สุดยอดรถถังในสงครามโลกครั้งที่สอง
และเป็นยอดรถถังของรัสเซีย
ที-34 ถูกผลิตออกมาป้อนเข้ากองทัพอย่างไม่ขาดสาย และได้ถูกปรับปรุงแก้ไขอยู่ตลอดเวลา จากประสบการณ์ที่ได้จากในสนามรบ ( ใช้ตัวจริงชัดเจนของทีไอทีวี ) ประสิทธิภาพของ ที-34 ในเวอร์ชั่นหลังๆจึงดีขี้นๆ และถูกผลิตออกมามากขึ้นๆเป็นเงาตามตัว ต้นปีค.ศ.1944เวอร์ชั่นที่ประสบความสำเร็จและดีที่สุดของ รถถังในตระกูล ที-34 ก็ได้ปรากฏตัวขึ้นนั้นคือ ที-34/85 ใช้อาวุธปืนประจำป้อมขนาด 85 มม.ที่มีชื่อเสียงในการน็อคเอาท์แพนเซอร์ของเยอรมัน และใช้ป้อมปืนแบบสามคน ( three-man turret ) ตามแบบแพนเซอร์ของเยอรมัน เมื่อสงครามสิ้นสุดลงในปีค.ศ.1945 ด้วยความสามารถมากมายก่ายกองของที-34 กองทัพโซเวียตจึงได้นำเข้าทดแทนรถถังทั้งเบาและหนักที่มีอยู่ และใช้เป็นรถถังที่อยู่ในสายการผลิตหลักของโซเวียต ซึ่งต่อมาก็ได้บังเกิดรถถังที่วิวัฒนาการมา ( พูดหยั่งกับไดโนเสาร์ )เข้ามาแทนที่ นั้นคือรถถัง ที54/55 ได้ถูกปิดสายการผลิตในปีค.ศ.1981 แต่ก็ยังคงพบเห็นปฏิบัติการอยู่ในปัจจุบัน
ประวัติการผลิต ( Production history )
ปฏิวัติการออกแบบ ( Revolutionary design )
ก่อนหน้าปี ค.ศ.1939 รถถังที่มีอยู่ในกองทัพโซเวียตเป็นจำนวนมากนั้นได้แก่ รถถังเบา ที-26 และรถถังเบาความเร็วสูงในตระกูลบีที ที-26เป็นรถถังทหารราบความเร็วต่ำ( slow-moving infantry tank ) ออกแบบมาเพื่อให้ทหารราบวิ่งตามได้ทันและรุกไปพร้อมๆกัน ส่วนรถถังในตระกูลบีทีนั้นเป็นรถถังทหารม้า( cavalry tanks ) เป็นรถถังเบาที่สามารถเคลื่อนที่ได้เร็วมาก( very fast-moving light tanks ) ออกแบบมาเพื่อใช้ต่อสู้กับรถถังด้วยกัน หรือในการบุกที่ไม่ใช้ทหารราบ
รถถังทั้ง2รุ่นมีเกราะที่สามารถ ป้องกัน อาวุธปืนของทหารราบได้ แต่ไม่สามารถป้องกันปืนไรเฟิลต่อสู้รถถัง หรือปืนใหญ่ต่อสู้รถถังที่มีขนาดตั้งแต่ 37 ม.ม. ขึ้นไปได้ และใช้เครื่องยนต์น้ำมันแก็สโซลีน ( gasoline-fueled engines )แต่ไม่ใช่แก็สโซฮอล์เน้อ ซึ่งเครื่องยนต์แบบนี้ รถถังส่วนใหญ่ทั่วโลกในยุคนั้นต่างก็ใช้เครื่องยนต์แบบนี้กันทั้งนั้น ซึ่งก็ต้องยอมรับกันว่าพอรถถังโดนยิง เครื่องยนต์แบบนี้จะเกิดไฟไหม้ง่ายเอามากๆ รถถังทั้งสองแบบนี้ ออกแบบในช่วงต้นทศวรรษที่1930 และล้วนแต่ออกแบบด้วย ฝีมือของชาวต่างชาติทั้งนั้น ว่ากันง่ายๆก็คือ ไม่ใช่ฝีมือของคนรัสเซียหรือชาวโซเวียตเอง
อย่างเจ้าที-26นี่ การออกแบบอาศัยพื้นฐานมาจาก รถถังวิกเกอร์6ตัน ของทางอังกฤษนู้น และที่หลายๆท่านไม่เคยทราบ ( ผมเองก็พึ่งทราบเหมือนกันครับ ) ก็คือรถถังตระกูลบีที มีพื้นฐานการออกแบบมาจาก วิศวกรชาวอเมริกันชื่อ วอร์เทอร์ คริสตี้( Walter Christie ) เรียกได้ว่าลอกแบบตั้งแต่กรุงลอนดอน ไปถึงกรุงวอชิงตัน แล้วค่อยกลับมาที่มอสโกเลยทีเดียว
มิคาอิล อิลยิช โคซคิน
( Mikhail Ilyich Koshkin )
คลิกที่รูปเพื่อขยาย
ในปีค.ศ.1937 วิศวกรชื่อ มิคาอิล โคซคิน ( Mikhail Koshkin ) ชื่อมาแนวๆเดียวกับ มิคาอิล คาลาชนิคอฟ ผู้ออกแบบปืนอาก้าเลยเนอะ ได้รับมอบหมายจากกองทัพแดง ให้เข้าร่วมในทีมออกแบบรถถังแบบใหม่ ที่จะนำมาแทนที่รถถังบีที ที่โรงงานผลิตหัวจักรรถไฟชื่อ คาร์คีฟ โคมินเทิรน์( Kharkiv Komintern Locomotive Plant ) หรือที่เรียกย่อๆว่า KhPZ ในตอนต้นของเรื่องนั้นเอง โรงงานนี้ตั้งอยู่ในเมืองคาร์คีฟ สมกับชื่อของโรงงาน
รถถังต้นแบบ ( The Prototype Tank )
รถถังต้นแบบมีชื่อว่า เอ-20 ( A-20 ) ซึ่งตัวเลข 20 นี้ มาจากความหนาของเกราะด้านหน้าของรถถัง ที่ได้ออกแบบมาให้หนาเป็นพิเศษกว่า 20 มิลลิเมตร( 20 millimetres ) หรือ 0.8นิ้ว (0.8 in) ติดอาวุธหลักเป็นปืนใหญ่ขนาด 45มม. หรือ 1.8นิ้ว และใช้เครื่องยนต์แบบใหม่ คือแบบวีทู( V-2 engine ) ซึ่งใช้เชื้อเพลิงที่ไม่เกิดการลุกไหม้ง่าย จนไฟลุกท่วมรถถังแบบแต่ก่อน นั้นก็คือน้ำมันดีเซล( diesel fuel )แบบรถกระบะบ้านเรานี่เอง ระบบขับเคลื่อนแบบ 8*6 ล้อ แบบเดียวกับรถถังบีที ที่ใช้แบบ 8*2 ล้อ โดยล้อจะวิ่งไปบนตีนตะขาบ
รูปมิตติ้งของรถถังในตระกูล ที-34 จากซ็ายไปขวา
A-8 ( BT-7 M), A-20, T-34 รุ่นปี 1940 และ รุ่นปี 1941
( คลิกที่รูปเพื่อขยาย )
รถต้นแบบนี้เป็นรถถังที่ง่ายต่อการ ซ่อมบำรุง ทำให้ประหยัดเงินค่าซ่อม ที่ในยามสงครามเงินทองนั้นหายาก ซึ่งตีนตะขาบของรถถังในช่วงต้นปี ค.ศ.1930นั้น จะเริ่มเชื่อถือไม่ได้ เมื่อวิ่งไปบนถนน ด้วยความเร็ว 85 กม./ชั่วโมง ( 53ไมล์/ชั่วโมง ) ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้จริงในสนามรบ นักออกแบบจึงคิดว่าตีนตะขาบ พวกนี้เป็นเหมือนของเสีย ที่สิ้นเปลืองเอามากๆ
A-20 จึงเป็นเสมือนสิ่งที่ได้จากการวิจัย ในโครงการรถถัง บีที-ไอเอส และ บีที-เอสดับเบิ้ลยู-2 (BT-IS and BT-SW-2 projects) ด้วยเกราะแบบลาดเอียง หรือที่เรียกกันว่า สโลฟ อาร์เมอร์ ( sloped armour ) ซึ่งทำให้กระสุนแทบทุกชนิด แฉลบหรือกระเด็นออกไป ทำให้ป้องกันได้ดีกว่ารถถังที่ใช้เกราะแบบตั้งฉาก หรือฝรั่งเรียกว่า เพอร์เพนดิคูเลอร์ อาร์เมอร์ ( perpendicular armor ) ซึ่งนิยมใช้ในรถถังเยอรมัน แต่ในรุ่นหลังๆก็ก็อปรูปร่างลาดๆ ของที-34ไปใช้บ้างแล้วครับ
มาดูต้นแบบหมายเลข 1กันให้ชัดๆครับ รูปถ่ายเดี่ยวๆของ เอ-20 ตะกี้เป็นรูปถ่ายครอบครัวครับ
ป้อมปืนเหมือนกับนำป้อมรถถังที-26 มาผสมกับ ป้อมของบีที-7 (คลิกที่รูปเพื่อขยาย)
โคซคินมั่นใจว่าท่านผู้นำสตาลิน จะต้องอนุญาตให้ทำการสร้างรถถังต้นแบบคันที่2 ( second prototype ) อย่างแน่นอน ด้วยรูปร่างที่ดูแข็งแกร่งน่าเกรงขาม ( หนาเตอะกว่ารถถังรุ่นไลท์เวจในยุคนั้น ) และมีปืนใหญ่ที่หนักกว่าแต่ก่อน เป็นรถถังแบบแรกของรัสเซีย ที่เป็นสากลขึ้น ( "universal tank" ) ถ้าให้รถถังที-26 และ บีที-7เข้าประกวดชิงตำแหน่งชายงามโซเวียต กับ เซกคันส์ โปรโตไทป์ (อย่างงครับ แค่เรียกรถถังต้นแบบคันที่2 เป็นภาษาประกิดเท่านั้นเอง ) เซกคันส์ โปรโตไทป์คันนี้ ต้องได้ตำแหน่งผู้ชนะเลิศแห่งปีไปแน่นอนอย่างกินขาด ด้วยรูปร่างที่บึกบึนกว่า ( ก็จะนำมาแทนที่2คันแรกนี่ ของใหม่ก็ต้องดีกว่าอยู่แล้ว)
ต้นแบบหมายเลข2 เอ 32 สังเกตจะเห็นว่าหน้าตาคล้ายที-34
ขึ้นมาหน่อยแล้วครับ เริ่มวิวัฒนาการแล้ว
( คลิกที่ภาพเพื่อขยายครับ )
โคซคินได้ตั้งชื่อให้รถถังต้นแบบคัน ที่2นี้ว่า เอ-32 หรือ ที-32 เช่นเดียวกับ เอ-20 เลข 32 นั้นมาจากเกราะด้านหน้า ที่ได้ถูกเพิ่มให้หนาขึ้นเป็น 32 มม. หรือ 1.3 นิ้ว จุดเด่นที่สุดของรถถัง เอ-32 ก็คือ ปืนใหญ่ที่ได้ขยายคาลิเบอร์กว้างกว่าเดิม เป็น 76.2 มม. วัดเป็นนิ้วก็ได้ 3นิ้ว พอดิบพอดี ส่วนเครื่องยนต์ก็ยังคงใช้เครื่องยนต์ดีเซล วี2 เหมือนเดิม ในการทดสอบภาคสนาม ( field trials ) ที่คูบินก้า ในปีค.ศ.1939 ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า เอ-32 สามารถเคลื่อนที่ได้ดีกว่า เอ-20 แม้กระนั้นก็ยังมีการเสริมเกราะหน้าของ เอ-32 ให้หนากว่าเดิม เป็น 45 มม. หรือ 1.8 นิ้ว ซึ่งเอ-32 ในเวอร์ชั่นหน้าหนาขึ้นนี้ ( เรียกซะเสียเลย ) ได้ถูกนำไปผลิตเป็นรถถังที-34 เพราะได้รับประกันมาตรฐานแล้ว รับประกันโดยหม่อมโคซคิน( เรียกแบบเชลล์ชวนชิม )
ที-26
|
บีที-7
|
เอ-32
|
ที่มาของเลข 34 (The Origin Of Number 34 )
เซอร์โก อ็อดโชนิกไคซี่ เพื่อนคนสนิทของสตาลิน
และเป็นผู้มีตำแหน่งสำคัญในพรรคคอมมิวนิสต์
ชื่อ ที-34 นี้ โคซคินเขาเป็นคนตั้งให้ครับ ( ไม่ได้ตั้งตามเลขหวยนะครับ )โดยตั้งขึ้นหลังจากปีค.ศ.1934 ซึ่งเป็นปีที่เขาปิ๊งไอเดีย และเริ่มร่างแผนแบบการสร้างรถถังแบบใหม่คันนี้ ได้มีการขยายกองพลยานเกราะของโซเวียต ให้มีรถถังจำนวนมากขึ้น โดยมี เซอร์โก อ็อดโชนิกไคซี่ ( Sergo Ordzhonikidze ) เป็นผู้ควบคุมการผลิตรถถัง ( ถ้าผลิตได้ไม่ตรงตามยอดที่ต้องการโดนยิงเป้าแน่ )
รถถังต้นแบบหมายเลข2 หรือก็คือที-34 รุ่นแรก สร้างขึ้นสำเร็จใน เดือนมกราคม ปีค.ศ. 1940 และได้ผ่านการทนสอบการเดินทางที่สุดแสนจะลำบาก เป็นระยะทางถึง 2,000 กิโลเมตร หรือกว่า 1,250 ไมล์ โดยขับออกจากโรงงานผลิตที่คาร์คีฟ วิ่งมาจนถึงนครหลวงมอสโคว์ เป็นการพิสูจน์ให้ท่านผู้นำสตาลินเห็นสมรรถนะ กับตาด้วยการมาจอดหยุด อยู่หน้าพระราชวังเครมลินเลยทีเดียว ( อันนี้โม้เอาเองหน่อยนะครับ เขาระบุไว้แค่มาถึงมอสโกเฉยๆ ) และยิ่งเซอร์ไพส์กว่าเดิม ด้วยการขับรถถังที-34 จากแนวแมนเนอร์ไฮม์ในฟินแลนด์ ( Mannerheim Line ) กลับสู่โรงงานบ้านเกิดในคาร์คีฟ ซึ่งต้องผ่านเมืองมินส์ ( Minsk ) และเคียฟ ( Kiev ) ใช้เวลาไปประมาณเดือนหนึ่ง คือตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม ( การแสดงครั้งนี้คล้ายๆกับ โฆษณารถกระบะอิซูซุ ดีแม็ก ยอดรถปิคอัฟประหยัดน้ำมัน ที่วิ่งตั้งแต่ไทยไปถึงเวียดนามโน้น ยังไงชอบกล ไม่รู้ใช้น้ำมันแค่ถังเดียวเหมือนกันรึเปล่า อิอิ )
นับว่าวิ่งได้พอๆกับระยะทางที่ เยอรมันบุกรัสเซียไม่มีผิด หากเป็นรถถังเยอรมันคงพังไปแล้วเรียบร้อย แถมยังเปลืองตังค์ค่าน้ำมันเยอะกว่าอีกต่างหาก ให้ท่านคิดไปถึงการเอา รถเก๋งที่ใช้น้ำมันเบนซิน 95 ( แน่ะไม่ยอมใช้แก็สโซฮอลล์อีก ) ไปวิ่งแบบอิซูซุดีแม็ก รับรองว่ารถเก๋งเสื่อมสภาพไปเยอะ และต้องแวะเติมน้ำมันบ่อย ดีไม่ดีเครื่องโอเวอร์ฮีทด้วย แถมอีกนิดถนนของรัสเซียในสมัยนั้นใครๆเค้าก็รู้กันว่า ทุรกันดารสุดๆ หรือเรียกง่ายๆว่าบ้านนอก ไม่เชื่อก็ไปถามพลขับแพนเซอร์ของเยอรมัน ที่เคยขับรถถังในดินแดนรัสเซียได้ครับ การวิ่งครั้งนี้จึงเป็นการแสดงความทนทานของรถถัง ที-34 ได้เป็นอย่างดี ( ที-34 นี่คล้ายอิซูซุเนอะ ต่างกันแค่ตรงที่ไม่มีแอร์ พลขับรถถังอาจจะมีแอร์ก็ได้นะครับ แต่คงไม่ค่อยเย็น เพราะว่าเป็นแอร์กี่ )
ได้ มีการพบข้อบกพร่องของช่วงล่างของรถถัง ( drivetrain ) ทางทีมพัฒนาก็ได้แก้ไขให้ดีขึ้น แต่พอจะทำการผลิตก็ได้รับกระแสต่อต้านจากผู้บังคับบัญชาของกองทัพ เนื่องจากการแก้ไขในส่วนนี้ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น แต่ในที่สุดทีมพัฒนาก็สามารถโน้มน้าวให้กองทัพยอมรับได้ เพราะว่าในขณะนั้นสหภาพโซเวียตกำลังขาดแคลนรถถังเป็นอย่างมาก หลังจากที่ใช้บุกฟินแลนด์แล้วถูกหิมะฝังกลบเสียหมด และจากการที่เยอรมันได้แสดงให้เห็นคุณค่าในสนามรบของรถถังให้โลกได้ประจักษ์ อีกครั้ง ในสงครามสายฟ้าแลบบุกฝรั่งเศส ( Germany s Blitzkrieg in France ) ทำให้ฝรั่งเศสซึ่งเป็นศัตรูกันมาช้านาน และเคยรบกันในสงครามโลกครั้งแรกเป็นเวลากว่า4ปี ต้องยอมศิโรราบในเวลาเพียงแค่เดือนเดียว ! โซเวียตจึงต้องการรถถังที่มีความแข็งแกร่งพอจะต่อต้านแพนเซอร์ได้อย่างเร่ง ด่วนที่สุด
รถถังที-34คันแรกถูกผลิตออกมาได้ สำเร็จ ในเดือนกันยายน ปีค.ศ.1940 และโรงงาน KhPZ พร้อมที่จะเปิดสายการรถถังที-34 แทนที่ การผลิตรถถังแบบเดิมๆ คือ ที-26,รถถังในตระกูลบีที และรถถังขนาดกลางหลายป้อมปืนแบบ ที-28 ( multi-turreted T-28 medium tank )
อเล็กซานเดอร์ อเล็กซานโดรวิช โมโรซอฟ
( Alexander Alexandrovich Morozov )
( คลิกที่รูปเพื่อขยาย )
นาย โคซคินได้เสียชีวิตลง ในวันที่ 26 กันยายน ปีค.ศ.1940 หรือช่วงใกล้สิ้นเดือนของการผลิตรถถัง ที-34 คันแรกนั้นเอง ราวกับว่าหน้าที่ของเขาในโลกนี้ได้สิ้นสุดลงแล้ว ( เกิดมาเพื่อออกแบบและสร้างรถถังที-34ให้สำเร็จ ) จึงได้มีการแต่งตั้งบุคคลขึ้นมาเป็น หัวหน้าทีมพัฒนารถถังที-34ต่อจากเขา เขาผู้นั้นคือ นาย อเล็กซานเดอร์ โมโรซอฟ ( Alexander Morozov )
ได้มีการพัฒนาระบบกันสะเทือนด้วยขด ลวดสปริงขึ้น แบบเดียวกับที่ใช้ในรถถังบีที แต่มีน้ำหนักมากกว่าและไม่ส่งผมต่อการขับขี่แต่อย่างใด ต่อมาก็ได้เกิด ที-34รุ่นปรับปรุง เวอร์ชั่นแรก โดยในเวอร์ชั่น1.0นี้ ( เรียกหยั่งกะเกมส์ ) ได้ถูกติดตั้งอาวุธหลักใหม่เป็นปืนใหญ่ขนาด 76.2มม. หรือที่ถูกเรียกกันจนคุ้นหูว่า ที34/76 ( เป็นชื่อที่ทหารเยอรมันตั้งให้ ) เมื่อมีเวอร์ชั่นแรกแล้ว ก็เป็นธรรมดาที่ต้องมีเวอร์ชั่น2.0 ตามมา นั้นคือ ที34-85 หรือ ที34/85 ถูกนำเข้าสายการผลิตในปีค.ศ.1944 ซึ่งมีป้อมที่ใหญ่ขึ้นและ มีปืนใหญ่ลำกล้องยาวขนาด 85 มม. ที่ใหญ่กว่าเดิม เป็นจุดขาย และเด่นเป็นสง่า
การตั้งขึ้นและการบำรุงรักษา ( Establishing and maintaining production )
รถถังที-34 รุ่นปี1940 (คลิกที่รูปเพื่อขยาย)
"ปริมาณนั้นมีคุณภาพทั้งปวงในตัวเอง"
"Quantity has a quality all its own"
คำกล่าวของโจเซฟ สตาลิน
ที-34 นับเป็นรถถังที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมโซเวียต และนับเป็นรถถังขนาดกลางแบบหนึ่งที่มีเกราะหนามากที่สุดในขณะนั้น ตัวเครื่องยนต์แบบ วี-2 ผลิตออกมาจากโรงงานดีเซลคาร์คอฟ หมายเลข 75 (Kharkov Diesel Factory No. 75) โรงงานคิรอฟสกี้ ที่เลนินการ์ด (Leningrad Kirovsky Factory) ซึ่งก่อนหน้านี้เคยใช้ชื่อว่าโรงงานพูลิตอฟ (former Putilov works)ผลิตปืนใหญ่หลักแบบ แอล-11 (L-11 gun) และโรงงานไดนาโมในกรุงมอสโคว์(Dinamo Factory in Moscow) มีหน้าที่ผลิตอุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้าต่างๆในรถถัง
ที-34 คันแรกถูกผลิตที่โรงงานเคเอชพีแซด หมายเลข 183 (KhPZ No. 183) พอถึงช่วงต้นปี 1941 ที-34 ก็ถูกผลิตที่โรงงานแทร็กเตอร์ในสตาลินการ์ด (Stalingrad Tractor Factory) หรือที่เรียกสั้นๆว่า เอสทีแซด (STZ) พอเริ่มเดือนกรกฏาคมได้ไม่นาน หลังจากเยอรมันบุกมาถึงโรงงาน คราสโนยี ซอร์โมโว หมายเลข 112 ในกอร์กี้ (Krasnoye Sormovo Factory No. 112 in Gorky) โซเวียตก็ประสบปัญหาการขาดแคลนแผ่นเกราะที่นำมาผลิตรถถัง (armour plates) และต่อมาก็เกิดการขาดแคลนเครื่องยนต์ดีเซล วี 2 ซึ่งถูกผลิตเป็นครั้งแรกจากโรงงานในกอร์กี้ และเป็นที่เดียวกับที่ผลิตเครื่องยนต์แก็สโซลีนเผาไหม้ด้วยอากาศ แบบ เอ็มที-17(MT-17 gasoline-burning aircraft engine) ของรถถังในตระกูลบีทีด้วย แต่ก็ยังขาดแคลนได้ไม่เท่า พวกอุปกรณ์ส่งกำลัง(transmission) อย่างเกียร์ และคลัทช์ (clutch)
เครื่องยนต์ดีเซล 12สูบ วี-12
(คลิกที่รูปเพื่อขยาย)
ผู้บังคับกองร้อยรถถัง ได้ขอร้องให้มีการหาอาวุธหลักมาแทนที่ปืนหลักแอล-11ที่ใช้อยู่ในที-34ตอนนี้ ทำให้นักออกแบบปืนใหญ่ที่ชื่อการ์บิน (ชื่อเต็มๆคือ วาซิลี่ การ์ลิโลวิช การ์บิน=Vasiliy Gavrilovich Grabin) ที่ทำงานอยู่ในโรงงานกอร์กี้ หมายเลข 92 (Gorky Factory No. 92) ได้สร้างปืนหลักที่มีอานุภาพสูงแบบ เอฟ 34 ขนาด 76.2มม (F-34 76.2 mm gun) แต่ไม่มีใครเห็นด้วยที่จะผลิตปืนแบบนี้ จนกระทั่งโรงงานกอร์กี้และเคเอชพีแซด ได้เร่งผลิตปืนแบบใหม่นี้ทุกวิถีทาง อันเนื่องมาจากปืนหลักแบบใหม่ได้รับอนุญาตจากสตาลิน และกรรมการป้องกันรัฐ(State Defence Committee) หลังจากเหล่าพลรถถังในสนามรบได้ส่งเรื่องมาว่าปืนใหญ่หลักประจำรถถังที-34 มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ
ปืนใหญ่เอฟ-34 76.2มม.
(คลิกที่รูปเพื่อขยาย)
นอกจากนี้ยังมีเรื่องการเมืองเข้า มาเกี่ยวเมื่อพวกหัวเก่าในกองทัพบก ต้องการให้ทำการผลิตรถถังเก่าๆแบบ ที-26 และรถถังในตระกูลบีทีขึ้นมาใหม่ หรือพูดง่ายๆก็คือต้องการให้ยกเลิกการผลิตรถถังที-34 ที่ยังคงผลิตได้ไม่ครบตามยอดนั้นเอง (เหมือนเป็นการปลุกผีขึ้นมาใหม่ไม่มีผิด หากโซเวียตทำเช่นนั้นคงจะต้องพ่ายแพ้แก่เยอรมันเป็นแน่แท้ เพราะรถถังแบบเก่าๆคงไม่สามารถสู้รถถังเยอรมันจำพวก ไทเกอร์ แพนเธอร์ในช่วงปี 1943ได้แน่ๆ) รวมทั้งยังต้องการให้ยกเลิกการออกแบบรถถังที-34 เอ็มด้วย จากกระแสกดดันทางการเมืองนี้ก็ทำให้มีการสร้างรถถัง เควี-1 และไอเอส-2 ขึ้นมาแข่งขันกับที-34 ซึ่งก็เป็นการแข่งขันกันระหว่างนักออกแบบและโรงงาน แต่พอแข่งไปแข่งมาในที่สุดรถถังทั้งสามแบบ ก็ได้เข้าประจำการเพราะมีคุณสมบัติตรงตามต้องการทุกคัน หลังสงครามโลกครั้งที่สองจบลง ก็เกิดการซ้ำรอยเดิมแบบนี้อีก เมื่อรถถังที-55,ที-64 และที-72 ก็ได้ถูกผลิตออกมาเพราะการแข่งขันกันของโรงงานกับความแตกต่างของผู้อุดหนุน ด้านการเมือง ที่เป็นใหญ่ในสหภาพโซเวียต
เมื่อเยอรมันเปิดฉากโจมตี รัสเซียโดยไม่ให้ทันตั้งตัว ในวันที่ 22 มิถุนายน ปี1941 หรือที่รู้จักกันดีในชื่อยุทธการ บาร์บารอสซ่า (Operation Barbarossa) สหภาพโซเวียตได้เร่งทำการผลิตรถถังอย่างขนานใหญ่เพื่อให้สามารถต่อกรกับกอง ทัพแพนเซอร์ของเยอรมัน ที่ทำเอากองทัพรัสเซียแตกพ่ายอย่าไม่ทันรู้ตัว
เฮ้อ... เรื่องนี้อีกแล้วที่ผมเขียนไม่เสร็จ แต่ก็ยังขยันก็อปกันไปลง จนตอนนี้เว็บผมเจ๊งไปแล้วมั้งเนี่ย 555+
คาดว่าท่านจขกท.คงไม่รู้เอามาจากเว็บ http://board.postjung.com/584471.html
ซึ่งเว็บต้นตอนี้ไม่ได้ลงเครดิตเว็บผมใดๆเลย!? แต่ลงวิกิที่ผมแปลมาครบ
ผมละเบื่อจริงๆ พวกที่ชอบก็อปบทความเว็บคนอื่นมาแปะ ไม่ได้ว่านะครับก็อปมาแปะได้
แต่ผมเคยเขียนไปแล้วว่าขอให้เครดิตกันก็ยังดี ไม่รู้มันยากเย็นอะไรนักหนา
ล่าสุดไม่นานมานี้ก็มีหนังสือเล่มหนึ่ง เอาเนื้อในเว็บผมไปลง ทั้งๆที่ผมเคยบอกว่าห้ามนำไปใช้ในการค้า แต่จริงๆแล้วถ้าส่งเมล์มาขอผม ผมก็ยินดีให้นะ แต่นี่ไม่มีมาเลยแค่ใส่เว็บไว้หลังหนังสือแล้วก็จบ... ที่สำคัญเนื้อหามันเหมือนเว็บผมเกือบร้อยเปอร์เซนต์นี่สิ เหอะๆ
หรือประเภทเอาคำเกริ่นนำของผม มาใส่ชื่อตัวเอง แต่คำเกริ่นของผมชัดๆ แล้วก็บอกขอขอบคุณแทนอาร์มี่ แทนที่จะแปะเครดิตเว็บ.....เฮ้อ
พวกที่ก็อปไปแล้วไม่ใช่เครดิตอย่าคิดว่าผมจะหาไม่เจอนะครับ ผมเห็นมาตลอดละ ประจำ
แค่มาบ่นเฉยๆ ไม่มีอะไรมากท่านจขกท. อย่าไปสนใจเลยครับ
ท่าน : tan02 ครับเราเองก็ไม่ได้คิดอะไรมากครับเคยเอาไปลงในเว็บอื่นๆคนดูมากๆ
ขอโทษด้วยครัยที่ลงเคสดิต ของคุณ
เรียบเรียงเรื่องราวดี สำนวนดี น่าอ่านครับ
คุณแทนอาร์มี่ อย่าเพิ่งหมดกำลังใจครับ
ผมเป็นอีกหนึ่งคนที่ติดตามผลงานของคุณแทนเสมอ ขอเป็นหนึ่งกำลังใจครับ
คุณแทนไม่เอาเรื่องเลยล่ะครับ เวลาหนังสือก๊อปกันหน้าเกลียดๆ
หรือว่าเรื่องจะยุ่งยากลำบาก ขี้เกียจ
เป็ฯกำลังใจให้นะครับ เพราะคนขยันเขียยนบทความยาวๆ อ่านสนุกๆ ข้อมูลเยอะๆ มีน้อย
ขอบคุณสำหรับกำลังใจจากเพื่อนสมาชิกครับ
ปล.เว็บผมไม่ได้ต่อโดเมนแล้วนะครับ ถือว่าปิดฉากลงแล้วครับ
ไว้ผมมีผลงานออกมาขายเมื่อไหร่ก็ฝากติดตามด้วยนะครับ