ผ่านมาเกือบ 24 ปี แล้ว ตอนนั้น เดือน กุมภาพันธ์ 2531 ผมยังเรียนอยู่ชั้น อนุบาล 2 อยู่เลย ไม่รู้เรื่องอะไร พอโตมาเรียน นศท. ได้ยินแต่ครูฝึกเล่าให้ฟัง แต่ก็เล่าไม่หมดเหมือนกั๊กเอาไว้ พวกผมกับเพื่อนๆ ก็อยากรู้ เลยต้องมาค้นหาในเน็ต แต่ก็ได้ข้อมูลมาบางส่วน สมรภูมิบ้านร่มเกล้าทหารที่ไปรบเขาบอกว่าไม่ได้แพ้ลาวเพราะสามารถบีบให้ลาวยอมเจรจาได้ แต่ในสายตาของประชาชนคนไทยในขณะนั้นมองว่าทหารไทยเรารบแพ้ลาว ก็เลยอยากทรายที่มาที่ไปของสงครามนี้ โดยเฉพาะการบุกเข้ายึดเนิน 1428 ของทหารไทย เพราะค้นในเน็ตทราบว่าทหารไทยของเราเสียชีวิตไปถึง 147 นาย การปฏิบัติการทางอากาศที่ผิดพลาด วานผู้ที่มีข้อมูลมาแชร์ด้วยนะครับ จะได้เป็นความรู้แก่คนรุ่นหลังต่อไป ขอบคุณครับ (ผ่านมาตั้ง 24 ปี ข้อมูลคงไม่เก็บเป็นความลับนะครับ น่าจะเปิดเผยได้) แล้วตอนนี้เนิน 1428 ดังกล่าว เป็นของไทยหรือของลาว
เนิน 1428 ในปัจุจุบันมองจากประเทศไทย
ไม่แน่ใจว่าท่านจขกท.ได้อ่านในวิกิรึยัง ถ้าอ่านแล้วก็ขออภัยครับ ปล.วิกิใครก็เขียนได้ ถ้าเจอต้องการอ้างอิงนี่ ฟังหูไว้หูก่อนนะครับ
ภาพเป็น เนิน 1428 อดีตสมรภูมิรบอันดุเดือดในสมรภูมิบ้านร่มเกล้า มองจากอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว
สมรภูมิบ้านร่มเกล้า | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เนิน 1428 อดีตสมรภูมิรบอันดุเดือดในสมรภูมิบ้านร่มเกล้า มองจากอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว |
|||||||||
|
|||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
ไทย | ลาว |
||||||||
ผู้บัญชาการ | |||||||||
ชวลิต ยงใจยุทธ | ไกสอน พมวิหาร | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
ความสูญเสีย ~1,000 นาย[1] | |||||||||
หมายเหตุ: จุดเริ่มต้นของการรบคือการส่งกำลังเข้ายึดเนิน 1428 ของฝ่ายลาวในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2530[ต้องการอ้างอิง] |
สมรภูมิบ้านร่มเกล้า หรือ ยุทธการบ้านร่มเกล้า[2] เป็นการรบระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว ณ บริเวณบ้านร่มเกล้า ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 จากการสู้รบอย่างหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการสูญเสียอย่างมากทั้งฝ่ายไทยและลาว และนับเป็นการสูญเสียชีวิตทหารมากที่สุดในการรบของไทยเท่าที่เคยมีมา[ต้องการอ้างอิง]
การรบสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 หลังจากฝ่ายไทยได้ใช้กองทัพอากาศโจมตีเข้าไปในดินแดนลาว 30-40 กิโลเมตร และฝ่ายลาวโดยนายไกสอน พมวิหาร นายกรัฐมนตรี ได้เจรจาขอหยุดยิงเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 และเสนอให้ถอนกำลังของทั้งสองฝ่ายออกจากกันเป็นระยะ 3 กิโลเมตร
สาเหตุ
สมรภูมิบ้านร่มเกล้าเกิดจากกรณีพิพาทด้านพรมแดนระหว่างไทยกับลาว เนื่องจากยึดถือพรมแดนจากแผนที่คนละฉบับ โดยในปี พ.ศ. 2450 สนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ยึดถือจากผลการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2430 ได้กำหนดให้แม่น้ำเหืองเป็นเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศส ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 เจ้าหน้าที่สำรวจแผนที่ของฝรั่งเศสได้พบว่าแม่น้ำเหืองมีสองสาย[3] จึงได้เขียนแผนที่โดยยึดสายน้ำที่ทำให้ฝรั่งเศสได้ดินแดนมากกว่าเดิม และไม่ได้แจ้งให้รัฐบาลสยามทราบ ต่อมาในช่วงสงครามเวียดนาม กองทัพสหรัฐได้จัดทำแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศ และได้พบแม่น้ำอีกสายหนึ่ง ชื่อว่า ลำน้ำเหืองป่าหมัน [3] ซึ่งไม่เคยปรากฏในเอกสารสนธิสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส มาก่อน
ในปี พ.ศ. 2530 ทางการลาวได้อ้างสิทธิเหนือดินแดนบริเวณบ้านร่มเกล้า และยกกำลังเข้ามายึดพื้นที่บ้านร่มเกล้า ในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก และเกิดปะทะกับกองกำลังทหารพราน 3405 ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 และยึดเนิน 1428 เป็นที่มั่น[ต้องการอ้างอิง]
ยุทธการสอยดาว
วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 กองทัพภาคที่ 3 เริ่มส่งกำลังเข้าโจมตีเนิน 1428 โดยใช้กองกำลังทหารราบและทหารม้า โดยการสนับสนุนจากกองทัพอากาศไทย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากฝ่ายลาวมีชัยภูมิที่ดีกว่า และได้รับการสนับสนุนอย่างลับๆ จากสหภาพโซเวียตและเวียดนาม[ต้องการอ้างอิง]
ยุทธการบ้านร่มเกล้า
จากคำบอกเล่าของทหารที่อยู่แนวหน้า[ต้องการอ้างอิง] ระบุว่าทหารไทยในสมรภูมิบ้านร่มเกล้าต้องรบกับข้าศึกที่มียุทธภูมิดีกว่า มีอำนาจการยิงสนับสนุนต่อเนื่องและรุนแรง ต้องฟันฝ่าอุปสรรคมากมาย โดยเฉพาะแนวกับระเบิด ทหารหลายนายซึ่งผ่านสมรภูมิมาอย่างโชกโชน กล่าวว่า เป็นการรบที่หนักที่สุดเท่าที่เคยพบเห็นมาในชีวิตการเป็นทหาร[ต้องการอ้างอิง] โดยเฉพาะบริเวณเนิน 1182, 1370, และ 1428
ยุทธการบ้านร่มเกล้า ได้เริ่มขึ้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เมื่อ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบก (ในขณะนั้น) ประกาศจะผลักดันกองกำลังต่างชาติที่เข้ามายึดครองพื้นที่ในเขตไทยทุกรูปแบบด้วยการใช้กำลังทหาร จึงทำให้เกิดการสู้รบอย่างดุเดือดทหารไทยทั้ง ทหารราบ ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ และทหารพราน ได้รุกตอบโต้ยึดที่มั่นต่างๆ ที่ลาวครองไว้กลับมาได้เป็นส่วนมาก รวมทั้งได้ทำการโอบล้อมบริเวณตีนเนิน 1428 ไว้ได้ แต่ไม่สามารถบุกขึ้นไปถึงยอดเนินซึ่งทหารลาวใช้เป็นฐานต่อต้านได้ ถึงแม้จะใช้กำลังทางอากาศบินโจมตีทิ้งระเบิดอย่างหนักก็ตาม จนทำให้กองทัพอากาศไทยสูญเสียเครื่องบิน เอฟ 5 อี และ โอวี 10 ไปอย่างละ 1 เครื่อง ซึ่งถูกยิงตกด้วยปืนต่อต้านอากาศยาน และจรวดแซม[ต้องการอ้างอิง]
หลังจากที่ทหารลาวสูญเสียที่มั่นต่างๆ ได้รวบรวมกำลังพลเข้ารักษาเนิน 1428 ไว้อย่างเหนียวแน่นโดยมีกำลังรบและกำลังสนับสนุนดังนี้คือ กองพลที่ 1 จำนวน 4 กองพัน พร้อมอาวุธหนักปืนใหญ่ 130 มม. 3 กระบอก ปืน 105 มม. 3 กระบอก รถถังอีก 4 คัน รวมกำลังพล 372 นาย[ต้องการอ้างอิง]
กองพลที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ที่หลวงพระบาง จำนวน 4 กองพัน เช่นกัน มีกำลังพลกว่า 418 คน สนับสนุนด้วยปืนใหญ่ 130 มม. 3 กระบอก ปืนใหญ่ 105 มม. 3 กระบอก รถถัง 5 คัน ปืน ค. ขนาด 62 และ 82 มม. รวมทั้ง ปตอ. ด้วย นอกจากนี้กองกำลังหลักซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ ไชยบุรี มีปืนใหญ่ 130 มม. 2 กระบอก ปืนใหญ่ขนาด 122 มม. อีก 3 กระบอกรวมทั้งหน่วยจรวดต่อสู้อากาศยานแบบแซม 7[ต้องการอ้างอิง]
ในระยะแรกของการรบนั้น ทหารไทยใช้ทหารม้าและทหารพรานรุกคืบหน้าเข้าสู่บริเวณเนิน 1428 ซึ่งพบกับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายลาวอย่างคาดไม่ถึงโดยเฉพาะกับระเบิดและการยิงปืนใหญ่จากลาวอย่างหนาแน่นและต่อเนื่อง ทำให้การรุกคืบหน้าเป็นไปได้ช้าและสูญเสียอย่างมาก ด้วยมีความเสียเปรียบหลายประการ ในขั้นแรกทหารไทยมีความคิดที่จะผลักดันทหารลาวออกจากดินแดนไทยเท่านั้น การรบจึงจำกัดเขตอยู่แต่ในประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] แต่หลังพบว่าการรบในช่วงแรกไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย คณะนายทหารจึงปรับแผนการรบใหม่ โดยใช้กำลังปืนใหญ่ระยะยิงไกลแบบ เอ็ม 198 และปืนใหญ่แบบต่าง ๆ ระดมยิงเข้าไปในดินแดนลาว ที่หมายคือการยิงฐานปืนใหญ่และที่ตั้งกำลังทหาร พร้อมทั้งส่งหน่วยรบพิเศษเข้าไปตัดการส่งกำลังสนับสนุนของฝ่ายลาว จนกระทั่งการสนับสนุนการรบของลาวได้ลดประสิทธิภาพลงไปอย่างมาก[ต้องการอ้างอิง] วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ก็ได้มีการเจรจายุติศึกแยกกำลังของทั้ง 2 ฝ่ายออกจากกันฝ่ายละ 3 กิโลเมตร[ต้องการอ้างอิง]
ข้อสังเกตจากการรบ
ผลที่ตามมา
ประเทศไทยและประเทศลาวร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว (JBC) ถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2539[4] เพื่อปักปันพรมแดนซึ่งมีความยาว 1,810 กิโลเมตร ทั้งสองประเทศยังวางแผนที่จะเสร็จสิ้นการปันเขตแม่น้ำโขงซึ่งมีความยาว 1,100 กิโลเมตร ภายในปี พ.ศ. 2553 โดยร้อยละ 96.3 เสร็จสิ้น ระหว่างปี พ.ศ. 2546-2550[5]
อีกอย่างหนึ่งนะครับ ตอนนั้น พี่ชายพาซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ ไปซื้อของในตลาด แล้วเจ้าของร้านแกเปิดทีวี ช่อง 7 นี้แหละผมจำได้ เห็นภาพทหารไทยนายหนึ่งขาขาดทั้งสองข้างเลย นอนมาในเปล หน้าตาซีดมากๆ พร้อมกับส่งเสียงร้อง สงสัยถ้าจะเหยียบทุ่นระเบิดตอนเข้าตีเนิน 1428 นี้แหละ ยังจำได้ติดตาอยู่เลยภาพนี้
เท่าที่จำได้เราเสียF-5ไปหนึ่งลำและกำลังพลพร้อมทั้งยุทโธปกรณ์ไปมากมายรวมทั้งงบประมาณจำนวนมาก ในตอนแรกยุทธวิธีของเราผิดพลาดจึงเกิดการสูญเสียมากหลังจากได้บทเรียนแล้วเราปรับยุทธวิธีใหม่ที่สำคัญคือส่งหน่วยรบพิเศษเข้าไปรบกวนแนวหลังของข้าศึกตัดการส่งกำลังบำรุงจนกระทั่งข้าศึกต้องยอมเจรจาสงบศึก ทหารที่ทำการรบกับเราคือทหารลาวแต่ฝ่ายอำนวยการรบเป็นทหารเวียดนาม,คิวบาและอาจจะมีโซเวียตด้วยจึงทำให้เราเสียหายมาก ถ้าข้อมูลนี้ผิดพลาดก็ขอให้ผู้รู้จริงช่วยแก้ไขด้วยครับ
ตอบ อย่างมั่นใจ เราไม่แพ้ครับ เราชนะ
สมรภูมินี้ เป็นอดีตอันแสนรันทด ที่ทหารรุ่นนั้นต้องจดจำ (ยี่สิบสี่ปีที่แล้วผมยังเป็นร้อยโทหนุ่มๆ)
เป็นบทเรียนราคาแพง สำหรับการรบร่วม และการประสานการปฏิบัติในแนวหน้า/ขอบหน้าที่มั่น
เป็นภารกิจท่ี่น่าภูมิใจ ของ รพศ.
และเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งที่ทหารรุ่นใหม่ ควรศึกษา
ยอดความสูญเสียของทหารไทย 147 นาย นี้ เป็นยอดที่จริงหรือเปล่าครับ(เอามาจากในเน็ต) หรือว่ามากกว่านี้ วานผู้รู้ด้วยนะครับ หัวข้อนี้หวังว่าคงจะไม่กระทบกระเทือนความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 2 ประเทศ ไทย กับ ลาว ในปัจจุบันนะครับ
ไม่เคยไป ไม่เคยเห็น เกิดไม่ทัน แต่ได้ยินเขาเล่าให้ฟังว่า สูญเสียยกกองพัน
เคยมีอดีตทหารพรานค่ายปักธงชัย ที่ไปรบ เล่าว่าทหารไทยตายร้อยกว่า ถึงสองร้อย ฝ่ายลาวตายไปห้าร้อย
อันนี้จากคำบอกเล่าของทหารม้า กองร้อยทหารม้ากำลังหมอบในที่กำบังเพื่อรอเข้าตี หลังจากเครื่องบินโจมตีเป้าหมาย แต่อาจจะหมอบอยู่ใกล้เที่หมายมากเกินไปทำให้อาจทำให้ถูกรัศมีของระเบิดที่ทิ้งจากเครื่องบิน
ขอบคุณมากครับ ถามเพิ่มเติมนิดหนึ่งครับเราจะเอาคลิปจาก youtube ลงในหน้ากระดานนี้ยังไงครับ พอดีเล่นไปเล่นมาเจอคลิปบ้านร่มเกล้าอยู่คลิปหนึ่ง เสียงดนตรีประกอบนี้ฟังแล้วสะเทือนอารมณ์จริงๆ
คงจะได้อยู่มั่ง ลองดู
www.youtube.com/watch?v=FoOSTUR7GaU
thank you crub. happy new year in advance.
เกือบลืม........
ขอบคุณครับ.....
ขอบคุณทุกข้อความครับ รู้กระจ่างขึ้นมากครับ จะไปหาหนังสือมาอ่านดู
มีคนรวบรวมเอาไว้ให้อ่าน ตามลิงค์ข้างล่างครับ
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=14-12-2006&group=2&gblog=5
http://nirvanic.multiply.com/journal/item/4/4 <-- ใช้ Mozilla Firefox อ่าน
คุณ champ thai army ทุ่นระเบิดเอ็มสตอที่ทหารไทยโดนที่เนิน 1428 บ้านร่มเกล้าใช่รุ่นนี้หรือเปล่า M-14 กับ M-14A1 ทำจากสหรัฐ กับ อินเดีย จีนทำลอกแบบเรียก MN 79
เราเสีย F-5 ไป 1ลำ และ OV-10 อีก1ลำครับ UAV ก็โดนสอยไป 1ลำ ลาวยังไม่เอา MIG-21 ออกปฏิบัติการ แต่มีข่าวว่าเตรียมเช็คเครื่องแล้ว พอดีเจรจา่ซะก่อน ไม่งั้นเราอาจได้เห็นสนามบินวัดไต ในสภาพเรียบเป็นหน้ากลองก็ได้ครับ ป.ล.ถ้ามีใครบอกว่า F-16 เคยออกรบที่ร่มเกล้าและบรรยายเป็นฉากๆ ของการรบอย่าไปเชื่อนะครับเพราะข้อมูลนั้นมันมั่ว และช่วงนั้น F-16 3 ลำแรกยังมาไม่ถึงเมืองไทยครับ
โห ไม่นึกว่ารูปจะใหญ่ปานนี้ ขออภัยครับ
เอาเข้าจริงๆ ผมเกิดไม่ทันครับสมรภูมินี้ แต่เท่าที่ฟังมา (อีกแล้ว) เพือนที่เป็นรด.ได้ยินจากครูฝึก (รู้สึกจะเล่ากันหลายที่จริงๆ) ว่าทหารที่บุกขึ้นเนิน เจอกับระเบิดเยอะครับ คือเค้าสอนว่าเจอปืนใหญ่ให้หาที่กำบัง ก็เข้าไปหลบตามต้นไม้ ซึ่งลาวเค้าวางกับระเบิดไว้ครับ แล้วก็ได้ยินว่าลาวรบแบบเวียดนามครับ คือใช้ระบบอุโมงค์ใต้ดิน ขุดรูอยู่แบบเวียดกงรบกับมะกันนั้นละครับ
ปล.ที่กล่าวมาได้ยินเพื่อนเล่ามานานหลายปีมากแล้ว ผิดถูกอย่างไรขออภัยด้วยครับ
ลองอ่านบทความนี้ดูครับ ท่านได้เหรียญกล้าหาญในสมรภูมิร่มเกล้าด้วย
ผมชอบประโยคนี้ของท่านจริงๆ
ถึงแม้สงคราม "บ้านร่มเกล้า" จะสิ้นสุดลงไปแล้วเกือบ 20 ปี
แต่คนจำนวนหนึ่งซึ่งมีทัศนคติไม่ดีต่ออาชีพทหารยังคงสบประมาท และดูแคลนบุคคลในเครื่องแบบด้วยการใช้คำพูดเย้ยหยันเป็นทำนองว่า "ไทยรบแพ้ข้าศึก" ที่บ้านร่มเกล้า เกี่ยวกับเรื่องนี้พันเอกวัฒนชัยนิ่งไปชั่วครู่ ก่อนจะยิ้มจาง ๆ พร้อมกับกล่าวว่า
"ไม่เคยมีใครมาพูดแบบนี้ใส่หน้าผมนะ แต่ถ้าวันหนึ่งเกิดมีใครสักคนมาพูดจาอย่างที่ว่า ผมก็คงจะเอากำปั้นยัดปากหมอนั่นสักตูมแน่ ๆ"
http://www.iseehistory.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538623449&Ntype=12
จากรูป เนิน1428ลุกไหนครับ ลูกใกล้หรือลูกไกล
ที่ฝ่ายลาวยิงปืนใหญ่แม่น เพราะเขาทดลองระยะยิงทำแผนการยิงเรียบร้อยแทบครอบคลุมทุกตารางนิ้ว(เว่อร์ไป) พอเจอปุ๊บฝ่ายไทปุ๊บยิงหาผลได้เลย
ผมว่าน่าจะเพราะฝ่ายโซเวียตคิวบาหรือเวียตนามมาเป็นเสธ.ให้เนี่ยแหละ
ที่ผมอยากรู้คือ ยุทธวิธีรบแบบ"ป้อมค่าย" หรือ"เกาะติดฐาน" ใครเป็นคนคิดค้น มีใครเคยนำมาใช้ก่อนหรือไม่ เพราะถ้าไม่มีใครใช้มาก่อนเราอยู่ๆรบแล้วจะแพ้ ก็เกิดปิ๊งไอเดียขึ้นมามันก็น่าแปลกๆอยู่
แต่ก็ต้องยอมรับว่าทหารไทยเจ๋งจริง เพราะเวียดนามก็ใช่ย่อยรบติดๆกันมาหลายสมรภูมิกำหลังผีเข้า
อาวุธและยุทโธปกรณ์ของประเทศลาวในปัจุบัน ไม่รู้ว่าจะใช้งานได้สักกี่อย่าง โดยเฉพาะของสหรัฐอเมริกาที่ลาวยึดมาตอนรบกันภายในประเทศลาวในอดีต ซึ่งลาวฝ่ายที่เป็นคอมมิวนิสต์ชนะ (ลอกเขามาอีกทีหนึ่ง)
Lao Peoples Army
Armor
• PT-76 light amphibious tank Soviet Union - 25 operational
• T-54 and T-55 main battle tank Soviet Union - 30 operational
• T-34/85 (Reserve?)
• BTR-60P Wheeled Amphibious Armored Personnel Carrier Soviet Union - 70 operational
• M113 United States
• BTR-40 Soviet Union
• BTR-152 (30) Soviet Union
• M8 Greyhound (25) United States
Weapons
• Makarov PM semi-automatic pistol Soviet Union
• TT-33 semi-automatic pistol Soviet Union
• CZ70 semi-automatic pistol Czechoslovakia
• AK-47 assault rifle Soviet Union
• AKM assault rifle Soviet Union
• SKS semi automatic carbine Soviet Union
• Type 56 assault rifle Peoples Republic of China
• PPSh41 submachine gun Soviet Union
• MAT-49 submachine gun France
• RPG-2 rocket propelled grenade launcher Soviet Union
• RPG-7 rocket propelled grenade launcher Soviet Union
• Type 69 RPG rocket propelled grenade launcher Peoples Republic of China
• Strela 2 (SA-7) surface to air missile system Soviet Union
• Igla 1 (SA-16) surface to air missile system Russia
• M16A1 assault rifle United States
• M60 machine gun United States
• RPD Light machine gun Soviet Union
• PK Light machine gun Soviet Union
• SG-43 Medium machine gun Soviet Union
• DShK heavy machine gun Soviet Union
• RP-46 Soviet Union
Artillery
Soviet Union PM-41 M1938 82mm mortar
Soviet Union M43 82mm mortar
Soviet Union M1938 107mm mortar
Soviet Union M43 120mm mortar
Soviet Union M43 160mm mortar
Soviet Union M-46 130 mm towed field gun
Soviet Union D-30 122 mm howitzer
United States M101 howitzer (USA)
United States M114 155mm howitzer
United States M116 75mm packgun
United States M1 81mm mortar
United States M-2A1 107mm mortar
Anti-Tank
Soviet Union ZIS-3 76mm gun
Soviet Union B-11 107 mm Recoilless gun
Soviet Union AT-3 Sagger
United States M-40 106 mm Recoilless gun
United States 57mm: M-18/Al
United States 75mm: M-20
Anti-Aircraft
Soviet Union 61-K 37 mm Air defense gun
Soviet Union ZU-23-2 23 mm towed anti-aircraft gun
Soviet Union ZSU-23-4 23 mm self propelled anti-aircraft gun
Soviet Union Lavochkin SA-2 Guideline surface-to-air missile system
Soviet Union Isayev SA-3 Goa surface-to-air missile system
Soviet Union ZPU-1
Soviet Union ZPU-4
Soviet Union S-60 57 mm towed anti-aircraft gun
อันนี้เป็นข้อมูลของอากาศยานที่ใช้งานในกองทัพของของประเทศลาวในปัจจุบัน
Lao Peoples Liberation Army Air Force
Antonov An-24 Coke Soviet Union transport An-24 3
Antonov An-2 Colt Soviet Union utility An-2 10
Yakovlev Yak-40 Codling Soviet Union trainer Yak-40 2
Kamov Ka-32 Helix Soviet Union multirole helicopter Ka-32T 6
Mil Mi-6 Hook Soviet Union utility helicopter Mi-6 1
Mil Mi-8 Hip Soviet Union transport helicopter Mi-8 9
Mil Mi-17 Hip-H Russia transport helicopter Mi-17 12
Harbin Z-9 China utility helicopter Z-9 1
แซด9 1ลำ!! พึ่งทราบว่าเขาไปสอยมาด้วย อีกอย่างที่ถอยใหม่ก็คือ Igla 1 (SA-16) จรวดประทับบ่าต่อสู้อากาศยานจากรัสเซียครับ
ยุทธวิธี เกาะติดฐาน เราใช้มาตั้งแต่สมัยสู้กับ ผกค. แล้วครับ ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แม้แต่การรบที่ช่องบกกับเวียดนาม เจอวิธีนี้เข้าไป เวียดนามก็ไปไม่เป็นเหมือนกัน
สมัยนั้นแถวบ้านผมไม่มีทีวีเลยครับ มีแต่วิทยุ ทานิน 1 เครื่องที่บ้านยาย(ผมอยู่อุบลฯ) ตอนนนั้นผมยังเด็กมากไม่สนใจอะไร มีแต่พวกน้าผู้ชายที่ไปเป็นทหารเกณฑ์เล่าให้ฟังว่าเรารบกับลาว แต่ผมก็ไม่สนใจอะไร และเวลากลางวันจะได้ยินเสียงเครื่องบิน F-5 (สมัยนั้นผมเรียกว่าจรวด) จนผมมาเรียนที่โคราชได้ไปอ่านหนังสือพิมพ์เก่าๆถึงรู้ว่ามันเป็นเรื่องจริงและก็อ่านหนังสือเกี่ยวกับบ้านร่มเกล้าชื่อหนังสืออะไรจำไม่ได้ คลับคล้ายคลับคลาว่า วีรบุรุบ้านร่มเกล้า ประมาณนี้ ที่สำคัญมีเหตุการณ์หนึ่งที่ผมจำได้ดีและติดตาคือ(อันนี้ไม่เกี่ยวกับการรบที่บ้านร่มเกล้าแต่อยากเล่าให้ฟัง) ประมาณปี 2526 (อันนี้ผมคิดย้อนจากตอนที่เข้าเรียน ป.1)เป็นช่วงที่ยัง ผกค.อยู่ผมกับพ่อและน้องกำลังนั่งกินข้าวอยู่ที่กระท่อมตอนเที่ยง มีกลุ่มคนประมาณ 5-7คนมีปืนมาด้วยใส่ชุดเหมือนทหาร...เขามาถามพ่อผมว่าทางไปศรีษะเกษ ไปทิศไหน(เขาถามแค่ทิศทาง)พ่อผมบอกไปทิศใต้แล้วมีคนหนึ่งยกปืนขึ้นทำท่าเหมือนจะยิงแล้วพูดว่า อย่าไปบอกใครว่าเห็นพวกเขาถ้าบอกเขาจะกลับมาจัดการให้หมด ผมกลัวมากแต่ก็ไม่ได้ร้องอะไร พอพวกนั้นไปพ่อเรีบยพากลับบ้านแล้วพากันไปอยู่ที่บ้านปู่ซึ่งอยู่อีกอำเถอหนึ่ง บอกก่อนนะครับเมื่อ 24-25 ปีที่แล้วแถวบ้านผมมีแต่ป่ามีแค่ทางเกวียนสำหรับไปมาหาสู่แต่ละหมู่บ้านแล้วกลุ่มบ้านที่ผมอยู่มีอยู่ 3 หลังอยู่กลางป่า แต่เดี๋ยวนี้เหลือแต่ตอกับป่าละเมาะ และบ้านเรือนตรึม มีรถกระบะทุกบ้าน