หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


คิดอย่างไรกับการที่อเมริกาพยามเพิ่มอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยการดึงอินเดียเข้ามาร่วม

โดยคุณ : ALPHA001 เมื่อวันที่ : 09/12/2011 14:05:57

ตามชื้อกระทู้เลยครับ พอดีไปอ่านการวิเคราะห์ของเวป DTI มาเขาวิเคราะห์ไว้สั้นๆจากการประชุม รมต .อาเซียน  เลยมาขอความคิดเห็นของเพื่อนสมาชิก โดยวิเคราะห์จากเหตุผล 3 ด้าน

 1.การเมืองระหว่างประเทศ

 2.การทหาร

 3.เศรษฐกิจ

 





ความคิดเห็นที่ 1


สวัสดีครับ

โดยคุณ severodvink เมื่อวันที่ 07/12/2011 21:52:22


ความคิดเห็นที่ 2


ยุทธการปิดล้อมจีน ลองหาดูสื่ออินเดียดี ๆ หลาย ๆ ช่องนี่เอียงชัดเจน

โดยคุณ Banyat เมื่อวันที่ 08/12/2011 00:38:22


ความคิดเห็นที่ 3


1.ความสัมพันธ์ที่ดี นอกจากจะเป็นการขยายตลาดการค้าแล้ว(อินเดียคนเยอะ) คงเป็นการหาพวก(หรือสร้างพันธมิตรที่แน่นแฟ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ ประมาณให้ได้แบบ เกาหลีใต้ กับ ญี่ปุ่นอะ)ถ้าสำเร็จคงเป็นการลดทอนอิทธิพลของจีนในภูมิภาคนี้แน่นอน นั้นน่าจะเป็นความต้องการหลักของลุงหนวด ก็อาหมวยเราช่วงหลังๆมานี้เริ่มทำตัวแรงมาตลอด(หรือเค้าแรงมานานแล้ว) เป้าล่อตัวเด็ดๆในภูมิภาคนี้ก็คงหนีไม่พ้น เกาหลีเหนือ ใต้หวั่น พม่า มาเกาหลีเหนือและพม่าก็ถ้าลุงหนวดเราคิดจะทำอะไร อาหมวยเราก็คงไม่ยอมแน่นอน ส่วนใต้หวั่นถ้าอาหมวยคิดจะทำอะไร ลุงหนวดเราเองก็คงไม่ยอม การดึงอินเดียเข้ามาเพื่อสร้างแรงต้านอิทธิพลจีนจึงมีความน่าจะเป็นสูง(ทั้ง จำนวนคน อิทธิพลด้านการค้า การทหาร ก็ใกล้เคียงกันระหว่างอินเดียและจีน)การ ขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังรวมถึงด้านเศรษฐกิจด้วย โดยการสร้างเงื่อนไขทางการค้าเพื่อผลลัพธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศ

 

2.ใน เอเชีย มีอยู่ไม่กี่ประเทศที่จีนเค้าต้องเกร่งใจ ไม่เว้นกองทัพอันดับ 4 ของโลกอย่างอินเดีย(ซึ่งน่าจะเป็นเป้าหมายหลักของลุงหนวดเค้า)

 

3.แน่นอนอินเดียมีประชากรมาก แรงงานถูก ความสัมพันธ์อันดีย่อมมีผลดีกับเศรษฐกิจลุงหนวดเค้าทั้งด้านตลาดและแรงงาน



โดยคุณ potmon เมื่อวันที่ 08/12/2011 01:05:39


ความคิดเห็นที่ 4


ในความคิดของผมก็คล้ายกันครับ คือการปิดล้อมอิทธิพลของจีนที่ในภูมิภาคนี้ ทั้งทางด้านการทหาร...เศรษฐกิจ...และการเมืองระหว่างประเทศ...ถ้าเมื่อไหร่จีนมีอิทธิพลมากขึ้นในภูมิภาคนี้ อเมริกาจะทำอะไรก็จะยากขึ้นเพราะจีนจะมีทางออกทางทะเลมากขึ้น เพราะทุกวันนี้จีนมีทางออกทะเลเพียงด้านตะวันออกด้านเดียว อย่างกรณีพม่าก็มีข่าวว่า รมต.การต่างประเทศของอเมริกากำลังจะเยือนพม่าอย่างเป็นทางการด้วย การออกตัวครั้งนี้ของอเมริกายังหนีบเอาอินเดียมาร่วมด้วย ซึ่งที่รู้กันอยู่ว่าจีนกับอินเดียเขาก็มีความสำพันธ์ลุ่มๆดอนๆ และระยะหลังอินเดียก็เริ่มจัดหาอาวุธจากอเมริกามากขึ้น(หรือมีมานานแล้วแต่เป็นความลับหว่า) งานนี้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คือสมรภูมิการเมืองระหว่างประเทศของมหาอำนาจเก่าและใหม่อย่างเหลียกเลี่ยงไม่ได้ พวกเราที่ยืนอยู่ตรงกลางยิ่งลำบากใจเพิ่มขึ้น

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 08/12/2011 05:31:47


ความคิดเห็นที่ 5


สงครามจีน-อินเดีย ในปี 1962

The crushing moment: China India 1962 war - Part 1 - 2

โดยคุณ jazz เมื่อวันที่ 08/12/2011 07:03:36


ความคิดเห็นที่ 6


อันนี้เป็นบทความที่เขาวิเคราะห์ไว้ครับ

19th asean summit

การประชุมสุดยอดผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนครั้งที่ 19 หรือ 19th ASEAN Summit ซึ่งจะจัดขึ้นที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซียระหว่างวันที่ 17 – 19 พฤศจิกายน นี้ ได้รับการจับตามองอย่างมากหลังจากที่ชาติมหาอำนาจต่างๆ ได้ตอบรับเข้าร่วมการประชุมมากมาย โดยเฉพาะที่ถือเป็นไฮไลท์สำคัญของงานคือการตอบรับเข้าร่วมประชุมของ ประธานาธิบดี บารัค โอบามา โดยยืนยันว่าจะมาร่วมประชุมในวันที่ 19 ส่วนรัสเซียและจีนก็ไม่พลาดงานนี้เช่นกัน ซึ่งรัสเซียเตรียมจะส่งนายกรัฐมนตรีวลาดิเมียร์ ปูติน มาเข้าร่วมประชุมเลยทีเดียว ASEAN Summit ครั้งนี้เลยกลายเป็นงานช้างขึ้นมาโดยปริยาย และถือเป็นการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่น่าจับตามองมากที่สุดครั้งหนึ่ง นับแต่เข้าสหัสวรรษใหม่

การประชุม ASEAN Summit ครั้งนี้ได้เริ่มโหมโรงความน่าสนใจตั้งแต่เมื่อนางฮิลลารี คลินตัน ได้กล่าวถึงนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ว่า “อนาคตของการเมือง(ระหว่างประเทศนั้น) จะอยู่ในเอเซีย ไม่ใช่ในอัฟกานิสถานหรืออิรัก และสหรัฐฯ จะอยู่เป็นจุดศูนย์กลางของกิจกรรม(ระหว่างประเทศ)นั้น” (The future of politics will be decided in Asia, not Afghanistan or Iraq, and the United States will be right at the centre of the action.) พร้อมกับยืนยันในระหว่างประชุม ASEAN Regional Forum ที่บาหลีประเทศอินโดนีเซียในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่าประธานาธิบดีบารัค โอบามา ยืนยันจะมาร่วมประชุม ASEAN Summit ครั้งที่ 19 นี้อย่างแน่นอน คำกล่าวและคำยืนยันว่าจะมาเข้าร่วมประชุมสุดยอดดังกล่าวของผู้นำสหรัฐฯ นั้น ถือเป็นสัญญาณที่สำคัญว่าสหรัฐฯ พร้อมที่จะกลับมาให้ความสำคัญกับภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้อีกครั้ง หลังจากที่สหรัฐฯ ทุ่มเทให้กับสงครามในตะวันออกกลางในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

ปัจจุบันภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ถือเป็นตลาดส่งออกอันดับสี่ของสหรัฐฯ โดยมีพันธมิตรภายในภูมิภาคที่เหนียวแน่นอย่างฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ รวมทั้งประเทศไทย แต่เมื่อมองในส่วนของความมั่นคงแล้ว ด้วยเหตุการณ์ที่ผ่านมาในรอบปี และคำกล่าวของนางฮิลลารีในข้างต้น รวมถึงการที่สหรัฐฯ มองประเทศจีนเป็นภัยคุกคามต่อผลประโยชน์แห่งชาติในระดับต้นๆ นั้น อาจเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ จะมองภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่สำคัญในอันดับหนึ่งที่มีผลต่อการรักษาอำนาจในทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในอนาคต การประชุมสุดยอดในครั้งนี้จึงเป็นเหมือนการเข้ามาแสดงพลังอย่างชัดเจนของสหรัฐฯ และพันธมิตรในภูมิภาคเอซีย-แปซิฟิคอย่างญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และอินเดีย ที่แสดงเจตน์จำนงในการเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ด้วย นอกจากนี้ ยังเป็นการเข้ามาสร้างพันธมิตรใหม่กับประเทศที่เคยแสดงท่าทีเป็นศัตรูระหว่างกัน อย่างอินโดนีเซีย ซึ่งสหรัฐฯ เคยประณามปัญหาสิทธิมนุษยชนของอินโดนีเซียจากการปราบปรามผู้ประท้วงในติมอร์ตะวันออก ปาปัวตะวันตกและในจังหวัดอาเจะห์ และประเทศอย่างเวียดนามที่ไม่จำเป็นต้องพูดถึงว่าสหรัฐฯ เคยฝากรอยแผลอะไรไว้บ้าง รวมถึงประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า ซึ่งกำลังมีท่าทีความสัมพันธ์ระหว่างกันที่ดีขึ้นเรื่อยๆ

สำหรับเหตุผลที่สหรัฐฯ ต้องการเข้ามามีบทบาทสำคัญอีกครั้งนี้ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ คงเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ นอกจากการที่สหรัฐฯ ต้องการลดและยับยั้งการแผ่ขยายอำนาจของประเทศจีนในเวทีโลก ต้องยอมรับว่า หลังจากที่สหรัฐฯ ได้หันไปให้ความสำคัญในตะวันออกกลางอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้จีนได้โอกาสเข้ามาแผ่ขยายอิทธิพลทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และความมั่นคงอย่างมากในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ด้วยการที่การดำเนินการทางความสัมพันธ์ของจีนในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นั้นไม่ได้มีแค่แบบเป็นมิตร แต่ยังมีแบบแข็งกร้าว ประเทศหลายประเทศจึงต้องการให้สหรัฐฯ กลับเข้ามาให้ความสำคัญกับภูมิภาคนี้อีกครั้งเพื่อเป็นการรักษาดุลย์ทางอำนาจกับประเทศจีน โดยเฉพาะประเทศที่มีปัญหาข้อพิพาทดินแดนในน่านน้ำทะเลจีนใต้กับจีน ซึ่งสถานการณ์ก็ประจวบเหมาะกับการที่สหรัฐฯ เองก็เหมือนเพิ่งกับเสร็จกิจกับภูมิภาคตะวันออกกลางมาพอดีหลังจากที่ บิน ลาเดน ถูกสังหาร ทำให้การประชุม ASEAN Summit ครั้งนี้ กลายเป็นเสมือนงานเปิดตัวการกลับมาของสหรัฐฯ สู่ภูมิภาคนี้อย่างเป็นทางการก็ว่าได้ หลังจากได้ดำเนินการทางการทูตทั้งทางตรงและทางอ้อมหลากหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม อาเซียนต้องไม่ลืมว่าตัวเองกำลังจะเปลี่ยนตัวเองเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2015 ที่อาเซียนเองตั้งใจจะรวมมือกันกำหนดทิศทางของภูมิภาคร่วมกัน แต่ปัญหาคือต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาเศรษฐกิจของอาเซียนนั้นผู้กับประเทศจีนค่อนข้างมาก ในขณะที่ด้านความมั่นคงประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคนั้นยังขึ้นอยู่กับสหรัฐฯ และส่วนมากยังคงใช้ยุทโธปกรณ์ที่ผลิตในสหรัฐฯ อีกทั้งส่วนใหญ่ยังมองจีนเป็นภัยคุกคามโดยเฉพาะประเทศที่ติดกับทะเลจีนใต้ เมื่อมองในด้านความมั่นคงสหรัฐฯ เองคงไม่มีปัญหากับเรื่องนี้สักเท่าไหร่นัก เพราะสหรัฐฯ ไม่มีปัญหากับความสัมพันธ์แบบพหุภาคีกับกลุ่มประเทศอาเซียนอยู่แล้ว แต่สำหรับจีนซึ่งยังคงมีปัญหาข้อพิพาทกับประเทศกลุ่มอาเซียนในทะเลจีนใต้ ได้แสดงความชัดเจนในหลายเวทีที่จะแก้ไขปัญหาข้อพิพาทในระดับทวิภาคีเท่านั้น และที่ผ่านมาจีนเองก็มักดำเนินการติดต่อประเทศอาเซียนบางประเทศประเทศในระดับทวิภาคีหรือให้ความช่วยเหลือบางประเทศมากกว่าประเทศอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด เช่นการช่วยเหลือพม่าและกัมพูชา อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมองจีนเป็นมิตรหรือภัยคุกคาม แต่ทุกประเทศในอาเซียนนั้นยังคงต้องการมีความสัมพันธ์อันดีกับจีน ในขณะเดียวกันก็พร้อมอ้าแขนรับสหรัฐฯ กลับมา นี่จึงเป็นโจทย์ใหญ่ให้กับประชาคมอาเซียน 2015 ได้ขบคิดว่าในแง่ของการรวมกันเป็นประชาคมนั้น อาเซียนจะดำเนินความสัมพันธ์ร่วมกันกับทั้งสองประเทศ และพันธมิตรอื่นๆ แบบใด หรือว่าจะต่างคนต่างทำเหมือนกับที่ผ่านมา ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นประชาคมอาเซียนก็คงเป็นเพียงชื่อโก้หรู แต่หาประโยชน์อันใดมิได้

อย่างไรก็ตาม โดยสรุปแล้ว สถานการณ์ดังกล่าวต้องถือว่าเป็นผลประโยชน์ในแง่บวกของอาเซียนอย่างแท้จริง เนื่องจากการกลับมาของสหรัฐฯ ในครั้งนี้ ทำให้หลายประเทศเริ่มมีความเชื่อมั่นในการรักษาดุลย์อำนาจกับประเทศจีนได้มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสหรัฐฯ เองก็กระตือรือร้นกับกิจกรรมระหว่างประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงกับอาเซียนเช่นกัน สถาบัน Centre for Strategic and International Studies ซึ่งเป็นหน่วยงานคลังสมองด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ ถึงกับเสนอให้รัฐบาลสหรัฐฯ เร่งดำเนินข้อตกลงการค้าเสรี (Free Trade) กับอาเซียนโดยเร็วที่สุด เพราะอาเซียนเองก็ได้ลงนามการค้าเสรีกับจีนไปก่อนหน้านี้แล้ว อย่างไรก็ตาม จีนเองก็คงไม่ยอมให้สหรัฐฯ เข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ได้ง่ายๆ เพราะภูมิภาคนี้ถือเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญต่อประเทศจีนอย่างยิ่งวด ทั้งในด้านพลังงานที่เชื่อว่ามีอยู่อย่างมหาศาลในทะเลจีนใต้ และยังเป็นเส้นทางหลักในการเดินเรือขนส่งสินค้าทั้งขาเข้าและขาออก โดยจีนเองก็คงพร้อมที่จะเสนอผลประโยชน์รูปแบบใหม่ๆ ให้กับประเทศกลุ่มอาเซียน ส่งผลให้อาเซียนนั้นอยู่ในสถานภาพที่สามารถต่อรองผลประโยชน์ได้มากมาย แต่อย่างไรก็ตามอาเซียนเองต้องคำนึงถึงการสร้างประชาคมอาเซียน 2015 ด้วยเช่นกัน เพราะเชื่อว่าผลประโยชน์ที่จะเสนอเข้ามาในกลุ่มประเทศอาเซียนนั้นจะมีในทั้งรูปแบบทวิภาคีและพหุภาคี ก็ได้แต่หวังว่าอาเซียนจะร่วมมือกันดำเนินการรักษาผลประโยชน์ของภูมิภาคในทิศทางเดียวกันเพื่อประชาคมอาเซียนที่ยั่งยืน

ฉะนั้น สัปดาห์นี้(17-19 พฤศจิกายน 2011) โดยเฉพาะวันที่ 19 ที่ประธานาธิบดีโอบามา ยืนยันจะเข้ามาร่วมประชุม ASEAN Summit จะเป็นสัปดาห์ที่น่าจับตามองมากที่สุดครั้งหนึ่งของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่าประธานาธิบดีโอบามาได้เคยยกเลิกการมาเยือนอินโดนีเซียอย่างกระทันหันแล้วถึงสองครั้ง ด้วยเหตุนี้ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนและคณะผู้จัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 19 คงจะต้องเริ่มลุ้นกันตั้งแต่ยกแรกเลยว่า ‘ประธานาธิบดีโอบามาจะมาหรือไม่มา??’

 

พรพล น้อยธรรมราช STA2...

http://dtad.dti.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=147:19th-asean-summit-return-of-the-us&catid=8:special-article&Itemid=10

ขอบคุณบทวเคราะห์จากเวปตามลิ้งคืข้างบนครับ

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 08/12/2011 09:07:00


ความคิดเห็นที่ 7


ขอบคุณทุกความเห็นครับ...สิ่งที่ผมอยากเห็นมากๆคือความสมามัคคีของกลุ่มสมาชิกอาเซียนเพราะถ้าเรายังระแวงกันอยู่มันก็คงเป็นไปได้ยากที่รวมกันเป็นพลังเพื่อคานอำนาจของแต่ละฝ่าย...แต่ถ้ามองโดยพื้นฐานทางวัฒนธรรมแล้วก็คงยากเนื่องจากมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม...ความเชื่อ...สังคม...

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 08/12/2011 20:48:56


ความคิดเห็นที่ 8


การทำทุกอย่างของอเมริกากับจีน มันเป็นแค่การแข็งขันครับ(แข็งกันทุกเรื่อง) เรื่องทหารด้วยฟังดูจะมีข่าวโชว์พาวกันบ่อยบ่อย แต่แค่โชว์ เช่นวันนี้เรือรบ ปาดหน้ากันโกรธกัน อีกวันหนึ่งจับมือกันพัฒนาแบ็ตตารี่รถไฮบริดแข็งญี่ปุ่น อีกวันก็ไปร่วมกับคนอื่นอีก (แค่การแข็งขัน)

ตอบข้อ

1........ การเมือง ต่อไปอเมริกาคงมีบทบาทในเอเชียไต้น้อยลง เพราะการมีประชาคมอาเซียน ทำให้เราร้วมมือกันคุยกันได้เอง ไม่ต้องมีนายหน้า

2........การทหาร ก็คงน้อยลงไปด้วยเพราะเราจะเป็นเหมือน uro ที่เป็นเพื่อนกันแล้วลดความระเวงต่อกัน

การสังสมอาวุธคงลดลง us คงรายได้หด uro เค้ามี uro fighter บางทีเราอาจเห็น อาเซียน fighter ก็ได้

ส่วนเรื่องอินเดีย us เค้าก็หามิตรไปเลยไม่มีอะไรมาก ครับ

โดยคุณ general เมื่อวันที่ 08/12/2011 09:37:58


ความคิดเห็นที่ 9


   ในมุมมองผมก็คิดว่าเป็นยุทธศาสตร์ปิดล้อมจีน   แต่ดูแล้วไม่เหมือนสมัยสงครามเย็น   เพราะความสัมพันธ์ทางการเมืองและการทหารของอินเดียกับอเมริกาไม่ได้แนบแน่นอะไรเลย  และอเมริกาก็ไม่ได้ครอบงำอะไรอินเดียไ้ด้เลย   

   การปิดล้อมคราวนี้ไม่น่าจะเป็นเบ็ดเสร็จแบบสงครามเย็นอีก   และพลังทางเศรษฐกิจที่ถดถอยลงมากมายของอเมริกา  ทำให้อเมริกาใช้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ทางทหาร และการเมืองมาล่อแกมบังคับชาติอื่นๆในแถบนี้หรือกดดันเชิงบังคับแบบแต่ก่อนไม่ได้อีก   ดังนั้นการพยายามปิดล้อมจีนคราวนี้น่าจะออกมาในแนว

   " ลดทอนอำนาจของจีนลง  โดยยอมให้มหาอำนาจอื่นเข้ามาแทรกแซงในพื้นที่เป้าหมายร่วมกับตนเอง(ด้วยเหตุที่ตนเองอ่อนล้าลงอย่างมากมาย)"

   การกระทำของอเมริกาคราวบ่งบอกได้ชัดเจนว่าเพียงลำพังตนเองและชาติตะวันตกคงจะรับมือจีนไม่ไหวอีกต่อไปแล้ว    กลัวว่าจีนจะกลายเป็นเหมือนญี่ปุ่นในอดีต

       แบบนี้ถ้าอินเดียและอาเซียนฉลาดพอ   ย่อมสามารถต่อรองสร้างผลประโยชน์แก่ตนเองได้มหาศาล  อาเซี่ยนจะกลายเป็นพื้นที่ที่ชาติมหาอำนาจชาติใดชาติหนึ่งเข้ามามีอิทธิพลเหนือพื้นที่เด็ดขาดเบ็ดเสร็จอีกไม่ได้  และก็ไม่เป็นพื้นที่เผชิญหน้าของมหาอำนาจเพียงสองชาติแบบสงครามเย็นด้วย    เพราะมีมหาอำนาจหน้าใหม่อย่างอินเดียเข้ามาแจม    และถ้าความเข้มแข็งของรัสเซียเพิ่มพูนขึ้นต่อเนื่องแบบนี้ไปเรื่อยๆ   รัสเซียก็อาจยื่นมาือเข้ามาเกี่ยวข้องโดยผ่านเวียตนาม

    ประชาชาติอาเซียนมีความสัมพันธ์ที่ไม่ได้แนบแน่นแบบอียู   จึงทำให้ชาติมหาอำนาจแทรกเข้ามาโดยผ่านพันธ์มิตรที่ตนเองสนิทเป็นพิเศษ    ทำให้ความกลมเกลียวของอาเซียนถูกลดทนลงไปมาก    คงจะไม่สามารถบรรลุข้อตกลงที่จะเพิ่มความสัมพันธ์ขนาดอียูที่จะใช้ธนาคารกลางร่วมกัน   ค่าเงินสกุลเดียวกัน   ระบบภาษีและศุลกากรร่วมกัน(ตอนนี้พยายามอย่างมากแต่ดูเชื่องช้าจนน่าใจหาย)     กองทัพร่วมเมื่อยามมีสงคราม    การผลิตทางอุตสาหกรรมทุกประเภทที่เชื่อมโยงกันแบบแยกลำบากมาก   ศาสนาและวัฒนธรรมที่หลากหลายกว่าอียู   และการที่อาเซียนไม่สามารถเป็นหนึ่งกันได้ด้วยเหตุมีพี่ใหญ่หนุนหลังคนละเจ้า    จะทำให้ผลประโยชน์จากการต่อรองไม่สามารถเรียกร้องไดเต็มเม็ดเต็มหน่วย   ำไม่ว่าทางด้านเศรษฐกิจและการทหาร   ทั้งยังอาจถูกแบ่งแยกและทำให้อาเซียนล่มทั้งกลุ่มได้ง่ายด้วยเพื่อยังผลประโยชน์แก่มหาอำนาจที่เป็นลูกพี่ของแต่ละประเทศ    ความเป็นหนึ่งเดียวกันของอาเซียนถึงจะเป็นการสร้างผลประโยชน์มากที่สุดแก่อาเซียนในกรณีนี้ได้เท่านั้น(มีมหาอำนาจแทรกแซง 3-4 ชาติ)    แต่ดูแล้วเป็นหนทางที่ยากแสนเข็ญทีเดียวสำหรับอาเซียน

 

    ทางแก้ในแนวคิดของผมก็คิดว่า  ชาติอาเซียนบางชาติ..2-3ประเทศ   ที่กลมกลืนกันในทางวัฒนะธรรมขนบทำเนียม   ศาสนา  ภาษา  มีผลประโยชน์ร่วมกันมากกว่าขัดแย้งกัน    น่าจะรวมตัวกันเองขึ้นเป็น United  state กันเองก่อนเพื่อจะได้มีอำนาจต่อรองและพี่งพาตนเองได้มากขึ้นเป็นอย่างมาก   จะทำให้กลุ่มอาเซียนลดจำนวนประเทศลงจาก 10 กว่าประเทศ  เหลือเพียงแค่ 2-3 สหพันธรัฐแทน   เช่น   ไทย-ลาว-เขมร-(พม่าหรือบางส่วนของพม่า)     มาเลเซีย-อินโดนีเซีย-บรูไน    แบบนี้    แต่ละสหพันธรัฐก็ยังคงกรอบความร่วมมืออาเซียนเอาไว้อยู่อย่างใกล้ชิดเหมือนเดิม   ระหว่างนั้นก็พยายามลดความแตกต่างในทุกๆด้านในสหพันธรัฐของตนลงให้กลมกลืนกันให้เร็วที่สุด   ก่อนที่จะรวม2-3สหพันธรัฐเข้ามาภายหลังอีกที(แต่งานนี้คงยากมาก)    แม้ว่า 2-3 สหพันธรัฐที่เกิดขึ้นอาจจะไม่สามารถรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวได้   แต่ผลประโยชน์ที่จะตักตวงได้จากมหาอำนาจที่เข้ามาแทรกแซงนั้นก็จะมากขึ้น   เพราะยังมีกรอบความร่วมมืออาเซียนอยู่    

    

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 08/12/2011 10:33:04


ความคิดเห็นที่ 10


เอ่อ...ถ้าสหรัฐเกิดเฮี้ยนขึ้นมาแล้วถามไทยว่า ยูจะอยู่ข้างไหน

เราจะตอบยังไงดีครับ


โดยคุณ SSA เมื่อวันที่ 08/12/2011 11:21:02


ความคิดเห็นที่ 11


  

        ถ้าอเมริกาและจีนตบโต๊ะถามผมแบบนั้น   ผมก็จะทำโครงการผลิตอาวุธสำคัญบางอย่างร่วมกับอินเดียไว้ใช้เอง เดินทางเยือนรัสเซียอย่างเป็นทางการและเอิกเริกพร้อมทั้งวางโครงการทางอุตสาหกรรมร่วมกันกับรัสเซีย   เสนอให้รัสเซียและอินเดียเข้ามามีส่วนแบ่งในนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ที่จะเกิดขึ้นเมื่อตัดคลองกระ      และทำการซ้อมรบร่วมกับรัสเซียและอินเดีย    เปิดการค้าเสรีกับรัสเซีย(อินเดียทำไปแล้ว)   พัฒนาระบบอาวุธร่วมกับทั้งสองชาติ   ไม่สนอาวุธจีนและตะวันตก   พร้อมที่จะเตะโด่งทั้งอเมริกาและจีนออกไป 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 08/12/2011 12:31:34


ความคิดเห็นที่ 12


เหตุผลหลักๆ ที่อเมริการพยายามขยายอิทธิพล ก็คงอยู่ที่จีนเป็นหลัก เป็นการปิดกันจีนไม่ให้มีทางออกทะเลได้มากนัก แต่ดูแล้วบทบาทในภูมิภาคของเรานั้น จีนจะมีอิทธิพลมากกว่าสหรัฐอยู่เยอะมาก แต่ช่วงนี้สหรัฐคงจะพยายามเข้าหาพม่ามากขึ้น เพื่อให้พม่าออกหากจากจีนโดย ใช้การยกเลิกการคว่ำบาตร มาเป็นจุดเปลี่ยน แต่การที่สหรัฐเข้ามาช้าขนาดนี้จะเป็นข้อได้เปลี่ยนหรือเปล่าก็ต้องดูกันอีกที

ด้านการทหาร ผมขอแบ่งเป็นสายละกันครับ  ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่เป็น

สายสหรัฐ เลยก็ต้องยกให้ สิงคโปร์ และ ฟิลิปปินส์

สายจีน ก็คงต้อง กัมพูชา ลาว พม่า 

สายรัฐเซีย คงหนีไม่พ้น เวียดนาม

แล้วประเทศอื่นล่ะ ก็คงเป็นสายผสม  

ไทย ผมคิดๆดูแล้วระยะหลังๆ เราจะไปอิงฝั่งยุโรปกับจีนซะเยอะในเรื่องการซื้อขายอาวุธตอนนี้ก็มียูเครนมานิดๆและ คงเน้นเรื่องราคาและความจำเป็น  ส่วนการซ่อมรบ หรือความร่วมมือทางการทหารคงต้องยกให้เป็นสหรัฐแล้วแหละ

มาเลย์เซีย อินโดนิเซีย ก็จะมี ยุทโธปกรณ์จับฉายเหมือนไทยนี่แหละ แต่ตอนนี้เรื่องการพึ่งพาตนเองต้องยกให้อินโดครับ พัฒนาไปมากจริงๆ ทั้งต่อเรือใช้เอง ทั้งเครื่องบินที่จะร่วมมือกับเกาหลี

ตอนนี้เราก็รอโครงการ DTI ให้เป็นรูปเป็นร่าง ขึ้นมาก่อน เพราะอาวุธที่วางแผนที่จะพัฒนานั้นสามารถนำไปใช้ได้ทุกเหล่าทัพกันเลยทีเดียว ผมว่าถ้าโครงการ DIT เสร็จสมบูรณ์ เราก็แกร่งในระดับนึงเลยทีเดียวครับ

โดยคุณ spooky เมื่อวันที่ 08/12/2011 15:30:16


ความคิดเห็นที่ 13


โอ้ว ท่าน neosiamese2 ท่านตอบได้สุดยอดมาก แบบนี้ก็จะไม่ถูกกด และข่มแหงอย่างเห็นได้ชัด เพราะจีนก็เคี่ยว มะกันก็เอาเปรียบเรา ไม่สนว่าเราจะเป็นอย่างไร

โดยคุณ JesuS เมื่อวันที่ 08/12/2011 21:22:14


ความคิดเห็นที่ 14


ตอบแบบไม่แคร์เภาคการเมือง,เศรษฐกิจ,สังคมเลย ก้คงอยากตอบแบบนั้น แต่ในความจริงประเทศเราเลือกข้างมาตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วครับ จนถึงขณะนี้ก็ยังมั่นคงกับแนวคิดนี้อยู่

การจะปรับเปลี่ยนก้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เคยมีรัฐบาลๆนึง ลองของ ก็จบอย่างที่รู้ๆกัน เราบอกตัวเองว่าเราเป็นกลาง แต่รอบข้างเรา เค้าไม่ได้มองเราแบบนั้นหรอก

ใจจริงผมอยากให้ประเทศเรายืนอยู่ได้ด้วยตนเอง เหมือนสวีเดน แต่ภาคเศรษฐกิจ. สังคมเราไม่เข้มแข็งแบบนั้น

ในส่วนความมั่นคง การทหาร หลายคนมองว่าเราพยายามจัดหาอาวุธจากแหล่งอื่นทดแทน แต่ในภาพรวมเรายังต้องอิงกับฝ่ายตะวันตกอยู่ดี

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 08/12/2011 22:03:21


ความคิดเห็นที่ 15


ช่วงสมัยก่อนรัฐบาลบุชโดดเดี่ยวตัวเองมากไปครับคือลืมเพื่่อนเก่าๆไปหลายคนสุดท้ายเลยโดนจีนกลืนไปทีละนิดๆพอสมัยโอบาม่านี่ดูเหมือนจะเพิ่งตื่นหลักๆก็แรงกดดันทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่เกือบจะสูญเสียฐานะเสาหลักทางเศรษฐกิจให้จีนอยู่รอมร่อ การขอมากลับมามีอิทธิพลในแถบนี้อีกถ้าเป็นสมัยซักยี่สิบปีที่แล้วก็อาจจะเป็นเรื่องยุทธศาสตร์ทางทหาร แต่ในสมัยนี้ผมมองว่าเป็นการเมืองระหว่างประเทศที่หวังผลในแง่เศรษฐกิจมากกว่า เหมือนทฤษฎีโดมิโน่ ยกตัวอย่างนะครับ เมื่อจีนเห็นภัยคุกคามจากประเทศเพื่อนบ้านสิ่งที่ทำก็คงไม่พ้นการเพิ่มการสั่งสมอาวุธและเมื่อจีนขยับเรื่องนี้ประเทศบ้านใกล้อย่างเวียดนามหรืออินเดียรวมทั้งไต้หวันก็ต้องขยับตามทีนี้เพื่อนบ้านเวียดนามอย่างเราหริอใกล้อินเดียอย่างปากีสถานก็คงอยู่เฉยไม่ได้อาจจะกลายเป็นสงครามเย็นครั้งใหม่เลยก็ได้แต่ที่แน่ๆ พี่กันได้ประโยชน์เต็มๆเพราะเค้าเป็นผู้ผลิตอาวุธและมีอุตสาหกรรมหนักต้นน้ำในการผลิตชิ้นส่วนหลายๆอย่าง แล้วมันจะส่งผลให้เศรษฐกิจภายในที่กำลังซบเซากลับมาดีอีกครั้ง อันนี้ผมไม่ได้นั่งเทียนนะครับเพราอุตสาหกรรมการผลิตอาวุธของอเมริกาเป็นเหมือนหัวใจหลักของระบบเศรษฐกิจเค้าเลยก็ว่าได้เพราะมันรวมถึงการจ้างงานและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องด้านอื่นๆอีก

ที่ผ่านมาพี่กันเค้าขายของแพงแถมขายยากแม้แต่เพื่อนเก่าแก่อย่างเรา(สมัย จ บุช) เลยโดนแย่งลูกค้าไปเยอะลำพังแค่ใช้เองคงไม่พอละเพราะไม่มีสงครามขนาดใหญ่แล้วยกตัวอย่างง่ายๆก็เจ้าF22ที่ต้องยกเลิกการผลิตเพราะความไม่คุ้มทุน(ผมมองแค่แง่เศรษฐกิจนะครับด้านอื่นคงมีอีกแต่ไม่ขอพูดละกัน)

นี่คงเป็นเรื่องหลักๆละครับด้านอื่นนี่คงเป็นผลพลอยได้สรุปก็คือเพิ่งตื่นนะเองทิ้งพวกไปนานอิๆ

โดยคุณ hinnoi เมื่อวันที่ 09/12/2011 03:05:58