หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เพื่อน ๆ สมาชิกคิดยังไงกับข่าวไทยรับรองเอกราชปาเลสไตน์ ครับ (ซ้ำขออภัยครับ)

โดยคุณ : InFerNo เมื่อวันที่ : 01/02/2012 00:52:47

คือ อยากทราบทัศนะของเพื่อน ๆ สมาชิกในเวบ ครับ (ถ้ากระทู้ซ้ำขออภัยนะครับ)





ความคิดเห็นที่ 1


ก็ ดี 

โดยคุณ netazyr0 เมื่อวันที่ 28/01/2012 03:17:41


ความคิดเห็นที่ 2


โดยส่วนตัวก็ก็เห็นด้วยนะ
ไอ้กันมันแสบ 55555 

โดยคุณ InFerNo เมื่อวันที่ 28/01/2012 05:50:18


ความคิดเห็นที่ 3


โดยส่วนตัว ไม่เห็นด้วยนะครับ แต่ก็เข้าใจเหตุผลที่ รบ.ทำด้วย เลยคิดว่าไม่เสียหายอะไร ผมมีคลิปสนุกๆ"เจาะข่าวตื้น" มีหลายตอน ตอนนี้เป็นประวัติของชาวปาเลสไตน์ด้วยดูกัยง่ายๆ ขำๆไป เลยเอามาให้ดูกัน


http://www.youtube.com/watch?v=wV4RiHxbQzE&feature=player_embedded

 

ลงคลิปไม่เป็น(ใครช่วยสอนที ผมมองไม่เห็นมี tool ลงคลิปด้วยอะ)

โดยคุณ potmon เมื่อวันที่ 28/01/2012 12:20:06


ความคิดเห็นที่ 4


โดยคุณ potmon เมื่อวันที่ 28/01/2012 12:34:01


ความคิดเห็นที่ 5


ลงเป็นแล้ว ตั้งแต่นาที 4.50  นะครับ

โดยคุณ potmon เมื่อวันที่ 28/01/2012 12:40:57


ความคิดเห็นที่ 6


ได้สาระ เข้าใจง่าย ไม่ต้องไปนั่งอ่านเป็นสิบ ๆ หน้า แถมสนุกดีครับ
ขอบคุณสำหรับคลิบดี ๆ ครับ

 

โดยคุณ InFerNo เมื่อวันที่ 28/01/2012 13:53:39


ความคิดเห็นที่ 7


ก็ ดี  Fire in the hole 

โดยคุณ netazyr0 เมื่อวันที่ 28/01/2012 14:05:27


ความคิดเห็นที่ 8


เป็นการกระทำที่อารยะครับ ดีใจด้วยครับ เขาเป็นประเทศมาก่อนอิสราเอลเสียด้วยซ้ำ อยู่ดีๆ วันดีคืนดีอิสราเอลยึดทั้งประเทศมาเป็นของตัวเอง

ทุกวันนี้คนอิสราเอลชอบคิดว่าอเมริกาอวยปาเลสไตน์ทั้งๆ ที่ตัวเองนั่นแหละได้รับการช่วยเหลือจากอเมริกามหาศาล นิวเคลียร์ไปเอามาจากไหนล่ะ? คงไม่พ้นอเมริกา ถ้าอเมริกาไม่ได้คอยสนับสนุนละก็ ประเทศคงไม่เหลือไปตั้งหลายสิบปีแล้ว

สหรัฐเองความจริงก็ต้องการให้แบ่งประเทศ แต่ค่อนข้างจะเอียงไปทางอิสราเอล เอาจริงๆ แล้วประเทศส่วนใหญ่ของโลกเห็นด้วยกับการก่อตั้งประเทศปาเลสไตน์

อิสราเอลความจริงอยากไล่คนปาเลสไตน์ให้ไปอยู่เลบานอน ซีเรีย จอร์แดนเสียด้วยซ้ำ แต่สมัยนี้มันคงไม่มีใครยอมรับการกระทำอย่างนั้นแล้วแหละ มันจะนาซีไปหน่อย

ทุกวันนี้ที่การเจรจาแบ่งประเทศยังไม่สำเร็จทั้งๆ ที่สองฝ่ายออกมากล่าวว่ายอมรับในหลักการของการคงอยู่ของทั้งสองรัฐ หลักๆ ก็คือเพราะ

1 อิสราเอลอ้างว่า กลุ่มฮามาส (กลุ่มพรรคการเมืองอันดับสองในปาเลสไตน์ หัวรุนแรง และขณะนี้คุม ฉนวนกาซ่าอยู่) ต้องการล้มล้างอิสราเอล (ซึ่งก็น่าจะจริง แต่หากได้ประเทศปาเลสไตน์ที่เป็นเอกราชแล้ว ผมว่าเขาคงไปยุ่งกับการเมืองประเทศตัวเองมากกว่าจะยังมัวต่อสู้) และว่ากันตามจริง อิสราเอลจะไปกลัวอะไรปาเลสไตน์ ผมว่าอิสราเอลเป็นภัยคุกคามต่อปาเลสไตน์มากกว่าปาเลสไตน์จะเป็นภัยคุกคามต่ออิสราเอลเสียด้วยซ้ำ ด้วยเหตุผลข้อนี้ อิสราเอลจึงต้องการให้ปาเลสไตน์เป็นประเทศที่ไม่มีกองทัพ (non-militarized state) ซึ่งพวกประเทศที่เข้าข้างอิสราเอลก็เห็นดีเห็นงามด้วย โดยกองทัพอิสราเอลจะเป็นคนป้องกันภ้ยให้แก่ปาเลสไตน์เอง (ฟังไม่ผิดหรอกครับ)

2 เรื่องเส้นแบ่งแดน ปาเลสไตน์ต้องการให้ใช้เขตแดนก่อนปี 1967 ซึ่งมีส่วนตะวันออกของเยรูซาเล็มอยู่ด้วย และปาเลสไตน์หมายมั่นจะใช้เยรูซาเล็มตะวันออกเป็นเมืองหลง ส่วนอิสราเอลอ้างว่าควรใช้เส้นแดนตามการลงหลักปักฐานของประชาชนในปัจจุบันมากกว่า ก็ง่ายๆ เลยครับ อิสราเอลทำการรุกเข้าไปตั้งหลักแหล่งในปาเลสไตน์มาตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา เพื่อที่ว่าจะได้อ้างว่ามีประชากรอิสราเอลอยู่อาศัย (คุ้นๆ มั๊ยครับ)

ทั้งนี้ประเทศตะวันตกที่เป็นโรคกลัวชาวมุสลิม (islamophobia) และขวาจัด เช่น แคนาดา ออสเตรเลีย เยอรมัน และสหรัฐตัวยง ซึ่งโหวตไม่เห็นด้วยกับการรับปาเลสไตน์เป็นประเทศสมาชิกยุเนสโก ต่างอ้างว่าความขัดแย้งจะแกไขได้ ด้วยการเจรจาระหว่างคู่กรณีเท่านั้น แต่ผมว่านะ ทีความขัดแย้งอื่นๆ นี่เสือกได้ตลอด ทีนีดันมาอ้างเว้ย

ผมว่าประเทศเรานอกจากได้ทำในสิ่งที่ถูกต้องแลัว ยังได้แสดงศักดิ์ศรีของประเทศว่าเราไม่ได้อยู่ภายใต้เงาใคร ไม่ได้เป็นลูกไล่ของนักเลงหน้าไหน 

ทิ้งท้ายนะครับ ปาเลสไตน์ได้รับการโหวตให้เป็น "ประเทศ" สมาชิกของยูเนสโกไปแล้ว

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 28/01/2012 16:29:30


ความคิดเห็นที่ 9


ปัจจุบันเห็นว่าอิสราเอลยังปลูกบ้านราว 1,000 ยูนิต เปิดขายให้ประชาชนในเขต(ไหนจำไม่ได้ อ่านในเวบไซต์ไหนสักแห่ง)
เหมือน ๆ ข้อ 2 ของคุณ tongwarit บอกไว้ เหมือนเพื่อนบ้านแถว ๆ นี้ แหละมั้งครับ

แล้วมันจะกระทบการเมืองภายในบ้านเราบ้างไหมครับ  

โดยคุณ InFerNo เมื่อวันที่ 29/01/2012 00:54:37


ความคิดเห็นที่ 10


ก็คงไม่ เพราะเราเองก็กลางๆเรื่องนี้ เห็นจากที่เมื่อก่อน ทั้ง โมเช่ ดายัน กับยาซิร อารอฟัต เคยเยือนไทยทั้งคู่....เพยงแต่พวกยิวมีบ่นผิดหวังในไทยเรื่องนี้เล็กน้อย

โดยคุณ Johnny_Thunders เมื่อวันที่ 29/01/2012 02:34:10


ความคิดเห็นที่ 11


ถือว่าทำถูกนะผมว่า กรณีกับอิสลาเอลเค้าเข้าใจแยกแยะออกว่าเป็นสิทธิของแต่ละประเทศแล้วพวกยิวนี่เค้าเป็นพ่อค้าครับเค้าจะดูผลประโยชน์มากว่าจะพาลไม่เข้าเรื่องเพราะแค่เรารับรองรัฐปาเลสไตย์เค้าก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรเต็มที่ก็บ่นๆบ้าง(ที่จริงน่าจะเป็นผลดีกับเค้ามากกว่าเพราะกลุ่มหัวรุนแรงๆต่างน่าจะลดแรงกดดันลงบ้าง) ส่วนพี่กันนี่คงต้องดูหลังเลือกตั้งละครับว่าใครจะมามีนโยบายต่างประเทศแนวใหน หากโอบาม่าได้อีกคงไมเท่าไร(แต่ผมว่าไม่อิๆ)

โดยคุณ hinnoi เมื่อวันที่ 29/01/2012 03:02:42


ความคิดเห็นที่ 12


จริงๆ "เจาะข่าวตื้น" เป็นรายการข่าวสรุปข่าวเด็ดๆทุกๆอาทิตย์สองอาทิตย์นี้หละครับ(ข่าวเค้าไม่โอนเอียงดีแถมฮาอีก)มาหลายตอนหลายเรื่องรวมทั้งการเมืองด้วย เลยไม่เคยเอามาลงอะ แต่ตอนนี้มีประวัติของชาวปาเลสไตน์ เลยเอามาลงให้ดูกันสนุกๆ ส่วนใครจะย้อนไปดูตอนอื่นๆก็ในยูทูปนะครับ รับประกันฮาทุกตอน

โดยคุณ potmon เมื่อวันที่ 29/01/2012 05:10:58


ความคิดเห็นที่ 13


นิวเคลียร์ของอิสราเอลไม่ได้ไปจิ๊กมาจากปฏิบัติการป้องปรามเชิงรุกไม่ให้ฝ่ายตรงกันข้ามมีไว้ในครอบครองเหรอครับ 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 29/01/2012 07:19:47


ความคิดเห็นที่ 14


จริงหรือเปล่าครับที่บาเรน พยายามปกป้องเราในการประชุมองค์กรอิสลาม ว่า ปัยหาภาคใต้ของเรา ไม่เกี่ยวกับศาสนา  
แล้วการที่เราประกาศยอมรับเอกราชปาเลสไตน์ จะมีผลต่อความรุนแรงกับด้ามขวานเราให้น้อยลงหรือไม่ครับ
รบกวนความเห็น หรือข้อท็จจริงจากเพื่อนสมาชิกด้วยนะครับ 

โดยคุณ InFerNo เมื่อวันที่ 29/01/2012 07:55:47


ความคิดเห็นที่ 15


น่าจะเป็นเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศครับ หรือจะเป็นการหักหน้า อเมริกา ก็ไม่ทราบครับที่หักหน้าเราเมื่อตอนกลางเดือน มกราคม ที่ผ่านมา

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 29/01/2012 22:01:23


ความคิดเห็นที่ 16


อันนี้เป็นบทความเรื่องความสัมพันธ์ไทย-บาห์เรน

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับบาห์เรน

 1.1 ด้านการเมือง
 ประเทศไทยกับบาห์เรนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2520 (ค.ศ. 1977) โดยไทยให้ สอท. ณ กรุงริยาด
มีเขตอาณาคลุมถึงบาห์เรนด้วย แต่ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2532 ให้บาห์เรนอยู่ใต้เขตอาณาของ สอท.ณ คูเวต โดยทั่วไปแล้วประเทศ
ไทยมีความสัมพันธ์อันดีกับบาห์เรนและไม่มีความขัดแย้งกันในทางการเมือง
สำหรับปัญหากัมพูชาในสหประชาชาตินั้น บาห์เรนออกเสียงสนับสนุนประเทศไทยและอาเซียน ตามข้อมติสหประชาชาติเกี่ยวกับสถานการณ์ใน
กัมพูชาและปัญหาที่นั่งกัมพูชาประชาธิปไตยตั้งแต่สมัยที่ 35 เป็นต้นมา (งดออกเสียงสมัยที่ 34)

 1.2 การแลกเปลี่ยนการเยือน
รมช.กต. (ร.ต.ประพาส ลิมปะพันธุ์) เดินทางเยือนบาห์เรน เมื่อปี 2527 เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และแสวงหาลู่ทางในการขยายการค้าระหว่างกัน
รมช.มหาดไทย (นายเฉลียว วัชรพุกก์) เยือนบาห์เรน เมื่อ 6 กรกฎาคม 2530 เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ ความร่วมมือระหว่างกัน รวมทั้งเยี่ยมเยือนให้กำลังใจ
คนงานไทยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการ ตามคำทูลเชิญของมกุฎราชกุมารบาห์เรนในขณะนั้น  
(Shaikh Hamad Bin Isa Al – Khalifa) ระหว่างวันที่ 13-15 มีนาคม 2532
รมว.กต. (สุรินทร์ พิศสุวรรณ) เยือนบาห์เรนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2541
H.H. Shaikh Khalifa Bin Salman Al – Khalifa นรม.บาห์เรนเสด็จเยือนไทยเป็นการส่วนพระองค์ (ที่ภูเก็ต) ระหว่างวันที่ 22-27 ตุลาคม 2542
H.H. Sheikh Salman bin Khalifa Al-Khalifa (บุตรชายของ นรม.บาห์เรน) หัวหน้าคณะผู้แทนบาห์เรนในการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 เดินทางมาเยือนไทย 
เพื่อร่วมการประชุมฯ และพบหารือทวิภาคีกับ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รมว.กต. และ ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย นรม. เพื่อมอบสารจาก นรม.บาห์เรน
H.H. Shaikh Khalifa Bin Salman Al-Khalifa นรม.บาห์เรน เยือนไทยระหว่างวันที่ 31 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2544  ในฐานะแขกของรัฐบาล โดยได้เข้าเฝ้าฯ 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย
H.H. Shaikh Khalifa Bin Salman Al-Khalifa นายกรัฐมนตรีบาห์เรน และคณะได้เสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการในลักษณะ Official Working Visit 
ระหว่างวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2544
 1.3 ด้านเศรษฐกิจและการค้า
สินค้าออกที่สำคัญของไทยไปบาห์เรน เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เสื้อผ้า สำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ ทองแดง ผ้าผืน ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง      และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก อาหารทะเลกระป๋อง  เครื่องใช้สำหรับเดินทาง
สินค้าเข้าจากบาห์เรนที่สำคัญ สินแร่โลหะเศษ เศษโลหะ เคมีภัณฑ์ ปุ๋ย กระดาษ และเยื่อกระดาษ ปลาหมึกแช่แข็งไม้ซุง ไม้แปรรูป สิ่งพิมพ์ สิ่งทอ ผ้าผืน
 1.4 ความตกลง
ประเทศไทยได้ทำความตกลงการบินกับประเทศบาห์เรน เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2521 โดยปัจจุบันบาห์เรนบินในนามของสายการบินกัลฟ์แอร์ (ซึ่งประกอบด้วย 4 ประเทศ คือ บาห์เรน โอมาน กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) การบินไทยยังมิได้ทำการบินไปบาห์เรน ส่วน Gulf Air บินจากบาห์เรนมาไทย
ไทยได้จัดทำความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้าและวิชาการกับบาห์เรน โดยได้ลงนามย่อระหว่างกันเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2542 และจัดทำความตกลงเพื่อยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน ซึ่งครม.ได้มีมติอนุมัติเมื่อ 18 กันยายน 2544 และรมว.กต.ของทั้งสองฝ่ายได้ลงนามความตกลงทั้งสองฉบับเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2544
ความตกลงเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนในขณะนี้ฝ่ายไทยยังไม่มีนโยบายเร่งรัดการเจรจา เนื่องจากยังรอการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  ส่วนความตกลงร่วมมือระหว่างสภาหอการค้าไทยกับสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมบาห์เรน ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของฝ่ายบาห์เรน
 1.5 แรงงาน
คนงานไทยทำงานอยู่ที่บาห์เรนประมาณ 2,000 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานฝีมือและกึ่งฝีมือที่ทำงานในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ ช่างซ่อมรถยนต์ ช่างเคาะพ่นสี ช่างเชื่อม ซ่อมเรือสินค้า ช่างประกอบท่อส่งน้ำมัน ช่างเสริมสวย ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า และคนปรุงอาหาร ส่วนใหญ่ทำงานในกิจการขนถ่ายสินค้าทางเรือ ซ่อมบำรุง โรงกลั่นน้ำมัน ก่อสร้างอาคารและถนน กิจการอู่ซ่อมรถยนต์ และร้านเสริมสวย เป็นต้น


เครดิตจากhttp://bic.thaiembassybahrain.com/home/th/business-info/relationship

ขอขอบคุณเจ้าของบทความครับ

http://www.mfa.go.th/web/479.php?id=351   ลิ้งค์นี้เป็นของกระทรวงการต่างประเทศ เกี่ยวกับปรเทศบาห์เรน

http://www.thaigov.go.th/mobile/more.asp?pageid=451&directory=1785&contents=1258&pageno=11&no=63 

ลิงค์นี้เป็นข่าวการเดินทางเยือนไทยของผู้นำบาห์เรน

 

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 29/01/2012 22:10:21


ความคิดเห็นที่ 17


เรื่องดีครับ คนปาเลสไตล์เขาก็มีอารยะธรรมของเขา เพียงแต่สงครามทำให้ดูเหมือนเป็นประเทศที่มีผู้ก่อการร้ายไปซะงั้น...เขาก็คนเหมือนกะเรานี่แหละ อยู่ที่ข่าวฝ่ายไหนจะทำให้เป็นดำเป็นขาว

โดยคุณ tks เมื่อวันที่ 29/01/2012 23:55:43


ความคิดเห็นที่ 18


บางประเทศ ก็ ประกาศชัดเจนว่าไม่ขอ รับรองผู้ใด เพราะกลัว ใครเขาจะมารับรองการตั้งประเทศในประเทศตนเอง และ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เอว่า แต่ไทยนี้ ผมก็ไม่ต้องการให้มีการตั้งประเทศ....นะ มองไปทางใต้ยังหนาวอยู่เลย.......สงสัยฝนตกบ่อย....(น่ากลัว)

โดยคุณ peterseato เมื่อวันที่ 31/01/2012 12:28:29


ความคิดเห็นที่ 19


ผมว่าสถานการณ์ภาคใต้ ไม่เหมือนกับปาเลสไตน์นะครับ ถ้าเกิดยูเอ็นจะรับรองภาคใต้ ผมว่ารัฐฉาน คะฉิ่น กะเหรี่ยง คงได้ก่อนละมั้ง เพราะ การจะเป็นประเทศต้องพร้อมที่จะมีรัฐบาล หน่วยงานต่างๆ ค่อนข้างเป็นรูปเป็นร่างง

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 31/01/2012 13:52:48