ถ้าในการรบ Saab340 เกิดระบบขัดข้องหรือถูกโจมตีจากอาวุธประสิทธิภาพสูงจะลิงก์ข้อมูลยังไงครับ
ลำำนี้ใช้งานไม่ได้จะทำไง หรือว่าใช้ระบบอื่นครับ
สงสัย จขกท. จะเข้าใจอะไรผิดไปแน่ๆเลย
เมื่อเราสามารถสถาปณา ไทยลิ้งค์ ( RTAD ) ได้สำเร็จ ทั้ง กริปเพ่น , อิริอาย และ เรือบางลำของ ทร. จะลิ้งค์ไปที่
ศูนย์อำนวยการ ( RTAD ) โดยที่ศูนย์อำนวยการจะมี สถานีเรดาห์ภาคพื้นอย่างน้อย 3สถานี + 2 อิริอาย
จขกท. มองเห็นภาพหรือยังครับ ว่าถ้า ไทยลิ้งค์สำเร็จไม่ว่าจะ มีหรือไม่มี อิริอาย เราก็ไม่เสียเปรียบ
ถึงระบบภาคพื้นหรือ Saab340 จะเจ๊ง jas39 ก็มีเรดาร์อยู่แล้วและยังลิงค์ข้อมูลได้เหมือนเดิมครับ ที่เหลือก็อยู่ที่ฝีมือนักบินและสมรรถนะของเครื่องเพียวๆ
ขอบคุณครับ แล้วระบบRTADS จะใช้เวลาอีกนานไหมครับ
ระบบ RTADS แบ่งเป็น 3 เฟส คือ เฟสที่ 1 ครอบคลุมพื้นที่ภาคกลาง ภาคอีสานตอนล่าง และภาคตะวันออก เฟสที่ 2 ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน และภาคตะวันตก สำหรับเฟสที่ 3 ครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด
ระบบ RTADS ประกอบด้วย
1. ศูนย์ยุทธการทางอากาศ (AOC) หรือ ศยอ. 1 ศูนย์ ตั้งอยู่ที่กรมควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ กองบัญชาการยุทธทางอากาศ (คปอ.บยอ.) ดอนเมือง กรุงเทพฯ
2. RTADS เฟสที่ 1
2.1 ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ (SOC) 1 ศูนย์ คือ ศคปอ.กรุงเทพฯ (ดอนเมือง)
2.2 สถานีรายงาน (RP) 4 สถานี คือ สร.เขาเขียว (นครนายก), สร.บ้านเพ (ระยอง), สร.เขาพนมรุ้ง (บุรีรัมย์) และ สร.อุบลฯ
2.3 สถานีภาคพื้นของระบบเชื่อมโยงข้อมูล (data-link) แบบ TADIL-A (Tactical Digital Information Link-A) หรือ Link-11A ตั้งอยู่ที่ ศคปอ.กรุงเทพฯ
3. RTADS เฟสที่ 2
3.1 ศูนย์ควบคุมและรายงาน (CRC) 1 ศูนย์ คือ ศคร.ดอยอินทนนท์ (เชียงใหม่)
3.2 สถานีรายงาน 5 สถานี คือ สร.เขาใหญ่ (กาญจนบุรี), สร.พิษณุโลก, สร.ภูหมันขาว (เลย), สร.อุดรฯ และ สร.ภูเขียว (สกลนคร)
4. RTADS เฟสที่ 3
4.1 ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ 1 ศูนย์ คือ ศคปอ.สุราษฎร์ธานี
4.2 สถานีรายงาน 3 สถานี คือ สร.สมุย (สุราษฎร์ธานี), สร.ภูเก็ต และ สร.หาดใหญ่ (เขาวังชิง สงขลา)
4.3 สถานีภาคพื้นของระบบเชื่อมโยงข้อมูล แบบ TADIL-A ตั้งอยู่ที่ สร.สมุย และ สร.ภูเก็ต
เครือข่ายการสื่อสารผ่านวิทยุไมโครเวฟ
คุณลักษณะของเครือข่าย
เป็นระบบวิทยุไมโครเวฟย่านความถี่ 5GHz
วิทยุไมโครเวฟ MDR 2205
- แบบ PDH ความเร็ว 45 Mbps (DS3) มาตรฐานระบบ American (T1 = 24 ช่องเสียง)
- ไม่มีระบบสื่อสารสำรอง แต่วางโครงข่ายเป็น Ring (Alternate Route)
วิทยุไมโครเวฟ SRT-1C
- แบบ SDH ความเร็ว 155 Mbps (STM-1C) มาตรฐานระบบ Europe (E1 = 30 ช่องเสียง)
วิทยุไมโครเวฟ PDH Mini-Link ของ บ.Nera 8E1(บ้านลาดช้าง-รร.การบิน) ของ Alcatel ขนาด 4E1(วังไกลกังวล-ฝูง 509)
เครือข่ายการสื่อสารผ่านสายใยแก้วนำแสง
คุณลักษณะของเครือข่าย
สายเคเบิลใยแก้วนำแสงขนาด 12 cores มาตรฐาน G.625 ความยาวคลื่น 1550nm
เป็นอุปกรณ์ SLT-SLR (ปัจจุบันเลิกสายการผลิตแล้ว)
เป็นระบบสื่อสารความเร็วสูง SDH ความเร็ว SDH ระดับ 4 STM-1 4 x 155.52 Mbps
มาตรฐาน ITU-T G.703 ( E1 = 30 ช่องเสียง )
เครือข่ายการสื่อสารผ่านดาวเทียม
คุณลักษณะของเครือข่ายดาวเทียมระบบ TDMA (C-Band)
ใช้ดาวเทียม ThaiCom1 bandwidth ขนาด 4.14 MHz
มีสถานีแม่ข่าย (HUB) อยู่ที่ กทค.ศสท.ส.ทอ.
มีสถานีลูกข่าย 5 สถานี
ดาวเทียมระบบ SCPC (FlyAway) (C-Band)
ใช้สถานีแม่ข่าย (HUB) ดาวเทียม เดียวกับระบบ TDMA
มีใช้งานทั้งหมด 5 ชุด
ดาวเทียมเคลื่อนที่ Ku-Band
เช่าใช้ดาวเทียม ThaiCom5
มีสถานีแม่ข่าย (HUB) อยู่ที่ กทค.ศสท.ส.ทอ.
มีสถานีลูกข่าย 2 ชุด มีสถานะภาพพร้อมใช้งาน
ทั้งนี้ ทอ. ยังมีสถานีรายงานเคลื่อนที่ (สคท.) อีก 3 สถานี ซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายไปติดตั้งยังตำบลที่ที่จำเป็นเพื่ออุดช่องว่างของ สร. ต่างๆ ที่มีอยู่แล้วได้อีก
ข้อมูลภายในระบบ RTADS ปัจจุบันเชื่อมโยงถึงกันด้วยวิธีการ 3 แบบ คือ โดยการใช้สัญญาณไมโครเวฟ, โดยผ่านทางระบบใยแก้วนำแสง (fiber optic) และโดยการสื่อสารผ่านดาวเทียม นอกจากนี้ระบบ RTADS ยังเชื่อมต่อกับระบบ JADDIN (Joint Air Defense Digital Information Network) ของ บก.สูงสุด ด้วย ซึ่งจะส่งข้อมูลไปยังส่วนควบคุมการป้องกันภัยทางอากาศของ ทบ. และ ทร. (ไม่มีข้อมูลว่าเรือของ ทร. นั้นมี data-link เพื่อรับข้อมูลจากระบบ JADDIN ในส่วนของ ทร. หรือไม่ รวมทั้งตามกองร้อย ปตอ. ของ ทบ. ด้วยเช่นกัน)
ในอนาคตระบบ RTADS จะสมบูรณ์มากขึ้น เมื่อ ทอ.ได้รับ บ.ควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ แบบ S-100B Argus ติดตั้งเรดาร์ Erieye จำนวน 2 เครื่อง พร้อมกับสถานีภาคพื้นของระบบเชื่อมโยงข้อมูล TIDLS (Tactical Information Data Link System) 3 สถานี (ยังไม่รู้ว่าจะอยู่ที่ใดบ้าง ขึ้นอยู่กับว่า ทอ. ตั้งใจจะใช้ บ. แบบนี้ครอบคลุมทั้งประเทศหรือไม่ ถ้าใช่ สถานีทั้ง 3 จะตั้งอยู่ที่ ศคอป.กรุงเทพฯ กับสุราฎร์ฯ และ ศคร.ดอยอินทนนท์) ซึ่งจะรับส่งข้อมูลกับ บ. แบบ Argus ได้ โดยข้อมูลที่รับมาจากเรดาร์ Erieye จะเชื่อมเข้าสู่คอมพิวเตอร์เมนเฟรมของระบบ RTADS ได้โดยตรง ซึ่งอันนี้เป็นเงื่อนไงหนึ่งในข้อตกลงที่ทางสวีเดนเสนอมาในแพกเกจ JAS-39 Gripen อยู่แล้ว
สำหรับระบบ data-link แบบ TADIL-A (link-11A) สามารถรับข้อมูลจาก AWACS และเรือผิวน้ำ (บางลำที่มีระบบนี้) ของสหรัฐฯ ได้ ในอนาคต ทอ. อาจจะ (ถ้ามีงบฯ) เปลี่ยนเป็นแบบ TADIL-J (link-16) เพื่อให้เข้ากันได้กับระบบของประเทศพันธมิตร นอกจากนี้ Gripen เองก็สามารถติดตั้งระบบนี้ได้ เช่นเดียวกับ F-16 ที่ ทอ.มีอยู่
ทร. อาจทำโครงข่ายในลักษณะนี้บ้าง แต่เป็นเรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ เพื่อใช้ในการเฝ้าตรวจชายฝั่ง เพื่อช่วยอุดช่องว่างที่เหลือจากการใช้กำลังทางเรือ และอากาศยานในการตรวจการณ์ หรือลดการใช้กำลังลงได้ในบางจุดเพื่อความประหยัด ส่วนในระยะห่างจากฝั่งมากๆ ก็ใช้พวก UAV ชนิด MALE (medium altitude long endurance) แทน
RTADS ถ้าเทียบกับของ ทบ.ก็คือ ศปภอ.ทบ.ครับ แต่หลักนิยมการใช้ต่าง
กัน
RTADS มีความมุ่งหมายในการ ปภอ.เป็นพื้นที่(ไม่มี V.A.)ซึ่งใช้อากาศยานเป็นหลัก รวมทั้ง ปตอ.ของ ทอ.เองด้วย
RTADS แบ่งส่วนประเทศเป็น 3 ส่วนคือ เหนือ กลาง ใต้ มี ศคร. สร. ต่างๆตามที่คุณเม้าบอก
แต่ถ้ามีคำว่าควบคุมด้วย เช่น ศูนย์ควบคุมและรายงาน แสดงว่า สั่งเครื่องบินขึ้นได้ครับ แต่ถ้าสถานีรายงานก็เหมือน ศปภอ.ปภอ.ประจำพื้นที่ดีๆนี่เอง ถ้าเป็นสถานีรายงานเคลื่อนที่ ก็เหมือนยกเรดาร์ DR-172 ไปเป็น ศปภอ.ทบ.ส่วนแยก นั่นหละครับ ซึ่งเครื่องจะขึ้นขับไล่สกัดกั้น ตามพันธกิจ สกัดกั้นทันที
สำหรับกองบินที่มีฝูงบินเตรียมพร้อม หรือ ฝูง Alert ก็มี (กองบินคือผู้การ ฝูงบินคือผู้พัน)
กองบิน 1 และ 4 โคราชและตาคลีตามลำดับ มี F-16
กองบิน 7 มี F-5 รอ gripen มาแทน
กองบิน 21 กับ 26 ผมไม่แน่ใจจะมี alpha JET อยู่
หลักนิยมของ ทอ.จึงเน้นการ ปภอ.ป็นพื้นที่ที่ต้องครอบคลุมทั้งประเทศด้วยระบบ RTADS จากนั้นจะแชร์ข้อมูลผ่าน JUDDINS หรือก็คือสาย LAN ดีๆนี่เอง ซึ่งจะส่งเข้า ศปภอ.ทบ. และ ศปภอ.สอ./รฝ.
ศปภอ.ทบ.เน้นการแจ้งเตือนภัยให้กับหน่วย ปภอ.เป็นจุด คือมี ตำบลสำคัญ ต่อให้วางกำลังกว้างขวางสุดลูกหูลูกตาแค่ไหน ถ้ามี วีเอ หรือตำบลสำคัญ เป็นการ ปภอ.แบบจุดทันที
ศปภอ.จึงแจ้งเตือนให้พวกเรา โดยรับข้อมูลจาก RTADS หรือจาก DR-172 (ไอ้แมงป่อง)เราเองก็ได้
ทอ.พยายาม ลดสายการควบคุมโดย จะสั่งงานโดยตรงจาก ศยอ.(ศุนย์ยุทธการทางอากาศ) หรือถ้าเทียบกับ ทบ.ก็คือ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก(ศปก.ทบ.)ซึ่งทำการควบคุม กองกำลังป้องกันชายแดนทั้ง 7 กองกำลัง เหมือนเป็น บก.ทบ.สนาม และหากมีการรบขนาดใหญ่จะส่งกำลังรบของกองทัพภาคให้ กองทัพน้อย เดี๋ยวเรื่องระบบการรบของ ทบ.จะเล่าให้ฟังต่อไปครับ
แต่ ศยอ.จะทำการสั่งการตรงสู่ กองบิน ซึ่งมีหน่วยตามสายการบังคับบัญชา คือ
กองบัญชาการยุทธทางอากาศหรือ ผบ.บยอ. (ผบ.บยอ.อัตรา พล.อ.อ.)ปัจจุบันยุบตำแหน่งและ บยอ.ลงแล้ว ปรับเป็น ผช.ผบ.ทอ.3 และยกฐานะกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ (คปอ.) ควบคุมทั้งหมดโดย ผช.ผบ.ทอ.3
กองพลบิน เป็นแค่หน่วยส่งผ่านทางธุรการไม่ควบคุมการยุทธทางอากาศ
กองบินรับคำสั่งตรงเลย
เช่นกัน ปตอ.รบกับเครื่องบิน สายการบังคับบัญชา กองร้อย หมวด หมู่ ก็ว่าไป แต่การแจ้งเตือนต้องลงถึงหน่วยยิงเร็วที่สุดเหมือนสั่งหน่วยบินเร็วที่สุด
กองร้อย ตั้ง ศปภอ.ร้อย. แต่ควบคุมการยิงหมู่ วัลแคนโดยตรง ผบ.มว.วัลแคน แค่เป็นตัวส่งผ่านงานธุรการ งานระวังป้องกัน และอื่นๆ แต่กองร้อยควบคุมการยิงโดยตรง
เพราะฉะนั้น เวลารบ เรารับการแจ้งเตือนจาก ศปภอ.ต้องถึงเราเร็วที่สุดไม่ต้องไปผ่าน กองพล กรม ตามสาย
หลักนิยมของ การรบกับอากาศยาน ก็เป็นเช่นนี้ ควบคุมรวมการ สั่งลงหน่วยยิงหรือหน่วยบินให้เร็วที่สุด
ไม่ต้องตามสายเหมือน กองพลสั่งกรม กรมสั่งกองพัน ในการรบ 2 มิติ
อืม อ่านจบหาข่าวเพิ่มอีกนิด
แล้ววางแผนก่อวินาศกรรม
ที่ตั้งตามที่บอก ก็สวัสดีประเทศไทย
ผมเองก็ใช้วิธีการแบบนี้ในการหาข่าว
ทางทหารของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งก็ได้ข้อมูลเกือบ
80 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลืออีก 20 ใช้........
ระวังหน่อยครับเรื่องแบบนี้
น่าจะใส่ที่มาของข้อมูลด้วยนะครับ
ขอบคุณที่แนะนำครับ ถ้าข้อมูลไม่เหมาะสมเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ ขอแจ้งผู้ดูแลเว็ปลบด้วยครับ
ผมไม่ค่อยสบายใจเลยบอกที่ตั้งเรดาห์ซะขนาดนั้น
ที่มาของข้อมูล ผมลองหาใน google ดู ใช้คีย์เวอร์ด RTAD แล้วก็พบข้อมูลในเวปนี้ครับ http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=thatal&topic=58
ถ้าหมายถึงระหว่างเครื่องกริฟเพ่นที่บินไปด้วยกันใช้การรับส่งสัญญาณคล้ายฟันสีฟ้าครับ รับ-ส่งข้อมูลกันใกล้ๆ ส่วนระยะไกลก็กลับเข้าสู่รูปแบบการติดต่อดั้งเดิมครับ นั่นคือ X-mode ครับ สื่อสารด้วยเสียงฝากไปกับสัญญาณคลื่นวิทยุ สำหรับ RTAD ยังไงตอนนี้ก็คงยังไม่ใช้เทคโนโลยีหลักของกองทัพน่ะครับ การทำลายที่ตั้งของ สถานีต่างๆ ทำได้ 2 วิธีครับ วินาศกรรม กับ การโจมตีทางอากาศ แต่เมื่อเร็วๆ นี้ มี กองกำลัง...ทำลายศูนย์กลางสำเร็จมาแล้วครับ เพราะระบบนี้มีค่าน้อยกว่าเขตเศรษฐกิจของประเทศครับ