หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ค่าบำรุงรักษาเครื่องบิน

โดยคุณ : boat เมื่อวันที่ : 29/06/2011 21:28:00

อยากทราบเกียวกับการบำรุงรักษาเครืองบินรบว่ามีอะไรบ้างแพงขนานไหน

เวลามีคนถามทำไมไทยไม่ซื้อเครื่องบินเช่นsu30 f15หรือเครื่งบินรบขนานใหญ่เห็นหลายคนบอกว่าค่าบำรุงสูง

อยากทราบว่านอกจากค่านำมันแล้วมีอะไรอีกแล้วเครื่องบินต้องเปลี่ยนอะไรบ่อยมั้ย





ความคิดเห็นที่ 1


คำถามน่าสนใจครับ  อยากรู้เหมือนกัน ถ้ารถยนต์ ก็พอรู้บ้าง

เช่นเปลี่ยน ยาง ลูกหมาก ลูปืน สายพาน แหวนลูก วาล์ว ผ้าเบรค ต่างๆ

 

โดยคุณ charchar เมื่อวันที่ 26/06/2011 03:18:17


ความคิดเห็นที่ 2


อยากทราบเช่นกันครับ ^^

โดยคุณ Arena เมื่อวันที่ 26/06/2011 03:28:43


ความคิดเห็นที่ 3


 

 เนื่องจากเคยมีแฟนเป็นลูกสาวนายทหารอากาศเลยพอรับทราบแต่ไม่ครบ  ก็มี

1. ค่าเชื้อเพลิง JP จะแพงกว่าเบนซินพอควรเอาเลย   เป็นค่าใช้จ่ายหลัก  ยิ่งเครื่องมีกำลังสูงยิ่งเปลืองมากขึ้น

2. ค่าแรงนักบิน   เงินเดือนก็พอควรทีเดียว  และยังมีค่าความเสี่ยงทุกครั้งที่ขึ้นบิน   ก็ 7-8 หมื่นขึ้นสำหรับนักบินขับไล่

3. ค่าซ่อมบำรุงเครื่องยนต์   เพราะเป็นส่วนรับภาระหนักที่สุด  ต้องทนทั้งแรงดันมหาศาลและความร้อนที่สูง  ดังนั้นชิ้นส่วนในห้องคอมเพรสเซอร์  ห้องเผาไหม้  ห้องเทอร์ไบท์ สันดาปท้าย  จะเสื่อมอย่างรวดเร็ว   ยิ่งเครื่องต้องมีรอบหมุนสูงๆ  โลหะและเซรามิคจะล้ามาจากการสั่นสะเทือนและแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง   ลองมีเศษอะไรเข้าไปในเครื่องยนต์ได้เป็นเรื่อง   ค่าซ่อมตามวงรอบก็แพงหูฉี่   

   ยิ่งจำนวนเครื่องยนต์มาก   ค่าซ่อมส่วนนี้ก็ยิ่งมาก   ซึ่งสวนทางกับความปลอดภัยที่ว่า  ยิ่งเครื่องเยอะความปลอดภัยจากการที่เครื่องดับกลางอากาศก็ยิ่งสูง   ดังนั้นเครื่อง 2 เครื่องยนต์แม้จะมีกำลังขับเท่ากับเครื่อง 1 เครื่องยนต์    แต่มันจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า   ยกตัวอย่างเช่น   เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนขนาด 40000 ปอนด์ 1 เครื่อง  กับเครื่องยนต์ 20000 ปอนด์ 2 เครื่อง   แม้จะมีค่าเชื้อเพลิงเท่าๆกัน  แต่ค่าซ่อมบำรุงของเครื่องขนาด 40000 ปอนด์เครื่องเดียวจะน้อยกว่ามาก   แต่ความปลอดภัยของ 2 เครื่องยนต์ก็จะสูงกว่าด้วยครับ

4. ซ่อมบำรุงชิ้นส่วนอื่นตามวงรอบ  เช่น โครงอากาศยานต้องรับภาระจากทั้งน้ำหนักบรรทุก  แรงเค้นจากการที่ต้องเปลี่ยนความเร็วแบบกระทันหัน   แรงเค้นที่ต้องเข้าสู่ความเร็วสูงเหนือเสียง  ความร้อนจากความต่างกันของด้านหน้ากำแพงเสียงและหลังกำแพงเสียง   โครงสร้างต้องทนสิ่งเหล่า  จึงมีอายุการใช้งานที่สั้นลง    นึกภาพรถสิครับ   ต้องเข้าศูนย์เช็คตลอด   แล้วเครื่องบินที่ต้องรับภาระแรงต่างๆมหาศาลกว่ารถอย่างเทียบกันไม่ได้นี่   รับรองว่าค่าซ่อมส่วนนี้ก็ไม่น้อยเลย

5. อุปกรณ์อิเลคทรอนิคการบิน  เช่น  ระบบแอคตูเอเตอร์   เรด้าร์  ยิ่งเรด้าร์กำลังแรงๆ  ยิ่งเสื่อมสภาพเร็ว

 

   แค่ 3 รายการแรกก็เท้าก่ายหน้าผากแล้วครับสำหรับฝ่ายการเงิน    เครื่องแรงๆ 2 เครื่องยนต์อย่าง SU-30  F-15sg   นี่ถ้าไม่มีเงินเผื่อค่าใช้จ่ายส่วนนี้  หรือรัฐบาลหาตังค์ไม่เก่ง   อย่าได้ไปลองใช้   อย่าง F-35 เองก็เถอะแม้จะ 1 เครื่องยนต์ แต่ 41000 กว่าปอนด์  ก็ร้องจ๊ากเอาเรื่องครับ

   ให้ผู้รู้แท้จริงเขามาตอบเสริมดีกว่า

 

โดยคุณ neosiamese เมื่อวันที่ 26/06/2011 07:06:52


ความคิดเห็นที่ 4


- Su-30 ที่ค่อนข้างมีปัญหาในเรื่องการส่งกำลังบำรุง และการซ่อมบำรุงต่าง ๆ ซึ่งเป็นข้อเสียของเครื่องรัสเซียมาโดยตลอด และถ้าเราไม่สามารถจัดการ logistic line ได้แล้วล่ะก็ ก็เสี่ยงกับความพร้อมรบที่ต่ำลงของเครื่องทันที

- อะไหล่แพง

- ค่าใช้จ่ายในการบินค่อนข้างสูง ประมาณชั่วโมงละ 400,000 บาทเทียบกับ F-16 ที่ 200,000 บาท ริเพจ่ายแค่ 100,000บาท 

- ไม่สามารถใช้อาวุธเดิมที่มีอยู่ได้ นอกจากอาวุธที่รัสเซียแถมให้แล้วจำเป็นต้องซื้ออาวุธมาตราฐานรัสเซียใหม่ แต่เราอาจจะมีทางออกได้โดยให้อิสราเอลหรืออินเดียปรับปรุงเครื่องให้สามารถใช้อาวุธมาตราฐานนาโต้ได้

- ต้องเสียเวลาสร้างความคุ้นเคยใหม่ เพราะเราเคยบินแต่เครื่องบินมาตราฐานนาโต้

- JAS-39 กริเพน ใช้ระบบเรดาร์ พีเอส-05 มีพิสัยในการตรวจจับใกล้กว่าระบบเรดาร์ของซู-30 แต่อายุการใช้งานยาวนานกว่าของซู-30 

- ฯลฯ

 

ข้อเสนอ

เปิดข้อเสนอของฝ่ายสหรัฐ
ข้อเสนอของฝ่ายสหรัฐนั้นเปิดแล้วก็ต้องปิด เพราะจากที่ได้ข่าวว่าพร้อมจะติดอาวุธให้ F-16 ฝูงใหม่ที่จะซื้อแล้ว upgrade ฝูงเก่าให้ฟรี กลายเป็นไม่มีอะไรเลย โดยฟังจากคำพูดของผบ.ทอ.ล่าสุดตามข่าวว่าทางฝ่ายสหรัฐมั่นใจในประสิทธิภาพของเครื่องบิน และคิดว่าไม่จำเป้นต้องแถมอะไร จึงทำให้ F-16 ไม่น่าซื้อที่สุดในบรรดาเครื่อง 3 ชนิด

เปิดข้อเสนอของรัสเซีย
-รัสเซียเสนอSU30 MKจำนวน12เครื่อง มูลค่าโครงการโดยประมาณ 34,528.88 ล้านบาท 
-รัสเซียเสนอเฮลิคอปเตอร์แบบ MI-17 รุ่นมาตรฐาน จำนวน 8 เครื่อง พร้อมอูปกรณค้นหา/ช่วยชีวิต การฝึกเจ้าหน้าที่ รวมมูลค่า 1,344ล้านบาท
-ข้อเสนอด้านยุทโธปกรณ์แบบไม่คิดมูลค่าเป็นเงินประมาณ 1,512 ล้านบาท
-ระบบ GROUND BASED STATION จำนวน1 สถานี มูลค่า168 ล้านบาท 
-ข้อเสนอการถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบให้เปล่า

เปิดข้อเสนอของรัสเซียสวีเดน

ก็ตามที่ได้เห็นกันละครับ

- 12 JAS-39C/D Gripen 
- 2 ERIEYE AEW&C System on Saab 340 
- 1 Saab 340 
- 3 Ground Base Station 
- RBS-15 Anti-ship missile 
- Technology Transfer

และอื่นๆอีก

โดยคุณ spooky เมื่อวันที่ 26/06/2011 07:12:35


ความคิดเห็นที่ 5


ขอถามต่อครับ แล้วคำว่า "ชั่งโมงบินละ" มันเท่ากับเวลาบินกี่ชั่วโมงหรอครับ

หรือว่า เช่น jas-39 ชั่วโมงบินละ 100000 บาท บิน1 ชม.แล้ว

คือต้องเสียค่าใช้จ่าย เท่ากับ 100000 บาทหรือป่าวครับ 

โดยคุณ flatron-ez เมื่อวันที่ 27/06/2011 05:39:49


ความคิดเห็นที่ 6


ประเทศไทยถูกโอบล้อมด้วยน่านน้ำสองฝั่ง จากอ่าวไทยและฝั่งอันดามันจะติดกับทะเลจีนใต้และฟิลิปปิน มหาสมุทรอินเดีย เป็นพื้นที่เขตสัมพันธมิตร ที่อินเดียมีsu30และรุ่นอื่นๆ เพราะประเทศมีแนวชายแดนประชิด จะเอาอะไหล่มาต้องส่งเครื่องบินมาลงอินเดีย มาต่อเรือ ฝั่งอันดามันยังไม่มีท่าเรือน้ำลึก ก็ต้องข้ามช่องแคบมะละกามาเลเซีย ก็ถึงจะเข้าอ่าวไทยมาท่าเรือคลองเตย ฝั่งตะวันออกของอินเดียก็ไม่มีท่าเรือน้ำลึกครับ ต้องเป็น บอมร์เบย์ ที่อยู่ฝั่งตะวันตก

โดยคุณ kunyekyek เมื่อวันที่ 29/06/2011 10:28:00