1. กลุ่มโครงการวิจัยออกแบบและจัดสร้างโครงสร้างอากาศยาน หัวหน้ากลุ่ม นาวาอากาศตรี ดร.ณัฐพล นิยมไทย อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมอากาศยาน โรงเรียนนายเรืออากาศ กองบัญชาการศึกษาทหารอากาศ
วัตถุประสงค์ ออกแบบและสร้างอากาศยานที่เหมาะสมสำหรับการใช้เป็น UAV เน้นด้านการตรวจการณ์และลาดตระเวณ ในชั้นต้นกำหนดให้มีสมรรถนะสอดคล้องกับความต้องการของกองพลทหารปืนใหญ่ เป้าหมาย ปริมาณงาน 70 % 1. ได้ต้นแบบ UAV ขนาด Half Scale 3 ลำ รัศมีทำการ 100 ก.ม. ความเร็ว เดินทาง 70 นอต เพดานบิน 6,000 ฟุต ระยะเวลาปฏิบัติการ 2 ช.ม. เพื่อทดสอบการออกแบบและสร้าง ทดสอบการบินไปแล้วลำละ 20 เที่ยวบิน 2. ต้นแบบ UAV ขนาด Full Scale 2 ลำ - ต้นแบบ UAV ลำที่ 1 สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว อยู่ระหว่างติดตั้งเครื่องยนต์ เดิน สายไฟ และ intergrate ระบบการควบคุมการบินอัตโนมัติและระบบการติดต่อสื่อสาร UHF ก่อนทำการ Ground Test และ Flight Test เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการบิน - ต้นแบบ UAV ลำที่ 2 สร้างชิ้นงานไปแล้วบางส่วน
2. กลุ่มโครงการวิจัยออกแบบและสร้างระบบควบคุมการบินอัตโนมัติ หัวหน้ากลุ่ม นาวาอากาศโท นวพันธ์ นุตคำแหง อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล โรงเรียนนายเรืออากาศ กองบัญชาการศึกษาทหารอากาศ วัตถุประสงค์ ออกแบบและสร้างระบบควบคุมการบินอัตโนมัติสำหรับอากาศยานไร้นักบิน ซึ่งประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ควบคุมการบิน (Flight Control Computer) และสถานีควบคุมภาคพื้น (Ground Control Station) รวมทั้ง Software ควบคุมการทำงานของระบบ เป้าหมาย ปริมาณงาน 90 % รอการ intergrate ระบบเข้ากับโครงสร้างอากาศยาน และทดสอบการบินภาพรวม 1. ระบบควบคุมการบินอัตโนมัติสำหรับ UAV Half Scale ปริมาณงาน 90 % 2. ระบบควบคุมการบินอัตโนมัติสำหรับ UAV Full Scale ปริมาณงาน 90 % 3. เครื่องช่วยฝึกการบินสำหรับนักบิน UAV (Flight Simulator) ปริมาณงาน 90 %
3. กลุ่มโครงการวิจัยออกแบบและสร้างระบบสื่อสารการบิน หัวหน้ากลุ่ม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทองทด วานิชศรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง วัตถุประสงค์ ออกแบบและสร้างระบบสื่อสารเพื่อการควบคุมและส่งสัญญาณภาพ 2 ระบบ คือ ระบบส่งสัญญาณภาพที่ได้จากกล้องถ่ายภาพกลับมายังสถานีควบคุมภาคพื้นดิน และระบบสื่อสารสัญญาณควบคุมจากสถานีควบคุมภาคพื้นส่งสัญญาณไปควบคุม UAV และจาก UAV กลับมายังสถานีภาคพื้นดินเพื่อแสดงสถานะต่าง ๆ ของ UAV เป้าหมาย ปริมาณงาน 80 % คงเหลือสถานีควบคุมภาคพื้น และ Tracking antenna system และการ Intergrate ระบบกับโครงสร้างอากาศยาน และการทดสอบการบินภาพรวม 1. เครื่องรับ – ส่ง วิทยุ ย่านความถี่ UHF ปริมาณงาน 90 % 2. เครื่องรับ – ส่ง วิทยุ ย่านความถี่ C – Band ปริมาณงาน 90 % 3. สายอากาศ UHF mobile antenna และ C – Band mobile antenna ปริมาณงาน 90 % 4. สถานีควบคุมภาคพื้น Tracking antenna system ปริมาณงาน 70 %
4. กลุ่มโครงการวิจัยออกแบบ และระบบประมวลผลการติดต่อสื่อสารและอุปกรณ์ภาพ หัวหน้ากลุ่ม รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย จิตะพันธ์กุล หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัตถุประสงค์ ผลิตองค์ความรู้สำหรับการออกแบบ วิเคราะห์ และสร้างอุปกรณ์ภาพ สำหรับภารกิจการถ่ายทอดสัญญาณวิดิทัศน์ พัฒนาส่วนเชื่อมต่อการควบคุมและข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติภารกิจ การถ่ายทอดสัญญาณและภาพถ่ายเข้ากับระบบภูมิสารสนเทศ พัฒนาส่วนประมวลผลสัญญาณวิดิทัศน์และภาพถ่ายเป้าหมาย เป้าหมาย ปริมาณงาน 60 % 1. ชุดอุปกรณ์ภาพ จำนวน 2 ชุด จัดซื้อมา 1 ชุด ออกแบบและสร้างเองจากการ reverse engineering จำนวน 1 ชุด การออกแบบและสร้าง Hardware เสร็จเรียบร้อย กำลังจัดทำโปรแกรมควบคุมตำแหน่งของกล้อง 2. โปรแกรมการปรับเสถียรอุปกรณ์ภาพ (Payload image Stabilization) เสร็จเรียบร้อย กำลังจัดทำโปรแกรมการประมวลผลล่วงหน้าสัญญาณวิดิโอและการเชื่อมลงขาลง communication controller และจัดซื้อ Downlink Transmission (OFDM) มาเรียบร้อยแล้ว 3. โปรแกรมการประมวลผลการสื่อสารปลอดภัย อยู่ระหว่างการพัฒนาโปรแกรม 4. ระบบการส่งและจัดเก็บสัญญาณวิดิโอ และระบบการประมวลผลตามหลังภาพและสัญญาณวิดิโอ ดำเนินการเชื่อมต่อและทดสอบการใช้งานแล้ว พบว่าการทำงานได้ผลดี มีภาพกระตุกเล็กน้อย กำลังแก้ไขให้ภาพมีความต่อเนื่องไม่กระตุก 5. โปรแกรมการควบคุมการค้นภาพเป้าหมาย หรือ Flight Plan เสร็จเรียบร้อย กำลังรอทดสอบระบบในภาพรวม
5. กลุ่มวิจัยระบบบริหารจัดการโครงการ หัวหน้ากลุ่ม พลตรีหญิง พงษ์รุจี ศิริวัฒนะ ผู้ทรงคุณวุฒิประจำสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม วัตถุประสงค์ บริหารจัดการโครงการวิจัยพัฒนาอากาศยานไร้นักบินให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ สร้างระบบการบริหารจัดการโครงการที่มีความซับซ้อน สร้างบุคลากรเพื่อให้มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการงานวิจัยขนาดใหญ่ เป็นตัวกลางถ่ายทอดองค์ความรู้งานวิจัยขั้นสูงสู่สาธารณชน สร้าง Thai UAV Roadmap เพื่อใช้อ้างอิงหรือเป็นบรรทัดฐานต่อไปในอนาคต เป้าหมาย ปริมาณงาน 80 % 1. ได้ระบบการบริหารจัดการโครงการวิจัยและพัฒนาขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อน 2. ได้คู่มือการบริหารจัดการโครงการวิจัยและพัฒนาขนาดใหญ่ที่มีเทคนิคซับซ้อนปริมาณงาน 90 % ต้นฉบับเสร็จเรียบร้อย รอการประเมินจาก สกว. 3. ได้ Thai UAV Road Map สำหรับการขยายผลการวิจัย สกว. ได้ให้ทุนพัฒนาข้อเสนอ โครงการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้นักบิน ขั้นที่ 2 ขั้นการพัฒนาต้นแบบสู่มาตรฐานการผลิตเพื่อการใช้งานทางทหารและพลเรือน กำหนดเสร็จใน ก.ค. 50 และจะจัดประชุมสัมมนาจัดทำ Road Map ประมาณ ต.ค. 50
|