จากกระทู้Cold War Jets ของท่านALPHA001 ทำให้ผมคิดจะทำกระทู้นี้ขึ้นมา เพราะส่วนตัวก็ไม่ค่อยรู้เรื่องเครื่องบินของฝั่งอังกฤษมากนัก อาจเป็นเพราะไม่ค่อยได้ไปรบอะไรมาก เลยไม่ค่อยดังแบบของมะกัน หรือพี่หมีโซเวียต ที่โชว์พาวกันตลอดในช่วงยุคสงครามเย็น เลยตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาครับ
หลังจากเคยรวมบ.หลายตระกูลมาแล้ว ก็ไม่บังอาจทำไปอีกนาน เพราะเยอะจริงๆ 555+
ปล.ผมค่อยๆไล่จากตัวA-Z และจะทยอยทำเรื่อยๆ มาอัฟทุกวัน กลัวกระทู้ตก รบกวนท่านแอดมินปักหมุดให้ทีครับ ขอบคุณครับ (บ.หลายตัวเกิดมาผมพึ่งเคยรู้จักนะเนี่ย)
ข้อมูลจะมีภาพ และการเล่าคร่าวๆนะครับ ด้วยการแปลแบบลวกๆด้วย เนื่องจากมีเยอะ ถ้าเล่าละเอียดคงไม่ไหว
และการอ่านชื่อภาษาอังกฤษอาจถูกๆผิดๆ เพราะบางลำไม่เคยรู้จัก ในหนังสือไทยเลย
รบกวนเช็คความถูกต้องของข้อมูลที่ วิกิครับ (ถ้าวิกิมั่วก็ซวยไป 55+)
ลำแรก
Avro Anson เอฟโร แอนสัน (Avro อ่านเป็นแอร์โร่ว์บ้าง อาวีโอบ้าง)
http://en.wikipedia.org/wiki/Avro_Anson
แอนสันเป็นบ.สองเครื่องยนต์ ที่ทำหน้าที่ได้สารพัด หรือที่เรียกกันว่าทวิบทบาท หลักๆแล้วถูกใช้เป็นบ.ฝักหัด แต่เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ได้ทำหลายหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นลาดตะเวนชายฝั่งทุกสภาพอากาศ รวมทั้งทำเป็นรุ่นทิ้งระเบิดด้วย โดยมีการติดป้อมปืนกลแบบกระจก ผลงานแรกคือ โจมตีเรืออู จนน่าจะเสียหาย แต่ผลงานที่โดดเด่น เกิดขึ้นในเดือน มิถุนายน ปี1940 เมื่อแอนสัน 3ลำ ต่อสู้กับบ.เมสเซอร์สมิต บีเอฟ109 ของเยอรมันถึง 9ลำ ปรากฏว่าบ.เยอรมันถูกสอยร่วงไป 2 ลำ ส่วนลำที่สามเสียหาย ก่อนที่การด็อกไฟท์จะจบลง
ถือว่าจริงๆแล้วแอนสัน เหมาะสำหรับเป็นบ.ขับไล่ แต่ถึงกระนั้นทอ.อังกฤษก็ยังใช้แอนสัน ในฐานะบ.ฝึกนักบิน เพื่อผลิตนักบินสำหรับบ.ทิ้งระเบิด แอฟโร แลงคาสเตอร์ (Avro Lancaster) ต่อไป แอนสันใช้ฝึกให้บุคลากรของบ.ทิ้งระเบิดมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพลขับ พลเล็กทิ้งระเบิด พลสื่อสาร ต้นหน พลปืนกล
หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง แอนสันยังคงประจำการต่อไปในฐานะบ.ฝึกนักบินขับบ.ขนส่งขนาดเบา และฝึกหน้าที่อื่นๆ และได้ถูกผลิตต่อเพื่อใช้ในหน่วยงานเอกชน ส่วนในทางทหารประเทศที่แยกตัวจากเครือจักรภพต่างใช้งานกันต่อไปมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอียิปต์ อินเดียฯลฯ
ภาพ1 แอนสันรุ่นฝึก
ภาพ2 แอนสันรุ่นออกรบ สังเกตป้อมปืนกลที่เครื่องและการทาลายพราง
ข้อมูลจำเพาะ
บทบาท | ทวิบทบาท บทหลักคือบ.ฝึก |
---|---|
ผู้ผลิต | เอฟโร่ว์ |
บินครั้งแรก | 24 มีนาคม ค.ศ. 1935 |
นำเสนอ | ค.ศ. 1936 |
ปลดประจำการ | 28 มิถุนายน 1968 (RAF=กองทัพอากาศหลวงอังกฤษ) |
ผู้ใช้งานหลัก | Royal Air Force Fleet Air Arm |
ปีผลิต | 1930s-1952 |
จำนวนผลิต | 11,020 ลำ |
ขอบคุณครับ คุณALPHA001ที่อัพรูปให้
เครื่องบินขับไล่ 2 ที่นั่งสำหรับเรือบรรทุกเครื่องบิน กองทัพเรืออังกฤษ จำนวนการผลิต 145 ลำ
ใช้อาวุธได้ตั้งแต่ระเบิด 500 ปอนด์ จรวดมาทรา หรือ จรวดต่อต้านอากาศยาน Redtop และ Fire Streak
เครื่องบินขับไล่/ฝึก ผลิตออกมาตั้งแต่ปี 1959 จำนวนกว่า 450 ลำ ประจำการกว่า 10 ประเทศ อินเดียประจำการถึงปี 1991
เครื่องบินขับไล่เบาของอังกฤษที่ไม่ประสบความสำเร้จผลิตออกมาทดสอบแล้วก้พับเสื่อกลับบ้านไป (มาประสบความสำเร็จกับ Gnat)
de Havilland Sea Venom
เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิดของกองทัพเรืออังกฤษ จำนวนที่ผลิตไม่ทราบแน่นอน มีใช้ในกองทัพเรืออังกฤษ ฝรั่งเศส และออสเตรเลีย
เครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศอังกฤษ จำนวนที่ผลิตกว่า 3200 ลำ ผู้ใช้กว่า 30 ประเทศทั่วโลก
เครื่องบินขับไล่สกัดกั้นทุกสภาพอากาศของกองทัพอากาศ ความเร็วเกือบ 1 มัค แถมยังติดตั้ง AN/APQ-43 Radar และจรวดอากาศสู่อากาศ FireSteak 4 นัด
จำนวนที่เข้าประจำการ 436 ลำ (ประจำการเฉพาะในอังกฤษ)
เป็นเครื่องขับไล่ทางทะเลที่ผลิตเข้าประจำการ 182 ลำ ประจำการในอังกฤษเป็นระยะเวลาสั้น ๆ แค่ 3 ปี ก่อนจะโดน de Havilland มาแย่งหน้าที่ไป
เครื่องขับไล่โจมตีทางทะเล แม้คุณสมบัติค่อนข้างดี แต่จำนวนที่ผลิตเพียง 76 ลำ
เครื่องขับไล่ของกองทัพอากาศ มันติดตั้งได้เพียงปืนกลอากาศช่วงหลังจึงได้เปลี่ยนไปทำภาระกิจลาดตระเวณถ่ายภาพ จำนวนที่ผลิต 197 ลำ
ยังมี SEPECAT Jaguar ซึ่งเป็นเครื่องบินโจมตีผลิตร่วมกันของอังกฤษกับฝรั่งเศสด้วยครับ
รูปไม่ขึ้น
เครื่องที่ท่าน Banyat เอามาโพสต์ ผมรู้จักอยู่ตัวเดียวเอง คือ เดอ ฉาวิลแลนด์ แวมไพร์
อันนั้ จากัว ครับ
เซเปแคท จากัวร์ (SEPECAT Jaguar) จากัวร์ เป็นเครื่องบินที่สร้างระหว่างชาติ โดยอังกฤษกับฝรั่งเศส เป็นเครื่องบินภาระกิจคู่คือ เป็นเจ๊ตฝึกขึ้นสูงและสนับสนุนทางยุทธวิธีน้ำหนักเบา สร้างขึ้นมา 5 รุ่น
รายละเอียด เซเปแคท จากัวร์
ท่าน tan02 เสร็จจากเครื่องบิน ยุค สงครามเย็น ของ อังกฤษ แล้ว ต่อด้วย ฝรั่งเศส ด้วยเลยจิท่าน รออ่านๆ อิอิ พวก MIRAGE III , MIRAGE IV , MIRAGE F-1
ดีครับท่าน แทน02 ผมก็กำลังหาอ่านอยู่พอดีจะได้ไม่ต้องหาอ่านแล้วมาแปลเอง55+
ขนาดในคลิปที่ผมเอาลิ้งค์มาแปะผมยังรู้จักไม่กี่ลำเอง..เยี่ยมครับ
ไปดูดฝุ่นมา ล็อคอินหลุดจนได้ แล้วมาพิมพ์ๆรุ่นนี้ จนล็อคหลุดอีก 555+
ได้รับอนุมัติเป็นทางการจากท่านALPHA001 แล้วแหะ
ท่านใดอยากโพสบ.อังกฤษสงครามเย็น เชิญโพสได้นะครับ และความเห็นต่างๆ จะได้ช่วยกันให้รู้จักมากขึ้น และเป็นความรู้ด้วยครับ มาแชร์ๆกันสนุกๆได้
ลำที่สองมาแล้วจ้า
Armstrong Whitworth AW.660 Argosy
อาร์มสตรอง วิทวอท เอดับเบิ้ลยู 660 อาโกซี่
AW660 เป็นบ.ขนส่งลำเลียงขนาดใหญ่ ทั้งในรุ่นทางทหาร และรุ่นพลเรือน ถือว่าเป็นบ.ที่ใช้ยาวนาน คือตั้งแต่ปี1962 ถึง 1991 เรียกว่าใช้จนสงครามเย็นสิ้นสุด หรือสหภาพโซเวียตล่มเลยทีเดียว มีใช้งานในหลายๆประเทศ และในเครือจักรภพ
ในส่วนของทอ.อังกฤษ ใช้งานขนทหารได้ครั้งละ 69นาย และบรรทุกสิ่งของ ขนรถเกราะ Saracen และ Ferret ปืนใหญ่เบาแบบ 105 mm (4.13 in) howitzer หรือ OTO Melara Mod 56 ของอิตาลี (ไทยก็มีใช้นะ) และปรส. L6 Wombat AW660 ประจำการในสนามบินอังกฤษ ทั้งที่สิงคโปร์ และไซปรัส
บทบาท | ขนส่ง/ลำเลียง |
---|---|
ผู้ผลิต | Armstrong Whitworth |
บินครั้งแรก | 8 มกราคม ค.ศ. 1959 |
ปลดประจำการ | ค.ศ. 1991 |
ผู้ใช้งานหลัก | Royal Air Force |
จำนวนผลิต | 74 ลำ |
ลำที่สาม
British Aerospace 146 บริติซ เอโรสเปซ หรือ BAe 146
BAe 146 เป็นบ.โดยสารสี่เครื่องยนต์ ใช้ในสายการบินหลายประเทศทั่่วโลกรบกวนดูที่ http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_BAe_146_operators
ในไทยเราก็ใช้โดย Thai Airways International หรือการบินไทยนั้นเอง
ส่วนที่ใช้งานในทางทหาร ก็เป็นการรับส่งบุคคลระดับVIP โดยประเทศเหล่านี้คือทอ. บาห์เรน โบลิเวีย น้องใหม่คือ กองทัพอากาศปลดปล่อยลิเบีย ซาอุดิอาราเบีย มาลี สหราชอาณาจักร์ และเนปาล
บทบาท | โดยสาร |
---|---|
บินครั้งแรก | 3 September 1981 |
นำเสนอ | พฤษภาคม 1983 |
สถานะ | หยุดสายการผลิต,อยู่ในประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | Brussels Airlines CityJet Lufthansa CityLine Swiss Air Lines |
ปีผลิต | 1978-2001 |
จำนวนผลิต | 387 (Avro RJ: 166; BAe 146: 221) |
ดีครับ..ขอเป็นกำลังใจให้ครับ..ชาวเว็บกับผู้อ่านจะได้มีความรู้เพิ่มเติมครับ
ช่วงยุคสงครามเย็นถืเป็นยุคทองเครื่องบินขับไล่ยุค2 และ3 โดยแท้ครับ..
- เครื่องบินขับไล่เริมบินทะลุกำแพงเสียง
- ระบบขีปนาวุธอากาศสู่อากาศเริ่มนำวิถีด้วยความร้อน
- เครื่องบินสอดแนมเพดานบินสูงเริ่มปฏิบัติการ
- เทคโนโลยีการบินแบบขึ้นลงทางดิ่ง และการขึ้นลงด้วยทางวิ่งสั้น เพื่อประจำการเป็นอากาศนาวี..กำลังเฟื่องฟู
ทั้งหลายทั้งมวล..การทดสอบยุทโธปกรณ์รุ่นใหม่ๆ สมัยสงครามเย็นผ่านการทำสงครามตัวแทน(ลัทธิ)ในทุกมุมโลก
ขอแจมด้วยครับ ลำที่4ภาพบ.ไลท์นิ่งT.5
Fighter Database: English Electric -Lightning
ขอข้ามบ.ยุคที่1ไปซักนิดครับ เครื่องบินยุคที่2 ลำนี้ คือ English Electric -Lightning อากาศยานซูเปอร์ครุยส์ลำแรกของโลก
ประเภท:บ.สกัดกั้น
ผู้ผลิต:English Electric (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นBAC หรือ British Aircraft Corp.)
บินครั้งแรก:4เมษายน 1957
ปลดประจำการ :ปี1987 (จากกองทัพอากาศอังกฤษ)
คุณลักษณะ
นักบิน: 1
ยาว: 55 ฟิต 3 นิ้ว (16.84 ม.)
ปีกกว้าง: 34 ฟิต 10 นิ้ว (10.62 ม.)
สูง: 19 ฟีต 7 นิ้ว (5.97 ม.)
พท.ปีก: 474.5ตารางฟุต (44.1ตร.ม.)
น้ำหนักตัวเปล่า: 28,040 ปอนด์ (12,720 กก.)
นน.วิ่งขึ้นสูงสุด: 41,700 ปอนด์ (18,900 กก.)
เครื่องยนต์: 2× Rolls-Royce Avon 301R อาฟเตอร์เบิร์นนิ่ง เทอร์โบเจ๊ท
กำลังขับปกติ: 13,220 ปอนด์.ฟุต (58.86กิโลนิวตัน) ต่อเครื่อง
กำลังขับเมื่อใช้สันดาปท้าย: 16,360ปอนด์.ฟุต (72.77 กิโลนิวตัน) ต่อเครื่อง
Performance ประสิทธิภาพ
ความเร็วสูงสุด: Mach 2.27 (1,500ไมล์/ชม., 2,415 กม./ชม.)
รัศมีการรบ: 800 ไมล์(1,300กม.)
ระยะทางบิน: 1,560 ไมล์ (1,360 ไมล์ทะเล, 2,500 กม.)
เพดานบินสูงสุด: >60,000 ฟีต (18,000 ม.)
อัตราการไต่: 50,000 ฟีต/นาที (260 ม/วินาที)
ภารกรรมปีก: 87.9 ปอนด์/ตารางฟุต (429 กก./ตร.ม.)
อัตราส่วนกำลังขับต่อน้ำหนัก: 0.63
ระบบอาวุธ
ปืน: 2× 30 mm อาเดน พร้อมกระสุน120นัดต่อกระบอก
อาวุธปล่อย: 2× อวป. Red Top
จรวด : 44×จรวด2นิ้ว 36 x 68มม.จรวด SNEB
เรดาร์
AI-23 พัลส์ดอปเปลอร์เรดาร์ .
ประจำการใน :คูเวต ซาอุดิอาระเบีย อังกฤษ
ผลิตออกมา :329ลำ
รุ่นย่อย
-P1A
ต้นแบบสำหรับโครงการณ์ผลิตบ.ความเร็วเหนือเสียง
-P1B
พรีโปรดักชั่น(รุ่นก่อนเปิดสายการผลิต) ผลิตมา 8ลำ
-F.1
สร้างขึ้น19ลำ
เครื่องยนต์โรลส์รอย อาวอน200อาร์ 2เครื่อง
ปญอ.30มม.อาเดน ที่จมูก 2กระบอก
อวป.ไฟร์สตรีค 2ลูก
เรดาร์AI-23
-F.1A
เปลี่ยนชื่อเป็น "BAC Lightning"
เครื่องยนต์Avon 210R
ติดระบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ
สร้างขึ้น28ลำ
-F.2
รุ่นปรับปรุงของเอฟ1
ผลิตมา44ลำ
-F.2A
31ลำนั้นได้มาจากการดัดแปลงรุ่นเอฟ2
เครื่องยนต์Avon 211R
ถังน้ำมันใต้ท้องและขอเกี่ยวเครื่องบินใหญ่ขึ้น
-F.3
เรดาร์ - AI-23B
เครื่องยนต์Avon 301R
ติดอวป.เรดทอป แทนไฟร์สตรีค
ปืนใหญ่อากาศอาเดน ถูกถอดออก
สร้างขึ้น 70 ลำ
-F.3A
เพิ่มระยะทำการเป็น800ไมล์
สร้างขึ้น16ลำ
-T.4
ต้นแบบ บ.ฝึกแบบ2ที่นั่งเคียงกัน ผลิตมา4ลำ
T.5
บ.ฝึกแบบ2ที่นั่งเคียงกัน โดยได้แบบจาก รุ่นF-3
ผลิตมา22ลำ
-F.6
ปีกใหม่เพิ่มความจุถังน้ำมัน ทำให้บินได้ไกลขึ้น ประสิทธิภาพในขณะบินต่ำกว่าความเร็วเสียงดีขึ้น
ถังน้ำมันบนปีกอันเป็นเอกลักษณ์ และ ถังน้ำมันใต้ท้องที่ใหญ่ขึ้น
ติดปืนอาเดนอีกครั้ง แต่ย้ายตำแหน่งไปที่ใต้ท้องส่วนหน้า
ผลิตมา39ลำ
-F.52
รุ่นส่งออกให้ซาอุฯ
-F.53
รุ่นส่งออกให้คูเวตและซาอุฯ ดัดแปลงจากรุ่นเอฟ6 โดยเพิ่มความสามารถในการโจมตีภาคพื้น
-T.54
รุ่นT.4 ส่งออกให้ซาอุฯ
-T.55
รุ่นส่งออกของT.5 ให้กับกองทัพอากาศซาอุฯและคูเวต
สิ่งที่น่าจดจำ
-ในยุค 50 และ 60 อัตราการไต่ของไลท์นิ่งสูงที่สุด สูงกว่าแม้กระทั่ง เอฟ-15
-ไลท์นิ่ง ทำซูเปอร์ครุยส์ได้ ในวันที่ 11 สิงหาคม 2497
ความเร็วของซูเปอร์ครุยส์ที่ทำได้คือ 1.0 มัค พอดี (จริงๆแล้วน่าจะเรียกว่า ทรานโซนิคมากกว่าในปัจจุบัน)
วันที่ 4 เมษายน 2500 ไลท์นิ่งทำสถิติความเร็วที่ 1.72มัค โดยใช้สันดาปท้ายน้อยมาก
-ในเดือนพฤษจิกายน 2501 ไลทฺนิ่งทำความเร็วทะลุมัค2 ก่อน เอฟ-104 เสียอีก
- กระจกฝาครอบของไลท์นิ่งตัวต้นแบบ เคยหลุดขณะทำความเร็วเหนือเสียง ทำให้นักบินที่ขับมัน ทำสถิติ เป็นนักบินไร้ฝาครอบ เร็วที่สุดในโลก
-ไลท์นิ่งเคยไปทำการสกัดกั้นยู-2 ในการฝึก ปี 2527 โดย บินที่ความสูง 8หมื่น8พันฟีต (2หมื่น6พัน เมตร)
-ไลท์นิ่งถูกเปรียบเปรยเหมือนเฟอร์รารี่บนท้องฟ้า เมื่อเร่งเครื่องและปลดเบรคสามารถยกตัวได้ตั้งแต่ระยะต่ำกว่า500เมตร
-ไลท์นิ่งถูกทดแทนด้วยบ.แฟนธอม และ ทอร์นาโดเอดีวี
-มีเรื่องตลกคือ ฝูงบินไลท์นิ่งฝูงหนึ่ง เที่ยวท้าใครต่อใครแข่งไต่ระดับความสูงกัน เอฟ-15 ก็แพ้ แต่มาแพ้ให้แฮริเออร์ ที่บินขึ้นทางดิ่งและไต่ระดับไป 10000ฟีต ก่อนที่ไลท์นิ่งจะเทค-ออฟด้วยซ้ำ แต่ล้างแค้น10ปียังไม่สาย เมื่อฝูงบินนี้ ได้ยิงแฮริเออร์ตก เพราะนักบินดีดตัวเหนือเมือง เพื่อไม่ให้คนข้างล่างอันตราย เลยต้องยิงแฮริเออร์ลำนั้นกระจุย เป็นการแก้แค้นที่สะใจจริงๆ
ไลท์นิ่งเป็นบ.ลำสุดท้ายที่สร้างโดยอังกฤษ 100เปอร์เซ็นต์ สิ่งที่น่าจดจำกับมันมีมากมาย รูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์ ประสิทธิภาพที่น่าทึ่ง และวีรกรรมที่ใช่ย่อย แต่ก็แพ้กาลเวลา และ เครื่องบินใหม่ๆ
ไลท์นิ่งจึงเป็น1 ในบ.ที่น่าจดจำที่สุดลำหนึ่ง
เพิ่มเติม :ถ้าอยากขี่บ.ไลท์นิ่ง ถ้ามีเงิน สามารถทำได้โดยติดต่อเว็บนี้ครับ โดยจะได้บิน บ.ไลท์นิ่งT.5 มีเงินก็คลิ๊กเลย
คเรดิตครับ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nanasarawithicy-cmu&group=7
อ่อ..ลืมครับ
เป็นยุคของเครื่องบินทิ้งระเบิดเพดานบินสูง ความเร็วเหนือเสียง...และน้ำหนักบรรทุกมาก
รวมไปถึงเครื่องบินขับไล่ไอพ่นที่มีอัตราการไต่ที่รวดเร็ว ที่จะใช้ในภารกิจการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ด้วยครับ
เอ้าต่อข้ามรุ่นเลยละกัน ลำที่5
พานาเวียร์ ทอร์นาโด Panavia Tornado IDS,ADV,ECR
เครื่องบินขับไล่/โจมตีหลายภาระกิจ(มัลติโรว ไฟเตอร์ Multi Role Combat Aircraft ) ทอร์นาโด เป็นเครื่องบินของชาติสมาชิคนาโต้3ชาติคือ อังกฤษ อิตาลี เยอรมันนี ร่วมกันพัฒนาและสร้างขึ้นในช่วงยุคสงครามเย็น ผลิตโดยบริษัท พานาเวีย แอร์คราฟ จีเอ็มบีเอช เป็นบริษัทหลักที่ร่วมกันลงทุนของ3ชาติคือเยอรมันตะวันตก อังกฤษ อิตาลี และ เอ็มบีบี ของเยอรมันตะวันตก บริติส แอร์โรว์สเปซ ของ อังกฤษ อาเลเนีย เอโร่นอติค่า ของ อิตาลี ในชื่อของ NATO Multirole Combat Aircraft Development and Production Management Agency (NAMMA) โครงการทดแทนเครื่องบินขับไล่ยุคเก่าในช่วงยุคต้นสงครามเย็น ทศวรรษที่1960 โดยเยอรมันและอิตาลี แผนแบบเครื่องบินรบ 2ที่นั้งเรียงกัน 2เครื่องยนต์ ปีกปรับมุมได้และใช้ความเร็วเหนือเสียงในทุกระดับความสูง
ในช่วงทศวรรษที่ 1960 อังกฤษได้ร่วมกับฝรั่งเศสพัฒนาปีกปรับมุมได้( variable geometry ) หรือเรียกว่า เอเอฟวีจี โครงการนี้เริ่มในปี1965 ซึ่งฝรั่งเศสได้ถอนตัวในโครงการนี้ในปี1967และปี1968 เยอรมันตะวันตกพัฒนาเครื่องบินรบทดแทน เอฟ-104จี ซึ่งมีชาติเข้าร่วมคือ ฮอลแลนด์ เบลเยี่ยม อิตาลี แคนาดา โดยชาติที่กล่าวมาข้างต้นใช้ เอฟ-104 ของอเมริกา จึงเปลี่ยนชื่อโครงการพัฒนาทอร์โดเดิมว่า Multi Role Aircraft (MRA)เป็น Multi Role Combat Aircraft (MRCA) โดย อังกฤษได้เข้าร่วมในปี 1968 ต่อมาได้บันทึกข้าตกลงร่วมระหว่าง อังกฤษ เยอรมัน อิตาลี
เอฟ-104 จี ที่มีใช้ในหลายชาติ
โครงการสร้างเครื่องบินขับไล่/โจมตีได้เริ่มขึ้น มีชาติที่ถอนตัวออกไปคือ คานาดา และ เบลเยี่ยม ในปี1969 เหลือชาติที่ร่วมพัฒนาคือ อังกฤษ เยอรมันตะวันตก อิตาลี และ ฮอลแลนด์ แต่จนแล้วจนรอดโครงการที่มีความล่าช้าทำให้ ฮอลแลนด์ ถอนตัวในปี1970 จึงเหลือ3ชาติสมาชิคคือ เยอรมัน อังกฤษ อิตาลี โดยอังกฤษและเยอรมันตะวันตก มีหุ้นส่วนและลงทุนในโครงการนี้ชาติล่ะ 42.5% และอีก15% เป็น อิตาลี ในบันทึกข้อตกลงได้แบ่งแผนงานว่า อังกฤษรับหน้าที่ผลิตและประกอบโครงลำตัวส่วนหน้า ลำตัวหลักเป็นเยอรมัน และชุดปีกเป็น อิตาลี ก่อนส่งมาประกอบที่บริษัท พานาเวีย ของเยอรมันตะวันตก แผนพัฒนาเครื่องยนต์ขับ เทอร์โบแฟน-ยูนิออน อาร์บี-199-34อาร์ เกิดขึ้นในเดือน มิถุนายน ปี 1970 ซึ่งร่วมกันพัฒนาโดยมีการแบ่งหุ้นส่วนเป็น บริษัท โรลส์-รอย์ ของ อังกฤษ 40 บริษัท เอ็มทียู ของเยอรมัน 40 และ บริษัทเฟียต ของ อิตาลี 20
เมื่อได้ผลสรุปในการแบ่งงานการพัฒนาจนถึงผลิตในปี 1970 ความต้องการขั้นต้น เยอรมันตะวันตกต้องการ ทอร์นาโด ที่นั้งเดี่ยว 100 เครื่อง อังกฤษต้องการรุ่น2ที่นั้ง 200 เครื่อง ชื่อเรียกว่า " ทอร์นาโด " บางข้อมูลก็บอกว่า อังกฤษ คือผู้ตั้งชื่อให้ ส่วนตัวว่าตรงนี้เป็นไงไม่รับประกันดีกว่านะครับแต่ก็น่าจะจริงเพราะชื่อเครื่องบินขับไล่อังกฤษ ชอบใช้นามเรียกขานเป็นชื่อ พายุ เช่น เฮอริเคน ไต้ฟุ่น(ขับไล่/โจมตีใบพัด) ในช่วงสงครามโลกน่ะครับ โดยเยอรมันตะวันตกเรียกต่างออกไปเป็น พีเอ-200 ครับ แต่เราก็เรียกว่าทอร์นาโด ตามแหล่งข้อมูลใหญ่ๆแล้วกัน
กันยายนปี 1971 รัฐบาล3ชาติได้ลงนามในการพัฒนา ทอร์นาโด รุ่น ไอดีเอส (IDS = Interdictor/Strike) สำหรับภารกิจโจมตี ส่วนกองทัพอากาศอังกฤษต้องการรุ่นป้องกันภัยทางอากาศเฉพาะเรียกว่า เอดีวี (Air Defence Variant) เข้าประจำการ เครื่องต้นแบบจำนวน 9 เครื่อง ถูกผลิตขึ้นโดยมีที่อังกฤษเครื่องต้นแบบ4เครื่อง โดยบริษัท บริติสแอร์โรวสเปซที่เมือง วอร์ตัน เยอรมันตะวันตก4เครื่อง โดยบริษัทอาเลเนีย เมืองตูริน ที่อิตาลี1เครื่อง ซึ่งวันที่ 14 สิงหาคม 1974 ทอร์นาโดต้นแบบเครื่องแรก (P01) ขึ้นบิน ในวันที่30ตุลาคม 1974 เครื่องบินทอร์นาโดที่ประกอบเสร็จขึ้นบิน และ 5พฤศจิกายน ปี 1975 ทอร์นาโด ที่ประกอบเสร็จที่อิตาลีก็ขึ้นบินครั้งแรกเช่นกัน จนในที่สุด ทอร์นาโด เครื่องแรกถูกส่งให้ท.อ.อังกฤษในวันที่ 29 ก.ค.1976 ส่วนเยอรมันได้ในวันที่6มิ.ย.1979 โดยในเดือนกรกฎาคม 1979 ทอร์นาโด จีอาร์ มาร์ค1(ZA319) ขึ้นบินทดสอบหลังจากออกจากโรงงานผลิต และ อิตาลีได้ช้ากว่าใครในเดือน ต.ค. 1981 ซึ่งในขณะเดียวกันก็ได้ก่อตั้ง Tri-national Tornado Training Establishment (TTTE) เกี่ยวกับการฝึกนักบินของ เครื่องบินทอร์นาโด นั้นเอง
หลังจากได้เครื่องบินทอร์นาโดมาแล้วแต่ล่ะชาติที่เข้าร่วมสร้างก็แยกกันไป ซึ่งแผนเดิมนั้น ทอร์นาโด คือเครื่องบินปีกปรับมุมได้แบบแรกในทวีปยุโรป ซึ่งในยุคนั้นมี F-14 F-111 ของอเมริกา MIG-23/27 SU-24 ของรัสเซียเท่านั้นที่ทำได้ ข้อดีของปีกที่ปรับมุมได้สำหรับเครื่องบินที่ใช้นั้นจะทำให้มีขีดความสามารถในการทำการรบทั้งภารกิจขับไล่และโจมตีนั้นเอง แต่ซึ่งจะมีข้อเสียในเรื่องการซ่อมบำรุงและดูแลรักษา มุมปีกปรับตั้งแต่25/45และ67องศา นอกจากนั้นยังใช้เครื่องยนต์ที่กำลังขับสูงในรุ่น Turbo-Union RB.199-34R Mk.101 turbofans แรงขับ 8475ปอน์ด 2เครื่อง หากใช้สันดาปท้ายให้กำลังขับถึง 14840 ปอน์ด ซึ่งต่อมาใช้ Turbo-Union RB.199-34R Mk.103 ที่ให้แรงขับมากกว่า และมีความเร็วที่สูงถึง 2417กิโลเมตร/ชั่วโมง ในเมื่อแรงขับมากแต่เครื่องบินมีขนาดเล็กผลที่ได้คือความคล่องตัวในการทำการรบมาก บินได้สูงถึง50000ฟุต ระยะปฏิบัติการ 1390กิโลเมตร น้ำหนักเมื่อบรรทุกอาวุธ9ตัน นักบิน1หรือ2นาย อาวุธหลักคือปืนกลอากาศ เมาเซอร์ บีเค-27 ขนาด 27 ม.ม. จำนวน2กระบอก เก้าอี้นักบินของ มาร์ติน เบเคอร์ เอ็มเค.10เอ อีเจ็ตโทลซีท
ทอร์นาโดรุ่นต่างๆ Tornado pre-series
ทอร์นาโด เอดีวี
ทอร์นาโด เอดีวี Tornado ADV (Air Defence Variant) คือรุ่นป้องกันภัยทางอากาศขับไล่/สกัดกั้น ของกองทัพอากาศอังกฤษ ผลิตในวันที่ 27ตุลาคม 1979 โดย บริติส แอร์โรวสเปซ ใช้เรดาห์เกาะติดและนำวิถีให้อาวุธนำวิถีต่อตีอากาศยาน Marconi/Ferranti AI.24 ฟ็อกฮันเตอร์ ใช้กับ สกายแฟรช ของบริษัท บริติส แอร์โรวสเปซ ไดนามิกส์ ที่ทดสอบเสร็จในปี 1975 หัวรบค้นหาเป้าของ มาโคนีสเปซ( MSDS)นำวิถีด้วยคลื่น I-Band ความเร็ว4มัค ระยะยิงถึง50กิโลเมตร โดยเปิดตัวในปี เดือน พฤศภาคม 1985 มียอดการผลิตจำนวนกว่า 218 เครื่อง ซึ่งแยกดังนี้
ทอร์นาโด เอฟ2/เอฟ.2 สร้างขึ้นจำนวน 18 เครื่อง บินครั้งแรก 5มีนาคม 1984 ใช้เครื่องยนต์ Turbo-Union RB.199-34R Mk.103 เทอร์โบแฟน ใช้อาวุธสกายแฟรชและ ไซด์ไวน์เดอร์ อย่างล่ะ4และ2นัดตามลำดับ แต่ก็มีปัญหาในเรื่องระบบเรดาห์และยกเลิกไป และได้ทำรุ่น เอฟ2เอ ซึ่งเป็นพื้นฐานให้อัพเกรดเป็น เอฟ3
ทอร์นาโด เอฟ3 ใช้เครื่องยนต์ RB.199 Mk 104 บินครั้งแรก 20พฤศจิกายน 1985 หลักๆเน้นในการทำการรบทางอากาศ ขับไล่/สกัดกั้น โดยยังใช้อาวุธยิงในระยะสายตาแบบ เอไอเอ็ม-9 แอล ไซด์ไวน์เดอร์ที่ปลายปีก ข้างล่ะ1นัด นอกจากนั้นยังสามารถทำงานร่วมกับเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศ(AEW) การทำงานผ่านระบบสงครามอิเล็คทรอนิค ด้วยเครื่องบิน E-3D ซึ่งสามารถเชื่อมโยงข้ามูลให้แยกกันเข้าต่อตีเป้าหมายที่ตรวจพบได้ทันที
ทอร์นาโด อีเอฟ3 หลักๆมีขีดความสามารถในการใช้อาวุธต่อต้านเรดาห์แบบ อลาม ( ALAAM)ซึ่งผลิตโดยอังกฤษ โดยอัพเกรดในปี2003 ในด้านการค้นหาสัญญาณเรดาห์ระบบแจ้งเตือนเมื่อถูกเรดาห์ตรวจจับเป็นต้น
ทอร์นาโด จีอาร์-1 คือการอัพเกรดให้เครื่องบิน ทอร์นาโด มีขีดความสามารถในการขับไล่/โจมตี ของกองทัพอากาศอังกฤษ ซึ่งเครื่องต้นแบบออกจากโรงงานผลิตในปี1979 นั้นเอง มีความต้องการ 228เครื่อง ในรุ่น จีอาร์1เอ หลักๆเป็นการเสริมระบบนำร่องและเรดาห์เดินอากาศ ระบบแผนที่ดาวเทียม เพื่อให้สามารถทำปฏิบัติงานได้ทุกสภาพอากาศและในเวลากลางคืน ไม่มีปืนกลอากาศ ติดตั้งระบบค้นหาเป้าหมายด้วยอินฟาเรด เลเซอร์วัดระยะ ระบบแจ้งพิกัดเป้าหมายและมาร์คเป้า(LRMTS) สามารถตรวจจับและแจ้งเเตอนเมือถูกเลเซอร์ตรวจจับได้ มีประจำการที่ฝูงบิน2และ13ของท.อ.อังกฤษ
ทอร์นาโด จีอาร์1บี หลักๆแล้วมีขีดความสามารถในการใช้อาวุธปล่อยต่อต้านเรือรบแบบ ซี อีเกิล ที่ใต้ลำตัวและโคนปีกจำนวน2-4นัดระยะยิง 110 กิโลเมตร นอกจากนั้นยังติดตั้ง ไซด์ไวน์เดอร์และปืนกลอากาศ
ทอร์นาโด จีอาร์1บี ติดตั้ง ซี อีเกิล ใต้ลำตัว
ทอร์นาโด จีอาร์ เอ็มเค.4 คือรุ่นที่ทำการซ่อมบำรุง อัพเกรดในช่วงระยะการเข้าประจำการ (MLU)ในเรื่อง ห้องนักบินและระบบอำนวยการรบ อวิโอนิกส์ ในรุ่น เอ็มเค4เอ คือการอัพเกรดในรุ่น จีอาร์1เอ
ทอร์นาโด จีอาร์ 4/4เอ โดยการนำรุ่น จีอาร์ 1 เอ ในช่วงปี1997-98 จนถึงปี2002 จำนวน 142เครื่อง ทำการส่งมอบเครื่องแรกในวันที่ 31 ตุลาคม 1997และส่งมอบตลอดในช่วงปี1998 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ปี1999 ทอร์นาโด จีอาร์4 จำนวน24เครื่องก็ส่งมอบให้ท.อ.อังกฤษ และอีก24เครื่องดัดแปลงเป็น จีอาร์4เอ เพิ่มความสามารถในด้านการควบคุมและเสริมความแข็งแรงที่โครงสร้าง ระบบอำนวยการรบใหม่ จอภาพมองตรงหน้าHUD (Heads-Up Display) จอภาพแสดงข้อมูลการบิน แอลซีดี ขนาด12.8นิ้ว จอภาพแสดงข้อมูลเรดาห์และแผนที่ภูมิประเทศ(CRPMD)และจอภาพแสดงการอัพเดทข้อมูลเรดาห์ขั้นสูงรวมถึงการใช้อาวุธต่อเป้าหมาย (TARDIS) อาวุธนำวิถีต่อต้านยานเกราะแบบ บริมโตน ระเบิดสมาร์ทบอมนำวิถีด้วยดาวเทียมแบบ สตรอม ชาโดว์ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 850 ล้านเหรียญ
ทอร์นาโด จีอาร์4บี คือการMLU ทอร์นาโด จีอาร์1บี (ไม่เกี่ยวข้องกับทอร์นาโด จีอาร์4 เอ แต่อย่างใด ) ในเรื่องการใช้อาวุธต่อต้านเรือรบแบบ ซี อีเกิล ระบบเดินอากาศแบบใหม่ในเวลากลางคืนและสามารถปฏิบัติงานกลางคืนได้
ทอร์นาโด ไอดีเอส และ อีซีอาร์
ทอร์นาโด ไอดีเอส Tornado IDS (Interdictor/Strike) คือรุ่นที่แตกต่างจากทอร์นาโด เอดีวี ของท.อ.อังกฤษ เนื่องจากมีขีดความสามารถในเรื่องขับไล่/โจมตีอยู่แล้วนั้นเอง เข้าประจำการในเยอรมันตะวันตกและอิตาลี ซึ่งเข้าประจำการทั้งท.อ.และท.ร. โดยท.อ.เยอรมันได้รับการส่งมอบในวันที่27กรกฎาคมปี1979 จำนวน322เครื่อง ทดแทน เอฟ-104จี รุ่นเก่า ผลิตที่เยอรมันในช่วงปี1979-1990 ซึ่งใช้อาวุธทำการรบได้ทั้งอากาศ-สู่-อากาศ และ อากาศ-สู่-พื้น ประจำการในท.อ.เยอรมัน (Luftwaffe)6ฝูงบินและ2ฝูงบินนาวี(Marineflieger) โดยใช้อาวุธเช่น ระเบิดนำวิถี ฮอสโบ /โฮปซ์ ระเบิด เอ็ม82 ปืนกล27ม.ม. คาโมราน ต่อต้านเรือ
ทอร์นาโด อีซีอาร์(Electronic Combat/ Reconnaissance) เป็นเครื่องทอร์นาโดรุ่นทำสงครามอิเล็คทรอนิคเหมือน เอ-6อินทรูเดอร์หรืออีเอ-6บี พราวเลอร์ ของอเมริกา เครื่องต้นแบบขึ้นบิน 18 สิงหาคม 1988 ใช้เครื่องยนต์ RB.199 Mk 105 มีเข้าประจำการที่เยอรมันและอิตาลีโดย เยอรมันผลิตจำนวน35เครื่องและอิตาลี16เครื่อง ส่งมอบให้ ท.อ.เยอรมันในวันที่ 21พฤศภาคม1990-92 ส่วนอิตาลีตั้งแต่ปี1992-94
ในช่วงปี2000 จึงทำการอัพเกรดในชื่อ ASSTA upgrades หรือ ทำการรบอัพเกรดระบบอวิโอนิกส์ทำการรบและซอฟแวร์ใหม่ทั้งหมด ระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์แบบ MIL-STD 1553/1760 Ada MIL-STD 1815 ระบบ จีพีเอส เลเซอร์นำวิถี วัดระยะ แผนที่ดาวเทียมและระบบเดินอากาศ ระบบสงครามอิเล็คทรอนิคและเเจมมิ่ง คอมพิวเตอร์สำหรับการใช้อาวุธนำวิถีต่อต้านเรดาห์และโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินรุ่นใหม่ รวมถึงกระเปาะเลเซอร์ของ ราฟาเอล ไลน์นิง II
ทอร์นาโด ของ ท.อ.ซาอุดิอาราเบีย ได้รับในปี 1986 ซึ่งเป็นรุ่น ไอดีเอส จำนวน 96 เครื่องและแบ่งเป็นรุ่นเอดีวีจำนวน 24 เครื่อง ใช้งบประมาณไป 4.7พันล้านเหรียญ ผลิตที่เมือง วอร์ตัน ประเทศอังกฤษ ในช่วงระหว่าง 1986-1993 จำนวน48เครื่องและรุ่นที่2ระหว่างปี1993-1999 จึงนับเป็นชาติเดียวที่ได้ใช้ ทอร์นาโด นอกกลุ่มนาโต้
อาวุธประจำเครื่องบินทอร์นาโด
ภารกิจป้องกันทางอากาศ ขับไล่/สกัดกั้น
ปืนกลอากาศ เมาเซอร์ บีเค-27 ขนาด27 ม.ม. กระสุน180นัด จำนวน1-2กระบอก อัตราการยิง 1700 นัด/นาที จองบริษัท ไรเมนทัล เอจี ประเทศเยอรมัน
เอไอเอ็ม-9 แอล ไซด์ไวน์เดอร์ จำนวน2นัด ที่โคนปีก ของบริษัท เรย์เธียน สหรัฐอเมริกา ไออาร์ไอเอส-ที เอไอเอ็ม-132 แอสแรม นำวิถีด้วยอิฟาเรด สำหรับยิงเป้าหมายในระยะสายตา
สกายแฟรช ของบริติส แอร์โรว์ สเปซ นำวิถีด้วยเรดาห์ สำหรับเป้าหมายในระยะเกินสายตา
ภารกิจโจมตี
อาวุธปล่อยต่อต้านเรือรบ ซี อีเกิล ของ บริติส แอร์โรว์ไดนามิกส์ ประเทศอังกฤษ
เอเอส-34 คาโมราน โจมตีเรือรบ ผลิตในเยอรมัน
เอจีเอ็ม-65 มาเวอริค ของประเทศสหรัฐ
เอจีเอ็ม-88 ฮาร์ม ของประเทศสหรัฐ ในภารกิจโจมตีสถานีเรดาห์ ระบบเรดาห์
อลาม์ ของ บริติส แอร์โรว์-สเปซ ภารกิจโจมตีสถานีเรดาห์
บริมสโตน ของประเทศอังกฤษ
จีบียู-24 เพฟเวย์ II และ III ลูกระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ ผลิตในสหรัฐ
ลูกระเบิดธรรมดา เอ็มเค.82 ผลิตในสหรัฐ
มาตรา อาปาเช่ จรวดครูซ มิสซาย์ ผลิตโดยฝรั่งเศส/เยอรมัน นำวิถีด้วยดาวเทียม
เจพี-233/GERMAN MW-1 DISPENSERS ลูกระเบิดกลุ่มย่อย หน่วงด้วยร่ม สำหรับทำลายพื้นที่คอนกรีตและสังหารทหาร ในวงกว้าง ผลิตในอังกฤษ/เยอรมัน
เทารัส เคอีพีดี-350/150 ผลิตในสวีเดน สมาร์ทบอม นำวิถีด้วยดาวเทียม
เอชโอเอสบีโอ HOSBO Glide Bomb ระเบิดร่อนนำวิถีด้วยดาวเทียม
HOPE Glide Bomb ระเบิดร่อนนำวิถีโดยดาวเทียม
สรุปยอดผลิตเครื่องบินทอร์นาโด ตั้งแต่ปี1979-1999
เครดิตจากที่นี่ครับ http://www.ichat.in.th/taharnrab/topic-readid44921-page1
ลำที่สี่ เป็นฮ.แล้วครับ
AgustaWestland AW109 ออร์กุสต้าเวสแลนด์ เอดับเบิ้ลยู 109
เป็นฮ. อเนกประสงค์ และโดยสารบุคคลสำคัญ ของบริษัทออร์กุสต้ากับเวสแลนด์ คือการร่วมผลิตระหว่างอิตาลีและอังกฤษ ในส่วนของพลเรือนนั้น จัดหาไปใช้งานในประเทศ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา และเพื่อนบ้านเราอย่างฟิลิปปินส์
ในทางทหารหลายประเทศมีการจัดหาใช้งานรับส่งวีไอพี ในส่วนของอังกฤษ ใช้งานใน
ส่วนในสหรัฐใช้โดย United States Coast Guard หรือยามฝั่ง แต่ก็ถูกทดแทนโดย MH-65C
บทบาท | ฮ.อเนกประสงค์/โดยสารวีไอพี |
---|---|
ผู้ผลิต | Agusta AgustaWestland |
บินครั้งแรก | 4 สิงหาคม 1971 |
ผู้ใช้งานหลัก | Italian Army REGA (Swiss Air Rescue) Royal New Zealand Air Force |
ราคาต่อลำ | US$ 6.3 million |
รุ่นอื่นๆ | AgustaWestland AW119 |
เอ้า มาทีสองลำเลยเรอะท่าน 555+ จากยุคแรกข้ามายุคปลายๆสงครามเย็น ทอร์นาโดเลยเรอะท่าน
โอ้มีข้อมูลภาษาไทยแน่นปึ๊กของท่านไอซ์ซี่นี่เอง ดีๆครับใครหาได้แชร์มาอีกครับ
ปล.ผมไม่นับลำละกัน ไปเรื่อยๆ แต่ขออย่าให้ซ้ำพอ สรุปตอนนี้ที่ออกโรงไปแล้วคือ ไลน์นิ่งที5 เอฟ104จี พานาเวียทอร์นาโด
ลืมบอก นี่คือลิสต์ในวิกิที่ผมกำลังไล่ทำครับ http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_aircraft_of_the_RAF
แต่ดันจั่วหัวว่าสงครามเย็น ก็เลยต้องดูปีประจำการไปด้วย
Hawker Siddeley Andover
ฮอว์กเกอร์ ซิดดีเลย์ แอนโดเวอร์
แอนโดเวอร์ เป็นบ.ลำเลียงใบพัด สองเครื่องยนต์ สามารถเปิดท้ายขายของ เอ้ยเปิดท้ายปล่อยสัมภาระได้ นอกจากนี้ยังใช้ลำเลียงทหารบาดเจ็บจากสนามรบ และปล่อยพลร่มด้วย และขนรถ Land Rover 1/2 ton Lightweight ได้
แอนโดเวอร์ ประจำการทั้งในตะวันออกไกล (น่าจะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถวบ้านเรานี่ละ) และตะวันออกกลาง ทอ.นิวซีแลนด์ได้รับแอนโดเวอร์มา 10ลำ จากอังกฤษ และใช้งานในฐานะสหประชาชาติ ส่งกำลังรักษาความสงบในโซมาเลีย และชายแดนอิหร่าน-อิรัก
ส่วนที่ยังมีใช้งานในปัจจุบันเป็นของพลเรือน ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และเคนย่า ในจำนวนประเทศละไม่กี่ลำเท่านั้น
บทบาท | ลำเลียง |
---|---|
ผู้ผลิต | Hawker Siddeley |
บินครั้งแรก | กรกฏาคม 1965 |
ผู้ใช้งานหลัก | Royal Air Force Royal New Zealand Air Force 748 Air Services |
จำนวนผลิต | 37ลำ |
พัฒนาจากรุ่น | Hawker Siddeley HS 748 |
ซึ่งผมได้รับเกียรติจากท่านtan02(ดีใจดีไหมเนี้ย555) ได้มาช่วยกันหาเครื่องบินที่เกิดในเกาะอังกฤษ ซึ่งตอนแรกคุยกันว่าจะหาตั้งแต่สงครามโลก คิดอีกทีสงครามเย็นก็พอ เนื่องจากอากาศยานจากผู้ดีนั้นไม่เคยส่งไปช่วยใครรบแถมไม่ค่อยมีใครซื้ออย่างมากก็ได้ส่งหรือซื้อจากประเทศในเครือจักรภพ ส่วนนึงที่อังกฤษมีความสามารถในการพัฒนาอากาศยานมากก็เนื่องจากมีผู้นำที่เจ๋งๆเรื่องอากาศยานอย่างฝรั่งเศส อเมริกา เยอรมันร่วมวิจัยนั้นเอง ซึ่งในส่วนนี้ผมจะแนะนำเกี่ยวกับเครื่องบินโจมตีและทิ้งระเบิดนั้นเอง โดยเพื่อความเข้าใจชื่อแรกคือบริษัทผลิตเครื่องบินและตามด้วยรุ่น และต่อด้วยปีที่เข้าประจำการจนถึงปลดประจำการ ซึ่งคงไม่ขอใส่รายละเอียดมากไม่งั้นมีทำข้ามปีแหงๆ
Short Sturgeon ปี1946-1951
เครื่องบินทิ้งตอร์ปิโดหน้าแปลก รวมถึงภารกิจไล่ล่าเรือดำน้ำ ถูกผลิตโดยบริษัท ชอร์จ-บราเทอร์ ผลิตออกมาทั้งสิ้น28ลำ ประจำการในสองฝูงบินนาวีของอังกฤษ
Avro Shackleton 1951-1990
เครื่องบินลาดตระเวณทางทะเล ติดตั้งปืนกล20มม.2กระบอกที่จมูก ระเบิดอีก1หมื่นปอน์ด ผลิตโดยแอร์โรว-ลินคอน จำนวนผลิตกว่า185ลำประจำการในอังกฤษและแอฟริกาใต้ ประจำการถึงปี1990เลยนะ แถมเป็นเครื่องบินไม่กี่แบบของประเทศฝั่งตะวันตกที่ใช้ใบพัดหมุนสวนทางกันแบบTu-95ของรัสเซียAvro Vulcan 1956-1984
เครื่องบินทิ้งระเบิดไอพ่นทางยุทธศาสตร์แบบแรกๆ ประจำการในท.อ.อังกฤษชาติเดียวจำนวนผลิต136ลำรวมต้นแบบ ผลิตโดยแอร์โรวและฮอคเกอร์ซิสเลย์ รูปทรงสามเหลี่ยมไม่มีใครเหมือน British Aircraft Corporation TSR-2 1964
โปรเจ็คเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธวิธีและลาดตระเวณความเร็วสูง ซึ่งจะทำมาคู่กับXB-70วัลคีรีของอเมริกา แต่สุดท้ายสร้างมาทดสอบ10เครื่องและยุบโรงการไปในที่สุด ผลิตโดยบริตริส-แอร์ครอเปเรชั่น
เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลาง ประจำการใน4ประเทศคืออังกฤษ เปรู อินเดีย ออสเตรเลีย ยอดผลิต901ลำในอังกฤษ และ48ลำในออสเตรเลีย รูปทรงคล้าย B-57 ประจำการในท.อ.อังกฤษถึงปี2006 เครื่องบินปราบเรือดำน้ำรูปร่างหน้าแปลก ประจำการในอังกฤษ เยอรมัน อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย ยอดผลิต348ลำ เป็นอีกหนึ่งอากาศยานที่ใช้เครื่องยนต์ใบพัดหมุนสวนทางกัน โดยอากาศยานที่คล้ายกันอีกแบบคือBREGUET BR.1050 English Electric Canberra 1951-2006
Fairey Gannet 1953-1978
Handley Page Victor 1958-1993
เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดหนักอีกรุ่นนึงของอังกฤษในชั้นเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ รูปทรงแปลกตาใช้ทำเครื่องบินแท็งเคอร์ ด้วยยอดผลิต86ลำประจำการในท.อ.อังกฤษ Vickers Valiant 1955-1965 เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์อีกแบบนึงของอังกฤษ สร้างมา107ลำประจำการแต่ในท.อ.อังกฤษ BAC 167 Strikemaster 1967
เครื่องบินโจมตีขนาดเดียวกับA-37ดราก้อนฟลาย มีใช้10ประเทศและผลิตออกมาถึง146ลำ โดยลำสุดท้าย BAC 167 Strikemaster มาร์ค-90ส่งมอบให้ซูดานปี1984
เครื่องบินโจมตีที่แทบจะเหมือนA-10กับSU-25 แต่ปลดประจำการก่อนประจำการในกองบินนาวีและทัพอากาศอังกฤษและทัพอากาศแอฟริกาใต้
เครื่องบินโจมตีสนับสนุนโดยใกล้ชิดขึ้นลงทางดิ่งแบบแรก(จะว่าของโลกก็ไม่ใช่เพราะรวมถึงรัสเซียและฝรั่งเศส)ของอังกฤษ ยอดผลิต278ลำ ประจำการในอังกฤษ สเปน ไทย(น่าปลื้มมาก) อเมริกา โดยภารกิจแรกๆนั้นถูกใช้โจมตีประจำเรือบรรทุกเรื่องบินมากกว่าขับไล่โดยตรง ซึ่งแตกแขนงเป็นทั้งAV-8B Sea-Harrier เป็นต้น
อีกนึงรุ่นที่ทำการพัฒนาเพื่อให้สามารถรบกับอากาศยานด้วยกันได้ดีขึ้น ประจำการในอังกฤษและอินเดีย โดยอังกฤษปลดประจำการในปี2006 นี่คือเครื่องบินโจมตี ทิ้งระเบิดที่เกิดระหว่างท้ายสงครามโลกครั้งที่2และต้นสงครามเย็นเท่าที่หาได้ น่ะครับ Hawker Siddeley Nimrod 1969-2011
เครื่องบินลาดตระเวณทางทะเล/โจมตี ประจำการในกองทัพอังกฤษยอดผลิต49ลำกับ2ต้นแบบ ถูกส่งไปรบทั้งในฟอร์คแลนด์ สงครามอ่าวครั้งที่1 อิรัก อัฟกัน สามารถติดอาวุธโจมตีได้หลากหลายตั้งแต่ระเบิดถึงจรวดนำวิถีBlackburn Buccaneer 1962-1994
Hawker Siddeley Harrier 1969
British Aerospace Sea Harrier 1978-2006
ขออภัยครับครับลืมไปว่า ท่าน แทน02 เรียงตามตัวอักษร A-Z ^-^ ผมเล่นซะข้ามยุคเลย ข้อมูลบางส่วนผมเอามาจากบล็อค หลวงพี่ ไอซ์ซี่ ซีเอ็มยู ครับ อ่านเป็นประจำ(แอบอ่านครับ)
อ้าวท่าน MIG31 เอาเจ้าสัตว์ประหลาด เวคเตอร์ มาโพสต์ โดนตัดหน้าซะล่ะ 55+
เสริมนิดนึง B-57 ก็คือ Canberra ที่สหรัฐฯซื้อสิทธิบัติมาผลิตเองแล้วใช้ชื่อว่า B-57 canberra รุ่น B ขึ้นไปจะมี2ที่นั่ง ส่วนรุ่น A หน้าตาเหมือนของอังกฤษ
เสริมอีก บี57 สหรัฐฯและเวียดนามใต้ใช้ในสงครามเวียดนาม ส่วนแคนเบอร่าซื่งเป็นต้นตำหรับก็ใช้ในสงครามเวียดนามเช่นกันโดยออสเตรเลีย
ปล.ไม่ต้องเรียงตามอักษรแล้วละครับ ใครมีอะไรแชร์มาเลยครับ ช่วงนี้เน็ตบ้านผมยิ่งอืดๆ ว่าแต่ท่านมิก31ปล่อยทีหลายลำเลยนะเนี่ย 555+
วันนี้ขอจบที่ลำนี้ก่อนนะครับ พรุ่งนี้มาต่อ
Avro Athena
แอโร อาเทน่า
อาเทน่าเป็นบ.ฝึกบินใบพัดเดี่ยว ที่ไม่ดังและไม่ประสบความสำเร็จอีกต่างหาก เพราะอังกฤษใช้จำนวนน้อยแค่ยี่สิบลำ โดยสร้างมาเพื่อทดแทนบ.ฝึกอย่าง ที6 เท็กซานของสหรัฐอเมริกา บ.จำนวน15ลำ ใช้ในอังกฤษประจำการในปี1950 สำหรับฝึกนักบินใช้อาวุธ จากนั้นก็ไม่มีการผลิตออกมาอีกเลย ทำให้ดับไปแบบเงียบๆ จนโลกลืม มีพลเรือนนำไปโชว์ตัวที่อินเดีย แล้วก็ส่งคือให้ทอ.อีกที
บทบาท | ฝึกหัด |
---|---|
ผู้ผลิต | Avro |
บินครั้งแรก | 12 มิถุนายน 1948 |
นำเสนอ | 1950 |
ผู้ใช้หลัก | Royal Air Force |
จำนวนผลิต | 22ลำ (รวมต้นแบบ) |
จัดเต็มกันมาหลายท่านเลย ต้องระวังไม่ให้ซ้ำแล้วสิครับเนี่ย
ขอบคุณท่านBanyat มาครับส่งมาช่วยหลายลำเลย ตัวนี้แปลกตรงติดจรวดไม่ได้นี่ละครับ Supermarine Swift
มาต่อนะครับ พวกตัวAนี่เจอแต่บ.ใบพัดเสียมากแหะ
Taylorcraft Auster
เทเลอร์คราฟ ออสเตอร์
ออสเตอร์ เป็นบ.ลาดตะเวนและธุรการ ใช้ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง ในแอฟริกาเหนือและอิตาลี ไปจนถึงช่วงดีเดย์คือฝรั่งเศสกลุ่มประเทศต่ำ และเหนือเยอรมันที่ยึดครอง หลังสงครามสิ้นสุดลง ส่วนออสเตรเลียนำไปใช้ในแถบแปซิฟิก ปลายปี1944 ออสเตอร์ยังถูกใช้งานต่อไปในช่วงสงครามเย็น ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยเฮลิคอปเตอร์ในช่วงทศวรรษ 1960
นอกจากในอังกฤษแล้ว ออสเตอร์ยังประจำการในประเทศอดีตเครือจักรภพ เช่น แคนาดา พม่า จอร์แดน แอฟริกาใต้ อิสราเอล ฮ่องกง และประเทศอื่นๆเคือ โปแลนด์ เนเธอร์แลนด์ กรีซ เช็กโกสโลวาเกีย
บทบาท | ธุรการ |
---|---|
ผู้ผลิต | Taylorcraft Aeroplanes (England) Limited |
นำเสนอ | 1942 |
ผู้ใช้หลัก | Royal Air Force |
จำนวนผลิต | 1,630 ลำ |
พัฒนาจาก | Taylorcraft Plus C |
รุ่นอื่นๆ | Beagle A.61 Terrier |
เครื่องบินฝึกที่ร่วมกันพัฒนาระหว่างอังกฤษและแคนาดา ใช้เป็น บ.ฝึกมาตรฐานของกองทัพอากาศอังกฤษ โดยแต่ละประเทศก็ต่างผลิตในประเทศ
ต่อมามีโปรตุเกสที่เข้ามาซื้อลิขสิทธิ์ไปผลิตเอง Chipmunk มีประจำการใน 23 ประเทศรวมทั้ง ไทย มาเลเซียและพม่า จำนวนการผลิตกว่า 1280 ลำ
บ.ฝึกไอพ่นของกองทัพอากาศอังกฤษ(พัฒนาเป็น BAC Strikemaster ในเวอร์ชั่นติดอาวุธ) ประจำการใน 10 ประเทศ กว่า 740 ลำ
เครื่องบินขับไล่โจมตีโดย Hawker Siddeley เป็นเครื่องโจมตีที่ติดอาวุธได้หลากหลายทั้งระเบิด จรวด AGM-65 และจรวดอากาศสุ่อากาศ AIM-9
จำนวนการผลิตเกือบ 2000 ลำ ปัจจุบันยังประจำการในเลบานอน
มาต่อสองตัวครับ เป็นญาติกับออสเตอร์นั้นละ
Auster AOP.6
ออสเตอร์ เอโอพี.6
รุ่นAOP6 ถึงพัฒนาเพื่อทดแทนออสเตอร์รุ่นที่ผลิตมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่เดิมแต่พัฒนาเพิ่มเติมในหลายๆส่วน ประจำการในกองทัพเครือจักรภพมากมาย รวมทั้งโดยพลเรือน ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฮ่องกง อินเดีย แคนาดา จอร์แดน แอฟริกาใต้ พม่า และประเทศอื่นอย่างเบลเยี่ยม
บทบาท | สังเกตุการณ์ |
---|---|
ผู้ผลิต | Auster Aircraft Limited |
นำเสนอ | 1945 |
ผู้ใช้หลัก | Royal Air Force Belgian Air Force |
จำนวนผลิต | ประมาณ 400 ลำ |
พัฒนาจาก | Taylorcraft Auster |
รุ่นต่างๆ |
Auster AOP.9
ออสเตอร์ เอพีโอ.9
รุ่นที่สร้างมาทดแทน AOP.6 ในปี1955 อังกฤษได้ไปใช้งานใน ยุทธการหมาไฟ เอ้ยไฟด็อก (Operation Firedog) หรือที่รู้จักดีในการปราบคอมมิวนิตส์ในมาเลเซียนั้นเอง นอกจากนี้ยังใช้งานในที่อื่นๆด้วย ในรุ่นนี้ผลิตมาน้อยกว่า AOP.6 และใช้แต่ในเครือจักรภพบางประเทศคือ อังกฤษ ฮ่องกง อินเดีย และแอฟริกาใต้
บทบาท | สังเกตุการณ์ทางทหาร |
---|---|
ผู้ผลิต | Auster Aircraft Limited |
บินครั้งแรก | 19 มีนาคม 1954 |
นำเสนอ | 1955 |
ผู้ใช้หลัก | Army Air Corps Royal Air Force, Indian Air Force |
จำนวนผลิต | 182 ลำ |
ตัวAหมดแล้ว เย้ๆ ขึ้นตัวBซะที
Boulton Paul Balliol
โบตัน พอล บอลลิโอ
เป็นบ.ฝึกชนิดก้าวหน้า ในรุ่นธรรมดาใช้ในทอ. ส่วนในรุ่นทร.เรียกว่า ซี บอลลิโอ (Sea Balliol) ต่างจากรุ่นธรรมดาคือขึ้นลงบนเรือบรรทุกเครื่องบินได้ และพับปีกได้ เพื่อเก็บในโรงเก็บของเรือ บอลลิโอพัฒนาในช่วงปลายทศวรรษ1940 หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดไม่นาน เพื่อทดแทนบ.ฝึก ที6 เท็กซาน ของอเมริกัน
บอลลิโอนับว่าเป็นบ.ฝึกที่ประสบความสำเร็จแบบหนึ่ง เพราะผลิตจำนวนมากกว่า229ลำ แต่เราอาจไม่รู้จัก เพราะใช้ในวงจำกัดในกองทัพอากาศอังกฤษ และซีลอนเท่านั้น (ศรีลังกาในปัจจุบัน)
บทบาท | บ.ฝึกสองที่นั่ง |
---|---|
ผู้ผลิต | Boulton Paul Aircraft |
ผู้ออกแบบ | John Dudley North |
บินครั้งแรก | 30 พฤษภาคม 1947 |
นำเสนอ | 1950 |
สถานะ | ปลดประจำการ |
ผู็ใช้หลัก | Royal Air Force Royal Navy Fleet Air Arm Royal Ceylon Air Force |
จำนวนผลิต | 229 ลำ |
Fairey Barracuda
เฟรี่ บาราคูด้า
บ.ทิ้งตอร์ปิโด และดำทิ้งระเบิด ประจำเรือบรรทุกเครื่องบินของอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เคยโจมตีเรือประจัญบาน เทียร์ปิตซ์ (Tirpitz) ของเยอรมัน
เอ้า ดันไปกดเซฟกลายเป็นโพสเลยเรอะ!! ต่อๆ
การโจมตีทำให้เรือเทียร์ปิตซ์ ใช้การไม่ได้ไปถึงสองเดือน ในปี1944 ก็ส่งไปรบทางแปซิฟิกเหนืออินโดนีเซีย เช่นในยุทธการค๊อกพิท (Operation Cockpit)
เพื่อทำลายแหล่งน้ำมันของญี่ปุ่นบนเกาะซาบังSabang ในหมู่เกาะสุมาตรา Sumatra แต่ก็มีปัญหาบินเหนือชวาที่มีภูเขามาก หลังสงครามบาราคูด้าถูก ทดแทนด้วยเครื่อง กรัมแมน อเวนเจอร์ ของสหรัฐ และถูกแทนที่จนหมดในช่วงกลางทศวรรษ1950 บ.รุ่นนี้มีใช้ในอังกฤษ แคนาดา เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส
บทบาท | ทิ้งตอร์ปิโด,ดำดิ่งทิ้งระเบิด |
---|---|
ผู้ผลิต | Fairey Aviation Blackburn Aircraft Boulton Paul Westland Aircraft |
ผู้ออกแบบ | Marcel Lobelle |
บินครั้งแรก | 7 ธันวาคม 1940 |
นำเสนอ | 1943 |
ผู้ใช้หลัก | Fleet Air Arm |
ปีผลิต | 1941–1945 |
จำนวนผลิต | 2,607ลำ |
ตะกี้ภาพดันเป็นนามสกุล.PNGเลยไม่ขึ้นซะงั้น
วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะครับ บินหนีละ เฟี้ยวววว
ท่านแทน02 ครับ เอาเครื่องบินอังกฤษที่ชื่อเหมือนเบียร์ยี่ห้อหนึ่งมาลงด้วยเด้อ! ผมหาไม่เจอ...ชื่อ กรอสเตอร์ อะไรประมาณนี้
หลังจากที่ส่วนใหญ่หลายท่านพาเข้าสู่ยุคไอพ่นของกองทัพอังกฤษ ผมเลยจะมาเก็บตกอากาศยานรอยต่อระหว่างท้ายสงครามโลกครั้งที่2กับต้นยุคสงครามเย็นล่ะเน้อ
โดยจะกล่าวถึงเฉพาะอากาศยานที่ภูมิลำเนาอยู่ในอังกฤษนะค้าบ
ซึ่งเพื่อความเข้าใจ จะเรียงดังนี้ชื่อแรกคือบริษัทผลิต ชื่อของเครื่องบิน ปีที่ประจำการถึงปลดประจำการ
BLACKBURN FIREBRAND 1942-1953
ไฟร์แบร์นด เครื่องบินขับไล่/โจมตีประจำกองบินนาวีของอังกฤษ ผลิตโดย แบล็คเบิรน์ แอร์คราฟ ติดอาวุธหลักปืนกล20มม.4กระบอก และตอร์ปิโดรวมถึงระเบิด
ผลิตออกมาจำนวน193ลำ ประจำการในนาวีอังกฤษชาติเดียว
Fairey Firefly 1941-1956(สำรองราชการในหน่วยบินอังกฤษ)
ไฟร์ฟลาย ขับไล่ลาดตระเวณประจำกองเรือ ติดตั้งปืนกลฮิสปาโน่ 20มม.4กระบอก มีรุ่นมาร์1-3จำนวนผลิตรวม800เครื่อง ยอดผลิต1708เครื่อง สร้างโดยไฟร์เลย์ อวิชั่น
ประจำการใน9ประเทศรวมถึงไทยเราด้วย
Hawker Fury 1945-1966
ฮอคเออร์ ซี ฟูรี่ ขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน ผลิตโดยฮอคเกอร์ ผู้ใช้หลักประจำการในอังกฤษ แคนาดา ปากีสถาน และอีก6ชาติทั่วโลก ส่วนพม่าปลดประจำการในปี1966 ยอดผลิต860ลำ ติดตั้งปืนกล20มม.4กระบอกพร้อมระเบิดอีก2000ปอน์ด
เครื่องบินดำดิ่งทิ้งระเบิด/ทิ้งตอร์ปิโด โจมตีภาคพื้นดิน ผลิตโดยบริสตอล แอร์โรวแพลน จำนวน147เครื่อง ประจำการในอังกฤษชาติเดียว
Bristol Type 163 Buckingham 1943-กลางยุค1950
เครื่องบินทิ้งระเบิดประจำกองเรือ ผลิตโดยบริสตอล จำนวน119ลำ ผู้ใช้คืออังกฤษ ช่วงกลางปี1950
นำไปใช้ในภารกิจลำเลียงความเร็วสูงในชื่อBuckingham C.1.และอีก65เครื่องนำไปทำใหม่เป็น แบล็คมาสเตอร์ในภารกิจฝึกนักบิน
ตัวดัดแปลงจาก บริสตอล-บัคกิ้งแฮม ใช้ฝึกนักบิน จำนวน112เครื่อง ผู้ใช้คืออังกฤษเจ้าเดียว
Fairey Battles 1937-1949
เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดเบา ผลิตโดยไฟร์เลย์ จำนวน2185ลำ ประจำการในออสเตรเลีย เบลเยี่ยม แคนาดา อินเดีย ไอร์แลนด์ ตรุกรี แอฟริกาใต้ อังกฤษ กรีซและมอบให้โปแลนด์ฟรีๆอีก4ฝูงบิน บรรทุกระเบิด250ปอน์ด4ลูกและ500ปอน์ดนอกลำตัวอีก1ลูก
Bristol Blenheim 1937-1956
เครื่องบินทิ้งระเบิดเบา ถึงจะถูกสร้างและเข้าประจำการในปี1937แต่มันก็ถูกใช้งานอย่างยาวนานจนถึงปี1944จนปลดประจำการในอังกฤษ ส่วนฟินแลนด์ปลดประจำการในปี1956 ผู้ใช้จำนวน14ประเทศ ยอดผลิต4422ลำ
Short S.25 Sunderland 1938-1967
เรือบินทิ้งระเบิด ประจำการใน8ประเทศ จำนวนผลิต777ลำ โดยบริษัทชอร์ท-บราเทอร์ ประเทศที่ปลดประจำการท้ายสุดคือนิวซีแลนด์ บรรทุกระเบิดลึก ทุ่นระเบิด ได้หนัก2000ปอน์ด
เครื่องบินธุรการ ลาดตระเวณทางทะเล/ทางบก พัฒนาเป็นดีเฟนเดอร์-4000ในปี1994 ซึ่งสามารถติดตั้งระบบสงครามอิเล็คทรอนิค ปืนกล จรวด ระเบิด กล้องจับภาพความร้อน และได้จัดหาจำนวน1เครื่องจากไอร์แลนด์ โดยผู้ใช้คืออังกฤษและไอร์แลนด์
Hawker Sea Hawk 1953-1958
เครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน เข้าประจำการเพียง18ลำผลิตโดยบริษัทซุป้ปอร์มารีน และถูกปลดเนื่องจากการเข้ามาทดแทนของ แวมไพร์ ซี-ฟูรี่ เมเทเออร์ ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า ผู้ใช้คืออังกฤษ เครื่องบินทิ้งระเบิด/ตอร์ปิโด ที่สร้างไปพัฒนาไป สุดท้ายส่งมอบให้อังกฤษได้3เครื่องก็หายไปเลยและถูกยกเลิกในปี1950 ผลิตโดย แบล็คเบิร์น แอร์คราฟ Supermarine Seafang 1946
Blackburn Firecrest 1947
ท่าน น่าจะหมายถึงตัวนี้ใช่ไหมครับ
Gloster Meteor
กรอสเตอร์ เมเทเออร์
บ.ขับไล่ไอพ่นรุ่นแรกของอังกฤษ เป็นรุ่นลายครามสุดของบ.ไอพ่นอังกฤษทั้งหมดในกระทู้นี้ก็ว่าได้ ออกรบตั้งแต่ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง งานแรกคือไล่ยิงจรวดวี1 ที่เยอรมันส่งมาถล่มเกาะอังกฤษ ต่อมาเจอวี2 ก็ต้องมาไล่ยิงจรวดวี2อีก นอกจากนี้ก็ยังได้นำมาใช้เป็นข้าศึกสมมุติ เพื่อฝึกฝูงบินทิ้งระเบิดและบ.มัสแตงคุ้มกัน ในการรับมือการโจมตีจากบ.ไอพ่นของเยอรมันด้วย และน่าจะได้ปะฉะดะ กับเอ็มอี262 และบ.ไอพ่นอื่นๆของเยอรมันด้วย
เมเทเออร์ถือว่าเป็นบ.อังกฤษที่ดังระเบิดระเบ้ออีกแบบหนึ่ง เพราะหลังสงครามมีหลายประเทศจัดหาไปใช้งาน รวมทั้งอังกฤษเอง เพราะถือว่าเทพมากในตอนนั้น ประจำการใน อาเจนติน่า ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม เบียฟา (Biafra ประเทศที่แยกตัวจากไนจีเรียช่วงปี 1967-1970 แต่ก็ถูกไนจีเรียยึดคืนในที่สุด) บราซิล แคนาดา เดนมาร์ก เอกวาดอร์ อียิปต์ ฝรั่งเศส เยอรมันตะวันตก อิสราเอล เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ สวีเดน แอฟริกาใต้ ซีเรีย ส่วนสหรัฐขอมาทดสอบหนึ่งเครื่อง แล้วก็ส่งคืน
หลังสงครามโลกเมเทเออร์ได้ออกรบหลายที่ เช่นช่วงสงครามเกาหลี แต่หลักๆใช้โจมตีภาคพื้น มีผลงานสอยมิก15ไป 6ลำ ตลอดสงครามเมเทเออร์สูญเสียไป ประมาณ30ลำ แต่หลักๆมาจากถูกปตอ.สอยมากกว่า
ทางด้านตะวันออกกลางนั้น อียิปต์ก็ซื้อมาใช้ ก่อนจะโดนอังกฤษแบน เพราะอยู่ๆท่านนัสเซอร์ก็บอกคลองสุเอซเป็นของอียิปต์ อังกฤษกะฝรั่งเศสเจอขัดผลประโยชน์ก็เลือดขึ้นหน้า ส่งกำลังร่วมกันถล่ม เกิดเป็นวิกฤตการณ์คลองสุเอซ ในปี1956 ที่ตลกก็คือ อียิปต์ส่งเมเทเออร์ของอังกฤษผลิตนั้นละ ไล่ยิงบ.Valiantของอังกฤษเสียหาย แต่เมเทเออร์และบ.อื่นๆของอียิปต์ ก็โดนบ.อังกฤษและฝรั่งเศสถล่มพังยับคาสนามบินไปเสียมาก แต่สุดท้ายสหรัฐฯและสหภาพโซเวียตก็กดดันให้ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสหยุดรุกรานอียิปต์ ทั้งคู่เลยต้องยอมถอย
ฝรั่งเศสใช้ปราบอัลจีเรียในปี1957 ส่วนอิสราเอลใช้รบกับมิก15ของอียิปต์ในวิกฤตการณ์คลองสุเอซ ในปี1956 ก็รู้เลยว่าสู้ไม่ได้ แล้วก็ไม่ใช้อีกเลย
บทบาท | ขับไล่ |
---|---|
ผู้ผลิต | Gloster Aircraft Company |
บินครั้งแรก | 5 มีนาคม 1943 |
นำเสนอ | 27 กรกฏาคม 1944 |
ปลดประจำการ | 1980s (อังกฤษใช้เป็นเป้าซ้อม/เอกวาดอร์ปลด) |
ผู้ใช้หลัก | Royal Air Force Royal Australian Air Force Belgian Air Force Israeli Air Force |
จำนวนผลิต | 3,947ลำ |
แม่นแล้ว ขอบคุณครับ