หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


นิวเคลียส์ พม่า

โดยคุณ : Panya เมื่อวันที่ : 25/06/2011 03:51:48

คนไทยหลายๆท่าน  รวมนักวิชาการบางคน  พูดเรื่องนิวเคลียส์พม่าว่า เกาหลีเหนือถ่ายทอด

เทคโนโลยี่อาวุธนิวเคลียส์ให้พม่า  แต่อเมริกาค่อนข้างไม่กระตือรือร้อนเรื่องนี้  ทั้งที่อยู่แค่ปลายจมูกประเทศไทย

  หรือว่า อเมริกา หวังทรัพยากรพม่า ถึงไม่อยากมีเรื่องกับ พม่า ครับ

&nb sp;





ความคิดเห็นที่ 1


ถ้าพม่ามีระเบิดนิวเคลียส์แล้ว ท่าทีของเราที่มีต่อพม่าจะทำยังไง

โดยคุณ spooky เมื่อวันที่ 23/06/2011 10:07:48


ความคิดเห็นที่ 2


อเมริกาทำเต็มที่ได้แค่ ขยายระยะเวลาการคว่ำพบาตรแค่เท่านั้นครับ

ก็พูดถูกที่ว่าหลายประเทศต้องการทรัพยากรของพม่า

 

อย่าลืมว่าพม่าเป็นชาติ ที่มียูเรเนียมมากมาย และก๊าซธรรมชาติ บ่อน้ำมัน ใครก็ล้วนแต่ต้องการ

(ก็อย่างว่าพม่ามีแล้วคิดหรอว่าไทยไม่มีแต่อาจเก็บไว้เป็นความลับก็ได้ ภูมิประเทศก็ใกล้เคียงกัน)

 

ในประเทศไทยก็จะมีแหล่งแร่ยูเรเนี่ยมอยู่หลายแห่งแต่การวิจัยมักจะปิดข่าว

สังเกตุข่าวพวกนี้จะฮือฮาแป๊ปเดียว แล้วการทหารก็จะเข้าไปตรวจพื้นที่แล้วข่าวก็เงียบ

- อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา /  ต.นาสาร จ.สุราษ / อ.เมือง จ.ขอนแก่น / ระนอง / พังงา / ประจวบ / และภูเก็ต

โดยคุณ pushbutton เมื่อวันที่ 23/06/2011 10:12:17


ความคิดเห็นที่ 3


สหรัฐฯพูดกำกวมเรื่อง‘อาวุธนิวเคลียร์พม่า’ (ตอนแรก)
โดย เบอร์ทิล ลินต์เนอร์ 20 ธันวาคม 2553 23:11 น.
 
       (เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
       
       US double talk on Myanmar nukes
       By Bertil Lintner
       15/12/2010
       
       จากรายงานลับทางการทูตของกระทรวงการต่างประเทศอเมริกันที่เผยแพร่โดยเว็บไซต์วิกิลีกส์ แสดงให้เห็นว่าสหรัฐฯมีความรับรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความทะเยอทะยานด้านนิวเคลียร์ของพม่า เป็น 2 ชุด 2 เวอร์ชั่น ชุดหนึ่งจะอยู่ในลักษณะพร้อมพูดเย้ยเยาะข้ออ้างที่ว่าคณะทหารผู้ปกครองแดนหม่องกำลังพยายามที่จะครอบครองศักยภาพทางด้านอาวุธนิวเคลียร์ ด้วยความช่วยเหลือของเกาหลีเหนือ ทั้งนี้ความรับรู้ความเข้าใจเวอร์ชั่นนี้ มุ่งจัดทำขึ้นเพื่อใช้บอกกล่าวแก่สาธารณชนทั่วไป แต่ยังมีคำอธิบายอีกชุดหนึ่งซึ่งกำลังแพร่กระจายไปในสถาบันด้านความมั่นคงต่างๆ ในวอชิงตัน และเวอร์ชั่นหลังนี้เองทำให้เกิดคำถามฉกรรจ์ เกี่ยวกับนโยบายใหม่ของรัฐบาลสหรัฐฯที่มุ่งจะเข้ามีปฏิสัมพันธ์กับทางการพม่า
       
       *รายงานชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
       
       กรุงเทพฯ – พม่ากำลังมีความพยายามจริงๆ ที่จะครอบครองศักยภาพทางด้านอาวุธนิวเคลียร์ ตลอดจนมีความพยายามอย่างจริงจังที่จะผลิตขีปนาวุธนำวิถี โดยพึ่งพาอาศัยความช่วยเหลือจากเกาหลีเหนือ ดังที่ได้ถูกกล่าวหาเอาไว้ในภาพยนตร์สารคดีที่จัดทำโดยกลุ่ม “เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า” (Democratic Voice of Burma หรือ DVB) และนำออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์อัลญะซีเราะห์ (al-Jazeera) เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยก่อให้เกิดการโต้แย้งถกเถียงกันอย่างมาก หรือว่าเรื่องทั้งหมดเหล่านี้เป็นเพียงนิยายเหลวไหลไร้สาระ ดังที่ถูกระบุไว้ในรายงานซึ่งออกเผยแพร่เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน โดย “โปรพับลิกา ” (ProPublica) กลุ่มผลิตงานข่าวเชิงสืบสวนอิสระ ที่ตั้งฐานอยู่ในสหรัฐฯและมีชื่อเสียงระดับได้รับรางวัลอันทรงเกียรติมาแล้ว
       
       รายงานของดีวีบี จัดทำขึ้นโดยพึ่งพาอาศัยการให้ปากคำของทหารแปรพักตร์หลายคนในกองทัพพม่า และได้รับการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนโดย รอเบิร์ต เคลลีย์ (Robert Kelley) อดีตนักวิทยาศาสตร์ด้านอาวุธของสหรัฐฯ และอดีตผู้ตรวจสอบด้านอาวุธของสหประชาชาติ ซึ่งได้รับความเคารพนับถือเป็นอย่างสูง ขณะที่ โปรพับลิกา อ้างคำพูดของ “เจ้าหน้าที่อเมริกัน” ระดับอาวุโสผู้หนึ่งโดยที่ไม่มีการระบุชื่อ เจ้าหน้าที่อาวุโสผู้นี้บอกว่า สำนักงานข่าวกรองกลางของสหรัฐฯ (US Central Intelligence Agency หรือ CIA) ได้ทำการตรวจสอบรายงานของเคลลีย์ ชนิด “บรรทัดต่อบรรทัด และได้ปฏิเสธไม่ยอมรับผลการค้นพบที่ระบุในรายงานดังกล่าว”
       
       อย่างไรก็ตาม รายงานลับทางการทูตของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ฉบับที่เป็นรายงานของสถานเอกอัครราชทูตอเมริกันในย่างกุ้ง ซึ่งได้รับการเผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้โดยเว็บไซต์ “วิกิลีกส์” (WikiLeaks) กลับเปิดโปงให้เห็นว่า มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมากระหว่างสิ่งที่พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯพูดต่อสาธารณชน และความวิตกกังวลที่พวกเขาหยิบยกขึ้นมาหารือเป็นการภายใน เกี่ยวกับความทะเยอทะยานทางด้านนิวเคลียร์ของพม่า เมื่อวินิจฉัยโดยอืงอาศัยเอกสารที่รั่วไหลออกมาเหล่านี้ มันก็ดูเหมือนกับว่า โปรพับลิกาได้ตกเป็นเหยื่อของการชักใยหลอกล่อโดยพวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ผู้ต้องการปิดบังสาระแท้จริงของข่าวกรองซึ่งบรรดาหน่วยงานอเมริกันรวบรวมมาได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อส่งเสริมสนับสนุนวาระทางการเมืองของพวกที่นิยมวิธีให้เข้ามีปฏิสัมพันธ์กับระบอบปกครองทหารของพม่า ยิ่งกว่าการใช้วิธีโดดเดี่ยวระบอบปกครองนี้ต่อไปอีก
       
       ปัจจุบัน สหรัฐฯยังคงทำการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและทางการเงินต่อระบอบปกครองที่ล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมากมายรายนี้ อันที่จริงก่อนหน้าที่คณะรัฐบาลประธานาธิบดีบารัค โอบามา จะเปิดฉากริเริ่มนโยบายใหม่ในเรื่องพม่าของตน และเริ่มต้นจัดส่งตัวแทนทางการทูตหลายต่อหลายคนไปเจรจาหารือกับเหล่านายพลแดนหม่องนั้น มีเจ้าหน้าที่สหรัฐฯอื่นๆ ได้เคยทดลองปรับทิศทางเพื่อเข้าสู่หนทางปรองดองทำนองเดียวกันนี้มาแล้ว แต่ไม่ว่าจะใช้อะไรมาเป็นเกณฑ์วัด ก็ต้องสรุปว่าความพยายามทางการทูตเหล่านั้นล้วนแต่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ในเดือนกุมภาพันธ์ 1994 บิล ริชาร์ดสัน (Bill Richardson) ผู้ซึ่งเวลานั้นยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ และต่อมาเขาได้ดำรงตำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูตอเมริกันประจำสหประชาชาติ ได้เดินทางไปเยือนพม่าโดยที่มีการตีข่าวกันอย่างเอิกเกริก
       
       ในการเดินทางเข้าพม่าของริชาร์ดสันคราวนั้น เขาได้นำเอาผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์คนหนึ่งไปด้วย ริชาร์ดสันมีโอกาสพบปะกับ ออง ซาน ซู จี ผู้นำการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ที่เวลานั้นถูกคุมขังให้อยู่แต่บริเวณบ้านพัก ตลอดจนได้เข้าพบนายพล ขิ่น ยุ้นต์ (Khin Nyunt) ซึ่งขณะนั้นเป็นหัวหน้าใหญ่คุมงานด้านข่าวกรองของกองทัพ ในตอนนั้น การเยือนของริชาร์ดสันได้รับการประโคมจากสื่อมวลชนว่าเป็น “การผ่าทางตัน” ครั้งสำคัญมาก --ถึงแม้ตัวริชาร์ดสันเองแสดงท่าทีระมัดระวังอย่างมากในการพูดจาตั้งข้อสังเกตต่างๆ และแล้วหลังจากการเยือนพม่าเป็นครั้งที่สองในเดือนพฤษภาคม 1995 ริชาร์ดสันก็ได้ออกมาแถลงในที่ประชุมแถลงข่าวในกรุงเทพฯว่า การเดินทางของเขา “ไม่ประสบความสำเร็จ, น่าหงุดหงิด, และน่าผิดหวัง”
       
       ในทำนองเดียวกัน ผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติหลายต่อหลายคน ได้เคยใช้ความพยายามรวมแล้วเป็นเวลามากกว่า 2 ทศวรรษ ในการเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์เพื่อดึงเอาเหล่านายพลพม่ามาสู่การยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและการปรองดองแห่งชาติ แต่แล้วก็ประสบความล้มเหลว หรือในกรณีของพวกหุ้นส่วนของพม่าใน 10 ชาติสมาชิกสมาคมอาเซียน พวกเขาได้เคยประกาศมานานแล้ว ที่จะใช้นโยบายซึ่งเรียกว่า “การมีปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์” (constructive engagement) กับระบอบปกครองทหารของแดนหม่อง ทว่าจวบจนถึงเวลานี้ก็ยังแทบไม่มีดอกผลอะไรที่สามารถจับต้องได้ นอกเหนือจากการเพิ่มพูนการค้าและการลงทุนกับประเทศที่ยากจนอย่างยิ่งแห่งนี้
       
       รายงานลับทางการทูตที่ถูกแฉโดยวิกิลีกส์ ตลอดจนเอกสารภายในของสหรัฐฯชิ้นอื่นๆ แสดงให้เห็นว่า อันที่จริงแล้ววอชิงตันมีความกังวลใจต่อรายงานหลายๆ กระแสที่ว่าเกาหลีเหนือมีการเกี่ยวพันอย่างปิดลับในพม่า ตลอดจนเรื่องความทะเยอทะยานด้นนิวเคลียร์ของระบอบปกครองทหารแดนหม่อง เมื่อลองเปรียบเทียบเนื้อหาของรายงานลับทางการทูตที่ถูกแฉเร็วๆ นี้ กับสิ่งที่พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯตลอดจนแหล่งข่าวอื่นๆ ดูเหมือนจะบอกกับโปรพับลิกา เราก็พบว่าถ้าหากแสดงความกังวลใจดังกล่าวให้สาธารณชนรับทราบแล้ว มันก็จะยิ่งทำให้ลำบากยากเย็นยิ่งขึ้นในการโน้มน้าวชักจูงพวกนายพลผู้ปกครองพม่า ให้ยอมยกเลิกความสัมพันธ์อันแสนเป็นกันเอง ที่พวกเขาเพิ่งสถาปนาขึ้นมาหมาดๆ กับระบอบปกครองนักแพร่กระจายอาวุธร้ายแรงอย่างเกาหลีเหนือ
       
       นอกจากนั้น การที่พม่ามีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับพันธมิตรรายหลักของเกาหลีเหนือ ซึ่งก็คือจีน ก็ถือเป็นเรื่องสร้างความวิตกกังวลอีกประการหนึ่ง ทั้งนี้เป็นทัศนะของ เจมส์ เว็บบ์ (James Webb) วุฒิสมาชิกสหรัฐฯที่เป็นผู้สนับสนุนอย่างแข็งขันให้สหรัฐฯหันมาใช้นโยบายใหม่ในการเข้ามีปฏิสัมพันธ์กับรัฐบาลทหารพม่า ถึงแม้จวบจนถึงเวลานี้นโยบายดังกล่าวยังคงแสดงให้เห็นแต่ความไร้ประสิทธิภาพ ระหว่างที่วุฒิสมาชิกผู้นี้พบปะพูดคุยกันช่วงอาหารเช้ากับกลุ่มนักข่าวด้านกลาโหมในวอชิงตันเมื่อเดือนตุลาคมปีนี้ เว็บบ์ได้เรียกร้องคณะรัฐบาลโอบามาให้แสดงความกระตือรือร้นต่อพม่าให้มากขึ้น และเข้ามีปฏิสัมพันธ์กับคณะทหารผู้ปกครองประเทศนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้จีนเข้าไปทำให้พม่ากลายเป็นรัฐบริวารอย่างเต็มขั้น
       
       ส่วนสำคัญที่สุดของการเปลี่ยนแปลงไปสู่นโยบายใหม่นี้ ได้แก่การให้ความสำคัญลดน้อยลงแก่เรื่องความวิตกกังวลด้านสิทธิมนุษยชนที่มีมายาวนานแล้ว ตลอดจนการปฏิเสธรายงานอันมีหลักฐานรองรับเกี่ยวกับความทะเยอทะยานด้านนิวเคลียร์ของพม่า จากการพบปะหารือช่วงอาหารเช้าดังที่กล่าวอ้างไว้ข้างต้น นิตยสาร “ฟอเรนจ์ โพลิซี ” (Foreign Policy) ได้รายงานเอาไว้บนเว็บไซต์ของตนเมื่อวันที่ 27 ตุลาคมว่า เว็บบ์ “ได้วิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นการที่คณะรัฐบาลโอบามามีสองมาตรฐานในวิธีจัดการกับเรื่องสิทธิมนุษยชน -พร้อมกันนั้นเขาก็ชี้นิ้วไปที่ปักกิ่ง” ทั้งนี้เขาตั้งคำถามว่า “ประเทศจีนเคยมีการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ล่ะ ในจีนมีนักโทษการเมืองมากมายแค่ไหน มีใครทราบบ้าง แล้วตรงนี้ (นโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ) มีความเสมอต้นเสมอปลายอะไรล่ะ” ฟอเรนจ์ โพลิซี รายงานเอาไว้เช่นนี้ การที่ในรายงานฉบับวันที่ 12 พฤศจิกายนของ โปรพับลิกา ได้มีการอ้างคำพูดของเว็บบ์ที่พูดว่า รายงานของดีวีบีว่าด้วยเกาหลีเหนือและความทะเยอทะยานด้านนิวเคลียร์ของพม่า “ทำให้วิธีการดังกล่าว (การมีปฏิสัมพันธ์กับคณะทหารพม่า) เป็นไปไม่ได้เลย” ต้องถือว่าเป็นการให้ข้อบ่งชี้ที่สำคัญมากทีเดียว
       
       **ความจริงที่สร้างความลำบาก**
       
       สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯในย่างกุ้งได้กล่าวย้ำในรายงานลับฉบับลงวันที่ 27 สิงหาคม 2004 --ซึ่งถูกวิกิลีกส์นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเมื่อเร็วๆ นี้ – ว่า หนึ่งในแหล่งข่าวหลายๆ รายของทางสถานเอกอัครราชทูต บอกว่าพวกคนงานเกาหลีเหนือกำลังประกอบขีปนาวุธแบบยิงจากพื้นดินสู่อากาศ อยู่ที่ “สถานที่ทางทหารแห่งหนึ่งในเขตมาเกว (Magway Division)” โดยสถานที่แห่งนั้นยังกำลังมีการก่อสร้าง “สิ่งปลูกสร้างใต้ดินที่ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก” นักธุรกิจชาวต่างชาติที่มิได้มีการระบุชื่อเสียงเรียงนามรายหนึ่ง ก็ได้บอกกับสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯว่า “เขาได้เห็นเรือท้องแบนขนาดใหญ่กำลังขนเหล็กเส้นก่อสร้าง (reinforced steel bar) ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่บ่งชี้ว่าต้องเป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่กว่าโรงงาน”
       
       ขณะที่กล่าวย้ำว่ารายงานเหล่านี้ไม่สามารถใช้เป็น “ข้อพิสูจน์อันชัดเจนแน่นอนเกี่ยวกับเรื่องที่เกาหลีเหนือมีปฏิสัมพันธ์อย่างใหญ่โตทีเดียวกับระบอบปกครองพม่า” แต่รายงานลับของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำย่างกุ้งก็ชี้ว่า “รายละเอียดจำนวนมากที่ให้มาโดย (แหล่งข่าวลับรายหนึ่ง) มีความสอดคล้องกับพวกที่ให้มาโดยแหล่งข่าวที่ดูจะไม่มีความเกี่ยวข้องกันรายอื่นๆ” จากรายงานต่างๆ เหล่านี้ ทางสถานเอกอัครราชทูตจึงเน้นเอาไว้ในรายงานของตนว่า พม่ากับเกาหลีเหนือ “กำลังทำบางสิ่งบางอย่างซึ่งอยู่ในลักษณะปิดลับทางการทหาร หรืออยู่ในลักษณะอุตสาหกรรมทางการทหาร”
       
       รายงานของสถานเอกอัครราชทูตแห่งนี้กล่าวต่อไปว่า บางสิ่งบางอย่างที่ว่านี้ “เป็นอะไรแน่ๆ และมีขนาดประมาณไหน ยังคงต้องวินิจฉัยกันต่อไป” และบอกว่าทางสถานเอกอัครราชทูตจะยังคง “เฝ้าติดตามพัฒนาการต่างๆ เหล่านี้ และรายงานให้ (กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ)ทราบในเวลาอันสมควร” ทั้งนี้ เอเชียไทมส์เออนไลน์ ก็ได้เคยรายงานเอาไว้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2006 (ดูเรื่อง Myanmar and North Korea share a tunnel vision, July 19, 2006) เรื่องที่เกาหลีเหนือเข้าเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างใต้ดินขนาดใหญ่โตทั้งภายในและรอบๆ กรุงเนย์ปิดอว์ เมืองหลวงใหม่ของพม่า
       
       เบอร์ทิล ลินต์เนอร์ เป็นอดีตผู้สื่อข่าวของนิตยสารฟาร์อีสเทิร์นอีโคโนมิกรีวิว และเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Great Leader, Dear Leader: Demystifying North Korea under the Kim Clan ปัจจุบันเขาทำงานเป็นนักเขียนให้แก่ Asia Pacific Media Services
    
โดยคุณ Panya เมื่อวันที่ 23/06/2011 10:18:29


ความคิดเห็นที่ 4


วิธีแก้วิธีเดียวครับประชาชนต้องออกมาต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าครับ  เหมือนในตะวันออกกลางครับ ขอให้ประชาชนเขมรก็ออกมาด้วยนะครับ

โดยคุณ spooky เมื่อวันที่ 23/06/2011 10:34:21


ความคิดเห็นที่ 5


สำหรับผมแล้วไม่กลัวเท่าไหร่ครับ แค่เราติดระบบป้องกัน+เรด้า ออกข่าวโชวซักหน่อย ก็ไม่กล้ายิงละ ถ้ายิงมาก็ระเบิดซะในประเทศตัวเองนั่นแหละ 

โดยคุณ BLOODTHAI เมื่อวันที่ 23/06/2011 11:57:42


ความคิดเห็นที่ 6


ส่วนใหญ่ ถ้ามี ก็ เน้นไปในทางต่อรอง ในทางการทะหารกับประเทศมหาอำนาจ มากกว่า อีก อย่าง ผมก็ ไม่คิดว่าพม่ามีแล้วจะ ยิงมาใส่เราง่ายๆ เพราะไม่ได้ทะเลาะอะไรกันมากมาย แค่ปรามชนกลุ่มน้อยก็เหนื่อยแล้วครับ ถ้าคิดถึงประวัติศาสตร์เก่าๆ บางเรื่อง อาจทำให้เราระแวงเกินเหตุ อิอิ

โดยคุณ SeriesVll เมื่อวันที่ 24/06/2011 16:51:48