หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เรือฟริเกตสมรรถนะสูงชุดต่อไปจะต่อเองในประเทศมั้ยครับ

โดยคุณ : intelligent เมื่อวันที่ : 01/02/2012 10:11:17

ตอนนี้เรามีศักยภาพที่จะต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งได้เองแล้ว ซึ่งเป็นมาตรฐานเรือรบ ดังนั้นคิดว่าเรือฟริเกตสมรรถนะสูงชุดต่อไปเราจะต่อที่บริษัท อู่กรุงเทพมั้ยครับ





ความคิดเห็นที่ 1


ผมอยากให้มีใจจะขาด และเชื่อว่าจะได้เห็นในช่วงชีวิตของพวกเราแน่นอน แต่ยังไม่ใช่ใน4-5ปีนี้ครับ

 

ช่วง4-5ปีนี้เราน่าจะยังง่วนอยู่กับการต่อOPVลักษณะเดียวกับรล.กระบี่ให้ครบ6ลำตามที่ต้องการก่อน 2ลำท้ายอาจมีการทดลองติดอาวุธให้เป็นเรือคอร์เวต , เมื่อไหร่ที่เริ่มมีการทดลองต่อเรือขนาดระวาง2,000ตันด้วยโครงสร้างเรือรบ เมื่อนั้นก็ใกล้เต็มทีแล้วครับ

โดยคุณ E_mail เมื่อวันที่ 29/01/2012 13:34:07


ความคิดเห็นที่ 2


ครั้งแรกที่ได้เห็นภาพข่าวเรือหลวงกระบี่ ผมดีใจจนขนลุกซู่เลย ดีใจมากๆ และดีใจทุกครั้งที่ได้เจอข้อมูล ว่าเราทำได้ถูกกว่าOPVที่มาเลเซียสั่งซื้อตั้งครึ่ง , เราทำได้เจ๋งกว่าเรือที่เวียตนามหัดต่อตั้งเท่าตัว , ดีใจที่ได้รู้ว่าอู่บางกอกเป็นของคนไทย100% ฯลฯ

โดยคุณ E_mail เมื่อวันที่ 29/01/2012 13:37:58


ความคิดเห็นที่ 3


^

^

อยากได้ ข้อมูลเพิ่มเติม เท่าที่ให้ได้นะครับ จากคุณ E_mail

จะได้ขนลุก ด้วยนะครับ

โดยคุณ ssjojo เมื่อวันที่ 29/01/2012 22:18:43


ความคิดเห็นที่ 4


    ภาวนาอยู่ครับ   ถ้าทร.จะต่อเองจริงๆคงต้องให้เวลาสัก 2-3 ปีนะครับ  กำหนดความต้องการ ร่างแบบ   ระหว่างนี้ก็ลุย OPV ชุดนี้ไปเรื่อยๆ   ดูความตั้งใจของทร.เรื่องเทคโนโลยีเรือดำน้ำแล้วคิดว่าเรื่องเรือฟรีเกตอาจจะให้เรามีเฮกันอีกรอบ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 29/01/2012 23:31:28


ความคิดเห็นที่ 5


    อู่ต่อเรือในประเทศที่น่าจะสามารถเรียนรู้การต่อเรือแบบบล็อคและมีอ่แห้งกับสลิปเวย์์ใหญ่พอรองรับเรือชนาด 5000 ตันก็มี

  อู่ราชนาวี

  อู่ต่อเรือกรุงเทพ

  อู่อิตัลไทยมารีน

  อู่ยูนิไทย


ส่วนอู่มาซัน และ อู่เทคนอติค  นั้นผมไม่แน่ใจว่าจะมีสลิปเวย์ใหญ่พอหรือเปล่า  แต่อู่แห้งน่าจะไม่ใหญ่พอน่ะครับ   ดูจากคลิปที่เพื่อนเอาลงไว้เห็นทางทร.เอาบุคคลากรจากข้างนอกมาเรียนรู้การต่อเรือOPV ด้วย  อาจจะเป็นเจ้าหน้าที่ของอู่เอกชนที่ว่ามาก็ได้ครับ   วานผู้รู้แจงทีนะครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 29/01/2012 23:39:43


ความคิดเห็นที่ 6


เท่าที่ทราบนะครับ   ในการต่อเรือOPV ก็มีปัญหากันเยอะมาก ส่วนมากจะมาจากตอนที่ฝนตก แล้วไม่สามารถเชื่อมต่อไปได้ บางทีก็เกิดความชื้นในรอยที่เชื่อมแต่ยังไงตอนนี้ผมก็อยากให้กองทัพเรือจัดหางบ มาสร้างโรงต่อเรือโดยเฉพาะมากกว่า ซึ่งที่ผมเห็น ในพื้นที่แถวๆอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช  ข้างกัน จะมีพื้นที่เหลือซึ่งผมว่ามันเป็นพื้นที่สำหรับที่เขาเตรียมไว้ที่จะสร้างอู่ต่อเรือเพิ่มหรือโรงต่อเรือ ซึ่งถ้าเป็นโรงต่อเรือ ก็จะสามารถเพิ่มเวลาในการต่อเรือเป็นบล๊อคได้สดวกมากขึ้น พอฝนตกก็จะได้ไม่ต้องหยุดงานกัน จะได้ทำต่อ    

สิ่งแรกที่ผมอยากให้กองทัพเรือ สร้างอู่ต่อเรือหรืออู่ที่มีหลังคาสามารถทำงานได้ตลอดเวลา  แล้วเราก็ลุยงานการต่อเรือแบบจริงจังกันเลย

โดยคุณ kok129 เมื่อวันที่ 30/01/2012 03:39:48


ความคิดเห็นที่ 7


ผมเห็นว่า เรือหลวงกระบี่ ถือว่าอยู่ในระดับเดียวกับเรือคอร์เวตแล้วครับ หากเลือกติดอาวุธหนัก จรวดต่อสู้เรือ จรวดพื้นสู่อากาศแท่นยิงแนวตั้ง ระบบอาวุธปล่อยป้องกันตัวเองระยะประชิด และตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำ

โดยคุณ intelligent เมื่อวันที่ 30/01/2012 04:14:11


ความคิดเห็นที่ 8


นี้ยังดีนะครับ ที่เราต่อเรือ OPV ได้สำเร็จ ไม่เช่นนั้นอายพม่าแย่เลย เพราะพม่าเขาต่อเรือฟริเกตได้มาตั้งนานแล้ว

โดยคุณ intelligent เมื่อวันที่ 30/01/2012 04:16:39


ความคิดเห็นที่ 9


ตอบคุณ : kok129 นะครับ

 

อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดชมีส่วนหนึ่ง(ครึ่งหนึ่งได้)เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนอะครับ น่าจะเป็นที่ว่างๆตอนนี้นั้นแหละครับ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดชเคยมีวิกฤตการเงินถึงขนาดจะขายให้เอกชนมาแล้วอะครับในสมัย... เพราะขาดงบสนับสนุนอย่างมาก จนมาถึงสมัย... เค้าก็ยังขาดงบอยู่ แต่เค้าแก้ปัญหาทั้งหมดโดยการรวมทุนกับเอกชนแทน ทำให้มีทุนเพียงพอดำรงสภาพอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดชไว้ได้ ไม่รู้ว่าที่ไม่สร้างโรงต่อเรือเลย เพราะขาดเนื้อที่หรือขาดงบกันแน่

โดยคุณ potmon เมื่อวันที่ 30/01/2012 05:17:47


ความคิดเห็นที่ 10


บริษัท สยามคราฟ เช่าไว้ครับ

โดยคุณ su37 เมื่อวันที่ 30/01/2012 07:03:57


ความคิดเห็นที่ 11


มีโอการสเป็นไปได้สูงมากครับ ผมว่าไม่เกิน 50 ปีเริ่มแน่นอน

แต่คงต้องรอ ชุด Opv เสร็จทั้งหมดก่อน

 

เพราะขั้นตอนการก่อสร้างเรือ Opv ไทย ทางกองทัพได้เรียกวิศวะกรของบริษัทและหน่วยงานต่างๆ

ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการต่อเรือให้มาดูขั้นตอนการสร้างเรือ Opv ลำนี้

และได้คัดเลือกบุคลากรของอู่ต่อเรือในประเทศไทยหลายที่ในการสร้างเรือครั้งนี้ด้วย

โดยคุณ pushbutton เมื่อวันที่ 30/01/2012 07:20:40


ความคิดเห็นที่ 12


แก้หน่อย 0 เกินมาตัวคงไม่เกิน 5 ปีมีการเริ่มแน่

ไม่ใช่ 50 ปีครับโทษที ==

โดยคุณ pushbutton เมื่อวันที่ 30/01/2012 07:22:23


ความคิดเห็นที่ 13


ผมคิดว่าน่าจะเป็น ขยายแบบ และ ขยายภาระกิจ เป็นเรือรบแบบ Multi role เหมือนกับโครงการ FSC ( Future Surface Combatant ) ของ ราชนาวี อังกฤษ ครับ...

คือ ราชนาวีอังกฤษ ได้แบ่งเรือออก 3 ประเภท คือ แบ่งแบบเรือเป็น C1 - C3

C 1 จะเป็นเรือรบขนาดใหญ่ ขนาด 6000 ตัน เน้นภาระกิจต่อต้านเรือดำน้ำ

C 2 จะเป็นเรือรบขนาด 4000 - 5000 ตัน จะเป็นภาระกิจ 2 มิติ เหมือนเรือรบในปัจจุบัน

และ C 3 จะเป็นเรือรบขนาด 2000 - 3000 ตัน จะเป็นเรือลาดตระเวณ หรือ รักษากฎหมายทางทะเล โดยมีสามารถทำภาระกิจ ต่อต้านทุ่นระเบิด ไกลฝั่ง ได้ด้วย

ซึ่งบริษัท VT ที่เป็นบริษัทเดียวกับที่ ทร. ซื้อแบบมา ก็เคยเสนอแบบให้ ราชนาวี พิจารณา ในคุณลักษณะเรือแบบ C 2 และ C 3 ให้ราชนาวีอังกฤษ ด้วย....

ซึ่งแบบเรือ ถ้าสังเกตุจะเห็นว่า มีส่วนคล้ายกับแบบ ร.ล.กระบี่ ของ ทร.ไทย มากครับ....

ก็อาจจะเป็นไปได้มากว่า ทร. น่าจะขยายแบบเรือ และได้คุณลักษณะเรือ แบบ C 2 และ C 3 ของราชนาวีอังกฤษ....

คือแบบเรือ 1 ลำ สามารถทำภาระกิจได้หลากหลาย คือ

- ต่อต้านภัยทางอากาศ

- ต่อต้านภัยทางผิวน้ำ

- ต่อต้ายภัยใต้น้ำ ทั้งจาก เรือดำน้ำ และ ทุ่นระเบิด

- รักษากฎหมายทางทะเล ในระยะ ไกลฝั่ง หรือ น่านน้ำสากล ได้

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 30/01/2012 07:48:26


ความคิดเห็นที่ 14


แก้ไข ข้อความครับ C 2 เน้นภาระกิจ 3 มิติ เหมือนเรือรบในปัจจุบัน

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 30/01/2012 07:49:29


ความคิดเห็นที่ 15


ตามภาพ ในแบบ C 3 จะเห็นท้ายเรือ ติดตั้งเครื่องลากอุปกรณ์ตรวจจับทุ่นระเบิด  หลัง ลานจอด ฮ. โดยลานจอด ฮ.จะรองรับ ฮ.แบบ Lynx และ EH-101 ได้ ซึ่งผมคิดว่า น่าจะติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับเรือดำน้ำ ทั้งแบบ โซนาร์ ติดตั้งในตัวเรือ และ แบบลากท้าย ด้วย...คือ สามารถปราบเรือดำน้ำ โดยใช้ ฮ. ประจำเรือ

โดยมีปืนเรือ ขนาด 3 - 4 นิ้ว หน้าเรือ และปืนน่าจะขนาด 30 ม.ม. ข้างเรือ ซ้าย และ ขวา และมีระบบเป้าลวง...(ซึ่งเหมือนกับคุณลักษณะเรือ OPV ในปัจจุบัน)

ส่วนในแบบ C 2 ก็จะเพิ่ม CIWS ท้ายเรือ และเพิ่ม อาวุธนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ และ หลังป้อมปืนหน้า ติดตั้ง VLS สำหรับ SAM (ซึ่งเหมือนกับคุณลักษณะเรือรบผิวน้ำในปัจจุบัน)

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 30/01/2012 07:59:00


ความคิดเห็นที่ 16


อยาก ทำเรือ ชั้นเเบบประมาท คิรอฟจัดหนักเครื่องยนต์ที่พลังนิวเคลียร์ไปเลย 

โดยคุณ PROTOTYPE เมื่อวันที่ 30/01/2012 08:41:59


ความคิดเห็นที่ 17


    ผมก็คิดเหมือนป๋าจูลครับว่าทร. น่าจะขยายแบบโดยใช้หลักแนวคิดเหมือน C-2 C-3  เพราะทร.เองอีกไม่นานก็ต้องปลดเรือชั้นน็อคซ์ทั้งสองลำ   ดังนั้นถ้าจะต่อเรือฟรีเกตใหม่ก็น่าจะเป็นการเผื่อไว้ด้วยว่าจะสามารถปรับภาระกิจเรือได้ด้วยแบบตัวเรือแบบเดียวกัน   เครื่องยนต์แบบเดียวกัน   ระบบตรวจจับพื้นฐานระบบอำนวยการรบแบบเดียวกัน   ต่างกันที่ระบบอาวุธและระบบตรวจจับพิเศษสำหรับภาระกิจนั้นๆ   ระวางขับน้ำน่าจะอยู่ราวๆ 3000 - 4000 ตัน  ซึ่งมีอู่ต่อเรือในประเทศที่น่าจะมีความพร้อมแล้วเมื่อถึงเวลานั้น 4 อู่     ผมจับตาดูอยู่ครับ   ถ้าเรือฟรีเกตชุดนี้ถูกเข็นออกมาโดยออกแนวคิดแบบนี้   ประเทศเราก็ถือว่ามีศักยภาพที่จะพัฒนากำลังทางทะเลด้วยขาตนเองเต็มที่แบบชาติตะวันตกหรือแบบเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จีน สักทีครับ     เพราะมันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญมากครับ  เหมือนเกาหลีใต้ที่ออกแบบต่อเรือฟรีเกต KD-1 ออกมาใช้เอง   จากนั้นทร.เกาหลีใต้ก็ก้าวกระโดดทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี  รวมทั้งกำลังทางเรือแบบแทบจะพลิกจากหน้ามือเป็นหลังเท้าด้วยเวลาสั้นๆ 

    เรือขอให้ทำได้จริงออกมาดีมากๆเถอะ....ทร.และประเทศเราจะได้ถึงจุดเปลี่ยนทางเทคโนและกำลังทางทะเลซะทีครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 30/01/2012 08:44:42


ความคิดเห็นที่ 18


ผมอยากให้มีการปรับปรุงท่าเรือครับ สร้างอาคารสถานที่ขนาดใหญ่สำหรับต่อเรือ(เวลาทำงานเชื่อมก็ไม่ต้องกลัวฝน ไม่ต้องทนร้อนกับแสงแดด ระยะเวลาในการสร้างเรือก็เร็ว ) เครนให้มีขนาดใหญ่ขึ้น(สามารถที่ยกblock ชิ้นส่วนได้ใหญ่ขึ้น) และอื่นๆ

โดยคุณ sam เมื่อวันที่ 30/01/2012 09:21:43


ความคิดเห็นที่ 19


ส่วนตัวผมมองไปในแนวทางเดียวกับ ป๋าจู ครับ แต่ไม่อยากให้อู่ของกองทัพเรือดำเนินการต่อเองทั้งหมด อู่ของกองทัพเรือนั้นควรเน้นไปที่การซ่อมบำรุงเรือที่ใช้อยู่และทำหน้าที่ติดตั้งระบบอาวุธ ส่วนการต่อตัวเรือนั้นอยากให้กองทัพเรือไปว่าจ้างอู่เอกชนโดยส่งเจ้าหน้าที่ไปควบคุมดูแลและกำกับ(จากประสปการณ์ส่วนตัวนั้น ถ้าไม่ไปกำกับมีผิดแบบในบางจุดแน่นอน) แล้วจึงส่งมายังอู่ของกองทัพเรือเพื่อดำเนินการติดตั้งระบบอาวุธ ซึ่งงานนี้กองทัพเรือเรามีประสปการณ์อยู่แล้วครับ ผมว่าการต่อเรือฟริเกตนั้นเราทำได้แน่นอน อยู่ที่จะเริ่มต้นที่จะทำเมื่อไหร่ เพราะถ้าไม่เริ่มก็ไม่รู้ปัญหาที่แท้จริง ไม่ใช่จะกล่าวแต่ว่า เราเทคโนโลยีไม่พร้อม หรือ ขีดความสามารถยังไม่ถึง บุคลากรยังไม่มีความรู้ ทั้งๆที่ยังไม่เคยลงมือจริงแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเราไม่พร้อมหรือประสปปัญหาจริงๆตรงจุดไหน เริ่มต้นเถอะครับ แต่ทั้งนี้ไม่ใช่เริ่มที่กองทัพเรือนะครับ เพราะผมรู้ว่ากองทัพเรือนั้นอยากและรอจะทำเต็มที แต่อยู่ที่ผู้อนุมัติและทัศนคติ

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 30/01/2012 20:50:56


ความคิดเห็นที่ 20


สนับสนุนแนวคิดท่านจุล...

สนับสนุนแนวคิดให้เอกชนต่อเรือของท่านเด็กทะเล

สนับสนุนสร้างโรงต่อเรือ...ที่มีหลังคาคลุมขนาดใหญ่...

สนับสนุน..ให้อู่ต่อเรือของกองทัพดูแลซ่อมบำรุง จัดวางออกแบบพัฒนาแก้ไข ระบบอาวุธ..ส่วนการต่อเรือแบ่งงานให้เอกชนไปทำ..เงินทุนหมุนเวียนครับ

น้ำจะท่วมโลก..แต่พอดีกองทัพเรือไทย..อยู่กับน้ำครับ 55555

โดยคุณ tks เมื่อวันที่ 30/01/2012 22:52:23


ความคิดเห็นที่ 21


     ดังที่ท่าน tks ว่าล่ะครับ  ถ้าทำได้ก็จะเป็นการแสดงศักยภาพในด้านอุตสาหกรรมต่อเรือโดยมีกองทัพเรือเป็นหัวหอก   จากนั้นคงต้องให้รัฐสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมนี้รวมทั้งภาคขนส่งทางทะเล   โดยจัดเป็นคลัสเตอร์ทางอุตสาหกรรม แบบว่า

 - บริษัทเดินเรือในประเทศบริษัทไหนต้องการเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยกี่ปีก็ว่าไป   แต่ต้องต่อเรือในประเทศนะ   งานนี้คงต้องให้อู่ในประเทศมีสลิปเวย์และโรงต่อรองรับเรือขนาด 50,000-60,000 ตัน   เพราะเป็นขนาด Handycap ที่บริษัทเดินเรือในประเทศ 3 บริษัทสำคัญใช้อยู่ (TTA  PSL  RCL)  ทั้งแบบเรือเทกองและเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ 

 - ให้เงินกู้ต้นทุนต่ำแก่บริษัทอู่ต่อเรือเพื่ออขยายขนาดโรงต่อ  สลิปเวย์  อู่แห้ง  อุ๋ลอย  เพื่อรองรับเรือขนาด Handycap  

 - สนับสนุนอุตสาหกรรมถลุงเหล็กดิบ และ mild steel ที่เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ  

 - สนับสนุนทร.ให้ผลักดันโครงการต่อเรือรบประสิทธิภาพสูงมากๆโดยผลักดันงานให้ภาคเอกชน   เพื่อจะทำให้เอกชนมีขีดความสามารถทางอุตสาหกรรมและความชำนาญสูงขึ้นครับ   เรือรบนี่เป็นอะไรที่โชว์ความสามารถของอู่ต่อเรือนั้นๆเลย 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 30/01/2012 23:42:18


ความคิดเห็นที่ 22


แห่ม...คุณ su37 ผมไม่รู้เลยครับ บริษัท SKIC ที่ผมทำงานอยู่ เป็นผุ้เช่าไว้ ....

โดยคุณ May เมื่อวันที่ 31/01/2012 01:11:27


ความคิดเห็นที่ 23


แนวทางที่ท่าน NEOSIAMESE2

แบบนี้เรียกว่าบูรณาการครับ เพราะเกิดอะไรขึ้นมาทางทะเล ระบบ LOGISTIC,ACCIDENT (RESCUE,SEA STORM),WAR, ,TANKER  กองทัพเรือ มีแต่ได้กับได้ครับ

ขนาดนึกถึงไปก๊อปปี้แบบ U206A มาแล้วนำมาตรวจการพื้นพิภพ เชิงอนุรักษณ์ลำเล็กๆ มีระบบ AIP อยู่ในตัวดำได้ 3 วัน ก็โหอย่าให้นึกเลย

เรือดำน้ำเชิงพานิช....5555555

โดยคุณ tks เมื่อวันที่ 31/01/2012 02:58:39


ความคิดเห็นที่ 24


   ไม่ใช่ความคิดของผมหรอกครับม่าน tks ผมเอามาจากคนเกาหลีน่ะครับ   พอเกาหลีใต้ต่อเรือชุด KDX-1 ออกมาแล้วนำเรือชุดนี้อวดธงไปทั่ว  ซึ่งก็มาเมืองไทยด้วย  นานแล้วล่ะครับ   ผมก็ตกใจที่เกาหลีสามารถต่อเรือรบระดับ world class แบบ MEKO ได้    เลยไปสืบค้นข้อมูลครับ    จึงพบว่าทร.และรัฐบาลเกาหลีใต้เขาต้องการให้เรือชั้นนี้เป็นเหมือนหลักไมล์ของอุตสาหกรรมต่อเรือของเขานะครับ    โชว์ขีดความสามารถ   แล้วภาครัฐของเขาก็ดำเนินโครงการคลัสเตอร์อุตสาหกรรมต่อเรือและการขนส่งทางทะเลอย่างจริงจัง  จนตอนนี้เกาหลีใต้ครองภาคอุตสาหกรรมนี้เป็นอันดับ 1 ของโลก    เขี่ยญี่ปุ่นตกกระป๋องไป    ทางเขากำหนดชัดเจนว่าทางอู่ฮุนไดจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก    แล้วบริษัทเดินเรือเกาหลีก็ได้ ซับไซดี จากรัฐบาลเกาหลีใต้เต็มสูบครับ   จึงเป็นเหตุให้เกาหลีใต้กลายเป็นยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมต่อเรือและพานิชย์นาวีชั่วข้ามคืนครับ  

   จากความสำเร็จด้านนี้   ทำให้ต้นทุนการต่อเรือต่ำกว่ายุโรปกว่าครึ่งและคุณภาพสูง   ทร.เกาหลีใต้เลยรับอานิสงค์ไปเต็มๆครับ   เพราะเรือรบระดับ KDX-2  KDX-3   FFX  ราคาแค่ครึ่งเดียวของที่ชาติมหาอำนาจจัดหาครับ   ด้วยเงินเท่ากัน  ทร.เกาหลีใต้จึงสามารถจัดหาจำนวนเรือได้มากกว่าเดิม 2 เท่าครับ   

    แหม  KDX-3 หรือเรือเอจีสเวอร์ชั่นเกาหลีใต้   ราคาแค่  36,000 ล้านบาท      ระวางขับน้ำ 10,000 ตันจะหาซื้อได้ที่ไหนในชาติตะวันตกล่ะครับ   เรือแบบนี้ราคา 60,000 ล้านนะครับ

   ตอนนี้ทร.เกาหลีใต้มีขีดความสามารถพอๆกับทร.อังกฤษ   ขาดก็แต่เรือดำน้ำนิวเคลียร์เท่านั้นแหล่ะครับ   แต่ก็อีกไม่นานแล้วเพราะโครงการเรือดำน้ำนิวเคลียร์ขนาด 4000-6000 ตันที่ออกแบบเองต่อเองก็เป็นรูปร่างชัดเจนมากขึ้น    

   KDX-1 ก็เป็นหลักไมล์ของเขาได้    ทำไมเรือชุดนี้จะเป็นหลักไมล์ของเราไม่ได้บ้างล่ะครับ


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 31/01/2012 03:24:14


ความคิดเห็นที่ 25


ทุกสิ่งทุกอย่างก็อยู่ที่การสนับสนุนจากภาครัฐอย่างจริงจังครับ ถ้าภาครัฐของเรายังไม่เห็นความสำคัญมันก็ไม่เกิด รำพังแค่ให้กองทัพดำเนินการมันไม่เพียงพอครับหรือเกิดได้ก็ไม่สามารถต่อยอดไปได้ ปัญหามันอยู่ที่กฏหมายของเราด้วยเอกชนไม่สามรถดำเนินการอะไรได้มากนอกจากการเป็นคู่สัญญาเท่านั้น

ส่วนเรื่องความสารถในการต่อเรือนั้นเราทำได้แน่นอนครับ วิศวกรเราก็มีมากมายที่ไปอยู่กับบริษัทต่างประเทศกลายเป็นปัญหาสมองไหลออกนอกประเทศ สิ่งต่างๆที่กองทัพได้ทำการวิจัยและพัฒนาส่วนมากจะแป็กที่คำว่า ผลเป็นที่น่าพอใจจึงเห็นควรสรุปผลการวิจัยเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อไป เพราะว่าขาดงบประมาณ ถึงแม้ว่าปัจจุบันเริ่มจะเห็นความก้าวหน้าของโครงการต่างบ้างแล้วแต่ถ้าเมื่อไหร่งบขาดก็อาจจะเป็นอย่างคำที่ว่าไว้ครับ

รัฐต้องกล้าครับ ถ้ารัฐไม่กล้าเราก็คงต้องซื้อใช้วันยังค่ำ เริ่มต้นจากจุดเล็กๆที่มีคนทำไว้แล้วต่อยอดไปเรื่อยเหมือนยอดตำลึงสักวันมันก็จะเต็มหลังคาบ้าน

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 31/01/2012 06:47:34


ความคิดเห็นที่ 26


นึกถึง ตอนที่ ทร.ส่งเรือไปช่วยปราบปรามโจรสลัดที่อ่าวเอเดน..

มีTANKER สิมิลัน ไปเป็นพลาธิการ แถม ประชุมผ่านดาวเทียมมาประเทศไทย

ดาต้าลิ๊งค์ไม่เบา(VIDEO CONFERRENCE) กลางทะเล 55555

ดีนะไม่สั่งยิงโจรสลัด จาก 911 ที่ลอยลำอยู่ในอ่าวไทย 55555

โดยคุณ tks เมื่อวันที่ 31/01/2012 23:11:18