อิหร่าน กร้าว ไม่คืน เครื่องบินสอดแนม อาร์คิว-170 เซนติเนล เตรียมไขรหัสสร้างเลียนแบบ
เอเอฟพี/เทเลกราฟ - อิหร่านจะแยกชิ้นส่วนตรวจสอบกลไกของอากาศยานสอดแนมไร้นักบิน (โดรน) สหรัฐฯ ที่อยู่ในกำมือ และไม่มีวันส่งคืนทางการสหรัฐฯ หลังจากโดรนลำนี้บินรุกล้ำอธิปไตยอิหร่าน เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกรุงเตหะรานเปิดเผย วันนี้ (12)
“กระบวน การต่อไป คือ ขั้นวิศวกรรมย้อนกลับอากาศยานลำนี้” เว็บไซต์สถานีโทรทัศน์แห่งชาติอิหร่านรายงานคำสัมภาษณ์ของปาร์วิซ โซรูรี ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งชาติของรัฐสภา
“ในอนาคตอัน ใกล้ เราจะสามารถผลิตโดรนออกมาจำนวนมาก ... วิศวกรอิหร่านจะสร้างอากาศยานที่ล้ำหน้ายิ่งกว่าโดรนสหรัฐฯ โดยใช้กระบวนการวิศวกรรมย้อนกลับ”
ก่อนหน้านี้ อิหร่านเปิดเผยว่า สามารถยึดโดรนสเตลธ์ปีกค้างคาว รุ่น “อาร์คิว-170 เซนติเนล” ของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ขณะบินรุกล้ำอธิปไตยอิหร่าน ขณะเดียวกัน ทางการกรุงเตหะรานอ้างว่า หน่วยปฏิบัติการไซเบอร์ของกองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติสามารถเจาะเข้าระบบควบคุม โดรน กระทั่งสามารถบังคับให้บินลงจอดได้โดยไม่เสียหาย
ด้าน สหรัฐฯ แสดงความเคลือบแคลงต่อข้ออ้างของอิหร่านที่ว่า มีเทคโนโลยีชั้นสูงสามารถแฮกโดรนอเมริกัน สำหรับสาเหตุที่โดรนตกอยู่ในมืออิหร่าน เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ อธิบายว่า น่าจะเกิดข้อผิดพลาดกับโดรนลำนี้ระหว่างบินสอดแนมมากกว่าจะถูกแฮก ยิ่งไปกว่านั้น สหรัฐฯ ยังตั้งข้อสงสัยว่า อิหร่านจะมีความสามารถสร้างเครื่องเลียนแบบหรือไม่ หากไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัสเซียหรือจีน
อย่างไรก็ตาม ปาร์วิซ โซรูรี สำทับถึงความก้าวหน้าว่า “เรามาถึงขั้นตอนสุดท้ายในการถอดรหัสซอฟต์แวร์ของโดรน” แต่ยังไม่รู้ว่า ต้องใช้เวลาอีกนานเพียงใด พร้อมกันนั้น โซรูรีประกาศกร้าว “เราไม่ต้องการความช่วยเหลือจากจีนหรือรัสเซีย” เพื่อสร้างเครื่องเลียนแบบโดรนสหรัฐฯ
ขณะเดียวกัน พลเอกฮอสเซน ซาลามี รองผู้บัญชาการกองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติอิหร่าน แสดงความเห็นทางสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ว่า การละเมิดน่านฟ้าอิหร่านของโดรนสหรัฐฯ เป็นการพฤติกรรมที่เป็น “ปรปักษ์” อย่างยิ่ง
“จะไม่มีการส่งสัญลักษณ์แห่งการรุกรานลำนี้ คืนแก่ผู้ที่พยายามสืบความลับและข่าวกรองที่เกี่ยวพันถึงความมั่นคงระดับประเทศ”
ที่มา : ฟาตอนีออนไลน์
รูปภาพ : โรงงานนิวเคลียร์ในจังหวัดบูเชอร์ที่เป็นเป้าหมายถูกโจมตีด้วยไวรัสคอมพิวเตอร์
ที่มา : Bloomberg
รัฐบาลอิหร่านออกมาแถลงว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์บูเชอร์ (Bushehr) ปลอดภัยแล้วหลังจากยืนยันว่า มีระบบคอมพิวเตอร์บางส่วนของโรงไฟฟ้าถูกจู่โจมโดยเวิร์มคอมพิวเตอร์ (Computer Worm) จริงและขณะนี้ก็กำลังทำการต่อต้านการถูกโจมตีทางโลกไซเบอร์อยู่
"จน ถึงตอนนี้ ระบบหลักของบาเชอร์ยังคงไม่ได้รับความเสียหาย" นายมาห์มุด จาห์ฟารี ผู้จัดการโครงการของโรงไฟฟ้ากล่าวกับสำนักข่าวแห่งสาธารณรัฐอิสลามหรือ IRNA (Islamic Republic News Agency) วานนี้ (26 กันยายน 2010) "การสืบสวนแสดงให้เห็นว่า ซอฟต์แวร์ส่วนตัวของพนักงานโรงงานบางคนมีการปนเปื้อนของเวิร์มด้วย"
เขายังกล่าวอีกว่า การโจมตีทางไซเบอร์ครั้งนี้ไม่มีผลใดๆต่อการทำงานของโรงงาน
มี การตรวจพบวาส ไอพี แอดเดรสของระบบคอมพิวเตอร์กว่า 30,000 ระบบติดเชื้อเวิร์มที่ชื่อ "สตูเน็กซ์" (Stunext) จากการรายงานก่อนหน้านี้ของสำนักข่าวรัฐบาลอิหร่านที่ชื่อเมอห์ร (Mehr) โดยอ้างถึงนายมาห์มุด ลีอาย ผู้อำนวยการสภาเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงอุตสาหกรรมและเหมืองแร่ เวิร์มคือ ชิ้นส่วนที่ผลิตตัวเองได้ของซอฟต์แวร์ที่มีจุดประสงค์ไม่ดีหรือที่เรียกว่า มัลแวร์ (Malware)
"มีการใช้สงครามอิเล็กทรอนิกส์โจมตีอิหร่าน" นายลีอายระบุในรายงานข่าวเมื่อวันเสาร์ที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา "เวิร์มชนิดนี้ถูกออกแบบเพื่อถ่ายโอนข้อมูลเกี่ยวกับสายการผลิตจากโรงงานของ เราไปยังสถานที่นอกอิหร่าน"
เวิร์มซึ่งได้ระบาดติดต่อไปยังระบบ คอมพิวเตอร์ทางอุตสาหกรรมทั่วโลกอาจเป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีที่มีเป้า หมายอยู่ที่การติดตั้งนิวเคลียร์ในอิหร่าน นักวิจัยความมั่นคงทางคอมพิวเตอร์กล่าวเมื่อวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา บริษัทไซแมนเต็ก คอร์ป ซึ่งเป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์เพื่อความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ระบุว่า กว่า 60% ของคอมพิวเตอร์ที่ได้รับผลกระทบจากเวิร์มเป็นคอมพิวเตอร์ในอิห่าน
การ โปรแกรมที่ซับซ้อนของมัลแวร์และความสามารถในการซ่อนตัวของมันชี้ชัดว่า มันน่าจะถูกสร้างมาจากหน่วยงานที่มีรัฐบาลให้การสนับสนุนในประเทศอย่าง สหรัฐฯหรืออิสราเอล นายแฟรงก์ เรเจอร์ หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีที่จีเอสเอ็มเค ผู้ผลิตโทรศัมพท์มือถือที่สามารถถอดรหัสได้
นายลีอายกล่าวอีกว่า คณะทำงานซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนจากกระทรวงการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ และกระทรวงอุตสาหกรรมและเหมืองแร่ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อหาวิธีการในการต่อกรกับ เวิร์ม
นายเรซ่า ทากิพอร์ (Reza Taghipour) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารฯกล่าว่า ตอยยี้ยังไม่มีรายงานถึง "ความเสียหายร้ายแรง" ต่อระบบคอมพิวเตอร์ในภาคอุตสาหกรรมของประเทศ เขายังกล่าวอีกว่า วิศวกรอิหร่านมีความเชี่ยวชาญในการจัดการกับภัยคุกคามจากโลกไซเบอร์นี้ จากการรายงานของสำนักข่าวเมอห์ร
ปัจจุบันอิหร่านถูกมาตรการคว่ำบาตร จากสหประชาชาติจากโครงการพัฒนานิวเคลียร์ ซึ่งสหรัฐฯและอิสราเอลและชาติพันธมิตรกล่าวหาว่า โครงการนี้ครอบคลุมปถึงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ด้วย แต่อิหร่านปฏิเสธข้อกล่าวหานี้และกล่าวว่า อิหร่านต้องการเทคโนโลยีเพื่อใช้ในกิจการพลเรือนเช่น การผลิตกระแสไฟฟ้าและการวิจัยทางการแพทย์
อิหร่านได้ประเดิมการใช้ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 สิงหาคมที่โรงงานบูเชอร์ทางตอนใต้ของประเทศ หลังจากที่อิหร่านเริ่มบรรจุแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ลงในโรงไฟฟ้าแห่งนี้ ซึ่งสร้างโดยรัสเซีย
ที่มา Bloomberg
http://noir.bloomberg.com/apps/news?pid=20601104&sid=ao4fdHXpHsJk
ครับ ต่อยอดแล้วแบ่งปันเลย ครับ...ถูก ๆ