ระหว่าง F-5 กับ F-16 2 แบบนี้เราทำแบบไหนได้ก่อน ถึงแม้จะเป็นแค่สมมติแต่ผมก็อยากให้มันเป็นจริงครับ เห็นภาพ บ.ทอ.6 แล้วทำให้ผมเชื่อมั่นว่าซักวัน ทอ.จะต้องสร้างเครื่องบินขับไล่ได้เอง
เห็นเขาว่านะครับ..ว่าโครงเอฟ5 มันเก่าแล้วครับ
ส่วนเอฟ 16 ไม่แน่ใจครับ แต่ก็จำได้ว่าถ้า F-16 ถ้าจะอัพเกรดควรจะเป็นบล๊อกใหม่ขึ้นมาหน่อย ประมาณบล๊อก 50-52 อะไรนี่หละครับ
ผมว่าเอาแจ๊สเวอชั่นใหม่มา พร้อมพัฒนาร่วมกับสวีเดน น่าสนกว่าครับ
ถ้าหาก F-5 ซับซ้อนน้อย ก็ง่ายที่จะทำ F-5 ก่อนครับ เหมือนอิหร่าน อาจทำเป็นเครื่องบินฝึกทดแทน L-39 ส่วนตัวขับไล่ก็ใช้ระบบเรดาห์ดีขึ้นมาอีกสามารถใช้ BVR ได้
ต้องดูความสามารถของวิศวกรในประเทศครับ กับงานระดับสร้างเครื่องบินรบเนี้ย ทั้ง F-5 และ F-16 ผมว่ายังไกลไป
เนื่องจากเราห่างหายกับเรื่องเครื่องบินมานานมากเลยครับ แต่ ทอ.ก็ยังเกาะติดเทคโนโลยีเอาไว้ตลอด โดยส่งนักเรียนนายเรืออากาศไปเรียนไปศึกษาเทคโนโลยรจากต่างประเทศ
ถ้าจะทำจริง ๆ ผมว่าเครื่องบินขับไล่นั้น เทคโนโลยีเรายังไม่ถึงหรอกครับ เอาง่าย ๆ อย่างเรื่องวัสดุ ประเทศเราเทคโนโ,ยีวัสดุศาสตร์ไปถึงไหนกันเชียว
คงต้องอาศัยความร่วมมือกับเอกชน รวมถึงมหาวิทยาลัย มาร่วมกับทหาร เพราะงานนี้ให้ทหารทำยังไงก็ล่มครับ ไม่ใช่ทหารไม่เก่ง
แต่ทหารเราไม่ใช่นักธุรกิจ ถ้าให้เอกชนมาทำจะมีเรื่องธุรกิจมาเกี่ยว และอาจจะได้เข้าประจำการจริง ๆ อีกด้วย
คงต้องเริ่มจากอย่าง บ.ทอ.6 เนี้ยล่ะครับ ไม่รู้ว่าสร้างเข้าประจำการหรือว่าศึกษาเทคโนโลยีกันแน่
ถ้าเราจะไปถึงขั้นเครื่องบินขับไล่เนี้ย เราต้องสร้างเครื่องบินฝึกให้ได้ก่อนครับ ผมเชื่อว่าเทคโนโลยีเครื่องบินฝึกเรายังไม่ห่างมากและคิดว่าตามทัน
สถาบันที่สอนเกี่ยวกับวิศวกรรมการบินในไทยมีเยอะแยะไปครับ จุฬา,เกษตร,มทส. รวมถึงทั้งสถาบันการบินพลเรือน
มันตะถึงเวลารึยัง ที่เราจะต้องเปลี่ยนกฎหมายใหม่เพื่อให้เอกชนมีส่วนร่วมในโครงการผลิตอาวุธของกองทัพได้
ถึงเวลานั้นก็จะเป็น ทหารที่มีหน้าที่ใช้อาวุธและเอกชนที่มีหน้าที่ผลิตอาวุธ คิดว่ามันต้องเป็นแบบนี้ล่ะครับ
ผมอยากให้ ทอ.ใช้เครื่องบินรบที่มีพื้นฐานเป็นได้ทั้งเครื่องบินฝึกชั้นสูง เครื่องบินขับไล่โจมตี
ผมมองว่าตอนนี้ F-5 ก็สามารถเป็นตัวอย่างได้ดีของเครื่องบินแนวนี้ครับ เราใช้ F-5 มานานเกือบ 50 ปี เป็นเครื่องบินที่ซับซ้อนน้อย ราคาประหยัด ผมไม่รู้ว่าจะสามารถ re engineering F-5 ได้หรือไม่ เหมือนที่เรากำลังสราง บ.ทอ.6 แต่ปรับปรุง avionics ให้ใช้ bvr ได้ เราสร้าง F-5 2 ที่นั่ง ระบบ avionics ระดับเดียวกับ L-39 alpha jet ใช้สำหรับฝึกขั้นสูง ส่วนฝูงขับไล่หลัก 5 ฝูงก็ใช้ ที่นั่งเดี่ยว ระบบ avionics ชั้นสูง ใช้เครื่องบินน้อยแบบเพื่อง่ายต่อการส่งกำลังบำรุง พึ่งพาตัวเองเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคง
ผมดูตัวอย่างปากีสถาน เขาสร้างเครื่องบินฝึกใบพัด แล้วก็ก้าวกระโดดมาสร้าง JF 17 ได้เลยครับ
ขออีกรอบ >< reverse engineering หรือวิศวกรรมย้อนกลับเนี้ย ถ้าเราจะทำจริง ๆ กับ F-5 หรือ F-16
เราต้องมีเทคโนโลยีระดับเดียวกันหรือใกล้กันซะก่อน ถึงจะศึกษาได้ ดังนั้นเราต้องค่อย ๆ ไต่เต้าขึ้นไปครับ
จาก บ.ฝึกใบพัดขั้นต้น ไปเป็น บ.ฝึกใบพัดขั้นปลาย ต่อไปอาจจะได้ บ.โจมตีใบพัด เราก็ไปต่อเรื่อย อาจจะใช้เวลานานเป็นสิบปีหรืออาจจะนานกว่านั้น แต่เราก็ต้องทำ หากเราอยากจะมีเครื่องบินขับไล่สัญชาติไทย
ถ้าพูดถึ่งเรื่อง re -engineering F-5 ต้องยกให้ อิหราน อย่างเจ้า HESA Saeqeh ที่แตกต่างจาก F-5 คือ แพนหางสองอัน เคยเห็ยข่าวอิหรานว่าคุณภาพเทียบเท่า F-16
นี้รูป f-5
เมื่อครั้ง 2-3 ที่ผ่านมาที่เหตุเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐตกต่ำมีหลายบรฺษัทในประเทศไทยต้องปิดตัวเองไปหลายบริษัท มีหลายบริษัทในประเทศไทยที่ผลิตชิ้นส่วน OEM ให้กับบริษัทด้านอากาศยานของสหรัฐก็จำต้องปิดตัวไปด้วย เนื่องจากบริษัทแม่หรือบริษัทที่สั่งจ่างผลิตชะลอและยกเลิกการผลิตไป หากภาครัฐส่งเสริมอุตสาหกรรมด้านนี้ก็คงดี
แก้ เมื่อครั้ง 2-3 ปี ที่ผ่านมา
เคยอ่านมาว่า HESA Saeqeh สามารใช้อาวุธปล่อย BVR และจรวดต่อต้านเรือ C-802 ได้ครับ
F-5 มันไม่ใช่เครื่องบินรุ่นใหม่ที่ซับซ้อนครับ ขอให้ ทอ.สะสม milestone ไปเรื่อยๆ ต้อง re engineering ได้ แล้วใช้ ระบบ avionics ที่ทันสมัยแบบ jas 39 วิจัยและพัฒนาสีทาเครืองบินที่ดูดซับคลื่นเรดาห์ ก็สเตลท์ย่อมๆนี่เอง
แนวคิดที่ว่าให้เอกชนร่วมมือกับกองทัพเพื่อการพัฒนาตามวิธีของท่าน skywalker เป็นแนวคิดที่ดีมากครับ แต่จะดูถูกตัวเองถึงขนาดนั้นมันก็ไม่ถูกนะครับ พลังทางอุตสาหกรรมเราก็ไม่ได้แย่ขนาดแค่ว่ามีปัญญาทำได้แค่เครื่องบินใบพัด เครื่องเจ็ตน่ะจะเอาจริงๆ ทุ่มกันจริงๆเราก็ทำได้ ปัจจุบันที่ไม่ไกล้าก็แค่กลัวความเสี่ยงทางอุตสาหกรรมเท่านั้น ทอ.น่ะเข็ดขยาดจากการพยายามทำเองมาแล้วคราวเครื่อง Fantrainer ที่ร่วมมือกับทางเยอรมัน แค่ล้มครั้งเดียวก็ถอดใจไปเป็นสิบปี
งานนั้นที่ล้มเพราะทหารผูกขาดมากเกินไป โดนบริษัทฝรั่งหลอกเอาว่าเครื่องยนต์ดัชท์แฟนมันดี ถ้าลองให้เอกชนไทยร่วมจอยในโครงการด้วยในคราวนั้น รับรองว่าบริษัทเอกชนไม่เอาด้วยแน่ๆน่ะไอ้เครื่องยนต์ดัชท์แฟน น่ะห่วยจะตาย ขนาดเครื่อง RC เดี๋ยวนี้ยังแทบจะเลิกใช้กันแล้ว
แนวคิดที่ให้กองทัพเป็นหัวหอกนำในเรื่องการพัฒนาโดยพ่วงเอาเอกชนที่มีความชำนาญด้านการผลิตและการตลาดมาเป็นตัวเสริมและจอยกับต่างชาติทีมีความพร้อมทางเทคโนโลยีและการตลาดสูงๆ อย่างนั้นมีความเสี่ยงทางอุตสาหกรรมน้อยกว่ามาก เลือกยริษัทต่างชาติยักษ์ใหญ่มีชื่อเสียงไปเลย เช่น ล็อคฮีด ซูคอย KAI SAAB เพราะนอกจากมีเทคโนโลยีที่ยอดเยี่มแล้ว เขายังมีตลาดคอยรองรับให้เราในฐานะฐานการผลิตด้วย
ทร. กำลังทำไปตามแนวคิดนี้ ถ้าทร.ผลักดันโครงการ OPV ให้เอกชนต่อเองที่เหลือ 5 ลำ การที่จะให้เอกชนรายใหญ่สามารถต่อเรือฟรีเกตป้อนให้ทร.พร้อมๆกันหลายลำได้ในเวลาอันสั้นก็ไม่ไกลเกินฝัน ซื้อแบบร่วมมือทางอุตสาหกรรมกับต่างชาติ ร่วมมือกับทางเอกชนของไทยเองวางแผนการผลิตอย่างเป้ฯระบบ กองทัพเป็นหัวหอกในการนำในการคิดและสร้าง Demand ขึ้นให้มากพอที่จะมีเสกลการผลิตได้คุ้มค่า เอกชนไปเป็นหัวหอกด้านการตลาดและการผลิต แบบนี้ครับโตไว
ไม่เชิงดูถูกหรอกครับ คุณ neosiamese2 แบบว่าเราก็ติเพื่อก่ออ่ะ กองทัพของประเทศเรา เราก็รัก เราก็หวังอาจ
อาจใข้คำแรงไปนิดนึง ขอโทษด้วยคร้าบบบ ^^
อันนี้เป็นบทความเรื่อง Fantrainer ลองไปอ่านดูครับ ได้ความรู้มากทีเดียว อ่านแล้วมันก็จริงของที่เสี่ยเค้าบอกอ่ะ
ส่วนเรื่องที่จะทำเครื่องบินอย่างว่าล่ะครับ ถ้าเราทำจริงอ่ะมันทำได้ แต่จะเอาเข้าประจำการรึเปล่ามันก็อีกเรื่องนึง
อย่างเรื่อง uav ของทหารที่ทำเอง ดังอยู่สักพัก มันก็เงียบไป เห้อ - -" สุดท้ายก็ไปซื้อของมาเลมาใช้ เซงอ่ะ!!
ผมขอถามเรื่องสิทธิ์บัตรนิดนึงครับ หากเราจะ reengineering โดยไม่ต้องขออนุญาติจากผู้ผลิตเดิมได้หรือไม่ หรือทำได้โดยห้ามขายคนอื่น หรือยังไงครับ
ลืมให้ลึ้งบทความ - -" เกี่ยวกับ Fantrainer
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=26-08-2009&group=2&gblog=151
สิทธิบัตรมีอายุครับ ไม่แน่ใจว่า 15 หรือ 20 ปี กรณี F-5 นี่หมดอายุสิทธิบัตรไปนานแล้วครับ จะลอกแบบก็ได้ครับ แต่แผนแบบล้าหลังไม่ทันยุคนี้แล้วครับ