หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


หมัดของเรือคิรอฟที่นาโต้ขนานนามว่า.."เรือแตก"

โดยคุณ : MIG31 เมื่อวันที่ : 20/01/2012 19:35:30

3M-54 P-700 แกรนิต หรือที่นาโต้เรียกกันว่าSS-N19 เรือแตก(Shipwreck)เป็นหนึ่งในสามจรวดโจมตีกองเรือบรรทุกเครื่องบินของโซเวียต ที่อเมริกาเองยังหวาดหวั่นในยุคสงครามเย็นรวมถึงเป็นอาวุธหลักของเรือรบชั้นคิรอฟที่ยิ่งใหญ่ของโซเวียต ด้วยขนาดที่ใหญ่พอๆกับMig-21หรือเล็กกว่าF-16เล็กน้อย พุ่งเข้าหาเป้าหมายด้วยความเร็วสูงกว่า2.5มัค ระยะยิง550-650ก.ม. หัวรบระเบิดแรงสูงหนัก750กก.หรือหัวรบนิวเคลียร์500กิโลตัน ซึ่งไกลพอจะป้องกันการสวนกลับของฝ่ายตรงข้ามได้และติดตั้งได้ทั้งเรือดำน้ำ เรือรบ ซึ่งเราจะมาหาที่มาของจรวดโจมตีเรือที่ใครต่อใครวิเคราะห์ว่าเรือคิรอฟลำเดียวสามารถลุยกับกองเรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกาได้สบายๆนั้นพอมีความเป็นไปได้มากแค่ไหน

จริงๆแล้วนั้นหากจะเรียกว่าขีปนาวุธโจมตีเรือรบก็คงไม่ผิดเพราะขนาดที่ใหญ่พอๆกับขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ เหตุที่ติด1ในอาวุธหลักโจมตีกองเรือบรรทุกเครื่องบิน เนื่องจากเราทราบกันดีว่ากองเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐยิ่งใหญ่มากกระจายไปทั่วทุกที่ในช่วงสงครามเย็น ขณะที่โซเวียต(รัสเซีย)มีเพียงกองเรือรบ เรือดำน้ำ แต่ขีดความสามารถในการโจมตีระดับกองเรือยังไม่มากพอ ถึงจะพัฒนาอาวุธโจมตีเรือรบติดตั้งกับเครื่องบินทิ้งระเบิดพิสัยไกลก็ยังทำได้ไม่ดีพอเนื่องจากพิสัยการยิงและการบินผ่านน่านฟ้าที่มีเครื่องบินฝ่ายสหรัฐและนาโต้ในหลายพื้นที่นั้นเอง

SS-N19 เทียบกับ F-16

ก่อนหน้านั้นเรือรบหลักที่ทำหน้าที่ล่าทำลายกองเรือบรรทุกเครื่องบินนั้นได้รับการติดตั้งขีปนาวุธโจมตีเรือแบบSS-N3แซทดอค และSS-N12(P-500)แซนบ็อก ซึ่งมีระยะยิงไกล500ก.ม.ขึ้นไป ติดตั้งได้ทั้งระเบิดแรงสูงและหัวรบนิวเคลียร์ แต่ประสิทธิภาพยังต่ำเกินไปเช่น SS-N3(P-5)นั้น มีค่าความผิดพลาดในการพุ่งชนเป้าหมายในรัศมี3000เมตร(ผิดพลาดสูงมาก)แต่ทดแทนด้วยหัวรบนิวเคลียร์ อีกทั้งความเร็วมันต่ำที่0.9มัค ซึ่งโอกาสที่จะเจาะทะลุระบบป้องกันกองเรือนั้นยังน้อยเกินไป การนำวิถีก็ไม่ดีพอด้วยระบบแอคทีฟเรดาห์ที่จะเปิดเผยตำแหน่งตั้งแต่เริ่มยิง ทำให้เป้าหมายสามารถต่อต้านได้ ส่วนSS-N12 นั้นมีความเร็วสูงที่2.5มัค แต่มันไม่มีการนำวิถีที่ดีเพียงพอ ซึ่งในช่วงนั้นระบบนำวิถีของรัสเซียประสบปัญหาการนำวิถีในระยะเส้นขอบฟ้ามากจนต้องพึ่งฮ.และเครื่องบินลาดตระเวณ

ในขณะเดียวกันการป้องกันทางอากาศประจำกองเรืออเมริกาพัฒนาขึ้นมาในช่วงกลางทศวรรษ1970เรื่อยมา ตั้งแต่การเข้าประจำการของF-14และจรวดAIM-54ที่มีระยะยิงไกลมากขึ้น จรวดต่อต้านอากาศยานประจำเรือSM-1และ2ก็มีระยะยิงไกลและมีสามารถต่อต้านเป้าหมายเรี่ยพื้นน้ำได้มากขึ้นทำให้โอกาสโจมตีกองเรืออเมริกาด้วยเครื่องบินและจรวดระยะใกล้สามารถทำได้ลำบาก

Подводные корабли  проекта «Антей» получат новое вооружение – ракетные комплексы «Калибр» и «Оникс»

http://www.testpilot.ru/russia/chelomei/p/700/img/0197s.jpg

ในตอนแรกที่ P-700 นั้นฝ่ายตะวันตกไม่ทราบว่ามันมีรูปร่างยังไง รู้แต่เพียงว่าเข้าประจำการเป็นอาวุธหลักของเรือลาดตระเวณประจัญบานชั้นคิรอฟ เรือดำน้ำชั้นออสก้า-2 เรือบรรทุกเครื่องบิน ซึ่งฝ่ายตะวันตกวิเคราะห์ว่ามันคงมีรูปทรงแบบเดียวกับจรวดรุ่นแรกๆอย่าง P-500 หรือ P-5 ที่ประจำการบนเรือครูซเซอร์ชั้นสลาว่า

โครงการพัฒนาเริ่มในปี1969 ส่วนใหญ่ว่ากันว่าโซเวียตพัฒนาระบบการชี้เป้าและนำวิถีด้วยดาวเทียมมาใช้ โดยวางข่ายการโจมตีระหว่างเครื่องบิน Tu-22M และเรือดำน้ำออสก้า ซึ่งข้อมูลจากดาวเทียมจะส่งมาที่Tu-22Mและผ่านมายังเรือดำน้ำเพื่อเข้าโจมตีพร้อมกัน เรือดำน้ำออสก้าจะทำการยิงจรวดโจมตีที่ความลึก30เมตร ซึ่งสามารถป้องกันการค้นหาเป้าหมายตรวจจับได้ โดยกลุ่มโจมตีจะมีเรือดำน้ำ3-5ลำ ใน1ลำจะมีP-700จำนวน24นัด เมื่อพบเป้าหมายจะทำการยิงพร้อมกันด้วยจรวด70-120นัด ในจำนวนจรวด30-50%จะมุ่งเป้าถล่มเรือบรรทุกเครื่องบินเพียงลำเดียว โดยพื้นที่ยิงถล่มห่างจากเป้าหมาย4-500ก.ม.และถอยหนีออกมาอย่างรวดเร็วด้วยการดำหนีที่ความเร็วสูง30น็อต

ความเป็นสุดยอดมันอยู่ที่ว่าเมื่อจรวดถูกยิงขึ้นจะบินสูงเพื่อทำการเปิดเรดาห์ได้ทั้งโหมดแอคทีฟและพลาสชีฟความถี่J-band(10-12GHz)และ K-band(27-40 GHz)ถูกพัฒนาโดยTsNII"Granit" เพื่อทำการค้นหาเป้าหมาย โดยจะมี1ลูกที่ยิงขึ้นเพดานบินสูงสุดแล้วโหมดแอคทีฟจะทำการค้นหาเป้าหมายและทำการล็อคเป้าหมายทำการบันทึกที่ตั้งแล้วจึงปิดเรดาห์เพื่อกันเปิดเผยตำแหน่งในขณะพุ่งหาเป้าหมาย ระบบพลาสชีฟเองก็มีข้อดีเพราะมันจะวิ่งตามเรดาห์ที่ปล่อยออกมาโดยเฉพาะจากระบบเรดาห์ของเรือชั้นเอจีส ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการบันทึกจะถูกกระจายไปยังจรวดลูกอื่นๆเพื่อเลือกการโจมตีเป้าหมายที่ต่างกัน จริงๆแล้วไอ้1ลูกที่เหินฟ้าสูงลิ่วเนี้ยแลนอกจากจะพลีชีพค้นหาเป้าหมายระบุพิกัดของเป้าเพื่อจ่ายไปยังลูกอื่นๆที่บินตามขึ้นมา มันยังทำให้เรดาห์และระบบป้องกันของฝ่ายกองเรือเป้าหมายจับจ้องและทำการยิงต่อต้านไอ้ลูกที่บินสูงเพื่อไม่ให้ระบบป้องกันเล็งไปหาลูกอื่นๆ ระบบนำทางเป็นแบบonboardป้องกันการตอบโต้ด้วยระบบสงครามอิเล็คทรอนิครุ่น3B47 "Quartz" ระบบจะสั่งให้จรวดบินสูงต่างกันในระดับสูงตั้งแต่14000เมตรจะเร็วถึง2.5มัคส่วนที่ระดับน้ำทะเล14เมตรจะมีความเร็วไม่เกิน1.5มัค หรือนำทางด้วยเครื่องบินลาดตระเวณทางทะเลTu-95RTS"แบร์-ดี/อี"หรือKa-25TS ซึ่งติดตั้งระบบควบคุมจรวดด้วยดาต้าลิงซ์รุ่นRubidy-MM

 

ตัวจรวดถูกหุ้มเกราะกันกระสุนของปืนกลฟาลังซ์ที่ใช้ป้องกันประจำเรือของฝ่ายอเมริกา เสริมอำนาจการทำลายด้วยหัวรบระเบิดแรงสูง750กก.หรือหัวระเบิดนิวเคลียร์200-350กิโลตันกำหนดรัศมีทำลายล้าง1ก.ม.แน่นอนว่าหลุดไปโดนเพียงนัดเดียวหายยกกองเรือเป็นแน้แท้ ตัวจรวดพัฒนาโดยสำนักออกแบบOKB-52 (ภายหลังเป็นMashinostoyeniyaหรือNPO) การขับเคลื่อนด้วยตัวจรวดขนาดใหญ่ด้วยบูซเตอร์เชื้อเพลิงแข็งจำนวน2ชุด ก่อนจะพุ่งสู่เป้าหมายด้วยเครื่องยนต์เทอร์โบเจ็ท เคอาร์-39

การทดสอบยิงครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายนปี1975จนได้รับเข้าประจำการอย่างเป็นทางการเดือนมีนาคมปี1983 ในขณะที่ระบบค้นหาเป้าหมายด้วยดาวเทียมLegendaพร้อมใช้งาน รวมถึงระบบโซนาร์ประจำเรือดำน้ำMGK-540 Skat-3 สามารถกำหนดเป้าหมายเองพร้อมใช้งานอีกเช่นกัน ซึ่งเข้าประจำการในเรือดำน้ำออสก้า-1 จำนวน2ลำคือK-525 (Arkhangelsk )และ K-206 (Murmansk )ในปี1981-83 โดยแต่ล่ะลำติดตั้งจรวด24ลูกมุมยิง40องศา ทั้ง2ลำเข้าประจำการในกองเรือภาคเหนือและได้ติดตั้งระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมรุ่นKasatka-U โดยจะมีการอัพเกรด P-700อีกครั้งในปี2010

 

ซึ่งเรือดำน้ำที่เข้าประจำการตามมาและเป็น"อาวุธลับ"ของกองเรือภาคเหนือคือเรือดำน้ำชั้น ออสก้า-2 ได้แก่เรือK - 119 (Voronezh), K - 148 (ครัส), K - 410 (Smolensk), K - 266 (Orel), K - 186 (Omsk),K - 150 (Tomsk) K - 141 (Kursk) ระเบิดและจมลงเมื่อ 13 สิงหาคม 2000  K - 132 (อีร์คุตส), K - 173 (Krasnoyarsk), K - 442 (Chelabinsk), K - 456 (Vyluchinsk) ส่วนเรือคิรอฟได้รับการติดตั้งปี1980-1998 อาวุธจำนวน20นัดในท่อยิงมุม60องศา เรือบรรทุกเครื่องบินครุฟเนชอฟติดตั้งปี1990-1995จำนวน12ท่อยิง

ฉะนั้นหลายคนพอจะมองเห็นถึงจุดอ่อนอย่างนึงของเรือรบคิรอฟ ถ้าคิรอฟลุยเดี่ยวจรวดที่จะทำการยิงถล่มเป้าหมายคือหมดลำเรือในครั้งเดียว(20นัด) ถ้าโดนหมดหรือหลุดไปพังกองเรือได้ก็รอดตัวไป แต่ถ้ามันไม่สามารถทำลายเป้าหมายได้เรือคิรอฟจะไม่มีจรวดต่อต้านเรือเลยเหลือแต่แซมเพียวๆสำหรับยิงอากาศยานและจรวดปราบเรือดำน้ำ ก็อาจะเป็นไปได้ว่าคิรอฟจะทำการรบร่วมกับกองเรือคุ้มกันหรือเรือดำน้ำในการป้องกันและโจมตี





ความคิดเห็นที่ 1


ไอ้เจ้า SS-N19ที่ พี่หมี เคยใช้ยิงใส่เรือโจรสลัด โชมาเรีย ที่ เป็นเรือปะมงญี่ปุ่นโดนปล้นไปใช้เป็นเรือเเม่  โดน ไอ้เรือเเตกนึกสถาพเเล้วเละไม่ชิ้นดี

โดยคุณ PROTOTYPE เมื่อวันที่ 16/01/2012 05:30:03


ความคิดเห็นที่ 2


ไม่ได้ใช้ยิงใส่โจรสลัดครับ ที่มีข่าวโจรสลัดจะปล้นเรือคิรอฟ เป็นเรื่องแต่งเฉยๆครับ

โดยคุณ helldiver เมื่อวันที่ 18/01/2012 06:17:45


ความคิดเห็นที่ 3


จกขท. ครับผมของอนุญาติ เอาข้อมูลไปทำกระทู้ นะครับ  โดยใช้ เคสดิต ชื่อคุณเเละ เว็บนี้ละครับ

โดยคุณ PROTOTYPE เมื่อวันที่ 20/01/2012 08:35:30