หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ถ้าF22 เรดาห์ตรวจจับไม่ติด และจะบอกตำแหน่งอย่างไร

โดยคุณ : yamaha เมื่อวันที่ : 26/11/2011 18:10:24

1. F22 ของสหรัฐนั้น เรดาห์ตรวจจับยาก แล้วนักบินจะบอกตำแหน่งกับสถานีการบินอย่่างไรในเมื่อมันล่องหน (เพราะปกติเรดาห์สามารถตรวจหาเครื่องบินของตัวเองได้ว่าอยู่ใหน แต่F22 เรดาห์ตรวจจับไม่ได้)

2.หรือจะใช้สัญญาณวิทยุ แบบนี้ก็โดนดักสัญญาณวิทยุได้สิคับ

3.หรือว่าจะใช้ดาวเทียมในการบอกต่ำแหน่ง แบบนี้ พวกประเทศเช่นรัสเซีย ก็ใช้ดาวเทียมในการตรวจหาได้ใช่ใหมครับ

4.และถ้าเราเอาสารดูดกลืนเรดาห์ที่ F22 ใช้มาได้ ก็สามารถเอามาทาบนตัวเครื่องบินกริฟเพ่นใช่ได้เหมือนกันครับ แบบนี้ กริฟเพ่นก็ล่องหนได้เหมือนกันเปล่าครับ

5.ถึงจะล่องหนได้แต่ เครื่องบินรบมีเสียงดังมาก ไม่ได้เก็บเสียง ถึงบินสูงเท่าไรเสียงก็ดังถึงพื้นดินอยู่ดี ตรงนี้แหละอาจจะช่วยบอกตำแหน่งของ F22 ได้สำหรับการที่จะสอย F22 ให้ร่วงใช่เปล่าครับ





ความคิดเห็นที่ 1


ตอบข้อ 4 กับ ข้อ 5 นะครับ

สมบัติการสะท้อนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ครับ

ทั้งรูปร่างลักษณะ ,  สมบัติของผิวสะท้อน และอะไรหลายๆอย่าง ถึงเอาสารมาทาก็ดูดซับได้ระดับหนึ่งเท่านั้น

ส่วนเรื่องเสียง ถ้าบินในชั้นที่สูงมากๆ [ที่ความหนาแน่นของอากาศ ที่บินอยู่กับข้างล่างต่างกันเยอะๆ]

โดยที่ความเร็วไม่เกินมัค หรืออะไรที่ทำไห้ความหนาแน่นของอากาศรอบข้างทั้งระบบเปลี่ยนแปลงกระทันหัน

เสียงมันจะเกิดการสะท้อนคืนข้างบนหมดอ่ะครับ

โดยคุณ fulcrum37 เมื่อวันที่ 21/11/2011 08:36:22


ความคิดเห็นที่ 2


ถ้าเรา(ศัตรู)ได้ยินเสียงมัน  ก็เท่ากับว่า อาจจะเป็นวิญญาณไปแล้ว  เพราะนั่นคือมันมาถึงแล้วนะครับ

โดยคุณ charchar เมื่อวันที่ 21/11/2011 09:07:11


ความคิดเห็นที่ 3


ถ้าจำไม่ผิดการระบุตำแหน่งของตัวเองกับหน่วยภาคพื้นน่าจะเป็นการลิ้งค์สัญญาณโดยช่องสัญญาณพิเศษผ่านดาวเทียมแบบเข้ารหัสหรือแบบคลื่นความถี่ที่แตกต่างกัน อย่างเช่นในหนังเรื่องสเตลท์ (เอ! หรือเราดูหนังมากไปหว่า) เรื่องของเสียงก็ตามที่ท่านข้างบนว่าไว้ละครับ ส่วนการใช้สารดูดซับคลื่นนั้นมันก็สามารทำได้แต่ก็ขึ้นกับขนาดและรูปร่างของอากาศยานและก็ได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ส่วนเรื่องเสียงอย่างท่านข้างบนว่าอีกละครับ 55+ นั่นหมายความว่าพวกเจแดมมันกระทบเป้าหมายแล้ว

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 21/11/2011 09:20:13


ความคิดเห็นที่ 4


ตกลงมันใช้ดาวเทียมใช่เปล่าครับ แบบนี้สุดยอด เทพมากๆใช้ดาวเทียม       F16   jas39  ของเราต้องใช้เรดาห์

โดยคุณ yamaha เมื่อวันที่ 22/11/2011 00:53:13


ความคิดเห็นที่ 5


1.F22 ตรวจจับได้ยากครับ ไม่ใช่ตรวจจับไม่ได้

2.คิดว่าน่าจะเป็น ระบบ Data Link

3.ข้อนี้ผมไม่แน่ใจครับ

4.สารที่จะทาให้เครื่องบินล่องหนนั้นแพงมากๆครับ (F22ใช้เหลี่ยมมุมของเครื่องสะท้อนคลื่นเรดาร์ครับ)

5.F22บินเร็วกว่าเสียงครับ ถ้าคุณได้ยินเสียงมัน แสดงว่ามันทิ้งระเบิดเรียบร้อยแล้วครับ

โดยคุณ SSA เมื่อวันที่ 22/11/2011 02:04:54


ความคิดเห็นที่ 6


ข้อ 5 นิหน้ากลัวจัง  *0*

โดยคุณ yamaha เมื่อวันที่ 22/11/2011 03:04:26


ความคิดเห็นที่ 7


ทั้งหมดตามท่าน SSA ครับ  แต่ขอแก้นิสนึง

ข้อ 5) เอฟ-ยี่บสอง ถูกออกแบบให้ทำแค่ภารกิจเดียวคือขับไล่ครองอากาศ แม้ว่าจะทำภารกิจโจมตีได้แต่อาจไม่ดีเท่าบ.มัลติโรล ทั่วไปเฉกเช่นเอฟ-สิบหกได้..ราคาแพงคอดๆ อาจไม่เหมาะหากจะมาทำภารกิจทอยระเบิด อาจจะทอยระยะไกลๆ สามสิบสี่สิบกิโล สูงลิบ เราไม่ได้ยินเสียงและไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันมาเมื่อไหร่ จู่ๆ เจ้าจีบียู เลเซ่อไกด์ บอมบ์ (สมมตินะครับ ไม่รู้จะบรรทุกมาได้หรือเปล่า เพราะเวพพ่อน เบย์ในตัวเครื่องไม่ได้โตมาก) ก็มาเยือนแบบไม่รู้ตัวก็เป็นได้

การได้ยินเสียงเครื่องเจ๊ตดังแว่วมา ก็ยากจะหาตำแหน่งได้และเดาทิศทางบินได้ เพราะเวลาอยู่บนฟ้าลิบๆ แทบจะมองเห็นเป็นจุดเล็กเลยทีเดียว.......เคยไปดูฝูงธันเดอร์เบิรด์โชว์ที่ตอนเมืองเมื่อปีสองปีที่แล้ว ไปสาย เลยติดแหงกอยู่ใต้ดอนเมืองโทลเวย์นานมาก ได้ยินเสียงย.เอฟร้อย พีดับเบิ้ลยูสองสองศูนย์ ดังสนั่นทุ่งดอนเมือง แต่ผมกับภรรยาไม่สามารถเก็บรูปเจ้าวิหกสายฟ้าไปอวดเพื่อนๆ ได้เลย จะมีก็แต่รูปตึกเจ๊เล๊ง ดอนเมือง ฟ้าเปล่าๆ เพราะใช้กล้องปญอ.โซนี่ ไซเบอร์ชอรต์ ถ่ายไม่ทัน เพราะไม่รู้พวกจะบินเข้ามาทางไหนนั่นเอง  

โดยคุณ terdkiet เมื่อวันที่ 22/11/2011 04:11:04


ความคิดเห็นที่ 8


ถ้าจะทำภารกิจทิ้งระเบิดจริงๆก็น่าจะทำได้ โดยใช้ตำบลติดอาวุธที่ใต้ปีก แต่ประสิทธิภาพของ บ.stealth คงลดลงไปเยอะ

โดยคุณ FireFly เมื่อวันที่ 22/11/2011 05:24:02


ความคิดเห็นที่ 9


F22 บินได้สูงถึง40 กิโลเมตรเลยหรอครับ แบบนี้ไม่มีเสียงแน่นอนคับ เชื่อแล้วมันเป็นสุดยอดเครื่องบินรบจริงๆๆๆๆ

โดยคุณ yamaha เมื่อวันที่ 22/11/2011 05:27:00


ความคิดเห็นที่ 10


โอ๊ว...ขออภัยท่านยามาฮ่า...สี่สิบกม.ที่ว่าเป็นระยะในแนวราบครับ มิใช่ความสูง ถ้าบินสูงขนาดนั้นคงหลุดโลกไปแล้ว และไม่ใช่เอฟยี่บสองเป็นแน่ อาจจะเป็นสตาร์สครีม ลูกน้องลอรด์เมกาทรอน ก็เป็นได้

โดยคุณ terdkiet เมื่อวันที่ 22/11/2011 06:03:05


ความคิดเห็นที่ 11


f-22 โหลดพวกเจดงเจแดม (ฟังเกาหลีๆ ไงไม่รู้) GBU-39 (ตระกูลลูกเล็ก) เข้าในลำตัวได้ครับ 

แอมแรมกับGBU-39คู่  

ติดในพุงได้ 8 ลูก ข้างละสี่ (หน้าสองหลังสอง) เหลือที่ให้แอแรมอีกข้างลำหนึ่ง ยังไม่รวมช่องด้านข้างอีก

ถ้าติดเจแดม 100 ปอนด์จะได้ข้างละลูก

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 22/11/2011 06:21:57


ความคิดเห็นที่ 12


ขอบพระคุณสำหรับรูปสวยๆนี้ครับท่านทองวริต...ลงโหลดจ่าดำเข้าไปแบบนี้ นบ.ยิงเสร็จ กลับบ้านกินข้าวเย็นลุ้นว่าสไตรค์เข้าเป้าได้เลย

โดยคุณ terdkiet เมื่อวันที่ 22/11/2011 06:49:59


ความคิดเห็นที่ 13


ตามที่  คุณ tongwarit    บอกเลยครับ

 

สามารถ ทำภารกิจ A2G ได้ โดยไม่เสียคุณสมบัติตรวจจับได้ยากมาก หรือ  VLO ไปครับ (very low observable)

 

***วัสดุดูดซับคลื่นเรดาร์ หรือ RAM (radar absorbing material) ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ ทำให้ F-22 หรือ เครื่องขับไล่ gen 5  มีคุณสมบัติ stealth นะครับ

ยัง ต้องถูกออกแบบ รูปทรง เหลี่ยมมุม ของเครื่อง  ออกแบบให้ ลด การแผ่รังสี infrared  , คลื่นวิทยุ  และอะไรๆอีกมากมายด้วย

 

ซึ่งเดี๋ยวนี้ เครื่องรุ่นไหม่ๆ ใน gen 4.5 เช่น gripen หรือ eurofighter TYPHOON  ก็ได้มีการนำ RAM มาใช้ด้วยบางส่วนด้วยครับ

โดยคุณ arpeggio เมื่อวันที่ 22/11/2011 07:05:33


ความคิดเห็นที่ 14


คือผมสงสัยแบบนี้นะครับ ตามรูปที่คุณ ทองวฤทธิ์ เอาไห้ดูรูปแรกนะครับ GBU-39 มันพวกเป็น SDB (Small dimeter bom)ใช่หรือไหมครับ เพราะว่าถ้าเป็นตัวนี้มันก็จะเป็นพวก ไกด์บอมที่มีความแม่นยำสูงมากและมีความคลาดเคลื่อนจากเป้าหมายน้อยกว่า1เมตรทั้งจำกัดระยะทำลายได้อีกนั่นหมายความว่ามันไม่สร้างผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงเป้าหมายในเขตชุมชน ใช่หรือไม่ และอีกข้อคือระยะทำการของมันมันสามารถร่อนได้ไกลเท่าไหร่ ข้อมูลบางสำนักก็บอกว่า25ไมล์ บางสำนักก็30ไมล์ ส่วนเรื่องการติดตั้งที่ดูตามแผนผังตำบลการติดตั้งแล้วมันก็ถูกกำหนดให้ติดได้ 8 ลูก ส่วนแถวถัดขึ้นไปนั้นมันเป็น JADAM ขนาด2000ปอนด์ไช่ไหม ผมเคยดูคลิปการทดสอบ SDB ในยูทูปมันสามารถเจาะทะลุคอนกรีตหนาประมาณ1.20เมตรไปทำลายเครื่องบินที่อยู่ในบังเกอร์ได้แบบสบาย

อีกเรื่องครับอันนี้เป็นการตั้งข้อสังเกตนะครับ ถ้าเราไม่สามารถตรวจจับพวกเครื่องสเตลท์จากคลื่อนเรดาห์หรือการแพร่คลื่อนทางอิเลคทรอนิคต่างๆและความร้อนได้ เราสามารถตรวจจับจากปริมาณไอน้ำในอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ได้หรือไม่ หรือว่ามันถูกกำจัดไอร้อนตรงนั้นให้น้อยจนไม่เกิดไอน้ำขึ้น เพราะถ้าเราสังเกตเวลากลางวันที่เราเห็นเป็นทางยาวบนฟ้านั่นคือไอน้ำที่เกิดจากท่อท้ายเครื่องบินโดยสารที่บินสูงมาก

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 22/11/2011 08:01:42


ความคิดเห็นที่ 15


JDAM ที่  F-22 สามารถ บรรทุก ภายใน เครื่อง คือ GBU-32   ขนาด 1000 lb ครับ

 

ถ้าเป็น GBU-31 ขนาด 2000 lb  จะไหญ่เกินไปครับ

โดยคุณ arpeggio เมื่อวันที่ 22/11/2011 08:07:04


ความคิดเห็นที่ 16


ถ้าเป็นบ้านเราก็คงประมาณติดเครื่อง GPS แบบ Tracking ส่งข้อมูลผ่าน Gprs  ส่วนทางศูนย์ควบคุม ก็เปิดหน้าแผนที่ GPS ดูจุดสัญญาณที่หน้าจอเอาไง อิอิ

โดยคุณ sanchai0045 เมื่อวันที่ 22/11/2011 09:27:55


ความคิดเห็นที่ 17


เอมันน่าสงสัย จังหวะที่ F22 เปิดช่อง ใต้ท้องเพื่อจะยิง Missile หรือทิ้งระเบิด แล้วแบบนี้มันจะเปิดจังหวะ ให้เรดาห์ตรวจจับได้เปล่าครับนี่ เพราะเวลาเปิดช่องใต้ท้อง ก็จะเพิ่มโอกาศตรวจจับจากเรดาห์ทันที เปล่าครับ

โดยคุณ yamaha เมื่อวันที่ 22/11/2011 09:27:56


ความคิดเห็นที่ 18


ขอโทษอย่างร้ายแรงเลยครับ แก้ไขด่วน เจแดม 1000 ปอนด์ครับ ไม่ใช่100 ปอนด์ ร้อยปอนด์มันจิ๋วเกิน 

ตอบคุณ Alpha 001 เรื่องไอน้ำหรือ vapor trails วิธีหลีกก็คือบินให้ต่ำจนอากาศไม่เย็น กับบินให้สูงๆ ถึงระดับที่อากาศแห้ง เนื่องจาก vapor trails จะเกิดช่วงความสูง 6 - 12 กิโลตามปกติ ก่อนบินเขาก็ต้องมีการเตรียมเรื่องตรวจเช็คสภาพอากาศก่อนหน้าแหละครับ  เมริกาเคยพยายามทำระบบลบร่องรอยไอน้ำจากความร้อนของเครื่องยนต์โดยปล่อยกรดไปทำปฎิกิริยากับไอน้ำทางปลายท่อเพื่อสลายโมเลกุลน้ำ แต่กรดมันกัดเครื่องซะ เลยล่มไป อย่างตอนนี้เครื่อง B-2 มีระบบตรวจจับไอน้ำท้ายเครื่องด้วยกล้องกับเรดาร์ ระยะใกล้มาก 10 เมตร (เว็บผู้ผลิต http://www.ophir.com/contrail_detection.html) ถ้าเกิดตรวจจับได้ก็จะเตือนนักบินให้ลดระดับบินลง

การตรวจจับจากภาคพื้นดินผมว่าทำได้ยากนะ เพราะคงด้องใช้เรดาร์ตรวจเมฆ และไอน้ำจากเครื่องคงถือว่าน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับไอน้ำและเมฆในอากาศ แต่มองเห็นง่ายสุดๆ เป็นสิบกิโล

ตอบคุณ yamaha เวลาเปิดประตูช่องเก็บอาวุธ จังหวะนั้นความเสตลท์ลดลงแน่นอน นั่นคือสาเหตุที่เขาต้องทำให้บานประตูมันมีแฉกๆ มุมเหลี่ยมๆ อย่างที่เห็นเพื่อลดการตรวจจับ

เรื่อง gbu 39 sdb ผมเจอแต่ 40-60 ไมล์ทะเล (ประมาณ 70-110 กม.)นะ ไม่เห็นมี 25ไมล์ เรื่องการจำกัดระยะทำลายนี่หมายถึงก่อนหน้าตอนบรรจุดินระเบิดหรือเปล่าครับ ถ้ากดสวิทช์สั่งนี่ผมยังไม่เคยได้ยิน แต่ยังไงผมว่ายิงเข้าเขตชุมชนแรงระเบิดต้องกระทบอยู่แล้วครับ เพราะระเบิด 100 กิโลมันไม่ใช่น้อยๆ นะครับ ดูจากข่าวภาคใต้ระเบิด 10-20 กิโลกรัม คนอยู่ไกลเป็นสิบเมตรยังกระเด็นเลย

เจเเดม1000 ปอนด์ gbu 32 

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 22/11/2011 15:11:31


ความคิดเห็นที่ 19


ท่อไอเสีย นิ F22 จัดการอย่างไรครับ เพราะมันก็มีความร้อนออกมาเหมือนกัน

โดยคุณ yamaha เมื่อวันที่ 22/11/2011 19:17:29


ความคิดเห็นที่ 20


ขอบทุกข้อมูล ครับ

โดยคุณ jeab2511 เมื่อวันที่ 22/11/2011 19:46:24


ความคิดเห็นที่ 21


ขอบคุณครับสำหรับความรู้ที่เพิ่มขึ้น ส่วนเรื่องระยะทำการนั้นต้องขอโทษอย่างแรงครับผมเข้าใจผิดเองครับ

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 22/11/2011 20:01:58


ความคิดเห็นที่ 22


ไหนก็ว่ากันด้วยเรื่อง F-22 แล้วก็ต่อด้วยเรื่อง JDAM เลยละกัน(อย่าเรียกหลงเรียกว่าจ่าดำล่ะ 55+ เดียวจ่าดำที่ยืนอยู่ที่วงเวียนในค่ายสุรนารีท่านเดินออกมาแล้วจะหนาว)

ภาพของระเบิดการติดตั้งและการทดสอบ ข้างล่างคือลิ้งค์เกี่ยวกับระเบิดตระกูล JDAM

 

อันนี้คือรูปแสดงการติดตั้งและอำนาจการทำลายของมันครับ แต่ที่ผมสนใจคือข้อความในลิ้งค์ตอนต้นอันนี้ครับ JDAM can be launched from approximately 15 miles from the target and each is independently targeted.อันนี้มันหมายความว่าปล่อยกอ่นถึงเป้าหมายหรือเปล่าครับ

http://www.fas.org/man/dod-101/sys/smart/jdam.htm ภาพข้างบนเอามาจากลิ้งค์นี้ครับ ถ้าเพื่อสมาชิกท่านใดสนใจหรือยังต้องการอ่านเพิมเติมเข้าไปอ่านได้เลยครับ

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 22/11/2011 22:11:32


ความคิดเห็นที่ 23


ถูกต้องครับ  และระเบิดแต่ละลูก สามารถ ไปยังเป้าหมายที่ต่างกัน ตามที่ได้ใส่พิกัด GPS/INS ไว้ครับ

เป็นที่คาดกันว่า JDAM เมื่อถูกทิ้ง โดย F-22  จะมี effective range  มากกว่า เมื่อถูกทิ้งโดยเครื่องทั่วๆไป ถึง 2 เท่า หรืออาจจะมากกว่า (ขึ้นอยู่กับ ความเร็วและระดับความสูงที่ปล่อย )

ซึ่งในการทดสอบ F-22 ทิ้ง JDAM ขนาด 1000 ปอนด์ จากความสูง 50,000 ฟุต ที่ความเร็ว 1.5 มัค  

ระเบิดกระทบเป้าหมายที่ระยะไกลออกไป 24 ไมล์ หรือ 39 km   ยิ่งมีระยะปล่อยมาก ก็ยิ่งปลอดภัย จากการถูกตรวจพบและ โดนต่อต้านโดย SAM ครับ

 

เครื่อง B-2 สามารถ บรรทุก JDAM ขนาด 2000 ปอนด์ ได้ 16ลูก  หมายถึง  ภายในการทิ้งระเบิด 1 ครั้ง(ในการบินผ่านเพียงแค่ครั้งเดียว) B-2 สามารถ ทำลายเป้าหมาย ได้ถึง 16 เป้าหมาย

 

หรือถ้า เป็น JDAM ขนาด 500 ปอนด์ B-2 สามารถ บรรทุกได้ 80 ลูก คือสามารถทำลายเป้าหมายที่ต่างกันได้ 80 เป้าครับ

โดยคุณ arpeggio เมื่อวันที่ 22/11/2011 22:45:12


ความคิดเห็นที่ 24


ข้อมูลของแต่ละท่านนี่ สุดยอดจริงๆ^^

ขอถามนิดนึงนะครับ ระเบิดพวก JDAM บ้านเรามีประจำการมั้ยครับ

แล้วไอ้ GBU-10,GBU-12 นี่อยู่ในตระกูล JDAM รึเปล่า?

โดยคุณ SSA เมื่อวันที่ 23/11/2011 01:23:34


ความคิดเห็นที่ 25


ช่วยอธิบายนี้ให้เข้าใจหน่อยผมไ่ม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไหร่==> ซึ่งในการทดสอบ F-22 ทิ้ง JDAM ขนาด 1000 ปอนด์ จากความสูง 50,000 ฟุต ที่ความเร็ว 1.5 มัค  

ระเบิดกระทบเป้าหมายที่ระยะไกลออกไป 24 ไมล์ หรือ 39 km   ยิ่งมีระยะปล่อยมาก ก็ยิ่งปลอดภัย จากการถูกตรวจพบและ โดนต่อต้านโดย SAM ครับ

 

ประโยคท่อนนี้ไม่ค่อยเข้าใจเลย

โดยคุณ yamaha เมื่อวันที่ 23/11/2011 01:32:49


ความคิดเห็นที่ 26


เข้ามาดูดความรู้เก็บไว้ในหัวสมองซะหน่อย นานๆจะมีการพูดคุยแบบมีหลักมีการ

ตอบคุณyamaha แบบที่ผมเข้าใจครับ เรื่องระยะปล่อยระเบิดนะครับ พวกระเบิด เจแดม นั้นเป็นนำวิถีที่สามารถปล่อยในระยะไกลแล้วนำวิถีลูกระเบิดให้เข้ากระทบเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ ซึ่งทำให้เครื่องบินที่บรรทุกลูกระเบิดไม่ต้องเข้าไปใกล้ที่หมายมาก ซึ่งการเข้าไปใกล้อาจจะอยู่ในระยะตรวจจับและพิสัยการยิงต่อต้านของจรวดนำวิถ๊ต่อสู้อากาศยาน(SAM) ได้ ซึ่งการปล่อยระเบิดในระยะไกลกว่าพิสัยทำการของจรวดย่อมทำให้ปลอดภัยกว่าการบินเข้าไปในระยะการยิงของ SAM ในขณะที่ลูกระเบิดสามารถที่จะพุ่งเข้ากระทบเป้าหมายได้ครับ

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 23/11/2011 02:18:35


ความคิดเห็นที่ 27


เครื่องบินที่มีคุณลักษณะตรวจจับได้ยากนั้น ถึงจะไม่ถูกตรวจจับด้วยเรดาร์ แต่ยิ่งบินเข้ามา ใกล้กับเรดาร์ของข้าศึกเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสถูกตรวจจับมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นเครื่องบินทั่วๆไป ที่ไม่มีคุณลักษณะตรวจจับได้ยาก จะถูกเรดาร์ตรวจจับตั้งแต่ระยะไกลๆ เป็น ร้อยๆ กิโล แต่สำหรับf 22 อาจจะถูกตรวจจับได้ในระยะใกล้ หลักสิบกิโล ซึ่งก็อาจจะสายไปแล้วสำหรับผู้ที่เป็นเป้าหมาย เพราะ จะโดน jdam หรือ SDB ลงหัวซะก่อน เพราะฉะนั้น ยิ่งเครื่องบินสามารถ ปล่อยอาวุธได้เร็ว อาวุธมีระยะยิงไกล และหันหลังบินกลับได้เร็ว ก็ยิ่งปลอดภัยจากการถูกตรวจจับโดยเรดาร์ครับ หรือถ้ามีsamยิงขึ้นมาหาเรา ถ้าเราสามารถ ปล่อยอาวุธและหันหลังบินกลับได้เร็ว ก็ยิ่งเพิ่มเวลาสำหรับนักบิน ในการตัดสินใจ ว่าจะทำยังไง บังคับเครื่องเพื่อหลบหลีกยังไง ยิ่งf-22มีคุณสมบัติ super cruise (สามารถบินด้วยความเร็วเหนือเสียง ได้เป็นเวลานานกว่าชาวบ้านเขา) ก็ยิ่งมีโอกาส ที่จะหนี ออกไปจากระยะยิงของ samได้มากขึ้น กลัวจะอธิบายแล้วยิ่ง งงไปไหญ่ ผมอธิบายไม่ค่อยเก่งครับ 555 ง่ายๆก็คือแบบที่ คุณเด็กทะเล ว่าไว้แหละครับ
โดยคุณ arpeggio เมื่อวันที่ 23/11/2011 02:52:19


ความคิดเห็นที่ 28


แต่ Missile สมัยใหม่ระยะยิงเกือบ 500 กิโลเมตร แถมยังเร็วกว่าเครื่องบินรบเยอะ ถึงปล่อยได้ไกล จริงๆ ก็ยังไม่ค่อยปลอดภัยใช่เปล่าครับ เพียงแต่ว่ามันช่วยเพิ่มโอกาศหนีรอดจาก Missile sam เท่านั้นเองใช่เปล่าครับ

โดยคุณ yamaha เมื่อวันที่ 23/11/2011 02:58:11


ความคิดเห็นที่ 29


 http://www.youtube.com/watch?v=CWaTMntx_xI    แถมอีกนิดนะครับ จากหลักการที่อธิบาย ก็เหมือน Missile KEPD 350 ระยะยิงที่ 500 กิโลเมตร ตัวนี้ ช่วยให้ เครื่องบินรบปลอดภัยมากขึ้น เช่นสมมุต เมื่อปล่อยจากเครื่องบินรบตามในคลิป (ติดตั้งใน Jas39 ได้ด้วย *0* ) โดยที่ป้าหมายอยู่ห่างจากเครื่องบินรบ 400 กิโลเมตร ก็สามารถยิงได้อย่างสบาย และปลอดภัยจาก Missile 100 เปอร์เซ็นแน่นอน เพราะตอนยิงนั้นเครื่องบินอยู่ห่างจากเป้าหมายที่ต้องการทำลายถึง 400 กิโลเมตร ถึงแม้ว่าศัตรู จะตรวจจับได้ที่ ระยะ 400 กิโลเมตร ก็เหอะ แต่ มันก็ไม่เพียงพอที่จะไล่ตามเครื่องบินรบ ที่ปล่อย KEPD 350 ได้ เพราะ ระยะห่าง และการเตือนภัย Missile sam แบบพื้นสู่อากาศ ในเครื่องบินรบรุ่นใหม่ๆ นั้นสามารถเตือนภัย ให้กับนักบิน  และทำให้เครื่องบินรบปลอดภัยจาก Sam แบบพื้นสู่อากาศ  

แต่อาวุธตัวนี้มันติดตั้งใน F22 ไม่ได้ใช่เปล่าครับ แบบนี้แสดงว่า F22 ก็ไม่ได้เทพทุกอย่าง 555+

 

ถ้าผมอธิบายผิดกราบขออภัยท่านผู้อ่านไว้นะที่นี้ด้วยนะคับ

โดยคุณ yamaha เมื่อวันที่ 23/11/2011 03:07:32


ความคิดเห็นที่ 30


อันนี้ก็แถมอีกละกัน ความเห็นส่วนตัว ต้องทำความเข้าใจกับระยะทำการของอวุธที่จะใช้ทำลายเป้าหมาย ขนาดของเป้าหมาย ความสำคัญของเป้าหมาย และเป้าหมายนั้นมันอยู่บริเวณใดของศัตรูด้วยครับ ถ้าไกล้ก้ไม่น่าพลาด แต่ถ้าไกลก็อาจจะพลาดเพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่จะทำให้พลาดเป้าหมาย เช่น การก่อกวนทางอิเลคทรอนิค สภาพอากาศ 

พอดีทราบมาว่าในบอร์ดนี้เคยคุยกันเรื่องชุด Kit สำหรับติดตั้งให้กับระบเดตระกูล MKสุกี้ เอ้ย! ไม่ใช่ MK-xxx ที่ทาง ทอ.วิจัยและพัฒนาอยู่ท่านใดมีข้อมูลเอามาแชร์กันบ้างครับ

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 23/11/2011 05:20:41


ความคิดเห็นที่ 31


ชุดKIT ที่คุณ ALPHA001 ถามถึงนั้นคือ LONG SHOT ครับ พัฒนาโดย ศูนย์วิทยาศาตร์และพัฒนาระบบกองทัพอากาศ หรือ ศวอ.ทอ. จะติดตั้งกัยระเบิดพวก GBU ซึ่งจะสามารถปล่อยระเบิดได้ในระยะไกลประมาณ 60 กิโลเมตร ขั้นแรกจะนำวิถีด้วย GPS/INS เมื่อใกล้ถึงเป้าหมายจะนำวิถีด้วย LASER พุ่งเข้าหาเป้าหมาย มีคุยกันในกระทู้เก่าๆตามนี้ครับ

http://www.thaifighterclub.org/webboard.php?action=detailQuestion&questionid=8918&topic=%C8%C7.%B7%CD.%20%B7%B4%CA%CD%BA%C3%D0%E0%BA%D4%B4%C3%E8%CD%B9%A1%D1%BA%20F-16%20%A4%C3%D1%BA&PHPSESSID=ae6615072

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 23/11/2011 21:22:40


ความคิดเห็นที่ 32


ขอบคุณครับ

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 24/11/2011 03:24:40


ความคิดเห็นที่ 33


สรุปมันใช้ดาวเทียมในการบอกต่ำแหน่ง และข้อสำคัญคือ หาก F22 เข้าใกล้เรดาห์มากเท่าไหร่โอกาศโดนตรวจจับก็มีเยอะใช่เปล่าครับ

ส่วนด่านอาวุธนั้น F22 ติดตั้งอาวุธ ที่เน้นทางด่าน Missile Aim-9 กับระเบิดนิดหน่อย เลยทำให้ความสามารถทางด้านอาวุธน้อยกว่าเครื่องบินอย่าง F15 F16 ใช่เปล่าครับ

โดยคุณ yamaha เมื่อวันที่ 25/11/2011 09:05:31


ความคิดเห็นที่ 34


ถ้าไม่มีขีปนาวุธอะไรที่สอย F-22 ได้

ขอแนะนำขีปนาวุธรุ่นนี้ รับรองโดนชัว ไม่มีพลาด 55+


โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 26/11/2011 07:10:25