จากเว๊ป mmmilitaly.blogspot.com ซึ่งปรากฎภาพ น่าจะเป็นการนำเสนอ สมรรนะ บ.รบ ให้กับ คณะทหารของพม่า
เลยนึกถึงกระทู้เก่า เมื่อประมาณปี 2007 (2550)
ซึ่งนอกจาก Mig-29 SMT ที่ พม่า จัดหาแล้ว...
โอกาส บ.แบบใหม่ ที่น่าจะมาทดแทน A-5 ในอนาคต ก็น่าจะเกิดขึ้นเพิ่มเติมจาก บ.รบ ล็อตก่อนหน้านี้
ในความเห็นแต่ละท่าน นอกจาก Mig-29 SMT แล้ว...ท่านว่า เปอร์เซ็นต์ บ.แบบใด น่าจะมีโอกาสเกิดในประเทศ พม่า ครับ
หรือ
ปฐมบท จากกระทู้เดิม เมื่อปี 2007
สำหรับสมาชิกใหม่ ลองอ่านดูตั้งแต่ต้นกันครับ...
การจัดหาอาวุธของพม่า สิ่งที่ต้องประมินนอกจากงบประมาณแล้ว ยังมีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง
จากการที่พม่าเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น การปล่อยตัวนางอองซาน ซุจี และพรรคพวกฝ่ายค้าน ทำให้การเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้นรวมถึงการมาเยือนของ รมต ต่างประเทศสหรัฐ
ปัญหาชนกลุ่มน้อยในพม่าเริ่มเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ล่าสุดเมื่อต้นเดือน ธค. กองกำลัง SSA ได้ประกาศหยุดยิงอย่างเป็นทางการกับรัฐบาลพม่า
ในส่วนจีน ได้มีการระงับโครงการวางท่อส่งกาซไว้เนื่องจากไม่พอใจพม่าที่ค้านการสร้างเชื่อนของจีน และเป็นการตอกย้ำพม่าว่า จีนคือผู้ให้การสนับสนุนพม่ารายใหญ่สุด
ในส่วนการจัดหา บ. ใหม่ ทดแทน บ. A-5C ของจีน ยังคงไม่น่าจะเกิดขึ้นในช่วงนี้ครับ แต่มีข้อมูลว่า บ.แบบใหม่ที่จะมาแทน น่าจะเป็น JH-7 ครับ
พม่ายังมีความต้องการจัดหา บ.ฝึก K-8 (ลิขสิทธิประกอบในประเทศ) เพื่อฝึกนักบินและโจมตี เพิ่มเติมมากกว่า
ที่น่าสนใจคือ มีข่าวพม่าจัดหา ปืนใหญ่อัตราจร SH-1 จากจีน รวมอยู่ด้วย
ตัวเก็งที่จะมาแทน บ.A-5 ของพม่าครับ
55+ ขอโทษครับ โพสผิดรูปซะงั้น เอาใหม่ๆๆ
ในส่วนตัวผมนั้น ถึงแม้ว่าช่วงนี้ความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับจีนดูจะมีเรื่องระหองระแหง แต่ถ้ามองถึงความแนบแน่นนั้นน่าจะแค่แง่งอนกันเท่านั้นครับ ไม่ช้าผลประโยชน์ก็ทำให้ทั้งสองประเทศมามีความสัมพันธ์แบบเดิม สำหรับเครื่องบินใหม่นั้น ถ้าหากว่าจีนยื่นข้อเสนอเครื่องบินราคาไม่แพงมากและพม่ายอมรับได้นั้น FC-1 ดูน่าจะมีการนำเสนอ หรือถ้าหากว่าอยากเอาของดีแล้วผมมองว่า มีคู่แข่งสองแบบ คือ J-10 กับ MIG-29 อีกล่ะครับ อันนี้ถ้าเป็น J-10 นั้นก็น่าจะมาจากความสัมพันธ์และข้อเสนอ แต่ส่วนตัวมองว่า MIG-29 มีโอกาสสูงกว่าเพราะช่วงหลังเหมือนพม่าจะเน้นไปที่เครื่องบินจากรัชเซียและมีการจัดหา MIG-29 มาประจำการจำนวนหนึ่งแล้ว อีกทั้งจากความสัมพันธ์ที่พม่ามีกับเกาหลีเหนือนั้นเห็นว่าทั้งสองประเทศมีประจำการ MIG-29 เหมือนกันซึ่งอาจจะทำให้ทั้งสองประเทศมีการแลกเปลี่ยนความรู้ การฝึก ทักษะ หรือแม้แต่อุปกรณ์กันได้ จึงของฟันธงว่า น่าจะเป็น MIG-29 ที่ทำการปรับปรุงให้ทันสมัยครับ หรือจับพลัดจับพลูเกิดเป็น SU-27 มือสองอัพให้ใหม่ก็ได้ใครจะรู้ถ้าพม่าดีพอสำหรับรัชเซีย ส่วนของตะวันตกคงอีกนานหรือแทบเป็นไปได้ยากครับ
ผมว่า JH-7 ไม่น่าจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะ เทคโนโลยีเก่ายุคเครื่องแฟนทอมของอเมริกัน บทบาทของมัน
ก็เน้นไปในทางโจมตีทางทะเล ที่น่าจะเป็นคือ เอฟซี-หนึ่ง / เอฟเจ-สิบเจ็ด นั่นแหละครับ เป็นมัลติโรล์
ที่จีนเคลมว่าสมรรถนะสูสีกับ เอฟ-สิบหก บล๊อคกลางๆ ตัวอื่นอย่าง เจ-สิบ จีนจะขายให้พมาหรือครับ
ถ้าจะขายให้พม่า ก็ช่วยเอามาให้ ทอ. เราทดสอบดูบ้างก็ดีนะครับ อย่างน้อยถ้าเราไม่ซื้อก็ยังจะพอประมาณ
ศักยภาพของมันได้บ้าง...
กรณีของ ทอ.พม่าถ้ามองไปที่การจัดหาก่อนหน้านี้คือจัดหา MiG-29 จากรัสเซียมาประจำการจำหนึ่งแล้วแต่เราก็ไม่ทราบถึงความพึงพอใจของทาง ทอ.พม่า อันนี้ประเมินยากเหมือนกัน แต่ถ้ามองไปข้างหน้าแล้วผมว่า ทอ.พม่าคงมีตัวเลือกอยู่ในใจแล้ว และอีกเหตุผลคือความสัมพันะระหว่างประเทศด้วยถึงแม้พม่าจะยอมปล่อยนักโทษทางการเมืองคนสำคัญ แต่นาโต้+อเมริกาก็ยังไม่ไว้วางใจพม่าอยู่ดี ดังนั้นผมจึงมองไปที่ J-10 หรือ J-10B และตัวที่จะสอดแทรกมาได้คือ JF-17/FC-1 ตัวท้านน่าจะเป็น MiG-35 แต่ถ้ามองที่ราคาแล้ว J-10 อยู่ที่ 40 ล้านเหรียญUS JF-17/FC-1 อยู่ประมาณ 20-25ล้านเหรียญ US 2ตัวนี่น่าจะมีโอกาศมากกว่า
ส่วนเรื่อง SU- 27 อย่างที่ ท่านเด็กทะเล ว่าก็อาจจะเป็นไปได้ครับ ถ้าถึงเวลานั้นถ้าเกิดพม่าใจถึงเลือก SU-30MKM ขึ้นมาโดยไม่สนใจเรื่องสภาพเศรษฐกิจถายในของตนเองขึ้นมา แล้วเราจะว่าอย่างไรกับเครื่องบินฝูงใหม่ของเรา
ปัจจัยจากความขัดแย้งทางทะเลกับบังคลาเทศ และการจัดหาแจส39ผมว่าพม่าอาจจะมองเครื่องบิน multirole combat aircraft ที่มีขีดความสารถในการโจมตีเรือด้วย พม่าน่าจะจัดหาเครื่องบินจากรัสเซียซะมากกว่า เพราะมีสมาชิกเคยพูดไว้ว่าพม่าไม่ค่อยปลื้มบ.เมดอินไชน่านัก
ซู-30อาจจะมาขนาบข้างเราอีกก็เป็นได้ เพราะถ้าพม่าจะจัดปลดA-5จริงดูเหมือนซุคฮอยซู-30จะทำหน้าที่โจมตีภาคพื้นได้ดีกว่ามิก-29และเจเอฟ-17 ถ้าพม่ามีเงินพอที่จะซื้อ
ถ้าหากอเมริกาจะเอาใจพม่าโดยแลกกับการได้สัมปทานในพม่าแล้วขาย F-18 F-15 หรือF-16ให้ในราคามิตรภาพคาดว่าน่าจะเป็นไปได้หรือป่าวครับ
ดูจาก ที่พม่าพยายามเปิดประเทศแล้ว มีการเยือนอย่างเป้นทางการจาก อเมริกา อาวุธ น่าจะไม่ใช่จากจีนนะครับตามความคิดผม หวยคงออกตาอยู่ อย่าง รัสเซีย ทั้งในอนาคต เราจะรวมอาเซียนแล้ว ก็ หนีไม่พ้น ซู 30 แน่ๆ
ปล.เพราะงั้นในอาเซียนเรา จะเหลือ บิน จาก รัสเซียคือ เวียดนาม+เมเล(ลูกผสม)+พม่า ส่วนอมเริกา ก็ พี่ไทย+สิงคโปร์+อินโด ในอนาคต ลาว+กัมพูชา ก็น่าจะ ออกไปทาง รัสเซีย พี่หมีเราคง ยิ้มแก้มปริ แน่ๆ งานนี้ อ่อ ฟิลิปิน ก็ อเมริกา นะครับ
โดยส่วนตัว มองว่าพม่าต้องการบ.โจมตีมาทดแทน A-5 ที่ล้าสมัย โดยเลือก JH-7 เหนือ FC-1 เนื่องจากปัญหาขัดแย้งทางทะเลกับบังคลาเทศเป็นสำคัญครับ
บ. 2 เครื่องยนต์ ที่ออกปฎิบัติการในทะเลระยะไกล มีระยะเวลาในการครองอากาศนาน มีความน่าเชื่อถือสูงกว่า บ. 1 เครื่องยนต์ ซึงตรงจุดนี้ JH-7 มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกว่า FC-1
ปัญหาข้อพิพาทเรื่องแหล่งสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอ่าวเบงกอล ทำให้พม่าต้องปรับปรุงกองเรือ และกำลังทางอากาศเพื่อรองรับภัยคุกคามดังกล่าว
มีข้อมูลใน wiki ลงว่าพม่าได้สั่งซื้อ JH-7 จำนวน 12 ลำ ตรงนี้ไม่ทราบว่าเป็นความจริงหรือไม่
http://en.wikipedia.org/wiki/Myanmar_Air_Force
ในมุมมองของผม ก็คิดเช่นกันว่าพม่ากะจีนก็แค่ผัวเมียทะเลาะกันงอนกัน ข้อหานอกใจไปมีอะไรกะกิ๊กที่เหม็นขี้หน้ากันบ้าง แต่ก็น่าจะตกลงกันได้ในระดับที่พอใจทั้งสองฝ่าย ดังนั้นอาวุธหลายๆอย่างก็น่าจะยังคงจัดหาจากจีนอยู่เช่นเดิม นอกจากนี้พม่าเองก็มีงบประมาณจำกัดพอดูทีเดียวในการจัดหาเครื่องบินรบ การบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายในการปฎิบัติงาน การดำรงความพร้อมรบของฝูงบิน และภัยคุกคามที่กำหนด
ทางฝั่งบังคลาเทศนั้นผมว่าไม่น่าหนักใจสำหรับพม่านัก แม้ว่าผลประโยชน์จากบ่อน้ำมันเจ้าปัญหาจะยุ่งยาก แต่กำลังรบเท่าที่มีอยู่น่าจะจัดการกับภัยคุกคามไม่ยาก
แต่แนวรบฝั่งตะวันออกก็คือไทยที่เป็นคู่กัดตลอดกาลนั้นหนักใจกว่ามาก ไทยเพิ่งจัดหา Jas-39 พร้อม AEW&C มา และมีแนวโน้มว่าถ้า F-35 ยังมีความล่าช้าต่อคิวนาน ราคาแพงโคตร jas-39 ฝูงต่อไปอาจะต้องมา สำหรับพม่าหนักอกทีเดียว
กรณีต้องหาฝูงบินขับไล่มาใหม่ FC-17 อาจจะเหมาะกับคู่กัดอย่าง F-16 block 15 ของฝูง 403ที่ยังไม่ได้อับเกรด แต่ถ้าอับเกรดแล้วจะตึงมือมากสำหรับ FC-17
อ้าวกด save ดันกลายเป็นส่งข้อความซะงั้น
ขอแก้คำผิดครับ FC-17 ต้อง JF-17 หรือ FC-1
และจากการที่ตนเองใช้เครื่อง MIG-29 อยู่ ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะยังคงจัดหา MIG-29 ไว้ใช้งานต่อไปอีก 1 ฝูง เพื่อลดความยุ่งยากในการซ่อมบำรุง(รึเปล่า) แต่เครื่องรุ่นนี้ก็ไม่ค่อยน่าประทับใจนัก แต่ถ้าจะจัดหา SU-30 หรือ SU-27 งานนี้ใช้งบมหาศาล และเนื่องจากเป็นเครื่องโจมตีทางลึกได้ด้วยจึงน่าจะทำให้จีนหงุดหงิดได้เล็กน้อย แต่ก็รับมือกับเครื่อง F-16 MOU แล้วและ JAS-39 ได้ดีทีเดียว แต่งบประมาณนั้นมหาศาลค่าซ่อมบำรุงมาก พม่าต้องคิดหนักทีเดียว
ส่วนเครื่องที่จะมาแทน A-5 ผมว่ามองข้ามเครื่องโจมตีรุ่นใหม่ขนาดเล็กที่จีนพยายามนำเสนอตลาดโลกไปหรือเปล่าครับ คือ L-15 falcon ประสิทธิภาพทางการบินเป็นรอง f-16 ไม่มากนัก บรรทุกอาวุธได้น่าพอใจ ประสิทธิภาพเมื่อติดตั้งกระเปาะชี้เป้าก็ไม่ได้ด้อยไปกว่า yak-130 ราคาก็ต่ำมากด้วยในระดับที่ทอ.พม่าน่าจะจัดหามาทดแทน A-5 ได้ไม่ยาก ส่วน JH-7 ผมก็มองว่าตกยุคไปแล้ว นอกจากว่าจีนเสนอขายในราคถูกแสนถูกให้ ก็อาจจะเป็นไปได้เพราะต้องดูแลผลประโยชน์ทางทะเลด้วย บินได้ไกล บรรทุกอสวุธได้เยอะ แต่ประสิทธิภาพก็ล้าหลังกว่า L-15 มาก รองรับระบบอาวุธใหม่ๆอะไรก็ไม่ได้
สรุปของผมนะ ถ้าพม่าจะจัดหาเครื่องขับไล่ฝูงใหม่ เต็งหนึ่งคือ MIG-29 เต็งสองคือ SU-30 เต็งสามคือ J-10
ส่วนเครื่องโจมตี เต็ง 1 คือ L-15 เต็งสองถ้าได้ราคาแทบให้เปล่าก็น่าจะเป็น JH-7 แต่โอกาศน้อย
ใจจริงผมชอบ L-15 มากกว่า YAK-130 แต่ก็ชอบ T-50 มากกว่า ถ้า L-15 ใช้เครื่องยนต์เดียวในรุ่นโจมตียิ่งน่ามอง เนื่องจากออกแบบโดยใช้ yak-130 เป็นฐาน(ก็ผู้ร่วมออกแบบก็เป็นออกแบบ yak-130นี่นา) ดังนั้นสถาปัตยะกรรมก็น่าจะเป็นแบบเปิดเช่นกัน ดังนั้นโอกาสในรุ่นโจมตีที่จะมีออปชั่นในการติดตั้งระบบเรด้าร์ อาวุธ เครื่องยนต์ ก็น่าจะมีมากขึ้น และการที่จีนพยายามเข๊นเครื่องรุ่นนี้ออกมาแข่งกับ yak-130 t-50 m-346 แล้วก็น่าจะต้องพิจารณาเรื่องนี้ด้วย แม้น้ำหนักบรรทุกจะน้อยกว่า T-50 แต่ก็สามารถบินด้วยความเร็วเหนือเสียงได้ ความสามารถบินผาดแผลงก็สูงกว่า yak-130/m346 และทางจีนก็ต้องออกแบบเพื่อรองรับกระชี้เป้าชนิดต่างๆได้ด้วย รองรับระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ ถ้าต้องชนกับเครื่อง yak-130/m346 T-50 hawk ในตลาดโลกแล้ว สเปกเหล่านี้ L-15 ต้องทำได้ด้วยในราคาที่ yak-130 สะดุ้ง
ในเมื่อประเทศเราเองก็สนใจทั้ง M-346 และ T-50 เพื่อทดแทน Alphajet ในวันข้างหน้า ทอ.พม่าย่อมจะสนใจใน Yak-130 และ L-15 มากด้วยเช่นกันครับ
แก่แล้วพิมพ์ผิดจำผิดเยอะจัง ต้อง F-16 MLU
เครื่องรัสเซียตอนนี้ทั้งMig-29SMTและSU-30 สามารถจัดหาได้ในราคาไม่แพงครับ แต่สำหรับพม่าสนใจและเลือกMig-29smt เนื่องจากมิกมีการพัฒนาความสามารถในการรบทั้งโจมตีและครองอากาศอยู่ในขั้นที่สูงเอาเรื่อง จะแพ้ซูแค่ระยะบินเท่านั้น และถึงSu-30จะราคาไม่แพงแต่ก็ราคาสูงสำหรับชาติที่งบประมาณน้อยๆจึงทำให้มีบางชาติจัดหาMig-29SMTไปใช้งานแทน ซึ่งหากมองดูการพัฒนาและจัเหาอาวุธของพม่าแล้วแทบจะจัดหาได้เยอะหลากแบบมากพอๆกับเวียดนาม ซึ่งอาวุธดีๆก็มาจากจีนและยุโรปตะวันออก และรัสเซีย ซึ่งงบประมาณอย่างที่เราทราบกันว่าก๊าซธรรมชาตินั้นเอง
ซึ่งในทัพบกพม่าเคยฮือฮาที่ว่ามีการจัดหารถถังT-72 และผลิตBTR-3 จัดหาTor-M1 ปืนใหญ่อัตราจรNora B-52 และจรวดจากType-90B ส่วนทัพฟ้าเหมือนพม่าจะยังใช้เครื่องบินขนาดใหญ่ในภารกิจครองอากาศก็มีผลิตจากรัสเซียและใช้เครื่องบินขนาดเล็กจากจีนถึงJ-10จะประสิทธิภาพสูง แต่ราคามันก็ไม่ใช่ว่าถูก กรณีJF-17 นั้นถึงจะดูเล็กแต่มีการพัฒนาให้มีขีดความสามารถสูงและมีการพัฒนาอยู่เสมอระหว่างปากีสถานกับจีน
แต่ก็นั้นล่ะ ถ้าก๊าซเขาขายดีมีการลงทุน พม่าสามารถจัดหาSU-30หลายๆลำหรือ1-2ฝูงผสมกับJ-10 JF-17 หลายๆลำ ซึ่งหากว่าเวียดนามน่ากลัวแต่ยังไกลกัน พม่าในอนาคตคงน่ากลัวมากขึ้นแถมใกล้ๆกันอีก ซึ่งต้องติดตามกันต่อไป
ตกลงว่ายูเครนสามารถชนะแบบเครื่องยนต์สำหรับ L-15 ได้แล้วครับ จำนวน 250 เครื่องยนต์ เครื่อง
AI-222-25F ให้กำลังขับสูงถึง 9250 ปอนด์ต่อเครื่อง ดังนั้นสองเครื่องยนต์จะได้กำลังขับถึงกว่า 18000 ปอนด์ และเมื่อใช้afterburner จะได้กำลังขับสูงถึง 21550 ปอนด์ ทำให้ L-15 สามารถทำความเร็วได้ถึง 1.6 มัคทีเดียว
จีนกะจะเจาะตลาดเครื่องแบบนี้ที่ราคา 10 ล้านเหรียญหรือราวๆ 310 ล้านบาทเท่านั้น ถูกกว่า YAK-130 ซะอีก ข่าวในเวปนี้ก็บอกว่ารัสเซียเองก็สนใจเครื่องยนต์รุ่นนี้ด้วยเช่นกันเพื่อมาใช้กับ yak-130
จะแปะเนื้อข่าวในเวปยังไงเนี่ยะ พิมพ์เอาแล้วกัน
forum,pakistanidefence.com/index.php?showtopic=96804
ต้องขออภัยด้วยครับ ตั้งกระทู้ แต่ยังไม่ได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมเลย...งานเยอะม๊ากกกกกกกกกกกก...เครื่องก็ เต่า ๆ
ความเห็นผมว่า MIG-29 SMT ที่เพิ่งสั่งซื้อใหม่นั้น น่าจะมาทดแทน Mig-29 ของเดิม ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่า อายุเครื่องยนต์ของ Mig-29 นั้น มีอายุเพียง 2000 ชม. เท่านั้น...ซึ่งดูเหมือนว่า ทอ.พม่า ยังคงมีฝูงบินรบ จำนวนเท่าเดิม
ดังนั้น ในส่วนของ A-5 และ F-7 ซึ่งคงต้องมีฝูงบินรบใหม่ มาทดแทน ที่นอกเหนือจาก Mig-29 SMT แน่
ซึ่งในความเห็นของหลายท่าน ก็มองว่า พม่า น่าจะจัดหาแบบ มัลติโรล มาเพื่อให้ทัดเทียม ประเทศในภูมิภาคนี้
ซึ่งเมื่อมองถึง การเมืองของพม่า ที่เปลี่ยนแปลงไป และกำลังจะเปิดประเทศ ผมก็มองว่า พม่าเอง ก็คงมีความต้องการพัฒนา เทคโนโลยี่ ทางการบิน ด้วยเช่นกัน
ตอนนี้ ในแง่การทหาร พม่า สร้างรบขนาดฟริเกต ได้เองแล้ว จากการสนับสนุนของจีน...และ พัฒนา ขีปนาวุธพิสัยไกล จากการสนับสนุนของ เกาหลีเหนือ...
ซึ่งผมก็มองว่า ถ้าจีน ต้องการความสัมพันธ์กับ พม่า เพื่อขยายแสนยานุภาพ ในบริเวณ คาบมหาสมุทรอินเดีย คุม หัว คุม ท้าย จากคาบมหาสมุทรอินเดีย ไปจนถึง ทะเลจีนใต้ โอกาสของ FC-1 น่าจะมีอยู่สูง ภายใต้การสนับสนุนเทคโนโลยี่ทางการบินของจีน ต่อ พม่า
อาจจะเป็นในแง่ การซ่อมบำรุง หรือ ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่บางอย่าง ร่วมกับ ปากีสถาน...
ซึ่ง สมรรถนะ FC-1 ในแง่ความสมดุล และศัภยภาพของ พม่า ในการผลิตนักบิน ซึ่งมีโครงการสั่งซื้อ K-8 บ.ฝึกจากจีน ถ้าผมจำไม่ผิดกว่า 50 ลำ ทั้งในแง่ ราคา และ ปริมาณ ของ FC-1 น่าจะตอบสนอง ในแง่ปริมาณ กับ สมรรถนะ พอจะสร้างสมดุลกับประเทศในภูมิภาคนี้ได้ โดยใช้ระยะเวลาไม่มาก
ตอนนี้ ผมเลยให้น้ำหนักไปที่ FC-1 และอาจจะได้เห็นการถ่ายทอดเทคโนโลยี่ทางการบิน จาก จีน ไปสู่ พม่า ซึ่งจะทำให้ จีน มีพันธมิตร ขนาบข้าง อินเดีย คือ ปากีสถาน และ พม่า....ซึ่งน่าจะเป็นที่มาของ การเรียกร้องให้ อินเดีย เพิ่มบทบาทตัวเองในแง่การทหาร สำหรับคาบสมุทรอินเดีย มากขึ้นก็ได้ครับ
พม่าคงไม่คิดอยากจะตอแย กับไทยเราเท่าไหร่ คงมองไปฝั่งบังคลาเทศมากกว่า ฝั่งไทยเรามีแนวกันชนพอให้สบายใจใด้บ้าง
ตีกับชนกลุ่มน้อย ความเสียหายก็น้อยตาม
ในส่วนเครื่อง Mig-29 คิดว่าคงใช้ไปอีกยาวนาน เพราะ ชม.บินค่อนข้างน้อย และนักบินไม่เพียงพอ
เต็มฝูงภายในไม่กี่ปีนี้ก็จะมีถึง 32ลำ น่าจะเพียงพอที่จะชนกับ Mig-29 ses ของบังคลาเทศ
แต่ที่น่ากลัวจริงๆคือ วิศวกรเกือบหมื่นคน ทั้งทางทหารและด้านนิวเคลียร์ที่ถูกส่งไปศึกษาในประเทศรัสเซียนี่สิ
และยังมีบันทึกความร่วมมือในการสร้าง จรวด scuds กับเกาหลีเหนืออีกด้วย
ในอนาคตคงมีความตรึงเครียดในภูมิภาคนี้ อย่างแน่นอน ถ้าไม่เสริมสร้างความเข้าใจของอาเซียนอย่างจริงจัง
ผมว่าไงๆ พม่าก็มองเราเป็นหลักอยู่แล้วอะครับ ศัตรูตลอดการณ์ คำนี้ยังต้องใช้ไปอีกนาน
ถ้าเป็นอย่างที่ท่านข้างบนว่า...มีวิศวกรนับหมื่นทั้งพลเรืนและทหาร...มันก็จะกลายเป็นว่าประเทศเราจะตามหลังพม่าทันทีในหลายๆเรื่อง ถ้าคนเหล่านั้นกลับมาและรัฐบาลของเขาส่งเสริม และสาเหตุที่จำให้เราเป็นอย่างนั้นเพราะพวกเราไม่ส่งเสริมคนของเราเอง(อันนี้ไม่ขอกล่าวถึงส่วนที่สูงกว่านี้เดี๋ยวจะเข้าการเมือง) หรือทำอะไรไม่คิดถึง อ็อฟเซท โพลีชี่ คือไม่คำนึงถึงผลตอบแทนทั้งทางการทหารและภาคพลเรือน/การพัฒนาเทคโนโลยี ตอนนี้เราก็ตามหลังอยู่ถึง 3 ประเทศแล้ว คือ สิงคโปร์ มาเลย์เซีย อินโดฯ นิถ้าเราต้องหลังพม่าอีกก็คงถือว่าเราล้มเหลวทั้งระบบเลยล่ะ ผมอาจมองโลกในแง่ร้ายเกินไปแต่ถ้าเรายังมัวเป็นอยู่แยยนี้เราก็จะเหมือน ฟิลิปินส์ ในไม่ช้านี้อย่างแน่นอน และเราจะตกไปอยู่กลุ่มท้ายอำนาจต่อรองต่างๆก็จะไม่มีเหลืออีก ผมขออย่างเดียวอย่าให้มีวันนั้นเลย ทำใจไม่ได้ จากที่เราเคยตั้งปณิธานไว้ว่า ....เราจะเป็นเสือตัวที่ 4 แห่งเอเซีย.....ตอนนี้เราก็ได้แต่รอ....
จากข้อความเห็นของป๋า Juldas แสดงว่าพม่ามีความทะเยอทะยานทางทหารที่จะก้าวหน้าในเรื่องเทคโนโลยีทางทหารในทุกประเภท ถ้าทางพม่าคิดที่จะทุ่มเทสร้างเครื่องบินหรือประกอบเครื่องบินเอง งานนี้ FC-1 มีเปอร์เซนต์สูงขึ้นมากครับ เพราะการจัดซื้อ K-8 จำนวนมากก็จะมีแรงจูงใจสูงต่อจีนถ้าพม่าร้องขอให้จีนถ่ายถอดเทคโนโลยีให้แบบปากีสถาน แต่ความเสี่ยงของโครงการก็ต้องสูงทีเดียวแม้ว่าเครื่องรุ่นนี้ทางปากีสถานจะมีใช้งานจำนวนไม่ใช่น้อยและมีการพัฒนาปรับปรุงต่อเนื่อง เหตุผลของความเสี่ยงของโครงการก็คือ พม่าจัดสรรงบได้จำกัดมาก ดังนั้นจำนวนเครื่องที่จะผลิตใช้เองจะน้อยมากครับ คิดว่าน่าจะอยู่ในราวๆ 30-50 เครื่องเท่านั้น แต่ถ้าจะพึ่งตนเองให้ได้ก็ต้องทำครับ
สรุป FC-1 เหมาะสมที่สุดกรณีพม่าต้องการเทคโนโลยีการบินเป็นของตนเอง
แต่ถ้าเกินกำลังของพม่า เครื่องอย่าง MIG-29 และ SU-30 ก็จะเริ่มมีความสำคัญและเป็นไปได้มากขึ้นครับ เงินดูจะเป็นคำตอบของพม่าเหมือนๆทุกประเทศเลยนะครับ
ความเห็นตอนนี้ของผมนะครับ ท่าน neosiamese2
ในช่วงที่ปิดประเทศ นั้น...ในเมื่อพม่า ไม่สามารถจัดหาอาวุธจากตลาดค้าอาวุธแบบปกติได้...แนวนโยบาย สร้างด้วยตนเอง ก็เกิดขึ้น...เช่น เรือรบผิวน้ำ และแต่เดิมก็มีแผนผลิต รถเกราะล้อยางเองด้วย ใช่ BTR-3E รึป่าว ? ไม่แน่ใจ หรือของรัศเซีย...
ซึ่งเมื่อมองถึงว่า พม่า กำลังจะเปิดประเทศ และกำลังจัดการกับผลประโยชน์ในแหล่งพล้งงานธรรมชาติด้วยแล้ว...แนวนโยบาย สร้างด้วยตนเอง คงจะต้องมีการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ต่อไปแน่นอน...
ดังนั้น สิ่งที่ พม่า ยังน่าจะขาดในตอนนี้ และในอนาคต คงหนีไม่พ้น คือ อากาศยาน...สร้างด้วยตนเอง...
ก็อยู่ที่ว่า ถ้าพม่า อยากจะก้าวกระโดด...ซึ่งตัวอย่างในตอนนี้ ในความเห็นผม คือ ปากีสถาน ที่ทั้งสร้างเรือดำน้ำ และ เครื่องบินรบ ด้วนตนเอง ภายใต้อำนาจทหารที่อยู่เบื่องหลังในการปกครองประเทศ....
จุดเริ่มต้นของการก้าวกระโดด คือ การมีซ่อมสร้าง บำรุง อากาศยาน และผลิตอะไหล่ บางอย่าง สำหรับอากาศยาน...น่าจะอยู่ในวิสัย ที่ พม่า น่าจะพัฒนาทำได้...ถ้าได้รับการสนับสนุนจาก จีน...
และเมื่อดูถึงว่า ปากีสถาน และ จีน ร่วมมือกันผลิต FC-1 และมีเป้าหมายในการจำหน่ายด้วย...ผมเลยมองโอกาสของ FC-1 มีไม่น้อยเลยทีเดียว...
เรื่องการพัฒนาอาวุธของพม่านั้น พม่าสามารถทำได้และปัญหาไม่มากครับ เราเริ่มได้เห็นปืนไรเฟิลจู่โจมพม่าทำเอง เรือฟริเกตพม่าต่อเอง รถหุ้มเกราะพม่าประกอบเอง อนาคตเราอาจจะเห็นเครื่องบินพม่าทำเอง(โดยการสนับสนุนจากมิตรประเทศ)ก็เป็นได้ ตอนนี้พม่าเน้นบุคคลากรทางด้านวิศวกรรมอาวุธมากพอสมควรด้วยสิครับ ทั้งนี้พม่านั้นอาจจะนำเงินจากการขายพลังงานมาใช้ได้อย่างมหาศาล