โดย ศูนย์รัสเซียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เรือดำน้ำพลังดีเซล-ไฟฟ้าที่มีเกียรติประวัติมายาวนานในปัจจุบันคือเรือดำน้ำของรัสเซียและของฝรั่งเศส ทั้งสองประเทศได้นำเอาประสบการณ์ที่สั่งสมมากึ่งศตวรรษมาสร้างเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าที่ดีที่สุดของยุค ซึ่งของฝรั่งเศสเรียกว่าชั้น สกอร์ปิเน่(Scorpene) ส่วนของรัสเซียเรียกว่าชั้นอามูร์ (Amur)
เนื่องจากเรือชั้นสกอร์ปิเน่(Scorpene) ได้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางของนักการทหารและผู้นิยมเรือดำน้ำมาพอสมควรแล้ว ด้วยกองทัพเรือประเทศมาเลเซียได้ซื้อมาเข้าประจำการแล้ว 3 ลำทำให้มีการถูกนำเสนอทางสื่อต่างๆไปอย่างกว้างขวาง ในขณะที่คู่แข่งที่สำคัญของเรือชั้นนี้คือชั้นอามูร์ของรัสเซียไม่ได้ถูกนำเสนอบ่อยนัก ศูนย์รัสเซียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งที่มีหน้าที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารต่างๆของรัสเซียให้ชาวไทยได้รับทราบ จึงขอนำเสนอความเป็นมาของเรือดำน้ำชั้นอามูร์ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเรือดำน้ำขั้นสูงสุดของยุคมาให้ผู้สนใจได้รับทราบพอสังเขป
ก่อนที่จะกล่าวถึงความเป็นมาของเรือดำน้ำพลังดีเซล-ไฟฟ้ารัสเซีย ใคร่ขอทำความเข้าใจกับท่านผู้สนใจที่เพิ่งจะมาศึกษาเรื่องของเรือดำน้ำก่อนว่า คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของการปฏิบัติการใต้น้ำคือความเงียบ และนักออกแบบเรือดำน้ำรัสเซียได้ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการออกแบบใบพัดระบบเสียงเบามาก(Ultra quiet multi-bladed) “ทำให้เกิดเสียง เท่ากับลูกปลาโลมาตัวเดียวเท่านั้น” และสาเหตุสำคัญที่เรือดำน้ำต้องแข่งขันกันเรื่องความเงียบของการเดินเรือคือ “การตรวจพบเรือดำน้ำ จะตรวจพบจากเสียง และระบบนำร่องของตอร์ปิโด จะติดตามเป้าหมายตามเสียง” ดังนั้น หากเรือปฏิบัติการด้วยเสียงดังกว่าก็จะถูกตรวจจับและถูกโจมตีได้ก่อน ในทางตรงกันข้ามหากเรือปฏิบัติการด้วยเสียงที่เบากว่าก็จะถูกตรวจจับได้ช้ากว่า ทำให้มีโอกาสทำลายเรือฝ่ายข้าศึกได้ก่อน
เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าของรัสเซีย รุ่น 877 (Project 877)
สหภาพโซเวียตรุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการออกแบบและสร้างเรือดำน้ำพลังดีเซล-ไฟฟ้าหลายรุ่น ประกอบด้วย รุ่น 613 “วิสกี”(Project 613 “Whiskey”), รุ่น 611 “ซูลู” (Project 611 “Zulu”) และ รุ่น 641 “ฟ็อกทรอท” (Project 641 “Foxtrot”) เป็นต้น ซึ่งเรือดำน้ำแต่ละรุ่นได้สร้างขึ้นมาจากการนำเอาประสบการณ์การปฏิบัติการของเรือดำน้ำในสมรภูมิต่างๆรวมทั้งเทคโนโลยีที่สั่งสมมาตั้งแต่ก่อนสงคราม และเทคโนโลยีสูงสุดของยุคหลังสงคราม
การพัฒนาเรือดำน้ำพลังดีเซล-ไฟฟ้าจากพื้นฐานทางเทคโนโลยีสูงสุดของยุคได้เกิดเรือดำน้ำพลังดีเซล-ไฟฟ้ารุ่นที่สองของสหภาพโซเวียตคือรุ่น 641B “แทงโก” (Project 641B “Tango”)
ก้าวย่างที่ไกลที่สุดก้าวหนึ่งของเทคโนโลยีเรือดำน้ำพลังดีเซล-ไฟฟ้าของรัสเซียคือการสร้างเรือดำน้ำรุ่นที่สาม ซึ่งมีรหัสรุ่น 877และมีชื่อชั้น “กิโล” (Project 877 “Kilo”) ซึ่งขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าร้อยเปอร์เซ็นต์ การออกแบบลำตัวเรือมีความสมบูรณ์สูงสุดด้านไฮโดรไดนามิก(hydro-dynamic - อุทกพลศาสตร์) มีความคล่องตัวในการเคลื่อนที่ใต้น้ำสูง ใช้เทคโนโลยีไฮโดรออกุสติก(hydro-augustic) ขั้นสูงทำให้การเคลื่อนที่ของเรือเงียบมาก ประกอบกับอาวุธและระบบอัตโนมัติที่เป็นเทคโนโลยีล่าสุดทำให้เรือชั้น “กิโล” ตรวจจับได้ยากยิ่ง จนนักการทหารของนาโต( NATO)ให้ฉายาว่า “หลุมดำแห่งมหาสมุทร”( “a black hole in the ocean”)
การปฏิบัติการในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกได้ยืนยันถึงประสิทธิภาพของเรือชั้น”กิโล”เป็นอย่างดีว่าสามารถปฏิบัติการได้ทุกสภาพน้ำ การเป็นอยู่ของลูกเรือมีความสะดวกสบาย ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของเรือดำน้ำรุ่นนี้คือการออกแบบที่คำนึงถึงอายุการใช้งานของเรือ โดยการสามารถเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ ทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ระบบสื่อสาร ระบบของอาวุธนำวิถีและจรวดได้เมื่อหมดอายุการใช้งานแล้ว ดังนั้นเราจะเห็นว่าเรือชั้น “กิโล”จะอยู่ประจำการในกองทัพเรือของรัสเซียไปอีกนาน
เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า รหัสโครงการ 877E และ 877EKM(Project 877E,877EKM)
เรือดำน้ำ 877 “กิโล” เป็นเรือดำน้ำรุ่นที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของวงการเรือดำน้ำที่ไม่ใช่นิวเคลียร์ปลายศตวรรษที่ 20 จากความสำเร็จดังกล่าวได้นำไปสู่การพัฒนาเรือดำน้ำที่ผลิตขายให้กองทัพเรือของประเทศต่างๆ ซึ่งเรียกว่ารุ่น 877E และรุ่น 877EKM เรือดำน้ำทั้งสองรุ่นนี้ได้สร้างขึ้นโดยใช้ นวัตกรรมกรรมล่าสุดทางวิศวกรรมเรือดำน้ำของยุค อีกทั้งใช้ประสบการณ์การปฏิบัติการของเรือดำน้ำ รุ่น 641 “ฟ็อกทรอท” ที่ได้ประจำการอยู่ในกองทัพเรือประเทศต่างๆทั่วโลก
จุดเด่นของเรือดำน้ำรุ่น877Eและ 877EKM คือ
|
- ความเงียบขณะปฏิบัติการ
- ความสมบูรณ์แบบของการออกแบบตัวเรือ
- การใช้ระบบอัตโนมัติที่สมบูรณ์แบบ
- อาวุธที่มีอานุภาพสูงและสั่งการด้วยระบบอัตโนมัติ
- สภาพแวดล้อมที่ดีเอื้ออำนวยต่อการเป็นอยู่ของลูกเรือ
- บำรุงรักษาง่าย
|
|
เรือดำน้ำรุ่นรหัสโครงการ 877E “กิโล” รุ่นแรกได้ถูกส่งมอบให้กับกองทัพเรือโปแลนด์ อินเดีย อัลจีเรียและอิหร่าน ในปีค.ศ. 1986 จนถึงปัจจุบันเรือดำน้ำรุ่นนี้มีทั้งหมด 44 ลำประจำการอยู่ในกองทัพเรือรัสเซีย 24 ลำและประจำการอยู่ในกองทัพเรือประเทศต่างๆ 6 ประเทศจำนวน 20 ลำ (ที่กองทัพเรืออินเดียประเทศเดียว 10 ลำ)
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเรือดำน้ำรุ่นนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพของการทำงานของเรือ ความทนทานของอุปกรณ์ต่างๆ ความแม่นยำและอานุภาพของอาวุธ ความมีประสิทธิภาพของระบบและการทำงานโดยรวมของเรือ ความปลอดภัยและความสะดวกสบายของลูกเรือ เมื่อออกปฏิบัติการเป็นเวลานาน
เรือดำน้ำชั้น “กิโล”ได้ถูกออกแบบไว้เผื่อการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์และอาวุธในอนาคต ด้วยการออกแบบที่คำนึงถึงอายุการใช้งานของเรือที่ยาวนาน โดยสามารถเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ ทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ระบบสื่อสารและระบบของอาวุธนำวิถีและจรวดได้เมื่อหมดอายุการใช้งานหรือต้องการติดตั้งอาวุธและอุปกรณ์ใหม่ที่ทันสมัยกว่าเดิม ซึ่งเป็นการออกแบบที่ล้ำหน้ากว่าเรือดำน้ำขนาดเดียวกันที่ผลิตในประเทศอื่น จุดเด่นของเรือดำน้ำ 877E “กิโล” นอกจากที่ ได้กล่าวมาแล้วและที่เหนือกว่าเรือดำน้ำขนาดเดียวกันคือ
- ชุดขีปนาวุธที่ทันสมัยสามารถทำลายเป้าหมายได้แม่นยำในระยะที่ไกลกว่าเดิม
- ระบบนำร่องที่ทันสมัย สามารถเก็บบันทึกข้อมูลเป้าหมายให้กับขีปนาวุธที่ยิงจากใต้น้ำได้ในระยะไกล
- ระบบจัดการข้อมูลอัตโนมัติรุ่นใหม่ รวมทั้งระบบควบคุมขีปนาวุธที่ช่วยให้ข้อมูลประกอบการสั่งการปล่อยขีปนาวุธและตอร์ปิโดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การนำระบบขีปนาวุธรุ่นใหม่มาใช้ในเรือดำน้ำรุ่นนี้ทำให้การทำลายเป้าหมายแม่นยำ ในระยะไกลและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งมีผลโดยตรงต่อความปลอดภัยของเรือในกรณีที่ถูกตอบโต้โดยฝ่ายตรงกันข้าม อีกทั้งช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการปฏิบัติการใกล้ฝั่งอีกด้วย คุณสมบัติข้อนี้ของ 877E ได้ถูกกล่าวถึงโดยเสนาธิการทหารเรือไทยท่านหนึ่งว่า “รัสเซียมี เรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า ชั้นกิโล (Kilo class) ซึ่งเป็นเรือดำน้ำ ที่มีเสียงเงียบมากซึ่งยากแก่การตรวจจับ จนชาติตะวันตกให้สมญานามว่า หลุมดำแห่งมหาสมุทร “A Black Hole in the Ocean”. และมีระบบโซน่าตรวจการณ์ (Highly-sensitive passive sonar)ได้ไกลกว่า เรือดำน้ำของชาติตะวันตก ประกอบในการต่อสู้ประลองยุทธทางทะเล ของ ทร.อินเดีย เรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า ชั้นกิโล ที่มีระบบตรวจจับที่ไกลกว่า ของอินเดีย สามารถใช้โซน่าประจำเรือตรวจจับ เรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า แบบ 209 (TYPE 209) ของอินเดีย ที่ผลิตจากเยอรมัน แล้วยิงตอร์ปิโดทำลายเรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า แบบ 209 (TYPE 209) ได้เสียก่อนที่ เรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า แบบ 209 (TYPE 209) จะตรวจพบ เรือดำน้ำ ดีเซล-ไฟฟ้า ชั้นกิโล เสียอีก”
ปี ค.ศ. 2000 ที่อู่ต่อเรือ "Admiralteiskiy verfi "(เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก), เรือดำน้ำรุ่น 877EKM ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับขีปนาวุธ "Club-S" โดยติดตั้งฐานยิงไว้ที่ส่วนหัวของลำเรือ หลังจากได้ทดสอบประสิทธิภาพจนเป็นที่มั่นใจแล้วว่าเป็นเรือดำน้ำที่มีอานุภาพเหนือกว่ารุ่นเดียวกันที่ผลิตในต่างประเทศ (ในขณะที่ราคาอาจจะถูกกว่าหลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)จึงได้ผลิตและส่งมอบให้กองทัพเรือของประเทศจีนและอินเดียที่สั่งจองไว้
คุณสมบัติเฉพาะตัวของขีปนาวุธรุ่น "Club-S" ของรัสเซียคือสามารถยิงจากใต้น้ำไปทำลายเป้าหมายทั้งที่เป็นเรืออยู่บนผิวน้ำและเป้าหมายบนบกได้อย่างแม่นยำ ซึ่งถือว่าเป็นเขี้ยวเล็บที่สำคัญของเรือดำน้ำรุ่นใหม่ของรัสเซีย
|
|
ข้อมูลเฉพาะ เรือดำน้ำชั้นกิโล 877EKM
ท่อยิงตอร์ปิโด
|
6
|
|
อาวุธ: ขีปนาวุธ 4, ตอร์ปิโด18, ทุ่นระเบิด 24
ขนาดท่อตอร์ปิโด 533 (ม.ม.)
|
|
ระวางขับน้ำ(ตัน)
|
2300
|
ขนาดของเรือ:
|
ยาว(เมตร)
|
72,6
|
กว้าง(เมตร)
|
9,9
|
ความเร็วเมื่อดำน้ำ(น๊อต)
|
17
|
พิสัยปฏิบัติการ(ไมล์) ในความเร็ว 7ไมล์ต่อชั่วโมงมีเชื้อเพลิงสำรองเต็มอัตรา
|
6000
|
พิสัยปฏิบัติการปกติ(ไมล์)
|
400
|
ระดับความลึก(เมตร)
|
300
|
จำนวนวันปฏิบัติการ(วัน)
|
45
|
ลูกเรือประจำการ (นาย)
|
52
|
เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า รหัสโครงการ 636 (Project 636)
เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้ารุ่น 636 เป็นเรือดำน้ำที่พัฒนามาจากรุ่น 877EKM.
ในการออกแบบเรือดำน้ำรุ่น 636 ได้มีการรวบรวมข้อมูลการใช้งานของเรือรุ่นก่อนๆ ทั้งรุ่น 641, 641Kและรุ่น 877EMKที่ยังปฏิบัติการอยู่ในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก มาศึกษาโดยละเอียดเพื่อพัฒนาให้มีสมรรถนะสูงยิ่งขึ้น สำนักงานออกแบบกลาง “รูบิน”(“Rubin”)ได้ทำหน้าที่ออกแบบและพัฒนาเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้ารุ่น 636 ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเรือดำน้ำรุ่น 877EMKในหลายด้าน เช่น
- เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเชื้อเพลิงดีเซลที่มีสมรรถนะเพิ่มขึ้น
- ความเร็วของเรือเพิ่มขึ้น
- พิสัยปฏิบัติการไกลยิ่งขึ้น
- การขับเคลื่อนใต้น้ำมีเสียงเบากว่าเดิม
นอกจากนั้นสมรรถนะทางการรบของเรือดำน้ำรุ่น 636 ยังสูงกว่ารุ่น 877EMK จากการพัฒนาระบบขีปนาวุธนำวิถี "Club-S" ที่ได้ติดตั้งอุปกรณ์เรดิโออิเล็คโทรนิค(radio-electronic equipment)รุ่นล่าสุดเข้าไปในขีปนาวุธทำให้ประสิทธิภาพที่สูงอยู่แล้วกลายเป็นยอดขีปนาวุธในหมู่ขีปนาวุธขนาดเดียวกัน
การลดเสียงในการขับเคลื่อนของเรือรุ่น 636 เมื่อเทียบกับรุ่น 877 EMK ที่จัดว่าเสียงเบาที่สุดในเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าของโลกแล้ว ยังสามารถลดเสียงลงได้อีกมาก ทำให้เรือของฝ่ายตรงกันข้ามไม่สามารถจับความเคลื่อนไหวได้ ในขณะที่เรือรุ่น 636 สามารถจับตำแหน่งเรือของฝ่ายตรงข้ามและโจมตีก่อนในระยะไกลด้วยจรวดนำวิถี อีกทั้งสามารถหลบเลี่ยงจากเรือของฝ่ายตรงข้ามก่อนที่จะถูกตรวจพบ
ในขณะเดียวกัน ระบบระบายอากาศและปรับอากาศของเรือรุ่น 636 นี้ยังได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้เรือสามารถปฏิบัติการได้ในทุกมหาสมุทรของโลก ให้ความสะดวกสบายแก่ลูกเรือตลอดระยะเวลาปฏิบัติการ
โครงสร้างภายในของเรือรุ่น 636
|
|
ข้อมูลเฉพาะ เรือดำน้ำรุ่น 636
ท่อยิงตอร์ปิโด
|
6
|
อาวุธ: ขีปนาวุธ 4, ตอร์ปิโด18, ทุ่นระเบิด 24
ขนาดท่อตอร์ปิโด 533 (ม.ม.)
|
|
ระวางขับน้ำ(ตัน)
|
2350
|
ขนาดของเรือ:
|
ยาว(เมตร)
|
73,8
|
กว้าง(เมตร)
|
9,9
|
ความเร็วเมื่อดำน้ำ(น๊อต)
|
20
|
พิสัยปฏิบัติการ(ไมล์) ในความเร็ว 7ไมล์ต่อชั่วโมงมีเชื้อเพลิงสำรองเต็มอัตรา
|
7500
|
พิสัยปฏิบัติการปกติ(ไมล์)
|
400
|
ระดับความลึก(เมตร)
|
300
|
จำนวนวันปฏิบัติการ(วัน)
|
45
|
ลูกเรือประจำการ (นาย)
|
52
|
* สามารถเพิ่มขีปนาวุธได้
|
เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า ชั้น “อามูร์ 1650” และ “อามูร์ 950” (“Amur 1650”, “Amur 950”)
จากรากฐานทางเทคโนโลยีขั้นสูงสุดและประสบการณ์การใช้งานที่ยาวนานของกองทัพเรือรัสเซียและกองทัพเรือประเทศต่างๆทั่วโลกที่ได้นำเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าของรัสเซียเข้าประจำการ ทั้งรุ่น 613 “วิสกี” รุ่น 611 “ซูลู” รุ่น 641 “ฟ็อกทรอท” รุ่น 641B “แทงโก” และเรือดำน้ำรุ่นที่สาม 877 “กิโล” สำนักงานออกแบบกลาง “รูบิน”ได้ใช้ประสบการณ์ดังกล่าวออกแบบและพัฒนาเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้ารุ่นที่สี่ เรียกว่าชั้น “อามูร์” ซึ่งประกอบด้วยเรือดำน้ำหลายรุ่น โดยมีเลขรหัสเป็นขนาดของระวางขับน้ำ ที่จะกล่าวถึงในที่นี้ได้แก่ “อามูร์ 950” ซึ่งมีระวางขับน้ำ 950ตัน และ “อามูร์ 1650” ที่มีระวางขับน้ำ 1650ตัน
นอกจากการได้รวบรวมเอาจุดเด่นและสุดยอดเทคโนโลยีของเรือดำน้ำรุ่นก่อนไว้ทั้งหมดแล้ว เรือดำนำชั้น “อามูร์” ยังได้นำเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดมาติดตั้งในเรือด้วย กล่าวคือ สามารถยิงขีปนาวุธจากใต้น้ำไปยังทุกเป้าหมายอย่างแม่นยำ เสียงของการเดินเรือเบากว่าเสียงของเรือชั้น “กิโล”ที่จัดว่าเป็นเรือดำน้ำที่เสียงเบาที่สุดในโลกมาก ส่วนอาวุธประจำเรือเป็นระบบเรดิโออิเลคโทรนิคซึ่งเทคโนโลยีที่ใหม่ล่าสุดของโลก เรือดำน้ำชั้นนี้สามารถติดตั้งชุดแรงขับด้วยพลังงานความร้อน(MESMA-Module d’Energie Sous-Marin Autonome) ซึ่งทำให้เรือสามารถดำน้ำได้นานขึ้นถึง 6 วันโดยไม่ต้องโผล่ขึ้นมารับอากาศและวันปฏิบัติการจะเพิ่มขึ้นประมาณ 10 วัน(น้ำหนักเรือจะเพิ่มขึ้น 305 ตัน เรือต้องยาวกว่าปกติ 8.3 เมตร ราคาเรือที่ติดตั้งระบบนี้จะเพิ่มขึ้นประมาณ 95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)การติดตั้งชุดแรงขับด้วยพลังงานความร้อน สามารถติดตั้งได้ทั้งในเรือที่ต่อใหม่ เรือที่เข้าซ่อมบำรุง
เรือดำนำชั้น “อามูร์”สามารถปฏิบัติการได้ในทุกน่านน้ำ ทุกมหาสมุทรของโลก ทุกสภาพอากาศทั้งเขตน้ำลึกและน้ำตื้น ยกเว้นเขตขั้วโลกที่ทะเลมีพื้นผิวเป็นน้ำแข็ง
ผู้สั่งจองเรือสามารถเลือกติดตั้งอาวุธและอุปกรณ์ประจำเรือได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็นอาวุธและอุปกรณ์ของรัสเซีย ของผู้สั่งจองหรือของประเทศอื่นก็ได้
|
โครงสร้างภายในของเรือชั้น “อามูร์ 1650”
ห้องบังคับการของเรือชั้น “อามูร์ 1650”
ลักษณะพิเศษของเรือดำน้ำชั้น“อามูร์ 950” คือการติดตั้งฐานยิงขีปนาวุธแนวตั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการยิงให้เร็วและถี่ยิ่งขึ้น อาวุธประจำเรือ“อามูร์ 950”ประกอบด้วย
- 10 ฐานยิงขีปนาวุธแนวตั้ง ที่ประกอบด้วยขีปนาวุธทำลายเป้าหมายที่เป็นเรือ 3М-54E1 และขีปนาวุธทำลายเป้าหมายที่อยู่บนบก 3М-14E; ฐานยิงขีปนาวุธใช้ได้กับขีปนาวุธหลายรุ่น
- 4 ท่อตอร์ปิโดและตอร์ปิโดสำหรับการปฏิบัติการที่หลากหลาย (รวมทั้งตอร์ปิโดสำรอง
สองลูก) ซึ่งสามารถใช้ทำลายเรือเป้าหมายใต้น้ำและโจมตีเรือเหนือน้ำระยะใกล้
เรือดำน้ำชั้น“อามูร์ 950” สามารถยิงขีปนาวุธไปทำลายเป้าหมายได้ถึง 10 ลูกในเวลาไม่ถึง 2 นาที ตัวเรือได้ติดตั้งระบบตรวจจับเป้าหมายเชื่อมโยงกับระบบยิงขีปนาวุธ ทำให้การโจมตีเป้าหมายระหว่างการลาดตระเวนปฏิบัติได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
เรือดำน้ำชั้น “อามูร์”ได้ติดตั้งระบบอาวุธที่ทันสมัยและออกแบบโครงสร้างภายในที่ทำให้ลูกเรือมีความสะดวกสบาย ทั้งลำเรือได้นำเอาเทคโนโลยีที่ดีที่สุดของเรือดำน้ำในยุคนี้มารวมเข้าด้วยกัน ดังนั้นเรือดำน้ำชั้น“อามูร์” จึงเป็นเรือดำน้ำพลังดีเซล-ไฟฟ้าที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
|
|
โครงสร้างภายในของเรือชั้น “อามูร์ 950”
ห้องบังคับการของเรือชั้น “อามูร์ 950”
ข้อมูลเฉพาะ ของเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้ารุ่น
|
อามูร์ 1650
|
อามูร์ 950
|
ท่อยิงตอร์ปิโด
|
6
|
4
|
ฐานยิงขีปนาวุธ
|
-
|
10
|
ขีปนาวุธ , ตอร์ปิโด
ขนาดท่อตอร์ปิโด 533 (ม.ม.)
|
18 (533)
|
16 (533)
|
ระวางขับน้ำ(ตัน)
|
1765
|
1150
|
ขนาดของเรือ
|
ยาว(เมตร)
|
66,8
|
58.8
|
ยาว(เมตร)
|
7,1
|
5,65
|
ความเร็วเมื่อดำน้ำ(น๊อต)
|
21
|
20
|
พิสัยปฏิบัติการ(ไมล์)
|
650
|
350
|
พิสัยปฏิบัติการ(ไมล์) ในความเร็ว 7ไมล์ต่อชั่วโมงมีเชื้อเพลิงสำรองเต็มอัตรา
|
6000
|
3000
|
ระดับความลึก(เมตร)
|
300
|
300
|
จำนวนวันปฏิบัติการ(วัน)
|
45
|
30
|
ลูกเรือประจำการ (นาย)
|
35
|
18
|
แปลและเรียบเรียงโดย : “พลเรือน”
ไม่ว่าชาติไหนบริษัทอะไรที่ผลิตหรือสร้างสิ่งไดสิ่งหนึ่งขึ้นมา ย่อมต้องโฆษณาว่าของตัวเองดีหรือข้อเสียน้อยที่สุด
เพื่อจูงใจลูกค้าให้สนใจในสินค้าของตนเอง แต่ถ้าพูดถึงเรื่อชั้น KILO (อ่านว่า คี่โล่ จะผิดไหมนิ 555) ถ้าเปรีบยเทียบ
ทางด้านเทคโนโลยีการต่อเรือของรัสเซียก็อยู่ในระดับแนวหน้าของโลกเหมือนกัน แต่สิ่งที่กังวลเกียวกับระบบยุธภัณฑ์
ของรัสเซียคือการส่งกำลังบำรุงและระบบปฏิบัติการที่มันอาจคุยกันไม่รู้เรื่องกับที่เรามีอยู่ เมื่อถามว่ามันดีไหม มันก็ดีในเรื่อง
ประสิทธิภาพทางข้อมูลและการทดสอบหรือการฝึก แต่การปฏิบัติการจริงก็ไม่ใช่อยู่ในสภาวะสงคราม
ในส่วนของเรือดำน้ำแบบ 206A ชื่อเสียงและประสพการณ์ของทางเยอรมันมีมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกคัร้งที่ 2 ถึงแม้
ว่าเรือดำน้ำแบบ 206A อาจไม่เคยรบแต่มันประจำการมาตั้งแต่สมัยสงครามเย็น เคยออกปฏิบัติการจริงในสภาวะสงคราม
เมื่อถามว่าของเก่ากับของใหม่อันไหนดีกว่ากัน ของใหม่ย่อมดีกว่า แต่อย่าลืมว่าของใหม่ถ้าเรายังไม่เคยใช้มันย่อมมีความเสี่ยง
กับความเสียหายความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นถึงขั้นปฏิบัติการไม่ได้ก็อาจเป็นได้ แล้วของเก่าล่ะมันก็เสี่ยงเหมือนกันมิใช่หรือ
เสี่ยงครับแต่ 4 ลำ+2 ฝึกได้ทุกย่างครับ เช่น ซ่อม การปฏิบัติการเกี่ยวกับระบบต่างๆของเรือ ที่สำคัญมันคุยกับระบบที่เรามีอยู่
รู้เรื่องและเราสามารถแกะดูได้ครับ
ความเห็นส่วนตัวบวกกับพอได้อ่านจากข่าวครับ