจะเป็นเครื่อง STOL ซึ่งเรือบรรทุกบ.เบาทุกชนิดบนโลกใบนี้เหมาะสมกับเครื่องบินที่ถูกออกแบบเป็น STOL
ประวัติความต้องการในอดีตของ JAS-39 นั้น ทางสวีเดนวางตัวเป็นกลางไม่เข้าข้างทั้งอเมริการัสเซียในสงครามเย็น แต่เจ้ากรรมที่ประเทศสวีเดนดันไปตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างคู่กัดยักษ์ใหญ่ และท่าทีของทางรัสเซียแข็งกร้าวมากๆ ดังนั้นทางสวีเดนจึงต้องพัฒนาเครื่องบินขับไล่เบาขึ้นเป็นของตนเองโดยมีข้อกำหนดสำคัญบางข้อที่เด่นๆ คือ
-ต้องเป็นเครื่องที่ใช้ทางวิ่งขึ้นลงสั้น สามารถบินขึ้นลงจากสนามบินที่ไม่ได้เตรียมพร้อมอะไร เช่น ถนนทางหลวง สนามบินหญ้า สนามบินที่ปูด้วยแผ่นเหล็ก เพราะมีความเป็นไปได้สูงสุดที่ถ้าสวีเดนถูกรุกราน ในชั่วโมงแรกๆของการรบสนามบินอาจจะถูกทำลายทั้งหมด
- ต้องเป็นเครื่องที่ใช้ระบบโมดูล คือ เมื่อเครื่องลงมาจากการรบแล้ว พอจอดปั๊บ ช่างสนับสนุนจะสามารถถอดโมดูลที่เสียหายออกแล้วทำการเสียบโมดูลอันใหม่เข้าไปทดแทนได้ทันที เพื่อให้เครื่องเสียเวลาบนสนามบินในการซ่อมบำรุงน้อยที่สุด เพื่อจะได้ขึ้นประจำสถานีรบในอากาศได้มากที่สุด เพราะต้องรับมือกับเครื่องบินรบของทางรัสเซียจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะ SU-27
ดังนั้นจากข้อกำหนดในการสร้าง Gripen จากความต้องการของสวีเดน จึงทำให้ Jas-39 ใช้ระยะทางวิ่งสั้นมากสักครึ้งเดียวของเครื่องบินขับไล่อย่าง F-16 ครับ และต้องเป็นเครื่องบินเบาด้วย ดังนั้น Jas-39 จึงแทบจะกลายเป็นเครื่อง STOL ไปเลย
ประหยัดงบประมาณไปได้เหมือนกันนะป๋า จากแผนงาน ต้องมีทั้ง แฮริเออร์และ F-18 ทีนี้เหลือแต่ sea gripen อย่างเดียว ทั้งประจำบนบกและบนเรือ อิอิ
แต่ทางสวีเดนไม่ได้มีเรือลรรทุกบ.ครับ เลยลืมนึกถึงการพัฒนาตอบสนองตลาดในเรื่องเครื่องบินขับไล่แบบ STOL ที่จะขึ้นลงบนเรือบรรทุกบ.เบา และเพราะตอนนั้นเครื่อง Harrier และ Yak กำลังโด่งดัง เรือบรรทุกบ.เบาทั้งหลายจึงออกแนวสกีจัมพ์กันหมด
แต่มาวันนี้ ปรากฎว่า เมื่อ Harrier หมดอายุลง และเครื่อง F-35 ที่มาทดแทนนั้น ออกแบบให้ตรงกับความต้องการของชาติมหาอำนาจอย่างอเมริกามากกว่า ทั้งหนัก ทั้งใหญ่ ทั้งแพง บรรทุกอาวุธได้น้อย แต่สเตลธ์ ซึ่งไม่ใช่ความต้องการของชาติขนาดกลางเล็ก จึงเกิดช่องว่างของความต้องการนี้ขึ้นครับ เพราะไม่มีเครื่องแบบไหนสามารถตอบสนองความต้องการของชาติที่มีเรือบรรทุกบ.เบาได้ถ้าไม่เลือก F-35 (ผูกขาดเลย)
เนื่องจาก Jas-39 เกือบจะเป็น STOL ตั้งแต่แรก ดังนั้น Jas-39 จึงมีความเป็นไปได้สูงมากที่จะพัฒนาให้เป็น STOL ที่สามารถขึ้นลงบนเรือบรรทุกบ.เบาแบบ Light STOBAR ได้ ระยะทางขึ้นลงปรกติที่สั้นกว่า F-16 เกือบครึ่ง น้ำหนักที่น้อย ดังนั้นที่สวีเดนบอกว่าสามารถพัฒนาให้ลงบนเรือที่ระวางต่ำกว่า 25000 ตัน นั้นมีความเป็นไปได้สูงมากครับ แต่ก้เจอตอชิ้นใหญ่จนได้สิน่า.......แหมเป็นพระเอกทั้งทีก็ต้องมีมารผจญนิทานจึงสนุกครับ....ว่าเข้านั่น
ต่อๆๆๆ กำลังมันกับฝันของป๋า
เรือ HMS.Venerable ในท้ายสุดก็เปลี่ยนมาเป็น DE Mayo ที่อา่ร์เจนติน่าเอาไปใช้เกือบจะจมเรือบรรทุกบ. อินวินซิเบิลได้ จรวดดันไปโดนแอตแลนติคอนเวย์เยอร์ที่อยู่ข้างๆแทน หวิดแพ้
เรือชั้นนี้ ยาว 192 เมตร กว้าง แนวน้ำ 24.4 เมตร ขณะที่จีกกรีของเรา ยาว 182 เมตร กว้างแนวน้ำ 23-25 เมตร ก็ถือว่าใกล้กันมาก แต่ระวาง 19000 กับ 11500 ที่ต่างกันน่ามาจากเทคโนโลยีการต่อสมัยสงครามโลกกับยุตอวกาศ และนอกจากนี้เรืออังกฤษมักจะเกราะหนา ก็เลยหนักกว่า เอาเป็นว่าไม่มีปัญหา
ในยุคนั้นนอกจาก Harrier โด่งดังแล้ว ทางซีกโลกตะวันตกก็มีเครื่องปีกตรึงที่เป็น STOL เกือบแท้ๆอยู่อีกรุ่นหนึ่งที่ใช้งานบนเรือบรรทุกบ.ที่ไม่มีสกีจัมพ์ นั่นคือ A-4 Skyhawk
ไอ้เจ้า A-4 นี่ออกแบบให้มีน้ำหนักแค่ 4 ตันกว่าๆเท่านั้น แต่มันสามารถเป็นเครื่อง LIFT CAS Light fighter Bomber&striker ที่ดีในทุกหน้าที่เลย โอ้พระเจ้าจอร์จ ใครออกแบบฟร๊ะเก่งจริงๆ A-4 นี่เป็นเครื่องในฝันของชาติขนาดกลางเล็กเลยครับ เพราะทำหน้าที่ได้ทุกอย่างและดีด้วยในเครื่องแบบเดียว เรือบรรทุกบ.เบาขนาดประมารจกกรีและใหญ่กว่าเล็กน้อยใช้มันหมด
ทั้ง Carbot เมลเบอร์น เดอเมโย ไมนาสเกรเรซ ส่วน Vikrant ไม่แน่ใจครับ ใช้ A-4 เป็นเครื่องขับไล่ประจำเรือหมด ใช้ระยะทางในการลงจอดโดยลวดหน่วงความเร็วน้อยกว่า 100 เมตร สามารถขึ้นจากรัยเวย์โดยใช้แคตตาพัลส์ได้ จริงๆถ้าไม่เติมอาวุธและเชื้อเพลิงเต็มที่ก็มีลุ้นว่าสามารถขึ้นได้จากเรือที่มีสกีจัมพ์ แต่ไม่มีใครเคยลอง
มายุคนี้ ทั้ง A-4 และ harrier ก็หมดอายุไขกันแทบหมดแล้ว มีทางบลาซิลที่ยังใช้มันอยู่แต่กำลังมองหาเครื่องมาทดแทนครับ
เอามาดูนางตัวอิจฉาที่เป็นมารผจญนางเอกเรา เพราะเครื่องบินและเรือ ฝรั่งเขาจะให้เป็นเพศหญิง
นางมารผจญที่ว่านั่นคือ Rafale ครับ
Rafale เกิดขึ้นมาจากการที่ยุโรปต้องการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ขนาดกลางเพื่อทดแทนทั้ง F-4 F-104 ที่เป็นกระดูสันหลังหลักของยุโรป ในตอนแรกฝรั่งเศก็เข้าร่วมในการพัฒนาด้วย ชื่อโครงการคือ EURO fighter 2000 เออพอบอกชื่อนี้คุ้นๆหูกันบ้างแล้ว
แต่ทางฝรั่งเศสเกิดเฮี๊ยนอีกแล้ว พี่แกเฮี๊ยนบ่อยเพราะไม่อยากเป็นลูกไล่ใคร ไม่อยากพึ่งพาใคร ถือดีกว่าเคยเป็นมหาอำนาจอันดับสองของโลก มีอาณานิคมเป็นรองอังกฤษไม่มากนัก ก็แทบจะไม่มีพระอาทิตย์ตกดินเหมือนอังกฤษ
พี่แกเลยขอแยกตัว ด้วยเหตุผลที่ว่า เครื่องที่แกต้องการนั้นต้องสามารถลงบนเรือบรรทุกบ.ได้ เพราะฉันใช้อยู่และกำลังจะต่อเรือบรรทุกบ.พลังงานนิวเคลียร์ลำใหม่ลงน้ำ(ชาร์ลเดอโกล) แต่ทางสมาชิกยุโรปกับกำหนดในแบบที่ใช้งานบนสนามบินธรรมดาเท่านั้น พี่แกเลยแยกตัวออกมาพัฒนาเองและเกิดเป็น Rafale ขึ้นมา
ขนาด มิติ ความสามารถใกล้เคียง Typoon มาก แต่มีขีดความสามารถในการใช้ระยะทางวิ่งที่สั้น แต่ไม่ถึงขนาด Jas-39 ขึ้นโดย แคตตาพัลส์ ลงโดยใช้ลวดหน่วงความเร็ว ในการทดลองในการใช้งานทางทะเล พี่แกก็สามารถนำเครื่องขึ้นลงบนเรือบรรทุกบ. แบบฟ๊อกซ์ได้ ซึ่งฟ๊อกซ์นั้นเล็กกว่า ชาร์ลเดอโกล พอเรือใหม่เสร็จพี่ Frog(คำล้อเลียนพวกฝรั่งเศศ) เขาก็ขายให้บาลซิลไป เปลี่ยนชื่อเป็น เซาร์เปาโล ในปัจจุบัน
ขอขัดจังหวะแปปนึง
ได้ยินว่าทาง ล๊อกฮีทมาร์ติน ไม่ไห้เรา ทำดาต้าลิ้งกับ F-16 นะ
สรุปคือ บ.รบ ที่ไช้เครือข่ายเรด้าได้ มีแค่น้องหยาด
ผมเลยมองไปเพื่อนบ้านฝั่งตะวันตกของเรา
ที่ทั้งเอา SU-30 แล้วก็ ราฟาลมาผลิตเองในประเทศได้
ผมว่าไม่นาน คงจะมีลูกผสมระหว่างสองตัวนี้แหละ
แล้วเขาก็มีเรือ บรรทุกเครื่องบินด้วย ผมว่าเขาน่าจะทำ
เครื่องบินขับไล่ปีกสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ด้วยอ่ะนะ 555 คิดไปเองทั้งนั้น
แต่ถ้าได้ก็ดี ทีแรกอยากได้ ราฟาล ได้ยินว่าไช้รันเวแค่ 400 เมตรกับเครื่องปกติ
ระยะแลนดิ้ง + สลิงเกี่ยว ทำให้อยู่ใน ระยะ ไม่เกิน สองร้อยเมตรคงได้
จากเดิม รันเวย์บนเรือจักกรี ยาว 175 ม. แต่ถ้าเราเอาสลิงมาติด แล้วก็ดัดแปลงตรงท้ายๆมัน
ต่อด้านหลังให้เจ๊นิดๆหน่อยๆ [ไมรู้ว่าจักกรี เรา ต่อเป็นบล็อกหรือเปล่า]
แต่ถ้าไม่ไช่ ก็รื้อด้านหลังออก นิดๆหน่อยๆ ไส่ระวางขับน้ำ + ตัวเกี่ยวเพิ่ม
น่าจะเพิ่มความยาวรันเวย์ได้นิดนึง ซึ่งผมว่าเพียงพอ ไม่ต้องทำดาดฟ้าเพิ่ม
แต่ก็นะ จุดจริงๆอยู่ที่ อยากใด้ เครื่องบิน ตัวเล็กๆที่มีปีกสามเหลี่ยมกว้างๆ เพื่อช่วยบินขึ้น แบบไม่ต้องไช้ตัวดีด
ผมว่า เราควรกระโดดเข้าไปขอศึกษา กับอินเดีย ไม่ก็ สวีเดนดีกว่า เพราะนึกถึงA-4 ได้ ล่ะอยากไห้กลับมาใหม่
SAAB เห็นช่องว่างทางการตลาด จึงเข็น sea Gripen ออกมาสำหรับตลาดโลก เพราะยังมีเรือบรรทุกบ.เบาอีกหลายลำ และพวกนั้นก็มีปัญหากับ F-35 ซึ่งออกแบบไม่ตรงกับความต้องการของชาติขนาดเล็กกลาง เพราะประเทศที่ว่าเหล่านั้นต้องการเครื่องบินขับไล่เบาแบบ A-4 ในอดีต A-4 นี่เครืื่องบินในใจตลอดกาลของผม มันสุดยอดมาก ในการซ้อมรบกับนิวซีแลนด์ มันเคยยิง F-16 ของเราในการฝึกด๊อกไฟท์ได้ เจ๋งป่ะ
SAAB เข้าเสนอแข่งในโครงการ MMRCA ของอินเดีย โครงการเครื่องบินขับไล่ใหม่ของทร.บลาซิล แต่นางมารผจญก็ตามมาในทุกโครงการครับ และนางมารก็ชนะในครั้งแรกด้วย อินเดียตัดสินเลือก Rafale ในโครงการนี้ เท่ากับว่าทร.อินเดียเองซึ่งกำลังต่อเรือบรรทุกบ. โครงการ Project 71 จำนวนสองลำ เพื่อทดแทน Vikrant และ Viraat ซึ่งมีขนาด 40000 ตัน ใกล้เคียงกับ ชาร์ลเดอดกล น้อง Jas-39 โดนนางมารร้ายชกขวาตรงลงไปนับแปด....อุ๊กกกก
คราวนี้เหลือโครงการที่ลุ้นได้อีกแค่โครงการเดียว นั่นคือ โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่เพื่อทดแทน A-4 ประจำเซาท์เปาโล และต้องใช้งานไปต่อบนเรือบรรทุกบ.ลำใหม่ที่กำลังออกแบบ ได้ยินว่าใช้แบบ SAC-220 เป็นแบบพื้นฐานและขยายแบบให้ใหญ่ขึ้นเป็น 40000 ตัน พูดถึง SAC-220 ทีไรช้ำ.....ทร.เกือบมีใช้แล้ว ท่านชวลิตไม่น่าพลาดเล้ยยยย
แต่ก็อีกแล้ว นางมารมาตามผจญ และเครื่อง Rafale นั้นเคยขึ้นๆลงๆบนเรือเซาท์เปาโลมาก่อน (ชื่อเดิม ฟ๊อกซ์ ไง) และเป็นเครื่องขนาดกลางที่น้ำหนักบรรทุก ระยะปฎิบัติการไกล และทร.บลาซิลเองก็มีสัมพันธ์ใกล้ชิดมากๆกับฝรั่งเศสด้วย นางมารร้ายเตรียมเตะก้านคอน้อง Jas-39 เราแล้วครับ
Jas-39 รุ่น sea gripen นั้นมีความเป็นไปได้มากเหมือนกันครับที่จะสามารถลงบนจักกรีที่ทำการปรับปรุงเป็น Light STOBAR แต่ต้องมีคนร่วมพัฒนาและจัดหา เพราะการเงินของ SAAB ก็ใช่ว่าจะดีนัก ถ้าไม่ได้ยอดขายจากเราป่านนี้อาจจะล้มละลายไปแล้ว ถ้าต้องแพ้ให้ Rafale อีก รุ่น sea Gripen คงไม่ได้เกิด ยกเว้นทางเราตัดสินใจร่วมทุนในการพัฒนากับทางสวีเดน จริงๆอีกแนวคิดหนึ่งที่เพื่อนใน TFC เสนอว่าให้เราร่วมทุนกับทางสวีเดนในการผลิตเครื่อง Jas-39 แล้วแตกรุ่นไปใช้ในรุ่นต่างๆนี่ก็ไม่เลวนะครับ เพราะสามารถกำหนดความต้องการตามใจเราได้ เช่น ถ้าจะใช้ในการฝึกและ CAS ก็อาจจะต้องเปลี่ยน airfoil เป็นแบบใช้งานช่วง ทรานโซนิค หรือ ซับโซนิค ลดกำลังเครื่องยนต์ลงเพื่อความประหยัด บินด้วยความเร็วราวๆ 0.8-1 มัค เหมือนเครื่อง A-4 ตัดเรด้าร์ออกไปใส่ FLIR เข้าไปที่จมูกแทน แตกเป็นรุ่นที่ใช้งานบนเรือบรรทุกบ. ได้ และใช้เป็นเครื่อง อินเตอร์เซปเตอร์
ต้องบอกว่า Gripen เป็นเครื่องที่ดูจะตรงตามความต้องการของเรามากที่สุด
อินเดียเองนั้นก็มีโครงการเครื่องบินขับไล่เบาปีกสามเหลี่ยมอย่างโครงการ LCA TEJAS อยู่ครับ ซึ่งคงใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีและเครื่องยนต์จากฝรั่งเศษ ซึ่งเป็นโครงการที่ยืดเยื้อมานานมากเพิ่งจะขึ้นบินเปิดตัวได้เมื่อเดือนมกราคาปีที่ผ่านมา ทั้งๆที่อินเดียนั้นก้าวหน้ากว่าเราในเรื่องอุตสาหกรรมอากาศยาน ทีนี้เราคงต้องมองอินเดียเป้นตัวอย่างของปัญหาในการพัฒนาหากต้องการพัฒนาผลิตเครื่องบินขับไล่เอง ทั้งนี้รวมทั้งการตลาดที่จะต้องคงสายการผลิตเครื่องบินนั้นต่อไปให้ได้จำนวนมาก ไม่เช่นนั้นราคาเฉลี่ยต่อเครื่องแพงระยับแน่นอน นอกเสียจากที่เพื่อนสมาชิกกล่าวมาว่า เน้นไปที่ร่วมมือกับบริษัทSAAB และกอทัพอากาศสวีเดน ดึงงานบางส่วนของของสายการผลิต JAS-39 มาทำชิ้นส่วนหรือประกอบในประเทศไทยมากกว่าการที่จะพัฒนาขึ้นเองใหม่
โปรเจ็คป๋าจูเริ่มยาวแล้ว....
อ๊ากกกกซ์ๆๆๆ ....พิมพ์ไปตั้งเยอะหายหมดเวลาส่ง
ท่าน fulcrum37 ครับ อินเดียพัฒนาเครื่องแบบที่ท่านว่าใช้งานอยู่แล้วครับ เตจ๊าซ ไงล่ะครับ ใช้ mirage2000 เป็นพื้นฐาน เท่านี่ทร.อินเดียก็มีเครื่องขนาดกลางและเบาใช้งานบนเรือบรรทุกบ. ครบครับ
ปล. สำหรับเพื่อนสมาชิกที่เสนอแนวคิดให้เราร่วมทุนกับ SAAB ในการพัศนา jas-39 เป็นรุ่นต่างๆนั้นเป็นความคิดที่ยอดเยี่ยมมากครับ แต่ขอโทษจริงๆที่จำชื่อท่านไม่ได้
ทาง SAAB เปิดโอกาศให้มีผู้ร่วมทุนพัฒนา jas-39 แล้ว ซึ่งเครื่องรุ่นนี้สามารถแปลงไปในแบบที่เราต้องการได้ สามารถพัฒนาได้แบบเครื่อง A-4 ที่สามารถทำได้สารพัดภาระกิจ และทำได้ดีทุกภาระกิจด้วย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเครื่องปีกสามเหลี่ยม ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับ ทอ ทร และรัฐบาลว่าจะกล้าลองกับเขาหรือเปล่าครับ
ฝันกันมันเลยวุ้ย ผมก็อ่านจนเพลิน
ตอบคุณ potmon หน่อยนะครับ ที่เขาโม้กันแล้วพูดเรื่องซีกริพเพนก็เพราะกริพเพนธรรมดาไม่น่าจะลงเรือได้ น่าจะต้องเสริมโครงสร้างให้แข็งเเรงขึ้น ซึ่งก็คือโครงการซีกริพเพนนั่นเอง ส่วนการใส่เครื่องบินใหญ่แรงๆ คุณ potmon น่าจะกำลังพูดเรื่องเรือที่ใหญ่ๆ กว่า 911 มากๆ
กระทู้สนุกครับ เอ็นเตอร์เทนจริงๆ
จริงๆแล้วในตลาดโลกขณะนี้มีเครื่องรุ่นใหม่ที่กำลังแตกรุ่นออกมาหลากหลายแบบ และอยู่ในคลาสเดียวกับ A-4 แต่ไม่สามารถปฎิบัติภาระกิจได้ครอบคลุมทุกแบบได้ดีทุกภาระกิจแบบ A-4 แต่ทางผู้ผลิตกลับพยายามดันมันในแทบทุกภาระกิจ ทั้งๆที่มันไม่ได้ออกแบบโดยมีพื้นฐานแบบนั้นเลย
เป็นเครื่อง STOL ขนานแท้ครับ ลงบนจักกรีที่ปรับเป็น Light STOBAR ได้แน่นอน ไว้ไปรวบรวมข้อมูลเขียนตั้งกระทู้ใหม่เพื่อสนับสนุนป๋าชูลต่อครับ
ต้องไปฝึกทำภาพประกอบบ้างแล้ว...................
ท่าน neosiamese2 ผมทำใน Excle น่ะครับ....
Insert รูปใน Sheet แล้วเอารูปมา Group กัน เติม กล่องข้อความเข้าไป เพื่ออธิบายต่าง ๆ แล้วก็ Group เข้าเป็นรูปเดียวกัน แต่สามารถแก้ไขในรูปที่ Group ได้....
แล้ว Copy ไปวางใน Paint แล้ว Save เป็น JPEG แล้วก็ไป ลบ ไป ตกแต่ง ใน Paint ครับ...
ถ้ารูปมันขนาดใหญ่ไป ก็ไป ตกแต่ง หรือลด Pixel ใน Photoscrap (โหลดฟรี ไม่มีอายุหมด)
ขอบคุณทุกท่านครับ...สำหรับความเห็น และข้อมูลต่าง ๆ จะทำให้มีแนวคิดมากขึ้น...จะได้ต่อยอด กระทู้ของสมาชิกแต่ละท่านต่อไปครับ...
สนุกดี...
ผมมีความเห็นเกี่ยวเรือขนบ.อย่างนี้ครับ
การที่เรือขนบ.จะไปเดินลอยชายแถวบ้านเพื่อนได้นั้นจะต้องมีการคุ้มกันจากเรือดำน้ำพร้อมเรือป้องกันภัยทางอากาศ
ซึ่งเรายังไม่มีทั้งสองอย่างเลย
แต่ถ้าคุยกันในกรณีที่ว่าสมมุติเรามีครบแล้ว เหลือก็แต่เรือขนเครื่องบินเนี่ยแหละ
ก็เป็ฯไปได้ แต่เรือเราอาจจะเล็กไปนิด การจะต่อเติมให้มีพื้นที่พอสำหรับการติดสลิงดัก ต่อรันเวย์ให้ยาวพอสำหรับซีกริปเป้นอาจจะไม่ไหวนะครับ
เพราะว่ากันตามตรงเรือขนบ.เราโคตรเล็กเลยครับ น่ารัก
อย่างตามรูปที่ป๋าจูลต่อเติมเป็นตัวอย่างคร่าวๆนั้น ส่วนที่ต่อเติมมาเทียบสัดส่วนกับขนาดเรือเดิมๆถือว่าใหญ่มาก อย่างเรือประเทศอื่นๆที่มีการดัดแปลงโมดิฟายเติมลานบินก็ยังถือว่าไม่โผล่ออกมามาก เนื่องจากตัวเรือใหญ่กว่านี้
ฉนั้นอาจจะต้องมองเครื่องที่เล็กหน่อย หรือความจริงพํฒนากริปเป้นให้จอดสั้นลงอีกด้วยการมีจรวดช่วยเบรก อะไรประมาณนั้น
แต่ถ้าูพูดถึงความเป็นไปได้ก็เป็นไปได้แหละ แต่ก็ยากอยู่ เนื่องจากเรือเป็นอะไรที่อยู่โยงกัน30-40 ปี ตัวเรือไม่ต้องใหม่ เหมือนเครื่องบิน แค่คอยอัพเกรดข้าวของอาวุธเรดาร์ก็พอ
ขอต่อกระทู้น่ะครับ....
ทำไมเราถึงมองว่า 911 ถึงเป็นเพียง Helicopter Carrier...และถึงจะจำกัดบทบาทให้เป็นเพียง เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์
ในความเห็นผมว่า 911 น่าจะเป็น Aircraft Carrier เหมือนของ ทร.สเปน และ ทร.อังกฤษ และ ทร.อินเดีย เช่นเดียวกัน....
อธิบายตามแผ่นภาพครับ...
ทร.สเปน มีประสบการณ์จากเรือบรรทุกเครื่องบินครั้งแรก ก็มาจาก เรือบรรทุกเครื่องบินของ ทร.สหรัฐ ในสม้ยสงครามโลกครั้งที่ 2
แล้วนำมาปรับปรุง เพื่อให้รองรับกับการปฏิบัติการด้วย AV-8S และ เฮลิคอปเตอร์...คือ SNS Dedalo (Uss Cabot)
โดย SNS Dedalo จัดให้ว่าเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินแบบแรก ที่ใช้ปฏิบัติการด้วย Harrier...
การตั้งเป้าหมายการใช้งานสำหรับอากาศยาน บนเรือบรรทุกเครื่องบิน ก็ล้วนแต่ต้องทดสอบ...SNS Dedalo เดิมเป็นพื้นไม้ ก็จะได้รับผลกระทบจากการถูกเผาไหม้จากแรงขับของเครื่องยนต์ แฮรริเออร์...จึงได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนพื้นลานบินใหม่ เป็นมาตรฐานของเรือบรรทุกเครื่องบินไอพ่น...ซึ่งผมก็มองว่า ไม่เห็นจะมีผลกระทบกับโครงสร้างตัวเรือ หรือ จะทำให้ไม่สามารถปฏิบัติการไม่ได้อย่างไร...ในขณะเดียวกัน ทร.สเปน ก็สร้างเรือบรรทุกเครื่องบินโดยใช้พื้นฐานแบบมาจากเรือของสหรัฐ และติดตั้งสกีจัพม์ ความชัน 12 องศา สำหรับ อากาศยานแบบ V/STOL
ทร.สหรัฐ ก็มีประสบการณ์มากมาย ในการดัดแปลงเรือบรรทุกเครื่องบิน เพื่อตอบสนองความต้องการของ ทร.สหรัฐ ตามภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะนั้น
เช่น เรือบรรทุกเครื่องบินที่สร้างเสร็จในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2
ความเห็นข้างบนคือ USS Hornet ลำที่ 2
อันนี้ ยกตัวอย่างรวมสัก 3 ลำ น่ะครับ...
ผมจึงมองว่า เรือรบ นั้น...เป็นระบบอาวุธที่ ยืดหยุ่น สามารถพัฒนา ติดตั้ง ต่อเติม ได้...และการสร้างในลักษณะ เรือรบ ขนานแท้ คือ การรองรับความเสียหาย จากถูกทำลายด้วยอาวุธนำวิถี และ ระเบิด ได้ในระดับหนึ่งด้วย...โดยเรือรบ จะยังจะสามารถแล่นกลับฐานที่ตั้ง เพื่อทำการซ่อมแซม เพื่อนำมากลับทำการรบใหม่ได้...จะ แตกต่างจาก เครื่องบินรบ อย่างสิ้นเชิง ที่มีความอ่อนไหวต่อการดัดแปลง....
สำหรับ สลิง หรือ ฮุค เกี่ยวของอากาศยานนั้น ก็ยังเป็นรูปแบบที่พัฒนามาจากตอนปลายสงครามโลกครั้งที่ 1 มาจนสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 และรูปแบบ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากมายนัก คงเพิ่มความคงทน และแข็งแรง ของอุปกรณ์ สำหรับอากาศยานไอพ่นที่ใช้งาน...
สำหรับแนวคิดการดัดแปลง 911 เพื่อรองรับอากาศยานที่จะประจำการในอนาคตของ ทร.ไทย (ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นแบบใด) นั้น...ผมว่ามีโอกาสที่จะทำได้...ผมคิดว่าไม่น่าจะสามารถพูดได้เต็มปากว่า ทำไม่ได้เลย....เพราะเป้าหมายคุณลักษณะเรือ ก็เพื่อรองรับ จำนวนอากาศยาน เท่าเดิม...แต่ปรับ เพื่อให้ใช้ได้ กับ อากาศยานที่มีอยู่ในมือ
ส่วนเรื่อง ราคา นั้น...จะแพงเท่ากับซื้อเรือใหม่ ไม๊ ? ไม่มีใครตอบได้ในขณะนี้น่ะครับ...ในความเห็นผม...
แล้วความจำเป็นของ กองทัพเรือไทย ต้องมีเรือบรรทุกเครื่องบินประจำการหรือไม่ ?
ความเห็นผมว่า ก็ไม่ทราบเหมือนกัน...แต่ข้อมูลที่ปรากฎในปัจจุบัน คือ ในภูมิภาคเอเซียในอีก 5 ปีข้างหน้า จะมีเรือบรรทุกเครื่องบินประจำการใหม่เพิ่มจากเดิมอีกไม่ต่ำกว่า 4 ลำ...ประจำการคุมอำนาจทางการทหาร ทางฝั่งทะเลอินเดีย คือ ประเทศอินเดีย ทางฝั่ง แปซิฟิก คือ ประเทศ จีน...และในภูมิภาค เอเชียใต้ คือ ออสเตรเลีย....เพื่อรองรับกับความขัดแย้งในอนาคต
ประเทศไทย คือ อ่าวทะเลปิด ที่อยู่ตรงกลางของ ทะเลทั้ง 2 ฝั่ง ข้างต้น....
อนาคต คงไม่ทราบว่า ประเทศไทย จะมีเรือบรรทุกเครื่องบินเพิ่มหรือไม่...แต่ปัจจุบัน ผมมองว่า 911 คือ เรือบรรทุกเครื่องบิน...ซึ่ง ประเทศไทย มีเรือบรรทุกเครื่องบินประจำการอยู่แล้วน่ะครับ...
ถ้าไม่พลาดตอนเย็นจะเพิ่มเติม แผ่นภาพความเห็น รัศมีการต่อต้านภัยคุกคามของ 911 ที่ลดน้อยลง...
แผ่นภาพ
ในความหมาย สีเขียว หมายถึง การป้องกันภัยทางอากาศ ระยะพิสัยในการทำสงคราม
สีน้ำเงิน อ่อน และ เข้ม หมายถึง การป้องกันภัยทางภาคพื้นทะเล ระยะพิสัยในการทำสงคราม
ในปัจจุบัน จะเห็นว่า สีเขียว ได้หายไป คงเหลือ แต่เพียงสีน้ำเงิน
ภาพเปรียบเทียบ พิสัยการทำสงคราม ป้องกันภัยทางอากาศ
เงื่อนไขในกรณี ที่ 911 สามารถรองรับการปฏิบัติการด้วยอากาศยานปีกตรึงในแบบตัวอย่างได้
TFC ปิดปรับปรุง ไปหลายวันเลย เอ้าต่อๆๆๆๆ
เมื่อพูดถึงเครื่อง sea gripen แล้วว่าน่าจะสามารถทำเป็นเครื่อง STOL ที่สามารถขึ้นลงบนเรือบรรทุกบ.เบาได้แล้ว โดยการดัดแปลงเรือบรรทกบ.จักรี แต่เนื่องจาก gripen นั้นมีน้ำหนักตัวเปล่าอยู่ในช่วง 7-8 ตัน ก็เลยทำให้เพื่อนๆบางท่านคิดว่าความเป็นไปได้นั้นน้อยลงเพราะน้ำหนักขนาดนี้นั้น เมื่อต้องลงจอดบนเรือจักรี ดาดฟ้าลานบินอาจจะรับโมเมนตัมไม่ไหว เพราะโมเมนตัมคือ มวลคูณความเร็วของเครื่องก่อนกระทบดาดฟ้าลานบิน จะทำให้น้ำหนักจริงๆตอนกระทบสูงกว่าน้ำหนักตัวเปล่าเป็นเท่าๆตัว (ก็ไม่น้อยกว่า 15-16 ตัน) ในขณะที่เครื่อง A-4 sky hawk นั้นมีน้ำหนักตัวเปล้า 4.5 +- 0.3 ตัน ซึ่งเมื่อลงจอดบนดาดฟ้าเรือแล้ว โมเมนตัมที่จะกระแทกดาดฟ้าเอน่าจะน้อยลงมาก ซึ่งไม่น่าจะเกิน 10 ตัน ดูๆแล้วเครื่องที่มีขนาดน้ำหนัก 4-5 ตันดูจะปลอดภัยเวลาขึ้นลงเรือมากกว่า แต่เครื่อง A-4 ก็ทยอยปลดประจำการแล้ว แล้วยุคนี้จะเอาเครื่องไหนไปทดแทน มีคำตอบแล้วครับ
นั่นคือ Yak-133 IB หรือ Yak-130 รุ่น fighter&bomber
ทาง Yakolev มีแผนพัฒนาในช่วง 10 ปีจากนี้ในการแตกรุ่นของ Yak-130 ออกไปเป็น
yak-131
Yak-133 fighter Yak-133 IB fighter&bomber
Yak-133 shipbone trainer Yak-133 PP Jammer/Traine
Yak-133 R reconnaissance aircraft
Yak-135 สำหรับขนส่งVIP ซึ่งน่าจะเป็นการทำตลาดเครื่องเอกชน
ดูแผนภาพประกอบซึ่งผมโหลดเอาจากเวปของ yakolev โครงอากาศยานททั้งหมดนั้นใช้โครง yak-130 ในกาปรับปรุง โดยเฉพาะ Yak-133 นั้นจะเป็นรุ่น streem line หรือรุ่นแตกย่อยที่จะมีการผลิตเป็นสายหลัก โดยเฉพาะภารกิจขับไล่เบา (ซึ่งเวลานั้นน่าจะทำการเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่แล้ว) น่าจะมีความเร็วเกินเสียง รู้สึกว่าจะใช้เครื่องตัวเดียวกับ L-15 รุ่นปรับปรุงเครื่องยนต์ โดยใช้เครื่องยนต์ของทางยูเครน ที่ให้กำลังสูงกว่า 20000 ปอนด์(สองเครื่องรวมกัน) แต่ผมจำรุ่นเครื่องไม่ได้แล้ว แต่เคยโพสต์ไว้ในกระทู้เกี่ยงกับการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ของพม่า
นอกจากนี้เคยอ่านเจอว่าการปรับปรุงรุ่น yak-133 นั้นจะมีการติดตั้งเรด้าร์ขนาดเล็ก spear ซึ่งเป็นเรด้าร์รุ่นที่ใช้ใน Mig-29 แต่ถึงเวลานั้นอาจจะเป็นเรด้าร์รุ่นอื่น เพราะเรด้าร์ AESA กำลังมาแรงมาก
การติดตั้งเรด้าร์แบบ spear ได้ การเพิ่มกำลังขับของเครื่องยนต์ ก็จะทำให้ Yak-133 สามารถใช้จรวด R-73 R-77 ได้ และมีความเร็วมากกว่าเสียง จะทำให้รบแบบ BVR ได้ด้วย แม้ว่าตัวเครื่องไม่ได้ออกแบบในตอนแรกจากรูปแบบเครื่องบินขับไล่ก็ตาม แหมมคิดถึง MIG-AT และ S-54 เลย โดยเฉพาะ S-54 ที่ออกแบบจากเครื่องขับไล่มาเป็นเครื่องฝึก
Yak-133 รุ่น ฝึกใช้งานบนเรือบรรทุกบ. นั้นน่าจะมีการพัฒนาระล้อ(แลนดิ้งเกียร์) ระบบฮุค สำหรับเกี่ยวลวดหน่วงความเร็ว และเนื่องจากใช้แอร์เฟรมตัวเดียวกันกับ Yak-133 IB ดังนั้นก็น่าจะสามารถติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆเพื่อเป็นเครื่อง fighter bomber ได้ ซึ่งจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับลูกค้า และเนื่องจาก Yak-130 เป็นเครื่องสถาปัตยกรรมเปิด ดังนั้น Yak-133 ก็น่าจะเป็นสถาปัตยกรรมเปิดเช่นกัน ถ้าขายดีมากๆ ทางอิสราเอลอาจจะรับโมดิฟายด้วยแบบ SU-30 cและMIG-29 หรืออาจจะเปลี่ยนไปใช้เรด้าร์กริปโฟ หรือ APG-67
แม้ว่า Yak-130 นั้นไม่ได้ออกแบบเป็นเครื่องขับไล่ได้เสียตั้งแต่แรก แต่จะเห็นว่าแผนผังของการปรับปรุงของ Yakolev ก็จะทำให้มันเป็นเครื่องบินขับไล่เบาได้สามารถขึ้นลงบนเรือบรรทุกบ,เบาได้ ดังนั้นความหวังที่ว่าจักรีจะมีเครื่องบินขับไล่แบบ STOL ประจำเรือก็มิได้หายไปเลยซะเมื่อไหร่ครับ
ส่วนพี่น้องคนละแม่ของมันคือ M-346 นั้น ก็ต้องทำการแข่งขันในโครงการทดแทนเครื่องฝึกของทั้ง ทอ.และทร.อเมริกา จึงต้องมีรุ่นใช้งานบนเรือบรรทุกบ.ด้วย ก็ในเมื่อ Yak-130 เป็นเครื่อง STOL แท้ๆมาตั้งแต่แรกของการออกแบบ ดังนั้น M-346 ก็ต้องเป็น STOL ด้วยเช่นกัน และในเมื่อทาง yakolev มีแผนพัฒนาแตกรุ่นต่างๆออกมา แล้วทาง Aermacchi จะไม่ออกรุ่นต่างๆออกมาตอบสนองเพื่อแข่งขันกับ Yak-130 เลยหรือ ดังนั้นใครว่า M-346 จะลงบนเรือบรรทุกบ. ไม่ได้นั้น ต้องมาลุ้นกันว่ามีรุ่น M-346N หรือเปล่า แต่ Yak-133 N มีแน่ๆครับ
http://www.deagel.com/Trainers-and-Light-Attack-Aircraft/Yak-130_a000328001.aspx
http://www.yak.ru/ENG/PROD/new_130m.php
ในเมื่อ Yak-133N ก็อยู่ในผังงานที่จะสร้างออกมาเพื่อทำการตลาดอยู่แล้ว ทร.ต้องการเครื่องโจมตีสองเครื่องยนต์เพื่อทดแทน A-7 และเครื่องที่ทดแทน Harrier ทอ. เองก็ต้องการเครื่องที่จะมาทดแทนทั้ง L-39 และ alpha jet ดังนั้นผมก็เลยเสนอว่าทร.และทอ.มาจอยกันเพื่อหาทางเปิดสายการผลิตหรือประกอบเครื่องบินขับไล่โจมตีและฝึกในโครงการเดียวกันไปเลย เพราะต้องการเครื่องไม่น้อยกว่า 60-80 เครื่อง และเป็นการลดแบบเครื่องบินรบลงด้วยครับ
ขอฝาก yak-130 family ให้ทร.และทอ.ไว้พิจารณาด้วยนะครับ
Sea Control Ship
In the early 1970s, the Chief of Naval Operations (CNO), Admiral Elmo Zumwalt, proposed a design and procurement concept called "High-Low." He recommended that the Navy build new ships that would be moderately capable, less costly, and built in greater numbers than the existing highly capable but costly vessels. The new low-technology ships would complement, not replace, the existing high-technology ships. They would operate in lower threat areas, freeing high-technology ships to concentrate in the higher threat areas.
The SCS would protect Underway Replenishment Groups (URGs), Amphibious Groups, merchant convoys, and Task Groups that are without carrier suppport, in areas with a low threat. The "Low-end" aircraft carrier, called the Sea Control Ship (SCS), was a small, austere carrier designed to protect our sea lanes or sea lines of communication (SLOCs).
ADM Zumwalt later wrote in 1976: "Her price was to be 100 million 1973 dollars, about one-eighth the cost of a nuclear carrier. Her principal peacetime purpose was to show the flag in dangerous waters, especially the Mediterranean and the Western Pacific ... so that the big carriers ... could withdraw ... and deploy out of reach of an enemy first strike, thus putting themselves in a favorable position to respond to such a strike--and therefore to deter it. ... In a wartime situation the positions ... would be reversed: the big, powerful ones would fight their way into the most dangerous waters, destroying opposition beyond cruise missile range with their planes, and the sea control ships would serve in mid-ocean."
Sea Control Ship ก็คือ Small Carrier
จาก SCS จึงมาเป็น Chakrinaruebet
สิ่งที่ Chakrinaruebet น่าจะหายไปจาก Principe de Asturias
เสริมท่าน neosiamese2
Sea Gripen มีน้ำหนัก Landing ใกล้เคียงกับการ Take Off ของ Harrier
รูปของ Saab มีนัยยะยังไงไม่รุ๊ 5 5 5 5 5
ซึ่งรุปลักษณืของ Gripen ก้ดูใกล้เคียงกับแบบ เครื่องบินของ
General Dynamic แบบ GD Model 200
ซึ่งเคยเป็นแบบเครื่องบิน แบบหนึ่ง ในการวิจัยออกแบบ V/STOL ของ ทร.สหรัฐ สำหรับเรือ Sea Control Ship แต่ด้วยเศรษฐกิจของสหรัฐ ก็ต้องถูกยกเลิก อาจจะยกเลิกพร้อม ๆ กับการยกเลิกโครงการ SCS.....
และยอมรับในเทคโนโลยี่ของ Harriier นำเข้าประจำการแทน
โดยโมเดลดังกล่าว จะให้รหัส FVX คงเน้นเป็น Fighter มากกว่าเป็น Attack แบบ Harrier (AV)
แบบจำลอง Convair model 200 ซึ่งเป็นแบบเดียวกับของ General Dynamic
อ๊ะป๋าจูล เครื่องของ GD รุ่นนี้เคยอ่านเจอในหนังสือสงครามด้วยจำได้ๆๆ ผมว่าเท่ดี แต่เสียดายไม่ได้เกิด เพราะตอนนั้นอังกฤษก็ประสบความสำเร็จด้วยเครื่องแฮริเออร์และยังมี A-4 ค้ำคออีก เลยไม่ได้เกิด น้ำหนักตัวเปล่าก็ราวๆ 8 ตันนี่ครับถ้าจำไม่ผิด
รูปที่ป๋านำมาลงนั้นน่าสนใจมากๆ ค่าที่ทาง SAAB คาดหวังในการพัฒนานี่ก็น่าสนใจมาก น้ำหนักในการร่อนลงไม่เกิน 12 ตัน โดยเฉพาะค่า recovery load นั้นได้ถึง 3500 กิโลกรัม แสดงว่าถ้าใช้ในภาระกิจป้องกันภัยให้กองเรือแล้ว เมื่อเสร็จภาระกิจย่อมจะสามารถนำลูกอาวุธกลับมาได้ครบไม่ต้องไปปล่อยทิ้งน้ำเลย แต่ตอนไปทำภาระกิจโจมตีที่ต้องแบกไปหนักๆ ถ้าภาระกิจยกเลิกก็ต้องทิ้งระเบิดและอาวุธลงน้ำไปหลายรายการเลย แหมเอารูปเรือเราไปโปรโมตหาลูกค้าด้วย
ทร.ที่ยังมีเรือบรรทุกบ.เบาที่ยังเป็นปัญหากับ F-35 ก็มีเรากับอิตาลี เท่านั้นสินะครับ
เอาเป็นว่าดีลของป๋านี่เครื่อง STOL ที่เป็นไปได้มี 2-3 แบบแล้วล่ะ
1. sea gripen ถ้าได้เกิด หรือ เราร่วมพัฒนาด้วย จะมีประสิทธิภาพสูงสุด
2. Yak-133 N งานนี้ต้องรอทางรัสเซียเขาหน่อยแล้ว แต่มาแน่ๆ
3. M-346 N ยังไม่รู้ว่าทาง Aermacchi จะเอายังไง เพราะถ้ารัสเซียบุกตลาด ทางนี้ก็น่าจะต้องช่วงชิงแน่ๆ เพราะยังไงก็ต้องไปแข่งกับ Hawk และ T-50
4. Tejas ของอินเดีย น้ำหนักราวๆ 6 ตัน และสามารถขึ้นลงโดยใช้ระยะทางสั้นแบบ STOL และถูกออกแบบให้ขึ้นลงจากเรือแบบ Light STOBAR ได้ เช่นกัน เจ้าTEJAS นี่สเปกใช้ได้เลยนะป๋า ใช้เรด้าร์ AESA ด้วย
ส่วน T-50 คงยากส์ที่จะสามารถออกแบบให้เป็นเครื่อง STOL ได้ เพราะใช้แผนแบบ F-16 แต่สามารถลงบนเรืออเมริกันและเรือบรรทุกบ.เกาหลีที่อยู่ระหว่างการออกแบบได้แน่นอน
ดูกระทู้นี้ของป๋าแล้ว ผมคิดว่าทร.ไทยน่าจะเหมาะกับเรือบรรทุกบ.เบาขนาดไม่เกิน 20,000 ตันมากๆ ค่าใช้จ่ายก็ไม่สูงจนเกินไป ราคาเรือก็ไม่แพง เครื่องบินขับไล่เบาขนาดกริปเป็นก็น่าจะเหมาะกับเรือขนาดนี้ด้วย มีเครื่องบินตัวเลือกที่อยู่ในแผนการผลิตแน่ๆอยู่ 2 แบบ คือ Yak-133และ TEJAS น่าจะจัดหาสัก 2 ลำ อยู่คนละฝั่งทะเล ทีเหลือก็แล้วแต่ทร.ไทยแล้วล่ะครับ
อ๊ะคลิกเลือกรูปผิด ดันไปเอาภาพ out line การติดอาวุธของเตจ๊าสมา เอาใหม่ๆๆ จริงๆไอ้ Tejas นี่ก็น่าสนใจนะครับ แต่ผมไม่ค่อยจะรู้เรื่องอาวุธของอินเดียสักเท่าไร เพราะไม่ค่อยปลื้ม แต่เห็นว่าทางอินเดียทุ่มเทโครงการนี้กว่า 20 ปีทีเดียว เรียกว่าข้าต้องทำให้ได้ว่างั้น เริ่มจากแทบจะศูนย์เลย แต่ถ้าเราร่วมมือกับ SAAB หรือ Yakolev เราก็ไม่ต้องเริ่มจากศูนย์และเครื่องก็ได้รับการการันตีว่าดีจริงๆ
อ่านแล้ว คิดว่าแนวคิดเกี่ยวกับ 911 ใช้ได้เลยนะครับ
นอกจากนั้น คงต้องลองศึกษา และวางแผน งบประมาณสำรองไว้ สำหรับ Principe de Asturias ของ ทร.สเปน ไว้ด้วยครับ....
หลังจาก ทร.สเปน ประจำการ Juan Carlos ครบจำนวน 2 ลำ แล้ว....ผมว่า Principe de Asturias น่าจะมีการจำหน่ายออก....คงไม่น่าจะปลดระวางไปเฉย ๆ
เผื่อถ้า ทร. สนใจ จะไปขอ พี่สาว มาอยู่กับ น้องสาว...จะได้ไม่ฉุกละหุก 5 5 5 5 5 5
Juan Carlos I (L61) is a multi-purpose warship in the Spanish Navy (Armada Española). Similar in concept to the American Wasp class LHDs, it has the addition of a ski jump for STOVL operations. The ship will be equipped with fighter jets of the AV-8B Harrier II type and will primarily be used as an aircraft carrier. The vessel is named in honour of Juan Carlos I, the current King of Spain.[5]
The new vessel is to play an important role in the fleet, as a platform that not only replaces the Newport-class LSTs Hernán Cortés and Pizarro for supporting the mobility of the Marines, but that can also act as a platform for carrier-based aviation, and the strategic transport of ground forces as required, replacing the current aircraft carrier Príncipe de Asturias (R-11).
ทร.สเปน สร้างเรือรบประจำการ โดยมีพื้นฐานแบบเรือมาจาก สหรัฐ ทั้งนี้น
เรือบรรทุกเครื่องบิน มาจาก Sea Control Ship
เรือฟริเกตสมรรถนะสูง Alvaro de bazan พื้นฐานมาจาก FFG-7
เรือ LHD พื้นฐานมาจาก Wasp class
เรือฟริเกต Baleares เป็นเรือชั้น Knox
ซึ่งถ้า Saab สามารถ ตอบโจทก์ของ 911 ได้...และสามารถใช้บน 911 ได้....
R11 ของ ทร.สเปน ถ้ามีการจำหน่ายออกในอนาคต...คงน่าจะเป็นที่ต้องการของประเทศที่ต้องการมีเรือบรรทุกเครื่องบิน...
โดยมี Sea Gripen เป็น อากาศยานประจำเรือ....( Saab ก็จะขายได้อีก )
1 ตัวอย่างของการ ดัดแปลง ปรับปรุง จาก
V/STOL Aircraft Carrier
เป็น
STOBAR Aircraft Carrier
อากาศยาน Mig-29K ประจำเรือ อากาศยานแบบปกติที่ถูกดัดแปลงเพื่อใช้สำหรับ เรือบรรทุกเครื่องบิน เช่นเดียวกับ Sea Gripen ที่ Saab มีแนวคิดเช่นเดียวกัน
คำถาม...?
สร้างเรือบรรทุกเครื่องบินใหม่ ถูกกว่า รึเปล่า ?
กองทัพเรือ อินเดีย ต้องการอะไร ?
หรือ ต้องการเทคโนโลยี่ และความรู้ การต่อเรือบรรทุกเครื่องบิน ?
หรือ มันได้ทั้ง 2 อย่าง คือ ถูกกว่าและได้เทคโนโลยี่และความรู้ด้วย...
แล้ว กองทัพเรือไทย มี เรือบรรทุกเครื่องบินอยู่แล้ว...แล้วควรจะจำกัด เพียง บรรทุกเฮลิคอปเตอร์ มันคุ้มค่า ดีแล้วหรือเปล่า ?
หรือ สั่งซื้อต่อใหม่ดีกว่า ถ้าสมมติ มีเงินจากการบังเอิญเจอบ่อน้ำมันในภาคอีสาน....
ถ้ามีเงินหรือตัดปัญหาเรื่องเงินออกไป ผมอยากให้ปรับปรุง 911 ให้เต็มประสิทธิภาพ และต่อใหม่อีก 1ลำครับ ป๋า
ต่อใหม่ลำนี้ไม๊ ท่าน nok
22,000 ตันเอง...
น่าสนครับป๋า แต่ของแบบ Full Option มาเลย พร้อมเรือฟริเกตที่ทำการรบได้ 3มิต 4 ลำ U-206 อีก 4ลำ งบไปต้องไปพูดถึง ครับ อิอิ
งั้นเอาแบบว่า เจ๊911 ปรับปรุงใหม่ให้น้อง เอฟ35 หยกๆ มาอยู่สัก 6 นางดีมั้ยครับป๋าจู ที่เหลือต่อใหม่ให้ อีตาnok อีกสักลำ ลำนี้เอา น้องแจ๊ส ลงให้อีตาnok สัก 8 ลำดีมั้ยครับป๋า
ท่านเด็กทะเล...ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในคณะกรรมาธิการ พิจารณาของ กระทรวงกลาโหม...
ผมพอจะที่ช่วยแปรญัตติ งบประมาณ สำหรับ กองทัพเรือ มาได้ดังนี้
1. เรือบรรทุกเครื่องบินแบบ STOBAR สำหรับอากาศยาน Sea Gripen โดยการย่อแบบของเรือชั้น อลิสซาเบตร์ ของ ราชนาวีอังกฤษ 50% และรองรับอากาศยาน โจมตีเบา Sea Super Tucano และ ฮ.ทุกแบบของ กองทัพเรือไทย ขนาด 22,000 ตัน ความยาวเรือประมาณ 200 เมตร ได้จำนวน 1 ลำ วงเงินงบประมาณไม่รวมอากาศยานประจำเรือ ตันละ 2 ล้านบาท ก็ประมาณ 44,000 ล้านบาท
2. เรือฟริเกต สมรรถนะสูง แบบ F-125 ของ ทร.เยอรม้น จำนวน 2 ลำ ตามแผนเดิมของ กองทัพเรือ ขนาดประมาณ 4,500 ตัน ตันละ 2 ล้านบาท รวมทั้งหมด 9,000 ตัน ก็ประมาณ 18,000 ล้านบาท
3. เรือดำน้ำ ประมาณ Type-214 ของ ทร.เยอรมัน จำนวน 2 ลำ ตามแผนเดิมของ กองทัพเรือ รวมงบประมาณ 40,000 ล้านบาท
รวมงบประมาณ ทั้งหมด 112,000 ล้านบาท โดยแบ่งแผนงบประมาณใช้จ่าย ถัวเฉลี่ย 10 ปี หรือประมาณปีละ 11,200 ล้านบาท ต่อปี
ทั้งนี้ โดยท่าน nok ในส่วนของผู้มีอำนาจในกระทรวงกลาโหม ก็ต้องผลักดันงบประมาณ และต้องทำการ บูรณาการ ระหว่าง กองทัพอากาศ และ กองทัพเรือ โดยให้ฝูงบินประจำบน เรือบรรทุกเครื่องบินข้างต้น อยู่ในการควบคุม, การฝึก และการจัดหา ภายใต้งบประมาณของ กองทัพอากาศ โดยบูรณาการให้ กองทัพอากาศ เป็นศูนย์ฝึก นักบิน สำหรับ 3 เหล่าทัพ คือ กองทัพอากาศ (หลัก) กองทัพเรือ (รอง1) กองทัพบก (รอง2) เพื่อลดงบประมาณ โดยจะทำให้ กองทัพอากาศ จะมี บ.รบขับไล่แบบ Gripen ทั้งแบบ C/D, NG และ Sea Gripen รวมจำนวนไม่ต่ำกว่า 60 ลำ จะทำให้การถัวเฉลี่ยงบประมาณ ทั้ง 3 เหล่าทัพ อยู่ในอัตราใกล้เคียงกัน....
แต่ท่าน เด็กทะเล ในส่วนของ องค์กรอิสระ ในการให้ความเห็นต่อการจัดหาอาวุธของ กระทรวงกลาโหม ให้การสนับสนุน ภายใต้การพิจารณากรอบความสมดุล ศักย์ทางการทหารแห่งภูมิภาค และ การคานอำนาจพิจารณาจัดหาของทั้ง 3 เหล่าทัพ ให้การสนับสนุน ตามที่เห็นสมควร....
เพื่อส่งให้ คณะรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติต่อไป
DATE:24/05/11
SOURCE:Flight International
Saab to complete Sea Gripen design work in UK
By Craig Hoyle
...
Saab has described its Sea Gripen as an "ideal replacement for existing fleets and new [aircraft] carrier nations", and named Brazil and India as possible future customers. The concept was first explored around five years ago, and sources have said that the aircraft would be suitable for use on vessels with a displacement as low as 25,000t. Deliveries could be made from 2018.
...
http://www.flightglobal.com/articles/2011/05/24/357137/saab-to-complete-sea-gripen-design-work-in-uk.html
SAAB ตั้งเป้าหมายไปยังประเทศที่มีเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเบาขึ้นลงตาบแบบอยู่ แล้ว(หรือกำลังจะมี)อย่าง บราซิล หรือ อินเดีย ภายในปี 2018 เป็นหลัก กล่าวตามข้างต้นคือเป็นไปไม่ได้ที่ Sea Gripen จะบินขึ้นลงจากเรือที่มีระวางขับน้ำต่ำกว่า 25,000ตัน
อีกประการคือประเด็นสำคัญคือการจะจัดหาระบบอาวุธยุทโธปกรณ์หรือแม้แต่การปรับปรุงระบบที่มีอยู่นั้นจำเป็นจะต้องพิจารณาจากพื้นฐานความต้องการของภารกิจของกองทัพหลัก
ซึ่งถ้าดูจากภารกิจของ ร.ล.จักรีนฤเบศรแล้ว กองเรือได้กำหนดภารกิจปัจจุบันของเรือหลังการปลด AV-8S ให้เป็น "เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์" ซึ่งอากาศที่จะจัดหามาเพิ่มคือ MH-60S และปรับปรุงขีดความสามารถของ SH-60B และให้หน้าที่การครองอากาศสนับสนุนกองเรือเป็นของกองทัพอากาศผ่านการพัฒนาระบบ Network Centric ร่วมระหว่างเหล่า (Gripen+ERIEYE, ร.ล.จักรีนฤเบศร และ เรือชุด ร.ล.นรศวร)
คำถามคือในเมื่อกองทัพเรือมีแนวทางการพัฒนาที่เป็นไปได้และเหมาะสมในแง่งบประมาณที่ได้รับสอดคล้องกับภัยคุกคามและภารกิจแล้ว คำถามคือว่าจะเสียเงินจำนวนมหาศาลในการดัดแปลงเรือซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ รวมถึงจัดหาอากาศยานขับไล่/โจมตีราคาแพงที่อาจจะไม่มีความจำเป็นนักทำไมครับ?
"คำถามคือในเมื่อกองทัพเรือมีแนวทางการพัฒนาที่เป็นไปได้และเหมาะสมในแง่งบประมาณที่ได้รับสอดคล้องกับภัยคุกคามและภารกิจแล้ว คำถามคือว่าจะเสียเงินจำนวนมหาศาลในการดัดแปลงเรือซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ รวมถึงจัดหาอากาศยานขับไล่/โจมตีราคาแพงที่อาจจะไม่มีความจำเป็นนักทำไมครับ?"
ตอบคำถามนะครับ
คำถามคือในเมื่อกองทัพเรือมีแนวทางการพัฒนาที่เป็นไปได้และเหมาะสมในแง่งบประมาณที่ได้รับ
มันถูกบังคับให้ต้องทำครับ...ไม่ใช่ว่า ทร. ไม่ได้ ไม่มีความต้องการ อากาศยาน บน 911....ทร.ของบประมาณปรับปรุง 911 และรอการสนับสนุนจาก สหรัฐ แต่ก็ติดขัดด้วยเหตุการณ์ทางการเมืองครับ...
ส่วน MH-60S เป็นการจัดหา ฮ. เพื่อ ภาระกิจ ลำเลียงและกู้ภัยครับ...ซึ่งแม้ ทร.จะมี AV-8S ประจำการอยู่ ทร.ก็ต้องจัดหา MH-60S มาเพิ่มเติมอยู่แล้วครับ...เพราะ S-70B คงจะเน้นภาระกิจทางยุทธวิธีครับ...และไม่ได้ ฮ. ที่เหมาะสมสำหรับภาระกิจ ลำเลียง แต่อย่างใดครับ...การจัดหาครั้งล่าสุดนี้ ผมคิดว่า คงไม่ได้เป็นแผนปรับเป็น เรือบรรทุก ฮ. โดยความตั้งใจสักเท่าไหร่หรอกครับ....
คำถามคือว่าจะเสียเงินจำนวนมหาศาลในการดัดแปลงเรือซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ
มันเป็นแนวคิด ที่ ทร.ทุกประเทศ จะต้องศึกษาก่อนครับ...ว่า ทำได้ หรือ ไม่ได้...แม้แต่ ทร.สหรัฐ ก็ล้วนมีการศึกษาดัดแปลงเรือรบที่ประเจำการอยู่ในปัจจุบัน เพื่อรองรับภัยคุกคาม สว่นจะแพงขนาดไหน...ยังไม่มีใครคำนวณเลยครับ...จะไปฟันธงด้วยความคิด เอาเอง...คงไม่น่าจะใช่ครับ...
ทร.สหรัฐ ยังเคยทำโครงการ ดัดแปลงเรือชั้น Spruance ทำเป็นเรือบรรทุก STOL เลยครับ...มันต้องมีการศึกษา ก่อน พันธง ครับ...
รวมถึงจัดหาอากาศยานขับไล่/โจมตีราคาแพงที่อาจจะไม่มีความจำเป็นนักทำไมครับ?
ทร.มีแผนจัดหา บ.ขับไล่ไอพ่น จำนวน 8 ลำ อยู่แล้วครับ ซึ่งคงมีความจำเป็นอยู่แล้วครับ...และราคาเครื่องบินไอพ่น ราคาแพงกว่า เฮลิคอปเตอร์โจมตีทางทะเล หรือ AH-1W หรือ Z เพียงเล็กน้อยครับ...และในอนาคต การปฏิบัติการด้วยเรือบรรทุกเครื่องบิน ในภูมิภาคนี้ จะปรากฎให้เห็น และ ภับคุกคามจากเรือบรรทุกเครื่องบิน จะเริ่มมีบทบาท มากขึ้นในภูมิภาคนี้ ต่อจาก เรือดำน้ำ ครับ....ที่ตอนนี้ เรือดำน้ำกลายเป็นภัยคุกคามที่มากขึ้นในภูมิภาคนี้แล้วครับ...
คงต้องมอง การพัฒนากองทัพ ไประยะยาวมากขึ้นครับ....
ขอแก้ไขครับ...
ทร.มีความต้องการปรับปรุง AV-8S และของบประมาณไปแล้ว รวมถึงรออะไหล่จาก สหรัฐ แต่ติดขัดด้วยเหตุการณ์ทางเมือง เลยทำให้ต้องปลดประจำการไป...
และ เพิ่มเติมนะครับ....เรือรบผิวน้ำในปัจจุบัน มีแต่ 911 ดท่านั้น ที่รองรับการปฏิบัติด้วย ฮ.แบบ MH-60S....การจัดหาของ ทร. อาจจะทำให้หลงภาพไปก็ได้ครับ...หรือเข้าใจไปว่า ทร.ปรับสภาพ 911 เป็น ฮ.บรรทุกเฮลิคอปเตอร์...และโดยสภาพ S-70B ก็ไม่ได้เหมาะสมเป็น ฮ.ลำเลียงและกู้ภัย...ผมเลยมองว่า ยังไง ๆ ทร.ก็ต้องจัดหา ฮ.แบบ MH-60S มาประจำเรืออยู่ดีครับ...แม้ บน 911 จะมี AV-8S และ S-70B อยู่บนเรือก็ตาม...
DDV-X Air-capable Spruance
Notes: This interesting proposal was developed privately by CDR Ronald J. Ghiradella, USN in 1977 and published the July 1978 edition of US Naval Institute Proceedings magazine. CDR Ghiradella’s design would have used the basic Spruance hull and propulsion layout, with an offset island and angled flight deck atop a raised hangar deck. A single 62’x26’ elevator was part of the design. The hangar deck was actually a “deck and a half” with the first level extending under the whole flight deck and a second, rump hangar partially beneath it at the elevator’s foot. Structural modifications to the hull would have included a sponson to balance the island and interior trunking to route the gas turbine exhausts and uptakes around the hangar. The angled flight deck would have allowed Harriers to make rolling takeoffs to increase their payload, and would have allowed USMC STOL types such as the OV-10 Bronco to be operated. Compared to the SCS, the vessel would have been well equipped with radars and sonar, and possess a decent armament including the GAU-8 gun which was at the time under development as a cheaper CIWS than Phalanx. An at-sea replenishment crane was to be carried forward of the bridge. Whereas the other sea control concepts were intended to be the cheapest possible route to naval aviation, the DDV-X would have been a de facto warship in her own right (similar in concept to the later Soviet Kiev class but to a much lesser scale). The ship would have also been commensurately more expensive than a VSS; estimated at twice the price of a regular Spruance.
Despite being commented on positively by naval observers, CDR Ghiradella’s proposal was never an official USN project and did not lead anywhere. Displacement (est): 5995t standard, 8125t full Dimensions: 606’x66’ (87’ overhang)x26’4” Machinery: Gas turbine: 4 General Electric LM-2500 gas turbines, 2 reduction boxes, 2 shafts w/CP 5-bladed props Max speed: 32kts Range (est): 6000NM @ 20kts Complement: 296 (including air wing) AIR WING 8 helicopters or AV-8A Harrier planes WEAPONS x8 RGM-84 Harpoon, x1 8-cell BPDMS for RIM-7 Sea Sparrow, x1 Mk45 5” gun, x4 GAU-8 30mm guns, x6 (2 triple) Mk32 tubes for Mk46 ASW torpedoes SENSORS Sonar: AN/SQS-53 Radar: AN/SPS-48C, AN/SPS-55, AN/SPG-60, AN/SPQ-9, Mk91 EW: AN/WLR-1 Countermeasures: Mk36 SRBOC launchers, AN/SLQ-25 Nixie towed decoy Misc: AN/URN-20 TACAN There were two “other” air-capable Spruance proposals: One was the “Santa Fe Project” proposed by Grumman (which led nowhere), and the other was the DDH programme. At the insistence of Congress, the US Navy was to complete USS Hayler as DDH-937 with a typical Spruance class hull but with the entire area aft of the second stack converted to a helipad similar to the Japanese Shirane class. In the end Congress cancelled the DDH modification while Hayler was under construction and she was completed as DD-937, a standard Spruance-class destroyer.
SH-60B ถูกใช้ในภารกิจหลักตามรหัสที่กำหนดแบบไว้คือการปราบเรือดำน้ำ แต่ที่ผ่านมา SH-60B ก็มักจะถูกใช้ในภารกิจลำเลียงด้วยไม่ว่าจะเป็นการลำเลียงทางยุทธวิธี สนับสนุนหน่วยรบพิเศษ การกู้ภัยทางทะเล หรือ VIP
ดังนั้นการจัดหา MH-60S จะถูกนำมาใช้ในภารกิจการลำเลียงทางยุทธวิธี สนับสนุนหน่วยรบพิเศษ ร่วมถึงการกู้ภัยทางทะเล และ VIP เป็ฯหลักแทนเนื่องจาก ฮ.มีพื้นที่ภายในเหมาะสมกับการบรรทุกบุคคลมากกว่า SH-60B
โดย SH-60B จะถูกนำมาใช้ในภารกิจหลักเดิมคือการปราบเรือดำน้ำเป็นหลีก และให้ภารกิจการลำเลียงเป็นของ MH-60S ซึ่งมีลักษณะเดียวกับที่สหรัฐฯใช้ในปัจจุบัน
แต่ในแง่การติดตั้งอาวุธหนักเพื่อโจมตีสนับสนุนอย่างปืนใหญ่กล จนถึงอาวุธปล่อยนำวิถีนั้นยังไม่ทราบว่าจะมีเพิ่มเติมหรือไม่
การจัดหาอากาศยานอย่าง MH-60S ให้ครบจำนวนตามความต้องการนั้นก็ใช้งบประมาณสูงจำนวนหนึ่ง ซึ่งในส่วนของ กบร.เองนั้นก็ไม่ได้รับการจัดงบประมาณให้มากมายนักถ้าเทียบกับในส่วนกองเรือต่างๆเช่น กฟ.๑ กฟ.๒ กตอ.ซึ่งเป็นกำลังรบหลักของกองทัพเรือ
และจากประสบการณ์การใช้ บ.ปีกตรึง ย.ไอพ่นที่ผ่านมาอย่าง A-7E และ AV-8S ประกอบกับความจำเป็นในภารกิจปัจจุบันและข้อจำกัดด้านงบประมาณ น่าเชื่อว่ากองทัพเรือคงไม่มีแผนจัดหา บ.ขับไล่/โจมตี ในระยะอันใกล้นี้ครับ
ซึ่งกำลังสนับสนุนและครองอากาศต่อกองเรือคงจะเป็นการขอการสนับสนุนจากกองทัพอากาศผ่านระบบ Network Centric นั่นละครับ
แน่นอนว่าถ้าจะจัดหา บ.ขับไล่/โจมตีของกองทัพเรือเองจริง ถ้าดูจากความต้องการในบันทึกโครงการที่ออกมานั้นก็เป็น บ.ปีกตรึงขึ้นลงจากชายฝั่งมากกว่า เพราะไม่กำหนดแบบว่าต้องเป็น บ.ขึ้นลงบนเรือบรรทุกเครื่องบินได้โดยเฉพาะครับ แต่ก็อย่างที่กล่าวในข้างต้นนั่นละครับว่ากองทัพเรือไม่มีจะมีการจัดหา บ.โจมตีด้วยข้อจำกัดต่างๆครับ
อืม แนวทางของ คุณAAG_th1 ก็น่าสนใจครับ เอาไงดีครับ ป๋าจู หากว่าเราลงทุนปรับปรุงเรืออย่างมโหฬาร กับการร่วมทุนวิจัยพัฒนากับ ซ๊าบ ร่วมกับ อีกหลายประเทศ พัฒนา JAS-39X(STOVL) ขึ้นมา โดยที่เราไม่ต้องปรับปรุงเรือใหม่ ซึ่งถ้า เจ้าเครื่องบินรุ่นนี้เกิดขึ้นมา อาจจะเป็ยคู่แข่งที่น่ากลัวสำหรับ F-35B เชียวนา ไม่แน่หลายๆประเทศที่ต้องการเครื่องบินแบบนี้อยู่แต่ทางเลือกที่รอคือ F-35B ที่ยังไม่รู้ว่าราคาถีบตัวสูงขึ้นอีกเท่าไหร่ อาจจะสนใจ JAS-39X ขึ้นมาเป็นตัวเลือก เราก็ได้เครื่องบินที่เหมาะเจาะ ซ๊าบ ก็ได้นวัตกรรมเพิ่มในการหาลูกค้าได้อีก วินๆทั้งคู่ ว่าแต่ แนวทางระบบ JAS-39 แบบ STOVL มันจะเป็นไปในรูปแบบใดได้....?
5 5 5 5 อย่าเพิ่ง ซีเรียส กันคร๊าบบบบบบบ....
ผมถึงให้ความเห็นไว้ตลอดน่ะครับว่า...การจะทำได้ หรือ ไม่ได้ ขนาดไหน นั้น...มันต้องมีการศึกษาน่ะครับ...มันต้องมีสิ่งทางวิทยาศาสตร์ ให้พิสูจน์ได้ในระดับตัดสินใจได้น่ะครับ...
สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินของ อินเดีย นั้น มูลค่า 2.35 พันล้านดอลล่าร์ รวมมูลค่าเครื่องบิน Mig-29K 16 ลำ กับ ฮ.เฮลิท 6 ลำ และระบบอาวุธ มูลค่า 1.0 พันล้านดอลล่าร์อยู่ด้วยครับ...ดังนั้น มูลค่าเรือการอัพเกรด และ refit จะอยู่ 1.35 ล้านดอลล่าร์
คือ อินเดีย ซื้อเรือมือสองที่มีอัพเกรด และ refit มูลค่า 1,350 ล้านดอลล่าร์ ได้เรือระวาง 44,500 ตัน...หรือประมาณ 40,000 ล้านบาท หรือ ตก ตันละ เก้าแสนกว่าบาท..
สำหรับ 911 นั้น ที่ผมได้ให้ความเห็นไว้ครับว่า...เรือเราไม่ต้องซื้อแล้ว มันจะมีเฉพาะต้นทุนการดัดแปลง และ refit เท่านั้นน่ะครับ...ผมถึงว่า ตอนนี้ ไม่มีใครทราบหรอกครับว่า มันจะแพง ขนาดไหนครับ...
ตัวอย่างภาพจากเว๊ปไซด์ ที่เขาจินตนาการเล่น ๆ ของ อาร์เจนติน่า สมมติว่ามีการปรับปรุงเรือ อินวินซิเบิ้ล ของ ราชนาวีอังกฤษ เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่ของ อาร์เจนติน่า ซึ่งก็น่าจะแสดงได้อย่างหนึ่ง มีคนที่คิดว่า มันน่าจะ...น่ะครับ
หรืออย่าง บริษัทฯ ออกแบบ ที่เขาออกแบบแนวคิดการใช้ เรือพาณิชย์ขนส่ง มาทำเรือ LHA และ STOBAR Aircraft Carrier ซึ่งมันจะทำได้ และเพียงพอต่อใช้งานอย่างไร มันก็ต้องมีการศึกษาอีกระดับหนึ่ง...แต่สิ่งนี้ คือ แนวคิด เพื่อตอบสนองความต้องการ ภายใต้งบประมาณที่ควบคุมได้...
โดยในปัจจุบันนี้ การจัดหาระบบอาวุธ นอกจากว่า คำนึงถึง งบประมาณจัดหาแล้ว ยังต้องคำนึง ค่าใช้จ่ายตลอดอายุใช้งานด้วยครับ....
ผมจะลอง่ตัวอย่างว่า การปรับปรุงโครงสร้างของ 911 เพื่อรองรับ Sea Gripen จะมีมูลค่าถูกกว่าการประจำการด้วย F-35B โดยไม่ต้องทำการดัดแปลงอย่างไรน่ะครับ...
ตัวเลขนี้เป็นตัวอย่าง การยกตัวอย่าง...เท่านั้น น่ะครับ..ไม่ใช่ ตัวเลขจริง...
สมมติ
ราคาซื้อ Sea Gripen ราคาลำละ 50 ล้านเหรียญ ค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมงบิน 6,000 เหรียญ อายุใช้งาน 8,000 ชั่วโมงบิน/ลำ
นั้นหมายถึง ตลอดอายุใช้งานของ Sea Gripen จะมีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 48 ล้านเหรียญต่อลำ รวมค่าใช้จ่ายของ Sea Gripen ต่อ 1 ลำ ตั้งแต่วันที่ซื้อ ถึงวันปลดประจำการ จะมีค่าใช้จ่าย รวมทั้งสิ้น 98 ล้านเหรียญ ถ้า ทร. ประจำการ รวม 6 ลำ จะมีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 588 ล้านเหรียญ
สมมติ
ราคาซื้อ F-35B ราคาลำละ 100 ล้านเหรียญ ค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมงบิน 10,000 เหรียญ อายุใช้งาน 8,000 ชั่วโมงบิน/ลำ
นั้นหมายถึง ตลอดอายุใช้งานของ F-35B จะมีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 80 ล้านเหรียญต่อลำ รวมค่าใช้จ่ายของ F-35B ต่อ 1 ลำ ตั้งแต่วันที่ซื้อ ถึงวันปลดประจำการ จะมีค่าใช้จ่าย รวมทั้งสิ้น 180 ล้านเหรียญ ถ้า ทร. ประจำการ รวม 6 ลำ จะมีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 1,080 ล้านเหรียญ
นั่นคือ Sea Gripen จะมีค่าใช้จ่ายประหยัดกว่า 492 ล้านเหรียญ ตอลดอายุการใช้งาน
ซึ่งตัวเลขที่ประหยัด จำนวน 492 ล้านเหรียญ นี่แหล่ะครับว่า ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุง และดัดแปลง ของ 911 นั้น จะมีมูลค่าเท่าไหร่....ซึ่งจะเป็นตัวตัดสินใจว่า ควรจะเลือกแบบใดกับ 911 ครับ...
ภาพตัวอย่างครับ เผื่อ ทร. เอาไว้ฝึก เกี่ยวสลิง...
แต่ก่อนการที่ตัดสินใจเรื่อง ตัวเลข หรือ มูลค่านั้น....มันก็ต้องศึกษาและออกแบบว่า 911 สามารถที่จะดัดแปลงตัวเรือ เพื่อรองรับอากาศยานแบบ STOBAR ได้ในแง่ การวิศวกรรม ที่ได้ทำแบบทดลองแสดงค่าในระดับที่มีข้อมูลในการตัดสินใจ...และก่อนที่จะศึกษาและออก แสดงผลดังกล่าวได้...มันก็ต้องมี ความต้องการของ ทร. ก่อนว่า...มีความต้องการ เรือบรรทุกเครื่องบิน หรือไม่ก่อนน่ะครับ
ตามเทรนที่จะมาในอนาคตอันใกล้ ท่าทางเรือบรรทุกบ. STOBAR นี่จะมาแรงเน๊อะ ชาติภูมิภาคเอเชียใหญ่ๆหรือร่ำรวยต่างก็ลงทุนในเทรนนี้ เรือบรรทุกบ. STOBAR เรือฟรีเกตหรือเรือพิฆาตระบบอำนวยการรบรวมการแบบ Agis APAR หรือแนวเดียวกัน เรือดำน้ำระบบปิด AIP แต่ละประเทศทุ่มเทกำลังเงินหลายแสนล้านบาทในแต่ละโครงการ เพื่อเสริมอำนาจทางทะเล รักษาเขตแดนผลประโยชน์ของตน และประเทศเราก็อยู่ในย่านที่กองเรือประเทศเหล่านี้แล่นเพ่นพ่านไปทั่ว
ในมุมมองแบบผมการมีกำลังรบที่ทรงอำนาจก็เหมือนการมีกิจการค้าขายขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมสูง ส่วนแบ่งทางการตลาดและผลประโยชน์จากกำไรก้เปรียบได้กับเขตแดนของประเทศ หรือเชตอิทธิพลทางเศรษฐกิจของประเทศ การลงทุนในเครื่องจักรใหม่ๆเทคโนโลยีใหม่เพื่อความได้เปรียบทางการค้าก็เหมือนกับการลงทุนในยุทโธปกรณ์และโครงสร้างอุตสาหกรรมทหาร การรบชนะและสามารถช่วงชิงผลประโยชน์มหาศาลมาให้ประชาชนทั้งประเทศได้เสพสุขก็เปรียบกับการต่อสู้ทางการค้าเพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดกันเพื่อสร้างผลประโยชน์ตอบแทนแก่ทั้งผู้ถือหุ้นและพนักงานในบริษัท
การลงทุนใหม่ๆเพื่อตามเทรนสินค้าใหม่ๆเพื่อรัษาไว้ซึ่งกิจการที่เป็นผู้นำตลาดเสมอย่อมมีสิ่งควบคู่กันมา นั่นคือ ความเสี่ยงต่อสิ่งที่เรียกว่าอนาคตที่ไม่แน่นอนสูง เฉกเช่นกันกับการลงทุนจัดหายุทโธปกรณ์ทางทหารหรือสร้างอุตสาหกรรมทหาร เพื่อดำรงไว้ซึ่งความได้เปรียบและรักษาไว้ซึ่งความเป็นชาติชั้นนำ ย่อมมีความเสี่ยงสูงเช่นกัน ตัวอย่าง
ช่วงญี่ปุ่นก่อนกระโดดเข้าสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการถกเถียงกันอย่างหนักดุเดือดในเรื่องการจัดหาเรือรบเพื่อเตรียมการรับมือสงครามที่มีทีท่าว่าจะมาถึงในไม่ช้า มีสองแนว แนวแรกยังคงยึดมั่นในสิ่งเดิมนั่นคือกองเรือประจัญบาน ซึ่งกองเรือประจัญบานของญี่ปุ่นได้ฝากผลงานไว้ตั้งแต่สมัยรบกับทั้งจีนและรัสเซีย
กับอีกแนวทางหนึ่งซึ่งเป็นแนวทางใหม่และกำลังเป็นเทรนที่มาแรง นั่นคือ เรือบรรทุกเครื่องบิน
การลงทุนคราวนั้นนอกจากต้องใช้เงินมหาศาลซึ่งต้องมีความเสี่ยงทางอุตสาหกรรมอย่างมากแล้ว ยังต้องเสี่ยงสูงมากที่ว่าไม่ใครทราบได้ว่ากองเรือบรรทุกบ.จะให้ผลอย่างที่คุยกันบนโต๊ะได้หรือเปล่า ในขณะที่เรือประจัญบานมีผลงานมาแล้วในอดีต จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อกองเรือรบเข้าสู่สมรภูมิเท่านั้น ซึ่งถ้าเลือกกองเรือบรรทุกบ. ก็จะเป็นเสี่ยงอย่างสูงที่ฝากอำนาจการยิงทั้งหมดไว้ที่เรือบรรทุกบ.แทน เพราะถ้าแพ้หมายถึงประเทศสูญสิ้น
แต่ในที่สุดผู้นำทัพเรือญี่ปุ่นก็ตัดสินใจเลือกกองเรือบรรทุกบ. ให้มาเป็นกำลังหลักที่ให้อำนาจการยิงแทนกองเรือประจัญบาน(ซึ่งตอนนั้นก็มีอยู่หลายสิบลำเลยทีเดียว)
ถ้ามองในแง่การค้า กองเรือบรรทุกบ. คือสินค้าใหม่ที่ต้องทดลองตลาดว่าไปได้สวยไหม เพื่อทดแทนสินค้าเก่าที่วางขายอยู่ ไม่มีใครทราบได้ว่ามันจะไปได้สวยหรือไม่ ถ้าพลาดนั่นอาจหมายถึงกิจการต้องล้ม
แต่พวกญี่ปุ่นก็ตัดสินใจได้ถูกต้อง กองเรือบรรทุกบ. แสดงอำนาจการยิงแบบใหม่ที่ไม่มีใครเคยพบเจอ แม้แต่เรือประจันบานอันทรงพลังก็กลายเป็นแค่เป้าซ้อมยืง
เฉกเช่นกันครับ การที่ราจะตามเทรนของการมีเรือบรรทุกบ.แบบ STOBAR ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในชาติเอเชีย มีความจำเป็นที่เราจะต้องเสี่ยง เสี่ยงที่จะจัดหาเรือบรรทุกบ. STOBAR เสี่ยงที่จะดัดแปลงเรือบรรทุกบ.สกีจัมพ์ให้เป็น STOBAR เสี่ยงที่จะต้องเอาเงินนับหมื่อๆล้านไปลงทุนร่วมกับต่างชาติเพื่อจัดหาเครื่องบินรบที่เหมาะสมกับเรือแบบ STOBAR เสี่ยงที่ต้องทุ่มเงินจัดหาเรือป้องกันภัยทางอากาศ เพื่อคุ้มกันมัน
แต่สิ่งที่จ่ายไปนั้นก็จะได้มาซึ่งความชำนาญในการดัดแปลงต่อเติมหรือสร้างเรือบรรทุกบ. STOBAR ได้มาซึ่งอุตสาหกรรมเครื่องบินรบที่เราต้องการเพื่อเสริมอำนาจแก่กองทัพ เพื่อรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของชาติและความเป็นชาติผู้นำในภูมิภาคนี้ต่อไป ถ้าไม่เสี่ยง ก็ต้องก้มหน้ายอมรับความเป็นผู้ตามและปล่อยให้ชาติอื่นที่กล้าเสี่ยงขึ้นเป็นผู้นำและครองไว้ซึ่งอำนาจและผลประโยชน์ที่เหนือเรา
เสี่ยงมากได้มาก เสี่ยงน้อยได้น้อย ไม่สี่ยงเลยไม่ได้อะไรเลย ต้องตัดสินใจเลือกเอาล่ะครับ
ภาพยกตัวอย่างน่ะครับ
ตัวอย่างที่ 1
อาจจะต้องใช้งบประมาณปรับปรุงถึง 7,750 ล้านบาท เพื่อรองรับการใช้งาน Sea Gripen จำนวน 6 ลำ
แต่จะใช้งบประมาณปรับปรุงเพียง 620 ล้านบาท สำหรับการใช้งาน F-35B จำนวน 6 ลำ แต่เมื่อคำนวณถึงค่าใช้จ่ายตลอดอายุใช้งานแล้ว กลับกลายเป็นว่า Sea Gripen ประหยัดงบประมาณตลอดอายุการใช้งานกว่า 8,100 ล้านบาท โดยคุณลักษณะก็ได้ครบตามความต้องการของ ทร. ดังนั้น ซี กรีพเพน จึงควรจะเป็นตัวเลือก
ตัวอย่างที่ 2
แม้ราคา Sea Gripen มีราคาต่ำกว่า F-35B แต่ก็ยังมีมูลค่าต่ำไม่พอ เพราะเมื่อรวมค่าปรับปรุงเรืออีกจำนวน 7,750 ล้านบาท กลับกลายเป็นว่า F-35B ยังมีค่าใช้จ่ายตลอดอายุใช้งาน ถูกกว่า....F-35B จึงเหมาะแก่การเป็นตัวเลือก....
ตัวอย่างการต้องมีการ ศึกษา ทั้งรูปแบบทางวิศวกรรม และ งบประมาณ ที่ออกข้อมูลมาได้ พอที่จะตัดสินใจเลือกแนวทางใด ทางหนึ่ง....หรือ ซื้อเรือใหม่....
สิ่งที่ป๋าจูลอธิบายไปเมื่อกี้นี้เป็นเรื่องของการบริหารความเสี่ยงของโครงการ และความคุ้มค่าที่ความเสี่ยงนั้น ทำไปเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มความเป็นไปได้ของโครงการครับ มีรายละเอียดในขั้นตอนการพิจารณาก่อนลงมือเยอะมากแน่นอนครับ ถึงจะตัดสินใจได้ว่าคุ้มหรือไม่ที่จะเสี่ยง
AAG_th1 เมื่อวันที่ 20/02/2012 18:29:55
ฮ. S-70B ก็เป็นมาตรฐานพื้นฐาน ซึ่งแตกต่างจาก SH-60B ครับ...ทั้งระบบเรดาร์ตรวจจับ และระบบรองรับอาวุธต่าง ๆ....ซึ่งเท่าที่ผมเห็นจะมีแค่ สหรัฐ กับ ญี่ปุ่น ที่จะใช้ SH-60B ครับ...
และ ทร.ก็ให้ รหัสเป็น ฮ.ปด.1 ไม่ใช่ ฮ.ลล. จึงเห็นได้ว่า ที่ผ่านมานั้น ทร. ใช้งานตามสถานการณ์เท่านั้นครับ...ไม่ได้ใช้งานตามความต้องการใช้จริง หรือ แผนการจัดหาจริง ๆ....เพราะ ฮ. ก็มาช่วงวิกฤติเศรษฐกิจพอดี...
ก่อนการจัดหา MH-60S ทร.ได้เคยร้องขอจัดหา UH-60L ก่อนหน้านี้ แต่น่าจะติดเรื่องปี 2549 ก็เงียบหายไป...จนหลังการเลือกตั้งใหม่ และมีการเปิดตลาด MH-60S ทร.จึงได้จัดหาแทน UH-60L และน่าจะเป็นงบประมาณในส่วนเดียวกัน....ซึ่งแสดงว่า ทร. วางแผนความต้องการ ฮ.ลำเลียงและกู้ภัยลักษณะนี้ ตั้งแต่ยังมี AV-8S ประจำการ...ซึ่งขณะนั้น ก็ของบประมาณซ่อมแซม AV-8S เพื่อให้คงประจำการต่อไปอยู่ด้วย...
การดำเนินการในปัจจุบันนี้ของ ทร. ผมมองว่าเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น ครับ...ไม่ได้เป็นแผนที่ ทร.วางไว้ ตามความต้องการจริง...รวมถึง การที่ 911 จะปฏิบัติการร่วมกับ Jas-39 และ Erieye ก็เป็นแผนแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่าที่จะทำได้ในปัจจุบัน เพื่อลดข้อด้อยการป้องกันภัยทางอากาศ ของกองเรือในปัจจุบัน และเสริมให้มันดีกว่าเดิม ซึ่งแต่เดิมก็ใช้ F-5E และกำลังจะปลดประจำการ โดยมี Jas-39 มาแทน ก็น่าจะเป็นการปรับใช้ให้ดีกว่าเดิม...ซึ่งไม่น่าจะใช่ ความหมายแผนพัฒนา ที่ ทร.วางแผนไว้ หรือเป็นความต้องการจริง...ที่ป้องกันภัยคุกคามในอนาคต...
แต่ถ้ารัฐบาลสามารถตอบสนองงบประมาณได้ โดยให้วางแผนพัฒนากองทัพในระยะ 10 ปี เหมือนเดิมที่เคยทำมา นำมาปัดฝุ่นทำกันใหม่
เครื่องบินโจมตีทางทะเล จึงยังคงเป็นที่ต้องการของ กองทัพเรือ เหมือนเดิม...ในความเห็นผมครับ...
ตามแผนพัฒนากองทัพ 10 ปี (2549) ที่เคยทำกันมานั้น ที่ ทร.ระบุความต้องการเครื่องบินโจมตีทางทะเลไว้ เป็นการวางแผนที่ผ่านมาเกือบ 10 ปี ในช่วงนั้นเอง ยังไม่มีสถานการณ์ที่จะเกิดความขัดแย้งในบริเวณหมู่เกาะสแปชรี่ย์ เหมือนในปัจจุบัน ที่เห็นได้ชัดเจนจากการที่ เวียดนาม และ ฟิลิปปินส์ มีการจัดหา และประกาศความต้องการอาวุธที่ทันสมัย เพื่อรองรับความขัดแย้งซึ่งอาจจะเกิดขึ้นกับประเทศจีน....เช่น ฟิลิปปินส์ ร้องขอต่อ สหรัฐ....
ผมกลับมองว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ส่อจะเกิดความขัดแย้ง กลับเป็นสิ่ง กองทัพเรือ ยังต้องจำเป็นมีความต้องการเครื่องบินโจมตีทางทะเล มากกว่าเดิมจากปี 2549 ที่เคยวางแผนความต้องการเสียอีกครับ...
สิ่งที่ ทร. ทำปัจจุบัน ผมมองว่า ทร.แก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ ไม่ใช่ ความต้องการจริงของ ทร. สำหรับอนาคต ครับ....ซึ่งสิ่งที่ได้ ผมก็คิดว่า ทดแทนได้ แต่ไม่น่าจะเรียกว่า ได้เต็มความประสิทธิภาพ หรือ เต็มความต้องการ หรือ เกินความต้องการ ครับ...
ซึ่งการคิดไอเดีย หรือ การเกิดแนวคิดการใช้ 911 กับอากาศยาน...ก็เพื่อศึกษาถึง อนาคต ว่า เมื่อต้องจัดหาเครื่องบินโจมตีทางทะเล เกิดขึ้นแล้ว....911 จะสามารถใช้ประโยชน์ได้หรือไม่....
และในเมื่อปัจจุบัน 911 มีแผนที่สามารถปฏิบัติการร่วมกับ Jas-39 และ Erieye ของ ทอ. ได้...มันก็ย่อมมีประโยชน์เพิ่มกว่าเดิมเป็นหลายเท่า ถ้าเกิดกรณีสมมติว่า มีการจัดหา Sea Gripen ในส่วนของ ทร. เกิดขึ้น...
หรือถ้า ทร. สามารถที่พัฒนา Super Tucano ในกรณีสมมติที่ ทร.มีการจัดหา และใช้ร่วมกับ Jas-39 กับ Erieye ของ ทอ.ได้...และสามารถที่จะพัฒนาไปถึงขั้นอากาศยานทั้ง 2 แบบ ใช้งานบน 911 ได้...ก็น่าจะเป็นความหมายว่า ทั้ง 2 กองทัพ มีระบบอาวุธ ที่จะใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ และสามารถรบร่วมได้ 3 มิติ ที่มีการเสริมและทดแทนกันได้...สามารถที่จะจำกัดสงครามจากการแย่งชิงผลประโยชน์ทางทะลได้ตั้งแต่ ไกลฝั่ง...หรือ เป็นกองเรือคุ้มกันการเดินเรือพาณิชย์ในภาวะสงครามได้ ในฐานะของประเทศที่เป็นกลาง....
ซึ่งทั้งหมดนี้ ก็เป็นอาวุธที่ กองทัพเรือ มีความต้องการตามแผนการจัดหาเดิม เมื่อปี 2549 ตามจำนวนเดิม ทั้งนั้นครับ...เพียงแต่ เราควรจะคิดเพื่อปรับใช้ให้มันหลากหลายหรือเปล่า เท่านั้นล่ะครับ....
ตามแผนพัฒนากองทัพ ในระยะ 10 ปี ของเดิม ที่ได้จัดทำไว้ เมื่อปี 2549 นั้น
จากจำนวน 10 บันทึก ปัจจุบัน กองทัพเรือ เพิ่งทำได้สำเร็จเพียง 2 บันทึก เท่านั้น คือ
1. จัดหาเรือ LPD จำนวน 1 ลำ จาก จำนวนความต้องการ 2 ลำ หรือ 50% ตามแผนพัฒนา
2. จัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง จำนวน 1 ลำ จากจำนวนความต้องการ 4 ลำ หรือ 25% ตามแผนพัฒนา
กับ การจัดหาเรือดำน้ำ ที่รอดูว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ครับ....
ผ่านมาเกือบ 10 ปี กองทัพเรือ สามารถดำเนินการได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น...หรือดูแล้วว่า ถ้า ทร. สามารถดำเนินการได้ครบตามแผนพัฒนาที่เคยทำไว้ อาจจะต้องระยะเวลาอีกกว่า 10 ปี ข้างหน้า...จึงไม่แน่ใจว่า มันจะเพียงพอหรือไม่ กับภาวะความเสี่ยงของสงครามในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า...
ซึ่งน่าจะเป็นการ ตามหลัง (แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า) ภัยคุกคามทางทะเล ที่เปลี่ยนแปลงไป มากกว่า จะเป็นการ ดักหน้า (พัฒนาเตรียมรองรับปัญหา) ภัยคุกคามทางทะเล ที่เปลี่ยนแปลงไป....ซึ่งแตกต่าง จาก อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ สิงคโปร์ ที่เขากำลังพัฒนาไป ดักหน้า ภัยคุกคามมากกว่า...
เท่ากับ ไทย พม่า เวียดนาม กับ ฟิลิปปินส์ กำลังไล่ตามภัยคุกคามที่จะกำลังจะเปลี่ยนแปลงไป...
เมื่อวานพยายามลองทำอย่างป๋าจูลแนะนำในการสร้างภาพประกอบ ยากแฮะ ทำไม่ได้ สงสัยผมคงต้องไปซื้อคู่มือการใช้ word กับ Excel มาฝึกหน่อยแล้ว
จากการลองเอาภาพมาลงบน word และทำการเทียบสเกลของเครื่องบินแบบต่างๆกับจักรีกันแล้วพบว่า
1…..F-35 มีความเป็นไปได้มากที่จะสามารถเอาขึ้นลงโดยลิฟท์ตัวท้ายได้ ถ้าติดขัดก็จะขาดไปไม่มาก สามารถทำการพับจมูกเรโดมออกไปด้านข้างได้ และ พับแพนหางระดับให้หงายขึ้นเพื่อลดความยาวของตัวเครื่องลงได้อีกหน่อยได้ครับ น่าจะเอาขึ้นลงได้โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนในส่วนลิฟท์ท้าย และจากการพยายามจัดรูปที่ลดเทียบสเกลดู จะได้ว่าสามารถจอดเก็บ F-35 ได้ประมาณ 7 เครื่อง(เบียดแน่น) แต่เนื่องจากน้ำหนักของเครื่อง โรงเก็บใต้ดาดฟ้าน่าจะสามารถรองรับได้แค่ 6 เครื่องเท่านั้น ส่วนดาดฟ้าลานบินผมก็พยายามเอาภาพ F-35 ที่ลดขนาดเทียบสเกลแล้วมาลองวางดุ จอดได้ 6 เครื่อง และสามารถวางฮ. แบบต่างๆได้ประมาณ 10 เครื่อง
ดังนั้นถ้าทร. ยังคงต้องการให้จักรีเป็นเรือบรรทุกบ. โดยใช้ F-35 ประจำเรือ ก็มีความเป็นไปได้ โดยจะมี F-35 ประจำเรือ 6 เครื่องและเฮลิคอปเตอร์แบบต่างๆ ประมาณ 10 เครื่อง โดยจอดทั้งในโรงเก็บและดาดฟ้าลานบิน งานนี้อาจจะไม่ต้องปรับปรุง 911 ของเราเลยก็ได้
ค่าใช้จ่ายที่จะให้กลับมาเป็นเรือบรรทุกบ. เป็นค่า F-35 จำนวน 6 ตัว ตัวละ 120-130 ล้านเหรียญ ก็ประมาณ 22,000-24,000 ล้านบาท เครื่องบินบ้าอะไรแพงโคตรๆเลยเฟ้ย ต่อเรือ SAC-220 ได้เลย แพงจริงๆ แต่ก็เป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จักรีจะสามารถนำติดตัวไปด้วยได้
2…..Sea gripen จากข้อมูลของป๋าจูลกับท่าน AAGth1 ยังขัดแย้งกันอยู่ ฝ่ายหนึ่งบอกว่าทาง SAAB ต้องการทำให้มันขึ้นลงจากเรือ STOBAR ขนาดต่ำกว่า 25,000 ตันได้ แต่ข้อมูลอีกชุดกลับประเมินว่ายากที่จะทำได้ คงต้องรอจนปี 2018 ถึงจะรู้ว่าได้หรือไม่ได้ แต่เครื่องรุ่นนี้เหมาะกับเรือบรรทุกบ. ขนาด 20,000-35,000 ตันหรือเรือขนาด SAC-200 และ SAC-220 ซึ่งเป็นเรือบรรทุกบ.ที่ประเทศอย่างเราพอจะจัดหามาใช้งานได้โดยไม่เดือดร้อนกระเป๋ามากมายอะไร น่าจะพอๆกับรถไฟฟ้าบางสายน่ะ(ราคารวมเครื่องบินประจำเรือ)
ถ้า Sea gripen สามารถขึ้นลงบนจักรีได้จริง ก็น่าจะประจำการบนเรือได้ประมาณ 10 ตัวเหมือน Harrier เพราะมีขนาดใกล้เคียงกันมาก และประจำการด้วยฮ.แบบต่างๆได้อีก 8-10 เครื่อง รวม 18-20 เครื่อง จักรีจะมีอำนาจการยิงเพิ่มพูนมหาศาลเลยครับ สูงกว่าการที่จะเอามันไปเป็นเรือบรรทุกฮ. เป็นเท่าๆตัวเลย
ราคาค่าใช้จ่าย …………………. Sea gripen ผมเอาราคาของ Jas-39 C/D มาเป็นตัวยืนพื้นราคาที่ต่ำที่สุด น่าจะราวๆ 40 ล้านเหรียญต่อเครือง(ถึงเวลาจริงในปี 2018อาจจะแพงกว่านี้มาก) หรือประมาณ 1200 ล้านบาทต่อเครื่อง 10 เครื่องก็ไม่ต่ำกว่า 12,000 ล้านบาท และต้องรวมค่าดัดแปลงเรือซึ่งผมว่าแค่ทำการขยายดาดฟ้าเฉียงเพื่อรองรับเครื่องลงจอดและระบบลวดหน่วงความเร็ว มันไม่น่าจะแพงมหาศาลเป็นหมื่นล้านเหมือนบางท่านว่า เพราะเรือลำนี้ต่อมาแค่ 8,000 กว่าล้านเท่านั้น อย่างเก่งก้ 2-3 พันล้านมากกว่า ดังนั้นราคารวมน่าจะอยู่ที่ขั้นต่ำสุด 15,000 ล้านบาท แต่ถ้าราคา sea gripen ไม่น้อยกว่าเครื่องละ 60 ล้านเหรียญ ค่าใช้จ่ายจะกระโดดไปใกล้เคียง 24,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่ใกล้เคียงกับกรณีที่เราเลือก F-35 จำนวน 6 เครื่องมาปะจำเรือ แต่ดีลนี้เราจะได้ sea gripen 10 ตัว
3……Yak-133 IB รุ่นใช้งานบนเรือบรรทุกบ.
จากการพยายามเอาภาพ yak-130 มาเทียบในการจัดวาง จักรีสามารถจัดเก็บ yak-130 ได้ 12 เครื่องในโรงเก็บใต้ดาดฟ้าแบบสบายๆ และสามารถจอดบนลานจอดข้างบนได้ 10-12 ตัว ดังนั้นถ้าดีลนี้จักรีใช้ Yak-133 IB จริง จะสามารถนำ Yak-133 IB ไปได้ 12-14 ตัว และมีฮ.ประจำเรืออีกประมาณ 10 เครื่อง
ราคาค่าใช้จ่าย Yak-130 ราคาที่รัสเซียจัดหาและซีเรียจัดหา ราคาตกเครื่องละไม่เกิน 18 ล้านเหรียญ แต่ถ้าเป็นรุ่น Yak-133 IB ราคาน่าจะอยู่ที่ราวๆ 25 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 750 ล้านบาทต่อเครื่อง(ราคาพอๆกับเฮลิคอปเตอร์) 12-14 เครื่องก็จะรวมเป็นเงินประมาณ 9,000 – 10,400 ล้านบาท รวมราคาค่าปรับปรุงจักรีให้เป็น STOBAR สัก 3,000 ล้าน ราคารวมจะได้ประมาณ 12,000-13,400 ล้านบาท ราคาแค่ครึ่งเดียวของ 2 โครงการข้างบน โดยประสิทธิภาพน่าจะใกล้เคียง Harrier 2 plus เพราะสามารถรบแบบ BVR ได้ แต่ต้องรอจนกว่าทาง Yakolev พัฒนาแล้วเสร็จ เพราะเครื่องเพิ่งทำตลาดเครื่องฝึก แต่ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า อนาคตเลยสดใสเพราะ Yakolev จะมีเงินจำนวนมากไปพัฒนารุ่นย่อยต่างๆที่ได้วางแผนงานเอาไว้ ต้องบอกว่า Yak-130 family และ M-346 นี่มีอนาคตสดใสมากเลย ถึงประสิทธิภาพเครื่องจะต่ำกว่าทั้ง F-35 และ sea gripen แต่จักรีก็จะมีเครื่องที่มีประสิทธิภาพปานกลางไว้ใช้งานบนเรือได้ 1 ฝูงเต็มๆ มากพอที่จะใช้ในภารกิจต่างๆที่ได้รับมอบมา แค่นี้เพื่อนบ้านก็นอนไม่ค่อยจะหลับแล้วครับ และก็ทำให้จักรีมีอำนาจการยิงสูงขึ้นจากการเป็นเรือบรรทุกฮ.กว่า 1 เท่าตัวแน่นอน
4…….Tejas
เตจ๊าสของอินเดียมีขนาด 13.2-13.3 เมตร น้ำหนักตัวเปล่าประมาณ 6 ตัน ถูกออกแบบให้ขึ้นลงจากเรือ light STOBAR ได้ เป็นการการันตีว่าถ้าปรับปรุงเรือจักรีให้เป็น Light STOBAR ย่อมน่าจะรองรับ Tejas ได้แน่นอน แต่ประสิทธิภาพของเครื่องผมไม่ทราบ ต้องรอเพื่อนๆที่เชี่ยวชาญอาวธของอินเดียมาวิเคราะห์ครับ แต่ด้วยขนาดเครื่อง จักรีน่าจะนำติดตัวไปได้ 10-12 เครื่อง ราคาค่างวดเครื่องละ 30-33 ล้านเหรียญ ก็ไม่เกิน 1000 ล้านบาท หรือต้องใช้เงินทั้ง 10-12 ตัว ประมาณ 10,000-12,000 ล้านบาท ถ้าคิดค่าปรับปรุงจักกรีอีก 3000 ล้าน ราคาน่าจะอยู่ราวๆ 13000-15000 ล้านบาท ประสิทธิภาพน่าจะใกล้เคียงดีลที่ 3 ที่ใช้ Yak-133 IB ประจำการ
5…….Harrier 2 plus
ดีลนี้ก็ต้องรอนย.อเมริกาปลดเครื่องรุ่นนี้ออกก่อนแล้วไปใช้ F-35 แบบนี้เราก็น่าจะจัดหาได้มาทดแทน 10 เครื่อง ค่าใช้จ่ายจากดีลนี้น่าจะต่ำที่สุดเพราะไม่ต้องปรับปรุงเรือแต่ประการใด แต่ก็จะได้เครื่องมือสองที่ใช้งานได้อีกไม่นานนัก
จะเห็นว่าทางเลือกที่จะให้จักรีกลายเป็นเรือบรรทุกบ.แบบ Light STOBAR ยังคงมีอยู่ไม่น้อยเลยครับ อยู่ที่ว่าทางทร.จะเอายังไง จะใช้มันเป็นเรือบรรทุกฮ. โดยยอมลดประสิทธิภาพสูงสุกของมันลงมาเหลือแค่ครึ่งเดียวแบบที่เป็นในตอนนี้หรือ ดูจะเป็นการใช้มันไม่คุ้มเลย หรือว่าจะยอมทุ่มเทอีกสักหน่อยเพื่อให้มันมีอำนาจการยิงสูงกว่านี้อีกเท่าตัว
ส่วนเรื่องการเมืองที่มีผลต่อทร.นั้น ต้องขอบอกว่าการทะเลาะเบาะแว้งทางการเมืองในขณะนี้นั้นคงอีกไม่นานไม่น่าจะเกิน 5 ปีน่าจะยุติ ถึงเวลานั้น กองเรือของชาติต่างๆที่ป๋าเล่ามาทั้งหมด (น่าจะรวมเกาหลีใต้อีกประเทศนะครับ) จะขึ้นระวางเรือบรรทุกบ.ลำใหม่เหล่านั้นแล้ว
ดังนั้นเราต้องเผชิญแรงกดดันทั้งจากกองเรือดำน้ำและกองเรือบรรทุกบ. ยังไงเราก็ต้องปรับตัวตามที่ป๋าว่าอยู่ดี การปรับปรุงจักรีมีความเป็นไปได้สูง แต่ก็ต้องดูนโยบายของรัฐบาลและกองทัพในอนาคตว่าจะเอาอย่างไร ทั้งกองเรือดำน้ำ ทั้งกองเรือบรรทุกบ.
ขีดความสามารถทางการเงินและเศรษฐกิจของเรารองรับได้กับการที่จะมีกองเรือบรรทุกบ.เบาแบบ Light STOBAR จำนวน 2 กองเรือ กองเรือดำน้ำ 2 กองเรือ แหมรถไฟฟ้า 6-7 หมื่อล้านยังมีปัญญาจ่ายได้ไม่ยาก เทปเลตพีซีทั่วประเทศราคาแพงกว่ากองเรือฟรีเกต ยังซื้อได้ ระบบการจัดการน้ำ 2.4 ล้านล้านบาทยังวิ่งหาเงินกันจนได้ แข่งกันทุกรัฐบาลที่จะสร้างสาธารณูปโภคให้ประชาชน
ดังนั้นกองเรือบรรทุกบ.เบา สองกองเรือก็ไม่ได้ยากเกินไปเลย อยู่ที่ว่าทร.และรัฐบาลจะเอายังไง อย่าดูถูกตัวเองแล้วไปส่งผลต่อสมดุลย์อำนาจที่จะทำให้ประเทศย่ำแย่เลยครับ
การดัดแปลงเรือแบบหนึ่งไปเป็นเรืออีกแบบหนึ่งในความเป็นจริงถ้าดูจากหลายๆตัวอย่างส่วนตัวมองว่าไม่ได้ง่ายนักหรอกครับ
ตัวอย่าง หนึ่งของกองทัพเรือไทยเองเช่นเรือชุด ร.ล.ตาปี ที่เดิมติดปืนใหญ่เรือ 76/50 ที่หัวเรือและท้ายเรือมาเป็นปืนใหญ่เรือ 76/62 และ 40/70แทน ผลที่ได้คือสมดุลเรือเปลี่ยนไปคือหัวเรือหนักขึ้นท้ายเรือเบาลง ต้องมีการถ่วงตะกั่วคำนวณปรับสมดุลเรือใหม่ ผลที่ตามมาต่อคือความเร็วเรือลดลง นี้แค่ดัดแปลงเปลี่ยนอาวุธนะครับ
หรือ มาดูตัวอย่างการดัดแปลงเรือ INS Vikramaditya ของอินเดียหรือเดิมคือ Admiral Gorshkov ชั้น Kiev โซเวียดบ้าง เดิมที่เรือลำนี้เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินขึ้นลงทางดิ่งมีดาดฟ้าเฉียงและมี การดัดแปลงเป็นเรือ STOBAR แต่ปัญหาที่ตามมาก็ทราบกันครับว่ามีปัญหาค่าใช้จ่ายงบประมาณบานปลายอยู่นาน มากที่เดียวคือค่าใช้จ่ายโครงการวมกว่า $2.35 billion (ต่อกันไปมาหลายครั้งตอนแรกเกือบ $3.4 billion) แต่คาดว่าเรือจะเข้าประจำได้ในปี 2012 นี้ ซึ่ง INS Vikramaditya นั้นเป็นเรือขนาดใหญ่ 45,000ตัน และรูปแบบตัวเรือก็พอจะสามารถดัดแปลงเป็น STOBAR ได้แล้ว แต่ ร.ล.จักรีนฤเบศรของไทยนี้ให้ดัดแปลงเพิ่มให้เป็น STOBAR แบบนี้มองว่ายากครับ แค่ถ่วงน้ำหนักสมดุลที่เปลี่ยนไปหลังเพิ่มดาดฟ้าเฉียงนี้ก็น่าจะงานหนักมาก แล้วสำหรับเรือระวางขับน้ำแค่ 11,000ตัน
ทีนี้มาดูแบบอากาศยานกันบ้าง
F-35B, Sea Gripen, Yak-133IB และ Naval Tejas
ในกลุ่มนี้มีเครื่องแบบเดียวที่มีสายการผลิตหลายเครื่องและทดสอบการขึ้นลงบนเรือไปแล้วคือ F-35B
ส่วน Tejas นั้นรุ่นขึ้นลงจากเรือนั้นยังไม่มีการทดสอบ(คาดว่าต้องราวปี 2013 เป็นต้นไป)
ส่วน Sea Gripen กับ Yak-133IB นั้นเครื่องต้นแบบยังไม่มีเลย
แบบ อากาศยานปีกตรึงที่เป็นไปได้สำหรับ ร.ล.จักรีนฤเบศร โดยรวมก็มี AV-8B Harrier II มือสองกับ F-35B ครับ ซึ่งการปรับปรุงตัวเรือเพื่อรองรับไม่ได้มีมากเกินไปนักเพราะเป็น บ.STOVL อยู่แล้ว
แต่ถ้าจะดัดแปลงเพื่อรอ Sea Gripen, Yak-133IB หรือ Tajas คิดว่าลำบากครับ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับเพื่อนๆ TFC เอาล่ะจากมุมมองที่แสดงความเห็นกันมาทำให้พอมองออกว่าการแสดงความเห็นนั้นมาจากทัศนะคติที่แตกต่างกันครับ จากการที่ค้าขายมานาน คุยกับคนที่ค้าขายเหมือนๆกันทั้งทางด้านการเมือง การลงทุน และเทคโนโลยี เอาเป็นว่าผมจะแบ่งคนออกเป็นสองกลุ่มแล้ว
กลุ่มแรก จะมองในปัจจุบันและสิ่งที่จับต้องได้ในขณะนี้เท่านั้น
กลุ่มนี้จะมองเรื่องของอนาคตนั้นเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนและเต็มไปด้วยความเสี่ยง อะไรที่ยังมาไม่ถึงจับต้องไม่ได้พวกเขาจะไม่เสี่ยงลงทุนโดยเด็ดขาด เช่น ถ้าพวกเขาค้าขายในเรื่องระบบฮาร์ทดิส นักลงทุนกลุ่มนี้ก็จะลงทุนในฮาร์ทดิสแบบเพลตแม่เหล็กที่ใช้มอเตอร์หมุน ก็พวก HDD ที่เราเห็นขายกันทั่วไปในท้องตลาด พวกเขาจะไม่สนใจลงทุนในฮาร์ดดิสแบบใหม่ที่เป็นโซลิตสเตทหรือฮาร์ดดิสที่ใช้ระบบหน่วยความจำแบบปริซึมเด็ดขาด ด้วยเหตุผลที่ว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นมีความเสี่ยงในด้านการตลาดสูง เนื่องจากผู้ใช้ไม่คุ้นเคย ความน่าเชื่อถือยังไม่แน่นอน และ บราๆๆๆๆ ดังนั้นกลุ่มนักลงทุนพวกนี้จะไม่ลงทุนตั้งฝ่าย R&D เพิ่มพัฒนาสินค้าแบบใหม่เด็ดขาด
ข้อดีของกลุ่มนี้ คือ ความเสี่ยงต่ำ เทคโนโลยีที่มีอยู่ใช้หากินได้ทันที
ข้อเสียของกลุ่มนี้ คือ ถ้าพวกเขาเพิ่งจะเริ่มลงทุนในขณะที่กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงกันขนานใหญ่แบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ กลุ่มนี้จะไม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงกะทันหันได้ และจะล้มหายตายจากไป เหมือนเพิ่งจะลงทุนในโทรทัศน์แบบจอ CRT ตอนที่จอ CRT พุ่งพ้นจุดขีดสุดและเริ่มมีจอแบบ LCD และ LED เข้ามา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกระทันหันจะไม่สามารถปรับเปลี่ยนเครื่องจักรในโรงงานให้ผลิตจอแบบ LCD ได้เลยเป็นต้น
กลุ่มที่สอง จะมองแต่สิ่งที่จะมาถึงในอนาคตอันใกล้เท่านั้น
กลุ่มนี้จะมองแต่สิ่งที่กำลังจะเข้ามาในไม่ช้า หรือก็คือมองแต่อนาคตอันใกล้ บางคนไกลไปหน่อยด้วยซ้ำ มองว่าเมื่ออนาคตที่จะมาถึงแล้วตนเองและพวกพ้องจะสามารถปรับตัวและกอบโกยผลประโยชน์จำนวนมหาศาลได้ง่ายๆ ดังนั้นจึงต้องมีการลงทุนและเตรียมตัวเพื่อวันข้างหน้า ยกตัวอย่างนะครับ
กลุ่มนี้ถ้าลงทุนในฮาร์ดดิส เขาจะมองว่า HDD แบบจานแม่เหล็กที่ใช้มอเตอร์หมุนกำลังจะตกยุคและเสื่อมความนิยม(เดา คาดการ) ดังนั้นกลุ่มนี้จะพุ่งความสนใจในฮาร์ดดิสแบบใหม่ที่ยังอยู่ในขั้นตอนวิจัยหรือเพิ่งจะเริ่มทำการตลาดเท่านั้น เช่น แบบโซลิตสเตท อีก แบบคือแบบปริซึ่ม พวกนี้จะลงทุนใน R&D ด้วยเงินมหาศาลเพื่อทำการประดิษฐ์ HDD แบบใหม่ที่ว่านี้ จะมีคนวางตลาด HDD แบบใหม่ที่ว่านี้น้อยราย ราคาแพงระยับ และความน่าเชื่อถือยังไม่ดีนักเพราะเพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้น
กลุ่มนี้ต้องเผชิญความเสี่ยงที่ว่า ถ้าฮาร์ดดิสแบบใหม่ทำตลาดไม่ขึ้น ไม่เป็นที่นิยม ผลออกมาจะต้องพับฐานเจ้งมหาศาลไปกับการลงทุน แต่ถ้าอ่านทางถูกและติดตลาด นักลงทุนกลุ่มนี้จะสามารถสร้างผลกำไรมหาศาลให้แก่ตนเองและพวกพ้องได้ และกลายมาเป็นผู้นำตลาดไปในที่สุด
จะว่าไปมันก็คือ High risk high return Low risk low return นั่นเอง เป็นทัศนะคติของคนสองกลุ่ม
ส่วนอันนี้ชีวิตจริง
ครั้งหนึ่งเมื่อนานพอควร ผมมีความประสงค์จะลงทุนในร้านเกมส์ ตอนแรกผมพุ่งความสนใจไปในเกมส์ประเภท เกมส์อาเขตกับเกมส์คอนโซล (พวก PS-2 X-box เขาเรียกรวมๆว่าเกมส์คอนโซล)
ขณะกำลังวางแผนการลงทุนและสำรวจตลาดอยู่ ก็มาเจอคนคนหนึ่งเขาเพิ่งกลับมาจากเกาหลีใต้ ทำงานอยู่ที่นั่นมาหลายปี เขากลับแนะนำผมว่า อย่าไปมำเลยไอ้เกมส์คอนโซลกับเกมส์อาเขต ที่เกาหลีไม่เป็นที่นิยมแล้ว เขานิยมเกมส์ออนไลน์ จะออนไลน์ระบบแลนหรือระบบเน็ตก็ว่ากันไป
ผมเป็นพวกนักคิดแบบกลุ่มแรก ดังนั้นแผนเดิมจึงยกเลิกทันทีแล้วไปศึกษาเกมส์แบบใหม่ ซึ่งตอนนั้นร้านพวกเกมส์ออนไลน์นี่หายากมากและก็แพง เล่นกันในกลุ่มเล็กๆ
ร้านแรกที่ลงทุน เจ้งพับฐานไปเกือบสองแสน ……… ลุกค้าไม่รู้จัก แต่สนใจเพราะสามารถเล่นกับเพื่อนๆโดยแบ่งเป็นทีมได้ แต่ไม่คุ้นกับเมาส์ คีย์บอร์ด จอคอม ดูมันเป็นวิชาการจัง และที่สำคัญ “แพง” ชม.ละ 60 บาท
เอ้าลองใหม่ ร้านที่สอง คราวนี้เอาประสบการณ์ที่เจ้งยับมาแก้ไข คราวนี้ไม่เจ้ง แต่ผลตอบแทนไม่น่าประทับใจ เมื่อพิจารณาสาเหตุก็เจอ นั่นคือ ทำเล
ร้านที่สาม คราวนี้ดังเปรี้ยงปร้างระเบิดเถิดเถิง สามารถสร้างรายได้วันละไม่ต่ำกว่า 10,000 บาทได้ลูกค้าแน่นเต็ใตลอดตั้งแต่เช้ายันมืดแถมมีจองจ่ายล่วงหน้าด้วย และเป็นเรื่องบังเอิญที่ว่าในพื้นที่นั้นมีร้านเกมส์พวกเกมส์คอนโซลและเกมส์อาเขตอยู่ด้วย ซึ่งเจ้าของร้านหนึ่งเพิ่งจะลงทุนอับเกรดระบบและอับเกรดเกมส์แบบใหม่(ของถูกกำหมาย) เป็นมูลค่าหลายแสนบาท ซึ่งเมื่อร้านผมเปิดและได้รับความนิยม ทางเขานั้นแทบจะไม่มีลูกค้าเลยและประสพผลขาดทุน เพราะต้องจ่ายทั้งค่าเช่าและแรงงาน ตอนแรกก็นึกว่าผมตัดราคา แต่เมื่อนักลงทุนผู้นี้มาที่ร้านผมและมาเห็นราคาที่แพงกว่าเขา เกมส์แบบใหม่ล่าสุด เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าเป็นอย่างมาก ถึงกับกุมขมับครับ เพราะเพิ่งลงทุนไปหมาดๆ เงินแทบหมดกระเป๋า นักลงทุนท่านนี้ไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับเหตการณ์ที่เปลี่ยนไปกระทันหัน สุดท้ายก็ต้องเจ้งยับปิดร้านไป
ดังนั้นคนกลุ่มแบบผมจะมองว่า ของที่ยังไม่มีในวันนี้ไม่ใช่ว่าวันข้างหน้ามันจะไม่มี เหตุการณ์บางอย่างที่สำคัญในวันนี้ยังไม่เกิดก็ไม่ใช่ว่าวันข้างหน้าจะยังไม่เกิด ดังนั้นจึงออกจะเป็นพวกที่นึกถึงสิ่งที่เป็นเรื่องของวันข้างหน้าไปสักหน่อย และจะมีการทุ่มเททรัพยากรไปกับของที่ยังมาไม่ถึงในตอนนี้ หรือ มาถึงแล้วแต่ไม่ได้รับความนิยมในตอนนี้ แต่คนที่มีแนวคิดแบบพวกผมต้องยอมรับให้ได้ในเรื่องความเสี่ยงของอนาคตที่ยังมาไม่ถึงนั่นเอง ว่าง่ายๆ ลงทุนดักหน้า ดังนั้นพวกแบบผมจะสนใจวิธีการลดความเสี่ยงในเรื่องอนาคตเสมอ เพื่อให้มันมาถึงตามที่เราต้องการ ซึ่งไม่ง่ายเลยครับ
นโยบายต่างๆที่ออกมาในเรื่องการค้าบางเรื่องก็จะคล้ายๆนโยบายในเรื่องการทหาร เพราะต้องต่อสู้กัน มองเงินคือ ทหารในสมรภูมิ ถ้าในเรื่องการทหารการเมือง การแพ้เจ้งยับคือการล่มสลายทางเศรษฐกิจถ้าลงทุนในด้านการทหารผิด เช่นทุ่มทรัพยากรทั้งหมดไปกับการทหาร หรือ อาจจะเป็นการพ่ายแพ้สงครามถ้าไม่มีการเตรียมพร้อมใดๆเลย เมื่อเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกระทันหัน นั่นเอง
เอ้ย....พิมพ์ผิด ต้องบอกว่าผมเป็นนักคิดแบบกลุ่มที่สองครับ
ดังนั้นแนวนโยบายทางการทหารและการลงทุนในด้านทางการทหารของผมจึงออกแนวที่จะพร้มเสี่ยงกับสิ่งใหม่ๆเสมอ เพื่อตามให้ทัน และมีความทันสมัยหรือล้ำสมัยให้ได้อยู่เสมอ แต่วิธีการแบบนี้ก็ต้องแบกต้นทุนในด้านความเสี่ยงสูงเช่นกัน จึงต้องมีการวางแผนเพื่อลดความเสี่ยงในการลงทางด้านการทหารให้มากที่สุด
วิธีที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งคือการผลักความเสี่ยงทางด้านอุตสาหกรรมให้ภาคเอกชนไปรับความเสี่ยงแทน โดยออกกำหมายสนับสนุนการลงทุนครับ และภาครัฐก้แค่เก็บเกี่ยวผลประโชน์นั้ตามความเหมาะสมของตน
โดยส่วนตัวคิดว่าสำหรับกองทัพเรือไทยแล้วการดัดแปลงเรือที่ใช้งานหลักอยู๋ในปัจจุบันแบบดัดแปลงครั้งใหญ่ใหม่หมด (Major Conversion) ควรจะเป็นตัวเลือกสุดท้ายครับ ด้วยเหตุผลหลักๆที่กล่าวมาข้างต้นคือความเสี่ยงในการออกแบบการปรับสมดุลเรือและความเหมาะสมด้านภารกิจ
ถ้าดูจากตัวอย่างที่ผ่านมาก็ดัดแปลงเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์มาเป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน STOVL นั้นเป็นเรือที่ทำมานานแล้วตั้งแต่ยุคปี 1970s-1980s ครับเช่นการวาง Ski Jump ที่หัวเรือสำหรับเพิ่มการยกตัวในการวิ่งขึ้นของ Harrier (ซึ่งทำให้หัวเรือหนักขึ้น) และการดัดแปลง Lift แต่การดัดแปลงเปลี่ยนแบบจากเรือบรรทุกเครื่องบิน STOVL ไปเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินเบา STOBAR เท่าที่ทราบยังไม่มีนะครับ
ตรงนี้มองว่าการจัดหาอากาศยานมาประจำ ร.ล.จักรีนฤเบศรนั้นแทนที่จะต้องดัดแปลงเรือขนานใหญ่เพื่อให้รองรับตามแบบอากาศยานที่จะจัดหา ทำไมไม่เลือกวิธีที่จะจัดหาอากาศยานที่สามารถใช้งานบนเรือได้เลยโดยไม่ต้องดัดแปลงเรือขนานใหญ่แบบเปลี่ยนใหม่หมดทั้งลำ
สมมุติว่าถ้ากองทัพเรือต้องการ Sea Gripen จริงๆ ทำไมไม่ให้ SAAB ออกแบบร่วมกับ BAE Systems และ Rolls-Roys ออกแบบระบบ Lift FAN System ติดตั้งกับ Sea Gripen แบบเดียวกับ F-35B ละครับ ตรงนี้มองว่าเป็นแนวทางที่ดูเข้าท่ากว่าดัดแปลง ร.ล.จักรีนฤเบศรให้เป็น STOBAR ครับ แต่แน่นอนค่าใช้จ่ายในการพัฒนาอาจจะสูงพอๆกันเช่นกันด้วย
ซึ่งก็นั้นละครับว่ากองทัพเรือมีงบประมาณมหาศาลหลายหมื่นล้านบาทสำหรับการทำแบบนี้หรือครับ?
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/0e/Engine_of_F-35.jpg/640px-Engine_of_F-35.jpg
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/5/55/F-35B_Joint_Strike_Fighter_%28thrust_vectoring_nozzle_and_lift_fan%29.PNG/640px-F-35B_Joint_Strike_Fighter_%28thrust_vectoring_nozzle_and_lift_fan%29.PNG
หัวใจ สำคัญในการดัดแปลง Sea Gripen ให้สามารถขึ้นลงทางดิ่งได้แบบเดียวกับ F-35B คือชุด Lift Fan System แบบในภาพข้างต้นคือต้องย่อส่วนชุดใบพัดยกตัวทางดิ่งให้เล็กลงกว่าที่ใช้กับ ย.F135 ของ F-35 และออกแบบชุดส่งกำลังไปยัง ย.GE F414 รวมถึงระบบปรับแรงขับท้ายท่อไอพ่น แบบในภาพข้างต้น
ย.P&W F135 ของ F-35 มีกำลังขับสันดาปท้าย 43,000lbs สูงสุดปกติ 28,000lbs ในขณะที่ ย.GE F414 ของ Gripen มีกำลังขับสันดาปท้าย 22,000lbs คราวๆคือชุด Lift Fan สำหรับ Sea Gripen จะเล็กประมาณ 2เท่า
เสร็จแล้วก็ต้องยัดระบบดัง กล่าวเข้าไปในตัวเครื่อง ซึ่งแน่นอนว่าคงต้องมีการดัดแปลงออกแบบส่วนหัวและลำตัวเครื่องใหม่บ้าง (ต้นแบบอาจจะต้องออกแบบใหม่จากรุ่นสองที่นั่งซึ่งส่วนหัวจะยาวกว่าปกติ) แน่นอนว่าเครื่องจะต้องหนักขึ้น บรรทุกอาวุธได้น้อยลงเล็กน้อยและพิสัยการบินลดลงเนื่องจากความจุเชื้อเพลิง ภายในลดลง
แต่ก็ไม่ทราบได้ครับว่าถ้าจะสร้างระบบแบบนี้ต้องใช้งบประมาณไปเท่าไร
ประโยชน์ของ เรือบรรทุกเครื่องบิน....และการตรวจจับเรือบรรทุกเครื่องบิน...
อ่านต่อได้ใน กระทู้ปักหมุด ทะเลไทย ครับ...(โฆษณา ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า)
ภาพประกอบ บทความ
ศักย์สงคราม ของ เรือบรรทุกเครื่องบิน
ภาพที่ 1 การโจมตีฝั่งจาก เรือรบผิวน้ำ
ภาพที่ 2 การโจมตีฝั่งจาก เรือบรรทุกเครื่องบิน
ลอง ยูทูป chakrinaruebet มั่ง....
เห็นแนวคิดและความตั้งใจแล้ว
ขอเสนออีกทางนึง
ดัดแปลงเรือเฉพาะลวดเกี่ยวและขอเกี่ยวของ บ. ไม่กระทบ Trim เรือ
บินขึ้นแต่ละครั้งคงแพงหน่อย แต่ก็ยังดีกว่าลงทุนมหาศาล ตัดแต่งตัวเรือ (ซึ่งจะสำเร็จรึเปล่า--ก็ไม่รู้)
rocket assistant take off มีมานานกว่า 50 ปีแล้ว
เมื่อก่อนก็เคยเข้าใจว่าการวางสายลวด(wire)บนดาดฟ้าเพื่อเกี่ยวกับตะขอ(hook) ของอากาศยานนั้นสามารถวางขึงได้เลยเลยไม่มีอะไรยุ่งยากมาก
แต่ที่เคยสอบถามนายทหารเรือหรือจากสารคดีเกี่ยวกับปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯจริงๆนั้นพบว่าพื้นที่กลไกใต้ดาดฟ้าบินนั้นดูจะซับซ้อนมากครับ ซึ่งถ้าจะทำแบบนั้นจริงคงต้องศึกษาแบบดาดฟ้าเรือเพื่อรื้อใหม่ครับ ซึ่งถ้าแบบโครงสร้างเรือไม่เอื้ออำนวยก็อาจจะยากในการทำจริงอยู่ครับ
ไม่รู้จะเป็น จุดเริ่มต้น ของความขัดแย้ง ในทะเลจีนใต้ รึเปล่า ?
ไตหวัน จะติดตั้ง TACAN (TACTICAL AIR NAVIGATION) บนเกาะ Taiping ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ในส่วนการอ้างสิทธิของ ไตหวัน ในหมู่เกาะ สแปชรี่ย์ สำหรับการใช้งานของ C-130 บนเกาะ
และเมื่อปี 2011 ไตหวัน ก็ประกาศจะตั้งสถานีสำหรับ นาวิกโยธิน ประจำการบนเกาะด้วย
โดยในอดีตเวียดนาม เคยทักท้วง ไตหวัน ไม่ให้ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างใด ๆ บนเกาะดังกล่าวด้วย
เข้ามานั่งอ่านต่อ ส่วนตัวผมมองได้สองประเด็นคือ
1. แนวทางแบบ ป๋าจู เปลี่ยนเรือ 911 จากแบบ STOVL ให้มาเป็นSTOBAR เพื่อให้เครื่องบิน ซีกริพเป้น ลงจอดได้ หากทำได้
- ข้อดี ความเสี่ยงในเรื่องของเครื่องบินไม่มีเพราะผู้ผลิตมีการคิดพัฒนารุ่นนี้ไว้แล้ว เครื่องบินราคาอาจจะไม่สูงมากนักถ้าเทียบกับ F-35 และมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติภารกิจต่ำ รวมทั้งอาจจซื้อ กริพเป้น ที่สวีเดนเหลือใช้และเก็บรักษามาประยุกต์ปรับปรุงให้เป็น ซีกริพเป้น ได้
-ข้อเสีย ราคาค่าปรับปรุงตัวเรืออาจจะสูงมากถึงขั้นใกล้เคียงกับการจัดหาใหม่ อาจจะต้องรือตัวเรือเกือบทั้งหมดเพื่อดัดแปลง รวมทั้งความเสี่ยงต่างๆในความเป็นไปได้และปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวเรือ
2. แนวทางแบบ คุณAAG_th1 คือ คงแบบเรือ 911 ไว้ให้เป็นแบบ STOVL อาจจะปรับปรุงบางจุด แล้วไปร่วมพัฒนา กริพเป้น ใหม่กับ ซ๊าบ ให้เป็นรุ่น STOVL หากทำได้
- ข้อดี ลดความเสี่ยงและงบประมาณในการปรับปรุง เรือ 911 และยังสามารถที่จะยังจัดหาเครื่องบินแบบ STOVL มาประจำการเรือต่อไปได้โดยที่เรือยังปฏิบัติภารกิจต่อไปไม่ต้องหยุดเข้าอู่เพื่อปรับปรุง
-ข้อเสีย อาจจะต้องใช้ทุนและเวลาในการพัฒนาเครื่องบิน กริพเป้น รุ่น STOVL สูงและมีความเสี่ยงทางการตลาดเมื่อสำเร็จ รวมทั้ง ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติภารกิจที่สูงกว่า ระยะพิสัยการบินที่น้อยกว่า และ การบรรทุกอาวุธที่น้อยกว่า เมื่อเทียบกับ ซีกริพเป้น
ส่วนเรื่อง ราคาความน่าจะเป็น เทียบกันช็อตต่อช็อต ผมไม่ค่อยสันทัด ต้องรบกวนช่วยวิเคราะห์ครับ
ข้อตอบแต่ละประเด็นของท่านเด็กทะเลครับ ในความเห็นส่วนตัวครับ
แนวทางแบบ ป๋าจู เปลี่ยนเรือ 911 จากแบบ STOVL ให้มาเป็นSTOBAR เพื่อให้เครื่องบิน ซีกริพเป้น ลงจอดได้ หากทำได้
- ข้อดี ความเสี่ยงในเรื่องของเครื่องบินไม่มีเพราะผู้ผลิตมีการคิดพัฒนารุ่นนี้ไว้แล้ว เครื่องบินราคาอาจจะไม่สูงมากนักถ้าเทียบกับ F-35 และมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติภารกิจต่ำ รวมทั้งอาจจะซื้อ กริพเป้น ที่สวีเดนเหลือใช้และเก็บรักษามาประยุกต์ปรับปรุงให้เป็น ซีกริพเป้น ได้
ตอบ ในประเด็นนี้ Saab มีระบุไว้ชัดเจนว่า ต้องการผู้ร่วมทุนโครงการนี้ โดยโครงการนี้ประมาณโครงการไว้ 600 กว่าล้านเหรียญ หรือประมาณ 18,000 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้ ถ้ามีการตัดสินใจซื้อ ก็จะส่งผลต่อตลาด Sea Gripen แน่นอนครับ แต่สำหรับการตัดสินใจซื้อ จะมีอยู่ 2 กรณี ด้วยกันครับ คือ
กรณีที่ 1
ทร.จัดหา บ.โจมตีทางทะล ตามโครงการเดิม โดยไม่ได้มีเป้าหมายการใช้งานบนเรือบรรทุกเครื่องบิน และด้วย ทอ. มีประจำการด้วย Jas-39 C/D อยู่แล้ว จึงทำให้การหานักบิน ทร. จะถูกส่งตรงมาจาก ทอ. ซึ่งจะช่วยให้การจัดหา บ.ฝึก ในส่วนของ ทอ. และการผลิตนักบินในส่วนของ ทอ. มีการพัฒนาและได้รับงบประมาณเพิ่มเติม น่าจะมีส่วนช่วยเสริมศักยภาพของ ทอ. ไปด้วยอีกในคราวเดียว รวมถึงการมีระบบอาวุธโดยใช้คลังอาวุธเดียวกันได้ และอาจจะส่งผลต่อการจัดหาฝูงบินใหม่ของ ทอ. ในอนาคตด้วย
กรณีที่ 2
ทร.จัดหา บ.โจมตีทางทะเล ตามโครงการเดิม โดยมีเป้าหมายการใช้งานบนเรือบรรทุกเครื่องบิน การที่ ทร.จะจัดหาโดยเข้าในเงื่อนไข กรณีนี้ ในบริบทเบื้องต้นจะไม่แตกต่างจาก กรณีที่ 1 ข้างต้น แต่จะเพิ่มเติมในส่วนที่พิเศษมาก คือ Saab ได้ประเมิน และกำหนดคุณลักษณะของ 911 ที่จะต้องมี เพื่อรองรับการปฏิบัติการของ Sea Gripen สำหรับ เรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเล็ก
ซึ่งถ้า Saab สามารถกำหนดคุณลักษณะของ 911 ได้แล้ว จะทำให้ Sea Gripen มีจุดเด่นขึ้นมาเทียบเคียงกับ F-35B อย่างมีสาระสำคัญ เพราะ Saab จะสามารถเปิดตลาดสำหรับเรือ LHA หรือ LHD หรือ V/STOL ได้ด้วยเช่นกัน โอกาสที่ Saab จะกล้าลงทุนมีอยู่สูงมาก
-ข้อเสีย ราคาค่าปรับปรุงตัวเรืออาจจะสูงมากถึงขั้นใกล้เคียงกับการจัดหาใหม่ อาจจะต้องรือตัวเรือเกือบทั้งหมดเพื่อดัดแปลง รวมทั้งความเสี่ยงต่างๆในความเป็นไปได้และปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวเรือ
ตอบ ในส่วนนี้ ผมมีความเชื่อที่ว่า ถ้า วิศวกร สามารถชี้แจงในแง่ วิศวกรรม ว่าทำได้ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาว่าจะไม่สำเร็จ เพราะขนาด C-130 ยังติดปืนใหญ่ 105 ม.ม. (AC-130H) ยิงลงมาจากทางอากาศได้ ก็มาจากการกำหนดสเปค แล้วให้ วิศวกร เขาไปคิด ถ้าเขาประเมินเบื้องต้นว่าทำได้ วิศวกร เขาก็จะหาวิธีทำจนได้ครับ
และในการออกแบบดัดแปลง คงต้องอาศัย หรือ จ้างบริษัทฯ ทางสหรัฐ อยู่แล้วครับ เพราะเรือ 911 เป็นเรือที่มีต้นแบบมาจาก Sea Control Ship ของ ทร.สหรัฐ ดังนั้นในแง่การปรับปรุงเรือ คงไม่แคล้วต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ของ สหรัฐ ครับ....ซึ่ง สหรัฐ มีประสบการณ์มากมายในการดัดแปลงเรือบรรทุกเครื่องบินตามตัวอย่างที่ผมยกไว้ข้างต้นครับ ซึ่งไม่แน่อาจจะเป็น การปรับปรุงดัดแปลงที่ สเปน ภายใต้การดูแลของ ทร.สหรัฐ ภายใต้โครงการร่วมทุน ไทย-สเปน โดยสเปน ก็ดัดแปลง R11 อาจจะเพื่อไว้ขาย หรือ ใช้เอง ก็เป็นได้...เพราะ สเปน เอง ก็ล้วนแต่ใช้แบบเรือที่มีพื้นฐานมาจากของสหรัฐ ในการสร้างประจำการ
และเรื่องราคา ผมก็ค่อนข้างเชื่อมั่นว่า ยังไง จะต้องแตกต่างกับการซื้อเรือใหม่ ไม่ต่ำกว่า 40% ครับ...เพราะ เรามีตัวโครงสร้างหลักอยู่แล้ว เช่น ลำเรือ ระบบอำนวยการรบหลัก ระบบเรดาร์ตรวจจับ และอุปกรณ์การรบอื่น ๆ ระบบเครื่องยนต์ ขับเคลื่อน ที่เราไม่ต้องจัดหาเสียเงินซื้อใหม่
ค่าใช้จ่ายโครงการ น่าจะเป็นในส่วน
2. แนวทางแบบ คุณAAG_th1 คือ คงแบบเรือ 911 ไว้ให้เป็นแบบ STOVL อาจจะปรับปรุงบางจุด แล้วไปร่วมพัฒนา กริพเป้น ใหม่กับ ซ๊าบ ให้เป็นรุ่น STOVL หากทำได้
- ข้อดี ลดความเสี่ยงและงบประมาณในการปรับปรุง เรือ 911 และยังสามารถที่จะยังจัดหาเครื่องบินแบบ STOVL มาประจำการเรือต่อไปได้โดยที่เรือยังปฏิบัติภารกิจต่อไปไม่ต้องหยุดเข้าอู่เพื่อปรับปรุง
-ข้อเสีย อาจจะต้องใช้ทุนและเวลาในการพัฒนาเครื่องบิน กริพเป้น รุ่น STOVL สูงและมีความเสี่ยงทางการตลาดเมื่อสำเร็จ รวมทั้ง ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติภารกิจที่สูงกว่า ระยะพิสัยการบินที่น้อยกว่า และ การบรรทุกอาวุธที่น้อยกว่า เมื่อเทียบกับ ซีกริพเป้น
ตอบ ปัจจุบัน Saab มีเป้าหมายชัดเจนว่า จะพัฒนาเครื่องบินรุ่นใหม่ เป็นแบบ สเตลล์ ดังนั้น บ.ขึ้น-ลง ทางดิ่ง ไม่ได้มีอยู่ในโครงการของ Saab เลย มันจึงเหมือนการเริ่มนับ 1 ใหม่
ซึ่งผมคิดว่า ส่วนที่เป็นประเด็นสำคัญของ เครื่องบิน ขึ้น-ลง ทางดิ่ง จะไม่ใช่เรื่องตัวโครงสร้างเครื่องบิน แต่จะเป็นเรื่อง เครื่องยนต์สำหรับใช้ การขึ้น-ลง ทางดิ่ง ซึ่ง ทั้ง สหรัฐ และ รัสเซีย เอง ก็ต้องยอมแพ้ให้กับ อังกฤษ สำหรับ เครื่องยนต์ของ แฮริเออร์ ในขณะที่ Saab ไม่มีข้อมูลว่ามีประสบการณ์ในเรื่องนี้ และในขณะที่ Sea Gripen มีต้นทุนแค่ในการปรับปรุงให้ใช้งานบนเรือบรรทุกเครื่องบินได้ ยังมีมูลค่าโครงการพัฒนาถึง 18,000 ล้านบาท ดังนั้น มูลค่าโครงการพัฒนาเพื่อให้ ขึ้น-ลง ทางดิ่ง น่าจะต้องสูงกว่าอย่างแน่นอน
ผมเลยมองว่า ระหว่างลงทุนจ้าง สหรัฐ ออกแบบดัดแปลงปรับปรุง 911 ซึ่งมีประสบการณ์มากมายและยังเป็นเจ้าของต้นแบบเรือ ยังมีความเสี่ยงน้อยกว่าการร่วมทุน พัฒนา Sea Gripen ขึ้น-ลง ทางดิ่ง ซึ่ง Saab ยังไม่เคยมีประสบการเลย ผมจึงคิดว่า ต้นทุนดัดแปลงเรือบรรทุกเครื่องบิน น่าจะน้อยกว่าการพัฒนาเครื่องบิน ขึ้น-ลง ทางดิ่ง น่ะครับ
สำหรับประเด็นการขาดกำลังทางเรือ ระหว่าง 911 เข้าอู่ นั้น...
ผมมองว่า ปัจจุบัน 911 มีบทบาทในส่วนของ เรดาร์ตรวจจับระยะไกล ให้กับ กองเรือ สำหรับกองป้องกันภัยทางอากาศ และเป็นฐานปฏิบัติการด้วย ฮ. เท่านั้น
ระบบโซนาร์ ก็ไม่มี....
โดยภายหลังการประจำการด้วย เรือชั้น อ่างทอง (ลำที่ 3) ทั้ง 2 ลำ (เมื่อจัดหาได้เต็มอัตรา)
เรือทั้ง 2 ลำ ดังกล่าว จะสามารถทดแทนในเรื่อง เรือสำหรับปฏิบัติการด้วย S-70B (ต่อต้านเรือดำน้ำ) และ MH-60S (ลำเลียง) ได้ในระดับหนึ่ง...
การป้องกันภัยทางอากาศ ให้กับ กองเรือ ก็จะมี เรือชั้น นเรศวร ทั้ง 2 ลำ ที่มีการติดตั้ง VLS และ จรวดต่อต้านอากาศยาน EMMS โดยสามารถ Link ได้กับ Jas-39 C/D ของ ทอ. สามารถทดแทนได้ในระดับหนึ่ง เช่นกัน....
และภายหลังจากการปรับปรุงเสร็จ และมี อากาศยานประจำเรือ...
911 ก็จะเป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศทางทะเล ที่มีขนาดใหญ่ และ ระยะไกลมาก ของ ASEAN
ยังกล่าวเหมือนเดิมครับว่าการดัดแปลงเรือขนานใหญ่แบบ Total/Major Conversion ควรจะเป็นทางเลือกสุดท้ายครับ และส่วนตัวไม่เชื่อว่าจะทำได้จริงด้วย หรือถ้าทำได้ก็ไม่จะเหมาะสมนักที่จะทำครับ
ถ้ากองทัพเรือจะจัดหา Sea Gripen มาประจำการเป็น บ.โจมตีประจำฐานบินชายฝั่งจริง คิดว่าการเลือกเครื่องที่มีพิสัยการบินไกลหรือเป็น บ.สองเครื่องยนตร์บรรทุกได้มากเช่น F/A-18F อาจจะเหมาะกว่าครับ หรืออีกประการคือภารกิจลักษณะนี้อาจจะยกให้หน้าที่ของกองทัพอากาศไปครับ ซึ่งดูจากการพัฒนาพัฒนการรบร่วมผ่าน Network Centric ระหว่างเหล่าทัพในข้างต้นครับ
ถ้ากล่าวตามสมมุติฐานของ ป๋าจู ที่เกิดกรณ๊เราถูกลากเข้าไปร่วมสังฆกรรมในพื้นที่สู้รบนอกเขตน่านน้ำ จากที่เคยกล่าวข้างต้น ซึ่งถ้าหากว่าจะใช้เครื่องบินของกองทัพอากาศเข้าสนับสนุนนั้น ตามหลักแล้วเครื่องบินของกองทัพอากาศจะไม่ออกนอนน่านฟ้า ถ้าไม่มีสงครามอย่างเป็นทางการ หรือออกได้แต่น่าจะไกลเกินไปจากการใช้ฐานบินภาคพื้นสำหรับความเร่งด่วนในการร้องขอ ซึ่งอาจจะช้าเกินไปสำหรับสถานการณ์รบที่ติดพัน หรือในการรบนอกเขตที่ถูกดึงเข้าไปร่วม อาจจะต้องขนเครื่องบินไปประจำการยังฐานต่างประเทศที่เป็นพันธมิตร แต่นั่นหมายถึงว่าเครื่องบินที่จะใช้ป้องกันประเทศจะต้องถูกแบ่งออกไปซึ่งอาจจะทำให้ความพร้อมในการป้องกันทางอากาศในบ้านตัวเองลดน้อยลง การมองสถานการณ์ในเชิงสมมุติฐานนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ การมองไปที่สิ่งที่มีอยู่มาปรับปรุงเพิ่มเติมเสริมขีดความสามารถขั้นมานั้นก็ถือเป็นแนวทางที่ชวนให้ศึกษาความเป็นไปได้ครับ ผมจึงมองในแนวทางที่ว่า เครื่องบินที่มีขีดความสามารถในการบรรทุกเครื่องบินทางทะเลจึงควรจะมี แต่ส่วนตัวผมเองยังสนับสนุนเครื่องแบบ STOVL เพราะนึกถึงกรณ๊ที่เครื่องบินเกิดต้องลงฉุกเฉินหรือเรือที่เป็นฐานถูกโจมตีอย่างหนักจนไม่สามารถนำเครื่องลงจอดได้ อาจจะยังมองหาเกาะใดเกาะหนึ่งที่ไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่มาก แต่วางแผนเตรียมการไว้แล้วลงจอดได้ครับ
ท่าน Judas ครับ ผมสงสัยเรื่องที่ท่านว่า รัสเซียแพ้อังกฤษ เรื่องเครื่อง stovl จริงเหรอครับ
yak 141 ก็ถือว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าแฮริเออรไม่ใหรอครับ ผมจำได้ว่ามันทำความเร็วได้มากกว่าแฮริเออร์อีกนะ
ไม่งั้น bae จะมาซื้อลิขสิทธฺกับ yak ทำไมละครับ
ผมก็ให้ในความหมายที่ว่า แฮรริเออร์ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเครื่องบินรบ สำหรับในหลายประเทศ แม้แต่สหรัฐ ก็ยังต้องยอมรับนำเข้าประจำการในรุ่น AV-8A และร่วมกับ อังกฤษ ในการพัฒนาจากแบบต้นให้มีประสิทธิภาพที่ขึ้น เป็น AV-8B ถ้าเทียบรุ่นกันก็เจะเป็น Yak-38 ของรัสเซีย ซึ่งก็ บ.รบที่ผมคิดว่าไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่ครับ คือ ประจำการเพียง 15 ปี ก็ปลดประจำการหมดครับ ในขณะที่ แฮริเออร์ ม่ีประสบการรบอย่างมากมายในหลายสมรภูมิ...โดย สหรัฐ ก็ยกเลิกการพัฒนาในส่วนแบบต่าง ๆ ไป ยกตัวอย่างเช่น FXV ในหลายแบบของ สหรัฐ นอกเหนือจากแบบ GD ท่ี่ผมยกตัวอย่างข้างต้นด้วยครับ....ซึ่งแต่เดิม ถ้าผมจำไม่ผิด ก็จะมีการพัฒนาไปจากเดิมอีก คือ สามารถใช้ BVR ได้...แต่ด้วยคุณลักษณะของ แฮรริเออร์ เป็น บ.โจมตี ไม่ใช่คุณลักษณะ Fighter...ซึ่งการพัฒนา Fighter ให้เป็น VSTOL ต้องพัฒนาในส่วนเครื่องยนต์มาก และต้นทุนสูงมาก...จึงเกิดโครงการ JSF ขึ้นมา...คือ การโครงร่วมพัฒนา ขึ้นมาของหลาย ๆ ประเทศ...หรือ JSF-35
ส่วน Yak-141 ก็เป็นรุ่นที่พัฒนาหลังจากนั้น และสร้างได้แค่เครื่องต้นแบบเท่านั้นน่ะครับ...โดยไม่ได้มีการเปิดสายการผลิต...และหลังจากเกิดอุบัติเหตุตก ก็ต้องยกเลิกโครงการไป เพราะหมดเงินลงทุนเหมือนกัน ซึ่งยังม่ีปัญหาในการใช้งานจริงเช่นกัน...จน ล็อคฮีท มาร์ติน มาร่วมลงทุนด้วย...ซึ่งผมคิดว่าและส่วนหนึ่งของ F-35B ก็คงต่อยอดมาจาก Yak-141 อีกที...
เห็นภาพสวยครับ(ลานบินเหงาๆ)
เมื่อวานลองเอาภาพเรือจักกรีที่ถ่ายโดยดาวเทียมภาพนี้มาดูใน ACDsee แล้วจัดภาพให้มีขนาด 18.2 cm. ให้สเกลขนาด 1 cm = 10 เมตร จะสามารถวัดได้ว่า
ลิฟท์ด้านหน้า กว้าง = 8.20 - 8.30 เมตร ยาว = 15 เมตร บวกลบ 20 cm.
ลิฟท์ท้าย กว้าง = 13 เมตร บวกลบ 20 cm ยาว = 14 – 14.20 เมตร
แล้วเอาภาพ F-35B รูปนี้มาจัดขนาดยาว 15.6 cm ให้สเกล 1cm = 1 เมตร ลองพับแพนหางระดับแล้วพบว่าความยาวเครื่องจะลดลงมาอยู่ที่อยู่ราวๆ 14.6 เมตร ซึ่งความยาวขนาดนี้ถ้าจัดวางเครื่องในแนวทแยง อาจจะสามารถนำเครื่อง F-35B ขึ้นลงลิฟท์ท้ายได้ แต่ถ้าไม่แน่ใจผมเลยลองจัดว่าถ้าหักกรวยเรโดมออกมาด้านข้าง ความยาวของเครื่องจะลดลงมาที่ประมาณ 13.5 เมตร ซึ่งค่อนข้างแน่นอนว่า F-35B สามารถนำขึ้นลงลิฟท์ท้ายของเรือจักกรีได้
ภายในโรงเก็บของเรือ เมื่อเอากรวยเรโดมกลับเข้าที่เดิมแต่ยังคงพับแพนหางดิ่งอยู่ จะสามารถจัดวาง F-35B ในโรงเก็บได้ 7 เครื่องพอดี แต่ที่กังวลคือน้ำหนักเครื่องที่หนัก 13.3 ตัน ซึ่ง AV-8B นั้นหนักตัวเปล่าแค่ 6.4 ตันเท่านั้น แต่ข้อมูลบอกว่าเรือจักกรีสามารถนำเครื่อง MH-60 จอดเก็บได้ 12 เครื่อง ซึ่ง MH-60 ตัวเปล่าหนักประมาณ 6.8 ตัน แต่ถ้าติดตั้งอุปกรณืเพื่อทำภาระกิจปราบเรือดำน้ำจะมีน้ำหนัก 8 ตัน ดังนั้น 12 เครื่องจะมีน้ำหนักช่วงประมาณ 84 -96 ตัน F-35B จำนวน 7 เครื่อง 13.3 X 7 = 94 ตัน
ผมเลยคาดเดาว่าโรงเก็บของจักกรีอาจจะสามารถรองรับน้ำหนักได้ในช่วง 90 – 100 ตัน ดังนั้นมีความเป็นไปได้สูงว่าโรงเก็บของจักกรีจะสามารถจัดเก็บ F-35B ได้ครบทั้ง 7 เครื่อง แต่ในทางปฎิบัติจริง อาจจะเก็บ F-35B จำนวน 4 เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์ 4 เครื่อง แทน
ส่วนดาดฟ้าลานบิน ที่จอดอากาศยานที่ดาดฟ้าด้านหน้า ยาวประมาณ 40 เมตร น่าจะสามารถจอด F-35B ได้ 4 เครื่อง ดาดฟ้าท้ายเรือยาวประมาณ 28 เมตร อาจจะจอด F-35 ได้ ได้ 3 เครื่อง รวมกันแล้ว ดาดฟ้าลานบินจะจอด F-35B ได้ 7 เครื่อง ปฎิบัติจริงอาจจอดแค่ 6 เครื่องเพื่อให้การเคลื่อนย้ายอากาศยานคล่องตัวง่ายขึ้น และจากการที่ลิฟท์ท้ายรองรับน้ำหนักได้กว่า 20 ตัน ดังนั้นอนุมานหยาบๆได้ว่าดาดฟ้าลานบินทั้งหมด ทุกจุดจะสามารถรับน้ำหนักได้ 20 ตันทุกจุด ซึ่งน้ำหนัก F-35B เมื่อเติมเชื้อเพลิงเต็มที่ ติดตั้งอาวุธในภารกิจป้องกันภัยทางอากาศแล้วจะหนักราวๆ 20 ตัน และถ้าติดตั้งไพลอทที่ปีกและบรรทุก Harpoon 4 ลูก กับ แอมรามและไซด์ไวด์เดอร์อย่างละ 2 ลูกแล้ว ถ้าไม่ต้องการให้เกิน 20 ตัน ก็จะไม่สามารถเติมน้ำมันเต็มถังได้ครับ
ดังนั้นถ้าจะเอาจักกรีไปรับภารกิจเป็นเรือบรรทุกบ. โดยตรง อาจจะสามารถนำ F-35B ติดไปได้ 10 เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์ แบบ MH-60 ไปได้ 2 เครื่อง และ AW-101 รุ่น AEW ไปได้ 2 เครื่อง รวม 4 เครื่อง และให้เรือฟรีเกตใหม่ 4 ลำ ทำหน้าที่ต่อต้านเรือดำน้ำแทนได้
ดังนั้นที่ท่าน AAGth_1 แนะนำว่าควรใช้ F-35B กับจักกรีโดยไม่ปรับมันเป็น STOBAR ก็จะดูเป็นทางเลือกที่ดีกว่าครับ เพราะไม่ต้องปรับปรุงเรือใดๆเลย แต่จะต้องลงทุนเครื่องบินรบที่ราคาแพงมากและมีค่าใช้จ่ายในการปฎิบัติการสูงกว่า AV-8B ถึง 2 เท่า แต่ประสิทธิภาพก็สูงมากที่สุดด้วยครับ
อ้าว......รูปไม่มา ลองอีกที
สนับสนุนให้ เรือหลวงจักรีนฤเบศ มีF35 จะมากหรือน้อยก็ตาม เพื่อเเสนยานุภาพของกองทัพไทย หน้าที่ของการช่วยเหลือปล่อยให้LHDเถอะครับ
เเก้
LHD=LPD
นอกเหนือจากเรื่องการจัดหา อากาศยาน แล้ว
สิ่งสำคัญกว่า คือ นักบิน ครับ....
ในข้อเสนอที่ใช้ Sea Gripen เนื่องจาก การหา นักบิน นั้น มีโอกาส มากกว่า การจะมี นักบิน F-35B ประจำเรือ 911 เป็นอีกสาเหตุหนึ่งครับ
ผมคิดว่า ยังไง ๆ นักบินขับไล่ไอพ่นของ ทร. ก็ต้องพึ่งพา กองทัพอากาศ จัดหาให้ครับ...
ดังนั้น ถ้าตราบใด กองทัพอากาศ ไม่มี F-35A ประจำการ ก็ไม่น่าจะมีโอกาสสำหรับ F-35B กับ 911
เว้นแต่ว่า กองทัพอากาศจัดหา F-35B ประจำการ และไม่จัดหา F-34A และใช้การปฏิบัติการร่วม โดยมีแค่ 911 เป็นสถานีปฏิบัติการ
DDH แบบจากแดนอาทิตย์อุทัย กองทัพเรือจักรวรรดิ์ญี่ปุ่น
ดำเนินการโดย UHI และต่อที่อู่ของ MHI ราคาเกือบเท่าแบบจากสเปนแต่ครบฟังชั่น (เห็นว่าชอบเล่น CVH-911 อดที่จะแจมไม่ได้)
DDH แบบจากแดนอาทิตย์อุทัย กองทัพเรือจักรวรรดิ์ญี่ปุ่น