หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ดินแดนของไทยที่ยังมีปัญหา

โดยคุณ : tan02 เมื่อวันที่ : 13/01/2012 23:25:38

ขอปั๊มกระทู้ที่สองสำหรับวันนี้ เผอิญค้นๆข้อมูลในวิกิดูแล้วพบเจอ เลยขอตั้งกระทู้นี้เพื่อให้เป็นความรู้แต่สมาชิกและผู้สนใจครับ
คำเตือน กระทู้นี้ไม่ได้ยุยงให้คุณเกลียดชังบางประเทศในเนื้อหาจริงๆนะ เพราะกล่าวตามหลักฐานและความจริงล้วนๆไม่ได้โม้

http://en.wikipedia.org/wiki/Category:Territorial_disputes_of_Thailand

Territorial disputes of Thailand พื้นที่ทับซ้อน?ของไทย
(จริงๆมีนอกจากวิกิอีก แต่ผมไม่ค่อยทราบขอข้ามไป)

1.Cambodian–Thai border dispute ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา

นี่คือเหตุการณ์ปัจจุบันและที่ผ่านมาและอาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต ทีแรกเราคิดกันว่าไทย-กัมพูชาขัดแย้งกันเรื่องที่เขาพระวิหาร 4.6ตารางกิโลเมตร ซึ่งก็ทำให้รบกันมาแล้ว แต่ไปๆมาๆอยู่ๆกัมพูชาก็เปิดแนวรบอีกที่คือบริเวณปราสาทตาควาย กลายเป็นว่าทำสงครามแย้งโบราณสถานในอดีตกัน แต่จริงๆแล้วก็คือกัมพูชาแย่งดินแดนนั้นละ

สาเหตุ คงไม่มีใครนอกจากฝรั่งเศส เพราะตอนที่มายึดอินโดจีนก็เขียนแผนที่ส่งเดช(ที่ต้องใช้คำนี้ ก็เพราะเขียนเอาฝ่ายเดียว ไม่เคยบอกเรา หรือบอกแล้วก็บอกเราไม่ตอบคือยอมรับ ก็พี่ท่านใช้อาวุธข่มเหง ใครมันจะกล้าหือเล่า) ทีนี้ประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมเช่นลาว และเขมร ก็ถือแผนที่ฝรั่งเศส แล้วก็มาบอกว่าดินแดนนี้เป็นของตน ส่วนไทยเราก็ถือแผนที่ของเราอยู่ดีๆก็ไม่ยอม ข้ามฝ่ายที่ถือแผนที่ฝรั่งเศสอย่างกัมพูชาก็ไม่ยอม ส่งทหารโจมตีทำสงคราม แต่เราก็ตั้งรับไว้ได้ ทำให้เหตุการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป คือยังไม่มีใครชนะได้ดินแดนไป (แต่จริงๆตอนนี้เราถือครองอยู่ ก็ถือว่ากัมพูชายังทำไม่สำเร็จ)

เหตุการณ์ปะทะใหญ่และแบบอึมครึมนี้เกิดขึ้นมานานกว่า4ปีแล้ว (นับตั้งแต่ปี2551) ในปัจจุบันนี้แม้เปลี่ยนรัฐบาลแล้วก็ยังไว้ใจไม่ได้ (ถึงเว็บนี้จะบอกห้ามการเมือง แต่เหตุการณ์นี้ก็มีการเมืองทั้งในไทยเราและกัมพูชาเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการปะทะ) ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งสองฝ่าย









ความคิดเห็นที่ 1


2.Preah Vihear Temple ปราสาทพระวิหาร หรือที่กัมพูชาเรียกว่า เปรี๊ยะ วิเฮียร์

ในเมื่อกล่าวถึงความขัดแย้งด้านพื้นที่ทับซ้อนชายแดนไทย-กัมพูชาแล้ว ก็ต้องกล่าวถึงปราสาทเขาพระวิหาร เพื่อให้เข้าใจถึงที่มาที่ไป และการเปลี่ยนมือถือครองกันไปกันมา ของไทยและกัมพูชาเหนือปราสาทเขาพระวิหาร ข้อมูลโดยละเอียดอ่านได้ในวิกิภาษาไทยนะครับ นี่คือส่วนที่สำคัญที่ยกมา

เส้นเวลา Timeline

1. Begin เริ่มแรกสุด

พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 แห่ง จักรวรรดิขแมร์ ทรงกำหนดหลายพื้นที่บริเวณเขาพระวิหารเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นจุดเร่ิ่มต้นสร้างปราสาทเขาพระวิหารขึ้น แต่สร้างเสร็จเมื่อไหร่ผมไม่ทราบ 
(ลองดูแผนที่จักรวรรดิได้ ตอนนั้นเค้ายิ่งใหญ่จริงๆนะเออ กว้างซะ) 
http://en.wikipedia.org/wiki/Khmer_Empire

2.ค้นพบ

พ.ศ. 2442 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นผู้ค้นพบปราสาทพระวิหารในสมัยปัจจุบัน ได้ทรงจารึกปี ร.ศ. ที่พบเป็นเลขไทย ตามด้วยพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดี เป็นข้อความว่า "๑๑๘ สรรพสิทธิ"

 

3.มารเอ้ย ฝรั่งเศสมาผจญ

ต่อมาเมื่อประเทศฝรั่งเศสเข้าครอบครองอินโดจีนได้ทำสนธิสัญญา พ.ศ. 2447 ในการปักปันเขตแดนกับราชอาณาจักรสยาม โดยมีความตามมาตรา 1 ของสนธิสัญญา ระบุให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ซึ่งมีผลให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนไทย(ย้ำ) โปรดอ่านข้อต่อไปดีๆ และจดจำไว้

 

4.กลับกลอก พูดเองเออเอง

ต่อมาใน พ.ศ. 2451 ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ฝ่ายเดียว ส่งมอบให้สยาม 50 ชุด แต่ละชุดมี 11 แผ่นและมีแผ่นหนึ่งคือ "แผ่นดงรัก" ที่ครอบคลุมพื้นที่ปราสาทพระวิหาร และไม่ได้ใช้แนวสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ทำให้ปราสาทพระวิหารในแผนที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา โดยที่รัฐบาลสยามในขณะนั้นไม่ได้รับรองหรือทักท้วงความถูกต้องของแผนที่ดังกล่าว (เงียบถือว่ายอมรับ...)

ปัญหาเริ่มมาจากข้อ4นี่ละครับ ส่งผลมาถึงที่ผ่านมาและปัจจุบันนี้ ถ้าเกิดฝรั่งเศสไม่ทำตัวแบบในข้อ4คือ กลับกลอก พูดเองเออเอง เขาพระวิหารก็คงอยู่ในดินแดนเรา นอกจากนี้รศ.๑๑๒ ฝรั่งเศสก็กร่างทำให้เราต้องเสียดินแดนไปมากมาย ยิ่งพิมพ์ยิ่งแค้นนะเนี่ย...

 

5.ตกอับ ทวงคืน

ในปี พ.ศ. 2483 ประเทศฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อประเทศเยอรมนี (สงครามโลกครั้งที่สอง) ทำให้แสนยานุภาพทางทหารลดลง จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ยื่นข้อเสนอเรียกร้องดินแดนที่เสียไปในสมัยรัชกาลที่ 5 คืนจากฝรั่งเศส

ซึ่งฝรั่งเศสปฏิเสธและมีการเคลื่อนไหวทางทหาร (ถ้าจำไม่ผิด เอาบ.มาทิ้งบอมบ์นครพนมเฉย สรุปแพ้เยอรมันแล้วยังจะเก๋าอีก)  ที่ทำให้เกิดสงครามพิพาทอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสขึ้นในปี พ.ศ. 2484 ประเทศไทยได้รับชัยชนะในการรบตลอด 22 วัน (หนึ่งในความอับอายในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง)

 

6. การแทรกแซง

ประเทศญี่ปุ่นที่เป็นมหาอำนาจในขณะนั้นเสนอตัวเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ย (จริงๆตอนนั้นญี่ปุ่นก็กะจะมายึดแถบนี้อยู่แล้ว ก็นั่งดูไทยตีฝรั่งเศส แล้วไทยทำท่าจะบุกเลยเถิดไปได้ไกล พี่ยุ่นก็เลยกลัวจะไม่ได้มายึดอินโดจีน เลยมาให้เรากับฝรั่งเศสยิงกัน ภายหลังก็มายึดอินโดจีนก่อน แล้วก็ใช้วิชีฝรั่งเศสเป็นหุ่นเชิด จากนั้นก็มายกพลขึ้นบกบุกภาคใต้ไทยเราต่อ แต่ก็โดนไปไม่ใช่น้อย)

และฝรั่งเศสได้ตกลงคืนจังหวัดไชยบุรี จำปาศักดิ์ เสียมราฐ และพระตะบองให้กับไทย ตาม อนุสัญญาโตเกียว ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับมาอยู่ในดินแดนไทยอย่างสมบูรณ์

ไทยเราพอได้ดินแดนสมัยก่อนคืนก็พอใจ ตอนนี้เขาพระวิหารก็เปลี่ยนมือมาอยู่ในไทยเราแล้ว เพราะเราได้เขตแดนลึกเข้าไปอีก ไม่ติดชายแดนอีกต่อไป

 

7.จับมือ โบกมือลา

ต่อมาเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลไทยประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร (เงิบเลยทีเดียว) และต่อมาญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ประเทศไทยต้องรักษาสถานะตัวเองไม่ให้เป็นฝ่ายแพ้สงครามตามญี่ปุ่น และต้องการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ จึงตกลงคืนดินแดน 4 จังหวัดให้ฝรั่งเศส ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับไปอยู่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา

สถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ก็ทำให้อะไรๆเปลี่ยนไปตามกาลเวลา หลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง ประเทศเจ้าอาณานิคมที่เคยเสียดินแดนให้ฝ่ายอักษะ ก็แห่กันกลับมายึดอาณานิคมตามเดิม แต่ก็ต้องถูกเจ้าของประเทศต่อต้าน โดยเฉพาะเวียดนามที่เป็นหัวหอกต่อต้าน จึงเกิดเป็นสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง ซึ่งผลแพ้ชนะก็ส่งผลกับเขาพระวิหารดังนี้

 

8.เขมรรีเทิร์น

ปี พ.ศ. 2497 ฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อเวียดนามที่เดียนเบียนฟู ต้องถอนทหารออกจากอินโดจีน ประเทศกัมพูชาได้รับเอกราชตามสนธิสัญญาเจนีวา และไทยได้ส่งทหารเข้าไปรักษาการบริเวณปราสาทพระวิหารอีกครั้ง (ก่อนหน้านี้ฝรั่งเศสคุม พอพี่แกไป พี่ไทยก็เข้าเสียบอย่างเร็ว)

ภายหลังกัมพูชาได้รับเอกราช เจ้านโรดมสีหนุ กษัตริย์กัมพูชาสละราชสมบัติเข้าสู่การเมือง ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี และประกาศเรียกร้องให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร และไทยไม่ยอมรับ (กลับมาก็เก๋าเลย) และเขาก็เริ่มเล่นเกมส์

เจ้านโรดมประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 (แรงนะเนี่ย)

6 ตุลาคม พ.ศ. 2502 เจ้านโรดมสีหนุได้ฟ้องร้องต่อ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร (ฟ้องแล้ว)

 

9.แพ้คดี เสียปราสาท แต่ไม่เสียดินแดน?

ไทยต่อสู้คดีโดยมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช กับคณะรวม 13 คน เป็นทนายฝ่ายไทย

วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยเสียง 9 ต่อ 3 (สรุปแพ้หลุดหลุ่ย)

วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 หลังจากศาลโลกตัดสินแล้ว 20 วัน รัฐบาลไทยโดย ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือไปยัง นายอูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลก และสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนในอนาคต

แต่ คำตัดสินของศาลโลกนั้นเป็นที่สิ้นสุด ไม่มีการอุทธรณ์ การจะนำคดีกลับขึ้นมาพิจารณาใหม่นั้นสามารถทำได้ถ้ามีหลักฐานใหม่และต้องทำภายในสิบปี

สรุปก็คือ เราเสียเขาพระวิหารให้ตกเป็นของเขมรไปแล้ว ตอนนี้ทั่วโลกจึงเรียกปราสาท เปรี๊ยะ วิเฮียร์ ตามเขมร


โดยคุณ tan02 เมื่อวันที่ 08/01/2012 12:22:06


ความคิดเห็นที่ 2


พิมพ์ยาวซะจนล็อคหลุดอีกแล้วเรา... สำหรับคนที่ไม่อยากอ่านยาวๆ อ่านที่ผมทำตัวหนาเลยครับ เข้าใจเร็วดี
แต่มหากาพย์นี้ไม่จบง่ายๆครับ เหอะๆ

10.บ้านแตก

หลังจากนั้นไม่นาน กัมพูชาเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นภายในประเทศ ปราสาทหินแห่งนี้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมเพียงช่วงสั้น ๆ ในปี พ.ศ. 2535

 

11.เขมร(แดง)มาอยู่

ปีต่อมาก็ถูกเขมรแดงเข้าครอบครอง ซึ่งเขมรแดงอยู่คนละฝ่ายกับกัมพูชาของฮุนเซน

 

12.ไทยเปิดให้ชม

เปิดอีกครั้งจากฝั่งประเทศไทย เมื่อปลายปี พ.ศ. 2541

 

13.ขึ้นทะเบียน แย่งทะเบียน ร่วมทะเบียน เบียดเบียน

การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของประเทศกัมพูชา
 8 มีนาคม พ.ศ. 2548 กัมพูชาได้เสนอต่อองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการ

ศูนย์มรดกโลกของยูเนสโกที่ปารีสขอให้กัมพูชายื่นเอกสารใหม่เกี่ยวกับเขตกันชนของปราสาท และมีคำแนะนำให้ร่วมมือกับฝ่ายไทย

ขณะที่ไทยยื่นบันทึกช่วยจำต่อเอกอัครราชทูตกัมพูชาและเสนอขึ้นทะเบียนร่วม

วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 องค์การยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนตามคำขอของกัมพูชาให้ตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เฉพาะเพียงตัวปราสาทเท่านั้น โดยผ่านเกณฑ์การพิจารณาข้อ (i) เพียงข้อเดียว

ปิ้ดวิ้ด เสียงเซ็นเซอร์ส่วนการเมืองออก

เหตุการณ์นี้พัฒนาไปสู่ความขัดแย้งระหว่างไทยและกัมพูชาในที่สุด

 

14.แย่งปราสาทเดียว ลามปามแย่งดินแดน ปราสาทหลังอื่น

นับตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชาได้ใช้ปืนใหญ่ยิงปะทะกัน ซึ่งต่างก็โทษอีกฝ่ายหนึ่งว่าเป็นฝ่ายเริ่มก่อ

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554 ในช่วงเช้าได้เกิดการปะทะกันขึ้นบริเวณจังหวัดสุรินทร์[57] ด้านปราสาทตาควาย ต.บักได อ.พนมดงรัก เรื่อยมาจนถึงปราสาทตาเมือนธม ต.ตาเมียง อ.พนมดงรัก

เหตุการณ์นี้จบลงโดยไม่มีความเปลี่ยนแปลงด้านดินแดน

 

ตอนนี้จบที่ 15 ธันวาคม 2553 เขมรยิงฮ.ของกองทัพเรือไทย ที่จ.ตราด โดยอ้างว่าฮ.ไทยบินล้ำแดนเขมร

นี่คือการแสดงให้เราเห็นแล้วว่า กัมพูชาถือแผนที่ฝรั่งเศสและอ้างว่าดินแดนที่เราถือครองอยู่นี้เป็นของเขาจำนวนมาก!! และเกี่ยวเนื่องไปกับผลประโยชน์ในทะเลด้วย ที่เป็นตัวขับเคลื่อน..

 

สรุปการถือครองปราสาทพระวิหาร ซึ่งเปลี่ยนมือไปมาดังนี้
1.จักรวรรดิขแมร์ (คนสร้างนั้นแหละ เพราะสมัยก่อนดินแดนพี่แกกว้างใหญ่ ไม่ได้คิดว่าต่อไปจะเป็นชายแดน)
2.สยาม (ค้นพบ และมีอิทธิพลเหนือดินแดนบริเวณนั้น)
3.ฝรั่งเศส (มายึดอินโดจีนไปหมด รวมทั้งดินแดนสยาม ทีแรกใช้แผนที่ยึดสันปันน้ำ ต่อมาทำแผนที่ใหม่เองทำให้ได้ปราสาทไป)
4.ไทย (จอมพลป.และคนไทยทวงดินแดนคืน ฝรั่งเศสส่งบ.มาบอมบ์ เราทำสงครามอินโดจีน ฝรั่งเศสแพ้ ญี่ปุ่นรีบมาจุ้น แล้วก็ให้ฝรั่งเศสยอมคืนดินแดนไป)
5.ฝรั่งเศส (ญี่ปุ่นแพ้สงคราม ไทยต้องยอมคืนดินแดนที่ได้ก่อนหน้านี้ทั้งหมด รวมทั้งตอนที่ได้ระหว่างร่วมรบกับญี่ปุ่น)
6.ไทย (ฝรั่งเศสแพ้สงคราม ทหารไทยก็เข้าไปเสียบแทน)
7.เขมร (ฟ้องศาลโลกเขมรชนะได้ปราสาทไป)
8.ไทย (เนื่องจากเขมรรบกันภายใน ระหว่างนั้นพี่ไทยไปคุม)
9.เขมร(แดง) (เขมรแดงคนละฝ่ายกับฮุนเซนมาปักหลักแถวๆชายแดนไทย ก็มาอยู่เลย)
10.ไทย และ เขมร? (ไทยเราเปิดให้ขึ้นชมได้)
11.เขมร (ขึ้นทะเบียนเป็นทางการไปแล้ว แต่ได้แต่ตัวปราสาท ไทยยังอ้างดินแดนรอบปราสาทเป็นของไทย แต่ตอนนี้ขึ้นปราสาททางเราไม่ได้ ขึ้นได้แต่ทางเขมร)

โดยคุณ tan02 เมื่อวันที่ 08/01/2012 12:48:10


ความคิดเห็นที่ 3


3.Thai–Laotian Border War
สงครามชายแดนไทยสมรภูมิบ้านร่มเกล้า

สาเหตุก็คล้ายๆกับไทย ฝรั่งเศส เขมร

สมรภูมิบ้านร่มเกล้าเกิดจากกรณีพิพาทด้านพรมแดนระหว่างไทยกับลาว เนื่องจากยึดถือพรมแดนจากแผนที่คนละฉบับ

1. เขียนแผนที่

ปี พ.ศ. 2450 สนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ยึดถือจากผลการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2430 ได้กำหนดให้แม่น้ำเหืองเป็นเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศส

 

2. พบแล้วเขียน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 เจ้าหน้าที่สำรวจแผนที่ของฝรั่งเศสได้พบว่าแม่น้ำเหืองมีสองสาย[3] จึงได้เขียนแผนที่โดยยึดสายน้ำที่ทำให้ฝรั่งเศสได้ดินแดนมากกว่าเดิม และไม่ได้แจ้งให้รัฐบาลสยามทราบ

 

3.มะกันเจอ

ต่อมาในช่วงสงครามเวียดนาม กองทัพสหรัฐได้จัดทำแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศ และได้พบแม่น้ำอีกสายหนึ่ง ชื่อว่า ลำน้ำเหืองป่าหมัน [3] ซึ่งไม่เคยปรากฏในเอกสารสนธิสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส มาก่อน

 

4.ชูแผนที่ แล้วบุก

พ.ศ. 2530 ทางการลาวได้อ้างสิทธิเหนือดินแดนบริเวณบ้านร่มเกล้า และยกกำลังเข้ามายึดพื้นที่บ้านร่มเกล้า ในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก

 

5.ปะทะ และเจรจา

เกิดปะทะกับกองกำลังทหารพราน 3405 ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 และยึดเนิน 1428 เป็นที่มั่น

 

ยุทธการสอยดาว

วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 กองทัพภาคที่ 3 เริ่มส่งกำลังเข้าโจมตีเนิน 1428 โดยใช้กองกำลังทหารราบและทหารม้า โดยการสนับสนุนจากกองทัพอากาศไทย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากฝ่ายลาวมีชัยภูมิที่ดีกว่า และได้รับการสนับสนุนอย่างลับๆ จากสหภาพโซเวียตและเวียดนาม

ยุทธการบ้านร่มเกล้า

 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เมื่อ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบก (ในขณะนั้น) ประกาศจะผลักดันกองกำลังต่างชาติที่เข้ามายึดครองพื้นที่ในเขตไทยทุกรูปแบบด้วยการใช้กำลังทหาร

เกิดการสู้รบอย่างดุเดือดทหารไทยทั้ง ทหารราบ ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ และทหารพราน ได้รุกตอบโต้ยึดที่มั่นต่างๆ ที่ลาวครองไว้กลับมาได้เป็นส่วนมาก รวมทั้งได้ทำการโอบล้อมบริเวณตีนเนิน 1428 ไว้ได้ แต่ไม่สามารถบุกขึ้นไปถึงยอดเนินซึ่งทหารลาวใช้เป็นฐานต่อต้านได้ ถึงแม้จะใช้กำลังทางอากาศบินโจมตีทิ้งระเบิดอย่างหนักก็ตาม จนทำให้กองทัพอากาศไทยสูญเสียเครื่องบิน เอฟ 5 อี และ โอวี 10 ไปอย่างละ 1 เครื่อง ซึ่งถูกยิงตกด้วยปืนต่อต้านอากาศยาน และจรวดแซม

หลังจากที่ทหารลาวสูญเสียที่มั่นต่างๆ ได้รวบรวมกำลังพลเข้ารักษาเนิน 1428 ไว้อย่างเหนียวแน่นโดยมีกำลังรบและกำลังสนับสนุนดังนี้คือ กองพลที่ 1 จำนวน 4 กองพัน พร้อมอาวุธหนักปืนใหญ่ 130 มม. 3 กระบอก ปืน 105 มม. 3 กระบอก รถถังอีก 4 คัน รวมกำลังพล 372 นาย

กองพลที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ที่หลวงพระบาง จำนวน 4 กองพัน เช่นกัน มีกำลังพลกว่า 418 คน สนับสนุนด้วยปืนใหญ่ 130 มม. 3 กระบอก ปืนใหญ่ 105 มม. 3 กระบอก รถถัง 5 คัน ปืน ค. ขนาด 62 และ 82 มม. รวมทั้ง ปตอ. ด้วย นอกจากนี้กองกำลังหลักซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ ไชยบุรี มีปืนใหญ่ 130 มม. 2 กระบอก ปืนใหญ่ขนาด 122 มม. อีก 3 กระบอกรวมทั้งหน่วยจรวดต่อสู้อากาศยานแบบแซม 7

ในระยะแรกของการรบนั้น ทหารไทยใช้ทหารม้าและทหารพรานรุกคืบหน้าเข้าสู่บริเวณเนิน 1428 ซึ่งพบกับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายลาวอย่างคาดไม่ถึงโดยเฉพาะกับระเบิดและการยิงปืนใหญ่จากลาวอย่างหนาแน่นและต่อเนื่อง ทำให้การรุกคืบหน้าเป็นไปได้ช้าและสูญเสียอย่างมาก ด้วยมีความเสียเปรียบหลายประการ ในขั้นแรกทหารไทยมีความคิดที่จะผลักดันทหารลาวออกจากดินแดนไทยเท่านั้น การรบจึงจำกัดเขตอยู่แต่ในประเทศไทย

แต่หลังพบว่าการรบในช่วงแรกไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย คณะนายทหารจึงปรับแผนการรบใหม่ โดยใช้กำลังปืนใหญ่ระยะยิงไกลแบบ เอ็ม 198 และปืนใหญ่แบบต่าง ๆ ระดมยิงเข้าไปในดินแดนลาว ที่หมายคือการยิงฐานปืนใหญ่และที่ตั้งกำลังทหาร พร้อมทั้งส่งหน่วยรบพิเศษเข้าไปตัดการส่งกำลังสนับสนุนของฝ่ายลาว

จนกระทั่งการสนับสนุนการรบของลาวได้ลดประสิทธิภาพลงไปอย่างมาก[ต้องการอ้างอิง] วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ก็ได้มีการเจรจายุติศึกแยกกำลังของทั้ง 2 ฝ่ายออกจากกันฝ่ายละ 3 กิโลเมตร

นี่ก็คืออีกหนึ่งกรณี ที่เราต้องรบกับเพี่อนบ้าน เพราะแผนที่ของฝรั่งเศส...

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.iseehistory.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538623449&Ntype=12 มากๆครับ






โดยคุณ tan02 เมื่อวันที่ 08/01/2012 13:20:40


ความคิดเห็นที่ 4


4.Three Pagodas Pass
ด่านเจดีย์สามองค์

เป็นช่องเขาในทิวเขาตะนาวศรี ตั้งอยู่บนพรมแดนประเทศไทยและประเทศพม่า มีความสูง 282 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล

ช่องเขาดังกล่าวเชื่อมอำเภอสังขละบุรี ทางตอนเหนือของจังหวัดกาญจนบุรี กับอำเภอพะยาตองซู ทางตอนใต้ของรัฐกะเหรี่ยง

ช่องเขานี้ได้เคยเป็นเส้นทางสัญจนทางบกเข้าสู่ทางตะวันตกของประเทศไทยมาตั้งแต่ครั้งอดีตกาล และเชื่อกันว่าเป็นจุดที่พระสงฆ์ชาวอินเดียซึ่งเดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยเข้าสู่ประเทศในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3 ระหว่างอาณาจักรอยุธยา (คริสต์ศตวรรษที่ 14-18) ช่องเขาดังกล่าวเป็นเส้นทางรุกรานหลักสำหรับชาวพม่า โดยมีบางครั้งที่กองทัพอยุธยาได้ใช้เป็นเส้นทางรุกรานพม่าเช่นกัน สงครามระหว่างอยุธยากับพม่าครั้งแรก คือ สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ ช่องเขาดังกล่าวได้ชื่อตามกองเจดีย์ขนาดเล็กสามองค์ ซึ่งอาจถูกสร้างขึ้นในช่วงปลายสมัยอยุธยาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ ปัจจุบัน ด่านเจดีย์สามองค์ตั้งอยู่บนพรมแดนไทย บางส่วนของพรมแดนไทย-พม่ายังมีกรณีพิพาทมาจนถึงปัจจุบัน

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้สร้างทางรถไฟสายมรณะผ่านช่องเขาแห่งนี้ จึงมีอนุสรณ์รำลึกถึงเชลยศึกชาวออสเตรเลียหลายพันคน (โดยมีชาติสัมพันธมิตรและพลเรือนเอเชียจำนวนหนึ่ง) เสียชีวิตเนื่องจากใช้งานหนักในการก่อสร้างทางรถไฟ

พื้นที่แห่งนี้เป็นที่อยู่ของชาวเขาหลายเผ่า รวมไปถึงกะเหรี่ยงและม้ง ผู้ซึ่งไม่ได้รับหรือไม่ต้องการได้รับสัญชาติพลเมืองจากทั้งไทยและพม่า กองทัพแบ่งแยกดินแดนพยายามที่จะยึดครองช่องเขานี้จากพม่า โดยชาวม้งได้ควบคุมช่องเขามาจนกระทั่ง ค.ศ. 1990 แต่ในปัจจุบัน กองทัพพม่าได้เข้าควบคุมช่องเขานี้อีกครั้งหนึ่ง

ว่ากันตามจริงสมัยก่อนตะนาวศรีก็เคยเป็นของไทย จนต้องยกให้อังกฤษ และตกเป็นของพม่าในปัจจุบันนี้


โดยคุณ tan02 เมื่อวันที่ 08/01/2012 13:39:41


ความคิดเห็นที่ 5


5. Ko Kra, Nakhon Si Thammarat Province
เกาะกระ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ในส่วนนี้ไม่เข้าใจว่าเราทับซ้อนกับใคร แต่เกาะนี้ก็ห่างฝั่งเราไปพอสมควร

ปล.เกาะนี้ชื่อเหมือนหรือซ้ำกับ หมู่เกาะกระ ทางตะวันตกของเกาะหมาก จังหวัดตราด

Ko Kra in Chumphon Province or Mu Ko Kra (หมู่เกาะกระ) a group of islets to the west of Ko Mak in Trat Province.

เกาะกระ ตั้งอยู่ที่ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ห่างจากชายฝั่งของตัวอำเภอ 55 -60 กิโลเมตร ประกอบด้วย เกาะกระ เกาะกลาง เกาะเล็ก และหินเรือ หมู่เกาะกระมีทรัพยากรทางทะเลที่สำคัญมากมาย และยังมีแนวปะการังที่สมบูรณ์อีกที่หนึ่งของอ่าวไทย เกาะกระมีปะการังก่อตัวได้ดีรอบเกาะ มีลักษณะเป็นแนวปะการังริมฝั่ง โดยแนวปะการังก่อตัวได้ดีที่สุดทางด้านทิศใต้ ซึ่งมีความกว้างถึง 300-400 เมตร  ส่วนใหญ่แนวปะการังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ดีมาก โดยมีปริมาณปกคลุมพื้นที่ของปะการังที่มีสภาพสมบูรณ์ดีมากถึง 50% ซึ่งส่วนมากมีปะการังมีชีวติ 50-75% มีสภาพสมบูรณ์ปานกลางและสภาพเสียหายมาก ในปริมาณที่เท่ากันคือ 18.8% 

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก http://www.smcrrc.go.th/activity_coral.html




โดยคุณ tan02 เมื่อวันที่ 08/01/2012 13:47:27


ความคิดเห็นที่ 6


6.Ko Losin
เกาะโลซิน

งานนี้เกี่ยวกับมาเลเซีย

เคยมีเพื่อนสมาชิกนำมาลงแล้วเชิญอ่านที่นี่ครับ (เล่นง่ายแล้วเว้ยเฮ้ย)

เกาะโลซิน (Losin island) กองหิน ที่ มีค่าดังโครตเพชร
http://www.thaifighterclub.org/webboard.php?action=detailQuestion&questionid=15527&topic=%E0%A1%D2%D0%E2%C5%AB%D4%B9%20(Losin%20island)%20%A1%CD%A7%CB%D4%B9%20%B7%D5%E8%20%C1%D5%A4%E8%D2%B4%D1%A7%E2%A4%C3%B5%E0%BE%AA%C3&PHPSESSID=f56d06069b24f8c8e1e0ec555ccea4a8

สุดท้ายนี้หวังว่าหลังจากได้อ่านเรื่องนี้กันแล้ว พวกเราทุกคนจะรักชาติและหวงแหนดินแดนบ้านเกิดเมืองนอนกันมากขึ้น บรรพบุรุษของไทยทั้งแต่โบราณ ไม่นานมานี้ และปัจจุบันนี้ ต่างได้เสียสละชีวิตและเลือดเนื้อเข้าแลก เพื่อให้เราได้ดินแดนมา ผมเสียใจที่ได้ยินบางคนพูดว่าดินแดนน้อยเท่านั้นเท่านี้ ยกให้เค้าไปเถอะ มันเป็นคำพูดที่น่าเศร้าใจมาก ที่คนที่พูดแบบนี้จะเรียกตัวเองว่าคนไทย

ที่ผ่านมาเราเสียดินแดนไปมากแล้ว ต่อไปเราจะยอมเสียดินแดนต่อไปเรื่อยๆอีกกระนั้นหรือ? อยากให้คนไทยทุกคนฝากไปคิดครับ

ราตรีสวัสดิ์ครับ (สุดท้ายกระทู้นี้ ก็กลายเป็นกระทู้ข้ามวันจนได้ เขียนยาวเกิน 5555+)


โดยคุณ tan02 เมื่อวันที่ 08/01/2012 14:03:50


ความคิดเห็นที่ 7


ขอบคุณท่านแทนมากครับ

โดยคุณ tks เมื่อวันที่ 09/01/2012 02:38:09


ความคิดเห็นที่ 8


  พี่น้องทหาร หาญของเรายังต้องเหนื่อยอีกเยอะ  แต่ก็ว่านะครับถ้ารบ.เรายุค 10 กว่าปีหลังทั้งหมด กล้ารุกจริงจัง ทหารเราคงปิดงานไปได้เกือบหมดแล้ว เมื่อก่อนเค้ากล้าขึ้นมาพระวิหารที่ไหนกัน ขนาดศาลโลกยกตัวปราสาทให้แล้วก็ไม่กล้าเพราะเราล้อมรั้วให้แต่แผ่นดินทั้งหมดของเรา เราไปเที่ยวมีแต่สัญลักษณ์ไทยทั้งนั้น ไม่ว่าธงชาติ ด่านเก็บเงิน ทหาร ตำรวจ ร่มโค้กกะเป็ปซี่ด้วย สุดท้ายวันนี้ 10 กว่าปีผ่านไป เราไม่มีใครไปอยู่พื้นที่นั่นได้เลย อดีตที่แผ่นดินและคนในชาติโดนเหยีบย่ำจากคนขาว มันไม่เจ็บเท่าคนชาติเดียวกันอวยโอกาสให้ต่างชาติจริงๆ   

โดยคุณ fighttt เมื่อวันที่ 09/01/2012 04:14:51


ความคิดเห็นที่ 9


ขอบคุณท่าน tan มาก ถึงผมจะรู้อยู่แล้ว แต่คนที่ไม่รู้ก็เยอะ หาสิ่งดีดีมากแบ่งปันกันอีกนะครับ

ผมได้ทำแผ่นภาพสุดสวย 555 มาให้ดูคร่าวคร่่าว  เกี่ยวกับการแบ่งดินแดน โดยใช้สันปันน้ำ

ระหว่างไทย กับ ประเทศกวางเรนเดีย ( ประเทศสมสุติ ) เพื่อจะได้เข้าใจยิ่งขึ้น


 เกร็ดเล็กเล็ก น้อยน้อย--- การไปสู้คดี เขาพระวิหารของ ไทยครั้งนั้น รัฐบาลไทย ขอบริจาคเงินจาก

พี่น้องชาวไทยคนละ 1 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายต่างต่าง โดยรวบรวมเงินได้ประมาณ 1 ล้านบาล

( 1 ล้าน ในอดีต )


และความฉลาดของคนไทย

เช่น ------- พอสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ญี่ปุ่นแพ้สงคราม ตอนนั้นเราประกาศสงครามกับพันธมิตร

ร่วมกับ  ญี่ปุ่น  แต่เราไม่ถูกจัดเป็นประเทศแพ้สงครามเพราะ  มีคนไทยกลุ่มหนึ่ง ( ขบวนการเสรีไทย )

ได้ให้การช่วยเหลือ ฝ่ายพันธมิตรมาเป็นการตลอด อย่างเป็นการบลับ


 --- ตอนนั้น general .p หรือ จอมพล .ป พิบูลสงคราม จะถูกดำเนินคดี เป็นอาชญากรสงคราม

แต่ฝ่ายไทยได้พูดอย่างแมนว่า  คนของไทย  ไทยลงโทษเอง แต่ตอนนั้นไทยไม่มีกฏหมายอาชญากร

สงครามจึงได้เขียนกฏหมายอาชญากรสงครามขึ้น แต่ปรากฏว่า general .p ไม่ถูกดำเนิน คดีเพราะ

กฏหมายจะบังคับใช้ไ้ด้เฉพาะ ผู้ที่กระทำผิด ต้องทำผิดกฏหมายหลังจาก กฏหมายนั้นนั้นได้เกิดขึ้นแล้ว

ไม่สามารถบังคับใช้กับ เหตุการณ์ในอดีตได้


-- ส่วนเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ไทยที่ จ.ข.ก.ทได้พูดไว้นั้น โดยมีทหารกว่าญี่ปุ่นกว่า 4000 นาย

พยามยกพลขึ้นบกท่ีิ่าวมะนาว แต่ถูก ทหารไทยร้อย ยันไว้ได้ตั้งนาน ก่อนที่ รัฐบาลไทย ได้อนุญาติ

ในเวลาต่อมา โดยหลังเหตุการณ์จบ ญี่ปุ่นเสียทหารกว่าร้อยนาย ส่วนไทยประมาณ 10 นาย

ถ้าใครอยากอ่านเพิ่มเติมก็ พิมพ์ว่า อ่าวมะนาว ใน อา กูเกิลได้เลยครับ


สุดท้ายขอฝากให้ คนไทย งดการเขียนด่าประเทศเพื่อนบ้านนะครับ bye



โดยคุณ general เมื่อวันที่ 09/01/2012 07:11:39


ความคิดเห็นที่ 10


ลองใหม่ภาพสันปันน้ำผมไม่ขึ้น


โดยคุณ general เมื่อวันที่ 09/01/2012 07:16:07


ความคิดเห็นที่ 11


ขออัพภาพสันปันน้ำ ครั้งที่ 2    ครับ


โดยคุณ general เมื่อวันที่ 09/01/2012 07:31:10


ความคิดเห็นที่ 12


ขอบคุณท่านgeneral   ที่เพิ่มเติมข้อมูลและภาพของแผนที่สันปันน้ำครับชัดเจนดี (ประเทศกวางเรนเดียร์ดิดได้ไง 555+)

กระทู้นี้ผมพิมพ์สด คิดได้พิมพ์เลย ทำให้มีพิมพ์ผิดพิมพ์ตกไปบ้าง ความหมายอาจคลาดเคลื่อนได้ ขอแก้เฉพาะส่วนที่พบครับ

ตอนนี้จบที่ 15 ธันวาคม 2553 เขมรยิงฮ.ของกองทัพเรือไทย ที่จ.ตราด โดยอ้างว่าฮ.ไทยบินล้ำแดนเขมร

แก้ปีพ.ศ.เป็น2554ครับ สงสัยผมยังหลงว่าปีนี้2554อยู่ ทั้งๆที่2555แล้ว เลยพิมพ์ปีที่แล้ว ไปๆมาๆเป็น2553เฉย 555+

โดยคุณ tan02 เมื่อวันที่ 09/01/2012 08:14:42


ความคิดเห็นที่ 13


ไม่ใช่อะไรหรอกท่าน tan ที่ตั้งชื่อเป็น ประเทศ กวางเรนเดีย

เพราะถ้าผมจะพูดว่า คามโบเดีย ( cambodia ) มันก็จะชัดไป เดี๋ยวกระทบการเมืองระหว่างประเทศ

ที่กำลังดีอยู่   แถม ประเทศกวางเรนเดีย ยังเป็นชื่อที่น่ารักด้วย 555

 และเราได้ยอมรับไปแล้วว่าเขาพระวิหารเป็นของ cambodia ตามหลักการ

 

 เงียบ       = ไม่เห็นด้วย

 เงียบนาน  = ยอมรับ

 

แต่ถ้่าพูดกันตามหลักการ ปราสาท ก็เป็นของไทยอยู่ดีเพราะ

การแบ่งดินแดน แบ่งโดยอ้างสันปันน้ำ  แต่ map ของ ฝรั่งเศลถ้าจะเรียกแบบแรง ก็คือ แบ่งแบบไม่มี

หลักการ เพราะไม่ได้ทำตามหลักการที่มีอยู่แล้ว

แต่กระนั้นไทยก็ได้  เสียปราสาทไปแล้วในอดีต  ( เงียบนาน ) แต่ผมก็ไม่ได้เรียกร้องเอาคืนเพราะ

ปราสาทเป็นของเค้าแล้ว ( เงียบนาน ) บวกกับ ชาติมหาอำนาจ ได้ทำในสิ่งที่ไม่มีหลักการ ( มั่ว )

สรุป คนไทยจงระรึกแก่ใจว่า ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของเราตามหลักการ แต่เราเสียไปเพราะ เงียบนาน

                                        

                                                                  general   21.12 น. 09/01/2555

โดยคุณ general เมื่อวันที่ 09/01/2012 09:16:41


ความคิดเห็นที่ 14


ขอบคุณท่าน GENERAL ครับ

โดยคุณ tks เมื่อวันที่ 09/01/2012 21:11:19


ความคิดเห็นที่ 15


ท่าน tan02ข้อมูลลึกมากครับ จัดเป็นตอนๆเข้าใจง่ายดี ขอบคุณๆ

แต่ว่าในนี้มีใครเกิดทันบ้าง ที่ว่าให้ประชาชนบริจาคคนละ 1บาท

เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้คณะทนายความของ ม ร ว เสนีย์ ปราโมทไปสู้คดีในศาลโลก

ในยุครัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธะนะรัชต์(ข้ารับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว)

ผู้อาวุฒิโสของบ้านเล่าให้ฟัง -เสียดายที่แพ้คดี ไม่เช่นนั้นธงไทยยังคงปักอยู่บนปราสาทเขาพระวิหารจนถึงบัดนี้..

โดยคุณ fantom เมื่อวันที่ 09/01/2012 21:57:00


ความคิดเห็นที่ 16


เยี่ยมครับท่าน Tan02 ขอบคุณสำหรับข้อมูลเรื่องราวดีๆ อย่างนี้

เดี๋ยวกลับบ้านแล้วมีเวลาจะนั่งอ่านอย่างละเอียดเลยครับ

 

ปู่ทวดผมเลยนะครับนั้นที่ค้นพบปราสาทพระวิหาร

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 09/01/2012 23:51:45


ความคิดเห็นที่ 17


ผมไปเจอในวิกิแต่อ่านไม่รู้เรื่องครับ ตกภาษาอังกฤษ 55+

ขอบคุณหลายครับที่แปลมาให้อ่าน..ตั้งแต่เข้ามาเวปนี้มาประมาณ 2 ปี มีความรู้รอบตัวมากขึ้นเลยครับ

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 10/01/2012 01:04:59


ความคิดเห็นที่ 18


ขออนุญาติ นำไปตั้ง บอร์ดได้ไหมครับ


โดยคุณ PROTOTYPE เมื่อวันที่ 13/01/2012 12:25:39