แต่เนื่องมาจากมูลค่าของเรือแต่ละลำที่มีมูลค่าสูงกว่าเรือชั้นก่อนมากและยังมีการปัญหาและการวิจารณ์ขนานหนักจากรอบด้านถึงความคุ้มค่าของเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลีย ทำให้เรืออีก 5 ลำในโครงการไม่ได้มีการต่อขึ้นแต่อย่างใด คุณสมบัติของเรือชั้นนี้ที่แตกต่างจากเรือชั้นก่อนและเรือชั้นต่อมาคือการที่ Big E ได้รับการติดตั้งเตาปติกรณ์ปรมณูจำนวนกว่าแปดตัว แทนที่จะเป็นสองตัวอย่างในเรือชั้น Nimitz อีกจุดที่น่าสนใจคือการที่ Big E ได้รับการติดตั้งหางเสือเรือจำนวนสี่ชุดแทนที่จะเป็นสองชุดเหมือนเรือบรรทุกเครื่องบินลำอื่นๆ ความเร็วสูงสุดของเรือสามารถทำได้กว่า 33 นอตโดยไม่มีขอบเขตจำกัดของระยะปฏิบัติการเนื่องจากเป็นเรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลีย สิ่งเดียวที่เป็นปัจจัยในการกำหนดขอบเขตของการปฏิบัตการได้แก่อาหารและการส่งกำลังบำรุงเท่านั้นนอกจากนี้แล้วเนื่องจากไม่ต้องเสียพื้นที่ภายในตัวเรือเพื่อการเก็บเชื้อเพลิงในการใช้สำหรับการขับเคลื่อนเรือที่ใช้เครื่องยนต์ไอน้ำอย่างเรือรุ่นก่อนหน้า พื้นที่ๆได้เพิ่มขึ้นทำให้เรือสามารถเก็บเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินได้เพิ่มขึ้นรวมถึงอาหารและสิ่งของต่างๆที่จำเป็นในการออกปฏิบัติการในทะเลลึกซึ่งทำให้ Big E สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการโจมตีต่อเป้าหมายได้มากขึ้นจากการที่เรือสามารถแล่นอยู่ในบริเวณสนามรบโดยไม่ต้องเสียเวลาในการส่งกำลังบำรุงในทะเลซึ่งถือว่าเป็นจุดอ่อนสำคัญของกองเรืออย่างมาก จากสิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้ Big E เปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ให้แก่กองทัพเรือสหรัฐในช่วงสงครามเย็นได้เป็นอย่างดี
จากการที่โครงการนี้มีมูลค่าที่สูงมากทำให้ระบบอาวุธอย่าง Terrier missile ไม่ได้รับการติดตั้งเหมือนเรือชุดที่ผ่านมาทำให้ตลอดเวลาตั้งแต่เข้าประจำการจนปี 1967 Big E ได้ออกปฏิบัติภารกิจโดยปราศจากระบบอาวุธป้องกันตนเอง หลังจากปี 1967 Big E ก็ได้รับการติดตั้งอาวุธมาตรฐานอย่าง RIM-7 Sea Sparrow และระบบป้องกันระยะประชิดอย่าง CIWS Phalanx Mark15ในช่วงแรกจำนวนสามระบบแต่ภายหลังจากนั้นได้มีการถอด Phalanx ออกไปสองระบบเพื่อแทนที่ด้วยระบบป้องกันที่ดีกว่าอย่าง RIM-116 Rolling Airframe missile อย่างที่เป็นอยู่จนถึงปัจจุบัน ในส่วนของระบบเรดาห์และอุปกรณ์ตรวจจับต่างๆนั้น ในช่วงแรกของการออกปฏิบัติการนั้น Big E ได้รับการติดตั้งระบบเสาอากาศเรดาห์ SPS-32 SPS-33 แบบหมุนไม่ได้ (อีกทั้งระบบเรดาห์ชนินนี้ได้ถูกติดตั้งอยู่บนเรือแค่สองลำเท่านั้นในประวัติศาสตร์กองทัพเรือสหรัฐ ซึ่งก็คือ Big E และเรือลาดตระเวณ U.S.S. Long Beach (CG-9) )รวมทั้งอุปกรณ์ ECM และเรดาห์เดินเรือได้ถูกติดตั้งอยู่บน Island ของ Big E ซึ่งมีความแตกต่างจากเรือชั้นอื่นๆทั้งก่อนหน้าและหลังเนื่องมาจากตัว Islandของ Big E นั้นเป็นสี่เหลี่ยมจัตตุรัสที่ฐานชั้นล่างและชั้นบน โดยข้อดีของตัว Island แบบนี้ทำให้เพิ่มพื้นที่ใช้สอยบนดาดฟ้าได้มากขึ้นกว่าเรือชั้นก่อนอีกเล็กน้อย
More at http://spineker-spineker.blogspot.com/2011/12/celebrate-50-years-of-ussenterprise.html
เข้าประจำการเมื่อปี 1961 สองเดือนหลังจากU.S.S. Long Beach (CG-9) ซึ่งเป็นเรือผิวน้ำขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียลำแรกของกองทัพเรือสหรัฐ Big E ได้เข้าร่วมปฏิบัติการครั้งแรกในการปิดกั้นคิวบาทางทะเลในปี 1962 ระหว่างวิกฤตการขีปนาวุธคิวบา หลังจากนั้น Big E พร้อมด้วยเรืออีกสองลำคือ U.S.S. Long Beach (CG-9) และ U.S.S. Bainbridge (DLGN-25) ได้ประกอบกำลังกันเป็น Task Force 1 หรือกองเรือเฉพาะกิจที่หนึ่งในการแสดงสมรรถภาพของกองเรือผิวน้ำที่ขับเคลื่อนพลังงานนิวเคลียของกองทัพเรือสหรัฐให้แก่สายตาชาวโลก การเดินทางของ Task Force 1 นั้นเป็นการเดินทางรอบโลก(Operation Sea Orbit)โดยไม่ได้รับการส่งกำลังบำรุงชนิดใดก็ตามจากเมืองท่าหรือเรือลำอื่นๆนอกกองเรือ การเดินทางเริ่มต้นจากทะเลเมดิเตอเรเนียนลงสู่แหลมกูดโฮปและขึ้นไปสู่มหาสมุทรอินเดียและเข้าเยี่ยมประเทศปากีสถาณ หลังจากนั้นก็ตั้งเข็มลงตะวันออกเฉียงใต้ผ่านมหาสมุทรอินเดียอ้อมเข้าสู่ประเทศออสเตเลียและนิวซีแลน จากนั้นได้ทำการแล่นผ่านมหาสมุทรแปรซิฟิกผ่านแหลม ฮอลน์เข้าเข้าเยี่ยมประเทศบราซิลและมุ่งขึ้นเหนือสู่ฐานทัพเรือที่Norfolk, Virginia เป็นการสิ้นสุดการเดินทางรวมระยะทางทั้งหมดกว่า 30,500 ไมล์
หลังจากการเดินทางรอบโลกของ Task Force1 ทำให้กองทัพเรือสหรัฐมองเห็นถึงคุณค่าของเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียทำให้มีการย้ายท่าเรือจากเดิมในฝั้งตะวันออกของสหรัฐไปสู่ฝั่งมหาสมุทรแปรซิฟิกแต่แล้วในปี 1969 ขณะปฏิบัติการได้เกิดระเบิดขนาดใหญ่ขึ้นบนดาดฟ้าของ Big E จากการระเบิดของจรวจบนดาดฟ้าลานบินทำให้ลูกเรือกว่า 27 คนเสียชีวิต 344 ได้รับบาดเจ็บและเครื่องบิน 15 ลำถูกทำลายและทำให้ Big E ต้องถอนตัวออกจากสงครามเวียดนามกลับสู่สหรัฐเพื่อทำการซ่อมแซมขนาดใหญ่พร้อมทั้งการเปลี่ยนเชื้อเพลิงนิวเคลียครั้งที่สอง หลังจากนั้น Big E ก็ได้รับใช้กองทัพเรือสหรัฐต่อมาเป็นเวลานานจนถึงปัจจุบันในปี 2011 ซึ่งBig E จะออกปฏิบัติการเป็นครั้งสุดท้ายก่อนทำการปลดระวางประจำการเพื่อแทนที่ด้วยเรือบรรทุกเครื่องบินรุ่นใหม่ชั้น Gerald Ford CVN-78 อีกทั้งชื่อของ Enterprise จะถูกนำไปตั้งชื่อเรือลำที่สามในชั้นนี้อีกด้วยหรือ U.S.S. Enterprise (CVN-80)
ขอบคุณข้อมูล ประวัติศาสตร์ครับ
ขอบคุณครับ...สำหรับความรู่ใหม่..แต่ขอแซวหน่อยครับ E=mc ยกกำลัง2 เล่นแบบนี้เลย...เขาจะหมายถึงอะไรหนอ
E=mc ยกกำลัง2 เป็นสมการชื่อดังของ อัลเบิร์ต ไอสไตล์ ครับ ว่ากันว่าเป็นทฤษฎีที่นำไปสู่การสร้าง ระเบิดอะตอมครับ
แล้วก็กลายเป็นระเบิดนิวเคลียร์ ระเบิดไฮโดรเจนตามมา (เคยเห็นทหารเรือสหรัฐทำบ่อยครับรูปนี้)
ปล.ขอบคุณข้อมูล คุณ Spineker ที่นำมาฝากกันครับ
ก่อนถ่ายคงเรียงเครื่องบินกันเหนื่อย อิอิ
อ้าว!ไม่ใช่เปิดฝาชักโครกก่อนหรือท่าน ..55+ อ่ะล้อเล่น
มีใครพอทราบข้อมูลเรือที่อยู่ข้างๆเรือบรรทุกเครื่องบินมั้ยครับ
ทำไมหอบังคับการบินกับสะพานเดินเรือมันคล้ายๆกันอ่ะ
ถ้าสมมุติ ถึงวันฉลองเรือจักรีฯของเราบ้าง จะไปยืนเรียงเป็นคำว่าอะไรดีน้อ ...
ตอบคุณ SSA นะครับเรือลำที่อยู่ข้าง Big E ในภายที่สองคือเรือU.S.S. Long Beach (CG-9) ซึ่งเป็นเรือผิวน้ำขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียลำแรกของกองทัพเรือสหรัฐ โดยเหตุที่ตัวโครงสร้างของสะพานเรือนั้นเหมือนกันเพราะว่าได้รับการติดตั้งอุปกรณ์เรดาห์ที่ใช้เฉพาะบนเรือสองลำนี้เท่านั้นครับ ส่วนเรืออีกลำคือเรือฟรีเกต U.S.S. Bainbridge ครับซึ่งก็เป็นเรือฟรีเกตขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียลำแรกของกองทัพเรือสหรัฐครับ