น.อ.ไพศาล วงค์เมฆ ผู้บังคับการ ร.ล.นเรศวร ให้การต้อนรับคณะกรรมการอำนวยการปรับปรุง เรือฟริเกต ชุด ร.ล.นเรศวร ในการสำรวจพื้นที่และระบบต่างๆ ภายในเรือ เมื่อ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๔
ความเป็นมา
ทร. อนุมัติแผนการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๒ ภายใต้ผลผลิต การเตรียมกำลังและใช้กำลังในการป้องกันประเทศและรักษาความมั่นคงภายใน โดยกำลังกองทัพเรือ สำหรับกิจกรรมการเตรียมความพร้อมด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ โครงการปรับปรุงเรือฟริเกต ชุด ร.ล.นเรศวร จำนวน ๒ ลำ ก่อหนี้ผูกพัน ๕ ปี (งป.๕๒ - งป.๕๖)
๑. การดำเนินการที่ผ่านมา
๑.๑ ทร.บรรจุความต้องการงบประมาณโครงการปรับปรุงเรือ ฟก. ชุด ร.ล.นเรศวร ไว้ในโครงการเสริมสร้างกำลังกองทัพที่ก่อหนี้ผูกพันข้ามปีเริ่มใหม่ในปีงบประมาณ ๒๕๕๔ ตั้งแต่ปีงบประมาณ๒๕๕๔ - ๒๕๕๗ (เป็นไปตามที่ ทร.เสนอไว้)
๑.๒ เมื่อ ๖ ต.ค.๕๓ ทร. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการปรับปรุงเรือฟริเกต ชุดร.ล.นเรศวร (กฟน.) โดยมี พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ และ ปษ.พิเศษ ทร.(๒)เป็นประธานกรรมการ
๑.๓ เมื่อ ๑ พ.ย.๕๓ กฟน.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการร่างสัญญา/ข้อตกลงซื้อหรือจ้างสำหรับโครงการปรับปรุงเรือฟริเกต ชุด ร.ล.นเรศวร
๒. แผนงานการดำเนินการ
๒.๑ | ทบทวนแนวความคิดในการปฏิบัติการและการส่งกำลังบำรุง (Concept of Operations and Concept of Logistics Support) ตลอดจนให้มีการศึกษารายละเอียดแนวความคิดในการใช้งานและคุณลักษณะทางด้านเทคนิคของระบบหลักที่จะทำการปรับปรุง | ธ.ค.๕๒ - ก.พ.๕๓ |
- การทบทวนความต้องการเบื้องต้น (Staff Target: ST) | ภายใน ก.พ.๕๓ | |
- ประชุม กฟน. รับทราบรายงานผลการศึกษาฯ ระบบป้องกันภัยทางอากาศ | ๑๗ ก.พ.๕๓ | |
- ประชุม กฟน. รับทราบรายงานผลการศึกษาฯ ระบบอาวุธปราบเรือดำน้ำ | ๒ มี.ค.๕๓ | |
- ประชุม กฟน. รับทราบรายงานผลการศึกษาฯระบบสื่อสารและสงครามอิเล็กทรอนิกส์และระบบอำนวยการรบ | ๓ มี.ค.๕๓ | |
- ประชุม กฟน. รับทราบรายงานผลการศึกษาฯการสนับสนุน การรื้อถอน ติดตั้ง และทดสอบทดลอง | ๕ มี.ค.๕๓ | |
- คณะทำงานทุกคณะ รายงานผลการศึกษาเป็นลายลักษณ์อักษรเสนอ กฟน. (ผ่านฝ่ายเลขานุการฯ) | ๑๕ มี.ค.๕๓ | |
๒.๒ | แก้ไขคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนด SR ฯ | ภายใน มี.ค.๕๓ |
๒.๓ | รับทราบผลการพิจารณากรอบงบประมาณขั้นต้นของสำนักงบประมาณ และ/หรือ ครม. | ก.พ. - มี.ค.๕๓ |
๒.๔ | ประชุม กฟน. พิจารณากำหนดขอบเขตงานปรับปรุงฯ สำหรับงบประมาณ ๒๕๕๔ | ประมาณ ๒๖ มี.ค.๕๓ |
๒.๕ | พิจารณาทบทวน TOR สำหรับการคัดเลือกแบบฯ | พ.ค. - ต้น ก.ค.๕๓ |
๒.๖ | ออกหนังสือเชิญชวนยื่นข้อเสนอแบบปรับปรุงเรือฯ | ประมาณ ๑๒ ก.ค.๕๓ |
๒.๗ | พิจารณาคัดเลือกแบบปรับปรุงเรือฯ | ๒๗ ส.ค. - ๓๐ ก.ย.๕๓ |
๒.๘ | เชิญบริษัทที่ได้รับการคัดเลือกแบบปรับปรุงเรือฯ มาเสนอราคา | ต.ค.๕๓ |
๒.๙ | เจรจาต่อรอง ขออนุมัติจัดซื้อ/จ้าง และร่างสัญญาฯ | พ.ย. - ธ.ค.๕๓ |
๒.๑๐ | ลงนามในสัญญาฯ | ธ.ค.๕๓ - ม.ค.๕๔ |
๒.๑๑ | ดำเนินงานปรับปรุงเรือฯ | ม.ค.๕๔ - ก.ย.๕๗ |
๓. ความก้าวหน้าโครงการฯ
๓.๑ เมื่อ ๖ ต.ค.๕๓ คณะกรรมการคัดเลือกแบบฯ ได้ประกอบผลการพิจารณาข้อเสนอแบบระบบการรบสำหรับโครงการปรับปรุงเรือฟริเกต ชุด ร.ล.นเรศวร โดยแบบการรบที่ได้รับการคัดเลือกได้แก่ แบบระบบการรบของบริษัท Saab AB (Publ) ราชอาณาจักรสวีเดน
๓.๒ เมื่อ ๑๘ ต.ค.๕๓ ได้มีหนังสือถึงกรรมการผู้จัดการบริษัท SaabAB (Publ) ราชอาณาจักรสวีเดน (ผ่านบริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด)ขอให้ยืนยันข้อเสนอแบบระบบการรบ และคุณลักษณะทางเทคนิค สำหรับการปรับปรุงเรือฯระยะที่ ๑ ตามที่ได้ยื่นเสนอมา
๓.๓ เมื่อ ๒๙ พ.ย.๕๓ บริษัท SaabAB (Publ) ราชอาณาจักรสวีเดนได้ยื่นเสนอแบบระบบการรบ ณ ห้องประชุม สยป.ทร.
- เมื่อ ๖ ต.ค.๕๓ ทร. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการปรับปรุงเรือฟริเกต ชุด ร.ล.นเรศวร(กฟน.) โดยมี พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ และ ปษ.พิเศษ ทร.(๒) เป็นประธานกรรมการ
- เมื่อ ๕ พ.ย.๕๓ ทร. ขออนุมัติแผนปฏิบัติการจัดซื้อ/จ้าง โครงการจัดหายุทโธปกรณ์ที่ก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๕๔ สำหรับโครงการปรับปรุงเรือ ฟก. ชุด ร.ล.นเรศวร จำนวน ๒ ลำ ผูกพันงบประมาณ ๒๕๕๔ - ๒๕๕๗ จำแนกเป็น ๓ รายการจัดซื้อ ดังนี้
๑. การจัดซื้อระบบอำนวยการรบ ระบบตรวจการณ์ และระบบสื่อสาร
๒. การจัดซื้อ MK41 VLS
๓. การจัดซื้อระบบ Tactical DataLink
๓.๔ กฟน. ได้อนุมัติให้แบบระบบการรบของบริษัท Saab AB(Publ) ราชอาณาจักรสวีเดน เป็นแบบระบบการรบที่ได้รับการคัดเลือกสำหรับการจัดหาและได้มีหนังสือเชิญชวนให้บริษัทฯมายื่นข้อเสนอราคาต่อประธานกรรมการจัดซื้อฯ โดยวิธีพิเศษ (ผช.เสธ.ทร.ฝยก.)และคณะกรรมการจัดซื้อฯ ได้พิจารณาข้อเสนอราคาและเจรจาต่อรองจนถึงที่สุดแล้วซึ่งบริษัทฯ ยินดีลดราคา ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำร่างสัญญาฯ
๓.๕ สพ.ทร. ได้ดำเนินการจัดซื้อ MK41VLSภายใต้การกำกับดูแลของ กฟน. โดยได้มีหนังสือเชิญชวนให้บริษัท LockheedMartin สหรัฐฯ ผู้ผลิตฯ มาเสนอราคาแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำร่างสัญญาฯ
๓.๖ สสท.ทร.ได้เนินการจัดซื้อระบบ Tactical Data Link (LinkE และ Link G) จากบริษัท Saab AB(Publ) ราชอาณาจักรสวีเดน โดยได้มีหนังสือเชิญชวนให้บริษัทฯ มายื่นข้อเสนอราคาแล้วปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำร่างสัญญาฯ
๔. แผนการดำเนินโครงการ
๔.๑ พิจารณาเสนอทร. ขอความเห็นชอบ และเสนอ กห.อนุมัติจัดซื้อ รวมทั้งเสนอสำนักงบประมาณพิจารณาความเหมาะสมของราคาฯ และเสนอครม.ขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันงบประมาณข้ามปีงบประมาณประมาณ กลาง ก.พ.๕๔
๔.๒ เจรจาจัดทำร่างสัญญาจัดซื้อ/จ้างฯ ประมาณ ก.พ.- มี.ค.๕๔
๔.๓ พิจารณาเสนอ ทร. ลงนามในสัญญาจัดซื้อ/จ้างฯประมาณปลาย มี.ค. - ต้น เม.ย.๕๔
๔.๔ เมื่อ ๔ ก.พ.๕๔กฟน.เห็นชอบเสนอ ทร. ขออนุมัติจัดซื้อ
๔.๕ เมื่อ ๒๓ ก.พ.๕๔ ทร.เห็นชอบการขออนุมัติจัดซื้อและพิจารณาเสนอ ทท.
๔.๖ เมื่อ ๒๑ มี.ค.๕๔ทท.เห็นชอบการขออนุมัติจัดซื้อ และพิจารณาเสนอ กห.
๔.๗ เมื่อ ๘ เม.ย.๕๔ รมว.กห.ลงนามเรียนเลขาธิการคณะรัฐมนตรีขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครงการปรับปรุงเรือ ฟก.ชุด ร.ล.นเรศวร
๔.๘ เมื่อ ๒๖ เม.ย.๕๔ ครม.อนุมัติให้ทร.ก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครงการฯ
๔.๙ เมื่อ ๔ พ.ค.๕๔ กห.อนุมัติให้ ทร.จัดซื้อฯ
๔.๑๐ เมื่อ ๒๔ พ.ค.๕๔ เสนอทร.อนุมัติร่างสัญญาฯ
๔.๑๑ เมื่อ ๓๐ พ.ค.๕๔ ทร.อนุมัติร่างสัญญาฯ โดยมีกำหนดลงนามฯ ใน ๓มิ.ย.๕๔
๔.๑๒ เมื่อ ๓มิ.ย.๕๔ ทร.ลงนามในสัญญาซื้อขายระบบการรบฯ กับบริษัท Saab AB (Publ) ราชอาณาจักรสวีเดน สัญญาซื้อขายระบบแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีแนวตั้งแบบMK41 กับบริษัท LOCKHEED MARTIN Global, Inc. สหรัฐอเมริกาและสัญญาซื้อขายระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีอัตโนมัติ กับบริษัท Saab AB (Publ) ราชอาณาจักรสวีเดน เรียบร้อยแล้ว
๕. ขอบเขตสัญญา
๕.๑.๒ สัญญาซื้อขายระบบแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีแนวตั้งแบบ MK41 กับบริษัทLOCKHEED MARTIN Global, Inc. สหรัฐอเมริกา เลขที่ FG 2/2011
๕.๑.๓ สัญญาซื้อขายระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีอัตโนมัติกับบริษัท Saab AB (Publ) ราชอาณาจักรสวีเดน เลขที่ FG 3/2011
๕.๒ งบประมาณสำหรับโครงการฯ
๕.๒.๑ สัญญาซื้อขายระบบการรบฯ ผูกพันงบประมาณปี ๕๔ - ๕๗ โดย สปช.ทร. จัดสรร
๕.๒.๒ สัญญาซื้อขายระบบแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีแนวตั้งแบบMK41ฯ ผูกพันงบประมาณปี ๕๔ - ๕๗ โดย สปช.ทร.จัดสรร
๕.๒.๓ สัญญาซื้อขายระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีอัตโนมัติฯผูกพันงบประมาณปี ๕๔ - ๕๗ โดย สปช.ทร. จัดสรร
http://www.navy.mi.th/namo/index.php?option=com_content&view=article&id=83:2009-08-26-08-50-50&catid=57:2009-08-25-02-29-04&Itemid=28
http://thaidefense-news.blogspot.com/2011/11/blog-post.html
เยี่ยมเลย ขอให้ปรับปรุงเสร็จเร็วๆ และอีกเรื่องหนึ่ง อยากให้เรือรบของเราทาสีดำทั้งลำบ้าง มันเป็นความชอบส่วนตัวครับ เพราะดูดุ และน่าเกรงขามดี แต่คิดว่าเรื่องสีของเรือ คงไม่มีผลในการรบ
ในภาพเป็นกองเรือ ของประเทศชิลี
ไชโย เราจะมี Vls ใช้แล้ว
ยินดีด้วยครับ การอัพเกรดครั้งนี้ครอบคลุมทั้ง 3มิติ ถือว่าสมบูรณ์ในระดับเรือรบหลักของไทยเรา
ส่วนระบบป้องกันระยะประชิด ยังอยากใด้ AK-630 II หรือไม่ก็ kashtan-M (ความชอบส่วนตัว)
เพราะมันสามารถติดตามและทำลายเป้าหมาย ที่มีวงโคจรทางขวาง ทำให้สามารถคุ้มครองเรือลำอื่นๆในขบวนใด้ ในระยะ 3.5km
กลุ่มกระสุนก็หนาแน่น มี%สูงในการป้องกันเรือในระยะสุดท้าย
เป็นการพัฒนาที่ดีสำหรับกองทัพเรือครับเมื่อติดตั้งระบบป้องกันถัยทางอากาศให้กับเรือแล้ว ที่ออกให้เพิ่มคือพวกระบบต่อต้านระยะประชิดเพิ่มเติม ระบบที่น่าสนใจก็มีมาก แต่ที่มีคว่ามน่าจะเป็นคือระบบ RIM-16 และที่อีกแบบก็ ฟาร์ลั้ง แต่จำรุ่นบล็อคไม้ได้ว่ามีกี่บล็อค โกลด์คีฟเปอร์ เหตุผลง่ายๆครับ มาตราฐาน NATO 555 ส่วนที่ท่านfantom เสนอโอกาสเกิดยากครับเพราะอะไรล่ะก็ ก็เพราะไม่มาตราฐาน NATO ไงล่ะ 555 ทำให้การเชื่อมต่อมันลำบากเพราะระบบ NATO คุยกับรัสเซียไม่รู้เรื่อง555 อย่าโกรธกันนา
จริงผมก็ชอบ RAM แท่นยิง 21 นัดนะ อยากเอามาแทนแท่นปืน 37มม.ของจีน ส่วนเรด้าร์ควบคุมการยิงก็สามารถติดตั้งทดแทนเรด้าร์ของปืน 37มม. ได้ แต่ปัญหาคืองบประมาณนี่สิครับ ราคาต่อแท่นยิงพร้อมลูกอาวุธนำวิถีทั้ง 21 นัด ก็ 400-500 ล้านต่อ1 แท่นยิง 2 แท่นยิงพร้อมเรด้าร์น่าจะราวๆ 1000 ล้านบาท คงยากที่ทร. จะจัดหา น่าจะออกแนวๆ DS-30 ของ MSI มาทดแทนมากกว่า แต่ถ้าได้ sehawk sigma มาก็ไม่หยอกนะครับ แต่ราคาก็คงแพงใช่เล่นเลย
ยังไงก็เก็บเงินไปต่อเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศเพียวๆเลยดีกว่าครับ
ตำแหน่งของเรด้าร์ควบคุมการยิงปืน 37 มม. นั้นเหมาะสำหรับติดตั้ง CIWs ที่สุดเลยเพราะอยู่บนหลังคาโรงเก็บฮ. ซึ่งสามารถครอบคลุมการยิงด้านข้างและด้านหลังทั้งหมดเลย แต่จะจำกัดที่มุมด้านหน้า แต่ ESSM ก็ทำหน้าที่ยิงสกัดอาวุธนำวิถีได้ดีระดับหนึ่งที่เดียว ผมอยากให้ติดตั้ง RAM 21 นัด หรือ sea ram 11 นัดก็ได้(ใช้แท่นยิงฟาลังค์พร้อมเรด้าร์และเป้ฯ stand alone) ตอนนี้ระบบก็รองรับ RIM-116 block 2 แล้ว ซึ่งเขาว่าเจ๋งกว่า แม่นกว่า ทนต่อการแจมมากกว่า แถมระยะยิงก็ไกลกว่าเดิม 2 เท่า(น่าจะราวๆ 18 กิโล) ตำแหน่งเหนือโรงเก็บก็ทำให้เราสามารถติดตั้งได้โดยใช้เพียงแท่นเดียวเท่านั้น ถ้าใช้ sea ram ก็น่าจะใช้เงินประมาณสัก 500 ล้านบาทได้ โรงเก็บก็น่าจะแข็งแรงพอ แต่อย่างว่า เงินเงินเงินและก็เงิน
Block 2 is next step in the development of the Rolling Airframe Missile. The Block 2 missile will feature a kinematic and RF receiver upgrade, a larger and more powerful rocket motor, and an advanced control section. This will make the missile three times as maneuverable as the RIM-116B (Block 1) with twice the effective intercept range.
Mistral เป็นระบบจรวดต่อต้านอากาศยานระยะสั้น ระยะยิงประมาณ 5 กม.ความเร็วประมาณ 2.5 มัค นำวิถีด้วยอินฟราเรด ระบบนี้ก็น่าจะเหมาะสมนะครับเพราะว่าเราก็มีประจำการแล้ว อีกอย่างก็คือการซ่อมบำรุงก็น่าจะง่ายกว่าเพราะเรามีประจำการ เมื่อติดตั้ง 2แท่นเราก็จะได้จำนวนมิสไซด์ 12 ลูก (1ระบบมี 6 ลูก)ระบบการทำงาน
ของระบบ sadalเมื่ออาวุธปล่อยเข้าโจมตีเรือ Sadral จะจับเป้าหมายด้วยกล้องโทรทัศนืหรืออินฟราเรด และเมื่ออาวุธปล่อยวิ่งเข้าในระยะทำการของ IR Seeker ของ Mistral ตัวจรวดก็จะวิ่งออกไป เมื่อถึงเป้าหมายจรวดจะระเบิดออกพร้อมปล่อยลูกปรายจะนวนมากเข้าทำลายเป้าหมาย
แต่ถ้าเรามองไปที่ระบบอื่นอย่างที่ข้างบนนำเสนอ หรือที่ผมได้บอกไว้เบื้องต้นเช่น RIM-116 โกลด์คีปเปอร์ นั้นแน่นอนครับราคาทั้งระบบอย่างน้อยก็เกิน500ล้านขึ้นไปแน่นอน เดี๋ยวมาต่อครับ
เรื่องจะติดตั้ง ciws บนโรงเก็บ ฮ.คงเป็นไปไม่ได้ครับเพราะว่า ด้วย สถานที่และอุปกรณ์อำนวยความสถดวกของระบบ ciws มันไม่มีครับนะที่ตรงนั้น การจะเก็บกระสุน และวัตถูระเบิด โดยหลักทั่วไปจะเก็บอยู่ใต้แนวนน้ำทั้งนี้เพื่อเป็นการลดอุณหภูมิ ป้องกัน การเสื่อมสภาพของดินขับภายในลูกกระสุนด้วย ครับ นอกจากนี้ ยังต้องมีระบบกระจายความเย็นของคลังกระสุนที่จะติดตั้งอีกด้วย อีกปัจจัยหนึ่งคือ นอกจากจะต้องมีคลังกระสุนเพื่อเก็บแล้วยังจะต้องมีช่องทางสำหรับ load กระสุนด้วยครับ พื้นที่ตรงนั้นเป็นดาดฟ้าเปิด และมีความชันสูง การจะแบกกล่องกระสุนหนักๆ แล้วปืนบันได ชัน 90 องศา คงเป็นเรื่องอันตรายมิใช่น้อยในสถานการรบนะครับ ฝากไว้ให้คิดครับ จริงๆแล้วผมเป็นกำลังที่ดูแลการซ่อมทำและปรับปรุงเรือ ลำนี้ จึงสามารถบอกได้น่ะครับว่า อันไหนได้ไม่ได้ยัง
ในส่วนตัวมองว่า ถ้าจะติดตั้งอาวุธป้องกันระยะประชิดนั้น ดูแล้ว ซาดรัล น่าจะเหมาะสม ทั้งๆที่ในใจอยากจะได้ RAM แต่ว่าจุดที่จะติดตั้งได้นั้นดูแล้วคงจะต้องเป็นจุดเดียวกับปืน 37 มม. ของจีน นั่นหมายความว่าจะต้องถอดปืนชุดนี้ออกไป แต่ทั้งนี้จะมีผลอะไรหรือไม่ประสิทธิภาพของการรบถ้าถอดปืนชุดนี้ออกหากมีเรือที่โจมตีมีขนาดเล็กเข้ามาใกล้ จะใช้อะไรในการโจมตีเรือพวกนี้ได้ ดูแล้วสงสัยจะยากแฮะ โจทน์นี้ และเท่าที่ดูๆแล้ว ขีดความสามารถของปืน 37 มม.ของจีนก็มีขีดความสามารถในการป้องกันระยะประชิดได้ระดับหนึ่งคาดว่าคงยังใช้งานต่อไปแน่นอนไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากนี้
ถ้าดูผลจากการยิงหินฉลามแล้ว คิดว่าคงใช้เป็นCIWS ไม่ไหวล่ะครับ แต่ที่แน่ๆบอกได้อย่างนึงว่า ต้นปีหน้าจะทำการรื้อ ถอนปืน 37 ออกแล้วล่ะครับ
ไม่โกรธ ..แต่งอน
ไม่ทราบว่า เคยมีการทดสอบ 37มม กับโดรนบ้างหรือปล่าวครับ
เท่าที่เคยดูเคยเห็นแต่ Mistral ของ รล. จักรีนฤเบศร แม่นยำพอดู
แต่ถ้าสถานการณ์ รบจริงๆ คงปล่อยทีละ 2ลูกสำหรับ อวป วงโคจรก็จะต่างกันอีกเพื่อหลีกเลี่ยงระบบป้องกันเรือ
ความซับซ้อนของการวางระบบป้องกันและตอบโต้ ก็จะยุ่งยากขึ้นไปอีก
ตัวสวยๆของพี่หมีขาว YAK-150
ถ้าถอดปืน 37 มม.ออกแล้วพอจะบอกได้ไหมว่ากองทัพเรือจะเอาอะไรมาแทนตรงจุดนั้นครับ
ขอบคุณมากครับท่าน Tantawanlove สำหรับข้อมูล แสดงว่าเรือชั้นนี้ไม่ได้ออกแบบหลังคาโรงเก็บฮ.สำหรับติดตั้ง CIWs ตั้งแต่แรกแบบเรือบางแบบของต่างประเทศ การจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใดๆคงจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากทีเดียว ดังนั้นก็คงต้องติดตั้งกันที่ตำแหน่งปืน 37มม. อย่างเดียว
ผลการยิง 37 มม. ของจีนไม่ปลื้มขนาดนั้นเลยเหรอครับ(ขนาดมีเรด้าร์ควบคุมการยิง!) คงเป็นเหตุผลที่ต้องถอดถอนออกไป น่าลุ้นน่ะครับว่าอะไรจะมาแทน DS-30 เจ้าเก่า หรือ Sadral แหมแต่ถ้าจะเอาผนวกกันทั้งปืน 30 มม.ไว้ยิงเรือเล็กและจรวด mistral ไว้สอยอาวุธนำวิถี งานนี้ก็คงต้อง Seahawk sigma แหง๋ๆ
ติดตั้งครบๆก็ดีครับเรือชั้นนี้จะได้มีประสิทธิภาพเท่าเทียมชั้น Anzac ซะที เสียดายต่อออกมาแค่ 2 ลำ น่าจะต่อให้ครบ 8 ลำตามแผนตอนแรก
DS30M เป็นระบบปืนใหญ่กลอเนกประสงค์ที่ผลิตโดยบริษัท MSI Defense ประเทศอังกฤษซึ่งนอกจากจะทำการติดตั้งบนเรือของอังกฤษหลายลำเพื่อแทน Bofors 40mm แล้วยังมีการส่งออกไปหลายๆประเทศเช่นไทยเป็นต้น
ป้อมปืนของ DS สามารถรองรับปืนใหญ่ขนาด 25mm และ 30mm ได้หลายแบบเช่น Bushmaster 25mm หรือ 30mm, Mauser 30mm และ Oerlikon 30mm เป็นต้น
โดยแบบที่ไทยเลือกใช้นั้นเป็นของ Oerlikon 30mm/75cal อัตราการยิง 650นัดต่อวินาที กระสุน 160นัด น้ำหนักรวม 1,200 กก.
DS30M สามารถทำการควบคุมการยิงโดยใช้มือควบคุมป้อมปืนโดยตรงหรือผ่านระบบRemoteจากศูนย์ควบคุมการยิงได้ และสามารถทำการเล็งโดยใช้กล้องเล็งประจำปืนหรือระบบ Optronic เช่น Thales Mirador ได้เช่นกัน
ระบบป้องปืนของ DS30M ที่น่าสนใจอีกแบบคือระบบ SIGMA ซึ่งติดตั้งขีปนาวุธพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้แบบ Mistral ระยะยิง6กม. จำนวด3นัดต่อป้อมปืนเพื่อเพิ่มอำนาจการยิงต่อต้านอากาศยานและขีปนาวุธที่จะเข้าโจมตีเรือ
ระบบ SIGMA นี้น่าสนใจมากครับสำหรับเรือของไทยที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันตัวทางอากาศพิสัยใกล้
ซึ่งกองทัพเรือก็มีระบบ Sadral ซึ่งเป็นแท่นยิง Mistral 6นัดติดใน ร.ล.จักรีนฤเบศ 3ระบบ และมีแผนจะติดให้เรือชั้น ร.ล.ปัตตานี และ ร.ล.นเรศวร ลำละ2ระบบ
ในชั้น ร.ล.ปัตตานีนั้นส่วนตัวคิดว่าแทนที่จะติด Sadral ด้านข้างโรงเก็บ ฮ.หน้าปืน GAM 20mm นี้เปลี่ยนไปติด SIGMA แทนปืน20มม. พร้อมระบบเล็ง Optronic แบบ Mirador เพิ่มอีก1ระบบก็น่าจะดีกว่านะครับสำหรับการป้องกันตัว(จากข้อมู,ที่มี ทร.มี SAM ยิงประทับบ่าประจำเรือพอสมควรแล้ว) แต่จรวดMistralป้อมปืนละ3นัดอาจจะน้อยไปครับ ถ้าเพิ่มเป็นป้อมละ 6นัดเท่า Sadral ได้ก็ดีครับ (ซึ่งไม่ทราบจะมีข้อจำกัดด้านน้ำหนักหรือการออกแบบป้อมปืนหรือไม่)
จากบันทึกประจำวันของคุณAAG_th ครับ http://aagth1.exteen.com/20080215/ds30m-msi-defense
ใช่ครับถ้าถอดปืน 37 mm ออกมันก็ต้องมีอะไรมาทดแทน อย่างระบบที่น่าจะเป็นไปได้ที่สามรถติดตั้งแทนได้ทั้งขนาดและน้ำหนักที่ไม่หนักเกินของเก่าที่ถอดออกหรือถ้าเกินก็ไม่มากไปย่าง 3 ระบบที่ผมลองยกตัวอย่างมา ด้วยเหตุผลเดียวกันที่เคยเสนอไว้ว่า เรามีประจำการและการส่งกำลังบำรุงหรือการซ่อมบำรุงและเป็นมาตราฐานเดียวกัน อย่างเช่นปืนใหญ่ประจำเรือที่เรามี ก็จะเป็นขนาด 76/62mm ซึ่งถือเป็นมาตราฐานที่เรามีมานานแล้ว และประสิทธิภาพของระบบที่กล่าวมาก็น่าจะเพียงพอต่อภัยคุกคามในภูมิภาคได้
DS-30 อัตราการยิงมันจะน้อยไปหน่อยหรือเปล่าครับ สำหรับการยิงเป็นม่านป้องกัน อวป. ?
แล้วกระสุนพร้อมใช้แค่ 160 นัด ก็ต้องรีโหลดใหม่ ใช้เวลารีโหลดเท่าไหร่ มันจะทันการไหมครับ ?
ส่วนตัวถ้าคิดจะมี CIWS เอาแบบฟาลังซ์หรือ เอเค-630 ไปเลยจะดีกว่าไหมครับ ถ้าขนาดและน้ำหนักมันพอจะม๊อดลงในตำแหน่งปืนจีนได้
คุณ fantom ครับ รูป ยัค -141 ไม่ใช่หรือครับ (ถ้าผมเข้าใจผิด ก็ขอโทษครับ)
คนอ่านเป็นหมื่นเลยวุ้ย แต่ ทำไมคนตอบน้อยจัง HOT มาหลายวันล่ะ
มันเขียนอยู่นะครับว่ารูปยัค 150
หมายเลขในภาพก็เขียนไว้ชัดเจนแล้ว ว่า 141
http://en.wikipedia.org/wiki/Yakovlev_Yak-141
ขอประทานโทษครับ ท่าน jeab2511
เป็น ของ YAK-141 ครับ
ท่าน toeytei มันเป็นตัวทดสอบเพื่อเข้าสู่รุ่น 150 น่ะครับ แต่ตัวเครื่องยังเป็น 141 อยู่ พอดีลืมที่มา
Project List
[Aircraft]
MiG-35K - 2012
Su-27SM3 - 2015
PAK FA - 2015
Su-45 - 2015
Il-214 - 2015
Tu-22K - 2016
Yak-88 - 2017
Su-27SM5 - 2018
Su-44 - 2019
MiG-44 - 2020
Su-39
Su-50 - 2020
Mikoyan LMFS - undated
Rapira - 2022
Tu-244 - 2024
แต่ละโปรเจ็ค จะคืบไปใด้ตามเป้าหรือปล่าว ถ้างบไม่เพียงพอ ถ้าติดปัญหาทางเทคนิค ฯลฯ
คุณ fantom ไม่เป็นไรครับ ผมแค่สงสัยครับ ผมสอบถามตรงนี้เลยนะครับ โครงการยัค-141 มีปัญหาเรื่องการควบคุมและเครื่องยนต์ ผลิตไม่มากแล้วปลดประจำการเลย ไม่มีการพัฒนาต่อ ไม่ใช่หรือครับ เท่าที่ผมทราบนะครับ(ผิดถูกขอโทษด้วยครับ)
ผมลองไปค้นหาทั้งในอาจารย์ GOOGLE และเวปต่างประเทศและเวปของรัสเซีย เจอแต่โครงการ MIG-29Kกับ II-214 แล้วก็ MIG-44 แต่ก็ไม่เจอรายละเอียดอะไรเลย หรือว่ามันยังอยู่ในขั้นลับระดับสูงอยู่ อีกอย่างโครงการ YAK-141นั้นเคยดุใคคลิปทดสอบหลายคลิปรู้สึกจะมีอยู่คลิปหนึ่งที่มันตกกระแทกพื้นตอนทดสอบการขึ้นทางดิ่ง ส่วนการประจำการไม่แน่ใจว่าประจำการนานแค่ไหนอ่านเจอในสมรภูมิเมื่อสักปี 2536หรือ2537ไม่แน่ใจว่าประจำการบนเรือพรรทุกเครื่องบิน มิ้น ของรัสเซียหรืเปล่า อันนี้ก็ไม่ยืนยันนะครับเพราะหนังสือเล่มนั้นมันโดนปลวกเล่นงานไปแล้ว T_T โครงการอาวุธต่างของรัสเซียส่วนมากไม่ค่อยเปิดเผยอะไรมากจนกว่ามันจะบินและออกโชว์ในงานแอร์โชว์
ประมาณนั้นครับคุณALHA001 ดูจากอากู๋ กับหนังสือ ตกกันเป็นว่าเล่นเลยครับถึงได้ กราวด์ ชื่อเรือไม่ชัวร์เพราะนานแล้ว ผมเดาว่า่มี เคียฟ ขออีกนิด ยัค-141 มี3เครื่องยนต์ เสีย 1 เป็นตก แล้วF-35 ก็มี2เครื่องยนต์(2-3เครื่องไม่แน่ใจ) USA ออกแบบได้ดีกว่าหรือครับ(ถ้าคิดผิดก็ขอโทษด้วย)
แล้วพื้นที่ตรงหน้าโรงเก็บ ฮ. ใช้ติดตั้งอะไรได้บ้างล่ะครับ