เห็นพี่ๆหลายคนพูดถึง yak-130 ว่าอาจเป็นตัวเลือกหนึ่งที่อาจมาแทน L-39
ก็เลยเอาคลิปมาฝากครับ
อ้อแล้วที่เครื่องรัสเซียมีอายุสั้นก็คงเป็นเพราะ คุณลักษณะของเครื่องบางประการ
เหมือนกันรถ F1 ทำงาานที่รอบสูงมาก ทำให้อัตราสึกหรอเร็ว 1-2 สนามก็ต้องยกเครื่องใหม่แล้ว
ส่วนรถทั่วไปทำงานปกติไม่ค่อยจะเกิน 3000-4000 รอบสักเท่าไร ทำให้มีอายุการใช้งานที่นานกว่ามาก
อยากทราบว่ามันพอจะมีโอกาศประจำการหรือไม่ครับ
บริษัทPSTผลิตเครื่องยนต์turbojetขนาดเล็กสำหรับเครื่องบินRCมีแรงขับเพียงประมาณ10กิโลกรัมเท่านั้นและเครื่องบินที่ผลิตขายพร้อมกับเครื่องยนต์นั้นก็เป็นเพียงเครื่องบินRCที่ผลิตจากไฟเบ้อร์กล๊าสและไม้บัลซ่าวัตถุประสงค์เพื่อการบินเล่นหรือเพื่อแข่งขันเท่านั้น ประเทศไทยของเราไม่สามารถที่จะผลิตเครื่องบินเจ๊ตจริงฯได้ภายในสิบปีนี้หรอกครับ เอาแค่ซื้อลิขสิทธ์เครื่องบินใบพัดมาสร้างเองแบบอินโดเนเซียก็ยังไม่รู้ว่าอีกสิบปีจะสามารถทำได้หรือเปล่าครับ
มาดูความยิ่งใหญ่ของกองทัพอากาศในอดีตครับมีศักยภาพสร้างเครื่องบินเองได้เชิญชม
1 เบร์เกตปีก 2 ชั้น กิจการบินของไทยเคยรุ่งเรืองมาแต่ครั้งอดีต เมื่อเกิดการบินขึ้นในโลก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ต่อมาเพียง ๘ ปี ประเทศไทยก็ส่งนายทหารไปเรียนวิชาการบิน ตามหลังประเทศสหรัฐอเมริกาเพียง ๙ ปี เท่านั้น (อเมริกาจัดตั้งหน่วบบินในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ กองบินหลวงอังกฤษ พ.ศ. ๒๔๕๕ ส่วนกองบินของอิตาลี เกิดขึ้นก่อนอังกฤษ คือในปี พ.ศ. ๒๔๕๔) หลังจากเกิดการบินขึ้นในโลกเพียง ๑๒ ปี ประเทศไทยก็สามารถสร้างเครื่องบินขึ้นตามแบบต่างประเทศ และนำมาใช้ในงานราชการได้
เครื่องบินขับไล่แบบ ๘๑ (Nieuport) เมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๔ พันโท พระพิเศษสุรฤทธิ ผู้อำนวยการโรงงานกรมอากาศยาน ได้รายงานให้ พันเอกพระยาเฉลิมอากาศ เจ้ากรมอากาศยาน ทราบว่ากองโรงงานอากาศยานได้สร้างเครื่องบิน นิเออปอรต์ แบบ ๘๑ ขึ้น จำนวน ๓ เครื่อง คือ หมายเลข ด.ม. ๑๔๗, ๑๔๘ และ ๑๕๐ เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนการบินได้ทำการทดลองเรียบร้อยแล้ว เจ้ากรมอากาศยานสั่งให้บรรจุเครื่องบิน ๓ เครื่องนี้ ในกองโรงเรียนการบิน
เครื่องบินขับไล่แบบ 5 ประชาธิปกปี ๒๔๗๐ เครื่องต้นแบบที่กรมอากาศยานสร้างขึ้นแบบหนึ่ง แต่ก่อนเรียก เครื่องบินทดลอง ๒ ที่นั่ง ( บ.ทล. ) ใช้เครื่องยนต์ เคอร์ติส ๔๓๕ แรงม้า ได้พัฒนาเป็นเครื่องบิน ประชาธิปก ในเวลาต่อมา
เครื่องบินแบบ จันทรา ( บ.ฝ. ๑๗ ) เป็นเครื่องบินฝึกที่ประเทศไทย
โดยกรมช่างอากาศออกแบบและสร้างขึ้นเองทั้งหมด มีจำนวน ๑๒ เครื่อง
เครื่องบินแบบ ทอ.๕ กองทัพอากาศสร้าง และทดลองบินเป็นผลสำเร็จ
เครื่องบินฝึกแบบ 18 แฟรนเทนเนอร์ ปี2525 กองทัพอากาศร่วมกับสาธารณรัฐเยอรมันได้เริ่มโครงการผลิตเครื่องบินแฟรนเทนเนอร์ โดยเยอรมันผลิตชุดลำตัว ทอ.ออกแบบและสร้างโลหะและประกอบเองที่ดอนเมือง
วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ กรมอากาศยานทำสัญญาซึ้อเครื่องบินแอฟโร (AVRO) แบบ ๕๐๔ เอ็น พร้อมทั้งเครื่องยนต์อาร์มสตรองชิดด์สีแบบลิงซ์ มีกำลัง๑๘๐ แรงม้า และเครื่องประกอบต่าง ๆ จากบริษัทบาโรเบราท์ จำกัด ในกรุงเทพฯ จำนวน ๒๐ เครื่อง เป็นเงิน ๕๑๑,๙๖๐.๗๕ บาท และได้ทำซื้อสัญญากรรมสิทธิการสร้างเครื่องบิน แอฟโร แบบ ๕๐๔ เอ็น เป็นเงิน ๖๑,๗๕๒.๔๔ บาท
เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ 2 บริพัตร บ.ท.2 (บริพัตร) ในปี พ.ศ.2470 น.ท.หลวงเวชยันต์รังสฤษฎ์ (อดีต ผบ.ทอ.) ได้ออกแบบและสร้างเครื่องบินขึ้นในราชการ เป็นเครื่องบิน ประเภททิ้งระเบิด ทอ.กำหนดแบบว่า บ.ทอ.2 ผลการทดลองประสบ ผลสำเร็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า บริพัตร
เครดิตร กระทู้ ภูมิใจไทยทำ ของคุณ Samurai
อย่าดูถูกประเทศตัวเองครับคุณ oldman
ได้ข่าวว่าบริษัทในไทยสามารถผลิตเครื่องบินเจ็ทบังคับวิทยุส่งขายต่างประเทศได้แล้ว(ถ้าจำไม่ผิดน่าจะขายให้เวียดนามใช้เป็นเป้าฝึกยิงอาวุธต่อต้านอากาศยาน(ถ้าจำผิดขออภัยด้วยนะครับ))กองทัพไทยน่าจะส่งสัญญาณให้บริษัทเหล่านี้วิจัยและพัฒนาเป็นเครื่องบินโจมตีในระดับ yak-130 ได้แล้วนะครับ เพราะเครื่องบินระดับนี้เทคโนโลยีน่าจะไม่สูงมาก หรือกองทัพจะเข้าร่วมพัฒนาก็ได้ เพื่ออีก 20-30 ปี ข้างหน้าจะได้นำเข้าประจำการเมื่อพวก L 39 และอัลฟ่าเจ็ดปลดประจำการ
gบ.ชอ.2
คคนไทยก็ผลิตเองครับ
ตตามลิงค์เลย
ออย่าดูถูกฝีมือคนไทยนะครับ
อ้ออีกอย่าง
สิ่งที่คนนอกวงการช่างเชื่อมไม่รู้
ฝีมีช่างเชื่อมไทยไม่เป็นรองใครในโลก
ลองไปดูตะวันออกกลางได้เลย ช่างเชื่อมไทยไปทำงานเป็นพันคน
แล้วไหนตะแท่นเจอะต่างๆอีก ท่อส่งน้ำมันอีก ถ้าไม่ดีจริงพวกอาหลับไม่จ้างหลอก
ขอให้มองคนไทยใหม่นะครับ พวกที่ชอบดูถูกฝีมือคนไทย(ขออนุญาตออกทะเลนิดนะครับ)
ผมว่าเราไม่ต้องพัฒนาหมดทั้งเครื่องหลอกครับ แค่พัฒนาแบบและระบบควบคุมการบินบ้างก็พอสิ่งที่ีผลิตไม่ได้ก็ซื้อมาประกอบ จริงอยู่ว่าเครื่องอาจจะแพงบ้างแต่สิ่งที่ได้กลับคืนมาคือความเป็นชาตินิยมครับ คนในประเทศจะได้มีความภาคภูมิใจในชาติและนี้แหละครับคือการเริ่มต้นของแรงจูงใจที่จะทำให้คนในชาติกล้าที่จะสร้างเครื่องบินให้ทัดเทียมกับต่างชาติและเมื่อวันนั้นมาถึงเราก็จะได้เครื่องบินเจ๋งๆใช้เป็นของตัวเองและอาจขายได้ด้วย ผมว่านี้คือกำไรของการเริ่มพัฒนามากกว่าครับ
คนไทยเก่งครับ อันนี้ต้องยอมรับ แต่ฝ่ายบริหาร/ระบบราชการของไทย ไปไม่รอดครับ เป็นตัวดึงความเจริญของประเทศโดยรวม
เรียนท่าน CHARCHAR
หยุดพูดความจริงจะได้ไหมครับ