คือผมรู้มาไ่นานมานี้เองครับว่ารถถังStingrayมีใช้แค่ในประเทศไทยประเทศเดียวจริงหรือไม่ครับ
ถ้าจริงขอรู้ความเป็นมาของรถถังรุ่นนี้หน่อยครับ มันมีประสิทธิภาพขนาดไหน
แล้วเราสามารถผลิตเองได้หรือไม่
1.มีประจำการที่ไทยประเทศเดียวครับ
2.ประสิทธิภาพถือว่าดีเลยดีเดียวครับ เร็ว คล่องตัว อานุภาพในการยิงนี่เทียบเท่ากับรถถังหลังเลยทีเดียว(มีข้อเสียคือเกราะบางไปหน่อย)
3.ไทยผลิตเองไม่ได้ครับ
2.ประสิทธิภาพถือว่าดีเลยดีเดียวครับ เร็ว คล่องตัว อานุภาพในการยิงนี่เทียบเท่ากับรถถังหลังเลยทีเดียว
555+ รถถังหลังเป็นยังไงครับท่าน Akula อธิบายหน่อยครับไม่เข้าใจ(แซวเล่นนะครับ 55++)
เป็นรถถังที่สวยที่สุดของไทย หุหุ
ปืนใหญ่ 105mm ขนาดเดียวกับรถถังหลัก
จริงๆมันก็คล้ายๆกับพวก LAV,APC,BTR,STRYKER แค่ขนคนไม่ได้ + ติดปืนใหญ่เข้าไป
เน้นเข้าตีแบบฉาบฉวย ยิงแล้วหนี ใช้ความคล่องตัว อยู่นานไม่ได้ เดี๋ยวโดนสวน
เกราะบางมาก แค่ปืนเจาะเกราะ 23mm ของพวก BTR-3 ,APC ต่างๆนาๆ ก็ยิงทะลุสบายๆ
555+หน้าแหก
รถถังหลักครับขออภัย
ครูฝึกผมบอกว่า มันเป็นรถถังที่ไม่ผ่านมตรฐานของสหรัฐจึงไม่ได้เข้าประจำการในกองทัพสหรัฐใช่หรือป่าวครับ
เริ่มแรกเดิมทีUS. ต้องการรถถังขนาดเบาที่ทิ้งร่มทางC-130ได้ ทำไปทำมาเกิดเปลี่ยนใจไม่ทำต่อและ ทีนี้ก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรกับรถถังต้นแบบที่ผลิตออกมาแล้วดี(สามรึสี่ร้อยคันผมจำไม่ได้)ทีนี้ยังใงไม่รู้ กองทัพเรากว้านซื้อมาซะหมด แต่ในยุคนั้นรถถังสติงเรย์ก็ถือว่ามีระบบควบคุมการยิงที่ทันสมัยมาก มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษกิ๊บเก๋ว่าstabilizer แบบเดิยวกับ M1 ตอนมาประจำการได้ไหม่ๆ เขาว่าเอาไปดริฟ ปรากฎว่าช่วงล่างแหกทั้งหมดว่ากันว่าร้าวรานกันเลยทีเดิยว เป็นข่าวที่ครึกโครมมากในตอนนั้น แต่ดีที่ถึงแม้จะหมดประกันไปแล้ว(ไม่รู้ว่าทำชั้นไหนไว้) บริษัทผู้ผลิตก็มาซ่อมปรับปรุงแก้ใขจุดบกพร่องให้ ก้เลยกลับมาหล่อเหมือนเดิม น่าภูมิใจจริงๆ มีใช้จ้าวเดิยวในสามโลก จริงๆน่าจะซื้อสิทธิ์บัตรมาผลิตเลยเนอะ
"Stringray" เป็นรถถังเบาออกแบบมาแทนรถถังเบา "เชอริแดน" ที่ปลดประจำการไป แต่ปรากฎว่า US ไม่มีหลักนิยมที่จะกลับไปใช้รถถัง
เบาอีก มุ่งเน้นแต่รถถังหลักอย่างเดียว เลยไม่มีประจำการในUS ที่ไทยซื้อมาก็เพราะว่าต้องการรถถังเบาที่ทันสมัยและคล่องตัวไปปิดจุดอ่อนแถว
อีสานเหนือในขณะนั้นพอดี เพราะ M-48 ที่ได้มาก่อนหน้านั้น ไม่คล่องตัวพอไม่เป็นที่พอใจนัก โดยซื้อเป็นเจ้าแรกไม่ได้คิดว่าจะไม่มีคนซื้อตามมาอีก
ผู้ผลิตก็ยังคาดหวังจะขายให้ US และประเทศอื่นๆ อยู่เหมือนกันจึงได้พัฒนา Stringray 2 ตามออกมา แต่ก็เงียบ ขายไม่ออก หลักนิยมเปลี่ยน
เพราะหลังจากนั้นไม่นาน US มี M1 ทยอยเข้าประจำการมากขึ้นแล้ว จึงได้โละ M-60 ออกมาขายพันธมิตรเป็นจำนวนมาก หลายพันคัน
หลังสงครามอ่าวครั้งแรก จึงไม่ค่อยมีประเทศไหนสนใจรถถังเบากันเท่าไหร่ เพราะมีรถถังหลักถูกๆ มือ2 ออกมามาก และต้องการรถถังหลักมากกว่า
สังเกตุได้เลยว่า รถถังเบาในช่วง 20 ปีมานี้ ขายได้น้อย เพราะไม่เป็นที่นิยมเหมือนรถถังหลัก สำหรับประเทศไทยมันยังมีคุณค่าสูงอยู่ครับ
Stringray "ปลากระเบนธง" ในแง่การตลาดน่าจะมุ่งพัฒนาเพื่อเป็นรถถังเบาให้กับ นาวิกโยธิน ลำเลียงขึ้นฝั่งโดยเรือเกยหาดมากกว่า
จะใช้เป็นรถถังต่อสู้รถถัง ภาระกิจน่าจะเป็นรถถังเบาสนันสนุนทหารราบ หรือยกพลขึ้นบกมากกว่า แต่สำหรับประเทศไทยคงใช้เอนกประสงค์
ครู ฝึกหน่วยไหนหว่ะ ไม่รู้จริงแล้วพูพล่อยๆ....เป็นทหารซะป่าว....
สตริงเรย์เป็น รถถังเบา ซึ่งตอนนั้นหลักนิยมของอเมริกา ไม่นิยมถังเบาแล้ว
เป็นลูกน้องจะซ่อมซะให้เข็ด ปากพล่อย
ถ้าจะใช้ปืน 105 mm ไปยิงใส่รถถังขนาดหนักเกราะหนาก็คิดหนัก เพราะไม่สามารถกำจัดเป้าหมายในนัดเดียว แถมระยะการยิงก็สั้นกว่ามาก
ท่านผู้พันครับ อย่าซ่อมแรงนะครับ เอาม้วนหน้า ข้าวต้มมัด กับพุ่งหลัง สัก 100 ยกพอครับ แล้วแถมด้วยกระโดดกบนิดนึง
เชอริแดน ทำหน้าที่ตั้งแต่สงครามเวียดนาม และปรับปรุงใช้งานเลยไปจนถึงสงครามอ่าวครั้งแรก เมื่อปี 1996 เลยนะครับ
ที่เจ้ากระเบนธงไม่เข้าวิน อาจมีหลายๆสาเหตุจากเพื่อนๆสมาชิกกล่าวกันมา รูปแบบสงครามพื้นที่การรบก็เป็นปัจจัย ในการกำหนดอาวุธยุทโธปกรณ์
แต่อย่างไรก็ตาม กระเบนธงตัวนี้ ดูยังไงก็ยังทันสมัยอยู่เลยนะครับ เพราะชอบรูปทรงของป้อมปืนมากๆ
ถ้าออกสมรภูมิรบจริงๆเสริมเกาะหน่อยก็ดี แถวรอบๆบ้าน หัวปลี 7มีเยอะ
สงครามอ่าวครั้งแรกปี 1991 ครับ
อีกปัจจัยหนึ่งที่เจ้ากระเบนธงไม่ได้รับเลือกแทนเชอริดาน เพราะมันบรรทุกไปกับC-130ไม่ได้ สรอ.จึงเลือกที่จะปรับปรุงเชอริดานเพราะราคาถูกกว่าและใช้จนกว่าจะปลด หลังจากนั้น IFV และยานเกราะล้อยางเข้ามามีบทบาทแทนรถถังเบา
เท่าที่เข้าใจและทราบมา.. รู้สึกว่าการจัดหา จัดซื้อ ไม่ใช่กองทัพบก แต่เป็นนักการเมืองในสมัยนั้นๆ
เอ่อ..แล้วตอนนี้หลักนิยมของกองทัพบกไทย ยังต้องการรถถังเบาอยู่รึเปล่าครับ