หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ระบบปืนใหญ่อัตราจร ขนาด 155 มม./52 คาลิเบอร์ แบบ อาร์เชอร์

โดยคุณ : chin1 เมื่อวันที่ : 29/01/2012 19:36:58

 

 ระบบปืนใหญ่อัตราจร แบบ อาร์เชอร์ พัฒนาโดยบริษัท BAE System Bofors แห่งประเทศสวีเดน โดยใช้ปืนใหญ่ลากจูงแบบ FH77 L39 ขนาด 155 มม./39 คาลิเบอร์ เป็นต้นแบบ ทำการยิงทดสอบในปี ค.ศ. 2005 ปรับปรุงจนเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2009 ขณะนี้มียอดการสั่งซื้อจากประเทศสวีเดน 24 หน่วยยิง และประเทศนอร์เวย์ 24 หน่วยยิง ซึ่งบริษัทจะเปิดสายการผลิตเต็มที่ในปี ค.ศ. 2012

ระบบปืนใหญ่อัตราจร แบบ อาร์เชอร์ ใช้พลประจำปืน 3 นาย หรือ 1 นาย เมื่อจำเป็น พร้อมยิงได้ภายใน 30 วินาที ปฏิบัติงานได้ทุกสภาพอากาศ การทำงานทุกขั้นตอนควบคุมด้วยระบบอำนวยการยิงที่ทันสมัยและกลไกอัตโนมัติทั้งระบบ มีโปรแกรมยิงกระสุน 4 - 6 นัด ในเวลา 30 วินาที โดยให้กระสุนตกกระทบเป้าหมายพร้อมกัน (Multiple Round Simultaneous Impact : MRSI) และระบบคำนวณการยิงเป้าหมายเคลื่อนที่ทั้งบนบกและในทะเล มีระยะยิงเล็งตรง 2 กม. เพื่อป้องกันตนเอง หรือเพื่อซุ่มโจมตี

ปริมาตรรังเพลิง 25 ลิตร ทนแรงดันสูง ยิงต่อเนื่องได้ 75 นัดต่อชั่วโมง และยิงสูงสุด 432 นัดต่อวัน สามารถใช้กระสุนและดินส่งตามมาตรฐานนาโต้ได้ทุกชนิด ยิงกระสุนพิเศษที่พัฒนาโดยบริษัท BAE System ในระยะยิงต่างๆ เช่น กระสุนค้นหาและทำลายยานเกราะ (Bonus) ระยะยิง 35 กม., กระสุนขยายระยะยิง (High Explosive Extended Range : HEER) ระยะยิง 40 กม. และกระสุนนำวิถีด้วยสัญญาณดาวเทียม M982 (Excalibur) ระยะยิง 50 - 60 กม.

ตัวระบบสามารถบรรทุกกระสุนและชนวนหัวได้ครั้งละ 21 นัด (ในรังเพลิง 1 นัด) ดินส่ง 18 นัด ชนวนท้าย 40 นัด รางบรรจุกระสุนรองรับความยาวกระสุนได้ถึง 1,000 มม. และน้ำหนัก 50 กก. ใช้เวลาบรรจุกระสุน 20 นัด เข้าระบบไม่เกิน 8 นาที โดยการถ่ายโอนจากรถส่งกำลังกระสุน (Ammunition Re-supply Vehicle : ARV) ที่ผู้ผลิตออกแบบให้บรรทุกกระสุนได้ 100 นัด

ระบบรถรองปืน ผู้ผลิตเลือกใช้ รยบ. 6X6 Volvo แบบ A30D ซึ่งมีความคล่องตัวสูง วงเลี้ยวแคบ เพราะใช้การเลี้ยวแบบหักกลางลำตัว จัดหาชิ้นส่วนซ่อมสะดวก เนื่องจากเป็น รยบ. ที่ใช้งานทางพาณิชย์ ใช้พลประจำรถ 1 นาย ตัวรถติดตั้งระบบอำนวยการยิง ระบบสื่อสารภายในและภายนอก ห้องโดยสารติดกระจกกันกระสุนและแผ่นเกราะเหล็กโดยรอบ สามารถกันกระสุน ขนาด 7.62 มม. ชนิดเจาะเกราะ หรือ

สะเก็ดระเบิดได้ บริเวณพื้นรถยกสูงและลาดเอียงเป็นรูปตัววี ทนแรงระเบิดน้ำหนัก 6 กก. ในระหว่างเดินทางตัวลำกล้องจะถูกยึดตรึงในฝาครอบ เพื่อป้องกันการบิดตัวจากแรงสั่นสะเทือน และความร้อนของสภาพอากาศ ด้านข้างตัวรถมีกล่องบรรจุเครื่องมือ และยุทโธปกรณ์ จำนวน 4 กล่อง

อ้างอิง http://www.rta.mi.th/tec-div-ord/newordnance/ข่าวสรรพาวุธ%20ก.ย.54.pdf







ความคิดเห็นที่ 1


ดูดุดันดีนะครับ

โดยคุณ Toey เมื่อวันที่ 27/01/2012 04:08:33


ความคิดเห็นที่ 2


ปืนใหญ่อัตราจร แบบนี้ อยากให้ไทยเราผลิตได้บ้างจัง รู้สึกคุ้มค่ามาก แล้วก็ดูเหมาะสมกับบ้านเราด้วย เทคโนโลยีแบบนี้ ถ้าไม่ได้รับการถ่ายทอด อยากทราบว่า ต้องใช้เวลาเรียนรู้นานไหมครับกว่าจะสร้างได้ หรือติดปัญหาเรื่องเหล็ก

โดยคุณ thetonkrub เมื่อวันที่ 27/01/2012 06:46:21


ความคิดเห็นที่ 3


ไม่ยากครับถ้าเราต้องการจริงๆ ซื้อแบบมีติดปลายนวมคือขอรับการถ่ายทอกเทคโนโลยีจากผุ้ผลิตโดยซื้อในจำนวนหนึ่ง เช่น ชื้อทั้งหมด 48 ระบบ ประกอบจากผู้ผลิต24 ระบบ อีก24 ระบบผลิตหรือประกอบเองเป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับความต้องการของกองทัพและนโยบายของรัฐบาลด้วย เรื่องเหล็กคงไม่น่าจะมีปัญหาครับเพราะเราก็พึ่งได้สิทธิบัติการผลิตปืนใหญ่เบาจากอังกฤษ ไม่แน่ใจว่าเป็น บ.Bae system หรือเปล่า

ปัยหาของเราอยู่ที่นดบายของภาครัฐและกฏหมายเรื่องการมีครอบครองและผลิตอาวุมากกว่าครับ

สิ่งที่ผมชอบสำหรับระบบปืนอาเธอร์คือ ตัวระบบรับแรงสะท้อนกลับที่เป็นไฮโดรลิค 3 ตัวตรงช่วง 1ใน 3 ของความยาวลำกล้อง เวลายิงดูมันนิ่งมาก

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 27/01/2012 07:03:59


ความคิดเห็นที่ 4


ตอนนี้กองทัพบกเราก็มีการวิจัยพัฒนาปืนใหญ่อัตตาจรอยู่ครับ และมีต้นแบบแล้ว ลองค้นหาดูครับ เว้บเพื่อนบ้านก็มีพูดถึงกันอยู่

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 27/01/2012 20:30:53


ความคิดเห็นที่ 5


ไทย-สวีเดน ผมว่าถ้าเราอยากได้ละก็ สวีเดน เขาจัดให้เราแน่นอน ส่วนตัวแล้วชอบตัวนี้จัง

โดยคุณ satanzeed เมื่อวันที่ 27/01/2012 20:38:12


ความคิดเห็นที่ 6


ของสวีเดนก็ดีครับจัดซื้อมาพร้อมสิทธิบัตรในการผลิตผมว่าสวีเดนเขาคงไม่หวงเทคโนโลยีแก่เราเหมือนพี่กันแน่ครับ

โดยคุณ sam7 เมื่อวันที่ 27/01/2012 23:51:50


ความคิดเห็นที่ 7


สวีเดน 1 เสียง  ^^

โดยคุณ PINJI เมื่อวันที่ 29/01/2012 08:36:58