http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=chuk007&month=11-08-2009&group=1&gblog=9
Losin island
เกาะเล็ก ๆ ที่อาจพูดได้ว่าเป็นแค่กองหินกลางทะเลเวิ้งว้างในอ่าวไทย โผล่พ้นน้ำขึ้นมาไม่เกิน 100 ตารางเมตร สภาพส่วนใหญ่เป็นหินล้วน ๆ ไม่มีต้นไม้ใบหญ้า ห่างจาก ชายฝั่งอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะทาง 106 กิโลเมตร
โลซิน...คือเกาะแห่งนี้ อยู่บนจุดตัดระหว่างเส้นรุ้งที่ 7 องศา 19 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 101 องศา 59 ลิปดาตะวันออก
หากแล่นเรือออกไป เกาะโลซินมองเผิน ๆ เหมือนกับสิ่งแปลกปลอมที่ผุดเหนือน้ำอันเวิ้งว้าง ไม่มีมนุษย์อาศัย และมีเพียงประภาคารคอยส่องไฟนำทางสีขาว สำหรับชาวประมงและเรือทะเลยามค่ำคืนเท่านั้น
เกาะโลซินแห่งนี้อาจไม่เคยเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ยกเว้นชาวเรือ ชาวประมงที่อาศัยโลซินเป็นแหล่งหาปลาหรือเป็นหมายสำหรับการเดินทาง ต่อมาโลซินเป็นที่รู้จักของผู้คนมากขึ้น และได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักดำน้ำ ที่รักหลงใหลในโลกใต้ทะเลเป็นจำนวนมาก
แต่ทว่าหินระเกะระกะที่รวมตัวกันผุดเป็นเกาะขึ้นมาแห่งนี้ เบื้องหลังกลับเป็นตำนานของโครงการมูลค่ามหาศาลหลายแสนล้าน หรืออาจเรียกได้ว่า เกาะโลซินเป็นเกาะที่มีมูลค่าเท่ากับโคตรเพชรเลยก็ได้
เพราะหากไม่มีเกาะโลซิน วันนี้เราก็คงไม่มีสิทธิ์บนพื้นที่สัมปทานก๊าซกลางอ่าวไทย พื้นที่ครอบคลุมมากกว่า 7,000 ตารางกิโลเมตร และมีแหล่งสำรองก๊าซให้ประเทศถึง 5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือเท่ากับ 50% ของแหล่งก๊าซที่มีอยู่ของไทยทั้งหมด
ใช่แล้ว..เกาะโลซินมีความเกี่ยวพัน กับโครงการขุดเจาะก๊าซกลางอ่าวไทยที่เรียกว่า พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียอย่างแนบแน่น
ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของเกาะโลซิน ต้องเริ่มตั้งแต่ไทย-มาเลเซียโต้เถียงกันถึงเรื่องสิทธิเหนือน่านน้ำ โดยเริ่มตั้งโต๊ะโต้เถียงกันอย่างจริงจังในปี 2515
ครั้งนั้นได้มีการใช้หลักการแบ่งสันพื้นที่กลางทะเล ด้วยวิธีลากเส้นตั้งฉากจากแนวโค้งของแผ่นดินแต่ละฝ่ายขึ้นไป หรือเรียกว่าเขตไหล่ทวีป และปรากฏว่าเส้นตั้งฉากของมาเลเซียทับซ้อนพื้นที่สัมปทานทั้งหม ดของแหล่งก๊าซธรรมชาติมูลค่ากว่าแสนล้านบาทนี้
ดูเหมือนกับว่าไทยจะไม่สามารถใช้สิทธิโต้แย้งได้มากนัก เพราะลักษณะแผ่นดินของมาเลเซียงุ้มเข้ามาในอ่าวไทย ขณะที่แผ่นดินของไทยกลับเทลาดออกไป
แหล่งสัมปทานแห่งนี้ ห่างจากจังหวัดสงขลา 260 กิโลเมตร ขณะที่ห่างจากเมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ของมาเลเซียประมาณ 150 กิโลเมตร
แต่เดชะบุญที่คณะเจรจาครั้งนั้นไปพบเกาะหินกลางทะเลสุดเวิ้งว้าง..นั่นคือเกาะโลซิน
เราจึงได้ใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทางทะเล ค.ศ. 1958 หรือราว ๆ พ.ศ. 2501 ที่ให้ความหมายคำว่าเกาะคือ แผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบ เมื่อเกาะโลซินคือแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบของไทย จึงสามารถประกาศสิทธิเขตเศรษฐกิจจำเพาะจากแนวน้ำลดบริเวณชายฝั่งออกไปได้ 200 ไมล์ทะเล
และพื้นที่ซึ่งประกาศออกไปนี้ก็ครอบคลุมแหล่งก๊าซมหาศาลนี้ด้วย!!
ผลของการค้นพบเกาะโลซินจึงทำให้ทั้งไทยและมาเลเซียหันมานั่งโต๊ะเจรจากัน และสุดท้ายก็ตกลงจะนำพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว มาร่วมกันพัฒนา ภายใต้โครงการพื้นที่ พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย หรือเรียกชื่อย่อว่า เจดีเอ โดยรัฐบาลสมัยนั้นนำโดย พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ไปลงนามร่วมกันบริหารจัดการพื้นที่อย่างเท่าเทียม โดยแบ่งผลประโยชน์กันคนละครึ่ง และจนกระทั่งมาถึงการพัฒนา กลายเป็นโครงการสำรวจสัมปทานกลางทะเล โครงการสร้างท่อส่งก๊าซ โรงแยกก๊าซในปัจจุบัน
ทุกคนคงเคยได้ยิน ชื่อเกาะสิปาดัน สถานที่นักดำน้ำใฝ่ฝันถึง
และทำรายได้การท่องเท่ยวให้ประเทศมาเลเซียปีละมากมาย
แต่เกาะแห่งนี้ก็เป็นกรณีพิพาท ระหว่างมาเลเซียและอินโดนีเซียมาก่อน
อินโดนีเซียได้แต่ประท้วง ขณะที่มาเลเซียค้นหาหลักฐาน
ปี 2545 มาเลซียชนะคดี เพราะว่าอ้างอิงเอกสารเก่าฉบับหนึ่ง
ที่กล่าวถึงการเก็บภาษีไข่เต่าบนเกาะแห่งนี้ และการสร้างกระโจมไฟ
บนเกาะสิปาดันในปี 1962 และเกาะลิกิตันในปี 1963
การประท้วงไม่ช่วยอะไร หลักฐานต่างหากที่สำคัญกว่า
ในขณะที่พรมแดนไทยกับประเทศข้างเคียงนั้นมีปัญหา
มีเพียงเพื่อนบ้านทางใต้เท่านั้น ที่เราปักปันเขตแดนได้อย่างสมบูรณ์
แต่ใครจะรู้ว่า กว่าจะมาถึงวันนี้ มันก็เคยมีปัญหาเช่นกัน
ปัญหาที่เรียกว่า Losins Effect
เกาะโลซิน ตั้งอยู่ในน่านน้ำเขตจังหวัดปัตตานี บนจุดตัดระหว่างเส้นรุ้งที่ 7
องศา 19 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 101 องศา 59 ลิปดาตะวันออก
เป็นแผ่นดินไทยที่อยู่ใต้สุดของทะเลด้านอ่าวไทย
ห่างจากฝั่งนราธิวาส ประมาณ 55 ไมล์ มองเผินๆ "โลซิน"
คือกองหินร้าง ไม่มีคนอาศัย เป็นกองหินโสโครกที่เป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือ
แต่เพราะความเป็นห่วงใยของทหารเรือไทยในเรื่องดังกล่าว จึงได้สร้าง
กระโจมไฟคอยส่องไฟนำทางสำหรับชาวเรือยามค่ำคืน นั่นจึงเป็นที่มาของเรื่องราวในครั้งนี้
ไทยและมาเลเซียได้เจรจาเรื่องเส้นเขตแดนในทะเลอาณาเขต ในปี 2515
สามารถทำความตกลงกันได้ ตั้งแต่กึ่งกลาง ปากแม่น้ำโกลกออกไปในทะเล
36 ไมล์ทะเลเท่านั้น เพราะเพราะหากยึดตามข้อตกลงสากลแบ่งพื้นที่กลางทะเล
ด้วยวิธีลากเส้นตั้งฉากจากแนวโค้งของแผ่นดินแต่ละฝ่ายขึ้นไปที่
ลักษณะแผ่นดินของมาเลเซียที่งุ้มเข้ามาในอ่าวไทย ขณะที่แผ่นดินของไทยกลับเทลาดออกไป
หากลากเส้นตามหลักดังกล่าว เส้นนั้นจะทำมุมออกไปในอ่าวไทยแนวตะวันออกเฉียงเหนือ
ทำให้ไทยเสียเปรียบในการเจรจาอย่างมาก การเจรจาจึงหยุดไปหลายปี
มีการเจรจากันต่ออีกครั้งเมื่อปี 2521 เพื่อจะต่อเส้นเขตแดนในเขตไหล่ทวีป
ออกไปให้บรรจบกับเส้น claim ของเวียดนามที่กลางอ่าวไทยตอนล่าง
การเจรจาครั้งนี้บรรยากาศไม่ราบรื่นเหมือนการเจรจาครั้งแรก
เพราะประเทศไทยได้นึกถึง โลซิน หินโสโครกร้างกลางทะเล
กระโจมไฟกลายเป็นหลักฐานที่สำคัญ ในการอ้างสิทธิ์ของไทย ต่อกองหินร้างนี้
แต่กองหินนั้นไม่ใช่ เกาะ ประเทศไทยจึงไม่อาจอ้างสิทธิ์พื้นที่ทางทะเลได้
แต่โชคเป็นของฝ่ายไทยอีกครั้ง ที่เรายังคงใช้กฎหมายทะเลดั้งเดิม 4 ฉบับ
ตามอนุสัญญากรุงเจนีวา ค.ศ.1958 ซึ่งประเทศไทยลงนามและให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ
ซึ่งกำหนดไว้เพียงว่า แม้เป็นหินกองหินที่โผล่พ้นน้ำ ก็สามารถนิยามว่าเป็นเกาะได้
เมื่อได้ชื่อว่าเป็นเกาะ ก็ย่อมมีไหล่ทวีปเป็นของตัวเอง มีผลไปถึงเขตเศรษฐกิจจำเพาะ
การกำหนดอาณาเขต ผลประโยชน์และอำนาจอธิปไตยทางทะเล
มาเลเซียไม่ต้องการเจรจาโดยใช้เส้นเขตแนวนี้ ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้
เพราะการอ้างอธิปไตยเหนือเกาะโลซิน ทำให้เส้นเขตแนว เกิดเป็นสองแนว
แนวที่ลากเป็นเส้นตั้งฉากจากฝั่งออกไปในทะเล ประเทศไทย เสียเปรียบ
แนวที่ลากโดยยึดถือ เส้นแนวเกาะโลซิน ประเทศมาเลเซีย เสียเปรียบ
เกิดเป็นพื้นทีทับซ้อนทางทะเล เป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีอาณาเขตถึง 7250 ตารางกิโลเมตร
การเจรจาระดับเจ้าหน้าที่ดูเหมือนจะมาถึงทางตัน บรรยากาศทางการเมืองก็ตึงเครียดขึ้น
จากปัญหาเรือประมงไทยเข้าไปจับปลาในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนนี้แล้ว
ถูกเจ้าหน้าที่มาเลเซียจับไปดำเนินคดี ขณะนั้นนายกรัฐมนตรีของไทยคือ
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ และนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย คือ ดาโต๊ะ ฮูสเซน ออน
ทั้งสองท่านมีความสนิทสนมกันเป็นส่วนตัว จึงได้ตกลงใจที่จะคลี่คลายปัญหานี้
โดยกำหนดให้มีการ เจรจา ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี 2522
ผลของการเจรจา คือ ความตกลงจัดตั้งพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย
ในพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว ความตกลงนี้เรียกกัน ว่า MOU เชียงใหม่
ซึ่งปัจจุบันเราเรียกว่า JDA ซึ่งต้องแบ่งปันผลประโยชน์คนละครึ่งหนึ่งกับมาเลเซีย นั่นเอง
ภายหลังมีการลงนามบันทึกข้อตกลงมีการสำรวจ พบว่ามีแหล่งก๊าซธรรมชาติจำนวนมหาศาล
ในพื้นที่ ถึง 5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือเท่ากับ 50% ของแหล่งก๊าซที่มีอยู่ของไทยทั้งหมด
โดย 75 เปอร์เซ็นต์อยู่ในพื้นที่ด้านล่างสามเหลี่ยม ในซีกพื้นที่ของมาเลเซีย
หากไม่มี "โลซิน" ไทยย่อมไม่อาจอ้างสิทธิ์ในพื้นที่ทับซ้อน ขนาด 7250 ตารางกิโลเมตร
หากไม่มี "โลซิน" ไทยก็จะไม่มีสิทธิ์ในแหล่งก๊าซมูลค่ามหาศาลกลางอ่าวไทย
หากไม่มี "โลซิน" เราก็คงไม่มีเส้นเขตแดนที่มีอธิปไตยทางทะเลด้านใต้อ่าวไทยลงไปถึงตรงจุดนี้
และหากไม่มี "โลซิน" เราก็คงไม่มีแหล่งดำน้ำที่สวยงามกลางอ่าวไทย เช่นวันนี้..
นอกจากนั้น เกาะโลซินนี้ ยังพบเรือดำน้ำจมสมัย สงครามโลกครั้งที่ 2ด้วย หากว่า ไทยไม่มีเกาะนี้ เรือดำน้ำจมลำนี้จะต้องไปอยู่ในน่านน้ำมาเลเซียครับ
กองทัพเรือพบเรือดำน้ำยุคสงครามโลก ครั้งที่ 2ที่เกาะโละซิ้น สงขลา
« เมื่อ: มิถุนายน 19, 2006, 08:57:03 am »
-------------------------------------------------------
ศูนย์ข่าวศรีราชา-ทัพเรืออเมริกาฝึก การัต 2006 ร่วม ทร.ไทย เป็นปลื้ม ค้นพบเรือดำน้ำอเมริกันจมทะเลไทย ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เจอญี่ปุ่นถล่มจมใต้ทะเลพร้อมลูกเรือ 86 คน
วันนี้( 18 มิ.ย. 49) หลังจากที่ เรือรบของกองกำลังฝึกของทหารอเมริกา ชื่อ USS SALVOR (ARS-52) ที่ได้เดินทางมาในประเทศไทยเพื่อทำการฝึกร่วม การัต 2006 กับ กองทัพเรือไทย โดยกองทัพเรือได้มอบหมายให้ กองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ โดย พลเรือตรี สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ 2 เป็นเจ้าภาพการฝึก ซึ่งก่อนเปิดการฝึกและขณะเดินทางเข้าประเทศไทยได้แวะปฎิบัติการค้นหาเรือดำน้ำชื่อ USS LAGRARTO (SS-371)
โดยกองทัพเรือได้สั่งการให้ เรือเอก สมภพ ราศรี นายทหารปฏิบัติการใต้น้ำประสานการปฏิบัติจาก กรมสรรพาวุธทหารเรือ เดินทางร่วมกับเรือสังเกตการณ์ปฏิบัติดังกล่าว ซึ่งเป้าหมายเรือลำดังกล่าวจมอยู่ใน พิกัดห่างจากจังหวัดสงขลา ประมาณ 100 ไมล์ทะเล พิกัดแลตติจูดที่ 7 องศา 51.9 ลิปดาเหนือ ลองติจูดที่ 102 องศา 2.7 ลิบดาตะวันออก ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2549 จนถึงวันที่ 16 มิ.ย.49 และได้พิสูจน์ทราบแน่ชัดแล้วว่าเรือดำน้ำที่พบเป็นเรือดำน้ำที่ได้จมหายไปตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พร้อมกับลูกเรืออีก 86 นายจริง
ซึ่งในวันนี้เรือลำดังกล่าวได้เดินทางเข้าเทียบ ณ ท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พร้อมกับข่าวดีที่แพร่สะพัดออกมาในวงกว้างว่า ภารกิจการค้นหาเรือดำน้ำที่จมหายไปตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ประสบความสำเร็จ และได้ทำพิธีไว้อาลัย ยิงสลุด เพื่อสักการะดวงวิญญาณของลูกเรือทั้งหมดไปเรียบร้อยแล้ว ณ จุดที่พบเรือลำดังกล่าว พร้อมทั้งได้นำธงชาติสหรัฐอเมริกา และแผ่นจารึกไปติดไว้ที่บริเวณหัวเรือ
พลเรือตรี สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ ผู้บังคับกองกำลังฝึก การัต 2006 ฝ่ายไทย เปิดเผยว่า เรื่องการค้นหาเรือดำน้ำของประเทศสหรัฐอเมริกาที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เป็นช่วงที่กองกำลังทางเรือของประเทศสหรัฐอเมริกา นำเรือรบ จำนวน 5 ลำ เข้ามาในน่านน้ำไทย และได้ประสานมายังกองทัพเรือเพื่อแวะค้นหาเป้าหมายเรือดำน้ำในน่านน้ำไทย ซึ่งกองทัพเรือได้ส่งนายทหารปฏิบัติการใต้น้ำ ของกรมสรรพาวุธทหารเรือ ร่วมการเดินทางมาจากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งขณะนี้ได้รับรายงานผลการปฏิบัติดังกล่าวว่าประสบความสำเร็จ ซึ่งได้พบเรือดำน้ำเรียบร้อยแล้ว อยู่ในระดับน้ำลึกประมาณ 240 ฟุต หรือ 76 เมตร ทางตอนใต้ของเกาะโลซิ้น ห่างจากทางด้านทิศตะวันออกของจังหวัดสงขลา ประมาณ 100 ไมล์ทะเล สภาพเรือยังมีความสมบูรณ์ ด้านหัวเรือเสียหาย และได้รับรายงานว่า พบปืนใหญ่ขนาด 5 นิ้ว ติดอยู่ที่ดาฟ้า หัวเรือ 1 กระบอก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับประวัติเรือดำน้ำ USS LAGARATO เป็นเรือดำน้ำชั้น BALAO มีลูกเรือประจำอยู่ภายในเรือ 86 คน มี CDR.F.D. LATTA เป็นผู้บังคับการเรือ ได้เดินทางออกมาจากท่าเรือ ซูบิคเบ ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 1945 เพื่อออกลาดตระเวนในทะเลจีนใต้ และเมื่อวันที่ 27 เมษายน 1945 ได้เดินทางร่วมกับเรือของฝ่ายเดียวกันคือ เรือ BAYA เดินทางเข้ามาในน่านน้ำไทย คาดว่าน่าจะถูกถล่มโดยเรือวางทุ่นระเบิดของ เรือ HATSUTAKA ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2488 สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งซากเรือลำดังกล่าว กองทัพเรือประเทศสหรัฐอเมริกา จะดำเนินการให้เป็นสุสานทางสงครามในทะเลต่อไป โดยจะประสานกับประเทศไทย และกองทัพเรือไทยขอสงวนพื้นที่บริเวณดังกล่าวในการดำเนินการในเรื่องนี้ด้วย
ข้อมูลจาก
http://www.saveoursea.net/boardsmf/index.php?topic=690.0
เรือลาการ์โตมีน้ำหนักกว่า 1,500 ตัน ยาว 310 ฟุต ถูกเรือฮัทสุทากะของญี่ปุ่นโจมตีจนจมลงใต้ท้องทะเลในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งหลังกองทัพได้ส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบร่องรอยของเรือนำข้อมูลกลับไปแจ้งแก่ครอบครัวของทหารเรือผู้สูญหาย แม้เวลาจะล่วงเลยมากว่า 60 ปีแล้ว แต่ก็สร้างความยินดีแก่บรรดาญาติๆ ซึ่งการค้นพบเรื่องราวที่ขาดหายไปเป็นสิ่งที่สำคัญต่อจิตใจของครอบครัวทหารเรือเป็นอย่างยิ่งและเพื่อเชิดชูเกียรติแก่เหล่าทหารด้วย
เรือ HATSUTAKA ของญี่ปุ่นที่จมเรือดำน้ำโชคร้าย
ล
.............................
ปืนบนดาดฟ้าเรือดำน้ำ
...................................
ข่าวการค้นพบเรือดำน้ำ
กองทัพเรือเตรียมประกาศเขตเรือดำน้ำจมเป็นเขตอันตราย
จากกรณีที่กองกำลังฝึกผสมการัต 2006 ระหว่างกองทัพเรือไทยและกองทัพเรือประเทศสหรัฐอเมริกาได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย โดยเรือ USS SALVOR( ARS-52) ได้ประสานมายังกองทัพเรือไทยเพื่อส่งเจ้าหน้าที่ในการประสานร่วมเป็นสักขีพยานในการค้นหาเรือดำน้ำของประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อ USS LAGARTO (SS-371) ซึ่งถูกถล่มจมหายไปในทะเลพร้อมลูกเรืออีก 86 นาย ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งผลการค้นหาตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2549 จนถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2549 พบหลักฐานแน่ชัดที่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นเรือดำน้ำที่หายไปจริง พลเรือเอกนพพร อาชวาคม ผู้บัญชาการกองยุทธการ กล่าวว่า สำหรับเรื่องที่ทหารอเมริกาที่เดินทางมาฝึก การัต 2006 ในพื้นที่สัตหีบ โดยกองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการเป็นผู้รับผิดชอบการฝึกนั้น ก่อนเข้าแผนการฝึกการัต กองกำลังของฝ่ายสหรัฐฯ ได้ขอแวะค้นหาเรือดำน้ำ ล่าสุดได้รับรายงานจาก พลเรือตรี สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผบ.กฟก.2 กร.ว่าการค้นหาสิ้นสุดลงแล้ว และได้พบเรือดำน้ำลำดังกล่าว ในพิกัดห่างจากชายฝั่งจังหวัดสงขลาประมาณ 100 ไมล์ทะเล ห่างจากเกาะโลซินไปทางด้านทิศเหนือประมาณ 40 ไมล์ทะเล ซึ่งทางด้าน กองกำลังสหรัฐฯ ได้ประกอบพิธีไว้อาลัย พร้อมนำธงชาติ และแผ่นโลหะลงไปติดไว้บริเวณหัวเรือเรียบร้อยแล้ว สำหรับเรือดำน้ำลำนี้เป็นเรือที่จมในช่วงการปฏิบัติการทางด้านสงคราม การจัดเตรียมความพร้อมทางด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ต้องพร้อม และขณะที่เรือจมลงสู่ทะเลวัตถุระเบิดทุกชนิดต้องอยู่ภายในเรือ ในแนวทางปฏิบัติเบื้องต้น กองทัพเรือในฐานะต้องรับผิดชอบทะเลทั้งเขตเศรษฐกิจจำเพาะ และเขตต่อเนื่อง ต้องประกาศเป็นพื้นที่อันตรายในโอกาสแรก
เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ต่าง ๆ อีกทั้งทางประเทศสหรัฐฯเองก็คงมีความต้องเก็บรักษาเรือลำนี้ไว้เป็นอนุสรณ์สถาน หรือสุสานสงครามทางทะเล การดำเนินการใด ๆ คงต้องหารือกันทั้ง 2 ฝ่าย เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนในหลายด้าน ส่วนแนวทางต่อไปที่กระทำได้ก็คือการนำอนุสัญญา เจนิวา ซึ่งเป็นกฎหมายสหราชอาณาจักร มาดำเนินการ ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่อยู่ในสมาชิก ถ้าประเทศสหรัฐฯ ขอประกาศเป็น war Grave ที่เราเรียกว่าสุสานหรือหลุมฝังศพสงครามทางทะเลก็ย่อมทำได้ โดยห้ามผู้ใดเข้าไปรวบกวนหรือเข้าใกล้บริเวณดังกล่าว เพราะเรือดำน้ำลำนี้จมขณะทำสงคราม มีลูกเรือเสียชีวิตไปพร้อมเรือถึง 86 นายและจะกระทำได้อีกทางหนึ่งก็คือ ต่อไปในอนาคตอาจจะประสานให้มีการถอดอาวุธต่าง ๆ ออกจากเรือและนำชิ้นส่วนผู้เสียชีวิตขึ้นมาทำพิธีให้เรียบร้อย แล้วทำเป็นพิพิธภัณฑ์ สงครามทางทะเล แห่งที่ 2 ของโลกเพื่อให้
ประชาชนได้ศึกษาประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในเรื่องของสงครามที่มีแต่ความสูญเสีย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับพื้นที่บริเวณที่พบเรือดำน้ำจมนั้นเป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กันทั้ง 4 ประเทศ ก็คือ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น และประเทศไทย เพราะในปี 1942 เรือรบไทยชื่อ เรือหลวงสมุย ได้ถูกเรือดำน้ำของสหรัฐฯ ถล่มจมขณะลำเลียงน้ำมันเชื้อเพลิงมาจากประเทศสิงคโปร์ มีลูกเรือเสียชีวิตถึง 6o นาย และมีเรือรบประเภทเรือ
ประจัญบานของประเทศอังกฤษ ชื่อ เรือ HMS. Prince of wases และเรือ HMS. Repulse ถูกเครื่องบินของญี่ปุ่นถล่มจมใต้ทะเล เมื่อปี 1941 เพราะได้เข้ามาสกัดกั้นการยกพลขึ้นบกทางด้านแหลมมาลายูของทหารญี่ปุ่น ถ้าทั้ง 4 ประเทศให้ความร่วมมือกันนำพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์สงครามทางทะเล ก็ย่อมเกิดผลดีต่อทุกฝ่าย โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์อีกด้วย อนุชนรุ่นหลังจะได้หน้าเข้ามาร่วมกันสร้างสันติสุขโลก
....................
ร.ล. สมุย จมบริเวณใกล้เกาะโลซิน
ร.ล. สมุย เรือลำเลียงน้ำมัน (เรือ นม.) ชื่อเรือ (ภาษาไทย) ร.ล.สมุย ชื่อเรือ (ภาษาอังกฤษ) --
ผู้สร้าง Abina Engine Machine Waki Profland Origan ชื่อเดิม YOG 60
นามเรียกขาน HSZP สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2487 ขึ้นระวางประจำการเมื่อ พ.ศ.2490 เป็นเรือประเภท เรือลำเลียงน้ำมัน ตัวเรือสร้างด้วย แผ่นเหล็กประสานตะเข็บ ส่วนประกอบตัวเรือสร้างด้วย โครงเหล็ก ความเร็วสูงสุด 11.2 นอต ความเร็วมัธยัสถ์ 9.2 นอต ระวางขับน้ำปกติ 411 ตัน ระวางขับน้ำเต็มที่ 1235 ตัน
ความยาวตลอดลำ 51.22 เมตร ความยาวที่แนวน้ำ 50.03 เมตร ความกว้างมากที่สุด 10.01 เมตร ความกว้างที่แนวน้ำ 10.01 เมตร ความสูงถึงดาดฟ้าใหญ่ 20 เมตร ความสูงถึงยอดเสา 38 เมตร กินน้ำลึกปกติ หัว 0.88 เมตร ท้าย 9 เมตร
กินน้ำลึกเต็มที่ หัว 3.59 เมตร ท้าย 3.59 เมตร เมตร
รายชื่อผู้บังคับบัญชา ร.อ.อติชาต พรประสิทธิ์ ผบ.เรือ ร.ท.ธวัชศักดิ์ มิตรโกสุม ตก.
การปฏิบัติการของ ร.ล.สมุย (ลำที่ 1) เมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ.2488
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2484 - 2488 กองทัพเรือได้ทำหน้าที่รักษาเส้นทางลำเลียงในน่านน้ำไทยทำการกวาดทุ่นระเบิดและในเหตุการณ์ครั้งนี้ ร.ล.สมุย ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำมันเชื่อเพลิงจากสิงคโปร์เข้าสู่ประเทศไทย เพื่อบรรเทาความขาดแคลนภายในประเทศ ร.ล.สมุย ปฏิบัติภารกิจสำเร็จด้วยดีมาโดยตลอด ด้วยความสามารถของ ผบ.เรือ และทหารประจำเรือหลายครั้งต้องหลบหลีกการโจมตีจากข้าศึกแต่ก็สามารถผ่านพ้นไปได้ถึง 17 ครั้ง จนกระทั้งครั้งที่ 18 ซึ่งเป็นเที่ยวสุดท้าย ขณะที่ ร.ล.สมุย ลำเลียงน้ำมันเชื่อเพลิงกลับ วันที่17 มี.ค.2488 เวลา 0245 บริเวณด้านตะวันออกของเกาะคาปัส ประเทศไทยต้องสูญเสีย ร.ล.สมุย พร้อมด้วยลูกเรือบางส่วนไปโดยถูกตอร์ปิโดถึง 2 ลูกซ้อนจากเรือดำน้ำข้าศึก ระเบิดไฟไหม้หัวเรือจมดิ่งสู่ก้นทะเลเหลือผู้รอดชีวิต 17 นาย เสียชีวิตไป 31 นาย นาวาตรีประวิทย์ รัตนอุบล ผบ.เรือ รวมอยู่ในจำนวนนี้ด้วย ซึ่งนับเป็นวีรกรรมที่ยิ่งใหญ่ของ ร.ล.สมุย และทหารประจำเรือ
วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2485 เรือสมุยได้ออกเดินทางไปสิงคโปร์เป็นเที่ยวแรก เหตุการณ์ดีเป็นที่เรียบร้อย เที่ยวหนึ่งๆ ใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนเศษ สุดแต่ว่าทางการจะเร่งเอาน้ำมันหรือไม่ ถ้าระยะเวลาไหนเร่งก็ออกเรือกระชั้นหน่อย เกือบจะเรียกว่าไม่ได้เข้าอู่ปรับเครื่องกันเสียเลย จนกระทั่งเที่ยวที่ 18 นาวาตรี (นาวาเอก) ประวิทย์ รัตนอุบล นำเรือออกจากกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2488 ระหว่างทางเครื่องจักรใหญ่ขัดข้อง จึงแวะซ่อมเครื่องอยู่ที่โคตาบารูหลายวัน เมื่อเสร็จแล้วจึงเดินทางต่อไปถึงโชนัน โดยปลอดภัย
วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2488 สหรัฐอเมริกาเข้าครอบครองฟิลิปปินส์ได้ทั้งประเทศ และเลื่อนฐานะเรือดำน้ำมาที่ฟิลิปปินส์ ทำให้ใกล้เส้นทางเดินเรือของไทยเข้ามาอีกมาก เรือหลวงสมัยรับน้ำมันจากโชนันมาเต็มที่ คือบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงเต็มระวาง และถึงมีน้ำมันเบนซิน บรรจุใส่ถัง 200 ลิตร วางไว้บนดาดฟ้าเต็มไปหมด และออกเดินทางจากโชนัน ในวันที่ 15 มีนาคมตอนเช้า
วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2488 เวลาเช้าเครื่องบินทะเลของญี่ปุ่นเครื่องหนึ่งมาวนเวียนเหนือเรือ และโบกธงแดง แต่ทางเรือมิได้หยุดเรือคงเดินหน้าต่อไป เครื่องบินนั้นได้บินไปไกล แล้วบินกลับมาที่เรือสมุยอีก และโบกธงแดงอีกหลายครั้ง ต่อจากนั้นเครื่องบินนั้นก็หายไป ส่วนเรือสมุยคงเดินทางต่อมาตามเดิม เข็ม 324 ตั้งใจไว้ว่า เมื่อมาถึงเกาะลาปัสแล้ว จึงจะเปลี่ยนเข็มใหม่ เรือดำน้ำอเมริกัน ชื่อ Sea Lion II ผู้บังคับการเรือ ชื่อ นาวาตรี C.P. Putnam ได้คอยดักโจมตีอยู่บริเวณนั้น
วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2488 เวลา 02.45 เรืออยู่ทางตะวันออกของเกาะคาบัสห่าง 7 ไมล์ ประมาณ 5, 18, 103 ได้ถูกตอร์ปิโด จากเรือดำน้ำซีไลออน นัดแรกถูกหัวเรือขวา และได้ยินเสียงระเบิดในเรือระยะติดๆ กันนั้น ก็ถูกยิงอีกนัดหนึ่งตรงกลางลำค่อนไปทางหัวเรือเกิดระเบิดขึ้นในเรือทำให้ไฟไหม้ และหัวเรือจมดิ่งลงต่อจากนั้นไฟได้ลุกติดน้ำมันซึ่งลอยเป็นฝาอยู่รอบๆ ตำบลที่เรือจม และเรือได้จมภายใน 3 นาทีเรือ ทหารได้โดดลงน้ำ พยายามว่ายเข้าหาฝั่งฝ่าเพลิงที่ลุกอยู่ทั่วไป เวลานั้นคลื่นจากตะวันออกใหญ่มาก บางคนเกาะเศษไม้และสิ่งของต่างๆ ลอยตามคลื่นที่พัดเข้าฝั่ง บางคนลอยคออยู่ในน้ำนานตั้ง 14 ชั่วโมง และไปสลบอยู่ตามชายฝั่งอำเภอมารัง จังหวัด ตรังกานู รวม 17 คน เรือไว (เรือโบตชนิดหนึ่ง) ของเรือหลวงสมุยลอยไปติดเกาะคาปัส ในเรือนี้ไม่มีคนมีแต่เสื้อนอกของ ตาวาตรี ประวิทย์ รัตนอุบล 1 ตัว ผู้ที่ตายมีจำนวน 31 คน ในจำนวนนี้มี นาวาตรี ประวิทย์ รัตนอุบลด้วย เรือหลงสมุย ซึ่งมีระวางขับน้ำ 1,850 ตัน เป็นเรือรบไทยลำแรกที่จมในสงครามครั้งนี้
...........................................
ได้ข้อมูลการโจมตีเรือหลวงสมุย (ลำที่ 1) จากเรือดำน้ำซีไลออน 2 ของอเมริกา และภาพเรือดำน้ำลำนี้ จากเว็บไซด์ของ http://www.history.navy.mil จึงนำมาให้อ่านกัน เรือดำน้ำซีไลออนสอง (USS Sealion II (SS-315) เป็นเรือดำน้ำ SS ประเภทเรือดำน้ำโจมตี (attack submarine) ระวางขับน้ำ 1,525 ตัน ที่ผิวน้ำ, 2,424 ตัน ใต้น้ำ
ในส่วนของการซุ่มโจมตีเรือหลวงสมุย (ลำที่ 1) มีบันทึกจากฝั่งอเมริกาดังนี้ เรือดำน้ำซีไลออนท์กลับมาถึง Fremantle ในวันที่ 24 หลังจากนั้นได้ออกปฏิบัติการณ์ในทะเลอีกครั้ง ในวันที่ 19 กุมภาพันธ 1945 ซึ่งเป็นการปฏิบัติการณ์เที่ยวที่ 5 ของเรือดำน้ำลำนี้ โดยทำงานร่วมกับเรือดำน้ำในกลุ่มเรือดำน้ำโจมตีด้วยกัน หลังจากนั้น เรือดำน้ำซีไลออนท์เดินทางกลับไปยังทะเลจีนใต้ (South China Sea) และเล็ดลอดเข้าไปในอ่าวไทย (Gulf of Siam)
ในช่วงเวลาก่อนฟ้าสางของวันที่ 17 มีนาคม 1945 ขณะที่ท้องฟ้ายังมืดอยู่ เรือดำน้ำซีไลออนท์สอง ยิงตอร์ปิโดใส่เรือบรรทุกน้ำมันขนาดเล็กของไทย ร.ล. สมุย (ลำที่ 1) ซึ่งไม่มีกำลังคุ้มกัน จนจมลง ในภาพ คือ เรือดำน้ำซีไลออนท์สอง ประวัติทั้งหมดของเรือดำน้ำลำนี้ อ่านได้ที่ http://www.history.navy.mil/danfs/s8/sealion-ii.htm
........................................
ประจัญบานของประเทศอังกฤษ ชื่อ เรือ HMS. Prince of wases จมอยู่บริเวณเกาะโลซินเช่นกัน คงต้องมีการทำแผนที่ซากเรือ และปลอดอาวุธก่อน จึงจะเปิดให้ดำน้ำท่องเที่ยวกันได้
เหตุที่มีเรือรบสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จมอยู่ในบริเวณเกาะโลซิน หลายลำนั้น เพราะเหตุว่า เป็นรอยต่อของไทยกับมาเลเซีย ที่ขณะนั้นไทยได้ประกาศสงครามกับสัมพันธมิตร จึงทำให้มีเรือดำน้ำมาแอบดักยิงเรือที่ผ่านไปผ่านมาอยู่บ่อยๆ
.........................................
เรือ HMS. Repulse ถูกเครื่องบินของญี่ปุ่นถล่มจมใต้ทะเล เมื่อปี 1941 เพราะได้เข้ามาสกัดกั้นการยกพลขึ้นบกทางด้านแหลมมาลายูของทหารญี่ปุ่น จมอยู่ในบริเวณเกาะโลซินเช่นกัน
เรื่องเกาะโลซินก็สามารถที่จะหุบปากมาเลเซียต่อปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้บ้างหรือการเข้ามาจุ้นในปัญหาชายแดนไทยกัมพูชา ไพ่ต่อรองทางกฎหมายเราเหนือกว่าถ้าเอาเรื่องนี้ไปให้ศาลระหว่างประเทศพิจารณาครับ
ถ้ามันกลายเป็น วอร์ เกรฟ พื้นที่ตรงนั้นจะเป็นของใคร ไทยจะยังได้ถือสิทธิอยู่รึป่าวครับ
ขอบคุณครับ
ขอบคุณ ข้อมูลดี ๆ ที่ผมเป็นคนไทยคนหนึ่งยังไม่ทราบเรื่องเลยครับ
เป็นความรู้ใหม่ ขอบคุณครับ เคบอ่านเรื่องของHMS. Prince of wases ในหนังสือแทงโกมาเหมือนกันครับแต่เขาบอกแค่ว่าถูกกองบินญี่ปุ่นจมแถวบริเวณแหลมมลายู
ขอบคุณความรู้จาก ท่าน OASIS KING เป็นอย่างสูงครับ
เรือ สมุยลำที่จม
เรือ สมุย ลำปัจจุบัน ยังไม่จม
รายละเอียดลงลึกมากครับ ทำให้ผมเจ็บแปล๊บถึงกรณีในอ่าวไทยเช่นกัน คือไทย-เขมร เดิมที่ฟังมาผิด-ถูกได้ความว่า ตั้งแต่ฝรั่งเศสอังกฤษเข้ามาล่าอณานิคม พื้นที่ในอ่าวไทย หรือง่ายๆ อ่าวทะเลของราชอณาจักรไทยนั้นก็ยุ่งเหยิงทีเดียว หลายปีผ่านไปการแย่งชิงขุมทรัพย์ยิ่งรุนแรง ทั้งอาหาร ทั้งการคมนาคม และทั้งปิโตรเลียม แต่ที่แน่ๆทุกชาติไม่เอาแต่สงครามมาตัดสิน แต่ทุกชาติเอาข้อกฎหมายทางทะเลมาคุยกันเมื่อคุยแล้วพบว่า ทุกพื้นที่จะมีเขตทับซ้อนเสมอ เมื่อเราเอาหลักการมาใช้ เอาเหตุผลมาคุย จึงเกิดข้อตกลงในพื้นที่ทับซ้อน และนำมาซึ่ง MOU สัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น
1.ไทย-มาเลเซีย คุยด้วยเหตุผลแล้วตัดสินทำ MOU ว่าเราลงทุนด้วยกันเพราะข้อกฎหมายมากางดูแล้วยุติธรรมเราบริหารด้วยกันสิ้นเรื่อง (ก็มันมีของดีอยู่ข้างล่างนี่ 55)
2.เวียดนาม-กัมพูชา เค้าก็กางกฎหมายเหมือนกันพบพื้นที่ทับซ้อนเช่นกัน รื้อประวัติดูแล้วซับซ้อนอ้างกันยาก ตกลงทำ MOU ไม่มีใครได้ไป ปล่อยให้ปลาว่ายน้ำเล่น(กรณีนี้ไม่ค่อยมีอะไรหรือยังหาไม่เจอก็ไม่รู้
3.ไทย-เวียดนาม กรณีนี้ก็กางกฎหมาย ตกลงพื้นทับซ้อให้ทำ MOU แบ่งคนละครึ่งตะวันออกเวียดนามเอาไป ตะวันตกก็ของเรา
4 ไทย-กัมพูชา อันแหละที่เจ็บ เพราะกัมพูชาไม่สนกฎหมาย ทฤษฎีอะไรทั้งสิ้น ไม่รับรู้รับฟัง จะเอาแต่เส้นเขตตนเองท่าเดียว (เส้นที่ลากผ่านเกาะกูดเราเลย) แต่! เราก็แปลกตามกำพูชา แปลกก็คือ กรณีพิพาททั้งหมดในอ่าวไทย เดิมก่อนนี้ทุกชาติคุยด้วยหลักการกฏหมายก่อนทั้งสิ้น จากนั้นมาดูหลักฐานร่วมกัน เจอตรงไหนทับซ้อนก็คุยกันให้จบก่อนจะเอายังไงค่อยทำ MOU กรณีนี้เราทำ MOU44 ก่อนเลยทั้งๆที่ยังคุยกันไม่รู้เรื่องด้วยซ้ำ แถม MOU44ที่ทำยังเกี่ยวพันกับ MOU43 บนพื้นดินเขาพระวิหารและตะเข็บชายแดนอีกต่างหาก ยังไงผิดถูกก็ฝากพี่ๆน้องๆทหารดูแลรักษาให้ลูกหลานเราด้วยครับ