หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เราน่าจะวิจัยบูสเตอร์ต่อระยะที่ติดที่จรวดพื้นสูอากาศ ให้กลายเป็น SAM ระยะไกล

โดยคุณ : intelligent เมื่อวันที่ : 15/01/2012 20:31:38

ตอนนี้ศวอ. ทอ.สามารถสร้างลำตัวจรวด ดินขับแะมอเตอร์ได้เองแล้ว อยากจะเสนอให้สร้างตัวบูสเตอร์ต่อระยะให้กลายเป็นจรวด 2 สเตจ เพื่อเพิ่มระยะยิง

ระบบนำวิถีจรวด 127 มม.มี 2 แบบ แบบแรกเป็นแบบ ACH และแบบ 2 เป็น IR เหมือนกับเดอร์บี้และ ไพธ่อนของอิสราเอลที่เป็นจรวดแบบเดียวกันแต่ระบบนำวิถีคนละแบบ

ระบบ SPYDER ของอิสราเอลก็ใช้บูสเตอร์ต่อระยะ และอยากให้เป็นรถฐานยิงแนวดิ่ง ยิงได้ 360 องศาได้





ความคิดเห็นที่ 1


เราต้องใช้จรวดให้น้อยแบบนำของเดิมที่มีอยู่มาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น เหมือนกับระบบ RBS 23 ของสวีเดนที่เอาจรวด RBS 70 มาต่อบูสเตอร์ทำให้เพิ่มระยะยิงได้ไกลถึง 2 เท่า นี้เป็นหนทางที่ชาญฉลาด ประหยัดงบประมาณ


โดยคุณ intelligent เมื่อวันที่ 14/01/2012 22:24:54


ความคิดเห็นที่ 2


เราอาจเพิ่มความยาวดินขับของจรวด 127 มม.ให้มีระยะยิงไกลมากขึ้นต่อด้วยบูเตอร์ต่อระยะก็ได้ ในภาพคือ ASTER จรวด 2 สเตจ แบบแรกบูสเตอร์ดินขับน้อย แบบที่บูสเตอร์ดินขับมากยิงได้ไกลกว่าแบบแรก ภ้าเราพัฒนาได้เหมือนกับ ASTER เราก็อาจจะได้ ANTI Ballistics missile ไปเลย


โดยคุณ intelligent เมื่อวันที่ 14/01/2012 22:28:57


ความคิดเห็นที่ 3


ระบบนำวิถีก็ช้จรวดแบบเดียวกัน แต่ติดตั้งระบบนำวิถีแตกต่างกัน ไม่จำเป็นว่าจรวดนำวิถี IR เป็นอีกแบบหนึ่ง นำวิถีด้วย Radar ต้องเป็นอีกแบบไม่จำเป็นต้องพัฒนาพร้อมกัน 2 แบบ แค่เปลี่ยนระบบนำวิถีเข้ากับตัวจรวดก็ได้ เหมือนกับจรวด MICA ตามภาพ


โดยคุณ intelligent เมื่อวันที่ 14/01/2012 22:33:28


ความคิดเห็นที่ 4


ลองใหม่นะครับ MICA


โดยคุณ intelligent เมื่อวันที่ 14/01/2012 22:34:14


ความคิดเห็นที่ 5


จบแล้วครับ สำหรับข้อเสนอของผมในการพัฒนาขีดความสามารถในการป้องกันภัยทางอากาศ โดยยึดหลัก พอเพียง นำของเดิมมาปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

โดยคุณ intelligent เมื่อวันที่ 14/01/2012 22:37:29


ความคิดเห็นที่ 6


เป็นแนวคิดที่น่าสนใจเราน่าจะวิจัยจรวดต่อระยะกับจีนได้

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 15/01/2012 00:19:29


ความคิดเห็นที่ 7


ผมสงสัยครับ คือ ถ้าเรานำของเดิมมาต่อระยะ มันพอจะมีรุ่นไหนบ้างที่จะเอามาต่อระยะได้บ้างครับ

มันมีข้อห้ามจากฝั่งผู้ผลิตรึปล่าว เเล้วระบบตรวจจับเป้าหมายต้องเปลี่ยนใหม่รึปล่าวครับ

โดยคุณ cardrock เมื่อวันที่ 15/01/2012 01:01:14


ความคิดเห็นที่ 8


ถ้าทำได้ขนาดนี้ก็ยอดเยี่ยมครับ

 


โดยคุณ SSA เมื่อวันที่ 15/01/2012 01:56:11


ความคิดเห็นที่ 9


น่าสนใจดีครับแนวคิดนี้ ถ้าเราสามารถทำได้พวกอาวุธที่ไกล่หมดอายุประจำการแทนที่เราจะทำลายทิ้ง เราก็สามารถนำกลับมาต่ออายุใช้งานได้อีก เช่นพวกจรวดไซด์ไวเดอร์ เราอาจจะเปลี่ยนชุดนำวิถีให้มันและต่อบูตเตอร์ปรับปรุงระบบนำร่องและพวกชนวนจุดระเบิด แล้วนำมาเป็นพวกอาวุธพื้นสู่อากาศ ถ้าทำได้และคุ้มค่ารับรองเราจะพัฒนาได้อีกมาก

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 15/01/2012 07:25:16


ความคิดเห็นที่ 10


ติดสิทธิบัตรในการผลิต ดัดแปลง แก้ไขครับ  มีทางเดียวคือาการพัฒนาขึ้นใหม่ภายใต้แหล่งความรู้ที่เรามีซึ่งอาจถูกท้วงติงว่าลอกแบบบ้าง  ยกตัวอย่างเช่นกองทัพเรือเอง..บรรดายุทโธปกรณ์ที่ได้รับการช่วยเหลือทางหาร หากมีการปลดประจำการยังต้องติดต่อ JUSMAG เพื่อดำเนินการต่อไปเช่นหากเขาไม่ต้องการแล้วก็อาจยกให้เพื่อจำหน่าย (ทำลายทิ้ง)  หรือขอคืนดังเช่นกรณีเรือหลวงนาคาที่สมาคมลูกเรือเก่าเรือฯ ขอคืนเพื่อนำกลับสหรัฐฯ นำไปเป็นอนุสรณ์สถาน  หรือมอบให้และ ทร.นำไปเป็นเป้เพื่อทดสอบยิงอาวุธปล่อยนำวิถี ดังเช่นกรณีเรือหลวงพาลี เป็นต้น   หรือกรณีซ่อมบำรุงเครื่องบินโจมตี A-7 ที่หากไม่ได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้ผลิต (ที่เราพิจารณาแล้วแพงไป) เราก็ถึงทางตันครับ... สิ่งเหล่านี้พวกฝรั่งมันคิดหมดครับ ขนาดปืนพก 86 M1911 ของพวกมันเอง  มันยังจ้องละลายสิทธิบัตรเลย  เรือหลวงปิ่นเกล้าเอง..มีนายทหารเรือสหรัฐฯ ท่านนึงบอกว่า คุณพ่อขอเขาเคยสร้างเรือลำนี้ (ชั้น CANNON ที่มี 72 ลำ)  และเขาได้มีโอกาสลงมาปฏิบัติงานในเรือที่คุณพ่อของเขาสร้าง..และทั่วโลกมีเหลือ 2 ลำเอง  โอ...มายก๊อด..ยังงี้มีหวังต้องกลับอเมริกาแหง  สรุปสั้นๆ ง่ายๆ คือ ติดสิทธิบัตร

โดยคุณ piti.l เมื่อวันที่ 15/01/2012 09:21:25


ความคิดเห็นที่ 11


เหมือนจะเคยได้ยินมาว่าโครงการ DTI ของเราก็มีโครงการจรวดพื้นสู่อากาศด้วยใช่หรือปล่าวครับ แต่ไม่แน่ใจว่าพิสัยการยิงจะขนาดไหน

โดยคุณ cardrock เมื่อวันที่ 15/01/2012 09:31:38