หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ด่วน!! สุวิทย์ ทวิต ไทยประกาศถอนตัวจากภาคีมรดกโลกแล้ว

โดยคุณ : boomloveweb2 เมื่อวันที่ : 30/06/2011 16:55:08

 

รายงานข่าวแจ้งว่า นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจามรดกโลกไทย ได้โพสข้อความผ่านทวิตเตอร์ หลังร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ว่า

ที่ประชุมบรรจุวาระ ผมไม่มีทางเลือกครับ คงต้องถอนตัว

ผม ได้เคยพูดกับสื่อไทยไปว่า หากสังคมใดดำเนินการตามใจตนเอง ไม่คิดถึงกฏระเบียบที่ลงมติโดยสมาชิกแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ใดๆที่เราจะอยู่ในสังคมแบบนี้

กำลังแถลงต่อที่ประชุมครับ คณะผู้แทนพยายามเข้าใจ อธิบาย และอดทนรออย่างเต็มที่แล้ว

ผมและคณะนำประเทศไทยถอนตัวจากการเป็นสมาชิกมรดกโลกแล้วครับ

คกก.มรดกโลกนำวาระเขาพระวิหารเข้าที่ประชุม จึงเป็นที่มาของการถอนตัวของไทยออกจากกรรมการและสมาชิกภาคีอนุสัญญา

…………………………………………………………

ทั้ง นี้ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ได้ให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องดังกล่าวนายอภิสิทธิ์ เวชชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ได้รับทราบแล้ว อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นยังไม่ได้พูดคุยกับนายกรัฐมนตรีว่าจะมีการแถลง ข่าวอย่างเป็นทางการหรือไม่

ส่วนผลกระทบบริเวณชายแดนนั้นก็ต้องดำเนิน การผ่านกรอบที่มีอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม ไทย-กัมพูชา (เจบีซี) หรือ การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา (จีบีซี ) ทั้งนี้ยืนยันว่าทางทหารไทยพร้อมที่จะปกป้องอธิปไตยของชาติอยู่แล้ว

ส่วนหลังไทยถอนตัวจากภาคี คกก.มรดกโลก ไทยคงไม่สามารถขึ้นทะเบียนมรดกโลกที่อื่นได้อีก ที่ขึ้นทะเบียนแล้วก็ยังคงอยู่ต่อไป

เครดิต:MTHAI

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ต่อไปนี้เราไม่จำเป็นต้องไปเเคร์ มรดกโลก อีกเเล้ว อยากทำอะไรก็ทำ พื้นที่รอบประสาท เป็นของเรา ปราสาทเป็นของเขาเหมือน เดิม จัดหนักเลยครับ ไล่พวกกัมพูชา ไปให้หมด เยี่ยม อย่าไปเเคร์มันพวกยุโรป พวกพยายามทำให้กัมพูชาได้ประโยชน์ โดยไม่สนคำพูดของเรา





ความคิดเห็นที่ 1


ฝรั่งเศษ ไม่ต้องเขียนว่า" ฝรั่งเศส " สำหรับคนไทยน่าโมโหจริงๆประเทศนี้ครับ

โดยคุณ Panya เมื่อวันที่ 25/06/2011 22:43:41


ความคิดเห็นที่ 2


ไปอ่านใน pantip ห้องหว้าก็แล้วระเหี่ยใจกับคนไทย ที่เกรียนๆ  เยอะจริงๆ ถ้ามันจะเกิดคราวนี้ก็จัดหนักๆ ไปเลยครับ 

โดยคุณ ppk8837 เมื่อวันที่ 25/06/2011 22:58:19


ความคิดเห็นที่ 3


สี่จุดมันกากฮะ

โดยคุณ tuntuntun เมื่อวันที่ 25/06/2011 23:11:05


ความคิดเห็นที่ 4


โดยคุณ Panya เมื่อวันที่ 25/06/2011 23:21:56


ความคิดเห็นที่ 5


ออก ก็ดีแล้วอยู่ไปเสียเปรียบ ยูเยสโก้ก็ฝรั่งเศษนั้นแหละ

โดยคุณ pantasai เมื่อวันที่ 25/06/2011 23:59:46


ความคิดเห็นที่ 6


ถ้ายกเลิก mou43 และเลิกเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า พื้นที่ทับซ้อนด้วยจะดีมาก

โดยคุณ min_linkin เมื่อวันที่ 26/06/2011 00:13:59


ความคิดเห็นที่ 7


อาจจะไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องนัก แต่ก้คงเป็นทางที่ดีที่สุดที่เราทำได้ในตอนนี้ เพื่อรักษาบูรณาภาพและอธิปไตยของไทยเรา

โดยคุณ ลมหมุนวน เมื่อวันที่ 26/06/2011 01:12:20


ความคิดเห็นที่ 8


ออกมา ผมว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้อง ผมเห็นด้วยกับเจ้าของกระทู้ครับ...

 

โดยคุณ monogram เมื่อวันที่ 26/06/2011 01:52:38


ความคิดเห็นที่ 9


ขอชื่นชม คุณสุวิทย์ และคณะทุกท่าน   ที่รักษาศักดฺิ์ศรีและอธิปไตยของไทยไว้จนถึงที่สุด    วันข้างหน้าสามารถมองหน้าลูกหลานไทยได้สมภาคภูมิ    หลังจากนี้ก็เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนแล้วครับที่จะต้องมาทำหน้าที่ของพลเมืองชาวไทย คือเลือกตั้งผมดีมีฝีมือเข้ามาบริหารประเทศ เพื่อประโยชน์สุขของชาวไทยทั้งชาติ

โดยคุณ RYThai เมื่อวันที่ 26/06/2011 03:03:51


ความคิดเห็นที่ 10


ดีแล้วครับ!!!  น่าจะบอกมันกลับด้วยว่า นี่ประเทศกรู และกรูก็ไม่เคยตกเป็นอนานิคมของใคร

โดยคุณ DeNapoli เมื่อวันที่ 26/06/2011 03:24:04


ความคิดเห็นที่ 11


ขอบคุณทั่นสุวิทย์และคณะที่ตัดสินลาออกจากภาคีมรดกโลก

ก้อขนาดมีการรบพุ่งกันจนมีเจ็บตายเพราะความขัดแย้งนี้กันไปทั้งสองฝ่าย

คณะกก.มรดกโลกยังทำเป็นไม่รู้ร้อนรู้หนาว ยังจะดึงดันทำเรื่องนี้ทำให้เขมรได้ประโบชน์

แต่จะเกิดผลเสียแก่ฝ่ายไทยในเรื่องบูรณภาพแห่งดินแดนเป็นอย่างมาก

ไหนๆก็ลาออกแล้ว ต่อไปก็อย่าลืมผลักดันกพช.ออกจากพื้นที่รอบๆปราสาทด้วยนะคร๊าบ ทหารที่รักทั้งหลาย

 

โดยคุณ chaisoi3 เมื่อวันที่ 26/06/2011 03:36:09


ความคิดเห็นที่ 12


ในมุมมองของผมนะครับ

1.การทหาร เราอาจจะชนะเขมร แต่การเมืองระหว่างประเทศ เราแพ้เขมร

การจะเอาดินแดน ที่ยังมีปัญหาเรื่องเขตแดนและยังตกลงกันไม่ได้ว่า ที่ตรงนั้นเป็นของใคร จะต้องมีองค์ประกอบใหญ่ๆ 2 อย่างคือ

1.กำลังทางทหารที่เข้มแข็ง 2.การเมืองระหว่างประเทศ นักกฏหมาย และ หลักฐานที่ดี "มันถึงจะเอาดินแดนได้" (เมื่อคุณสู้ด้วยกำลังทางทหารไม่ได้ คุณก็ต้องไปสู้ที่เวทีระหว่างประเทศ-สู้ด้วยกำลังไม่ได้ ก็ต้องสู้ด้วยสมองอะนะ)

อยากให้ศึกษาดูศึกการแย่งชิงหมู่เกาะพาราเซล และหมู่เกาะสแปรตลีย์ / "จีน" มีข้อมูลแน่นปึ๊ก แถมยังไปสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ มากมายไว้บนเกาะ เพื่อเป็นหลักฐานไว้ต่อสู้ในอนาคต ประเทศที่โกรธสุดๆ คือ ฟิลิปินส์

"มาเลเซีย" เป็นอีกประเทศหนึ่ง ที่มีการเตรียมตัวในเรื่องนี้ดีมาก เห็นเงียบๆอย่างนั้น อย่าดูถูกเด็ดขาด ปัญหาเขตแดนไทยกะมาเลเซียก็มี มาเลเซีย มีนักกฏหมายที่จบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกมากมาย เช่น อังกฤษ และ อเมริกา เป็นต้น

วกมาที่เขมร เขมรเอาคนของตัวเองไปสร้างกระต๊อบอยู่ และไปสร้างสิ่งปลูกสร้างไว้ ในพื้นที่เขตแดนพิพาทเขาพระวิหาร เพื่ออะไร คิดง่ายๆ เลย เพื่อสร้างหลักฐานไว้ต่อสู้ในเวทีระหว่างประเทศ แถมเขมร ก็มีแบ็คอัพใหญ่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แถมฝรั่งเศส ก็อยากผงาดมาเป็นมหาอำนาจอีกครั้ง ดูได้จากสงครามลิเบีย, เรื่องพิพาทระหว่างไทยกะเขมร จึงอยู่ในความสนใจฝรั่งเศสด้วยอยู่แล้ว

และการจะทำสงครามด้วยกำลังทหาร ในยุคนี้ ก็ไม่ใช่ว่า จะทำกันได้ง่ายๆ เลย....

ในขณะที่เพื่อนบ้าน ก็เร่งสะสมอาวุธกันทั้งนั้น เพราะเมื่อเวลารบจริง...น้ำลาย-มันสู้กระสุนปืนไม่ได้หรอก, เรื่องพิพาทไทยกะเขมร เป็นตัวกระตุ้นให้เพื่อนบ้านที่มีเขตแดนติดกับไทย เร่งสะสมอาวุธกันทั้งนั้น เพราะอนาคตไม่แน่ ประเทศเขา อาจต้องมีการสู้ด้วยกำลังทางทหาร เหมือนไทยกะเขมรตอนนี้...

โดยคุณ seetha456 เมื่อวันที่ 26/06/2011 04:51:02


ความคิดเห็นที่ 13


หลังจากนี้ไปจะเกิดอะไรขึ้นบ้างครับ ใครพอที่ทราบรายละเอียดช่วย พูดให้เห็นภาพหน่อยครับ

โดยคุณ funmode77 เมื่อวันที่ 26/06/2011 08:44:10


ความคิดเห็นที่ 14


ตามความคิดของผม จะมีการปะทะกันตามแนวชายแดนอีกครั้งแน่นอนครับเพราะ ท่านอภิสิทธิ์ ออกมายอมรับว่ามีความเคลื่อนไหวกองกำลัง
ฝ่ายตรงข้ามแล้ว หลังจากไทยได้ลาออก (ดูข่าวทางช่องเจ็ดวันนี้ครับ)

ที่นี้ก็อยู่ที่กองทัพภาคที่2 ละครับถ้าปะทะกันอีกจะจัดหนักไหม แต่ที่ผมเป็นห่วงที่สุดถ้ามีการปะทะกันอีกรอบคือเรื่องที่เราจับสายลับ ชาวไทย เวียดนาม และกัมพูชาได้ที่

ได้ที่จังหวัดศรีสะเกษ เพราะมีการตรวจสอบหา พิกัดตามสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นที่ตั้งทางการทหารและบังเกอร์หลุมหลบภัยของชาวบ้านภูมิซรอลและทุก หมู่บ้านตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาด้าน จ.ศรีสะเกษ โดยแต่ละแห่งจะใช้เวลาในการลงไปหาพิกัดทางทหารแห่งละ 5-10 นาที จากนั้น จะเคลื่อนย้ายไปเรื่อยๆ ทุกพื้นที่มีฐานที่ตั้งทางทหารและแหล่งชุมชน

เพราะข้อมูลพิกัดตอนนี้เรายึดคืนมาไม่ได้เพราะหนึ่งในสี่สายลับสามารถหลบหนีกลับไปฝั่งกัมพูชาได้นี่ไม่นับชายแดนด้านจังหวัดอื่นๆกัมพูชาก็คงส่งคนเข้ามาหาพิกัดเหมือนกับที่จังหวัดศรีสะเกษเช่นกัน

และอีกอย่างเราก็ได้รู้ว่าเวียดนามส่งกำลังเข้ามาช่วยเหลือกัมพูชาแล้วถ้ามีการปะทะกันอีกรอบเกรงว่ามันจะไม่เป็นเหมือนที่ผ่านมา


โดยคุณ pop04 เมื่อวันที่ 26/06/2011 09:33:56


ความคิดเห็นที่ 15


เขาเอาเวียดนามมาเเจมได้ เราก็เอามาเลเซีย สิงคโปร์ มาเเจมได้เหมือนกันให้มันรู้ไปถ้าไ่มาจะขุดคลองมันซ่ะเดี๋ยวนี้เลย 5555+

โดยคุณ boomloveweb2 เมื่อวันที่ 26/06/2011 10:33:55


ความคิดเห็นที่ 16


จัดหนักไปเลยครับ  เขาจะได้รู้ว่าที่ผ่านมามันแค่น้ำจิ้ม  เวียดนานก็เวียดนามเถอะครับ

โดยคุณ Thanwa098 เมื่อวันที่ 26/06/2011 10:43:08


ความคิดเห็นที่ 17


แล้วอาวุธลับของเราจากแดนมังกรมาถึงหรือยังครับท่าน จริงๆแล้วเรื่องนี้ผมก็ได้ลองไปอ่านในหลายๆเวป พบว่ามีการแสดงความเห็นไปในทางที่ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ มีการขัดแย้งกันพอสมควร ผมเริ่มรู้สึกเหมือนว่าเรากำลังจะกลับไปเป็นเหมือนเมื่อคราวที่เราเสียกรุงครั้งที่สองอีกครั้ง

โดยคุณ funmode77 เมื่อวันที่ 26/06/2011 10:58:06


ความคิดเห็นที่ 18


หากมีการปะทะกันเกิดขึ้น ถ้ากองทัพไทยมีพลแม่นปืนสัก2-3หมู่ก็คงจะดี ไว้เก็บทหารของกัมพูชาเป็นหลัก เพราะถ้าเปิดฉากด้วยอาวุธหนักเลย โล่ห์มนุษย์ทั้งหลายที่ฝ่ายกัมพูชาเอามาใช้ คงไม่รอดแน่ แล้วมีความเป็นไปได้ที่กัมพูชาจะใช้เหตุนี้เป็นข้ออ้างในการดึงฝรั่งเศสหรือประเทศอื่นๆเข้ามาร่วมแจม ก็ได้แต่หวังว่าท่านแม่ทัพภาคที่2จะมีแผนการยุทธดีๆ หรือไม่ก็มีอาวุธลับสำหรับกรณีพิพาทนี้

โดยคุณ Doraemon เมื่อวันที่ 26/06/2011 11:50:52


ความคิดเห็นที่ 19


รู้สึกไม่ค่อยดีเลยครับ เวทีโลกเราแพ้เต็มๆไปแล้วครับ แต่หลังจากเลือกตั้งแล้วอะไๆมันอาจจะดีขึ้นก็ได้ครับ "พวกเดิยวกัน"  น่าจะคุยกันรู้เรื่อง เพราะปัญหามันเกิดจากการเมือง

โดยคุณ YUKIKAZE เมื่อวันที่ 26/06/2011 12:03:29


ความคิดเห็นที่ 20


ยังไม่แพ้ และเป็นการป้องกันไม่ให้มันเอาเรื่องมรดกโลกมาอ้างตอนไปศาลโลกฮะ

โดยคุณ tuntuntun เมื่อวันที่ 26/06/2011 12:12:41


ความคิดเห็นที่ 21


เลือกตั้งเสด ได้รัฐบาลใหม่อาจเปลี่ยนแนว

อาจได้เห็น การฑูต+พาวเวอร์นิดหน่อย โน้มน้าวให้เขมร กลับด้านลำกล้องของปืนใหญ่

ส่วนทหารไทย อาจได้ไปยืนอยู่ตะเข็บชายแดนเวียดนาม

โดยคุณ kantonick07 เมื่อวันที่ 26/06/2011 12:14:09


ความคิดเห็นที่ 22


ก็ดีครับยังไงตั้งแต่แรกเราก็โดนฝรั่งเศษมันโกงแผ่นดินเราไป แล้ถ้าถอนตัวออกจากมรดกโลกแล้วก็ให้มันปีนหน้าผาขึ้นเอา อย่าให้มันได้ขึ้นทางฝั่งแผ่นดินเราครับ

โดยคุณ oleomano เมื่อวันที่ 26/06/2011 15:40:02


ความคิดเห็นที่ 23


ท่านkantonick07  เครียส์ด้วยครับ ทำไมเราถึงต้องไปยืนอยู่ตะเข็บชายเเดนเวียดนาม ขอเหตุผลหน่อยครับท่าน

โดยคุณ boomloveweb2 เมื่อวันที่ 26/06/2011 19:22:37


ความคิดเห็นที่ 24


คงต้องยอมรับแล้วละครับว่า รัฐบาลชุดนี้ได้ล้มเหลวทางการทูตอย่างสิ้นเชิงไปแล้ว ล้มเหล่วที่เกิดสงคราม ล้มเหลวทางการทูตระหว่างประเทศ

 

ถึง จะมีหลายคนบอกว่ารัฐบาลชุดก่อนเป็นพวกเดียวกัน แต่ส่วนผมกลับชื่นชมรัฐบาลชุดก่อนมากกว่านะครับ ซึ่งพิสูจน์ตัวเองเรื่องการเมืองระหว่างประเทศยามเกิดปัญหาแล้วว่าสามารถรับ มือได้ดีกว่า

 

เช่นกรณีเผาสถานทูต ไม่ทราบว่าพอมีใครนึกถึงบ้างมั้ย เบื้องลึกช่วงนั้นมันมีข่าวนี้เพราะอะไรผมว่าทุกคนก็คงทราบกันแล้ว ตอนนั้นรัฐบาลได้ตัดสินใจส่งหน่วยพิเศษไปรับชาวไทยติดค้างทันทีโดยการประสาน งานของทั้ง 3 เหล่า ซึ่งก็เล่นเอาทางกัมพูชาหงอไปเลย นายกกัมพูชาหายไปไหนก็ไม่รู้ตอนนั้น ต้องให้ผู้บัญชาการทหารมาทำหน้าที่แทน

 

หลาย ท่านอาจจะมองว่าเป็นพวกเดียวกัน แต่ผมกลับมองว่าตอนนั้นการต่างประเทศเราเข้มแข็งมากกว่านะครับ เข้มแข็งจนกระทั่งฝั่งกัมพูชายอมเป็นพวกเดียวกัน

แต่กลับกันที่ตอนนี้

เรา ทะเลาะกับทุกประเทศที่อยู่รอบๆ ตัวเราด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศที่หลายๆ ท่านภูมิใจและช่วยกันดันขึ้นมา แม้ตอนนี้ก็เนียนๆว่าไม่ดันไม่ได้ร่วมก็ตาม ท่านกล้าทะเลาะแม้กระทั่งกับ "จีน" O_o

ผมก็ไม่ทราบว่าท่านคิดอย่างไร และเหล่าผู้สนับสนุนที่ช่วยกันดันขึ้นมาคิดอย่างไรมีข้อมูลลึกแค่ไหน หรือว่ามีแผนอะไรถึงกล้าได้ถึงเพียงนั้น แต่มุมองส่วนตัวนั้นผมอึ้งมากครับ สมาชิกหลายๆท่านในบอร์ดนี้ซึ่งเป็นบอร์ดทางทหารอาจไม่ได้สนใจเรื่องเศรษฐกิจ ประกอบด้วย อาจสนใจแต่เทคโนโลยีทางทหาร จริงครับที่เค้าประเมินกันว่าจีนยังตามหลับอเมริกาด้านเทคโนโลยีอยู่เกือบ 20 ปี แต่ด้านเศรษฐกิจจีนสามารถทำให้อเมริกาเจ้งได้ใจเวลาไม่ถึง 1 เดือนครับทำให้ดอลล่าหมดคุณค่าไปในทันทีโดยการเทขายดอลล่าซึ่งจีนถืออยู่ มหาศาล และตอนนี้จากมาตรการพิมพ์เงินอย่างบ้างคลั่งที่ผ่านมาของอเมริกา ก็ยิงทำให้ดอลล่าเริ่มเสื่อมค่าลงอยู่แล้ว ซึ่งเป็น 1 ในหลายๆ เหตุผลว่าทำไมผมถึงได้อึ้งมากเมื่อท่านตัดสินใจทำ

 

ผมมองว่าตอนนี้การต่างประเทศเราอ่อนแอมากครับ ดูได้จาก เขมร Indicator(ตัววัดค่า) ยามใดเราเข้มแข็งเค้าจะอ่อนน้อม ยามใดเราอ่อนแอเค้าจะแยกตัวครับ เป็นแบบนี้มาตั้งแต่สมัยก่อตั้งประเทศแล้วครับ

 

จากการเคลื่อนไหวตามแนวชายแดนดูแล้วมีท่่าทีสุ่มเสี่ยงจริงๆ ครับ

เป็นกำลังใจให้ทหารที่แนวหน้า สนับสนุนทุกการตัดสินใจของทหารที่แนวหน้าครับ

โดยคุณ leo_attack เมื่อวันที่ 26/06/2011 22:32:52


ความคิดเห็นที่ 25


ไทยถอนตัวจากภาคีมรดกโลกแล้วจริงหรือ? : วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ อดีตนักกม.ในคดีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ


ไทย จะ “ถอนตัว” (withdraw) จาก “ภาคีมรดกโลก” ได้หรือไม่นั้น ไม่ใช่เรื่องการตัดสินใจตามอำเภอใจ แต่เป็นเรื่องการใช้สิทธิตามขั้นตอนกฎหมายระหว่างประเทศ โดยหลักก็คือ อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ. 1972 (“อนุสัญญามรดกโลกฯ”) ซึ่งไทยอาจ “ยังคง” เป็น หรือ “เคย” เป็น “ภาคีอนุสัญญา” (“ภาคี” ในที่นี้ก็หมายถึง “คู่สัญญา” ที่ยอมผูกพันตามกฎหมายนั่นเอง)

กฎหมายระหว่างประเทศรับรองว่าไทยมี สิทธิถอนตัวจากการเป็น "ภาคีอนุสัญญามรดกโลกฯ" โดยการ “ประกาศไม่ยอมรับ” (denounce) ทั้งนี้ตามที่อนุสัญญามรดกโลกฯ ข้อ 35 กำหนดสิทธิไว้ ดังนี้:

Article 35

1. Each State Party to this Convention may denounce the Convention

2. The denunciation shall be notified by an instrument in writing, deposited with the Director-General of the United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization

3. The denunciation shall take effect twelve months after the receipt of the instrument of denunciation. It shall not affect the financial obligations of the denouncing State until the date on which the withdrawal takes effect

(เน้นคำโดยผู้เขียน ตัวบทอนุสัญญามรดกโลกฯ อ่านได้ที่
ttp://whc.unesco.org/en/conventiontext)

หากการ “ถอนตัว” ที่คุณสุวิทย์ได้กระทำไปในนามรัฐบาลไทยคือการใช้สิทธิ “ประกาศไม่ยอมรับ” หรือ denounce ตามความในข้อ 35 ข้างต้น ผล ทางกฎหมายที่ตามมาก็คือ “การประกาศไม่ยอมรับ” (denounce) นั้น มิได้ส่งผลเป็นการ “ถอนตัว” (withdrawal) โดยทันที แต่การถอนตัวจะเริ่มมีผลต่อเมื่อครบกำหนด 12 เดือน จากวันที่คุณสุวิทย์ได้ยื่นหนังสือไปยังยูเนสโก ซึ่งอาจหมาย ความว่า (ผู้เขียนย้ำว่า “อาจ”) ณ วันนี้ ไทยเองยังคงมีทั้งสิทธิและหน้าที่ในฐานะภาคีอนุสัญญามรดกโลกฯ ไปจนถึงเดือนมิถุนายน ปี 2555 (นอกจากไทยจะได้ตั้งข้อสงวนเรื่องนี้ไว้ แต่ผู้เขียนไม่พบข้อสงวนของไทยในบันทึกการเข้าเป็นภาคี UNTS Vol 1484 No 15511 เมื่อ ค.ศ. 1987 แต่อย่างใด)

หลักกฎหมายและเงื่อนไขระยะเวลา ที่ปรากฏอยู่ในอนุสัญญามรดกโลกฯ ข้อ 35 ที่ผูกพันไทยนี้ สอดคล้องรองรับกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่สำคัญ คือ ข้อ 56 และ ข้อ 70 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969 (แม้ไทยจะมิได้เข้าผูกพันตามอนุสัญญากรุงเวียนนาโดยตรง แต่อาจมองในทางกฎหมายได้ว่าหลักดังกล่าวเป็นหลักทั่วไปที่ยอมรับนับถือโดย สากลกว่า 100 ประเทศทั่วโลก)

ถามต่อว่า ในช่วงระยะเวลา 12 เดือนนี้ ไทยจะเสียเปรียบกัมพูชา หรือไทยจะตกอยู่ใต้อำนาจของคณะกรรมการมรดกโลก หรือ ไทยจะต้องยอมรับผูกพันตามมติ หรือ แผนบริหารจัดการบริเวณปราสาทพระวิหารอันจะกระทบต่ออธิปไตย หรือความได้เปรียบเสียเปรียบในศาลโลกหรือไม่ อย่างไร?

ผู้เขียนตอบเบื้องต้นเป็นขั้นๆ ดังนี้

1.อนุสัญญามรดกโลกฯ เป็นกฎหมายที่มีความยืดหยุ่น

การ เป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกฯ มิได้หมายความว่าคณะกรรมการมรดกโลก หรือ ใครจะมีมติสั่งไทยซ้ายหัน ขวาหันได้ เพราะสังคมระหว่างประเทศได้ออกแบบให้อนุสัญญามรดกโลกฯ เป็นกฎหมายที่มีความยืดหยุ่นบนพื้นฐานของความร่วมมือช่วยเหลือ (co-operation and assistance) และมิใช่พันธกรณีที่บังคับควบคุมโดยเด็ดขาด เห็นได้จากการที่อนุสัญญามรดกโลกฯ ใช้ถ้อยคำทางกฎหมายที่ผูกพันไทยอย่างยืดหยุ่น เช่น

- อนุสัญญามรดกโลกฯ ข้อ 4 ใช้ถ้อยคำว่า “[ไทย]จะทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้” (It will do all it can to this end...)

- อนุสัญญามรดกโลกฯ ข้อ 5 ใช้ถ้อยคำว่า “[ไทย]จะพยายามอย่างดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้และเหมาะสมสำหรับ[ประเทศไทย ]” (...shall endeavor, in so far as possible, and as appropriate for each country...)

- อนุสัญญามรดกโลกฯ ข้อ 7 ใช้ถ้อยคำว่า “เพื่อจัดตั้งระบบความร่วมมือระหว่างและช่วยเหลือประเทศอันที่จะสนับสนุน ภาคีอนุสัญญาฯ” (...the establishment of a system of international co-operation and assistance designed to support State Parties to the Convention…)

- อนุสัญญามรดกโลกฯ ข้อ 11 (3) ใช้ถ้อยคำสงวนสิทธิว่าการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจะไม่กระทบต่อสิทธิของไทย (...shall in no way prejudice the rights...) ที่ยังมีข้อพิพาทเรื่องเขตแดนหรืออธิปไตยกับกัมพูชา เป็นต้น

ดัง นั้น แม้หากวันนี้ไทยยังคงเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกฯอยู่ ไทยย่อมสามารถตีความอนุสัญญาโดยสุจริตว่าไทยจะร่วมมือและช่วยเหลือเท่าที่จะ เป็นไปได้และเหมาะสมสำหรับประเทศไทย โดยไม่กระทบต่อสิทธิของไทยที่มีข้อพิพาทเรื่องเขตแดนกับกัมพูชา. ผู้เขียนย้ำว่ากฎหมายระหว่างประเทศไม่ใช่เรื่องน่ากลัวสำหรับประเทศที่ชาญ ฉลาดและแยบยล

2.กฎหมายระหว่างประเทศให้สิทธิไทยไม่ต้องปฏิบัติตามอนุสัญญามรดกโลกฯ หากมีกรณีจำเป็น

แม้สุดท้ายจะมีผู้ใดตีความว่าคณะกรรมการมรดกโลก หรือ ใครจะมีมติสั่งไทยซ้ายหัน ขวาหันได้ หรือไม่อย่างไร กฎหมาย ระหว่างประเทศก็ยังคงเปิดช่องให้ไทยมีสิทธิยกข้อต่อสู้เพื่อไม่ต้องปฏิบัติ ตามมตินั้น อาทิ หลักกฎหมายทั่วไปเรื่อง fundamental change of circumstances หรือ rebus sic stantibus เช่นที่สะท้อนอยู่ในข้อ 62 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969 หรือ หลักกฎหมายว่าด้วยความจำเป็น (necessity) เช่นที่สะท้อนอยู่ในข้อ 25 แห่งร่างข้อกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของรัฐ (ILC Draft Articles on State Responsibility)

ไทยสามารถ อ้างสิทธิตามหลักกฎหมายเหล่านี้ เพื่อต่อสู้ว่าสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชาได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ และกระทบถึงความมั่นคงปลอดภัยและสันติภาพระหว่างประเทศ ไทยจึงมีสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศที่จะไม่ปฏิบัติตามมตินั้น อย่างไรก็ดี การยกข้อต่อสู้ดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไทยมีภาระพิสูจน์ตามหลักเกณฑ์ย่อย และมิใช่อ้างได้โดยง่าย

3.เรื่องอนุสัญญามรดกโลกฯ ทำให้ไทยกังวลเกี่ยวกับคดีในศาลโลก

ไม่ ว่านักกฎหมายจะตีความ “การถอนตัว” กันอย่างไร แต่ผู้เขียนเองในฐานะผู้เคยช่วยทำคดีในศาลโลก ก็ไม่แปลกใจหากทีมทนายความของไทยซึ่งกำลังมีคดีอยู่กับกัมพูชาในศาลโลก จะเลือกใช้ “การถอนตัว” เป็นการแสดงออกในทางพฤตินัยเป็นอย่างน้อย กล่าวคือ สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าในทางนิตินัยไทยจะยังคงเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกฯ และต้องปฏิบัติตามมติคณะกรรมการมรดกโลกหรือไม่อย่างไร อย่างน้อยไทยก็อ้างต่อศาลโลกได้เต็มปากว่า โดยพฤตินัยนั้น ไทยไม่ยอมรับการบริหารจัดการพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารใดๆ ที่อาจมีนัยกระทบต่ออธิปไทยทางดินแดนของไทย

จุดนี้อาจเป็นเพราะว่า แท้จริงแล้วไทยอาจกังวลกับผลจากการตีความคำพิพากษาโดยศาลโลกที่มีผลผูกพัน ไทยโดยตรง มากกว่าเรื่องมติมรดกโลกที่ยืดหยุ่นและเป็นเพียงแง่ทางกฎหมายประกอบแง่หนึ่ง เท่านั้น อีกทั้งการกลับเข้าเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกฯ ย่อมไม่เป็นปัญหาเท่ากับความเสี่ยงที่กัมพูชาจะนำมติไปอ้างให้ไทยเสียเปรียบ ในศาลได้

ข้อสังเกตเพิ่มเติม

จากข่าวสารที่รวด เร็วแต่ไม่มีความชัดเจน ผู้เขียนเข้าใจว่าการถอนตัวครั้งนี้มีขึ้นหลังจากคณะคุณสุวิทย์สามารถเจรจา ให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารได้สำเร็จ แต่เมื่อร่างมติที่นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกยังมีถ้อยคำเกี่ยวกับ ปราสาทพระวิหารที่มีปัญหาอยู่ คุณสุวิทย์จึงยืนยันถอนตัว ในทางหนึ่งย่อมมองได้ว่าเป็นการทำหน้าที่อย่างละเอียดรอบคอบเพื่อปกป้องผล ประโยชน์ของชาติอันน่าชื่นชม

แต่อีกทางหนึ่ง ก็อาจมีผู้โจมตีว่าไทยขาดความน่าเชื่อถือในเวทีโลก เช่น ไทยขู่ถอนตัวเพื่อตั้งแง่การเจรจาให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการ (โดยทั่วไป) ออกไป และแม้สุดท้ายไทยจะได้ตามที่ต้องการ ก็ยังคงถอนตัวเพื่อประโยชน์ทางรูปคดี (เกี่ยวกับถ้อยคำบางคำ) อยู่ดี ทั้งที่ไทยจะถอนตัวแต่แรกก็ได้ หรือจะมองอย่างเสียดสีว่าเป็นเพียงการเรียกคะแนนนิยมก่อนวันเลือกตั้ง ฯลฯ

การ มองเหล่านี้มิใช่การมองทางกฎหมาย และอาจเป็นการด่วนสรุปที่ไม่เป็นธรรม แม้ผู้เขียนจะมีความเชื่อว่าคณะคุณสุวิทย์และตัวแทนฝ่ายไทยทุกท่านย่อมยึด ประโยชน์ชาติเป็นใหญ่ แต่ผู้เขียนก็มิอาจแสดงความเห็นได้ เพียงแต่เรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลการตัดสินใจและชี้แจงให้ประชาชน ทราบโดยเร็ว

ที่สำคัญ หนังสือพิมพ์ Bangkok Post (http://bit.ly/llkquo) รายงานว่าการตัดสินใจของคุณสุวิทย์นั้น โดยหลักเป็นเพราะคุณสุวิทย์และผู้แทนกรมศิลปากรไม่สบายใจกับถ้อยคำในร่างมติ แต่กระทรวงการต่างประเทศไทยกับไม่ติดใจถ้อยคำดังกล่าว (“Mr Suwit and Fine Arts Department representatives disapproved of the wording, while the Foreign Ministry was happy with it”)

ผู้เขียนไม่ทราบว่าข่าวนี้ จริงเท็จและมีรายละเอียดเช่นใด แต่หากนักการทูตและนักกฎหมายระหว่างประเทศชั้นนำของไทยไม่มีปัญหากับร่างมติ จริง ประชาชนก็สมควรได้รับคำอธิบายอย่างชัดเจนทุกแง่มุม
(เท่าที่จะไม่เสียรูปคดี) อาทิ

- ถ้อยคำในร่างมติดังกล่าวมีนัยอย่างไรในมุมมองของแต่ละหน่วยงาน?

- ปัจจุบันไทยยังคงมีสถานะเป็นภาคีหรือไม่ และไทยเคยตั้งข้อสงวนเรื่องการถอนตัวหรือไม่?

- ไทยยังใช้สิทธิผ่านกรรมการของไทยในที่ประชุมมรดกโลกได้หรือไม่?

- หากที่ประชุมมีท่าทีเปลี่ยนไปแล้วไทยจะเปลี่ยนใจยับยั้งการถอนตัวได้หรือไม่?

- แม้การถอนตัวจะไม่กระทบต่อสถานะมรดกโลกในไทย แต่หากถอนตัวไปแล้ว ไทยจะยังคงดูแลอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา สุโขทัย บ้านเชียง ทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง และผืนป่าเขาใหญ่-ดงพญาเย็น ให้สมเกียรติและศักดิ์ศรีของชาวไทยผู้ดูแลมรดกของชาวโลกหรือไม่? อนาคตของว่าที่มรดกโลกอื่นในไทยจะเป็นอย่างไร?

- ไทยได้เสียเรื่องอื่นอย่างไร เช่น เงินอุดหนุนที่ไทยต้องจ่าย (ซึ่งอนุสัญญามรดกโลกฯ ข้อ 35 บอกว่าไทยยังต้องจ่ายต่ออีก 12 เดือน) เงินสนับสนุนที่ไทยได้รับเกี่ยวกับมรดกโลก หรือ ผลกระทบต่อความร่วมมือด้านการศึกษาและวัฒนธรรมกับ UNESCO?

โดยคุณ leo_attack เมื่อวันที่ 26/06/2011 22:34:17


ความคิดเห็นที่ 26


ไมมีความรู้ทางด้านการเมืองการทูต แต่มีความรู้สึกสะใจ และสนับสนุนที่ถอนตัว

โดยคุณ juk เมื่อวันที่ 26/06/2011 23:02:03


ความคิดเห็นที่ 27


 

ที่มา : http://www.suthichaiyoon.com/detail/11337

 

เบื้องหลังไทยทิ้งไพ่ถอนตัวมรดกโลก

การถอนตัวออกจากการเป็นภาคีมรดกโลกของไทย ไม่ได้เกินความคาดหมายและแผนการของไทยที่ได้เตรียมต่อรองกับการเสนอแผน บริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหารของกัมพูชา เพราะที่สุดแล้วไม้สุดท้ายหากไม่สามารถตกลงหรือสามารถเลื่อนการพิจารณาได้

ทำไม?.."ไทยจำเป็นต้องประกาศถอนตัวจากภาคีมรดกโลก"

การ ออกเดินทางไปร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนเจรจามรดกโลกฝ่ายไทย ได้เดินทางไปพบ ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ ที่ปรึกษาคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกของไทย และอดีตประธานคณะกรรมการมรดกโลก เพื่อตระเตรียมแผนการเจรจา โดยไม้ตายสุดท้ายที่ศ.ดร.อดุล แนะนำคือ "การประกาศถอนตัวออกจากการเป็นภาคีมรดกโลก"

"ก่อน จะเดินทาง นายสุวิทย์ได้มาหา เราได้เตรียมการและซักซ้อมเอาไว้แล้วทั้งหมดว่าควรจะเจรจาอย่างไร ซึ่งทั้งหมดต้องยึดเอาอธิปไตยของไทย ไม่ให้สูญเสียไป และหากไม่เป็นไปตามนั้นควรจะประกาศถอนตัวออกจากภาคีทันที" ศ.ดร.อดุล กล่าว

แม้ ว่าจะไม่มีประเทศไหนที่ประกาศถอนตัวออกจากการเป็นภาคีของคณะกรรมการมรดกโลก แต่ ศ.ดร.อดุล เห็นด้วยกับท่าทีไทยในครั้งนี้ เนื่องจากแผนบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหารของกัมพูชารุกล้ำอธิปไตยไทย และการกระทำของคณะกรรมการมรดกโลกส่อไปในทางเกื้อกูลกัมพูชามากเกินไป ซึ่งถือว่าไม่ยุติธรรมกับประเทศไทย

"มรดก โลกเคยเป็นเกียรติภูมิที่ควรให้ความเคารพ แต่ปัจจุบันเกียรติภูมิเหล่านั้นหมดไปจากการเข้าไปเกื้อกูลกัมพูชาจนขาดความ เป็นธรรม เราได้เตรียมการและเตรียมแถลงการณ์ถอนตัวก่อนที่นายสุวิทย์จะเดินทางไปร่วม ประชุมแล้ว" ศ.ดร.อดุล กล่าว

หลัง จากเตรียมแผนการเจรจา นายสุวิทย์ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 35 ที่กรุงปารีส ตั้งแต่วันที่ 19-29 มิ.ย. 2554 ระหว่างการประชุมดูเหมือนว่าประเทศสมาชิก 21 ประเทศให้การสนับสนุนแผนบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทของกัมพูชา และท่าทีของกัมพูชาเองที่ไม่ยินยอมให้เลื่อนการรับรองแผนบริหารจัดการ พื้นที่ออกไปจนกว่าศาลโลกจะตัดสิน

กระทั่ง นายมูเนีย บุชนากี ตัว แทนผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก ต้องจัดประชุมนอกรอบ ระหว่างไทยและกัมพูชา โดยยูเนสโกเสนอแผนบริหารจัดการปราสาทฉบับที่ 3 ซึ่งร่างโดยยูเนสโกเพื่อยุติความขัดแย้ง

การ จัดประชุมหารือนอกรอบ เกิดขึ้นถึง 5 ครั้ง แต่ทั้งไทยและกัมพูชาไม่มีทีท่าว่าจะสามารถตกลงกันได้ โดยกัมพูชามีท่าทียอมรับแผนฉบับยูเนสโก แต่นายสุวิทย์ยืนยันว่า แผนดังกล่าวยังล่วงล้ำอธิปไตยของไทย ไม่สามารถยอมรับได้

"ร่าง แผนบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทของยูเนสโกที่เป็นฉบับกลาง ไทยคงไม่สามารถยอมรับได้ เพราะจะกระทบอธิปไตย และอาจเป็นเงื่อนไขให้กัมพูชานำไปใช้ในคดีศาลโลก เพราะเขียนลักษณะเหมือนว่าไทยยอมรับแผนบริหารจัดการ"

ระหว่างการเจรจานอกรอบ นายสุวิทย์แสดงท่าทีจะถอนตัวออกจากภาคีคณะกรรมการมรดกโลก โดยโพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ระหว่างการเจรจา

กระทั่ง เกือบ 24.00 น. เวลาของประเทศไทย นายสุวิทย์ได้อ่านแถลงการณ์ ประกาศถอนตัวต่อที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก โดยชี้แจงว่า กติกาภายใต้คู่มือการขึ้นทะเบียนมรดกโลกและการจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ของยูเนสโก คือการอนุญาตให้กัมพูชาหรือผู้เชี่ยวชาญจากยูเนสโกขึ้นไปบนปราสาทพระวิหาร ทำให้อาจจะเสี่ยงต่อการละเมิดอำนาจอธิปไตยของไทยได้

นอก จากนี้ยังมีหลายองค์ประกอบที่จะกระทบกับไทย ประกอบกับร่างข้อมติที่นำเสนอเข้าไปในการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลก วันที่ 29 มิถุนายน ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีมติรับร่างแผนการจัดการพื้นที่บริหารปราสาทของกัมพูชา หรือไม่ จึงเห็นว่าถ้าไทยไม่สมควรเสี่ยง

"เรา ไม่รู้ว่าคณะกรรมการจะตัดสินใจอย่างไร เพราะว่าหลังจากที่ได้พูดคุยก็ยังไม่มีใครออกความเห็นที่บอกความชัดเจนตรง นี้ได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และป้องกันอำนาจอธิปไตยและเขตแดนที่อาจได้รับผลกระทบและสูญเสีย รวมถึงจะทำให้เป็นประเด็นที่กัมพูชาจะหยิบยกในการพิจารณาของศาลโลกด้วย ไทยจึงจำเป็นต้องประกาศถอนตัว"

นาย สุวิทย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาพยายามทำความเข้าใจต่อคณะกรรมการ ให้เห็นถึงปัญหาผลกระทบถึงการขึ้นทะเบียนที่ไม่ถูกต้อง แต่ในเมื่อคณะกรรมการมรดกโลก และยูเนสโก ไม่เข้าใจ การถอนตัวจากมรดกโลกจึงถือเป็นการตัดสินใจด้วยความรอบคอบ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รับรู้โดยตลอด พร้อมยืนยันว่า ทีมเจรจาได้พยายามอย่างที่สุดแล้ว แต่ทางคณะกรรมการมรดกโลกไม่ยินยอมและฟังเสียงเรา

"ทาง ที่ดีที่สุดคือ ประกาศถอนตัวเพื่อบอกว่าเราไม่ยอมรับมติใดๆ ของคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งการประกาศถอนตัวไม่มีความผูกพัน และถือเป็นการสิ้นสุดข้อบังคับในอนุสัญญา ทำให้การกระทำใดๆ ในพื้นที่ปราสาทพระวิหารที่ไม่ได้รับอนุญาตจากไทยไม่สามารถทำได้ นายสุวิทย์ กล่าว

โดยคุณ didadai เมื่อวันที่ 26/06/2011 23:04:10


ความคิดเห็นที่ 28


ต่อครับ

ผอ.ยูเนสโกเสียใจไทยถอน

เมื่อ วันที่ 26 มิ.ย. นายสุวิทย์ คุณกิตติ ให้สัมภาษณ์ว่า นางอิรินา โบโกวา ผู้อำนวยการองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้โทรศัพท์แสดงความเสียใจ หลังจากได้ประกาศถอนตัวออกจากการเป็นภาคีสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก โดยตอบไปว่ามีความเสียใจมากกว่าที่คณะกรรมการมรดกโลกไม่ได้ปฏิบัติตามบท บัญญัติที่ได้กำหนดขึ้นเอง ทำให้ไทยยอมรับไม่ได้

"การ ถอนตัวดังกล่าวถือว่ามีผลทันที คณะกรรมการมรดกโลกจะพิจารณารับหรือไม่รับข้อเสนอใดๆ ของกัมพูชาก็จะไม่มีข้อผูกพันใดๆ กับไทย และไม่สามารถรุกล้ำเข้ามาในดินแดนของไทยได้" นายสุวิทย์กล่าว

ส่วน มติที่ประชุมที่จะส่งผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณสถานไปตรวจสภาพปราสาทพระวิหาร นั้น นายสุวิทย์กล่าวว่า ทำได้ แต่การขึ้นไปต้องไม่ขึ้นทางฝั่งไทย ไม่เช่นนั้นจะถือเป็นการรุกล้ำอธิปไตย สำหรับผลกระทบต่อพื้นที่ที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้วของไทย 5 แห่ง ยังคงอยู่ในทะเบียนมรดกโลก แต่ระยะต่อไปอาจเปลี่ยนแปลงสถานภาพได้ หากไทยไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลง และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งมั่นใจว่าไทยสามารถดูแลสถานที่สำคัญเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี จึงไม่กังวลใจ

"มาร์ค"ยันอยู่ในกรอบครม.

วัน เดียวกัน เวลา 14.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เรียกนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ เข้าพบ ที่ห้องรับรองพิเศษ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นเวลา 10 นาที ก่อนที่นายอภิสิทธิ์จะเปิดแถลงข่าวเรื่องที่นายสุวิทย์ประกาศถอนตัวจากการ เป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญามรดกโลกว่า การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกเมื่อคืนวันที่ 25 มิถุนายน นายสุวิทย์เดินออกจากที่ประชุมและแสดงเจตนาการถอนตัวออกจากการเป็นภาคี อนุสัญญามรดกโลก การดำเนินการทั้งหมดอยู่ในกรอบมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) และผ่านการปรึกษาหารือ เมื่อคืนที่ผ่านมาก็ได้คุยกับนายสุวิทย์ทางโทรศัพท์หลายครั้งและประสานกับนา ยกษิตด้วย

"สาเหตุ หลักคือ ไทยแสดงจุดยืนชัดเจนว่า ไม่ต้องการให้ที่ประชุมพิจารณาแผนบริหารจัดการที่กัมพูชาจะเสนอต่อที่ประชุม และในช่วงที่มีการประสานกับผู้อำนวยการยูเนสโก และผู้แทนพิเศษฯ นั้น ยืนยันกับไทยมาตลอดว่าจะไม่มีการพิจารณาแผนดังกล่าว กระทั่งในช่วงของการประชุมหลายวันที่ผ่านมา ร่างข้อมติชัดเจนว่าที่ประชุมตัดสินใจเลื่อนการพิจารณาแผน แต่ก่อนที่จะนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมมีการนำเสนอร่างข้อมติเป็นทางเลือก อีกทางหนึ่ง ซึ่งกัมพูชาเสนอขึ้น แม้จะไม่ได้พูดแผนบริหารจัดการพื้นที่ชัดเจน แต่มีความกำกวม เราได้ปรึกษากันเล้ว เห็นว่ายอมรับไม่ได้ ที่ประชุมต้องการนำร่างมติ 2 ฝ่ายไปพิจารณา ฝ่ายไทยเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เพราะมีการพูดกันมาตลอดว่าต้องไม่มีการตัดสินใจในเรื่องนี้ ต้องมีความชัดเจนว่าต้องเลื่อนออกไป และระบุไว้ในข้อบังคับการประชุม" นายอภิสิทธิ์กล่าว

ย้ำนานาชาติเข้าใจท่าทีไทย

นายก รัฐมนตรีกล่าวอีกว่า ขอขอบคุณผู้แทนหลายประเทศ และผอ.ยูเนสโก ที่พยายามหาทางประนีประนอมให้ร่างข้อมติเป็นที่ยอมรับได้ก่อนที่จะนำเสนอต่อ ที่ประชุม เช่น ออสเตรเลีย สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส บราซิล และอียิปต์ เมื่อวาระนี้เข้าสู่ที่ประชุมได้บอกไปว่าอยากให้วาระนี้มีการประนีประนอม และแจ้งไปว่า กำลังรอคุยโทรศัพท์กับ ผอ.ยูเนสโก แต่ปรากฏว่าที่ประชุมตัดสินใจเดินหน้าต่อไป ฉะนั้นนายสุวิทย์จึงตัดสินใจแถลงเจตนาเดินออกจากที่ประชุม และถอนตัวออกการเป็นภาคี สรุปว่าการดำเนินการทั้งหมดเป็นไปตามมติ ครม.

อย่าง ไรก็ตาม เมื่อนายสุวิทย์เดินออกจากที่ประชุม ที่ประชุมมีมติตัดข้อความที่กัมพูชาเสนอในย่อหน้าที่เป็นปัญหา ฉะนั้นในชั้นนี้ยังไม่มีการพิจารณาแผนบริหารพื้นที่ของกัมพูชาแต่ประการใด การดำเนินการต่อไปจะเป็นหน้าที่รัฐบาลใหม่ที่จะดำเนินการถอนตัวจากกรรมการ มรดกโลก แต่ระหว่างนี้ยูเนสโกสามารถปรึกษาหารือกับไทยได้เกี่ยวกับการดำเนินการต่อไป โดยไทยจะยืนยันว่า หากจะฟื้นฟูบูรณะใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับดินแดนไทย ต้องได้รับความยินยอมจากไทย และไทยยืนยันเสมอว่า กัมพูชาต้องถอนทหารออกจากปราสาททั้งหมด มิฉะนั้นจะถือว่าขัดต่อสนธิสัญญาและเจตนารมณ์ของกรรมการมรดกโลกด้วย

"ผม ถือว่าได้ทำความเข้าใจกับต่างประเทศได้มาก ผมเชื่อว่าต่างประเทศเห็นว่าไทยจำเป็นต้องเดินออก เพราะที่ผ่านมาการทำงานกับยูเนสโกได้ทำความเข้าใจล่วงหน้าชัดเจน ไม่มีการโอนอ่อนผ่อนปรนตามแนวทางซึ่งเสนอให้ประนีประนอมเลย แม้ว่าไทยจะเดินออกแล้วจะไม่มีการพิจารณาแผนก็ตาม แต่ขั้นตอนต่อไปกระทรวงการต่างประเทศจะพิจารณารายละเอียดและรัฐบาลใหม่จะ เดินหน้า" นายอภิสิทธิ์กล่าว

สั่งผบ.ทบ.-รมว.กห.เข้มชายแดน

เมื่อ ถามว่า ในอนาคตแนวทางต่อสู้จะยากขึ้นหรือไม่ หลังจากไทยถอนตัว นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า คิดว่าตอนนี้ยูเนสโกและกัมพูชาต้องไปทบทวนว่าจะดำเนินการต่อในกรอบของตัว เองอย่างไร การปรึกษากับไทยในชั้นนี้ยังทำได้ เพราะกระบวนการถอนตัวอย่างเป็นทางการต้องใช้เวลาพอสมควรตามกฎกติกา

นาย อภิสิทธิ์กล่าวว่า ส่วนผลกระทบตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชานั้น ก่อนที่นายสุวิทย์จะเดินออกจากห้องประชุม ตนได้คุยกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ให้เฝ้าระวัง มีรายงานว่าตอนนี้มีความเคลื่อนไหวของกัมพูชาระยะหนึ่งแล้ว ได้แจ้งให้นายสุวิทย์พยายามสื่อสารด้วยว่าจะเห็นว่าความตึงเครียดมีมาก และดูเหมือนว่ากัมพูชาอยากให้เกิดปัญหาขึ้น เพราะช่วงกลางคืนวันที่ 25 มิถุนายน มีการประสานงานตลอดเวลา

ปูดเขมรสอดไส้มติกระตุ้นปมร้าว

เมื่อ ถามย้ำว่า มีปัจจัยใดที่เกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะก่อนหน้านี้นายกฯ มั่นใจว่าจะเป็นผลดีกับไทย นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า มันมีร่างข้อมติที่เป็นทางเลือก ซึ่งกัมพูชาเสนอเข้ามาในช่วงท้าย และไม่ได้พูดถึงแผนบริหารจัดการก็จริง แต่ทำให้เกิดความกำกวมขึ้นและเป็นตัวปัญหา จึงพยายามบอกว่าไม่มีผลกระทบ แต่ไทยบอกว่าไม่ควรจะเสี่ยง เพราะสิ่งที่จะพูดถึงคือเรื่องอธิปไตย ฉะนั้นก็คุยกันว่าไม่ควรเสี่ยง หากจะมีความเป็นไปได้ที่จะใส่ข้อความเหล่านั้นในมติ ไทยไม่ควรมีส่วนร่วมในการพิจารณา

"ผม คุยกับคุณสุวิทย์แล้ว ก็เห็นตรงกัน ย้ำว่าการดำเนินการทั้งหมดอยู่ในกรอบมติ ครม.และหารือแล้วก่อนที่คุณสุวิทย์จะเดินทางไป ฉะนั้นเป็นมติที่มีการรองรับการกระทำเรียบร้อย ขอบคุณนายสุวิทย์ที่ทำงานหนักมากในช่วงก่อนหน้านี้ และย้ำว่ามันเป็นไปตามแนวทางที่ผมพูดมาตลอดว่าต้องสู้ถึงที่สุด ยืนยันว่าไม่สูญเปล่าแน่นอน มิตรประเทศ คือ 5 ประเทศข้างต้นก็ช่วยไทยจริงจังและน่าจะเข้าใจจุดยืนของไทยมากขึ้น ผมเชื่อว่าการทำความเข้าใจมาตลอดเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ในที่สุดมติที่ ประชุมไม่ใส่ร่างข้อมติปัญหาที่กัมพูชาเสนอ" นายอภิสิทธิ์กล่าว

เพื่อไทยมึนมติไม่ผ่านสภา

นาย ปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย แถลงถึงการตัดสินใจถอนตัวจากภาคีอนุสัญญามรดกโลกว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ประชาชนชาวไทยต้องรู้ความจริง เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสถานะของประเทศไทยในเวทีโลกเกี่ยวกับดินแดน และบูรณภาพของราชอาณาจักรไทย ดังนั้นพรรคเพื่อไทยขอถามไปยังนายสุวิทย์ คือ ประการที่ 1 นายกรัฐมนตรีมีความเห็นเรื่องนี้อย่างไร เป็นการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีด้วยใช่หรือไม่ เพราะนายสุวิทย์อ้างว่าได้โทรศัพท์หารือกับนายอภิสิทธิ์ได้ให้ความเห็นชอบ แล้ว

ประการ ที่ 2 การที่รัฐบาลประกาศถอนตัวจากองค์กรระหว่างประเทศครั้งนี้ ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้วหรือไม่ และเรื่องนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับดินแดน และบูรณภาพของประเทศ ทำไมไม่หารือและขอความเห็นจากสภาก่อนรัฐบาล ทำไปโดยพลการได้อย่างไร ประการที่ 3 ขณะนี้รัฐบาลอยู่ในฐานะของรัฐบาลรักษาการ และการเลือกตั้งก็กำลังจะเกิดขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ถัดไป เหตุใดรัฐบาลจึงรีบร้อนตัดสินใจ ทำไมไม่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลใหม่ ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้น นายสุวิทย์และนายอภิสิทธิ์มีอะไรเป็นวาระซ่อนเร้นหรือไม่ เพราะมองดูชอบกลผิดกาลเทศะ

ประการที่ 4 การแก้ปัญหาระหว่างประเทศมีหลายวิธี หลายขั้นตอน เหตุใดรัฐบาลจึงตัดสินใจใช้ความรุนแรงเข้าแก้ปัญหา การถอนตัวออกมารัฐบาลหรือประเทศไทยได้ประโยชน์อะไร เป็นซาดิสต์ไปแล้วหรือ เพราะถึงประเทศไทยไม่อยู่ ไม่เป็นสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกก็คงจะประชุมต่อไป และจะตัดสินใจอะไรได้ง่าย และสะดวกกว่าเดิม เพราะไม่มีประเทศใดมาขัดขวาง จึงถามว่าการลาออกยกเว้นการสะใจแล้วได้อะไรอีกมีแต่เสียหาย

ประการ ที่ 5 รัฐบาลเคยถามคนอยุธยา คนอุดรธานี คนสุโขทัย คนนครราชสีมา คนอุทัยธานี (ห้วยขาแข้ง) แล้วหรือยังในการถอนตัวจากการเป็นมรดกโลก เป็นหน้าตาของจังหวัด เขาไปทำลายไปทำร้ายเขาทำไม แน่ใจแล้วหรือว่ามีสิทธิ์จะตัดสินใจอย่างนี้แทนเจ้าของพื้นที่ ประการที่ 6 รัฐบาลรู้หรือไม่ว่าการถอนตัวจากการเป็นสมาชิกของคณะกรรมการมรดกโลกจะกระทบ ต่อการท่องเที่ยวอย่างยิ่ง การมาเที่ยวนั้นนักท่องเที่ยวจะดูเว็บ ว่าประเทศใดมีมรดกโลกบ้าง แล้วก็มาดูการถอนตัวจากมรดกโลกเป็นการลดระดับมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวใน ประเทศไทย การตัดสินใจของนายสุวิทย์กับนายอภิสิทธิ์ครั้งนี้จึงเป็นการทำลายบรรยากาศ การท่องเที่ยวของประเทศไทยอย่างยิ่ง

บี้"สุวิทย์"แจงค่าล็อบบี้10ล้าน

รอง หัวหน้าพรรคเพื่อไทยกล่าวต่อว่า ประการที่ 7 นายอภิสิทธิ์ได้ให้สัมภาษณ์ตลอดเวลาว่าไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง จะไม่มีการประชุมเรื่องเขาพระวิหารแน่นอน เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ที่ผ่านมา ก็พูดอีก ขอถามว่าทำไมต้องโกหกประชาชน ประการที่ 8 นายสุวิทย์เบิกเงินไป 10 ล้านบาท อ้างว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการล็อบบี้ขอทราบรายละเอียดจากการใช้จ่ายด้วย ขอให้รู้ว่าเราติดตามมาตลอด และรู้ทันการคอรัปชั่น การล็อบบี้นั้นควรให้เอกอัครราชทูตไทยตามประเทศที่เป็นกรรมการมรดกโลกไปเข้า พบและขอกับผู้นำประเทศของเขา เพราะเป็นเรื่องใหญ่เป็นนโยบายระดับประเทศไม่ใช่มากินเลี้ยงกินกันเอง

สุด ท้าย ประการที่ 9 ขณะนี้ประเทศไทยกำลังจะเตรียมเสนอพื้นที่ 21 แห่งขึ้นมรดกโลก เพราะเป็นการยกฐานะประเทศไทยในเวทีโลก ที่สำคัญ 2 พื้นที่เราคิดว่าจะได้คือการเสนอสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นมรดกโลก ดังนั้น กรุงเทพฯ จะเป็นมรดกโลก กรุงธนบุรีก็จะเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลก ขณะเดียวกันกำลังเสนอหมู่เกาะสุรินทร์ สิมิลัน ตะรุเตาเป็นมรดกโลก หากได้รับการพิจารณาจะเป็นการเสริมสร้างเกียรติภูมิของประเทศ และจะทำให้มีนักท่องเที่ยวมาไทยมากขึ้น

"เมื่อ รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ตัดสินใจถอดตัวแบบนี้ เท่ากับเป็นการทำลายโอกาส หรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือของใหม่ก็ไม่ได้ของเก่าก็เจ๊ง เรื่องนี้นายอภิสิทธิ์มีคำตอบหรือไม่ ว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นได้ยังไง หรือเพียงแต่คิดสั้นๆ จะเอาใจพันธมิตร เพราะคิดจะใช้พันธมิตรหลังจากจะแพ้พรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งครั้งนี้" นายปลอดประสพกล่าว

"ยิ่งลักษณ์"ห่วงมรดกโลกอื่นๆ

น.ส.ยิ่ง ลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัครบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การประกาศถอนตัวจากภาคีอนุสัญญามรดกโลก เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ เพราะเป็นเรื่องที่มีความอ่อนไหว จุดยืนที่เกิดขึ้นในครั้งนี้อาจจะกระทบกับมรดกโลกอื่นๆ อาจจะส่งผลเสียหายให้ไทยในอนาคต

ผู้ สื่อข่าวถามว่า ถ้าพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลจะจัดการในเรื่องนี้อย่างไร เพื่อไม่ให้กระทบกับมรดกโลกที่มีอยู่ในประเทศไทย น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า จุดยืนของเรื่องนี้จะต้องมีการเจรจาคู่ขนานกับตัวแทนที่เกี่ยวข้อง เพื่อประสานความสัมพันธ์ทางการทูตตระหว่างกัน สิ่งสำคัญต้องคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก หากทำตรงนี้ได้จะส่งผลดีต่อประเทศในที่สุด

"นพดล"อัดรัฐทำชาติเสียหาย

ผู้ สื่อรายงานว่า นายนพดล ปัทมะ ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และอดีต รมว.ต่างประเทศ ได้เผยแพร่ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Noppadon Pattama" เมื่อเวลา 08.11 น. ในหัวข้อ "สุวิทย์ ทำอะไรลงไปที่ปารีส" ระบุว่า "เมื่อปีที่แล้ว 2553 สุวิทย์ (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) คุยนักคุยหนาว่า เลื่อนวาระแผนบริหารและจัดการปราสาทพระวิหาร มาปี 54 ผมพูดในตอนนั้นว่า อยากให้รัฐบาล ปชป. (พรรคประชาธิปัตย์) อยู่ถึงการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกในปีนี้ และเป็นไปตามคาด คุณสุวิทย์ไม่สามารถเลื่อนวาระการพิจารณาแผนบริหารพื้นที่รอบปราสาทออกไปได้ อีก เพราะรัฐบาลนี้ไม่สามารถล็อบบี้ประเทศอื่นที่เป็นกรรมการมรดกโลกให้ช่วย ประเทศไทยได้ เพราะคุณมีเพื่อนน้อยในเวทีโลก"

"การ ลาออกจากภาคีมรดกโลกจะสร้างความเสียหายให้ประเทศไทยอย่างมาก เพราะเราจะไม่สามารถนำโบราณสถาน และอุทยานแห่งชาติไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้ การลาออกเป็นการปิ้งปลาประชดแมว นอกจากนั้น เรายังสามารถปกป้องสิทธิในเขตแดนโดยวิธีอื่นๆ ได้มากกว่าการลาออกจากภาคีมรดกโลก"

พธม.ประกาศชัย-ยุติชุมนุม1ก.ค.

ความ เคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตร แถลงจุดยืนของพันธมิตรและคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักร 8 ข้อ มีเนื้อหาโดยสรุป คือ 1.ภาคประชาชนขอขอบคุณนายสุวิทย์ คุณกิตติ ในฐานะหัวหน้าผู้เจรจามรดกโลกที่ได้ตัดสินใจถอนตัวจากภาคีมรดกโลก 2.ถือเป็นชัยชนะของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ และเป็นความสำเร็จ 1 ใน 3 ข้อของการชุมนุมรวมพลังปกป้องแผ่นดิน 3.การตัดสินใจครั้งนี้ไม่ถือเป็นผลงานของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่เป็นผลงานของนายสุวิทย์โดยตรง

นาย ปานเทพกล่าวอีกว่า 4.บันทึกความเข้าใจไทย-กัมพูชา (เอ็มโอยู) 2543 ที่นายอภิสิทธิ์พยายามยึดถือว่าจะเป็นอำนาจและกลไกในการปกป้องไม่ให้คณะ กรรมการมรดกโลกเดินหน้าเรื่องปราสาทพระวิหารนั้น เป็นความเท็จทั้งสิ้น 5.รัฐบาลต้องทบทวนเอ็มโอยู 2543 อย่างเร่งด่วน 6.เมื่อไทยถอนตัวแล้วต้องดำเนินการต่อเนื่องไม่ให้ฝ่ายกัมพูชา หรือองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เข้ามากระทำการใดในพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร 7.ในเวทีศาลโลกไทยก็ไม่สมควรจะไปรับอำนาจศาลโลกอีก และ 8.เรื่องนี้ถือว่าเป็นความสำเร็จของประชาชน

โฆษก พันธมิตรกล่าวด้วยว่า คณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย และกองทัพธรรมมูลนิธิ มีมติว่าหลังการประชุมมรดกโลกจนสิ้นสุดในวันที่ 29 มิถุนายนนี้ จะชุมนุมต่อไปจนถึงคืนวันที่ 1 กรกฎาคม ก่อนประกาศยุติการชุมนุมทั้งบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ และสะพานชมัยมรุเชฐ ส่วนสัญญาณถ่ายทอดสดของเอเอสทีวีจะเข้าสู่ห้องส่งเริ่มในวันที่ 2 กรกฎาคมเป็นต้นไป

 

"นิพิฏฐ์"ลั่นไม่ง้อตรามรดกโลก

นาย นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า การที่ประเทศไทยถอนตัวออกจากคณะกรรมการมรดกโลก ได้เป็นไปตามแผนในการต่อสู้กับแผนบริหารจัดการรอบปราสาทพระวิหารที่ฝ่าย กัมพูชาเสนอ ส่วนจะมีผลกระทบต่อประเทศไทยหรือไม่ มองว่าไม่มีปัญหาอะไร เพียงแต่ประเทศไทยจะไม่มีสิทธิ์ขอความร่วมมือจากประเทศสมาชิกได้

"เรื่อง ที่ประเทศไทยเตรียมขอขึ้นทะเบียนสถานที่ที่คิดว่าเหมาะสมที่จะเป็นมรดกโลก คงต้องเลื่อนออกไปก่อน แต่คนไทยไม่ต้องเป็นห่วง เพราะตามหลักสากล หรือในข้อกำหนดของยูเนสโกไม่ได้เขียนระบุไว้ว่า หากถอนตัวแล้วจะไม่สามารถเสนอขอเป็นมรดกโลก แต่โดยหลักการแล้ว ในเมื่อเราปฏิเสธกลไกดังกล่าวไปแล้ว เราก็ไม่ควรเสนอเป็นมรดกโลก ผมมองว่าไม่มีความจำเป็นและไม่เห็นต้องอาศัยชื่อความเป็นมรดกโลก เพราะไม่ได้ทำให้พื้นที่ของประเทศไทยดีขึ้น เป็นเพียงสัญลักษณ์ทางชื่อเท่านั้น" นายนิพิฏฐ์กล่าว

นายอดุล วิเชียรเจริญ อดีตคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ กล่าวว่า เท่าที่ทราบยังไม่มีประเทศใดถอนตัวออกจากภาคีสมาชิก ไทยเป็นประเทศแรกที่ลาออก ซึ่งการถอนตัวออกจากภาคีสมาชิกอนุสัญญามรดกโลกนั้น จะไม่กระทบต่อแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่ได้รับการประกาศเป็นมรดก โลก และจะไม่ถูกถอดถอนและจะไม่เสียฐานะยังคงเป็นอยู่ต่อไป ส่วนที่ว่าหากไทยจะขอกลับไปเป็นภาคีสมาชิกอีกครั้ง มองว่าในเมื่อไทยตัดสินใจลาออกมาแล้วก็ไม่มีเหตุผลอะไรต้องกลับไปอีก

ทั้ง นี้ ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2530 เคยได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการมรดกโลก 3 ครั้ง คือ ครั้งแรกระหว่างปี 2532-2538 ครั้งที่สอง ระหว่างปี 2540-2546 และครั้งล่าสุดระหว่างปี 2552-2556 โดยได้รับการทะเบียนมรดกโลก 5 แห่ง ได้แก่ แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แห่ง คือ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนภายใต้ชื่อ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร เมื่อปี 2534 อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 และแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2535

ส่วน แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ 2 แห่ง คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปางสีดา ทับลาน ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงรัก ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนภายใต้ชื่อ "ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" เมื่อปี 2548

 

"ปณิธาน"เผยไม่กระทบไทย

ดร.ปณิธาน วัฒนายากร โฆษกรัฐบาล กล่าวว่า ที่เราต้องถอนตัวจากการเป็นภาคีมรดกโลก เนื่องจากมีความสุ่มเสี่ยงในเรื่องอำนาจอธิปไตยและดินแดนของไทย เพราะถ้ายังมีการเดินหน้าต่อ ก็ไม่รู้ว่าทางกัมพูชาจะสอดแทรกแผนบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหารอย่าง ไรบ้าง จึงต้องถอนตัวออกมา เท่ากับว่าเราไม่ได้รับรองการดำเนินการใดๆ ของกัมพูชา

"การ ถอนตัวครั้งนี้ไม่มีผลกระทบต่อการดูแล หรือบูรณะโบราณสถานของไทย เพราะปกติเราใช้เงินของเราเองในการดูแลโบราณสถาน ไม่เหมือนกับกัมพูชาที่นำโบราณสถานของเขาไปขึ้นทะเบียนกับยูเนสโกแล้วนำเอา เงินของยูเนสโกมาซ่อมแซมโบราณสถานของกัมพูชา อีกทั้งหากโบราณสถานของไทยมีความโดดเด่นจริง ก็ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นมรดกโลกอยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องไปขึ้นทะเบียนกับยูเนสโก" ดร.ปณิธาน กล่าว

ดร.ปณิธาน ยอมรับว่า จากนี้ไปอาจจะไม่สามารถนำโบราณสถานของไทยไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกต่อยูเนส โกได้ แต่ประเทศที่เป็นสมาชิกคณะกรรมการโลกก็ไม่สามารถนำโบราณสถาน หรือพื้นที่ที่คาบเกี่ยวว่าเป็นของไทยหรือไม่ ไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแต่ฝ่ายเดียวได้ ทั้งนี้เป็นไปตามกฎของยูเนสโกว่าต้องได้รับความยินยอมจากทั้งสองฝ่าย

ชายแดนส่อระอุ-เขมรเสริมทัพ

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังนายสุวิทย์ คุณกิตติ ประกาศถอนตัวจากการเป็นภาคีมรดกโลก สถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชาก็กลับมาตึงเครียดอีกครั้ง ทหารไทยและตำรวจตระเวนชายแดนประจำพื้นที่ จ.สุรินทร์ ได้รับคำสั่งพร้อมในที่ตั้งตลอด 24 ชั่วโมง และคาดว่าในช่วง 2-3 วันข้างหน้าอาจจะเกิดการปะทะรอบใหม่ อีกทั้งเวลาประมาณ 16.00 น. พบเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ 16 จำนวน 2 ลำ บินเหนือพื้นที่ อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ ห่างจากชายแดนไทย-กัมพูชา ประมาณ 20 กิโลเมตร เสียงดังกระหึ่ม ชาวบ้านที่พบเห็นต่างอยู่ในอาการหวาดวิตกว่าจะเกิดการปะทะบริเวณชายแดนอีก ครั้ง

ส่วน ความเคลื่อนไหวของทหารกัมพูชาฝั่งตรงข้าม อ.กาบเชิง และอ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ทหารช่างของไทยที่ทำการก่อสร้างถนนเข้าไปยังพื้นที่ปราสาทตาควาย บ้านไทยนิยมพัฒนา ต.บักได อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ พบทหารกัมพูชากว่า 300 นาย กำลังเร่งขุดบังเกอร์ และตั้งฐานปืนใหญ่ โดยหันกระบอกปืนมายังฝั่งไทย พร้อมตะโกนไล่ทหารไทย ขณะที่บริเวณตรงข้ามช่องกร่าง บ้านหนองตาเลิฟ ต.บักได ซึ่งเป็นที่ตั้งกองกำลังกัมพูชา ใกล้กับปราสาทตาเมือนธม บ้านหนองคันนา ต.ตาเมียง อ.พนมดงรัก ทหารกัมพูชามีการเคลื่อนไหวและนำกำลังพลเข้าเสริมพื้นที่จำนวนมากเช่นกัน ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่และผู้นำชุมชนได้แจ้งเตือนชาวบ้านในพื้นที่ อ.พนมดงรัก อ.กาบเชิง อ.สังขะ และอ.บัวเชด จ.สุรินทร์ เตรียมพร้อมอพยพ

โดยคุณ didadai เมื่อวันที่ 26/06/2011 23:11:36


ความคิดเห็นที่ 29


สงสัยคราวนี้ได้ออกโรงแล้วล่ะ 

 


โดยคุณ flatron-ez เมื่อวันที่ 27/06/2011 05:43:25


ความคิดเห็นที่ 30


ดีแล้วครับที่ถอนออกมา อยู่ไปก็เท่านั้น แถมสุมเสี่ยงกับการมีปัญหาในภายหน้า

 

ส่วนโบราณสถานต่างๆ ผมว่าคนไทยสามารถดูแลกันเองได้อยู่แล้วครับ ไม่ต้องเพิ่งฝรั่งตาน้ำข้าวมาวุ่นวายหรอก

แล้วไอ้ที่ผ่านมา ฝรั่งมันก็ไม่ได้ช่วยอะไรเท่าไรหรอกนะ

โดยคุณ ecos เมื่อวันที่ 27/06/2011 08:17:23


ความคิดเห็นที่ 31


               คุณ leo_attack ครับ ถ้าต้องการรู้ว่าฮุนเซนกำลังทำอะไรผมว่ามองย้อนกลับไปแค่ตอนเผาสถานทูตเราไม่ได้หรอกนะครับ แต่มองไกลเกินก็คงลำบาก มองกลับไปแค่กรณืที่รัฐบาลกัมพูชากล่าวหาว่าพวกชาวประมงเวียดนามเป็นสายลับ จนชาวกัมพูชาออกมาไล่ฆ่าคนเวียดนาม มันเป็นช่วงเดียวกันกับที่พวกเค้าจะเลือกตั้งแล้วพรรคของฮุนเซนได้คะแนนเสียงแบบถล่มทลาย แต่ก็แลกด้วยดินแดนบางส่วนของตนที่ต้องตกไปอยู่ในมือเวียดนาม เหตุการณ์นี้เกิดก่อนจะมีการเผาสถานทูตเรานะครับลองไปค้นดู แล้วเทียบเคียงกับกรณืเผ่าสถานทูตเอานะครับว่าคล้ายกันแค่ไหน 

              ส่วนกรณีทีว่าเราอ่อนแอ หรือ ไม่ฉลาดจนเค้าไม่เกรงใจผมว่าไม่ใช่ละครับ  ในเวทีระหว่างประเทศปัจจุบันเค้าไม่ได้เล่นการทูตกันแค่ในภูมิภาคครับ กัมพูชาใช่ว่าจะไม่รู้ว่าเค้าสู้เราไม่ได้ แต่เค้าใช้ความด้อยกว่าของเค้ามาเรียกร้องความสงสาร และ ความช่วยเหลือมากกว่า ประเทศที่เค้าช่วยก็ใช่ว่าเค้าจะเชื่อในสิ่งที่กัมพูชาทำ แต่ที่เค้าช่วยก็เพราะมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง

              ถ้าคุณเข้าใจคำว่าสมรู้ร่วมคิดจะเข้าใจเองครับ ตอนช่วงเผาสถานทูต คนไทยแทบจะทุกคนเรียกร้องให้ใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดกับทางกัมพูชา โดยเฉพาะนักการเมืองในรัฐบาลขณะนั้น แต่ก็มีท่านผู้หนึ่งออกมาปรามคนไทยให้มีสติ ไม่ให้ตอบโต้ด้วยความรุนแรงจำได้รึไม่ ( ถ้าจำไม่ได้กลับไปย้อนดูเหตุการณ์ดูนะครับ )

              สิ่งที่ยืนยันว่าเป็นการสมรู้ร่วมคิดได้อย่างเด่นชัดที่สุด คือ ในยุครัฐบาลของท่านนายก" สมัคร " มีการปะทะกันด้วยอาวุธเบาของทหารทั้ง 2 ฝ่าย หลังเหตุการณ์ปะทะ คือ รัฐสภาของกัมพูชาอนุมัติเพิ่มงบกลาโหม ทันที ( ถ้าเป็นประเทศอื่นคงไม่แปลกหรอกครับ แต่ประเทศที่ยังคงมีรายได้หลักจากเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศอย่างกัมพูชามันแปลกมั้ยละครับ ) ส่วนฝ่ายการเมืองไทยได้อะไรบ้างก็ลองนึกถึงสถานะการณ์ภายในให้ดีนะครับ

             ผมแนะนำอย่างว่าถ้าต้องการเข้าใจความคิดของนักการเมืองท่านหนึ่ง ที่หลายๆคนก็คงจะรู้ว่าใคร มีกุญแจที่จะไขความลับนี้ได้หลายดอก แต่ดอกทีแนะนำมี 2 ดอกคือ ซิลวีโอ แบร์ลุสโคนี  กับ โก๊ะจ๊กตง

 

             ผมไม่มีสีหรอกนะครับ ทุกวันนี้ใส่เขียวอยู่สีเดียว ถ้าโกรธจะด่าก็ได้ครับ ไม่ว่ากัน แต่ขอแค่ให้เอาสิ่งที่ผมบอกไปลองคิดดู หรือ หาความรู้่เพิ่มเติมให้ถ่องแท้  มากกว่าการอ่านจากคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์นะครับ

โดยคุณ Ptolamy เมื่อวันที่ 27/06/2011 08:34:01


ความคิดเห็นที่ 32


                       ส่วนเรื่องทะเลอะกับมหาอำนาจอย่างจีน ถ้ามันทำเพื่อผลประโยชน์ของชาติก็สมควรจะทำละครับ  เพราะถ้าไม่ทำนั้นล่ะครับที่เค้าเรียกว่าบกพร่องต่อหน้าที่  และ คนที่บกพร่องต่อหน้าทีควรจะได้รับการตำหนิมากกว่าคนที่รักษาหน้าที่นะครับ

                       เราเป็นประเทศเอกราชนะครับไม่ใช้ขี้ข้าใคร ที่ต้องยอมเค้าตลอด แต่ถ้าห่วงเรื่องความสัมพันธ์ละก็ ไม่ต้องห่วงหรอกครับ ดูอินโด กับ อเมริกา เมื่อก่อนทะเลอะกันจะเป็นจะตายตอนนี้แทบจูบปากกัน หรือ เวียดนาม กับ อเมริกา ก็จะออกมาในแนวเดียวกัน คอยดูไปนะครับ  ตราบใดที่เรายังมีประโยชน์กับเค้า ประเทศต่างๆก็จะดีกับเรา แต่เมื่อไหร่หมดประโยชน์แล้ว พวกเค้าก็จะไม่สนใจเราหรอกนะครับ มันเป็นผมประโยชน์ของประเทศ และ ความสัมพันธ์ของประเทศก็ไม่ได้คล้ายกับความสัมพันธ์ส่วนบุคคลหรอกนะครับ ลองตรองดู

โดยคุณ Ptolamy เมื่อวันที่ 27/06/2011 08:53:46


ความคิดเห็นที่ 33


            แก้คำผิดครับ ทะเลอะ เป็น ทะเลาะครับ ขอโทษทีครับ ตาไม่ค่อยดี

โดยคุณ Ptolamy เมื่อวันที่ 27/06/2011 08:56:07


ความคิดเห็นที่ 34


ขอรบกวนถามน่ะครับ ถ้าเกิดเราถอนตัวออกมาแบบนี้แล้ว สมมุติถ้าเราตอบโต้ขั้นรุนแรงกับ กัมพูชา จะเกิดเหตุการ UN เข้ามาแทรกแซงรึเปล่าครับ ถ้าเกิดเข้ามาจริง เสี่ยงต่อการที่เราจะสูญเสีย เขตพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร เต็มๆ เลยน่ะครับ น่าหนักใจเหมือนกันน่ะครับ

โดยคุณ hatch เมื่อวันที่ 27/06/2011 14:18:04


ความคิดเห็นที่ 35


             คงไม่ถึงขั้นนั้นหรอกครับ กว่าจะถึงขั้นนั้นมันต้องผ่านหลายขั้นตอนครับ เอาแบบแรกสุดเลยน่าจะเป็นการเจรจาแบบทวิภาคี หรือ อาจจะมีคนกลางนั้นคือชาติสมาชิกอาเซียนครับบางประเทศครับ และ เราออกจาก UNESCO ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกครับ ตอนผมเป็นเด็กก็เคยมาแล้ว ( เท่าที่จำได้นะครับ ) รู้สึกตอนเสียเขาพระวิหารใหม่ๆ ( ถ้าจำผิดก็ขออภัยครับ ) เหตุผลที่เราออกหลายท่านที่ตามข่าวอย่างใกล้ชิดคงจะทราบแล้ว เพราะเรากลัวจะซ่ำรอยเดิมกับครั้งแรกครับ ตอนนั้นกัมพูชา กับ ฝรั่งเศสเล่นเล่ รู้ว่าสมเด็จกรมพระยาดำรง ท่านจะเสด็จพวกมันก็เลยจัดงานเลี้ยงเหมือนเลี้ยงต้อนรับ แต่ในงานมันดันติดธงเขมร กับฝรั่งเศส แล้วมันก็เอารูปถ่ายในงานไปอ้างกับศาลโลกว่าเรายอมรับว่าเขาพระวิหารเป็นของพวกมัน คิดดูมันก็เหมือนมีฝรั่งมาจัดงานเลี้ยงปีใหม่ในประเทศเราแล้วติดธงประเทศมัน แล้วก็เอาไปอ้างว่าที่ที่จัดงานเป็นของประเทศมันพวกเราก็ไม่คิดว่ามันจะหน้าด้านขนาดนี้ ขืนอยู่ต่อคงใช้วิธีเดิมอีก

 

            เรื่อง UN เข้ามาคงยากครับ ถ้าแค่การปะทะเล็กๆเหมือนที่ผ่านมา แถวตะวันออกกลางหนักกว่าเรามาก สำคัญแค่เราไม่หลงกลพวกมันส่งกำลังเข้ายึดพื้นที่ก็พอครับ

โดยคุณ Ptolamy เมื่อวันที่ 27/06/2011 20:22:48


ความคิดเห็นที่ 36


ผมเองก็เป็นคนสุรินทร์  รักชาติรักประเทศ ไม่กลัวหรอกครับเรื่องอื่นๆ...

อย่ายอมให้ใครมาข่มเหงหรือรังแก (สำหรับผมนะครับ) 

โดยคุณ Manthai เมื่อวันที่ 27/06/2011 23:07:43


ความคิดเห็นที่ 37


ทำถูกต้องที่สุด.....ดีครับ.....ไทยมีศักดิ์ศรี...ทำแบบนี้ยิ่งชัดเจน

ศักดิ์ศรีความเป็นไทย และไม่ได้ไปเบียดเบียนใคร

 

เขมร....ฮุนเซน โมโหสุดๆ...(ก็มันไม่ได้ประโยชน์)

 

สำหรับการนี้....ไทยไม่มีอะไรเสียหาย  เพียงแต่ไม่ได้เพิ่ม(อยู่ต่ออาจเสียมากๆ)

ส่วนคนที่ค้านเรื่องการถอนตัวออก....ผมว่าความคิดในหัวยังมีประโยชน์ทับซ้อนครับ...เพราะเหตุผลมันชัดเจน

จนกว่า ยูเนสโก้ จะเปลี่ยนท่าทีโดยไม่ยึดหลักตัวเองที่เน้น ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม(โดยไม่กระทบความสงบสุขของโลก)

โดยคุณ jaidee8008 เมื่อวันที่ 28/06/2011 04:28:14


ความคิดเห็นที่ 38


เรียนคุณ Ptolamy

          ขอบคุณคุณ Ptolamy และหลายๆท่านที่ยังใช้คำสุภาพครับ แม่ว่าเราจะคิดต่างครับ

 

มุมมองของผมอาจต่างกับหลายๆท่านในที่ เพราะผมไม่ยึดติดกับสิ่งที่เรียกว่า “ศักดิ์ศรี” ครับ ผมกลับมองที่ผลของความสำเร็จและผลประโยชน์มากกว่าครับ

หลักการเดียวกับที่เรายึดตอนสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งถ้าเรายึดสิ่งที่เราเรียกว่า ศักดิ์ศรี เราก็คงกลายเป็นเมืองขึ้นของญี่ปุ่นในตอนที่ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกไปแล้ว หรือเป็นประเทศผู้แพ้สงครามในตอนที่ญี่ปุ่นแพ้ โดยยืดเอาจุดยืนใดจุดยืนหนึ่ง แต่เรากลับเลือกวิธีการที่นำมาซึ่งผลประโยชน์ที่ดีที่สุด โดยวิธีที่ทางเราเคยใช้ซึ่งถ้าให้คำที่ไม่สุภาพก็คือคำว่า นกสองหัว แต่ถ้าเรียกให้ดูดีก็ รู้หลบเป็นปีก ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เรายังมีเอกราชอยู่จนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าเราเลือกที่จะไม่รับรู้ก็ตาม และประเทศอื่นพอจบเรื่องก็แทบไม่ได้สนใจด้วยซ้ำ

 

                ตอนเผาสถานทูตข้อนั้นผมก็ทราบดีครับว่า ทางฮุนเซ็นทำเพื่ออะไร เพื่อเบี่ยงประเด็นอะไรเพราะเขาหลังชนฝาหรือไม่ แต่ที่ผมมองคือสิ่งที่เกิดขึ้นต่อครับ ว่าเค้าหยุดแค่นั้นหรือใส่ไฟปลุกกระแสคลั่งชาติต่อ เพื่อเบี่ยงประเด็นอย่างต่อเนื่องหรือไม่ครับ ฮุนเซ็นรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มกับผลตอบแทนที่ทำหรือไม่จึงหยุด นั่นคือสิ่งที่ผมมอง

 

                ส่วนที่ว่าเราอ่อนแอนั้น ต้องเรียนว่าตอนนี้เราอ่อนแอครับ แต่อ่อนแอในเวทีโลก ไม่ใช่เวทีอาเซียน ดังนั้นกัมพูชาจึงเลือกที่จะใช้เวทีโลกที่เราอ่อนแอ ถ้าบอกว่าเค้าทำตัวว่าเป็นประเทศเล็กถูกรังแกให้คนสงสาร และประเทศที่ช่วยก็ทำเพราะมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง เพราะเช่นนี้แหละครับเราถึงแพ้ เค้าถึงชนะไงครับ เพราะเค้ามีวิธีการที่จะทำอย่างไรถึงคนอื่นจะช่วย

 

ทำไมเราถึงตัวคนเดียว เค้าถึงมีคนช่วย

 

เพราะไม่มีของฟรีในโลกครับ เค้ามองออกในจุดนี้ เค้าถึงถือไพ่เหนือกว่าในเวทีโลกครับยอมเสียผลประโยชน์ประเทศบางส่วนเผื่อการสนับสนุนในส่วนที่ต้องการ

 

เราคิดว่าเราเก่ง แต่เก่งจนลืมดูตัวเองว่าจริงๆ เรามีศักยภาพจริงๆแต่ไหนในความจริง เราไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวในโลกครับครับ

 

นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงไม่มีคนสนับสนุนเราเลยครับ ถ้าจะไม่เรียกว่าตอนนี้เราอยู่ในช่วงอ่อนแอแล้วจะให้เรียกว่าอย่างไรครับ

 

ส่วนที่ว่าเราไม่เผาสถานทูตคืนนั่นเพราะมีบุคคลที่เป็นที่เคารพรักของทุกคนปรามไว้ความจริงสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราควรภูมิใจ แต่ผมไม่อยากดึงท่านลงมาเกี่ยงข้องไม่ว่ากรณีใดๆ จึงขอไม่กล่าวถึงครับ

 

ส่วนการปะทะของสมัยรัฐบาลสมัครนั้น ผมมองว่าไม่เฉพาะรัฐบาลสมัครมั้งครับ นี่อาจเป็นข้อมูลส่วนตัว แต่เท่าที่ผมเคยไปทำงานที่พื้นที่แถวนั้นบ้างนิดหน่อย คนแถวนั้นบอกว่าเรื่องการปะทะเพื่อเพิ่มงบประมาณนี่มีมานานแล้วครับมีมาก่อนสมัยท่านสมัครซะอีก เงินขาดทีก็ยิงกันทีครับ จากปากคำของข่าวบ้านแถวนั้นซึ่งถ้าไม่ตรงก็ถือว่าผมได้ข้อมูลมาผิดครับ

 

นักการเมืองสันดานเป็นเช่นไรนั้นผมรู้ซึ้งดีครับเพราะคนใกล้ตัวผมก็เคยทำหน้าทีที่ต้องบริการนักการเมืองอยู่พอประมาณ ถึงไม่ชอบใจแต่ก็ต้องทำตามหน้าที อย่างเรื่อง% ส่วนแบ่งโครงการว่าเท่าไหร่ ล่าสุดที่พึ่งออกข่าวกันว่า 50% อันนั้นผมก็ทราบนานแล้ว และทราบด้วยว่าใครเป็นคนเริ่ม

 

ส่วนการที่เราไปทะเลาะกับจีนแม้จะอ่างว่าผลประโยชน์ก็ต้องทำอันนี้ผมไม่เห็นด้วยนะครับ แม้ว่าอาจจะเห็นอยู่เต็มตาว่าเกิดอะไรขึ้น แต่เราก็ต้องประมาณตัวสิครับ บางครั้งเรายังต้องใช้เค้าสนับสนุนเราอยู่ แต่นี่เล่นปิดประตูแต่แรกเลยผมว่ามันขาดศิลปะในการต่อรองไปนิดครับ

 

ให้กรณีศึกษาดูนะครับ แม้ว่าจะอยู่ในเรื่องของธุรกิจ

กรณีล่าสุดเกี่ยวกับ วงการมือถือครับ คือที่ทาง บริษัท Apple ทำการฟ้อง ซัมซุม หรือ บ.ที่เล็กกว่า อื่นๆ อย่าง HTC ฯลฯ เรื่องความคิดทางปัญญา ทำไมเค้าเลือกที่จะฟ้อง บ.มือถือเหล่านี้ที่เป็นใช้โปรแกรมแอนดรอย ของ Google เรื่องอินเตอร์เฟสที่คล้ายกัน แต่ไม่ฟ้อง บ.ที่คิดโปรแกรมอย่าง Google เค้าเลือกที่จะไม่ชนกับ บ.ใหญ่ ครับ เลือกที่จะมาเอาผลประโยชน์กับ บ.เล็กแทน ทราบหรือไม่ครับที่มือถือของทาง HTC ที่ใช้แอนดรอยเป็น OS ทุกเครื่องต้องจ่ายเงินให้ทาง  Apple ด้วย และล่าสุดก็พึ่งชนะ ซัมซุง ไป เพราะเค้าเลือกเฉพาะสนามที่ชนะและให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดมากกว่า ศักดิ์ศรีครับ ไม่งั้นคงไปตบตีกับ Google ไปนานแล้วและสุดท้ายก็เจ็บตัวไปไม่น้อยก่อนรู้ผล

 

เลือกสนามที่เหมาะกับตัวเอง ถอยเมื่อต้องถอย แม้ดูไม่สวยงามจัดแนวรบกันใหม่ รบเฉพาะสนามที่เราชนะครับ

 

สมัยสมัครเซ็นเป็นมรดกโลกร่วมผมก็ไม่เห็นด้วยครับ ตอนนั้นผมค้นข้อมูลพอสมควร ไล่อ่านประวัติศาสตร์แม้กระทั้งย้อนไปถึงช่วงที่เราเจรจากับลาวด้วยซ้ำ ซึ้งข้อนึงที่ผมสังเกตเห็นที่ทำให้เราเป็นรองอยู่บ้างคือ เรื่องแผนที่ครับ

 

ตอนเราเจรจากับลาวนั้นเรายึดแผนที่คนละฉบับกับที่เราใช้ตอนนี้ครับ ถ้าจำไม่ผิด แผนที่ฉบับที่เรายึดเจรจากับลาวคือแผนที่กัมพูชายึดใช้กับเราตอนนี้ครับ แต่อย่างไรก็ดีผมก็เห็นด้วยกับฉบับที่เราใช้ตอนนี้ครับนั่นคือฉบับที่ทำให้เราได้ประโยชน์ ข้อมูลนี้นานแล้ว ถ้ามันผิดพลาดรบกวนช่วยแก้ให้ด้วยครับ  หรือถ้าคุณ Ptolamy  คิดว่าผมยังอ่านมาน้อยไปรบกวนช่วยแนะนำเอกสารให้ด้วยครับผมยินดีกลับไปอ่านเพิ่มเพื่อแก้ไขข้อมูลที่ผมค้นมาผิดครับ

 

เรื่องสีว่าผมสีไหน ผมก็เคยไปนั่งฟังสัมมนามาแล้วตั้งแต่พันมิตรยังไม่เริ่มม็อป ยันเสื้อแดงตรงราชประสงค์ คนที่ไปลุยเผาช่อง 3 ผมก็เคยไปคุยว่าเขาเผาเพราะอะไร สัมนาสัมพาทของคนที่เป็นแกนนำรวมพลเสื้อหลากสีที่หน้าราบ 11 ผมก็เคยไปฟัง ถ้าจะบอกว่าผมสีอะไร ผมคงขอตอบว่าอยู่สีทำมาหากินครับ เพราะไปมาก็เจอการบิดเบือนข้อมูลล้างสมองกันซะยิงกว่างานสัมมนาขายตรงซะทุกค่ายแบบนี้ เอาเวลาไปทำมาหากินดีกว่าครับ

 

ส่วนที่ว่าจะว่าทหารหรือสีเขียวผมขอดูเป็นเรื่องๆ ดีกว่าครับ ถ้า gt200 อันนี้ขอว่าเต็มๆ ครับถ้าบอกว่าบกพร่องโดยหน้าที่หรือบกพร่องโดยสุจริต จากข้อมูลที่ผมมีนี่ส่วนตัวผมว่าฟังไม่ขึ้นครับ แต่เรื่องไหนหน้าชมอย่างของกองทัพเรือผมก็อยากชมครับ ไม่มีงบ ไม่มีคนแลก็วิจัยเองสร้างซะ อันนี้ผมชอบมากครับ

 

ถ้ามันมีคำผิดเยอะบ้างก็ขออภัยครับเพราะไม่ได้เช็คคำผิดเท่าไหร่

 

ส่วนเรื่องการลาออกจากมรดกโลกนี่ถ้าใครมีข้อมูลรบกวนแชร์กันด้วยก็ดีนะครับ เพราะรู้สึกว่าข้อมูลตอนนี้มันไม่ตรงกันเอาซะเลย

โดยคุณ leo_attack เมื่อวันที่ 28/06/2011 09:39:49


ความคิดเห็นที่ 39


ข้อมูลตรงไหนที่ผมผิดพลาดก็รบกวนช่วยแก้ให้จะขอบคุณมากครับผมจะได้ทราบด้วย เพราะค้นเองบางทีมันก็มีเข้าใจผิดเหมือนกัน และตอนเขียนนี่กำลังง่วงได้ที เนื่องจากอัดงานโต้รุ่งมาขอบคุณครับ

โดยคุณ leo_attack เมื่อวันที่ 28/06/2011 09:56:43


ความคิดเห็นที่ 40


                  รอบนี้รอบที่ห้าแล้วที่พยายามตอบ

                  เอาเป็นว่าสั้นๆนะครับ เพราะยาวๆมา 4 ครั้งแล้วหายทุกรอบ

           1. การพิจารณาอะไรขอให้มองด้านความมั่นคงเป็นหลักครับ  ความมั่นคงถ้าสูญเสียไปแล้วมันเรียกกลับคืน มาไม่ได้ง่ายๆนะครับ

           2. เรื่องที่กัมพูชาชนะเราในเวทีโลกผมว่าต้องมองว่าผลของการชนะแล้วเค้าได้อะไร และ เสียอะไรนะครับ เค้าชนะแต่ผลประโยชน์จากการชนะกลับไปตกกับต่างชาติทำอย่างนี้มั้นก็คล้ายกับเมืองขึ้นละครับ ส่วนที่ว่าเราแพ้ก็ต้องถามต่อว่าแพ้แล้วเราเสียอะไรครับ ในเมื่อการกระทำของเรามุ่งหวังให้ผลประโยชน์ตกแก่คนในชาติของเราเอง

            3.เรื่องการตัดสินใจในเรื่องของความมั่นคง กับ ธูระกิจ มันอาจจะคล้ายกันแต่มันไม่สามารถใช้ชุดความคิดเดียวกันได้หรอกนะครับ ผลประโยชน์ทางธูระกิจมันเป็นผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มครับ แต่ผลประโยชน์ด้านความมั่นคงเป็นผลประโยชน์ของคนทั้งชาติผลกระทบมันเป็นวงกว้าง และ ยังมีกฏระเบียบที่ถูกตราขึ้นมาเพื่อป้องกันเหตุต่างๆคอยกำกับวิธีปฏิบัติอีกนะครับ  ถ้าคุณเคยอยู่ในยุคที่ไม่รู้ว่าประเทศจะมีวันพรุ่งนี้หรือเปล่าคุณจะเข้าใจดีครับ และ ถ้าอ่านประวัติศาสตร์มามากก็คงจะรู้ดี บริษัทล้มละลายได้ แต่ประเทศล้มไม่ได้นะครับ

 

โดยคุณ Ptolamy เมื่อวันที่ 28/06/2011 12:31:12


ความคิดเห็นที่ 41


                        4.เรื่องชาวบ้านที่ท่านว่า ท่านต้องเข้าใจนะครับว่าเหตุการณ์ที่ท่านว่า ถูกจัดว่าเป็นข่าวลือ ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของข่าวสารยังมีความน่าเชื่อถือต่ำอยู่ ไม่ควรจะนำมาเผยแพร่แก่สาธารณะนะครับ เพราะอาจจะทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้ และ ท่านอาจตกเป็นเครื่องมือของสงครามจิตวิทยาอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ได้

                         5.เรื่องข้อมูลที่ผมนำมาอ้างอิงนั้น ท่านสามารถหาได้จากข้อมูลตลาดทั่วๆไปครับ ไม่จำเป็นต้องเป็นข้อมูลเชิงลึกอะไร อาจจะเป็นการไม่สุภาพนักแต่เนื่องจากภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบทำให้ไม่สามารถตอบได้อย่างครบถ้วนนัก ต้องขออภัย

                         ฝากไว้เรื่องหนึ่งครับ ประโยคที่ว่า สีทำมาหากิน ผมว่าไม่น่าจะใช้นะครับ ฟังดูมันก็ดูเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้ามองให้ลึกแล้วมันแสดงถึงความเห็นแก่ตัวครับ

                       ผมมีภรรยาเป็นหมอ มีโครงบทหนึ่งที่ผมฟังแล้วทำให้รูสึกดีและ ยึดเป็นสิ่งเตือนใจตลอดเวลาที่รับราชการ เป็นของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรฯ

                     ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง

                    ประโยชน์ของเพี่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง

                    ลาภทรัพและเกียรติยศจะมาตกแก่ท่านเอง

                    ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์

 

            ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับผมแต่มันกินใจดี

        ต้องขออภัยที่ตอบไม่ครบถ้วน และ ให้ข้อมูลอ่อนไป  แต่เพราะผมเองก็มีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ มีเวลาแค่เพียงช่วงก่อนเคารพธงชาติ กับหลังอาหารเย็นเท่านั้น

โดยคุณ Ptolamy เมื่อวันที่ 28/06/2011 12:51:47


ความคิดเห็นที่ 42


เรียนคุณ Ptolamy

1.     เห็นด้วยกับจุดนี้นะครับที่ว่า การพิจารณาอะไรขอให้มองด้านความมั่นคงเป็นหลักครับ แต่อยากให้เพิ่มเติมอีกนิดด้วยครับว่า เพราะตอนนี้ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด(ถ้าผิดขออภัยครับ) เท่าที่อ่านแนวคิดของคุณ Ptolamy (เฉพาะจากบทความนี่ได้นำเสนอนี้) ออกจะเป็นโลกในอุดมคติที่ถูกเขียนขึ้นตามตำราของเหล่าปราชญ์ซึ้งสวยงามเพื่อใช้จโลมจิตใจซึ่งเหมาะจะใช้กับความสัมพันวงจำกัดในระดับบุคคล เพื่อนฝูง ครอบครัวที่อยากรักษาความสัมพันอย่างแน่นแฟ้นแบบไม่มีอะไรปิดบังกันไปหน่อยนะครับ ซึ่งในโลกแห่งผลประโยชน์ในระดับองค์กร หรือประเทศหรือโลกมันไม่สวยงามเหมือนเพื่อนสนิดครับ หลักการเหล่านั้นอาจเป็นหลักการปฏิบัติยากและให้ผลตอบแทนที่ได้ไม่คุ้มเสียซะส่วนใหญ่สำหรับนะครับ เพราะโลกแหล่งผลประโยชน์ที่โหดร้ายมัน ไม่มีของฟรีในโลกครับ 

 

2.     ที่กันพูชานั้นยังถือไพ่เหนือกว่าเรา ส่วนตัวผมมองว่าเพราะเค้าเข้าใจนำเอาจุดเด่นของตัวเองมาเป็นอาวุธครับ คือทำตัวเป็นประเทศเล็กที่ต้องการคามช่วยเหลือ รอประเทศใหญ่มาหนุนโดยเอาผลประโยชน์สัมปทานเป็นตัวล่อ ผมกลับมองว่าเค้ายอมเสียส่วนที่สามารถเรียกกลับคืนได้ซึ่งคือผลประโยชน์ทางธุรกิจที่เค้ามีแต่ไม่อาจใช้เองได้ ซึ่ง 5 ปี 10 ปี พอหมดสัญญาก็เปลี่ยนมือ หรือบางครั้งก็เปลี่ยนมือกันได้ง่ายแบบได้ง่ายกว่าที่เราคิดอีกเยอะ เพื่อแลกกับ ความได้เปรียบในเวทีโลกด้านสิทธิเหนือดินแดน ที่เป็นสิ่งที่ถาวรกว่ายากแก่การได้คืนยามเสียไปครับ ซึ่งพอกลับมาดูตัวเรา เรานั้นสามารถพึ่งพาตัวเองได้หมด สามารถใช้ทุกทรัพยากรณ์ที่มีได้ทุกอย่างแต่สิ่งเหล่านี้กลับกำลังทิ่มแทงเรา เพราะเราไม่ต้องพึ่งใครจนทำให้เราผยองจนขาดเพื่อน
สิ่งที่เรากำลังเป็นรองคือความเสี่ยงในเวทีโลกด้านสิทธิครอบครองเหนือดินแดน แต่สิ่งที่กัมพูชาศูนย์เสียคือสิทธิครอบครองสัมปทานทรัพยากรณ์ที่พร้อมจะเปลี่ยนมือเมื่อครบสัญญา
นั่นคือสิ่งที่ผมมอง

 

3.     เรื่องความมั่นคงกับธุรกิจผมกลับมองว่า เป็นหลักการที่สามารถใช้ด้วยกันได้เป็นอย่างดีครับ แต่ทุกศาสตร์ต้องมีการปรับเปลี่ยนบ้างเพื่อให้เหมาะกับเหตุการณ์ครับ ไม่เช่นนั้นเหตุใด หลักการในสามก๊กในด้านการศึกหรือการบริหารกองทัพถึงถูกนำมาใช้ในทางธุรกิจบ่อยๆ
ในทางธุรกิจมันก็มีบริษัทที่ล้มได้ และล้มไม่ได้ครับดังจะเห็นได้ว่าหลายกรณีบริษัทแม่ยอมทิ้งบริษัทลูกเพื่อรักษา บริษัทแม่ไว้ บ.ลูกโนเนมตั้งใหม่ได้ ไม่มีชื่อเสียงมากมาย เป็นแค่หนึ่งใน บ.ที่สร้างผลประโยชน์ให้ บ.แม่ แต่บริษัทแม่นั้นล้มไม่ได้ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องรักษาไว้แม้ว่าผลประกอบการจะแย่ซักแค่ไหนก็ตาม เพราะมันเกี่ยวกับชื่อเสียงความน่าเชื่อถือ ความน่าเกรงขาม ฯ ที่ล้มไปแล้วก็คือหายไปไม่สามารถเรียกกลับมาได้ ก็เหมือนกับประเทศครับผลประโยชน์ด้านทรัพยากรด้านทรัพยากรสามารถเปลี่ยนมือได้คนที่ถือไม่สร้างประโยชน์ให้ก็สามารถให้คนอื่นจัดการต่อได้อย่างรวดเร็ว เพราะไม่ได้มีคนเดียวที่จ้องชิ้นปลามัน แต่กับดินแดนที่ปัจจุบันแนวคิดเรื่องการทำสงครามเพื่อขยายดินแดนแทบจะไม่มีแล้ว เป็นเรื่องยากที่จะได้คืนถ้าเสียไปครับ
ส่วนตัวผมอย่าให้เราทำตัวเป็นสิงโตห่มหนังแกะที่ทิ้งความสง่างามของราชสีแต่อยู่ท่านกลางผลประโยชน์ที่พร้อมให้คว้า มากกว่าเป็นอึ่งอ่างที่พองตัวอย่างลืมตัวจนตัวแตกล่มสลายครับ

 

4.     ศักดิ์ศรีและความภูมิใจเป็นสิ่งที่ใช้เพียงแค่ปะโลมจิตใจครับ แต่ผลแห่งการศูนย์เสียไม่เคยหายจากเราไปครับ

ถึงแม้จะเป็นเสียงในพื้นที่ที่มีการติดต่อใกล้ชิดข้ามไปข้ามมากับคนทั้งฝั่งไทยและกัมพูชา แต่ก็อาจเป็นข้อมูลแบบปากต่อปาก ของน้อมรับไว้เพื่อพิจารณาครับ

 

เรื่องสีทำมาหากินผมอาจพูดไม่ชัดให้เข้าใจผิดไป จึงขอพูดขยายความอีกครั้งครับ

สีทำมาหากิน คือ กลุ่มคนที่รู้สึกตัวว่าเบื่อกับเรื่องสารพัดสี มองมองว่าสีเป็นเรื่องไร้สาระ ไม่คุ้มที่จะเอาเวลาไปยุ่งเกี่ยว ไม่ว่างขนาดนั้น แค่ปัจจุบันเวลาทำงานก็จะไม่พออยู่แล้ว เอาเวลาไปทำมาหากินสร้างรายได้จ่ายภาษีให้ประเทศไปพัฒนาประเทศดีว่ามานั่งตามเกมของนักการเมืองและกลุ่มคนที่แหกกติกาเมื่อไม่ได้สิ่งที่ต้องการครับ

 

ผมมองว่า คุณกับผมนั้นเหมือนกันจุดร่วมด้านจุดประสงค์การทำงานเรื่องการทำเพื่อกลุ่มคนส่วนใหญ่ แต่ต่างกันที่แนวทางปฏิบัติครับ

เท่าที่อ่านคุณ  Ptolamy น่าจะเป็นทหารมั้งครับ ผมเดานะครับเห็นบอกว่าใส่สีเขียว ถ้าผิดขออภัย คุณยึดมั่นในเกียรติยศ และความภูมิใจ ในการปฏิบัติ เพราะคุณกล้าที่จะ ปะฉะดะ กับจีนตรงๆ ถ้าเห็นว่ามันมีผลกระทบกับประเทศ

ในทางกลับกันผมที่มองในมุมองของเอกชน(ส่วนตัว) เลือกที่จะใช้วิธีคุยทางลับ ล็อบบี้ ยื่นข้อเสนอผลประโยชน์เพื่อแลกกับเป้าหมาย เพื่อให้สนับสนุนประเทศ เพื่อลดความเสียงมากกว่าลุยตรงๆ ครับ

 

ฝากไว้หนึ่งแนวคิดครับ เป็นคำพูดของ สตีฟ จ็อป แอสโฮลของวงการบริหารแต่ดันปั้นแบรนจนติดตลาดมีสาวกได้มากขนาดนี้

สำหรับภารโรง เหตุผลมีความหมาย แต่สำหรับรองประธาน เหตุผลหรือข้อแก้ตัวจะไม่มีความหมายอีกไป”

 

ประเทศก็เช่นกันครับ จะการแพ้คดีเขาพระวิหาร จะการไม่มีคนสนับสนุนในยูเนสโก้ ไม่มีใครมานั่งเสียเวลารับรู้หรอกครัวว่าทำไม เพราะยึดมั่นในศักดิ์ศรี? ยึดมั่นในความภูมิใจ? เพราะความมันใจในตัวเอง? สิ่งที่คนรับรู้อย่างเดียวคือ เราแพ้คดี เราเป็นเสียงข้างน้อยในเวทีโลกครับ ดังนั้นเราจึงต้องรับรู้และปรับปรุง เพื่อเป้าหมายครับ ส่วนการรักษาหน้านี่ช่างมันก็ดีครับแต่งใหม่เมื่อไหร่ก็ได้

 

พิมพ์ด่วนช่วงว่างระหว่างทำงานอ่านมีผิดบ้างต้องขออภัยครับ

ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนมุมองกันครับ

โดยคุณ leo_attack เมื่อวันที่ 28/06/2011 23:47:39


ความคิดเห็นที่ 43


หากมีใครจะยอมรับว่าการตัดสินปี 2505 เป็นอันสิ้นสุด ก็ไม่อยากเถียงกับเพื่อนบ้าน แต่ถ้ามีหลักฐานมาแย้งแล้วเป็นข้อมูลที่ทุกฝ่ายยอมรับ

ก็ต้องคุยกันให้รู้เรื่อง ก่อนจะมี no border land

เอาให้ชัดๆแบบไม่มีเกมส์ต่อรอง เบิ้องลึกเบื้องหลังไปเลย ไม่ใช่จะปล่อยให้ประชาชนรู้แต่ข้อมูลที่หลายฝ่ายปกปิดไม่ยอมพูดความจริง

มันก็เกิดสงครามกับความตายไม่มีวันจบ เอาเรื่องจริงมาพูดกันให้ประชาชนรู้เรื่องเลยดีกว่า ผมว่าข้อมูลที่ปล่อยออกมามีผู้ เสียภาพลักษณ์

เยอะมากกว่าส่งผลกับสถานะทางการเมืองในอนาคตปกปิด โดยเอาประเทศเข้าไปเกี่ยวกับสงครามแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้

โดยคุณ tik เมื่อวันที่ 29/06/2011 02:19:34


ความคิดเห็นที่ 44


                            เอาเป็นว่าในเมื่อคุณมีความเชื่ออย่างนี้ก็เอาเถอะครับ เถียงกันไปก็เปล่าประโยชน์ มันเป็นเรื่องยากลำบากกับคนอย่างผมที่จะมาเถียงกับใครในโลก Online ไม่ใช่ว่าดูถูกคุณหรอกนะแต่ผมเป็นพวกจิ้มดีดเอา ก็เอาเป็นว่าคุณก็ตัดสินใจไปตามมุมมองแบบพ่อค้าของคุณไปก็แล้วกัน  ถามว่าผมเป็นทหาร ตอบว่าใช่ครับ ว่าผมมองแบบอุดมคติ ก็ต้องตอบว่าใช่ เพราะอุดมคติมันทำให้ไม่คิดแสวงหา มันทำให้ทำงานเสี่ยงๆได้ทั้งๆที่เงินเดือนต่ำได้  อุดมคติมันทำให้ประเทศนี้พ้นภัยมากี่ครั้งแล้วครับ คนที่ทำงานตามอุดมคติคนพวกนี้จะมีตาสวยนะ ทุกวันนี้ก็หาดูเอาได้จากภาพข่าวลองไปดูเอา ( คนตาบอดบางคนก็มีตาสวยกว่าคนตาดี )   เอาเป็นว่าผมยอมแพ้ก็แล้วกัน เพราะมันก็เหลือกำลังที่ผมจะมีปัญญาพิมพ์โต้ตอบได้นะ  ( เรื่องชาวบ้านที่คุณยกตัวอย่างมาไม่ใช่ว่าได้ยินแล้วจะว่าไม่จริงหรือไม่รับฟัง เพราะ ผมเองก็ใช้คำว่ามันจัดเป็นข่าวสารชนิดหนึ่ง แต่ที่ให้ความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับต่ำก็เพราะว่ามันยังไม่ผ่านกระบวนการทางการข่าว และ มันยังมีเหตุปลีกย่อยที่ทำให้เนื้อข่าวนี้ขาดความน่าเชื่อถืออีกมากมาย )

                             ก็เอาเป็นว่าเราจบการสนทนาของเราด้วยดีก็แล้วกันนะ

โดยคุณ Ptolamy เมื่อวันที่ 29/06/2011 08:44:38


ความคิดเห็นที่ 45


ผมมองว่าเรื่องนี้มันไม่เกี่ยวกับเรื่องแพ้ชนะหรอครับ

เพราะทั้งคุณและผม ถึงจะเป็นแนวทางที่ต่างกัน แต่ก็มีเป้าหมายที่ทำเพื่อประเทศเหมือนกันครับ

สิ่งที่ผมกำลังพยายามจะบอกคุณก็คือ คุณทำงานด้วยอุดมคติมันทำให้ไม่คิดแสวงหาซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีครับ ถ้ากองทัพมีคนแบบคุณเยอะๆก็คงจะดีกว่านี้มาก เพียงแต่คู่ต่อสู้ที่เราเจอตอนนี้เค้าไม่ใสๆ แบบเรานะสิครับ เค้าเป็นทั้งนักการตลาดชั้นยอด นักธุรกิจชั้นเยี่ยม และนัักการเมืองที่เก่งกาจ ไม่งั้นคงไม่อยู่มาจนถึงทุกวันนี้หรอครับ เค้าพร้อมจะใช้วิธีนอกกฏิกานอกกรอบวิถีอุดมคติเล่นเราครับ และยังมีอำนาจเบ็ดเสร็จที่มั่นคงในการตัดสินใจซึ่งต่างกับนักการเมืองฝ่ายบริหารบ้านเราที่ 4 ปีก็ไปแล้ว ล่าสุดเห็นเรื่องจะกลับไปเข้าร่วมกับ ยูเนสโก้ อีกทีมั้ย ก็เห็นบอกว่าเป็นเรื่องของรัฐบาลหน้าไปแล้ว บอกกันตรงๆอย่างงี้เลย โยนขี้ต่อให้กันเห็นๆ เลย ผมละสงสารทหารที่แนวหน้าจริงๆ

ยินดีทีได้แลกเปลี่ยนมุมมองกันครับ

โดยคุณ leo_attack เมื่อวันที่ 29/06/2011 22:38:16


ความคิดเห็นที่ 46


                      ผมก็รู้สึกดีใจนะที่คุณเป็นห่วงประเทศชาติ  ผมคิดว่าคุณไม่ต้องคิดมากหรอกเพราะทุกอย่างมันก็มีระบบของมันและมีผู้มีหน้าที่รับผิดชอบประจำอยู่แล้ว คนเหล่านั้นพวกเค้ามีฝีมือ มีการประเมินสถาณะการณ์ในด้านต่างๆเป็นประจำอยู่แล้ว ไม่ได้ใส หรือ โง่กว่าประเทศเพื่อนบ้าน หรือ มหาอำนาจอย่างที่คุณคิดหรอกนะ เพียงแต่จะเลือกใช้วิธีโต้ตอบยังไงเท่านั้นเอง  เรื่องล็อบบี้ประเทศมหาอำนาจทำไมจะไม่มีการทำ  แต่นั้นเป็นงานของกระทรวงการต่างประเทศที่เค้าต้องรับผิดชอบ บุคลากรอัตรากระทรวง มีข่างสารข้อมูลไหลผ่านจำนวนมากจากทุกที่ที่มีคนของเค้าอยู่ผมว่าเค้ามีข้อมูลช่วยในการตัดสินใจมากกว่าที่คุณคิด และ เค้ามีคนทำเรื่องพวกนี้เป็นกระบุง คุณไม่ต้องเป็นห่วงไปหรอก เรื่องที่ว่าผม หรือ ใครหลายๆคนที่คิดอย่างผมเป็นพวกไม่มองความจริงละก็ผมว่าคุณคิดผิดนะ  ผมเองก็ไม่ได้โง่ขนาดมองสถานะการณ์ไม่ออก หรือ ไม่รู้จักมองโลกของความเป็นจริงหรอกนะ ไม่งั้นผมคงทำงานที่ทำอยู่ทุกวันนี้ไม่ได้หรอก เพียงแต่อุดมคติ และ อุดมการณ์ ผมใช้มันเป็นหลักยึดในการปฏิบัติงาน เพื่อให้มันเป็นกรอบในการปฏิบัติ และ วิธีคิด ก็เท่านั้น ถ้าคนเราทำอะไรโดยไม่มีกรอบวิธีคิด มันก็เสี่ยงที่จะทำผิดได้ขอให้เข้าใจไว้ 

                        ผมว่าข้อมูลของคุณหลายอย่างมันมีความผิดพลาดอยู่นะ เช่น เรื่องการปักปันเขตแดนระหว่างไทย - ลาว ขอให้ไปดูรายละเอียดให้ดีก่อนนะ

                        ผมไม่รู้ว่าคุณไปฟังใครมา หรือ อ่านอะไรมา แต่หลายอย่างที่คุณบอก ไม่ใข่ครั้งแรกที่ผมได้ยิน พูดตามตรงว่าผมเคยได้ยินมาแล้วจากพวกแดง

                        คุณพูดว่าคุณไม่มีสี แต่ข้อมูลและวิธีคิดของคุณไม่น่าจะใช่

                       ผมอยากให้คุณวางใจงานหลายอย่างถูกทำโดยบุคลากรที่ถูกฝึกมาอย่างดี และ เป็นมืออาชีพ ไม่ต้องกังวลไป

                      ส่วนคนที่คุณชมว่าเก่ง ว่าดี ถ้าเค้าคนนั้นคือ ฮุนเซน ละก็ผมว่าคุณน่าจะคิดผิดนะ เพราะถ้าเค้าเก่งขนาดนั้นเค้าคงไม่ฆ่าลูกชายตัวเองทั้งเป็นหรอก

โดยคุณ Ptolamy เมื่อวันที่ 30/06/2011 05:55:12