ประเทศฟิลิปปินส์ ล่าสุดได้ร้องขอความช่วยเหลือทางการทหารจากสหรัฐฯ เพื่อรักษาความมั่นคงจาก ทะเลจีนใต้
ข่าวจาก bangkok post ครับ
The Philippines wants to acquire F-16 fighter jets from the United States as part of stepped up efforts to defend the archipelago, Foreign Secretary Albert del Rosario said Wednesday.
The Philippines wants to acquire F-16 fighter jets from the United States as part of stepped up efforts to defend the archipelago, Foreign Secretary Albert del Rosario said Wednesday.
The nation lagged behind in protecting its territory, del Rosario said, with air cover next on Manilas wish list after it bought a refurbished US Coast Guard vessel this year with plans to acquire two other similar vessels.
Chances were "high" that Manila would acquire the fighter planes, but del Rosario did not reveal further details.
China has caused disquiet in Washington and Asian capitals with its claim to all of the South China Sea, a region that encompasses vital shipping lanes and which is believed to sit atop vast oil and mineral reserves.
"We are upgrading the capacity of our armed forces for territorial defence. I think we are behind the curve" in terms of military capability in Asia, del Rosario told reporters.
The Philippines, which has one of the most poorly-equipped militaries in Asia, retired the last of its fighter jets in 2005.
Any jet deal would be for second-hand F-16s with Manila on the hook to pay for reconditioning, maintenance and pilot training, del Rosario said.
Last month, the US and Indonesia announced the planned transfer and upgrade of two dozen US F-16s to the Indonesian air force.
Filipino officials raised the potential jet deal during a visit last month by US Secretary of State Hillary Clinton, who pledged a wide-ranging commitment to its former colony, from military to economic cooperation, and said Washington must address "new challenges" in the region.
The Philippine foreign minister on Wednesday also downplayed reports the US was planning to station navy ships in the country, which hosted two US military bases until 1992 when their government lease was not renewed.
"Essentially, we have not discussed anything regarding specifically the Philippines except for the assistance they are willing to provide in terms of improving our (military) capacity," he said.
ข่าวจาก Defence-studies blogspot
The United States has expressed willingness to help the Philippines obtain a squadron of F-16 jet fighters to improve its defense capability, Foreign Affairs Secretary Albert del Rosario said yesterday.
ประเทศในภูมิภาค ตะวันออกเฉียงใต้ ที่มี บ.รบ ตระกูล F-5 ประจำการ
1. ไทย
2. สิงคโปร์
3. อินโดนีเซีย
4. ฟิลิปปินส์
5. มาเลเซีย
ประเทศที่จัดหา บ.ตระกูล F-16 เพื่อมาทดแทนภาระกิจของ F-5
1. ไทย
2. สิงคโปร์
และ 2 ประเทศล่าสุดที่จัดหา บ. F-16 มือสองมาประจำการ
3. อินโดนีเซีย
4. ฟิลิปปินส์ (กำลังดำเนินการร้องขอ)
ยกเว้นประเทศเดียว คือ มาเลเซีย
จากข้อมูลสำหรับ F-16s ที่จะประจำการอยู่ในภูมิภาคนี้อีก 20 ขึ้นไป...
โอกาสของ F-16s มือสอง สำหรับประเทศไทย ที่อาจจะมาขัดตาทัพให้กับ ฝูง 211 ที่ปัจจุบันก็อายุ 30 ปี...ก็มีโอกาสอยู่ไม่น้อย...หรืออาจจะรวมถึง ฝูง 102 กรณีที่ งบประมาณไม่เอื้ออำนวยจริง ๆ...
เนื่องจากในอีก 20 ปีข้างหน้านี้ คือ ช่วงระหว่างปี 2566 - 2576...ทอ.ไทย จะต้องจัดหาฝูงบินใหม่อีก 2 ฝูง (ไม่ต่ำกว่า 24 ลำ)
เพื่อมาทดแทน ฝูง 102 และ 103 ตามลำดับ...ซึ่งหลังจากจัดหา บ. ให้กับ 2 ฝูงดังกล่าว เสร็จสิ้น...ก็จะถึงคราวของฝูง 403 ที่จะต้องจัดหา บ.ใหม่ มาทดแทน...
ดังนั้นในอีก 30 ปี ข้างหน้านี้ ทอ.ไทย ต้องจัดหา บ.รบใหม่ ไม่ต่ำกว่า 36 - 54 ลำ (ในอัตรา ฝูงละ 12-18 ลำ)
สำหรับ Gripen A/B/C/D (ถ้ามี) มือสอง ของสวีเดน...ถ้าปัญหาหลักในอนาคต คือ เรื่องงบประมาณแล้ว...โอกาส ที่ F-16 มือสองจะเข้าวิน...น่าจะมีมากกว่า...เพราะสังเกตุ ได้จาก สวีเดน ไม่เปิดตลาด Gripen มือสอง เลย...อาจจะด้วย ค่าใช้จ่ายในการปรับสภาพ เมื่อเปรียบเทียบกับ F-16 มือสอง อาจจะมีราคาสูงกว่า เนื่องด้วย จำนวนผลิตของ F-16 มีจำนวนมากกว่าหลายเท่า ต้นทุนหรืออะไหล่สำรองในคลังสหรัฐ น่าจะส่งผลให้มีราคาถูกกว่าจนเป็นสาระสำคัญ...
และจากที่ดูว่า ในอีก 30 ปีข้างหน้า ทอ.ต้องจัดหา บ.รบใหม่ ไม่ต่ำกว่า 36-54 ลำ สมมติถัวเฉลี่ยลำละ 90 ล้านเหรียญ จะต้องใช้งบประมาณ 3240 - 4860 ล้านเหรียญ หรือ 104,000 - 156,000 ล้านบาท...ซึ่งถ้าคิดถึงว่า ฝูง 211 ต้องการจัดหา บ.รบใหม่มาทดแทน งบประมาณจะกลายเป็น 48-72 ลำ หรือ 139,000 - 208,000 ล้านบาท ในระยะเวลาในอีก 30 ปีข้างหน้าแล้ว...
จึงมองโอกาสในอนาคต เมื่อมองถึงว่า งบประมาณ คือ สาระสำคัญในการจัดหา จัดซื้อแล้ว...บ.รบ ที่จะมาทดแทน ฝูง 211 และ 102...ในความเห็นส่วนตัวว่า บ.รบ มือสอง มีโอกาสไม่น้อยเหมือนกันครับ...และ F-16 ก็ยังน่าจะยังมีโอกาสอยู่ไม่น้อยด้วยเช่นกัน...(ถ้ามีการจัดหา บ.รบใหม่ ทดแทนของ พม่า และ กัมพูชา เป็นประเด็นเสริม)
เป็นไปได้มีงบเยอะหน่อยน่าลงทุนซื้อSU มาประจำการบ้างถึงจะเป็นการลงทุนที่แพงแต่ ค่าใช้จ่ายสูงแต่ผมว่าเพื่อนบ้านมีนอนระแวงทั้งคืนและเกรงใจเรามากขึ้น
ผมเข้าใจนะว่า เราเน้นป้องกันตัวไม่รุกรานใคร แต่ทุกวันนี้ก็เห็นๆกันอยู่ว่าเป็นยังไง
แผ่นภาพแสดงถึง งบประมาณการจัดหา บ.รบ ที่กำลังจะปลดประจำการในระยะอันใกล้ ในความเห็นส่วนตัวของผมนะครับ
แผ่นภาพที่ 1 กรณีการจัดหา บ.รบ มือสอง
แผ่นภาพที่ 2 กรณีการจัดหา บ.รบใหม่ ทั้งหมด
มูลค่าโครงการเป็น เงินบาท ในลักษณะที่การคำนวณหามูลค่าในอนาคต คือ ผมใช้ตัวเลขสมมติที่ว่า อัตราแลกเปลี่ยนที่ 31 ต่อ 1 ดอลล่าร์ โดยใช้อัตราเงินเฟ้อมาตรฐานที่ 2.50%
นั่นคือ เงินจำนวน 31 บาทในปัจจบันนี้ ในอนาคตอีก 8 ปี ข้างหน้า...เราจะต้องใช้เงิน 37 บาท ถึงจะได้มูลค่าของเงินเท่ากับ 31 บาทในปัจจุบัน
ซึ่งเมื่อลองทำแผ่นภาพ พอจะแสดงข้อมูลให้เห็นว่า การซื้อ บ.รบ ใหม่ น่าจะดูคุ้มค่ามากกว่า ซื้อ บ.รบ มือ 2
แต่เมื่อลองคำนึง ถึงสภาพความเป็นจริงของการจัดหางบประมาณจัดซื้ออาวุธ...ภายในอีก 6-8 ปีข้างหน้า หรืออีก 3-4 ปีหลังจากที่ ทอ.ได้ชำระค่าฝูง Jas-39 เฟส 2 จำนวน 1.5 หมื่นล้านบาทแล้ว...ทอ.จะต้องตั้งวงเงินของบประมาณอีกกว่า 40,000 ล้านบาท เพื่อจัดหาฝูงบินใหม่...ซึ่งยังไม่นับรวม มูลค่าโครงการ MLU ของ ฝุง 403 อีกจำนวน 7000 ล้านบาท...
ผมจึงมองแนวโน้มของ บ.รบ ฝูงใหม่ที่จะมาทดแทน F-5 E/F ฝูง 211 น่าจะเป็น บ.รบ มือสอง...
ทั้งนี้ ตัวอย่างงบประมาณข้างต้น...ยังไม่นับรวมถึง งบประมาณการจัดหา ฝูงบินโจมตี/ฝึก ที่จะมาทดแทน A-Jet และ L-39 รวมถึง ฝูงบินปีกหมุน ที่จะมาทดแทน UH-1H อีก...
ดังนั้นในตวามเห็นผมว่า ในอีก 5-10 ปีข้างหน้านี้ ความมั่นคงทางการเมืองจะมีส่วนสำคัญ ที่จะส่งผลกระทบต่อการขาดแคลนฝุงบินรบ ของกองทัพอากาศ...ว่า กองทัพอากาศ จะมีงบประมาณมาจัดหา บ.รบฝูงใหม่ ที่จะมีงบประมาณมากขึ้น และ มีอายุปลดประจำการในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกัน ได้เพียงใด...
ถ้าสภาพการยังง่อนแง่น และสภาพเศรษฐกิจ ยังไม่มีความมั่นคงเพียงพอ...โอกาสของ บ.รบ มือ 2 จะมีโอกาสสูง ที่จะต้องจัดหาเข้าประจำการ...และจะทำให้ ทอ. ต้องไปหนักงบประมาณ ในช่วงท้าย ที่อาจจะต้องจัดหา บ.รบฝูงใหม่ ถึง 2 ฝูง ในระยะเวลาพร้อม ๆ กัน หรือใกล้เคียงกันมาก เพื่อมาทดแทนให้ กองบิน 1 และกองบิน 4....ซึ่งอาจจะต้องใช้งบประมาณเป็น 100,000 ล้านบาท ขึ้นไป...เพื่อให้ บ.รบ ที่จัดหาใหม่ มีสมรรถนะเท่าเทียมกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค...(ตอนนั้น ผมคงอายุ 70 กว่า ๆ แล้ว)
และจากข้อมูลที่ลองจัดทำ เพื่อทำความเข้าใจของผมเอง...จึงมองโอกาสไปสู่ F-16 มือ 2 น่าจะมีโอกาสเกิดใน ทอ.ไทย และจะเป็น บ.รบ หลักแบบหนึ่งในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามหัวข้อกระทู้ น่ะครับ....
ครับโอกาศของเครื่องบินมือสองมีโอกาศเกิดขึ้นแน่นอนครับ ถ้าเมื่อถึงเวลานั้นเราไม่มีความสามารถทางงบประมาณที่จะจัดหาเครื่องบินใหม่ แต่ถ้าจะเลือกมือสองในอีก 5-10 ปีข้างหน้าเพื่ออุดช่องว่างกองกำลังทางอากาศ อย่างน้อยถ้าเป็นเราจำเป็นต้องเอาเครื่องบิน F-16 มือสองจริงๆก็ควรจะมองไปที่ F-16 C/D บล็อค 40/42หรือ50/52 (50/52ไม่แน่ใจว่าจะมีมือสองไหมในอีก 5-10ปีนี้) เพราะเราต้องคงสภาพการรบในแบบ BVR ไว้ และถ้าทุกอย่างที่เราคาดไว้มันเกิดเปลี่ยนแปรงไปนทางที่ดีขึ้น เช่นการเมืองเรานิ่ง เศรษฐกิจของเราเติบโตในสถาพที่ยั่งยืนมั่นคงอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย5 ปี ผมว่าเราอาจจะได้เห็นสิ่งที่ทุกท่านฝันไว้ แต่ถ้ามันกลับตาลปัทขึ้นมา แม้แต่ฝูงใหม่ที่เป็นมือสองอาจจะยาก
ในส่วนตัวของผมตัวเลือกของเครื่องบินมือสองไม่น่าจะมีตัวเลือกเพียงแบบเดียว เพราะว่า F-16 นั้นถึงแม้ว่าจะเป็นบล็อคใหม่ๆแต่เทคโนโลยีของถูกพัฒนามาตั้งยุค70 และบล็อคหใม่จะมีการเพิ่มประสิทธิภาพต่างๆเข้าไปแต่เนื่องจากอเมริกาจะขายอาวุธให้ใครจะต้องมีข้อแลกเปลี่ยนหรือข้อจำกัดหลายด้าน(ถึงแม้เขาจะต้องการระบายอาวุธออกก็ตาม)เงื่อนไขเหล่านั้นเป็นข้อจำกัดที่จะทำให้เราได้เครื่องบินมือสองที่ไม่เต็มประสิทธิภาพหรือไม่ ดังนั้นเราควรมองไปที่ตัวอื่นบ้างถ้าจะเอามือสองจริงๆ ถ้าเราจะมองเพียงว่าเราไม่รุกรานใคร เราไม่รบนอกประเทศ อะไรก็แล้วแต่ เหตุผลนานับประการ หยุดคิดสักนิดแล้วมองดูประเทศเพื่อนบ้าน..แล้วมองกลัมาในบ้านของเรา..
ครับเครื่องที่น่าจะเพิ่มตัวเลือกถ้าเราจะเอาเครื่องมือสองจริงๆก็มี EF-2000 Typhoon ก็น่าสนใจราคาแพงไปนิดแต่ สองเครื่องยนต์และใหม่กว่า F-16 มากทั้งเทคโนโลยี อายุการใช้งานถ้าเทียบเคียงก็เป็นเครื่องกลางเก่ากลางใหม่อาวุธที่ติดตั้งก็ นาโต้ Only แน่นอน ถึงเราอยากได้ของใหม่แต่งบไม่พอขอมือสองที่สภาพเหมือนของใหม่น่าจะดีกว่า ของใหม่ราคา 70-105ล้าน$ ของมือสอง 25-35ล้าน$ กับมือสอง 35-40 ล้าน$ อันไหนน่าสนใจ และจะทำให้เรายังคงสภาพกำลังทางอากาศที่มีประสิทธิภาพได้ไปอีก20-25ปี(จากปี2560) ถ้าเราตั้งธงไว้ว่ายังไงก็ต้อง F-35 .ใน 20 ปี เราก็คงหมดหวัง เพราะตอนนี้อเมริกายังแค่เป็นการทอสอบประจำการ กว่าจะประจำการและผลิตให้อเมริกาครบแล้วยังมีคิวยาวอีก เราคงได้มือสอง...ถ้าอย่างนั้นเรามองไปที่ PAK-PA ไม่ดีกว่าหรือ
ครับท่านจู โครงการ MLU ที่จะปรับปรุง f 16 ที่มีอยู่ให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นและ อาจเท่ากับ f 16 block
52 โดยใช้เงินถูกกว่าซื้อใหม่ 4-5 เท่า และ จัดซื้อจัดจ้าง เพิ่มเติมอีก ก็คงเพียงพอ ต่อภัยคุกคาม
โดยส่วนตัว อยากให้ ประจำการด้วย jas 39 c/d มากกว่า เพราะ saab จะตอบแทนให้ไทย หลายอย่าง
ถ้าซื้อของ saab แต่ทาง ทอ. ได้กำหนดชัดเจนแล้วว่า เครื่องบนรบหลัก ยังคงเป็น f -16 งั้นผมก็หวังแค่
jas 39 ซัก 2 ฝูงบิน 39 ลำก็ยังดี
ในส่วนของ F-16 ที่จะเป็นตัวเลือกนั้น ผมก็ให้น้ำหนักในส่วนของ การร่วมเป็น ประชาคมอาเซียน ประมาณปี 2558 ที่จะลดข้อขัดแย้ง และเงื่อนไขที่เกิดสงครามระหว่างกลุ่มประเทศในอาเซียนด้วยกัน
ซึ่งถ้าสมมติว่า เรารวบรวมจำนวน F-16s ในภูมิภาค โดยประมาณ คือ
ไทย = 55 ลำ
สิงคโปร์ = 74 ลำ
อินโดนีเซีย = 12+24 = 36 ลำ
(ถ้าได้รับ) ฟิลิปปินส์ = 12+ ลำ
รวมประมาณ 177 ลำ
กรณี สมมุต ถ้า ทอ.ไทย จำเป็นต้องจัดหา ด้วยขัดสนในเรื่องงบประมาณ รวมจำนวน 2 ฝูง รวม 36 ลำ
ในภูมิภาคนี้ จะมี F-16 รวมประมาณ 210 ลำ ขึ้นไป...ถ้า ทอ.ฟิลิปปินส์ มีการจัดหาเพิ่มเติม...ก็อาจจะมากกว่านั้น
น่าจะดูมีความมั่นคงสำหรับภูมิภาค และสามารถทดแทน กำลังรบระหว่างกันได้ เช่นเดียวกับ สหภาพยุโรป หรือ อียู...ที่ใช้ ไตฝุ่น เป็น บ.รบ กำลังหลัก...ถ้าผลของการรวมเป็น ประชาคมอาเซียน มีผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ...
ซึ่งไม่แน่ อาจจะเป็นจุดเริ่มต้น นำไปสู่ โครงการ FX ของกลุ่มประชาคมอาเซียน โดยใช้จุดเริ่มต้น โครงการ FX ของ อินโดนีเซีย ที่ร่วมกับ เกาหลีใต้...และพัฒนาเป็น บ.รบ หลักของ ประชาคมอาเซียน เหมือนกับ ไตฝุ่น...ภายใต้การร่วมพัฒนาโครงการ คือ ไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย...และร่วมทุนกับ เกาหลีใต้ และ/หรือ สวีเดน...ในระยะอีก 30 ปีข้างหน้าขึ้นไป...
การเป็น ประชาคมอาเซียน ถ้าประสบความสำเร็จ น่าจะช่วยลดปริมาณ แบบ และ จำนวน ของ บ.รบ ของแต่ละประเทศ...เนื่องจาก การเกิดความไว้ใจซึ่งกันและกัน มากขึ้น...เพียงแต่ มีจำนวนไว้ สำหรับรองรับ ภัยคุกคามจาก ประเทศนอกประชาคม เท่านั้น...เราก็อาจจะได้เห็นแบบ บ. ในภูมิภาคนี้ในลักษณะ เหมือน ๆ กัน คือ
ขับไล่ครองอากาศ SU-30 = มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, เวียดนาม
ขับไล่ครองอากาศ F-15S = สิงคโปร์
ขับไล่/โจมตี Jas-39 = ไทย, มาเลเซีย
ขับไล่/โจมตี F-16 = ไทย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์
ขับไล่/โจมตี F/A-18 = มาเลเซีย
ส่วน พม่า, กัมพูชา = คงต้องรอดูการเปลี่ยนแปลงที่จะเป็นนัยสำคัญหรือไม่
และ ลาว อาจจะวางตัวเป็น ประเทศที่เป็นกลาง เหมือนเป็น สวิตต์เซอร์แลนด์ ของ ประชาคมอาเซียน
ขอแก้ไขข้อมูลเพื่อความถูกต้อง 2 ฝูง 36 ลำไม่ใช่ 39 ( 18 * 2 = 36 )
ถ้าจะมองไปที่การรวมกันเป็นสมาคมอาเซียนเหมือนอย่างที่ทางยุโรปเขารวมกัน และมีเครื่องบินรบหลักเป็นแบบเดียวมันก็น่าสนใจ ทั้งในเรื่องการัฒนาร่วมกันแต่ความไว้วางใจกันในสมาคมอาเซียนนั้นมันอาจจะเกิดขึ้นได้อย่างช้าๆมากกว่า เพราะหลายประเทศยังระแวงกันอยู่ทั้งที่การค้าขายของหลายประเทศแทบจะเชื่อมต่อกันหมดแล้ว แม้แต่แหล่งพลังงานก็เชื่อมต่อกัน
ถ้ามองโอกาศของF-16 ก็มีสูงครับ แต่ถ้าเราเอาF-16 มือสองจริงๆต้องหาคำชี้แจงกับสังคมอีกมากมาย เพราะยังมีบางกลุ่มที่วางตังขัดแย้งกับทหารมาตลอดต้องอาสัยข้ออ้างในอดีตมากล่าวอ้างเสมอ แม้แต่ที่เราซื้อของใหม่ก็ยังมีคนค้าน สำหรับประเทศลาวสิ่งที่เขาทำได้ในตอนนี้คือต้องทำตัวเป็นกลางที่สุดแน่นอนครับ เพราะเขายังขาดกองกำลังทางอากาศ ส่วนพม่าไม่น่าเป็นห่วงครับเขาต้องการเปิดสู่ภายนอกมากพื่อต้องการเงินทุนสำหรับปรับปรุงทั้งทางเศรษฐกิจและกองทัพ ถึงแม้เขาจะมีการรบอยู่ตลอดก้ใช่จะมีความพร้อมเต็ม100 ส่วนประเทศกัมพูชา อันนี้น่าเป็นห่วงครับถ้าผู้นำเขาไม่รู้จักการเปลี่ยนแปรงตัวเองเพื่อปรับเข้าหาคนอื่นบ้าง ผมมองว่าลำบาก
ถ้าจะเป็น F-16มือสอง จริงว่าเพราะเราได้กำหนดแล้วว่าจะเป็นกำลังรบหลักของภูมิภาค อย่างน้อยก็ขอบล็อคใหม่ๆก็พอครับ
j 10 จะมีโอกาสไหมครับน่าจะลองหามาทดสอบสักฝูง
สำหรับ J-10 ผมว่าในภูมิภาคนี้ ในความรู้สึก (ใช้ความรู้สึกล้วน ๆ) ถ้าจะเกิด น่าจะไปที่ กัมพูชา ครับ....
ถ้าเราลองย้อนกลับไปดูในอดีต กัมพูชา จัดหา Mig-21 ก็ใกล้เคียงกับการที่ ในภูมิภาคนี้ เริ่มจัดหา F-16...รวมถึงแต่เดิม กัมพูชา ก็เคยมีโครงการ
อัพเกรดโดย อิสราเอล ด้วย...รวมถึง กัมพูชา ก็มี L-39 ประจำการ ซึ่งจัดหามาน่าจะพร้อม ๆ กับ ไทย เช่นกัน...
เพียงแต่ กัมพูชา หยุดชะงักไปเท่านั้นเองครับ...ถ้า กัมพูชา จะเริ่มใหม่อีกครั้ง...ผมคิดว่า กัมพูชา คงหาวิธีการเพื่อเริ่มใหม่ได้...
เพียงแต่ เงื่อนไขในความรู้สึกผมว่า กัมพูชา อาจจะ (ใช้คำว่า อาจจะ) มี J-10 นั้น...น่าจะเป็นเรื่องของ จีน มีนโยบาย วางกำลัง (พราง) ในภูมิภาคนี้
เพื่อรักษาผลประโยชน์ของจีน รวมถึง การป้องปรามในเหตุขัดแย้ง บริเวณทะเลจีนใต้...
และถ้าเงื่อนไขสำคัญ คือ ประชาคมอาเซ๊ยน โดยกลุ่มประเทศหลัก ๆ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องความมั่นคงได้เป็นผลสำเร็จ...และดูมีความเข้มแข็งจริง...
ในความเห็นผมว่า จีน คงสนับสนุนกัมพูชาอย่างเด่นชัด ในการมี บ.ชับไล่ ที่สมรรถนะทัดเทียมกับประเทศในภูมิภาค...เพื่อให้ยังคงอำนาจทางการทหารทางอ้อม...จากการลงทุนร่วมกันระหว่าง จีน กับ กัมพูชา ในเรื่องผลประโยชน์แหล่งพลังงานธรรมชาติ...
ความเข้มแข็งในเรื่องความมั่นคง ระหว่างกลุ่มประเทศหลัก
ไทย
มาเลเซีย (ความเสี่ยงขัดแย้งกับ จีน ในเรื่องหมู่เกาะ)
สิงคโปร์
อินโดนีเซ๊ย (ความเสี่ยงขัดแย้งกับ จีน ในคาบสมุทรอินเดีย ที่ได้รับกระทบจาก ความขัดแย้งใน ทะเลจีนใต้)
และ เวียดนาม (ความเสี่ยงขัดแย้งกับ จีน ในเรื่องหมู่เกาะ และ ทะเลจีนใต้)
จะทำให้กลุ่มประเทศเหล่านี้ มีความร่วมมือทางการทหารที่จะสร้างความเข้มแข็งในภุมิภาค ภายใต้งบประมาณที่ลดน้อยลง แต่มีประสิทธิภาพมากขึ้น...
ดังนั้น จีน ถ้าจะรักษาบทบาทผู้นำทั้งการทหาร และเศรษฐกิจ ในภูมิภาคนี้ และยังคงต้องรักษาความเป็นเบอร์ 1 เอาไว้...ผมจึงมองว่า จีนน่าจะสนับสนุนหรือดัน กัมพุชา...ขึ้นมาให้ทัดเทียม โดยอยู่ภายใต้การดูแลของ จีน...เพื่อสร้างความเกรงใจว่า ในภูมิภาคนี้ จีน ยังมีบทบาททางการทหารอยู่...ถ้าเกิดมีปัญหาขัดแย้งกัน ระหว่างประเทศในประชาคมอาเซียน บนคาบสมุทรอินเดีย ไปจนถึง ทะเลจีนใต้....
แก้ไข เพิ่มเติม ประโยค " เพื่อสร้างความเกรงใจว่า ในภูมิภาคนี้ จีน ยังมีบทบาททางการทหารอยู่...ถ้าเกิด จีน มีปัญหาขัดแย้งกับกลุ่มประเทศในประชาคมอาเซียน บนคาบสมุทรอินเดีย ไปจนถึง ทะเลจีนใต้.... "
ถ้า กัมพูชา ไดรับการสนับสนุนจากในรูปแบบกองทัพพลาง ในความรู้สึกของผมความไว้วางใจกันในภูมิภาคนี้ก็คงไม่สนิทใจแน่นอน เพราะมันจะกลายเป็นว่าประเทศไหนในภูมิภาคนี้จะแตะต้อง กัมพูชา ก็คงต้องคิดหนักหรือไม่กล้าที่จะทำอะไรแล้วถ้าเป็นจริงแล้วกัมพูชายังมีผุ้นำคนเก่ารับรองได้เห็นการข้ามหน้าข้ามตาและไม่เกรงใจใครเป็นแน่ ขนาดที่ปัจจุบันยังขนาดนี้ เพราะว่าเรายังมีปัญหาเรื่องการปักปันเขตแดนที่ยังไม่ลงตัวสักที
และนี่อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ อเมริกา เริ่มต้องการเข้ามามีบทบาทให้มากที่สุดในภูมิภาคนี้ เพื่อต้องการคานอำนาจของจีน ตั้งแต่การเยือนพม่าของ รมต.ต่างประเทศ และการขายเครื่องบิน F-16 ให้อินโดฯเพิ่มเติมหรือการรับการร้องขอการจัดหาเครื่องบิน F-16 ของ ฟิลิปปินส์ ในความคิดของผมประเทศอื่นไม่น่ามีปัญหา แต่กับกัมพูชา มันมีหลายบทเรียน
กว่าเขมรจะได้เครื่องบิน J-10 DTI ของไทยก็คงผลิตจวดพื้นสู้อากาศได้แล้วละ ^^ สู้ๆ
ใจจริง นะครับ ผมไม่อยากได้F-16เลยอ่ะครับ ของจากUSA เห็นแล้วปวดหัว จริงนะครับ หลังที่เราได้JAS-39มานี้ ผมรู้สึกว่า มันมีอะไรโดด เด่นขึ้นมาเยอะเลยอ่ะครับ ไม่ใช่ของUSA จะดีเสมอไปนะครับ ยิ่งชอบ ลดสเป็กแบบนู้นแบบนี้ ผมเห็นแล้วไม่อยากจะซื้อเลยพูดตรงๆ กัก ไปกักมา อยากจะให้มองไปทางกลุ่มอื่นๆสะมากกว่าก็มีเครื่องบินอยู่หลายๆ แบบ
ในความคิดของผมนะครับ
F-5T แทนด้วยGirpen NG
F-16 ผมขอเป็น เครื่องยุคที่5ละกันนะครับ(F-35)ไม่เอาแพงเกิน คิวก็ยาวเกิน
อาวุธของสหรัฐ ต้องทำความเข้าใจอยู่อย่างหนึ่งว่า...
การซื้อของเรา ซื้อแบบไหนครับ...ซื้อแบบความช่วยเหลือทางการทหารในราคาถูก ในราคามหามิตร...จะถูกลดสเปคตามความจำเป็น ที่สหรัฐมองว่า ในขณะที่ขออนุมัติซื้อนั้น มีภัยคุกคามถึงขนาดต้องจัดหาหรือไม่...เพราะมันจะไปขัดกับนโยบาย การสะสมอาวุธ ของประเทศที่ 3...เพราะ ราคาดังกล่าว มันจะไปเบียดงบประมาณกลาโหมของสหรัฐเอง...และ สหรัฐ จะต้องทำการต่อรองกับบริษัทผู้ผลิตเพื่อลดราคาให้ได้มากที่สุด และไม่ไปเบียดงบประมาณของกองทัพสหรัฐมากเกินไป...
จากการทำความเข้าใจของผมนะครับ...
ยกตัวอย่างเช่น เราขอซื้อ ระบบยิงจรวด XX จำนวน 1 หน่วย ในราคา FMS แบบราคามหามิตร...ในงบประมาณครั้งแรก ก็จะเป็นการประมาณราคาโครงการ สมมติ จำนวน 10 ล้านเหรียญ...ซึ่งถ้า สหรัฐ มีการสั่งซื้อระบบยิงจรวด XX อยู่ในขณะนั้นด้วย และมีประเทศอื่นก็สั่งซื้อด้วย แต่เอาแบบเต็มประสิทธิภาพ โดยขอรับความช่วยเหลือเล็กน้อย รวมเป็นจำนวน 5 หน่วย...สหรัฐ ก็จะพ่วงออร์เดอร์ของเราไปด้วย รวมทั้งหมด 6 หน่วย หรือราคาโครงการทั้งหมดจะประมาณ 60 ล้านเหรียญ...กองทัพสหรัฐ ก็จะเปิดสัญญาและต่อรองกับบริษัทผู้ผลิต...และสุดท้าย ก็จะตกลงราคากัน อาจจะได้ราคาสุทธิ 50 ล้านเหรียญ...กองทัพสหรัฐ ก็แบ่งการชำระว่า ออร์เดอร์ ล็อตนี้ ราคา 50 ล้านเหรียญ...แบ่งเป็น เราชำระ 10% (ลดสเปค ตามความจำเป็น)...สหรัฐ ชำระ 60% และประเทศที่ร่วมออร์เดอร์ด้วย ชำระ 30% (ฟูลออฟชั่น)
ซึ่งถ้าเรามีงบประมาณเพียงพอ เราก็จะได้แบบฟูลออฟชั่น...เช่น สิงคโปร์ ที่มีงบประมาณเพียงพอ และสั่งซื้อจำนวนมาก และกำลังอยู่ในสายกำลังผลิต...ดังนั้น สิงคโปร์ อยากได้แบบไหน ก็สามารถจัดหาได้ แต่ต้องไม่ขัดกับนโยบายการสะสมอาวุธในภูมิภาค...เช่น จรวด สแตนดาร์ดมิสไซด์ ซึ่งผมเชื่อว่า สิงคโปร์ คงมีความต้องการ แต่คาดว่า สหรัฐ คงไม่มีนโยบายการขายจรวดชนิดนี้ให้กับภูมิภาคนี้ น่ะครับ...
หรือ แม้แต่ มาเลเซียเอง ก็เพิ่งจะได้รับ AIM-120 มาประจำการ เมื่อไม่กี่ปีมานี้นี่เองครับ...คงเป็นเรื่องนโยบายการ สะสมอาวุธ ที่เป็นข้อจำกัดในการจัดหาอาวุธในบางอย่างครับ
แต่เราซื้อแบบ
ลืมอธิบายเรื่อง ราคาระบบจรวด XX ว่า...เมื่อได้ราคาสุทธิที่ 50 ล้านเหรียญ ก็จะตกราคาหน่วยละ 8.33 ล้านเหรียญ...แต่การชำระก็จะแยกเป็น
1. ของเราเอง จำนวน 1 หน่วย ชำระ 10% ของ 50 ล้านเหรียญ ก็จะชำระเพียงหน่วยละ 5 ล้านเหรียญ (จากเดิม มูลค่าโครงการ 10 ล้านเหรียญ)
2. ของสหรัฐ จำนวน 3 หน่วย ชำระ 60% ของ 50 ล้านเหรียญ ก็จะชำระ 30 ล้านเหรียญ หรือหน่วยละ 10 ล้านเหรียญ
3. ของประเทศที่ร่วมออร์เดอร์ จำนวน 2 หน่วย ชำระ 30% ของ 50 ล้านเหรียญ ก็จะชำระ 15 ล้านเหรียญ หรือหน่วยละ 7.5 ล้านเหรียญ
ในความคิดเห็นผมที่ว่า...จึงเป็นสาเหตุการลดสเปค ของระบบอาวุธที่เราจัดหามาจาก สหรัฐ น่ะครับ...
ซึ่งนั่นก็คือ ที่เราจ่าย 5 ล้านเหรียญ ในขณะที่ต้นทุนอยู่ที่ 8.33 ล้านเหรียญ จำนวนส่วนที่ลดไปของเราจำนวน 3.33 ล้านเหรียญ จะไปอยู่ในต้นทุนการจัดหาของ กองทัพสหรัฐ ครับ...อาวุธของเรา จึงถูกลดสเปค ลง...
ในขณะที่ ประเทศที่ร่วมออร์เดอร์ ด้วย จ่ายหน่วยละ 7.5 ล้านเหรียญ จำนวนส่วนที่ลดไปจำนวน 0.83 ล้านเหรียญ จะไปอยู่ในต้นทุนการจัดหาของ กองท้พสหรัฐ ครับ...ระบบอาวุธของประเทศที่ร่วมออร์เดอร์ด้วย จึงได้ระบบอาวุธแบบ ฟูลออฟชั่น ครับ...
แต่ถ้า เรา ดันไปสั่งซื้อ ระบบอาวุธที่ในขณะนั้น สหรัฐ ไม่มีการสั่งซื้อ สั่งผลิตแล้ว...ราคามันก็จะสูง...ซึ่งเรามีเงินไม่ถึง แต่มีความต้องการใช้...มันก็เข้าสู่กระบวนการการลดสเปค อีกเช่นกันครับ...เช่น โครงการการจัดหา A-7E หรือ แม้แต่การจัดหา AH-1F ของ ทบ. ล่าสุด ที่กำลังจะมา...โดยราคาที่จัดหาดังกล่าว ก็เป็นราคาที่ไม่สามารถหาซื้อจากตลาดที่ไหนได้ครับ...ซึ่ง สหรัฐ ก็ช่วยได้แค่ในระดับหนึ่งครับ...แต่ถ้ามีเงินถึงและเพียงพอ...โครงการ A-7E ก็จะฟูลออฟชั่น และ AH-1F ก็จะสามารถซ่อมแซมได้ครบทั้ง 7 ลำ ที่สั่งซื้อได้ครับ...
ท่านจูผมว่ามันคงเหมือนช่วงสงครามเย็น ที่ทั้ง usa และ ussa ก็พยามสร้างอาวุธ อย่างเต็มความสามารถ
ทุ่มด้านนี้เต็มที่ เพราะ ขณะนั้นมีภัยคุกคาม จนเกิดอาวุธระดับสุดยอดขึ้นมา เช่นปี 1983 ก็มี F - 117
night hawk และอื่นอื่น รวมทั้ง russia ที่ทุ่ม เอา ไททาเนียมที่แสนแพง มาทำเรือดำน้ำให้มีความแข็ง
แรงเพื่อทำให้ดำได้ลึกขึ้นและ พวก b2 ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ แต่พอ กำแพงเบอร์ลิน และ สงครามเย็นจบ
ลงไป อาวุธต่างต่างก็ถูกลดขั้นลง กลับมาใช้อาวุธแบบเดิมเดิม เช่นที่ถล่มลิเบียที่ผ่านมา usa ตอนแรก
ใช้ b2 แต่หลังหลัง ก็ใช้ แค่ f -16 รวมทั้งการหยุดสายการผลิต f -22 rapter เมื่อไม่นานมากนี้
เนื่องจากว่าสถานการณ์มันไม่ถึงขั้น เหมือนตอน สงครามเย็น ดังนั้น ด้านการทหาร จึงไม่มีอาวุธแบบใหม่
ออกมามาก รวมทั้ง เหมือน ด้านการป้องกันประเทศของประเทศต่างต่าง อยู่ใน mode stanby
ใช้อาวุธให้สมเหตุสมผลแก่ภัยคุกคาม
so ดังนั้นการอาวุธก็ถูกลด ระดับลง ทุกประเทศต่างหันมาใช้ อาวุธระดับ กลางกลาง และแค่พัฒนา
อาวุธแบบเดิมให้ดีกว่าเก่า ไม่ได้สร้างอะไรใหม่ขึ้นมา เท่าไหร่ รวมทั้งไทย ก็ไม่ได้จัดหาอาวุธอะไร
ใหม่มากมาย แค่จัดหาให่พอกับการป้องกันประเทศ f -16 ของเราก็จะทำ mlu เพื่อต่ออายุ
และเพิ่มประสิทธิภาพ ที่อาจเทียบเท่ากับ f - 16 block 50/52 ดังนั้น f -16 คงอยู่กับประเทศไทยไป
อีกนานหลาย 10 ปี ดังนั้น บ.รบ ของไทยที่จะจัดหาในอนาคต ก็คงเป็นเพียงการจัดหาเพิ่มเติม
อีกเล็กน้อย เพราะพอทำ mlu แล้ว เราก็จะมี f -16 ประสิทธิภาพสูงประจำการอยู่ส่วนหนึ่ง และ
และ gripen 39 c/d อีกส่วนหนึ่ง
สรุปก็คือการเปลี่ยนแปลง อาวุธใน ท.อ คงไม่ได้เป็นแบบก้าวกระโดด อาวุธคงเป็นแบบเดิม
แต่ประสิทธิภาพสูงขึ้น และมีของใหม่แบบใหม่อีกเล็กน้อย ท่านจูคิดแบบผมไหม
จึงอยากถามท่านจูในหัวข้อต่อไปนี้
1 ) เนื่องจาก ทอ. ได้ระบุชัดเจนว่า บ.รบ หลักยังคงเป็น f -16 ท่านจูคิดว่า ไทยจะมี gripen ( อาจ
เป็น gripen c/d or gripen ng ก็ได้ ) ประมาณกี่ ฝูงบินในประเทศไทย
2 ) นอกจาก F -16 และ gripen แล้วท่านจูคิดว่า บ.รบ ใหม่ ประจำการเพิ่มเติมใหม่ หรือ คิดว่ามีแค่
F -16 และ gripen ( เอาระยะยาว เลยนะครับ ท่านจูคิดว่าเป็นรุ่นไหน หรือ มีแค่ 2 บ.รบ นี้ )
ถ้าหากต้องมีการจัดหามือสองจริง ส่วนตัวไม่อยากให้มองแค่ F-16อีก ถ้าจะจักหามือสองจริงอยากได้อย่าง F-15 หรือ EF-2000 Typhoon แทน
จะเอา....gripen
ในรอบ 15 ปีนี้ขอตัวนี้เพิ่มก่อน....สุดคุ้ม
ตอบท่าน Gen สำหรับฝูงบินของ ทอ. ผมว่า คงมีจำนวนเท่าเดิม แต่คงลดจำนวนลงเหลือฝูงละ 12 ลำ คงไม่ได้ใช้อัตรา 18 ลำ...จาก 90 ลำ เหลือ 60 ลำ...ก็คือการลดจำนวนลงไปกว่า 30% ซึ่งน่าจะเป็นไปตามความหมายของท่าน Gen น่ะครับ...
1 ) เนื่องจาก ทอ. ได้ระบุชัดเจนว่า บ.รบ หลักยังคงเป็น f -16 ท่านจูคิดว่า ไทยจะมี gripen ( อาจเป็น gripen c/d or gripen ng ก็ได้ )
ประมาณกี่ ฝูงบินในประเทศไทย
ตอบว่า ผมคิดว่าน่าจะมี 2 ฝูงน่ะครับ...รวม 24 ลำ
2 ) นอกจาก F -16 และ gripen แล้วท่านจูคิดว่า บ.รบ ใหม่ ประจำการเพิ่มเติมใหม่ หรือ คิดว่ามีแค่ F -16 และ gripen
( เอาระยะยาว เลยนะครับ ท่านจูคิดว่าเป็นรุ่นไหน หรือ มีแค่ 2 บ.รบ นี้ )
ในส่วนของเครื่องบินขับไล่ ผมว่า คงมีแค่ 2 แบบนี้ เท่านั้นครับ...
ซึ่งถ้า ทอ. ตัดสินใจ เลือก Jas-39 เพื่อมาทดแทน F-5 ฝูง 211 (เขาว่า คือ ฝูงบินชายแดน)...และยังมีเงื่อนไขในเรื่อง งบประมาณจัดหา เหมือนเดิมล่ะก้อ...
ดีไม่ดี ฝูง 102 อาจจะเป็นฝูงบินอัตราว่าง เมื่อถึงเวลาปลดประจำการ เหมือนสมัยที่จัดซื้อ F/A-18 แล้วประเทศไทยเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้ต้องยกเลิกการซื้อไป...ทำให้ฝูงบินนี้ไม่มีเครื่องบินประจำการ ในระยะเวลาหนึ่ง...จนได้ F-16 ADF มาแทน...ซึ่ง ทอ. ยังมี ฝูงบิน 103 ประจำการอยู่ในบริเวณเดียวกันอยู่แล้ว...
ซึ่ง ทอ. อาจจะตัดสินใจ คัดเลือกแบบ บ.ขับไล่ เป็นแบบเดียวกันหมด สำหรับมาทดแทน F-16 และ Jas-39 ในอนาคตไปเลย...
ความเห็นผมในระยะเวลาอันใกล้
ฝูงบินชายแดน
701 = Jas-39 C/D ( 12 )
211 = Jas-39 C/D ( 12 )
ฝูงบินหลัก
103 = F-16 A/B ( 18 )
403 = F-16 AM/BM ( 18 )
ฝูงบินคุ้มกัน
102 = F-16 ADF ( 16 )
ฝูงบินโจมตี
231 = Alpha Jet ( 24 ) = จะถูกทดแทนด้วย ?
ฝูงบินขับไล่/โจมตีเบา/ฝึกขั้นสูง
401 = L-39 ZA ( 24 ) = จะถูกทดแทนด้วย ?
411 = L-39 ZA ( 12 ) = จะถูกทดแทนด้วย ? ( ความเห็นส่วนตัว A-29 Super Tucano )
ทำไมท่าน จูลดัส จึงคิดว่า Super Tucano มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ที่จะมาแทน L-39 ในความคิดส่วนตัวของท่านครับ
ในทางกลับกันในส่วนตัวกลับมองไปที่ YAK-130 ในส่วนนี้ผมยังไม่คิดเรื่องค่าใช่จ่ายของเครื่องบินนะครับ เพราะมองไปที่ทดแทน
ทั้ง 3 ฝูงเลย คือ 231 401 411 แต่การจัดหาคงทยอยเอานะครับ เหตุผลที่เป๋นอย่างนี้เพราะ เครื่องยนต์เจ็ตก็ต้องทดแทนด้วย
เครื่องยนต์เจ็ต เพื่อคงความสามารถในการปฏิบัติการที่เท่ากันหรือสูงกว่า ส่วนของเคื่องเทอร์โบพร็อพแน่นอนครับประหยัดเหมาะสำหรับ
โจมตีเบา หรือลาดตระเวณชายแดน ถ้าจะมีผมว่าของ ทร.น่าจะเหมาะสมกว่าครับ
A-29 Super Tucano นี่ผมให้ความเห็นในส่วนเฉพาะฝูง 411 ครับ...ซึ่งแต่เดิมก็ประจำการด้วย OV-10...โดยสภาพภูมิประเทศ เครื่องบินแบบ Super Tucano ผมว่าก็เหมาะสมดีสำหรับสภาพ ที่เป็นภูเขา และมีผืนป่า..รวมถึงเป็นเมืองใหญ่สำคัญทางเศรษฐกิจ สงครามก่อการร้ายก็น่าจะมีโอกาสเกิดสูง และล่าสุดที่มีเหตุกับลูกเรือชาวจีน...สาเหตุก็มาจากการปราบปรามยาเสพติด...จึงมองว่าในพื้นที่ สามเหลี่ยมทองคำ นี้...ภาระกิจปราบปรามยาเสพติด น่าจะมีภาระกิจมากกว่า สงครามเรื่องดินแดน ครับ...ผมเลยมองที่ A-29 Super Tucano น่าจะตอบสนองภาระกิจได้มากกว่า เครื่องบินไอพ่น ที่เป็นการสนองการรบทางยุทธวิธี....
ส่วนฝูง 401 นั้น...คงต้องดูการจัดหา บ.รบยุคใหม่ ฝูงใหม่ของ ทอ.ประกอบครับ...ว่า ทอ. แนวโน้มจะคัดเลือก บ.แบบใดครับ...เพราะ บ.ฝูงนี้ น่าจะสัมพันธ์ กับ ฝูง 403 และ 103...เพื่อฝึกขั้นสูง สำหรับนักบินรบ ถ้าในอนาคตในอีก 30-35 ปีข้างหน้า ทอ. ยังจัดหาเพียง Jas-39 หรือ F-16 มือสองมาประจำการทดแทนเพิ่มเติม...การจัดหา บ.มาทดแทน L-39 ที่นางส่วนจะทะยอยปลดประจำการ คงจัดหา บ.ลักษณะใกล้เคียงของเดิมมากกว่าครับ...เว้นแต่ ทอ. มีเป้าหมายจัดหา F-35 มาภายใน 15-20 ปีนี้ การจัดหา บ.ทดแทน L-39 ก็ต้อง บ.ขับไล่ฝึกชั้นสูง เพื่อรองรับ F-35 เหมือนที่สิงคโปร์ จัดหา บ.จาก อิตาลี่ น่ะครับ...
ส่วนฝูง 231 เป็นฝูงบินโจมตี ก็ไม่แน่ว่า อาจจะหา บ.โจมตี มือสอง มาเหมือนเดิม...เพราะ ทอ. ยังต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก เพื่อจัด บ.ขับไล่ฝูงใหม่ และ ฮ.ฝูงใหม่ มาทดแทนในส่วนที่ต้องปลดประจำการ...ในขณะที่ ตอนนี้ ทอ. ก็ประจำการ บ.แบบมัลตีโรล ที่สามารถทำภาระกิจนี้ได้อยู่แล้ว เช่น Jas-39 และ F-16...
ฝูง 411 อยู่ เชียงใหม่ บ.น่าจะเป็นแบบ โจมตีเบา
ฝูง 231 อยู่ อุดร เป็นฝูงบิน โจมตีเบา เช่นกัน
ฝูง 211 อยู่ อุบล เป็นฝูงบิน ขับไล่ โจมตี
ฝูง 211 ปัจจุบัน ประจำการด้วย F-5 ไทกรีส ซึ่งเน้นภาระกิจขับไล่มากกว่า และไม่เป็น บ.แบบมัลติโรล แบบ F-16 หรือ Jas-39 ตำบลติดระเบิดก็บรรทุกได้น้อย
ภาระกิจ โจมตี จึงเน้นภาระกิจให้ฝูง 231 มากกว่า รวมทั้ง 2 ฝูงบิน คือ เหมือนฝูงบินชายแดนของภาคอิสาน ที่ในสภาพปัจจุบันมีลักษณะเด่นของอากาศยานที่แตกต่างกัน
แต่สมมติว่า ฝูง 211 ได้รับการจัดหา บ.ฝูงใหม่ ที่ลักษณะเป็น บ.มัลติโรล มีตำบลติดระเบิดได้จำนวนมาก เช่น F-16 ที่สามารถทำภาระกิจโจมตีได้...และสามารถทำภาระกิจขับไล่เทียบเท่าฝูง 103...ฝูง 231 ผมคิดว่าคงไม่ต้องจัดหา บ.โจมตี ที่มีสมรรถนะสูง เพราะ ฝูง 211 ก็สามารถทำภาระกิจได้ด้วยตนเองได้อยู่แล้ว...ถ้า ทอ. จะยังคงประสิทธิภาพเท่าเดิมของฝูง 231...ทอ. จึงน่าจะจัดหา บ.โจมตีเบา ใกล้เคียงของเดิมมาทดแทน เท่านั้นครับ...
ส่วนตัวติดใจกับ jas 39 มากว่า f16 นะ ชอบสวีเดน ที่ให้ของแถมมาเยอะ เหมือนเข้าบริการดีเอาใจเรา เยี่ยมๆ
ส่วน ราคาเครื่อง su30 กับ gripen gripen แพงกว่านะ แพงกว่าประมาณ 3-400ล้านบาท สำหรับ su30MKI เพียงแค่ ซู ซดน้ำมันมากกว่า เครื่องยนอายุสั้นกว่า แพงกว่า อะไหลแพงกว่า gripen สรุป ชอบ gripen
ลองจัดแบบการจัดหา ดูครับ
แบบที่ 1
ฝูงบินชายแดน
701 = Jas-39 C/D ( 12 ) จ.สุราษฎร์
211 = F-16 C/D ( 16 ) (Second Hand) จ.อุบล
411 = A-29 Super Tucano ( 12 ) จ.เชียงใหม่
ฝูงบินหลัก
103 = F-16 A/B ( 18 )
403 = F-16 AM/BM ( 18 )
ฝูงบินคุ้มกัน
102 = F-16 CJ/DJ ( 16 ) (Second Hand)
ฝูงบินโจมตี
231 = A-29 Super Tucano ( 18 )
ฝูงบินขับไล่/โจมตีเบา/ฝึกขั้นสูง
401 = L-39 ZA ( 36 )
ฝูงบินลาดตระเวณ/ควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ
402 = Learjet ( 2 ) จ.นครราชสีมา
702 = A-100 Erieye ( 2 ) จ.สุราษฎร์
งบประมาณ
A-29 ( 30 ) = 300 ล้านเหรียญ
F-16 C/D ( 16 ) = 480 ล้านเหรียญ
F-16 CJ/DJ ( 16 ) = 560 ล้านเหรียญ
รวม 1,340 ล้านเหรียญ ( 41,500 ล้านบาท )
แบบที่ 2
ฝูงบินชายแดน
701 = Jas-39 C/D ( 12 ) จ.สุราษฎร์
211 = Jas-39 C/D ( 12 ) จ.อุบล
411 = A-29 Super Tucano ( 12 ) จ.เชียงใหม่
ฝูงบินหลัก
103 = F-16 A/B ( 18 )
403 = F-16 AM/BM ( 18 )
ฝูงบินคุ้มกัน
102 = F-16 CJ/DJ ( 16 ) (Second Hand)
ฝูงบินโจมตี
231 = A-29 Super Tucano ( 18 )
ฝูงบินขับไล่/โจมตีเบา/ฝึกขั้นสูง
401 = L-39 ZA ( 36 )
ฝูงบินลาดตระเวณ/ควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ
402 = A-100 Erieye ( 2 ) จ.นครราชสีมา
702 = A-100 Erieye ( 2 ) จ.สุราษฎร์
งบประมาณ
A-29 ( 30 ) = 300 ล้านเหรียญ
A-100 Erieye ( 2 ) = -
Jas-39 C/D ( 12 ) = 1,100 ล้านเหรียญ
F-16 CJ/DJ ( 16 ) = 560 ล้านเหรียญ
รวม 1,960 ล้านเหรียญ ( 61,000 ล้านบาท )
** ข้อเด่น Erieye สามารถ Link ระหว่าง Jas-39 ของฝูง 211 และ A-29 ของฝูง 231 และ A-29 ของฝูง 411 ( แบบเดียวกับ ทอ.บราซิล)
แบบที่ 3
ฝูงบินชายแดน
701 = Jas-39 C/D ( 12 ) จ.สุราษฎร์
211 = F-16 C/D ( 16 ) (Second Hand) จ.อุบล
411 = L-39 ZA ( 12 ) จ.เชียงใหม่
ฝูงบินหลัก
103 = F-16 A/B ( 18 )
403 = F-16 AM/BM ( 18 )
ฝูงบินคุ้มกัน
102 = F-16 CJ/DJ ( 16 ) (Second Hand)
ฝูงบินโจมตี
231 = Alpha Jet ( 24 )
ฝูงบินขับไล่/โจมตีเบา/ฝึกขั้นสูง
401 = L-39 ZA ( 24 )
ฝูงบินลาดตระเวณ/ควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ
402 = Learjet ( 2 ) จ.นครราชสีมา
702 = A-100 Erieye ( 2 ) จ.สุราษฎร์
งบประมาณ
F-16 C/D ( 16 ) = 480 ล้านเหรียญ
F-16 CJ/DJ ( 16 ) = 560 ล้านเหรียญ
รวม 1,040 ล้านเหรียญ ( 33,000 ล้านบาท )
แบบที่ 4
ฝูงบินชายแดน
701 = Jas-39 C/D ( 12 ) จ.สุราษฎร์
211 = Jas-39 C/D ( 12 ) จ.อุบล
411 = L-39 ZA ( 12 ) จ.เชียงใหม่
ฝูงบินหลัก
103 = F-16 A/B ( 18 )
403 = F-16 AM/BM ( 18 )
ฝูงบินคุ้มกัน
102 = F-16 CJ/DJ ( 16 ) (Second Hand)
ฝูงบินโจมตี
231 = Alpha Jet ( 24 )
ฝูงบินขับไล่/โจมตีเบา/ฝึกขั้นสูง
401 = L-39 ZA ( 24 )
ฝูงบินลาดตระเวณ/ควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ
402 = A-100 Erieye ( 2 ) จ.นครราชสีมา
702 = A-100 Erieye ( 2 ) จ.สุราษฎร์
งบประมาณ
A-100 Erieye ( 2 ) = -
Jas-39 C/D ( 12 ) = 1,100 ล้านเหรียญ
F-16 CJ/DJ ( 16 ) = 560 ล้านเหรียญ
รวม 1,660 ล้านเหรียญ ( 51,500 ล้านบาท )
แผ่นภาพ แบบที่ 1 งบประมาณ ประมาณ 41,500 ล้านบาท
แบบที่ 2 งบประมาณ ประมาณ 61,000 ล้านบาท
แบบที่ 3 งบประมาณ ประมาณ 33,000 ล้านบาท
แบบที่ 4 งบประมาณ ประมาณ 51,500 ล้านบาท
ป๋าครับ ลงอคิดเล่นๆ ถ้า ฝูง102 ปรับจาก F-16 มือสองที่ผ่านการปรับปรุงแบบที่ป๋าบอกเปลี่ยนเป็น F-15 มือ2ที่ปรับปรุงแล้วสัก16-18 ลำครับ เพราะภาระกิจ ที่ตั้งคือฝูงบินคุ้มกันนะครับ
ผมก็คิดเหมือนกันครับ...F-15 มือสอง...เห็น อิสราเอล ขอจัดซื้ออยู่เหมือนกันครับ...จะลองทำดูครับ
แบบที่ 5
ฝูงบินชายแดน
701 = Jas-39 C/D ( 12 ) จ.สุราษฎร์
211 = F-16 C/D ( 16 ) (Second Hand) จ.อุบล
411 = L-39 ZA ( 12 ) จ.เชียงใหม่
ฝูงบินหลัก
103 = F-16 A/B ( 18 )
403 = F-16 AM/BM ( 18 )
ฝูงบินคุ้มกัน
102 = F-15 C/D ( 16 ) (Second Hand)
ฝูงบินโจมตี
231 = Alpha Jet ( 24 )
ฝูงบินขับไล่/โจมตีเบา/ฝึกขั้นสูง
401 = L-39 ZA ( 24 )
ฝูงบินลาดตระเวณ/ควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ
402 = Learjet ( 2 ) จ.นครราชสีมา
702 = A-100 Erieye ( 2 ) จ.สุราษฎร์
งบประมาณ
F-16 C/D ( 16 ) = 480 ล้านเหรียญ
F-16 CJ/DJ ( 16 ) = 800 ล้านเหรียญ
รวม 1,240 ล้านเหรียญ ( 38,500 ล้านบาท )
แก้ไขใหม่ครับ บรรทัดสุดท้ายผิด....
แบบที่ 5
ฝูงบินชายแดน
701 = Jas-39 C/D ( 12 ) จ.สุราษฎร์
211 = F-16 C/D ( 16 ) (Second Hand) จ.อุบล
411 = L-39 ZA ( 12 ) จ.เชียงใหม่
ฝูงบินหลัก
103 = F-16 A/B ( 18 )
403 = F-16 AM/BM ( 18 )
ฝูงบินคุ้มกัน
102 = F-15 C/D ( 16 ) (Second Hand)
ฝูงบินโจมตี
231 = Alpha Jet ( 24 )
ฝูงบินขับไล่/โจมตีเบา/ฝึกขั้นสูง
401 = L-39 ZA ( 24 )
ฝูงบินลาดตระเวณ/ควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ
402 = Learjet ( 2 ) จ.นครราชสีมา
702 = A-100 Erieye ( 2 ) จ.สุราษฎร์
งบประมาณ
F-16 C/D ( 16 ) = 480 ล้านเหรียญ
F-15 C/D ( 16 ) = 800 ล้านเหรียญ
รวม 1,240 ล้านเหรียญ ( 38,500 ล้านบาท )
แบบที่ 5 งบประมาณ ประมาณ 38,500 ล้านบาท
ถ้าเป็น F-15 มือสองก็น่าสนใจครับ เพราะการคุ้มกันมันต้องบินได้นานและครอบคลุม
มองดูงบประมาณแล้ว 800 ล้าน$ + - อีกเล็กน้อย เมื่อเทียบกับระยะทางการบิน
และน้ำกนักบรรทุก ทีนี้ผมมองอย่างนี้ครับ ถ้าเป็น F-16 C/D มือสอง 480 ล้าน$ (16ลำ)
เมื่อหักลบกับ JAS-39 C/D (12ลำ) 1100 ล้าน$ เปลี่ยนเป็น F-15 C/D มือ2
24 ลำ 1200ล้าน $ โดยโยก F-16 จากฝูง 103 ไปที่ กองบิน 211 (ไม่เอาF-16C/D
กับ JAS-39 C/D เพราะทั้ง 2 รวมกันก็ราว1580ล้าน$) คิดว่าเป็นอย่างไรบ้างครับ
เรื่องจำนวนเงินนี่ ผมประมาณเอาน่ะครับ....ไม่ยืนยันน่ะครับ....
แต่ถ้านโยบายที่ ผบ.ทอ. แถลงเมื่อเดือน เม.ย. 54 ในระยะเวลา 10 ปี
พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ กล่าวถึงแผนการพัฒนาเพื่อนำไปสู่กองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค (One of The Best Air Forces in ASEAN) โดยกำหนดยุทธศาสตร์กองทัพอากาศในระยะ 10 ปี ตั้งแต่ปี 2552-2562 เป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ปี 2552-2554 เป็นการมุ่งนำเอาเทคโนโลยีกำลังทางอากาศ และเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการเตรียมกำลัง และใช้กำลังทางอากาศ เพื่อก้าวสู่การเป็น Digital Air Force และเพื่อพัฒนากองทัพอากาศไทยไปสู่เครือข่ายตามแผนโครงสร้าง
ระยะที่ 2 ปี 2555-2558 เป็นการพัฒนากองทัพอากาศไปสู่กองทัพอากาศที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Air Force)
ระยะที่ 3 ปี 2559-2562 กองทัพอากาศจะมีขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิตอล และแนวคิดปฏิบัติการใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCO) ในการปฏิบัติการรบ และปฏิบัติการที่มิใช่การรบ เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามในทุกรูปแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
"เทคโนโลยีสมัยก่อนไม่ได้มีความทันสมัย ดังนั้น จึงได้เอาจำนวนมาเปรียบเทียบกำลังรบ แต่เมื่ออาวุธมีความทันสมัย และสามารถที่จะตรวจจับเป้าหมายได้แม่นยำมากขึ้น ทั้งอาวุธ เรดาร์ และระบบบัญชาการการควบคุม จึงมีความสำคัญมาก ถ้าเรามีระบบที่เป็นเครือข่ายข้อมูลทางยุทธวิธีที่สมบูรณ์ จะมีความได้เปรียบมหาศาล"
จะเห็นว่า บ.รบ ที่จะประจำการในอนาคต คงต้องรองรับการเป็น NCO ได้ด้วย...
ผมเลยให้น้ำหนักไปที่ JAS-39 ที่น่าจะเพิ่มเติม (ถ้ามีเงิน)
และ คาดว่า 403 ที่ทำ MLU น่าจะมีระบบตรงนี้ด้วย เพื่อให้เป็น Network Centric Air Force....
จึงน่าจะง่ายกว่า ถ้าหา F-16 มือสอง มาทำให้สามารถเป็น NCO เพราะมีประสบการณ์จาก 403...
เพราะ F-15 จะเป็น บ.แบบใหม่ และน่าจะต้องเรียนรู้ใหม่...หรือ อาจจะใช้งบประมาณสูงกว่า F-16 ในการทำให้สามารถเป็น NCO ได้ ครับ....
ซึ่งในระยะที่ 3 ของแผนการมีขีดความสามารถเป็น NCO...
จะเป็นช่วงระยะเวลาที่ 211 น่าจะปลดประจำการ และฝูง 102 ก็เข้าสู่ระยะกำลังจะปลดประจำการ เช่นกัน....
จึงคาดว่า บ. ที่จะมาทดแทน น่าจะต้อง สามารถเพิ่มเติมระบบ เพื่อสามารถปฏิบัติการในลักษณะ NCO ได้....
ซึ่งถ้า ทอ. ทำสำเร็จตามแผนการที่วางไว้...
เมื่อมองในปัจจุบัน ทอ. ประจำการด้วย Jas-39 กับ F-16 รวมถึงมีการติดตั้งให้กับ Alpra Jet ด้วย (ตามข่าวเมื่อเร็ว ๆ นี้)...
เมื่อมองถึว่า ทอ. จะมี ฝูงบินอยู่ในช่วงดังกล่าวปลดประจำการถึง 2 ฝูง...ผมว่า ทอ. น่าจะยังคงใช้แบบ บ. เดิม เพราะระบบ NCAF เพิ่งจะใช้ได้ในระยะไม่นาน...โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเด็นสำคัญ คือ งบประมาณ นั่นเอง...
ผมเลยให้น้ำหนักไปที่ว่า ถ้า มีงบประมาณ ผมให้คะแนน Jas-39 น่าจะมาก่อน เพราะสามารถคงอัตราว่าง ฝูง 102 ได้ โดยเอาเข้าฝูง 103
และเอา F-16 ฝูง 103 ไป 211 ก่อน เหมือนกับที่ท่าน ALPHA001 ให้ความเห็น...แล้วหลังจากนั้น จึงจะหา บ. มาทดแทน 102 ต่อไป...และผมก็คิดว่า ทอ. ไม่น่าจะสามารถรอนานได้ขนาดนั้น...ผมเลยให้น้ำหนักไปที่ F-16 มือสอง ที่พอจะเบาภาระงบประมาณลงได้บ้าง...โดย F-15 ผมก็มองว่า มันมีอยู่ประเด็นเดียวของ F-15 คือ งบประมาณน่ะครับ...(ปัญหาโลกแตกของ กองทัพยไทย)