Enstrom แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา จะส่งมอบ เฮลิคอปเตอร์ฝึกบินแบบ Enstrom 480B ให้กับกองทัพบกไทย อีกจำนวน 4 ลำ ภายในต้นปีหน้านี้
เมื่อช่วงวันที่ 14 - 22 พฤศจิกายน 2554 ที่ผ่านมา คณะเจ้าหน้าที่ตรวจรับฝ่ายไทย ได้ทำการตรวจรับ เฮลิคอปเตอร์ Enstrom 480B ทั้ง 4 ลำ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำส่งมาที่ประเทศไทย โดยตามกำหนดจะมาถึงเมืองไทย ในช่วงต้นปีหน้า
การนำ่ส่งเฮลิคอปเตอร์ 4 ลำ นี้ เป็นล็อตที่สาม โดยสองล็อตแรกมีการส่งมอบให้กับกองทัพบกไทยแล้วจำนวน 6 ลำ จากที่สั่งซื้อทั้งหมด 16 ลำ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าเฮลิคอปเตอร์ Enstrom 480B ล็อตที่สามที่ทำการนำส่งนี้จะได้รับการทำสีเป็น "สีเขียว" ตามแบบของ ทบ. และ ฮ. Enstrom 480B ที่จะได้ทำการนำ่ส่งในงวดต่อไปหลังจากนี้จะเป็นสีเขียวทั้งหมด นับรวมล็อตนี้ก็ 10 ลำ พอดี
และมีข่าวว่า ฮ.Enstrom 480B จำนวน 6 ลำ ที่ได้ทำการส่งมอบและบรรจุเข้าประำจำการในกองทัพบกไทย ไปก่อนหน้านี้ ก็จะได้รับการทำสีเป็นสีเขียวด้วยเช่นกัน สาเหตุก็เนื่องจากว่าทางกองทัพบก พอใจในสมรรถนะของเครื่อง ซึ่งสามารถนำเครื่องไปปรับใช้ในภารกิจอื่นได้ด้วย นอกเหนือจากการใช้งานเป็นเฮลิคอปเตอร์ฝึกบินตามปกติ และจากการประเมินผลการใช้งานเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าว "อยู่ในระดับดี"
ขอขอบคุณภาพถ่ายและรายละเอียดจาก Mlandarch Aviation Uav
http://thaidefense-news.blogspot.com/2011/12/enstrom-480b-4.html
มันบังคับทิศทางอย่างไร ในเมื่อมันไม่มีคันโยกสองอันเหมือน ฮ.ทั่วไปที่ต้องมีตัวบังคับโรเตอร์ หรือมันบังคับจากโรเตอร์คัดท้ายแทน
สงสัยจะใช้ระบบถ่ายเทน้ำหนัก นักเรียนกัยครูฝึก ต้องโหนเอา อย่างขับมอเตอร์ไซค์
เป็นการฝึกทักษะแบบโหด เมื่อได้มาขับเครื่องปฏิบัติจริง จะกลายเป็นเรื่องง่ายๆ ^^
เป็นเฮลิคอปเตอร์ที่หน้าตาน่าเกลียดที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา - -"
ฮ.รุ่นนี้ ตรงเกนโรเตอร์หลัก มันโล่งๆ การควบคุมท่าทางการบิน มันใช้ระบบไหนครับ
กระทัดรัดเเละสวยดีครับ เเต่สงสัยจังว่า ขีดความสามารถของเจ้า Enstrom 480B นี่ นอกขากนำมาเป็นเครื่องฝึกหัดเเล้ว
สามารถติดอาวุธ อาทิ สามารถติดกระเปาะปืนใหญ่กล 7.62mm หรือ 12.7mm
หรือ ติดกระเปาะจรวด เหมื่อนพี่ AS550 ได้ป่าวครับ
ที่โรเตอร์มันโล่งๆเพราะไม่ใช้ ฮ.แบบปรับมุมใบพัดบังคับทิศทางอะครับ แต่เป็นแบบเอี่ยงเครื่องหรือเพลาแทน (มั่วถูกเปล่าหว่า)
โรเตอร์หลักดูบอกบางจัง
เป็น ฮ.ที่น่าทึ่งมากเพราะ ซื้อมาแพงกว่าราคาที่ประเทศอื่นซื้อกว่าสองเท่าตัว
16 ลำไว้ฝึก มี ฮ.ปฎิบัติการณ์ได้ ถึง 50 ลำหรือเปล่าอะ ทบ.ไทย เอาตังไปซื้อ ฮ.ใช้งานดีกว่ามั่ง
อันนี้เท่าที่สังเกตุนะ ไม่มีวิชาการใดมาอ้างอิง..................ลักษณะการหมุนของใบพัดประธานค้อปเต้อร์ น่าจะมีสองแบบ คือ แบบ ทุกกลีบหมุนในระนาบเดียวกัน กับอีกแบบ คือ มุมในแกนเอ็กซ์ของแต่ละกลีบ เปลี่ยนแปลงได้ในหนึ่งรอบการหมุน ..........................
คือต้องเข้าจัยก่อนว่า ค้อปเตอร์มันเคลื่นที่ได้งัย................ข้อแรกคือต้องมีแรงยก................. ใบพัดหมุนในแนวระนาบ เกิดแรงลมทิศทางตรงข้ามกับแรงดึงดูด ทำให้คอปเตอร์ยกตัวลอยขึ้น การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าและการหันเลี้ยว ก็โดยการเอียงระนาบด้านบนของวงหมุนไปในทิศทางนั้น ก็จะมีแรงลมออกไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่.................. ใบพัดที่หมุนเป็นระนาบเดียวเป็นอะไรที่เบสิค มีต่อ
ถ้าฟังจากเม้นเพื่อนข้างบน ก็จะเห็นว่าการเองมุมระนาบใบพัดมีสองแบบ แบบแรกคือ แกนเพลาอยู่กับที่ คือไงก็ยังตั้งโด่เก้าสิบองศากับตัวคอปเตอร์ แบบนี้ก็ต้องใช้หลักการเดียวกับล้อหน้าลดยนต์ หรือไม่ก็กระดูกเบ้าขาที่ต่อกับเชิงกราน เป็นลูกกลมๆหมุนอยู่ในเบ้าให้ปรับมุม อ่ะนะ.........อีกแบบก็คือ ใบพัด แกนเพลา เครื่อง อยู่ด้วยกัน การส่ายเลียวก็ไปมันทั้งชุดเลย นึกไม่ออกให้นึกถึงซาเล้ง เพียงเต่ซางเล้งหมุนแกนเดียว ค้อปเตอร์สองแกน ......................ทีนี้เกิดผมมีไอเดียใหม่ (จริงไม่ใหม่หร็อก มันก็คือหลักการณ์ที่ใช้ทุกวันนี้) แทนที่จะหมุนแบบแบนๆเป็นระนาบ มีต่อ
ผมออกแบให้ แต่ละกลีบสามารถยกเป็นมุมจากระนาบได้................สมมติในการหมุน ผมปรับมุมให้แต่ละกลีบยกขึ้นหาองศา ทีนี้ก็จะเห็นว่า แทนที่ลมมันจะพ่นออกเป็นทรงกระบอก มันก็จะพ่นออกเป็นทรงกรวย ลักษณะเช่นนี้ น่าจะทำให้เกิดเสถียรภาพมาก คือถ้าเปรียบก็คือ เหมือนยืนบนทรงกระบอก กับยืนบนกรวยหัวตัด ยังไงแบบหลังโอกาสโค่นทั้งคนทั้งฐานรองก็น้อยกว่า...............ทีนี้การบังคับทิศทางก็คงเหมือนกับแบบแรก แต่คิดว่าน่าจะหนักไปในทางเบ้า ไอ้แบบไปทั้งชุด เอียงทั้งชุดน่าจะมีน้อยหรือแทบไม่มี เนื่องจากมันต้องใหญ่และแข็งแรงจริงๆ อีกอย่างคือ มันน่าจะเปลืองพื้นที่ เพราะอะไรที่เคลื่อนที่ได้หรือจำเป็นต้องเคลื่อนที่ เราต้องเตรียมพื้นที่ให้มัน
เอ่อ ขอแก้พาราก๊าบแรกหน่อย..................... ที่บอกว่า มีสองแบบคือ แบบ ระนาบเดียว กับแบบแต่ละกลีบเปลี่ยนมุมได้ในหนึงรอบการหมุน ขอเปลี่ยนเป็น แบบ ระนาบเดียว กับแบบกลีบเปลี่ยนมุมได้ คือถ้าเรายืนมองอยู่กับที่ แบบแรกเวลามันหมุนและเอีงระนาบ เราก็จะเห็นว่ามันเปลี่ยนมุมจากแกนเอ็กซ์ไปในหนึ่งรอบการหมุนเหมือนกัน
สะกิดใจตรงนี้ครับ
กองทัพบกพอใจในสมรรถนะของเครื่อง ซึ่งสามารถนำเครื่องไปปรับใช้ในภารกิจอื่นได้ด้วย
ภารกิจอะไรเหรอครับ ลาดตระเวณ กู้ภัย โจมตี หรือรับ-ส่ง VIP ?
ปล.อยากทราบว่า ฮ. AS550 สามารถใช้เป็น ฮ.ฝึกได้มั้ยครับ (รู้สึกว่าฮ.ของทบ.จะหลายแบบมากเกินไป)
เห็นด้วยกับท่าน SSA ครับ ตอนนี้ ฮ.ของ ทบ. รู้สึกว่าจะมากแบบเกินไปแล้ว
ช่วงที่ผ่าน ๆ มาได้ ฮ. เข้าประจำการหลายแบบมาก ทั้ง Estrom480B,AS550,MI17 รวมถึง UH-60M ที่จะมาในอนาคต
ทบ.น่าจะมีแผนพัฒนาที่ชัดเจนได้ซะทีเพื่อลดปัญหาที่จะเกิดจากการประจำการมากแบบเกินไป ไม่ใช่ว่า ฮ.ที่เลือกมาจะไม่ดีน่ะครับ
แต่ว่าเหมือนเลือกมาไม่ตรงวัตถุประสงค์เลย น่าจะแยกไปเลยว่าภารกิจไหนใช้ ฮ.แบบไหน เหล่าทัพที่น่าประทับใจที่สุดในการเลือก ฮ.ประจำการ
คงหนีไม่พ้น ทร. ที่เลือก ฮ.ได้ตรงภารกิจและทันสมัยจริง ๆ
อนาคตการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของกองทัพคงจะยากขึ้น เพราะว่าปัจจุบันประชาชนและสื่อมวลชนใส่ใจข่าวกองทัพมากขึ้น
ทั้งจาก social network และข้อมูลต่าง ๆ ที่เริ่มจะรับรู้ได้ง่ายขึ้น ทำให้การจัดซื้ออาวุธของกองทัพต้องแสดงถึงความโปร่งใส ตรวจสอบได้
และต้องได้รับการยอมรับว่าคุ้มค่าแก่เงินที่เสียไป ก็คงจะได้เห็นกันในระยะเวลาอันใกล้นี้ล่ะครับ
ปอลิง.ท่านกบหายไปนานเลยน่ะครับ กลับมาสาระมาเพียบเลย ^^
ถ้าเป้นEC-130 จะไม่ว่าซักคำ นี่อะไร เป็นฮ. ที่ขี้เหร่มากๆ แอบแพงอิก
เคยมีคนพูดว่า...เป็น ฮ.โอทอป...ไม่รู้จริงหรือเปล่า...อันนี้ไม่ได้ว่านะครับแต่มันมองแล้วผมว่าไอ้มองปิหัวใสที่เราใช้มาตั้งแต่40ปีที่แล้วยังดูดีกว่าเลย
ไม่ได้ต่อว่าแต่ตั้งข้อสังเกตครับ..ทำไม ฮ.มันก็องแก็งมากๆเหมือนรถกระป๋อง....ผมสงสารครูการบินกับนักเรียนการบินครับ....ขอโทษนะครับที่ต้องใช้คำนี้...
อย่าไปว่าก็องเก็งเชียวนะ ไฟฉายข้างหน้า ใช้หลอด LEDไอ้... 555 เอิ๊กๆ...
อย่าไปว่าก็องเก็งเชียวนะ ไฟฉายข้างหน้า ใช้หลอด LEDโอ้... 555 เอิ๊กๆ... (เขียนผิดบ่อยๆจัง)
ตอบคุณกบนะครับ
ผมว่าการที่จะให้แรงยกกระจายออกเป็นรูปกรวยหัวตัดคว่ำเพื่อให้มีเสถียรภาพนั้นจะทำให้แรงยกน้อยลงไปสิครับ พอแรงกระจายออกด้านข้างความหนาแน่นของแรงยกต่อพื้นที่น้อยลงก็ต้องเพิ่มแรงเครื่องยนตร์ขึ้นไปอีก ยิ่งแรงยกไม่ได้เป็นแนวดิ่งตั้งฉากกับพื้นยิ่งต้องใช้แรงมากกว่าเดิมมาก เพราะแรงยกของอากาศไม่ได้ติดกันเป็นชิ้นเดียวเหมือนกรวยแต่เป็นอนูเล็กๆเป็นกลุ่ม
การที่แรงยกกระจายออกไปด้านข้างหรือในแนวทะแยงกับพื้น แรงต้านจากพิ้นก็จะน้อยกว่าทำให้แรงที่ดันลงมาจากใบพัดเสียไปเปล่าๆมากกว่าดิม(ลมจากใบพัดแทนที่จะกดลงกับพื้นตรงๆแล้วกระจายออกข้างก็จะชิ่งออกข้างแล้วกระจายออกไป)
หวังว่าเข้าใจที่ผมพูดนะครับ
ถึงเปรียบเทียบกับรูปทรงกรวยด้วยวัตถุก็ได้ผเดียวกัน สมมติกระดาษม้วนเป็นรูปทรงกระบอกเป๊ะ จะแข็งแรงรับน้ำหนักได้มาก แต่ก็ล้มง้ายกว่า ลองเอากระดาษม้วนเป็นรูปกรวยตัดหัวทิ้งแล้ววางของที่น้ำหนักเท่ากับน้ำหนักสูงสุดที่รูปทรงกระบอก(ใช้กระดาษชิดเดียวกัน)รับได้ รับรองว่้ารูปกรวยยุบยวบยาบ
การแก้คือใช้กระดาษที่หนาขึ้นทำรูปกรวย ซึ่งก็เหมือนการเพิ่มแรงเครื่องยนตร์(เช่นที่กล่าวถึงตอนแรก)เข้าไป
ผมว่าเรื่องแรงยกไม่ว่าจะเป็นรูปกรวยหรือว่าทรงกระบอก แรงที่ได้จากพื้นที่หน้าตัดวงรอบของใบพัด มันจะได้เท่ากันครับ/หรือแตกต่างกันแค่นิดหน่อย
เพียงแต่ในมุมมองของผมจะมองว่า การจะได้แรงยกที่มันกระจายออกมันจะทำให้ตัวเครื่องมีความนิ่งหรือเสถียรมากกว่านะครับ นึกถึงเรายืนอยูบนอะไรสูงๆที่มีฐานแคบๆ มันไม่มั่นคงนะครับ แต่การบังคับทิศทางถ้ากระแสลมเป็นลักษณทรงกระบอกจะทำได้ไวกว่า มีการตอบสนองที่ฉับไวกว่า ซึ่งย้อนกลับไปเรื่องให้ได้กระแสลมที่จะได้รูปทรงกระบอก แต่โดยธรรมชาติแล้วจะต้องได้เป็นรูปกรวยอยู่แล้ว เพราะความหนาแน่นของกระแสมันจะต้องถ่ายแทหรือกระจายไปยังที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า นั่นก็คือบริเวณรอบๆ แต่ถ้าจะให้ได้รูปทรงกระบอกมากที่สุด ก็ต้องใส่ขอบครอบใบพัดเพื่อไม่ให้กระแสลมกระจายตัว ซึ่งในทางปฏิบัติมันทำให้เกิดความยุ่งอยากในการสร้างและออกแบบ และไม่คุ้มกับสิ่งที่ได้ ซึ่งเฮลิคอปเตอร์โดยทั่วไปคงไม่ได้ต้องการกระแสลมที่เป็นทรงบอกแบบนั้น มากขนาดที่ว่าต้องจำเป็น
นี้มันสุดยอด ฮ.ในตำนานนี้นา ขนาดเล็กราคาถูกน้ำหนักเบาใช้ได้หลายภารกิจ ฮ่าๆๆ
ผมคิดว่าคงมีเหตุผลน่าจะสำคัญมากที่ซึ้อฮ.ตัวนี้ ส่วนผมเอง
ไม่ทราบว่าเหตุผลอะไร แต่คิดว่าเอามาใช้จริงควรเป็นฮ.เกษตร
หรือฮ.ฝึกนักเรียนฝึกหัดน่าจะเหมาะสมที่สุด เรื่องราคาสูงกว่า
ที่ขายกันมาตราฐาน ควรแจงให้รู้ให้เกิดความโปร่งใสน๊ะครับ ตลาด
ฮ.เล็กราคาถูกมีให้เลือกหลายบริษัท
วิดีโอสารคดี กำเนิด/สร้างเฮลิคอปเตอร์ ภาษาไทย ตอนช่วงกลางคลิปมีการอธิบายหลักการควบคุม การบังคับใบพัด เพื่อควบคุมการเคลื่อนที่
http://www.youtube.com/watch?v=VZxZ7Xl7gLk&feature=related
แปบเดียวกลายเป็นห้องออกแบบ ฮ. ไปแล้ว
ไอ้ตัว swashplate หรือตัวที่ควบคุมองศาของใบพัดแต่ละใบ โดยถ้าปรับทุกใบเท่าๆ กัน (collective pitch) หรือปรับให้แต่ละใบเปลี่ยนองศาในหนึ่งวงรอบ (cyclic pitch) เขียนเองงงเอง เอางี้หารูปให้ดูดีกว่า
คือจะบอกคือของเจ้า enstrom 480b เนี่ยมันอยู่ในต้วเครื่อง เลยมองไม่เห็น แล้วตัว push rod หรือแท่งที่อยู่ในแนวตั้งที่ดันใบพัดให้ปรับองศามันอยู่ใน Drive shaft (mast) หรือแกนใบพัดหลัก
ตอบ คุณ : tongwarit
เหมือนผมเคยอ่านเจอ(นานมาหละสมัยเรียน)ไอ้พวก ฮ.เล็กๆแกนบางๆแบบ Enstrom 480B นั้นมันใช้การเอียงเครื่อง(เครื่องมันก็ติดกับเพลานั้นแหละ เพลาก็ติดกับใบพัด)หรือเพลาในการบังคับทิศทางนะครับ และก็ใบพัดมันจะเป็นแบบฟิคองศาด้วย(ปรับมุมองศาปะทะไม่ได้อะนะ) ซึ่งเป็น ฮ.ที่บังคับการเคลื่อนที่ไม่เหมือนแบบ ฮ.ทั่วไปอะ(ฮ.ปกติมันเป็นแบบของอีตา อีกอร์ ในคลิปข้างบน) อธิบายไม่เก่งอะ แต่การเอี่ยงเครื่องมันจะเหมือนๆกับ V-22 ตอนที่มันจะลงจอดอะ และก็จะเกทเลยถ้าดู คลิป ฮ.เล็กตัวของ MATSUMOTO
http://www.youtube.com/watch?v=nh2Ym7ehb8k&feature=player_embedded#!
ผมก็ไม่ชัวร์เท่าไรนะ เพราะไม่ได้เห็นเครื่องแต่น่าจะประมาณนี้มากกว่า
ตัวปรับแกนใบพัดมันไปอยู่ที่เปลือกแกนเพลาแทน
ฮ.ทั่วไปจะมีชุดสวาชเผลทอยู่ที่ไต้ชุดเมนโรเต้อร์รอบนอกของเพลาโรเต้อร์เพื่อควบคุมมุมปะทะของกลีบโรเต้อร์แต่ละกลีบโดยมีก้านลิ้งค์จากโคนกลีบโรเต้อร์มายังชุดสว้าชเผลทเมื่อชุดสวาชเผลทเลื่อนขึ้นลงหรือเอียงก็จะทำให้มุมปะทะของโรเต้อร์แต่ละกลีบเปลี่ยนไปตามการบังคับของนักบิน แต่ฮ.อุตริลำนี้ใช้เพลาโรเต้อร์ที่กลวงทะลุลอดห้องเกียร์ลงมาข้างล่างแล้วใช้ก้านลิ้งค์ควบคุมกลีบโรเตอร์ลอดลงมาในเพลาโรเต้อร์ต่อกับชุดสวาชเผลทที่ซ่อนอยู่ในลำตัวภายไต้ชุดเกียร์เราจึงมองไม่เห็นชุดสวาชเผลทเหมือนฮ.ทั่วไป จึงมองดูโล่งฯ พิจารณาได้จากรูปของท่านBanyatครับ
อ้าวว เห้นรูปถึงบางอ้อเลยครับ ดีใจครับ ที่ไม่ต้องเหนนักกับนักเรียนต้องโหนเครื่อง ^^
ท่าน banyatสุดยอด หารูปมาได้ไงเนี่ย? ซูฮกๆ
สงสัยผมจะมั่ว จริงๆ ด้วย เคยเห็นเหมือนกันแต่มันอันสูงๆเลยไม่คิดว่าจะใช่(ตกยุคแล้วอะผม)
มันคงจะมีหลายวิธีการ ละนะ
แต่รูปข้างบนนี้ เหมือนมันจะปรับได้แบบพร้อมกันทั้งสองใบ แล้วมันจะเอียงซ้าย-ขวา -หน้า-หลัง ได้ยังไง
ถามต่อครับเพื่อความรู้... แล้วในเมื่อแกนโรเตอร์มันกลวงแบบนี้มันจะใผลต่ออายุการใช้งานของชุดแกนโรเตอร์หรือไม่...และเมื่อบรรทุกหนักเกินกว่านักบิน 2 คนแล้วมันจะทำให้เกิดอาการล้าของแกนโรเตอร์เมื่อต้องรับภาระกรรมเพิ่มขึ้นหรือไม่
คือ...................จริงๆแล้วเนี่ย การเพิ่มแรงยก และหรือ การเพิ่มแรงส่งไปในทิศทางต่างๆของค้อปเตอร์ ก็คือการเพิ่มแรงลมของใบพัดประธาน ทีนี้ไอ้การเพิ่มดังกล่าวเนี่ย มันมีสองวิธี วิธีแรกคือการเพิ่มรอบใบพัด แต่สำหรับเครื่องเทอร์โบชาร์ฟของค้อบเตอร์ รอบมันจะคงที่ การเพิ่มจึงมีวิธีเดียวคือ เพิ่มมุมของกลีบใบ ถ้าเป็นใบจักรเรือเค้าจะเรียกปรับพิท กินลมมากกินลมน้อย กินน้ำมากกินน้ำน้อย ก็ตรงนี้ .............. ยอมรับว่าเป็นความรู้ใหม่ ที่ ในหนึงรอบการหมุน กลีบใบ สามารถปรับพิท เปลี่ยนแปลงมุมหลายๆมุมต่างกันได้ในหนึ่งวงรอบ..............ส่วนที่ถกกันตอนแรกในความหมายข้าพเจ้าคือ การปรับมุมในแบบกระดกกลีบใบ(นึกถึงเครื่องเล่นปลาหมึกหมุนที่สวนสยาม)....................... การปรับพิทช กลีบใบเป็นอะไรที่เบสิคอยู่แล้ว คอปเตอร์ทุกลำต้องทำได้ แต่เปลี่ยนมุมต่างๆกันไปในหนึ่งวงรอบได้ทุกลำหรือเปล่า อันนี้ไม่รู้.................
ขออภัย เทอร์โบชาฟท์ เขียนผิด
......เห็นแล้ว คิดถึง "อีแตน"
จากคลังภาพ อากง เอ๊ย.. อากู๋
เอาใหม่......
จะยอมแล้ว...
ได้ความรู้ครับ
แต่ ที่ว่า แพงกว่าชาวบ้าน...บอกได้ไหมราคาจริงเท่าไหร่ครับ..ไม่เกี่ยวการเมือง